K.hongvalue ถาม K.chinn ตอบ (From blog K.hongvalue)
โพสต์แล้ว: เสาร์ ม.ค. 21, 2012 8:43 am
เนื่องด้วยไปอ่านเจอเนื้อหาดีๆที่คุณ hongvalue ถามคำถามคุณ chinn เกี่ยวกับวิธีการลงทุนของคุณ chinn จึงขออนุญาตินำมาเผยแพร่ต่อใน web thaivi ครับ (ผมขออนุญาติจัดเรียงข้อความใหม่เพื่อให้อ่านได้ง่ายขึ้นครับ) สำหรับบทความเต็มเพื่อนๆ สามารถไปอ่านได้ใน web blog ของ K.hongvalue ครับ
http://hongvalue.wordpress.com/2012/01/ ... /#comments
ขอขอบพระคุณในความมีน้ำใจเผยแพร่ความรู้ของทั้งคุณ hongvalue และคุณ chinn ด้วยครับ
ถ้าผมเรียงเนื้อหาผิดพลาด ขออภัยเพื่อนๆทุกท่านด้วยครับ
(K.hong ถาม)1.สไตล์การลงทุนของคุณ chinn เป็น vi ผสม soros ใช่หรือไม่
(K.chinn ตอบ) ผมเป็นนักลงทุนแนวฟรีสไตล์ครับ ไม่ยึดติดแนวไหน แต่เน้นที่เราดูความเป็นจริงของตลาดmoney market และธุรกิจที่แท้จริงซึ่งบางส่วนมันเหมือนของ vi กับ soros ครับ แต่จริงๆแล้วผมยังได้ใช้หลักคิดของท่านอื่นอีกมากครับ เช่น เศรษฐศาสตร์แห่งความจริง ของคุณ พิชัย จาวลา , dsm ของคุณเด่นศรี จาก ห้องคลับเพื่ออิสรภาพทางการเงิน Money management ของต่างประเทศ,Technical เพื่อดูว่าตลาดคิดอะไร ผสมกันให้หมดแล้ว พอเจอปัญหามันจะรู้ว่าหยิบอะไรมาใช้บ้าง
(K.hong อธิบายเพิ่มเติม)
ผมคิดว่าแนวทางอื่นๆจริงๆแล้วเราอาจจะรู้เอาไว้เป็นอาวุธเสริม แต่จริงๆเราจะมีอาวุธหลักอยู่หนึ่งอย่างแล้วที่เหลือเป็นตัวเสริม อย่างผมหลังๆก็ดูพื้นฐานเป็นหลัก ดู fundflow บ้างนิดหน่อยเพื่อเป็นการสแกนภาพกว้างๆว่าตลาดหุ้นถูกไหม เงินออกจากตลาดบอนไหม แต่ผมไม่ได้ดู fundflow เพื่อการลงทุนเป็นหลัก หรืออย่างเทคนิคผมก็ดูว่าเวลาจะเข้าไปเล่นแถวไหนน่ารับ เวลาราคาผ่านกี่บาทแล้วน่าจะเร็ว ผมคิดว่าการรู้แนวทางที่หลากหลายจะทำให้เราเข้าใจ mr market มากขึ้น ซึ่งผมคิดว่าคนที่ลงทุนแล้วชนะตลาดมากมายส่วนนึงจะเป็นคนที่เล่นกับ mr market ได้เก่ง คือรู้ว่าถ้ามีข่าวแบบนั้นแบบนี้ ประกาสกำไรแบบนั้นแบบนี้คนน่าจะซื้อหุ้นหรือขายหุ้น ผมว่าพวกนี้เป็นอาวุธเสริมแนวทางลงทุนหลักเรื่องพื้นฐานของเราได้
———————————————————————————————–
(K.hong ถาม)2.เริ่มมองจาก worst case ก่อนว่าราคาหุ้นควรจะเป็นเท่าไหร่โดยคิดว่าถ้า cash flow ค่อนข้างแย่บริษัทจะสร้างเงินได้กี่ปีถึงจะคืนทุน เปรียบเหมือนแนวคิดว่าตัวเองอยู่ในสงครามแล้วต้องยิงคนอื่นจากใน บังเกอร์ (ไม่ตายแน่นอน)
(K.chinn ตอบ) ถูกต้องครับ เน้นง่าย และชัวร์
(K.hong ถาม)2.1 เช่น dtac ก็มองว่าปีนี้สร้าง ebitda ได้ 20000 ล้านและตอนที่คุณชินตีแตกแถว 50 บาทนั้น dtac มี cash 10000 ล้านมีเงินลงทุนอีก 11000 ล้าน และมีจำนวนอยู่ 2367 ล้าน ดูแล้วถ้านำเงินสดมาจ่ายปันผลก็น่าจะจ่ายได้ประมาณ 8.8 บาทต่อหุ้น แต่คุณชินคาดว่าเขาน่าจะจ่ายได้ในระดับ 16 บาท ไม่ทราบว่าพอจะแชร์วิธีการคำนวณในตอนนั้นให้ฟังได้ไหม
(K.chinn ตอบ) ตอนแรกผมก็ไม่ได้คิดเรื่องปันผลพิเศษครับ ดูงบก็รู้ว่ากันเงินไว้ทำ3 g พอมาทำงบคาดการณ์เลยพบว่า กระแสเงินสดมันเหลือจริงๆแบบไม่มีประโยชน์เลย ถึงไม่เอาออกวันนี้ก็ต้องเอาออกวันหน้า ประมาณ 10 บาทต่อหุ้น โดยไม่ต้องกู้
แต่มองในมุมว่าการทำกิจการในอนาคตจะปลอดภัยสำหรับผู้ถือหุ้นก็ควรนำกระแสเงินสดนี้ไปกู้ มาจ่ายปันผล เพราะแบงค์ ก็ยินดีเสี่ยงอยู่แล้ว เพราะกระแสเงินสดแข็งแกร่ง ทางผู้ถือหุ้นก็ได้ดึงทุนกลับมาบ้าง
(K.hong อธิบายเพิ่มเติม) จริงๆแล้ว cash flow นี้เป็นเรื่องที่สำคัญจริงๆนะครับ อย่างตัวอย่างเรื่อง enron กับ block baster หรือเรื่อง roynet นั้นถ้าไม่ดู cash flow ก็คงมองไม่ออก
อย่างตัวอย่างของ dtac น่าจะเป็นกรณีที่มี cash flow สม่ำเสมอและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเนื่องจาก arpu ของบริษัทคงเพิ่มขึ้นจากมือถือที่เป็น smart phone ตัวปลดล็อกของ dtac น่าจะเป็นหุ้นกู้ที่ทำให้จ่ายปันผลไม่ได้หมดลง
———————————————————————————————–
(K.hong ถาม)3.คุณชินเคยเล่าว่ามีการตีแตก acl เนื่องจาก acl มีเงินสดต่อหุ้นมากกว่า market cap ค่อนข้างเยอะ แต่ว่าหุ้นแบงค์หรือ finance ก็มีเงินสดต่อหุ้นเกินราคาหุ้นอยู่บ่อยๆทำไมตอนนั้นถึงตัดสินใจซื้อ acl ล่ะครับ และตอนนั้นมอง fair value ไว้ประมาณเท่าไหร่ วิธีคิดคร่าวๆเป็นอย่างไร
