สรุปความรู้ที่ได้จากงานเดินหมากลงทุนในหุ้นกับสุมาอี้ 25 ม.ค.
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ม.ค. 27, 2012 3:03 pm
เนื่องด้วยได้มีโอกาสไปร่วมงานเสวนาเดินหมากลงทุนกับสุมาอี้ ของ P’สุมาอี้ เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2555 ที่ผ่านมา จึงอยากจะสรุปความรู้ที่ได้จากงานครั้งนี้บางส่วน เผื่ออาจจะมีประโยชน์ต่อเพื่อนนักลงทุนท่านอื่นบ้างครับ (รบกวนพี่ๆเพื่อนๆท่านอื่น ช่วย comment ด้วยครับ ถ้าผมจดผิดหรือเข้าใจในประเด็นที่วิทยากรสื่อสารคาดเคลื่อน)
1.การที่เราลงทุนในหุ้น long term growth นั้นประเด็นที่สำคัญคือการมองเพดานการเติบโตของธุรกิจนั้นว่ามีเพดานการเติบโตว่าเยอะมากน้อยขนาดไหน
2.หุ้น long term growth นั้น ส่วนใหญ่จะได้ซื้อในราคาที่ไม่ถูกมาก (fair price) ซึ่งอาจจะต่างจากการลงทุนในแนว VI ที่นักลงทุนอาจจะต่อรองราคามากกว่า
3.ตัวอย่างหุ้น long term growth นั้น เช่น กลุ่มห้างสรรพสินค้า ซึ่งการที่จะเปิดสาขาเพิ่มนั้นไม่ได้ลำบากมากนัก ถ้าเทียบกับบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับโรงกลั่นซึ่งอาจจะต้องถึงขั้นเพิ่มทุนถ้าจะต้องสร้างโรงกลั่นใหม่ที่มีมูลค่าเป็น 100,000 ล้าน
อีกหนึ่งธุรกิจที่อาจจะเติบโตได้เรื่อยๆ คือบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับเหมือง, บ่อน้ำมัน ซึ่งสามารถทำรายได้เพิ่มขึ้นจากการการที่ไปหาบ่อ, แหล่งใหม่ๆ ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับบริษัทที่ทำกิจการรับเหมาก่อสร้างนั้น พอหมด project ก็จำเป็นที่จะต้องไปหา project ใหม่ เริ่มใหม่อยู่ตลอดเวลาทำให้การที่บริษัทจะโตในระยะยาวค่อนข้างลำบาก
4.Criteria นึงสำหรับการเลือกบริษัท long term growth ที่จะลงทุนนั้นคือการที่พยายามหาจุดแข็งที่บริษัทอื่นไม่มี ซึ่งถ้าเราเองยังนึกจุดแข็งไม่ออกก็ยังไม่ควรสนใจที่จะลงทุนในบริษัทนั้น
สำหรับตัวอย่างจุดแข็งของบริษัท เช่น PS สร้างบ้านแบบเดียวกันแต่สามารถทำราคาได้ถูกกว่าบริษัทอื่นประมาณ 15% (Cost leadership) เพราะมี Technology ในการก่อสร้าง ทำให้สามารถสร้างเสร็จได้ไว ควบคุมต้นทุนบริษัทได้ดี ซึ่งการที่บริษัทสามารถตั้งราคาขายของบ้านได้ถูกกว่าบริษัทอื่นก็ยิ่งเป็นผลดีต่อความสามารถในการขายบ้านของบริษัทเพราะผู้บริโภคมีโอกาสกู้ซื้อบ้านผ่านได้เพิ่มขึ้น