(K.chinn ตอบ) ผมหมายถึง book value อยู่ที่ 8บาทครับ ซึ่งก็คือเงินสดของเจ้าของ ซึ่งในตอนนั้นมีตัว unlock (ภาษาของกลุ่มคุณฮง ^^) คือการที่กม. ไม่อนุญาตให้ธนาคารถือหุ้นธนาคาร ซึ่งที่8บาท mkt cap acl ยังต่ำกว่า 10,000 ลบ
(มูลค่าเงินที่ต้องนำไป วางไว้ที่ BOT เพื่อขอใบประกอบกิจการ ธ.พาณิชย์ ) ยังไงก็มีคนอยากซื้อแน่นอนครับ
ผมก็ได้ไปศึกษา กม. Tender offer ต่อ ก็พบว่ากรณีนี้ไม่สามารถขอผ่อนผันได้ เพราะ เป็นการเข้าซื้อเพื่อนำมาบริหารเลย ดังนั้น ราคาไม่ต่ำกว่า book แน่นอนแต่ตอนนั้นมีปัญหา subprime ผมเลยนำค่า leverage มาดูพบว่า acl ปล่อย 5 ส่วน จากทุน 1ส่วน เมื่อเทียบกับแบงค์ใหญ่ส่วนมาก ปล่อย10 ส่วนจากทุน1ส่วน ดังนั้น npl ต้องมาถึง 20 % ถึงจะมีอันเป็นไป ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้น ระบบศก คงไปทั้งระบบแล้ว ดังนั้น คุ้มค่า เพราะราคาเป้าไม่ต่ำกว่า 8บาทจากราคาตอนนั้น 2 บาท
เรื่องความเสี่ยง ถือได้ปลอดภัยหายห่วง จากค่า leverage ต่ำ ประเด็นหรือตัว unlock เกิดขึ้นอย่างแน่นอน
(K.hong อธิบายเพิ่มเติม)
เป็นแบบนี้เอง เป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจมากครับ ภาษาทางการเงินน่าจะเรียกว่า asset under gear ก็คือใช้ asset ไม่เกิดประสิทธิภาพเท่าที่ควรดังนั้นถ้าเปลี่ยนมือไปสู่คนที่ใช้ asset ได้มีประสิทธิภาพกว่าก็น่าจะทำให้ wealth ของกลุ่มใหม่สุงกว่า
ผมว่ามันก็คล้ายๆกับบริษัทผลิตที่ผลิตห่วยไม่เต็มกำลังการผลิตแถม sg&a ก็สูงดังนั้นถ้าเปลี่ยนมือไปอยู่ในบริษัทที่ใหญ่กว่าบริหารดีกว่าแล้วผลิตเต็มกำลังผลิต ก็น่าจะมีมูลค่ามากขึ้น
กรณีของ acl ที่ว่า market cap ต่ำกว่า มูลค่าเงินที่ต้องนำไป วางไว้ที่ BOT เพื่อขอใบประกอบกิจการ ธ.พาณิชย์ ผมคิดว่าการคิดในมุมนี้เป็นแนวคิดคล้ายๆกับการดู replacement cost เช่นสมัยก่อนที่ psl อยู่ 1 บาทมีเรือเกือบ 30 ลำ เรือลำหนึ่งได้ค่าเช่า 5000 กว่าเหรียญ โดยที่ psl มี market cap อยู่ 500-600 ล้าน ดูแล้วถ้าเราจะมีเรือเท่ากับ psl ในตอนนั้นยังไงก็ต้องใช้เงินลงทุนมากกว่า market cap ของ psl อยู่มากทีเดียว ดังนั้นนอกจาก earning กับ cash flow แล้วการดูมูลค่าสร้างใหม่ก็น่าจะเป็นการมองมุมของหุ้น undervalue ได้อีกพอสมควร
———————————————————————————————–
(K.hong ถาม)4.การใช้มาร์จิ้นสไตล์คุณชินคือเริ่มจากการหาหุ้นที่ต้องแพ้ยากก่อนคือมี cash flow ที่สูงและอย่างน้อยหุ้นต้องมี upside 100% แล้วค่อยถัวเฉลี่ยขาขึ้นโดยการใช้มาร์จิ้นใช่ไหมครับ ก็คือมาร์จิ้นนั้นถ้าใช้ต้องถัวเฉลี่ยขาขึ้นเท่านั้นและหุ้นจะต้องมี upside ที่สูงมากพอควรเพื่อให้ราคาที่ทยอยถัวเฉลี่ยซื้อยัง undervalue เพราะถ้าซื้อโดยมี upside แค่ 20% คงถัวเฉลี่ยขาขึ้นไม่ได้เนื่องจากขึ้นไปแป๊ปเดียวก็ถึง fair value แล้ว
(K.chinn ตอบ)ถูกต้องที่สุดครับ ในตอนนั้น port เล็ก หาหุ้นขึ้นหลายเท่าได้ไม่ยากครับ
ดังนั้นถ้าได้แค่ 20% ผมไม่สนใจลงทุนด้วยครับ น้อยไป แต่ปัจจุบันผมไม่ใช้วิธีนั้นแล้วนะครับ เนื่องจากไม่มีเหตุต้อง เร่ง portแล้ว จึงใช้margin ด้วยวิธี ที่สบายๆดังที่ส่ง file excel ให้ครับ ปัจจุบันนี้เลย ซื้อและถือ บริหาร margin เล็กน้อยให้พอตื่นตัวครับ
ไม่ค่อยได้ดูราคาหุ้นเหมือนสมัยก่อนแล้วแต่หากใครสนใจใช้วิธี average up ด้วย margin ผมคิดว่าควรศึกษาให้ขาดจริงๆนะครับ เพราะวิธีนี้ห้ามมีจุดผิดพลาดเลยเพราะ money game สามารถทำลาย port คุณได้ง่ายมากๆ Timing และ Model สำคัญมากๆครับ ไม่ควรปล่อยหนี้ไว้นาน
(K.hong อธิบายเพิ่มเติม)
เรื่องที่คุณชินพูดมาก็คือคล้ายๆกับ concept เวลาคือความเสี่ยงก็คือเราควรจะใช้มาร์จิ้นต่อเมื่อเห็นว่าหุ้นจะขึ้นไปได้แล้วเท่านั้น ไม่ควรซื้อมาร์จิ้นไว้เยอะๆแล้วรอหุ้นขึ้นไปโดยไม่มีตัวเร่งอะไรเพราะระหว่างที่รอ เกิดเจอเครื่องบินชนตึก หรือเจอ หม่อมอุ๋ย เข้าไปก็คงน่วมเลย ดังนั้นเวลาคือความเสี่ยง ยิ่งรอแบบไม่เห็นตัวเร่งการมีหนี้ก็ยิ่งเสี่ยง และการใช้จิ้นที่ผมว่าอันตรายที่สุดคือ ถัวเฉลี่ยขาลง การถัวขาขึ้นน่าจะเหมาะกับการ leverage มากกว่า
————————————————————————————————
(K.Tanapol ถาม)อยากขอสอบถามครับคุณชินใช้วิธีการใดในการหาหุ้นที่่น่าสนใจครับ
อย่าง dtac, acl ถ้าคนทั่วๆ ไปคงไม่ได้สนใจว่าจะมี upside เยอะขนาดนั้น
(K.chinn ตอบ)ผมไม่ค่อยหาหุ้นนะครับ ว่างๆ ครึ้มๆใจก็เปิดดู set.or.th ที ดู mkt cap sale งบกระแสเงินสด มันพอบอกได้ระดับหนึ่ง ถ้าน่าสนใจก็ เข้าไปดูละเอียด อย่าง acl นี่ก็ เพื่อนขอให้ช่วยดู ได้ยินมา (สุดท้ายเพื่อนเราไม่ลงด้วย) ผมก็เห็นข่าวในนสพ กับ google จากบทสัมภาษณ์คุณเจียง ceo icbc ก็เห็นความเป็นไปได้
อย่าง jas ก็มีคนขอให้ช่วยดู ก็เห็นงบก็รู้ละครับ
อย่าง dtac แค่จะหาหุ้นที่ดีกว่าฝากเงิน เปิดงบ 5 ตัว ตกใจเงินสดเยอะจัด ธุรกิจมันเข้าใจง่ายตั้งแต่แรกอยู่แล้ว ผมว่าใครก็เข้าใจนะ คือผมพยายามบอกว่า มันไม่ได้ยากเย็นอะไรเลย เห็นก็รู้แล้ว ว่าคุุ้มไม่คุ้ม
ดูงบให้เหมือนอ่านนิทานอะครับ เห็นแล้วรู้ว่าใครทำอะไรบ้าง
———————————————————————————————–
(K.VI Hybrid ถาม)อยากสอบถามว่า ที่ผ่านมาคุณชินเคยมองพลาดมั้ยครับ แล้วเราจะรู้ตัวได้อย่างไรว่า มองพลาด ครับ
ปล อยากให้แนะนำหนังสือ Money Management ครับ ขอบคุณอีกครั้งครับ
ถ้าศึกษาดีแล้ว มันจะไม่พลาดนะครับ
(K.chinn ตอบ)คืออย่าให้ช่องโหว่เกิดได้ บางอย่างมันไม่ใช่แนวเราหรือเกินขอบเขตความรู้เราผมก็ไม่เล่นนะ
แล้วผมยิ่งโง่ๆ ก็ไม่ค่อยได้เล่นหุ้นที่เราไม่เข้าใจครับ สังเกตุ หุ้นที่ผมลงทุนจะเป็นหุ้นง่ายๆ พูดปุปก็รู้มันทำอะไร
อย่างแนวคุณฮง PTL IVL ผมจะต้องศึกษาเยอะๆเลย ง งู หลายตัว ผมก็หลบด้วยการไม่ลงทุนดีกว่า
หนังสือ money management เล่มสีน้ำเงินครับอ่านแค่บนแรกๆ ก็พอได้ idea ไปต่อยอดได้หรือดูระบบ dsm ก็ได้ครับ สุดท้ายต้องต่อยอดเอาเอง
จริงๆการไปอิสระภาพทางการเงินไม่ยากครับ ตั้งเป้า วางแผน แล้วลงมือทำ 2-3 step ก็หลุดละครับ
———————————————————————————————–
(K.hong ถาม)ขอถามคุณชินเรื่อง cash flow หน่อยครับ ไม่รู้ว่าผมจับประเด็นถูกไหม ผมรู้สึกว่าคุณชินจะชอบหุ้นที่ผ่านช่วงลงทุนหนักมาแล้ว อย่างเช่น dtac ตอนซื้อก็ไม่มีลงทุนหนักแล้ว
หรืออย่าง esso ก็ไม่มีเงินลงทุนหนักแล้ว
ผมไม่แน่ใจว่าตอนซื้อ jas 0.40 นั้นเป็นช่วงที่ cash flow ของบริษัททำได้ในระดับไหน แต่อยากลองถามเป็นไอเดียว่าตอนคุณชินเริ่มซื้อ jas มองว่าบริษัทผ่านช่วงลงทุนโครงข่ายและเริ่มเก็บเงินจากฐานลูกค้า boradband ได้แล้วใช่ไหมครับ
และมองว่า cash flow จาก boardband จะเพิ่มขึ้นเร็วด้วยเนื่องจากฐานคนใช้น่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ส่วนภาพ megatrend ในตอนนั้นคือคนจะหันมาใช้ boardband มากขึ้นโดยผู้เล่นที่มีศัยภาพก็มีแค่ jas กับ true
ตอนนั้น story หลักๆก็ประมาณนี้ใช่ไหมครับ
(K.chinn ตอบ) ถ้าดูจากที่ผ่านมาก็น่าจะจริงนะครับ แต่ไม่ใช่ทั้งหมดครับพอดีสองตัวนั้นเป็นหุ้นระยะหลังครับ คือเราออกจากงานแล้วเลยให้ความสำคัญกับปันผลระดับหนึ่ง หุ้นที่เลือกจึงวิ่งไปออกทางนั้น แต่สังเกตุดีๆจะพบว่า เงื่อนไขนี้มักมีผลให้ pay out ratio เพิ่ม ซึ่งหากเอา dividend discount rate ไปจับก็บอกเราว่า ราคาจะเพิ่มขึ้น (เหมือนที่มีผู้ร่วมงานลูกครึ่ง หล่อๆ solve สูตรให้ดูในงาน)
ผมมองงบกระแสเงินสดผมเห็นภาพชัดว่ากิจการกำลังอยู่ในจุดไหนผู้บริหารกำลังทำอะไร สาเหตุที่ผมให้ความสำคัญกับ cash flow เพราะผมมองว่าบางกิจการที่โชว์กำไรสวยๆแต่ cash flow ติดลบไปเรื่อย โดยเฉพาะไปลงลูกหนี้การค้ามากขึ้นเรี่อย สามารถมีปัญหาได้ (บริษัทที่ ปล่อยกู้นาน จ่ายเงินไว ผมไม่ชอบเลย) กลับกันกิจการที่ cash flow สวยๆ แม้ขาดทุนกิจการต่อเนื่องก็อยู่ได้สบายๆ (ส่วนทุนติดลบผมไม่มั่นใจนะว่าเป็นอย่างไร ถ้าไม่มีใครฟ้องผมว่าไม่เจ๊งนะ)
jas ตอนที่ผมเริ่มลงทุนจริง (ตอนนั้นไม่ดู story)
กระแสเงินสดก็สวยๆแบบนี้อยู่แล้วครับ
mkt cap 4000 ลบ. เงินเข้าอยู่ที่ ปีละ 1600 ลบ ถ้าจำไม่ผิด
แต่คนกังวลว่าพอ jas หมดสัมปทาน ดูแล fiber ใต้น้ำจะเป็นอย่างไร ผมเห็นว่า jas ก็เริ่มให้ลูก ลงทุน 3bb (tripple three boardband) ก็ตามมาเรื่อยๆครับ พอภาพชัดว่า กลับตัวแล้ว ก็เลยกลับไปลงทุนภายหลังจากขาย acl
ผมทำ demographic ดูพบว่า ไทยยังเข้าถึง internet น้อยมากยังมีตลาดอีกเยอะ และผมชอบกิจการที่ต่อท่อดูดเงินถึงประชาชนเลยไม่ต้องกังวลเรื่องอำนาจต่อรองมาก