5.อีก Critreria นึงในการเลือกบริษัทที่ long term growth คือการมอง Megatrend เช่นการมองว่าบริษัทไหนที่ผู้ใช้มีโอกาสเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆ เช่นบริษัทที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจพลังงาน การที่ประเทศจีนและอินเดียนั้นมีการเติบโตของเศรษฐกิจที่สูงนั้นทำให้มีคนที่ขยับฐานะจากชนชั้นล่างขึ้นสู่ชนชั้นกลางมากขึ้น ซึ่งส่งผลทำให้มีคนสามารถซื้อรถขับมากขึ้น ทำให้เกิดการใช้พลังงานที่มากขึ้น
นอกจากนี้นั้นอีกธุรกิจนึงที่อาจเกี่ยวข้องกับ Megatrend คือเรื่องของการท่องเที่ยว เพราะโลกไร้พรมแดนในปัจจุบันนั้นทำให้ค่าเครื่องบินนั้นถูกลง ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการเดินทางที่มากขึ้น
แต่ก็อาจจะมีจุดอ่อนสำหรับการมองเพียงแค่ Megatrend เพียงอย่างเดียวเพราะบางธุรกิจนั้นแม้ demand จะเพิ่มขึ้นจริงแต่ก็อาจจะมาพร้อมกับการแข่งขันที่สูง เช่นธุรกิจ Internet ISP (ในอดีต) เพราะมีการแข่งขันที่สูงมาก เนื่องจากในช่วงนั้นมีบริษัทที่ได้รับสัมปทานเยอะมากทำให้เกิดการแข่งขันที่ราคาเพียงอย่างเดียว สุดท้ายก็มีบริษัทจำนวนมากที่ล้มละลายไป หรืออีกตัวอย่างนึงคือธุรกิจการท่องเที่ยวนั้นแม้ demand อาจจะเพิ่มขึ้นแต่ก็อาจจะประสบปัญหาในแง่บริษัทสายการบินเองก็มีการแข่งขันที่สูงมาก รวมไปถึงยังอาจจะประสบปัญหาจากปัจจัยอย่างอื่นเช่นปัญหาน้ำมันราคาแพงเป็นต้น หรืออย่างธุรกิจโรงแรมเองนั้นก็อาจจะประสบปัญหาการแข่งขันที่สูงมากเนื่องจากมีการเปิดใหม่ของโรงแรมเป็นจำนวนมากเช่นเดียวกัน
6.สำหรับบริษัทที่อาจจะมองว่าเป็น monopoly (ผูกขาด) ในบ้านเรานั้นก็อาจจะมีเช่นธุรกิจสนามบิน เพียงแต่ก็อาจจะมีปัญหาในแง่การบริหารจัดการองค์กรที่ค่อนข้างจะอึดอัด
หรืออย่างอุตสาหกรรมโรงพยาบาลในบ้านเรานั้นก็ถือว่า monopoly ในระดับนึง ซึ่งอุตสาหกรรมนี้นั้นมองว่าการเกิดขึ้นใหม่ของโรงพยาบาลเองนั้นถือว่าเกิดขึ้นค่อนข้างยากเนื่องจาก ถ้าตั้งโรงพยาบาลใหม่นั้นอาจจะต้องยอมขาดทุนเป็นระยะเวลาเป็น 10 ปี เพราะในช่วงแรกฐานลูกค้าของโรงพยาบาลยังไม่มากพอที่ทำให้เกิดการคุ้มทุน จึงทำให้ธุรกิจนี้นั้นส่วนใหญ่ใช้ Strategy ซื้อโรงพยาบาลมากกว่าการตั้งโรงพยาบาลใหม่ เพียงแต่ในปัจจุบันเองนั้นก็เหลือกลุ่มโรงพยาบาลที่จะให้ซื้อน้อยมาก ซึ่งสำหรับโรงพยาบาลนั้นนอกจากจะโตจากการซื้อกิจการก็อาจจะสามารถโตแบบ Organic growth คือการที่มีลูกค้ามาใช้บริการเพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงการขึ้นค่ารักษาบริการของทางโรงพยาบาล
7.สำหรับการมอง Population trend นั้นในประเทศไทยเองอาจจะไม่ค่อย work สักเท่าไรเนื่องจากโดยปัจจุบันประเทศไทยมีประชากรเพิ่มขึ้นค่อนข้างน้อย (ประมาณ 1%)