———————————————————————————————–
(K.hong ถาม)แล้วกรณีของหุ้นค้าปลีกหุ้นโรงพยาบาลคุณชินมีความเห็นอย่างไร
เท่าที่ผมดูแล้วถ้าสไตล์การลงทุนของคุณชินเหมือนจะต้องมีเงินปันผลเยอะ
เพื่อป้องกันราคาหุ้นไม่ให้ลงเยอะ
ที่นี้ถ้าหุ้นที่อยู่ใน growth stage เช่น bgh ที่จ่ายเงิน take over เยอะ
ทำให้ต้อง fcf กับเงินปันผลในปัจจุบันอาจจะไม่สูง
หรือ hmpro ที่ต้องขยายสาขาการลงทุนเรื่อยๆยังอยู่ในช่วงลงทุนหนัก
กรณีแบบนี้หุ้นก็โตได้แต่จะไม่เข้าเงื่อนไขการลงทุนของคุณชินใช่หรือไม่
และถ้าคุณชินจะลงทุน bgh หรือ hmpro จะต้องรอให้ผ่านช่วง capex หนักๆ
ไปก่อนหรือเริ่มมีปันผลเยอะก่อนหรือไม่ แต่ถ้าเป็นช่วงนั้นหุ้นก็อาจจะไม่ growth ต่อแล้ว ไม่ทราบว่ามีแนวคิดอย่างไรครับ
(K.chinn ตอบ) ผมไม่ได้ดู fcf ครับ ผมจะพยายามนึกให้ถึงแก่นว่า จริงเขาเก็บเงินได้ปีเท่าไหร่
ซึ่ง บางตัวใช้ค่า ebda บางตัวใช้ opcf บางตัวต้องมานั่งคำนวนกันใหม่ เช่น esso
เงินปันผลเป็นสิ่งที่สำคัญ ดังนี้ครับ
1) ช่วยให้ราคาไม่อยู่ในระดับที่ต่ำได้นาน และลงไม่เยอะครับ
และช่วยจ่ายดอกเบี้ยด้วย ดังนั้น เป็นเรื่องการจัดการ margin
2) มันเป็นธีมหนึ่ง ที่จะได้รับผลบวกจากการลดการคุ้มครองเงินฝาก
3) เป็นตัววัดอิสระภาพทางการเงินของผมครับ คือมีปันผลใช้มากกว่ารายจ่าย
อย่างหุ้นที่ยกตัวอย่าง ผมดูแล้วครับ กระแสเงินสดใช้ได้ ไม่ถูกมากๆ แต่ไม่แพง เมื่อเทียบกับกระแสเงินสดที่แน่นอน เช่น bgh mkt cap 116000 ลบ เงินเข้าปีละ 8000 ลบ ยังโตได้ปีละ 30% แบบนี้ผมดูออกครับ ว่าต่อไปจ่ายปันผลหนักๆได้
แต่จะลงทุนหรือไม่ขึ้นอยู่กับ ความเหมาะสมครับ
เงื่อนไข ที่ผมตั้ง คือ คุ้มค่า ปลอดภัย มีประเด็น หุ้นตัวนี้ ก็ผ่านหมดครับ
กล่าวคือ ผมดูปันผลในอนาคตครับ capex ถ้าลงแล้ว บริษัทโตผมถือว่าดีครับ
———————————————————————————————–
(K.Tong ถาม) 1.Market cap / EBITDA หรือ ว่า Market cap / opcf ที่เท่าไรครับ ถึงจะเริ่มน่าสนใจ
(K.chinn ตอบ)จริงมันขึ้นกับ growth ด้วยครับ ถ้าธุรกิจ ไม่ค่อยโต 0% ผมอยากได้ต่ำกว่า 5เท่า เรียกว่าสูบก้นบุหรี่
ถ้าโต 10% 5 ปีข้างหน้า ผมอยากได้ต่ำกว่า 7.5 เท่า
ถ้าโต 20% 5 ปีข้างหน้า ผมอยากได้ต่ำกว่า 10
(K.Tong ถาม)2.แล้วจะแยกแยะอย่างไรครับว่าบริษัทนี้ความดู Market cap / EBITDA หรือ ว่า Market cap / opcf
(K.chinn ตอบ) EBDA นะ หลังๆ ผม ใช้ i กะ t ด้วย พวกนี้ ผมใช้กับหุ้นที่ลูกหนี้การค้า ไม่เยอะมาก
คือไม่ใช่ว่า ยอดขายมาก็ตามมาด้วยลูกหนี้การค้าหนักๆ
โมเดลธุรกิจแบบ จ่ายช้า รับไว opcf ก็เหมาะกับพวก จ่ายไว รับเงินช้า เพราะผมมองว่า พวกนี้เพิ่มยอดขายก็จม working cap
ทั้งชาติก็ไม่ได้คืน เพราะ เป็นหนี้หมุน ลูกหนี้ยังไงก็ไม่จ่ายจนหมดหนี้
(K.Tong ถาม)3.”bgh mkt cap 116000 ลบ เงินเข้าปีละ 8000 ลบ ยังโตได้ปีละ 30% แบบนี้ผมดูออกครับ ว่าต่อไปจ่ายปันผลหนักๆได้” ช่วยอธิบายเติมเป็นตัวอย่างได้ไหมครับ ว่าทำไมถึงมองว่า ต่อไปจ่ายปันผลหนักๆได้
(K.chinn ตอบ) ก็ถ้ายึด รพ เล็กๆ ไปจนเกือบจะ monopoly เงินเริ่มเหลือ สุดท้ายก็ต้องหาทางเอาออกมาครับ มันจะมีจังหวะอิ่มตัวเหมือน dtac แหละครับ
(K.Tong ถาม)โดยสรุปคือ คุณ chinn จะมองหาว่าบริษัทที่ทำธุรกิจแล้วยิ่งทำยิ่งเงินเหลือเยอะ ไม่ใช่ว่ายิ่งทำเงินยิ่งไปจมกับ ลูกหนี้ หรือ สินค้าคงเหลือใช่ไหมครับ และ จะพิจารณาซื้อ ก็ดูจาก อัตราส่วน Market cap เทียบกับ ebitda หรือ opcf โดยเอาการเติบโตมาร่วมพิจารณา ถ้าเป็นอย่างที่ผมเขียนข้างต้นจริงๆ เพราะพอจะเข้าใจแล้วว่าทำไมคุณชินถึงซื้อ jas แล้วก็ dtac
(K.chinn ตอบ) ถูกต้องนะคร้าบ
กำไรเพียงมายา เงินตราสิของจริง
———————————————————————————————–
(K.nut776 ถาม) ผมกลับมานั่งอ่านที่คุณชิณณ์โพสต์ทั้งหมดเท่าที่ผมหาได้
การหา ev ในมุมมองคุณชิณณ์ คือ mkt cap +x-y
ซึ่งค่า y นอกจากเงินสด แล้ว ดูเหมือนคุณชิณณ์จะดูชนิดของ ธุรกิจด้วย คือถ้า working cap เป็นลบ ก็ถือว่า เอามาลด ev ได้
ผมเข้าใจถูกไหมคับ
(K.chinn ตอบ) ถูกครับ มองข้อมูลให้เห็นความจริง
———————————————————————————————–
(K.hongvalue) และขอขอบคุณคุณชินมากที่แชร์ความรู้ทางการลงทุนและวิธีคิดให้กับเพื่อนๆครับ
(K.chinn)ยินดีครับ ผมคิดว่า ตอนผมเริ่มลงทุนผมก็อาศัยความรู้ของพี่ๆที่มีประสบการณ์ มาใช้แล้วต่อยอด ตอนนี้เราเป็นไท ทางการเงิน แล้วก็ควรคืนกลับ เพื่อให้คนอื่นๆได้รับและส่งต่อๆไปเรื่อยๆครับ pay it forward
http://hongvalue.wordpress.com/2012/01/ ... /#comments
ขอขอบพระคุณในความมีน้ำใจเผยแพร่ความรู้ของทั้งคุณ hongvalue และคุณ chinn ด้วยครับ
ถ้าผมเรียงเนื้อหาผิดพลาด ขออภัยเพื่อนๆทุกท่านด้วยครับ
(K.hong ถาม)1.สไตล์การลงทุนของคุณ chinn เป็น vi ผสม soros ใช่หรือไม่
(K.chinn ตอบ) ผมเป็นนักลงทุนแนวฟรีสไตล์ครับ ไม่ยึดติดแนวไหน แต่เน้นที่เราดูความเป็นจริงของตลาดmoney market และธุรกิจที่แท้จริงซึ่งบางส่วนมันเหมือนของ vi กับ soros ครับ แต่จริงๆแล้วผมยังได้ใช้หลักคิดของท่านอื่นอีกมากครับ เช่น เศรษฐศาสตร์แห่งความจริง ของคุณ พิชัย จาวลา , dsm ของคุณเด่นศรี จาก ห้องคลับเพื่ออิสรภาพทางการเงิน Money management ของต่างประเทศ,Technical เพื่อดูว่าตลาดคิดอะไร ผสมกันให้หมดแล้ว พอเจอปัญหามันจะรู้ว่าหยิบอะไรมาใช้บ้าง
(K.hong อธิบายเพิ่มเติม)
ผมคิดว่าแนวทางอื่นๆจริงๆแล้วเราอาจจะรู้เอาไว้เป็นอาวุธเสริม แต่จริงๆเราจะมีอาวุธหลักอยู่หนึ่งอย่างแล้วที่เหลือเป็นตัวเสริม อย่างผมหลังๆก็ดูพื้นฐานเป็นหลัก ดู fundflow บ้างนิดหน่อยเพื่อเป็นการสแกนภาพกว้างๆว่าตลาดหุ้นถูกไหม เงินออกจากตลาดบอนไหม แต่ผมไม่ได้ดู fundflow เพื่อการลงทุนเป็นหลัก หรืออย่างเทคนิคผมก็ดูว่าเวลาจะเข้าไปเล่นแถวไหนน่ารับ เวลาราคาผ่านกี่บาทแล้วน่าจะเร็ว ผมคิดว่าการรู้แนวทางที่หลากหลายจะทำให้เราเข้าใจ mr market มากขึ้น ซึ่งผมคิดว่าคนที่ลงทุนแล้วชนะตลาดมากมายส่วนนึงจะเป็นคนที่เล่นกับ mr market ได้เก่ง คือรู้ว่าถ้ามีข่าวแบบนั้นแบบนี้ ประกาสกำไรแบบนั้นแบบนี้คนน่าจะซื้อหุ้นหรือขายหุ้น ผมว่าพวกนี้เป็นอาวุธเสริมแนวทางลงทุนหลักเรื่องพื้นฐานของเราได้
———————————————————————————————–
(K.hong ถาม)2.เริ่มมองจาก worst case ก่อนว่าราคาหุ้นควรจะเป็นเท่าไหร่โดยคิดว่าถ้า cash flow ค่อนข้างแย่บริษัทจะสร้างเงินได้กี่ปีถึงจะคืนทุน เปรียบเหมือนแนวคิดว่าตัวเองอยู่ในสงครามแล้วต้องยิงคนอื่นจากใน บังเกอร์ (ไม่ตายแน่นอน)
(K.chinn ตอบ) ถูกต้องครับ เน้นง่าย และชัวร์
(K.hong ถาม)2.1 เช่น dtac ก็มองว่าปีนี้สร้าง ebitda ได้ 20000 ล้านและตอนที่คุณชินตีแตกแถว 50 บาทนั้น dtac มี cash 10000 ล้านมีเงินลงทุนอีก 11000 ล้าน และมีจำนวนอยู่ 2367 ล้าน ดูแล้วถ้านำเงินสดมาจ่ายปันผลก็น่าจะจ่ายได้ประมาณ 8.8 บาทต่อหุ้น แต่คุณชินคาดว่าเขาน่าจะจ่ายได้ในระดับ 16 บาท ไม่ทราบว่าพอจะแชร์วิธีการคำนวณในตอนนั้นให้ฟังได้ไหม
(K.chinn ตอบ) ตอนแรกผมก็ไม่ได้คิดเรื่องปันผลพิเศษครับ ดูงบก็รู้ว่ากันเงินไว้ทำ3 g พอมาทำงบคาดการณ์เลยพบว่า กระแสเงินสดมันเหลือจริงๆแบบไม่มีประโยชน์เลย ถึงไม่เอาออกวันนี้ก็ต้องเอาออกวันหน้า ประมาณ 10 บาทต่อหุ้น โดยไม่ต้องกู้
แต่มองในมุมว่าการทำกิจการในอนาคตจะปลอดภัยสำหรับผู้ถือหุ้นก็ควรนำกระแสเงินสดนี้ไปกู้ มาจ่ายปันผล เพราะแบงค์ ก็ยินดีเสี่ยงอยู่แล้ว เพราะกระแสเงินสดแข็งแกร่ง ทางผู้ถือหุ้นก็ได้ดึงทุนกลับมาบ้าง
(K.hong อธิบายเพิ่มเติม) จริงๆแล้ว cash flow นี้เป็นเรื่องที่สำคัญจริงๆนะครับ อย่างตัวอย่างเรื่อง enron กับ block baster หรือเรื่อง roynet นั้นถ้าไม่ดู cash flow ก็คงมองไม่ออก
อย่างตัวอย่างของ dtac น่าจะเป็นกรณีที่มี cash flow สม่ำเสมอและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเนื่องจาก arpu ของบริษัทคงเพิ่มขึ้นจากมือถือที่เป็น smart phone ตัวปลดล็อกของ dtac น่าจะเป็นหุ้นกู้ที่ทำให้จ่ายปันผลไม่ได้หมดลง
———————————————————————————————–
(K.hong ถาม)3.คุณชินเคยเล่าว่ามีการตีแตก acl เนื่องจาก acl มีเงินสดต่อหุ้นมากกว่า market cap ค่อนข้างเยอะ แต่ว่าหุ้นแบงค์หรือ finance ก็มีเงินสดต่อหุ้นเกินราคาหุ้นอยู่บ่อยๆทำไมตอนนั้นถึงตัดสินใจซื้อ acl ล่ะครับ และตอนนั้นมอง fair value ไว้ประมาณเท่าไหร่ วิธีคิดคร่าวๆเป็นอย่างไร
(K.chinn ตอบ) ผมหมายถึง book value อยู่ที่ 8บาทครับ ซึ่งก็คือเงินสดของเจ้าของ ซึ่งในตอนนั้นมีตัว unlock (ภาษาของกลุ่มคุณฮง ^^) คือการที่กม. ไม่อนุญาตให้ธนาคารถือหุ้นธนาคาร ซึ่งที่8บาท mkt cap acl ยังต่ำกว่า 10,000 ลบ