8.ในระยะหลังๆ ธุรกิจที่จะโตในบ้านเรานั้น ส่วนใหญ่จะโตมาจากการกิน market share ยกตัวอย่างเช่นธุรกิจ modern trade เองนั้นสามารถโต 15% ต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลาที่นานจากการที่ผู้บริโภคเปลี่ยนจากการเดินซื้อของในตลาดสดมาเป็นซื้อที่ห้างแทน
9.สำหรับนักลงทุนนั้น ปัจจัยนึงที่ควรจะมองคือผู้บริหารของบริษัท โดยสังเกตจากการให้สัมภาษณ์ของผู้บริหารในช่วงอดีต แล้วเราก็มาดูว่าผู้บริหารสามารถบริหารบริษัทได้ตามที่เคยให้สัมภาษณ์หรือไม่ อาจจะต้องดูหลายๆปี รวมไปถึงมองว่าการที่ไม่สามารถทำตามที่เคยให้สัมภาษณ์นั้นเป็นเรื่องสุดวิสัยหรือไม่
10.หนังสือแนะนำของ P’สุมาอี้ คือ Beating the street ของ Peter Lynch และตีแตกของท่านอาจารย์นิเวศน์ (เล่มหลังนั้นอ่านแล้วอาจจะสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้ที่อ่าน)
ซึ่งการที่เราเคยอ่านหนังสือในช่วงแรกๆของการลงทุน แล้วกลับมาอ่านใหม่ในอีก 2-3 ปีต่อมานั้นเราเองอาจจะเข้าใจในรายละเอียดมากขึ้น รวมไปถึงได้อะไรใหม่ๆจากการอ่านหนังสือเล่มนั้นอีกรอบครับ
11.อาชีพนักลงทุนนั้นจริงๆแล้ว % ประสบความสำเร็จเองนั้นก็มี % ที่น้อยใกล้เคียงกับอาชีพอื่นๆ เพราะฉะนั้นถ้าอยากจะประสบความสำเร็จเราเองก็ต้องมีความพยายามแน่วแน่จริงจัง โดยดูจากข้อมูลของลูกค้าของ broker พบว่าในนักลงทุน 100 คนนั้นมีคนที่ไม่ขาดทุนเพียงแค่ 35 คน และสำหรับนักลงทุนเพียงแค่ไม่ถึง 10 คน ที่สามารถลงทุนจนสามารถเปลี่ยนชีวิตของตัวเอง
12.สำหรับการลงทุนนั้น P’สุมาอี้เองนั้นก็ไม่ได้มองว่าทุกกรณีต้องมาทำ DCF เนื่องจากการที่จะทำ DCF เองนั้นต้องใช้ข้อมูลและตัวแปรที่ใช้เป็นจำนวนมาก
13.สำหรับ sale growth นั้นเราควรที่จะสนใจ sale growth ที่เกิดขึ้นจากปริมาณการขายที่มากขึ้นมากกว่า การที่ sale growth เนื่องจากราคาขายที่เพิ่มขึ้น (การที่จะหาข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณการขายนั้น เราอาจจะต้องไปลองหาข้อมูลจากข่าวของบริษัทเพราะว่าข้อมูลนี้นั้นอาจจะไม่ได้แสดงอยู่ในงบการเงิน)
14.สำหรับวิธีการง่ายๆอย่างนึงในการหาข่าวของบริษัทนั้น คือ การใช้ internet ในการหาข้อมูลจาก google โดยเพียงแค่ลองพิมพ์ชื่อของบริษัท ชื่อผู้บริหาร ก็จะทำให้เราสามารถหาข้อมูลของบริษัทได้มากขึ้น
ปล.เนื่องจากกว่าผมจะเดินทางจากชลบุรีมาถึงงานก็ประมาณ 6 โมงกว่าแล้ว ทำให้ผมไม่ได้ฟังตั้งแต่ช่วงแรกๆครับ (ขออภัยที่อาจจะนำมา share ให้เพื่อนๆทราบได้เพียงแค่บางส่วนครับ)