(มูลค่าเงินที่ต้องนำไป วางไว้ที่ BOT เพื่อขอใบประกอบกิจการ ธ.พาณิชย์ ) ยังไงก็มีคนอยากซื้อแน่นอนครับ
ผมก็ได้ไปศึกษา กม. Tender offer ต่อ ก็พบว่ากรณีนี้ไม่สามารถขอผ่อนผันได้ เพราะ เป็นการเข้าซื้อเพื่อนำมาบริหารเลย ดังนั้น ราคาไม่ต่ำกว่า book แน่นอนแต่ตอนนั้นมีปัญหา subprime ผมเลยนำค่า leverage มาดูพบว่า acl ปล่อย 5 ส่วน จากทุน 1ส่วน เมื่อเทียบกับแบงค์ใหญ่ส่วนมาก ปล่อย10 ส่วนจากทุน1ส่วน ดังนั้น npl ต้องมาถึง 20 % ถึงจะมีอันเป็นไป ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้น ระบบศก คงไปทั้งระบบแล้ว ดังนั้น คุ้มค่า เพราะราคาเป้าไม่ต่ำกว่า 8บาทจากราคาตอนนั้น 2 บาท
เรื่องความเสี่ยง ถือได้ปลอดภัยหายห่วง จากค่า leverage ต่ำ ประเด็นหรือตัว unlock เกิดขึ้นอย่างแน่นอน
(K.hong อธิบายเพิ่มเติม)
เป็นแบบนี้เอง เป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจมากครับ ภาษาทางการเงินน่าจะเรียกว่า asset under gear ก็คือใช้ asset ไม่เกิดประสิทธิภาพเท่าที่ควรดังนั้นถ้าเปลี่ยนมือไปสู่คนที่ใช้ asset ได้มีประสิทธิภาพกว่าก็น่าจะทำให้ wealth ของกลุ่มใหม่สุงกว่า
ผมว่ามันก็คล้ายๆกับบริษัทผลิตที่ผลิตห่วยไม่เต็มกำลังการผลิตแถม sg&a ก็สูงดังนั้นถ้าเปลี่ยนมือไปอยู่ในบริษัทที่ใหญ่กว่าบริหารดีกว่าแล้วผลิตเต็มกำลังผลิต ก็น่าจะมีมูลค่ามากขึ้น
กรณีของ acl ที่ว่า market cap ต่ำกว่า มูลค่าเงินที่ต้องนำไป วางไว้ที่ BOT เพื่อขอใบประกอบกิจการ ธ.พาณิชย์ ผมคิดว่าการคิดในมุมนี้เป็นแนวคิดคล้ายๆกับการดู replacement cost เช่นสมัยก่อนที่ psl อยู่ 1 บาทมีเรือเกือบ 30 ลำ เรือลำหนึ่งได้ค่าเช่า 5000 กว่าเหรียญ โดยที่ psl มี market cap อยู่ 500-600 ล้าน ดูแล้วถ้าเราจะมีเรือเท่ากับ psl ในตอนนั้นยังไงก็ต้องใช้เงินลงทุนมากกว่า market cap ของ psl อยู่มากทีเดียว ดังนั้นนอกจาก earning กับ cash flow แล้วการดูมูลค่าสร้างใหม่ก็น่าจะเป็นการมองมุมของหุ้น undervalue ได้อีกพอสมควร
———————————————————————————————–
(K.hong ถาม)4.การใช้มาร์จิ้นสไตล์คุณชินคือเริ่มจากการหาหุ้นที่ต้องแพ้ยากก่อนคือมี cash flow ที่สูงและอย่างน้อยหุ้นต้องมี upside 100% แล้วค่อยถัวเฉลี่ยขาขึ้นโดยการใช้มาร์จิ้นใช่ไหมครับ ก็คือมาร์จิ้นนั้นถ้าใช้ต้องถัวเฉลี่ยขาขึ้นเท่านั้นและหุ้นจะต้องมี upside ที่สูงมากพอควรเพื่อให้ราคาที่ทยอยถัวเฉลี่ยซื้อยัง undervalue เพราะถ้าซื้อโดยมี upside แค่ 20% คงถัวเฉลี่ยขาขึ้นไม่ได้เนื่องจากขึ้นไปแป๊ปเดียวก็ถึง fair value แล้ว
(K.chinn ตอบ)ถูกต้องที่สุดครับ ในตอนนั้น port เล็ก หาหุ้นขึ้นหลายเท่าได้ไม่ยากครับ
ดังนั้นถ้าได้แค่ 20% ผมไม่สนใจลงทุนด้วยครับ น้อยไป แต่ปัจจุบันผมไม่ใช้วิธีนั้นแล้วนะครับ เนื่องจากไม่มีเหตุต้อง เร่ง portแล้ว จึงใช้margin ด้วยวิธี ที่สบายๆดังที่ส่ง file excel ให้ครับ ปัจจุบันนี้เลย ซื้อและถือ บริหาร margin เล็กน้อยให้พอตื่นตัวครับ
ไม่ค่อยได้ดูราคาหุ้นเหมือนสมัยก่อนแล้วแต่หากใครสนใจใช้วิธี average up ด้วย margin ผมคิดว่าควรศึกษาให้ขาดจริงๆนะครับ เพราะวิธีนี้ห้ามมีจุดผิดพลาดเลยเพราะ money game สามารถทำลาย port คุณได้ง่ายมากๆ Timing และ Model สำคัญมากๆครับ ไม่ควรปล่อยหนี้ไว้นาน
(K.hong อธิบายเพิ่มเติม)
เรื่องที่คุณชินพูดมาก็คือคล้ายๆกับ concept เวลาคือความเสี่ยงก็คือเราควรจะใช้มาร์จิ้นต่อเมื่อเห็นว่าหุ้นจะขึ้นไปได้แล้วเท่านั้น ไม่ควรซื้อมาร์จิ้นไว้เยอะๆแล้วรอหุ้นขึ้นไปโดยไม่มีตัวเร่งอะไรเพราะระหว่างที่รอ เกิดเจอเครื่องบินชนตึก หรือเจอ หม่อมอุ๋ย เข้าไปก็คงน่วมเลย ดังนั้นเวลาคือความเสี่ยง ยิ่งรอแบบไม่เห็นตัวเร่งการมีหนี้ก็ยิ่งเสี่ยง และการใช้จิ้นที่ผมว่าอันตรายที่สุดคือ ถัวเฉลี่ยขาลง การถัวขาขึ้นน่าจะเหมาะกับการ leverage มากกว่า
————————————————————————————————
(K.Tanapol ถาม)อยากขอสอบถามครับคุณชินใช้วิธีการใดในการหาหุ้นที่่น่าสนใจครับ
อย่าง dtac, acl ถ้าคนทั่วๆ ไปคงไม่ได้สนใจว่าจะมี upside เยอะขนาดนั้น
(K.chinn ตอบ)ผมไม่ค่อยหาหุ้นนะครับ ว่างๆ ครึ้มๆใจก็เปิดดู set.or.th ที ดู mkt cap sale งบกระแสเงินสด มันพอบอกได้ระดับหนึ่ง ถ้าน่าสนใจก็ เข้าไปดูละเอียด อย่าง acl นี่ก็ เพื่อนขอให้ช่วยดู ได้ยินมา (สุดท้ายเพื่อนเราไม่ลงด้วย) ผมก็เห็นข่าวในนสพ กับ google จากบทสัมภาษณ์คุณเจียง ceo icbc ก็เห็นความเป็นไปได้
อย่าง jas ก็มีคนขอให้ช่วยดู ก็เห็นงบก็รู้ละครับ
อย่าง dtac แค่จะหาหุ้นที่ดีกว่าฝากเงิน เปิดงบ 5 ตัว ตกใจเงินสดเยอะจัด ธุรกิจมันเข้าใจง่ายตั้งแต่แรกอยู่แล้ว ผมว่าใครก็เข้าใจนะ คือผมพยายามบอกว่า มันไม่ได้ยากเย็นอะไรเลย เห็นก็รู้แล้ว ว่าคุุ้มไม่คุ้ม
ดูงบให้เหมือนอ่านนิทานอะครับ เห็นแล้วรู้ว่าใครทำอะไรบ้าง
———————————————————————————————–
(K.VI Hybrid ถาม)อยากสอบถามว่า ที่ผ่านมาคุณชินเคยมองพลาดมั้ยครับ แล้วเราจะรู้ตัวได้อย่างไรว่า มองพลาด ครับ
ปล อยากให้แนะนำหนังสือ Money Management ครับ ขอบคุณอีกครั้งครับ
ถ้าศึกษาดีแล้ว มันจะไม่พลาดนะครับ
(K.chinn ตอบ)คืออย่าให้ช่องโหว่เกิดได้ บางอย่างมันไม่ใช่แนวเราหรือเกินขอบเขตความรู้เราผมก็ไม่เล่นนะ
แล้วผมยิ่งโง่ๆ ก็ไม่ค่อยได้เล่นหุ้นที่เราไม่เข้าใจครับ สังเกตุ หุ้นที่ผมลงทุนจะเป็นหุ้นง่ายๆ พูดปุปก็รู้มันทำอะไร
อย่างแนวคุณฮง PTL IVL ผมจะต้องศึกษาเยอะๆเลย ง งู หลายตัว ผมก็หลบด้วยการไม่ลงทุนดีกว่า
หนังสือ money management เล่มสีน้ำเงินครับอ่านแค่บนแรกๆ ก็พอได้ idea ไปต่อยอดได้หรือดูระบบ dsm ก็ได้ครับ สุดท้ายต้องต่อยอดเอาเอง
จริงๆการไปอิสระภาพทางการเงินไม่ยากครับ ตั้งเป้า วางแผน แล้วลงมือทำ 2-3 step ก็หลุดละครับ
———————————————————————————————–
(K.hong ถาม)ขอถามคุณชินเรื่อง cash flow หน่อยครับ ไม่รู้ว่าผมจับประเด็นถูกไหม ผมรู้สึกว่าคุณชินจะชอบหุ้นที่ผ่านช่วงลงทุนหนักมาแล้ว อย่างเช่น dtac ตอนซื้อก็ไม่มีลงทุนหนักแล้ว
หรืออย่าง esso ก็ไม่มีเงินลงทุนหนักแล้ว
ผมไม่แน่ใจว่าตอนซื้อ jas 0.40 นั้นเป็นช่วงที่ cash flow ของบริษัททำได้ในระดับไหน แต่อยากลองถามเป็นไอเดียว่าตอนคุณชินเริ่มซื้อ jas มองว่าบริษัทผ่านช่วงลงทุนโครงข่ายและเริ่มเก็บเงินจากฐานลูกค้า boradband ได้แล้วใช่ไหมครับ
และมองว่า cash flow จาก boardband จะเพิ่มขึ้นเร็วด้วยเนื่องจากฐานคนใช้น่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ส่วนภาพ megatrend ในตอนนั้นคือคนจะหันมาใช้ boardband มากขึ้นโดยผู้เล่นที่มีศัยภาพก็มีแค่ jas กับ true
ตอนนั้น story หลักๆก็ประมาณนี้ใช่ไหมครับ
(K.chinn ตอบ) ถ้าดูจากที่ผ่านมาก็น่าจะจริงนะครับ แต่ไม่ใช่ทั้งหมดครับพอดีสองตัวนั้นเป็นหุ้นระยะหลังครับ คือเราออกจากงานแล้วเลยให้ความสำคัญกับปันผลระดับหนึ่ง หุ้นที่เลือกจึงวิ่งไปออกทางนั้น แต่สังเกตุดีๆจะพบว่า เงื่อนไขนี้มักมีผลให้ pay out ratio เพิ่ม ซึ่งหากเอา dividend discount rate ไปจับก็บอกเราว่า ราคาจะเพิ่มขึ้น (เหมือนที่มีผู้ร่วมงานลูกครึ่ง หล่อๆ solve สูตรให้ดูในงาน)
ผมมองงบกระแสเงินสดผมเห็นภาพชัดว่ากิจการกำลังอยู่ในจุดไหนผู้บริหารกำลังทำอะไร สาเหตุที่ผมให้ความสำคัญกับ cash flow เพราะผมมองว่าบางกิจการที่โชว์กำไรสวยๆแต่ cash flow ติดลบไปเรื่อย โดยเฉพาะไปลงลูกหนี้การค้ามากขึ้นเรี่อย สามารถมีปัญหาได้ (บริษัทที่ ปล่อยกู้นาน จ่ายเงินไว ผมไม่ชอบเลย) กลับกันกิจการที่ cash flow สวยๆ แม้ขาดทุนกิจการต่อเนื่องก็อยู่ได้สบายๆ (ส่วนทุนติดลบผมไม่มั่นใจนะว่าเป็นอย่างไร ถ้าไม่มีใครฟ้องผมว่าไม่เจ๊งนะ)
jas ตอนที่ผมเริ่มลงทุนจริง (ตอนนั้นไม่ดู story)
กระแสเงินสดก็สวยๆแบบนี้อยู่แล้วครับ
mkt cap 4000 ลบ. เงินเข้าอยู่ที่ ปีละ 1600 ลบ ถ้าจำไม่ผิด
แต่คนกังวลว่าพอ jas หมดสัมปทาน ดูแล fiber ใต้น้ำจะเป็นอย่างไร ผมเห็นว่า jas ก็เริ่มให้ลูก ลงทุน 3bb (tripple three boardband) ก็ตามมาเรื่อยๆครับ พอภาพชัดว่า กลับตัวแล้ว ก็เลยกลับไปลงทุนภายหลังจากขาย acl
ผมทำ demographic ดูพบว่า ไทยยังเข้าถึง internet น้อยมากยังมีตลาดอีกเยอะ และผมชอบกิจการที่ต่อท่อดูดเงินถึงประชาชนเลยไม่ต้องกังวลเรื่องอำนาจต่อรองมาก
———————————————————————————————–
(K.hong ถาม)แล้วกรณีของหุ้นค้าปลีกหุ้นโรงพยาบาลคุณชินมีความเห็นอย่างไร
เท่าที่ผมดูแล้วถ้าสไตล์การลงทุนของคุณชินเหมือนจะต้องมีเงินปันผลเยอะ
เพื่อป้องกันราคาหุ้นไม่ให้ลงเยอะ
ที่นี้ถ้าหุ้นที่อยู่ใน growth stage เช่น bgh ที่จ่ายเงิน take over เยอะ
ทำให้ต้อง fcf กับเงินปันผลในปัจจุบันอาจจะไม่สูง
หรือ hmpro ที่ต้องขยายสาขาการลงทุนเรื่อยๆยังอยู่ในช่วงลงทุนหนัก
กรณีแบบนี้หุ้นก็โตได้แต่จะไม่เข้าเงื่อนไขการลงทุนของคุณชินใช่หรือไม่
และถ้าคุณชินจะลงทุน bgh หรือ hmpro จะต้องรอให้ผ่านช่วง capex หนักๆ
ไปก่อนหรือเริ่มมีปันผลเยอะก่อนหรือไม่ แต่ถ้าเป็นช่วงนั้นหุ้นก็อาจจะไม่ growth ต่อแล้ว ไม่ทราบว่ามีแนวคิดอย่างไรครับ
(K.chinn ตอบ) ผมไม่ได้ดู fcf ครับ ผมจะพยายามนึกให้ถึงแก่นว่า จริงเขาเก็บเงินได้ปีเท่าไหร่
ซึ่ง บางตัวใช้ค่า ebda บางตัวใช้ opcf บางตัวต้องมานั่งคำนวนกันใหม่ เช่น esso
เงินปันผลเป็นสิ่งที่สำคัญ ดังนี้ครับ
1) ช่วยให้ราคาไม่อยู่ในระดับที่ต่ำได้นาน และลงไม่เยอะครับ
และช่วยจ่ายดอกเบี้ยด้วย ดังนั้น เป็นเรื่องการจัดการ margin
2) มันเป็นธีมหนึ่ง ที่จะได้รับผลบวกจากการลดการคุ้มครองเงินฝาก
3) เป็นตัววัดอิสระภาพทางการเงินของผมครับ คือมีปันผลใช้มากกว่ารายจ่าย
อย่างหุ้นที่ยกตัวอย่าง ผมดูแล้วครับ กระแสเงินสดใช้ได้ ไม่ถูกมากๆ แต่ไม่แพง เมื่อเทียบกับกระแสเงินสดที่แน่นอน เช่น bgh mkt cap 116000 ลบ เงินเข้าปีละ 8000 ลบ ยังโตได้ปีละ 30% แบบนี้ผมดูออกครับ ว่าต่อไปจ่ายปันผลหนักๆได้
แต่จะลงทุนหรือไม่ขึ้นอยู่กับ ความเหมาะสมครับ
เงื่อนไข ที่ผมตั้ง คือ คุ้มค่า ปลอดภัย มีประเด็น หุ้นตัวนี้ ก็ผ่านหมดครับ
กล่าวคือ ผมดูปันผลในอนาคตครับ capex ถ้าลงแล้ว บริษัทโตผมถือว่าดีครับ
———————————————————————————————–
(K.Tong ถาม) 1.Market cap / EBITDA หรือ ว่า Market cap / opcf ที่เท่าไรครับ ถึงจะเริ่มน่าสนใจ
(K.chinn ตอบ)จริงมันขึ้นกับ growth ด้วยครับ ถ้าธุรกิจ ไม่ค่อยโต 0% ผมอยากได้ต่ำกว่า 5เท่า เรียกว่าสูบก้นบุหรี่
ถ้าโต 10% 5 ปีข้างหน้า ผมอยากได้ต่ำกว่า 7.5 เท่า
ถ้าโต 20% 5 ปีข้างหน้า ผมอยากได้ต่ำกว่า 10
(K.Tong ถาม)2.แล้วจะแยกแยะอย่างไรครับว่าบริษัทนี้ความดู Market cap / EBITDA หรือ ว่า Market cap / opcf
(K.chinn ตอบ) EBDA นะ หลังๆ ผม ใช้ i กะ t ด้วย พวกนี้ ผมใช้กับหุ้นที่ลูกหนี้การค้า ไม่เยอะมาก
คือไม่ใช่ว่า ยอดขายมาก็ตามมาด้วยลูกหนี้การค้าหนักๆ
โมเดลธุรกิจแบบ จ่ายช้า รับไว opcf ก็เหมาะกับพวก จ่ายไว รับเงินช้า เพราะผมมองว่า พวกนี้เพิ่มยอดขายก็จม working cap
ทั้งชาติก็ไม่ได้คืน เพราะ เป็นหนี้หมุน ลูกหนี้ยังไงก็ไม่จ่ายจนหมดหนี้
(K.Tong ถาม)3.”bgh mkt cap 116000 ลบ เงินเข้าปีละ 8000 ลบ ยังโตได้ปีละ 30% แบบนี้ผมดูออกครับ ว่าต่อไปจ่ายปันผลหนักๆได้” ช่วยอธิบายเติมเป็นตัวอย่างได้ไหมครับ ว่าทำไมถึงมองว่า ต่อไปจ่ายปันผลหนักๆได้
(K.chinn ตอบ) ก็ถ้ายึด รพ เล็กๆ ไปจนเกือบจะ monopoly เงินเริ่มเหลือ สุดท้ายก็ต้องหาทางเอาออกมาครับ มันจะมีจังหวะอิ่มตัวเหมือน dtac แหละครับ
(K.Tong ถาม)โดยสรุปคือ คุณ chinn จะมองหาว่าบริษัทที่ทำธุรกิจแล้วยิ่งทำยิ่งเงินเหลือเยอะ ไม่ใช่ว่ายิ่งทำเงินยิ่งไปจมกับ ลูกหนี้ หรือ สินค้าคงเหลือใช่ไหมครับ และ จะพิจารณาซื้อ ก็ดูจาก อัตราส่วน Market cap เทียบกับ ebitda หรือ opcf โดยเอาการเติบโตมาร่วมพิจารณา ถ้าเป็นอย่างที่ผมเขียนข้างต้นจริงๆ เพราะพอจะเข้าใจแล้วว่าทำไมคุณชินถึงซื้อ jas แล้วก็ dtac
(K.chinn ตอบ) ถูกต้องนะคร้าบ
กำไรเพียงมายา เงินตราสิของจริง
———————————————————————————————–
(K.nut776 ถาม) ผมกลับมานั่งอ่านที่คุณชิณณ์โพสต์ทั้งหมดเท่าที่ผมหาได้
การหา ev ในมุมมองคุณชิณณ์ คือ mkt cap +x-y
ซึ่งค่า y นอกจากเงินสด แล้ว ดูเหมือนคุณชิณณ์จะดูชนิดของ ธุรกิจด้วย คือถ้า working cap เป็นลบ ก็ถือว่า เอามาลด ev ได้
ผมเข้าใจถูกไหมคับ
(K.chinn ตอบ) ถูกครับ มองข้อมูลให้เห็นความจริง
———————————————————————————————–
(K.hongvalue) และขอขอบคุณคุณชินมากที่แชร์ความรู้ทางการลงทุนและวิธีคิดให้กับเพื่อนๆครับ
(K.chinn)ยินดีครับ ผมคิดว่า ตอนผมเริ่มลงทุนผมก็อาศัยความรู้ของพี่ๆที่มีประสบการณ์ มาใช้แล้วต่อยอด ตอนนี้เราเป็นไท ทางการเงิน แล้วก็ควรคืนกลับ เพื่อให้คนอื่นๆได้รับและส่งต่อๆไปเรื่อยๆครับ pay it forward