สำหรับเพื่อนๆที่สนใจความรู้จาก P’สุมาอี้ สามารถเข้าไปอ่านความรู้ในการลงทุนเพิ่มเติมได้จาก http://dekisugi.net/
สุดท้ายนี้ขอขอบคุณ P’สุมาอี้ มากๆครับสำหรับความรู้ดีๆที่นำมาฝากเพื่อนๆนักลงทุนเสมอๆ และขอขอบคุณ web thaivi ด้วยครับสำหรับคลังแห่งความรู้ในการลงทุนที่ช่วยทำให้เกิดนักลงทุนที่มีความรู้มากมาย รวมไปถึงขอขอบคุณตลาดหลักทรัพย์ที่มีสัมมนาการลงทุนดีๆให้ได้ไปเรียนรู้อยู่ตลอดเวลาครับ
earthcu/27 Jan 2012
1.การที่เราลงทุนในหุ้น long term growth นั้นประเด็นที่สำคัญคือการมองเพดานการเติบโตของธุรกิจนั้นว่ามีเพดานการเติบโตว่าเยอะมากน้อยขนาดไหน
2.หุ้น long term growth นั้น ส่วนใหญ่จะได้ซื้อในราคาที่ไม่ถูกมาก (fair price) ซึ่งอาจจะต่างจากการลงทุนในแนว VI ที่นักลงทุนอาจจะต่อรองราคามากกว่า
3.ตัวอย่างหุ้น long term growth นั้น เช่น กลุ่มห้างสรรพสินค้า ซึ่งการที่จะเปิดสาขาเพิ่มนั้นไม่ได้ลำบากมากนัก ถ้าเทียบกับบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับโรงกลั่นซึ่งอาจจะต้องถึงขั้นเพิ่มทุนถ้าจะต้องสร้างโรงกลั่นใหม่ที่มีมูลค่าเป็น 100,000 ล้าน
อีกหนึ่งธุรกิจที่อาจจะเติบโตได้เรื่อยๆ คือบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับเหมือง, บ่อน้ำมัน ซึ่งสามารถทำรายได้เพิ่มขึ้นจากการการที่ไปหาบ่อ, แหล่งใหม่ๆ ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับบริษัทที่ทำกิจการรับเหมาก่อสร้างนั้น พอหมด project ก็จำเป็นที่จะต้องไปหา project ใหม่ เริ่มใหม่อยู่ตลอดเวลาทำให้การที่บริษัทจะโตในระยะยาวค่อนข้างลำบาก
4.Criteria นึงสำหรับการเลือกบริษัท long term growth ที่จะลงทุนนั้นคือการที่พยายามหาจุดแข็งที่บริษัทอื่นไม่มี ซึ่งถ้าเราเองยังนึกจุดแข็งไม่ออกก็ยังไม่ควรสนใจที่จะลงทุนในบริษัทนั้น
สำหรับตัวอย่างจุดแข็งของบริษัท เช่น PS สร้างบ้านแบบเดียวกันแต่สามารถทำราคาได้ถูกกว่าบริษัทอื่นประมาณ 15% (Cost leadership) เพราะมี Technology ในการก่อสร้าง ทำให้สามารถสร้างเสร็จได้ไว ควบคุมต้นทุนบริษัทได้ดี ซึ่งการที่บริษัทสามารถตั้งราคาขายของบ้านได้ถูกกว่าบริษัทอื่นก็ยิ่งเป็นผลดีต่อความสามารถในการขายบ้านของบริษัทเพราะผู้บริโภคมีโอกาสกู้ซื้อบ้านผ่านได้เพิ่มขึ้น
5.อีก Critreria นึงในการเลือกบริษัทที่ long term growth คือการมอง Megatrend เช่นการมองว่าบริษัทไหนที่ผู้ใช้มีโอกาสเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆ เช่นบริษัทที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจพลังงาน การที่ประเทศจีนและอินเดียนั้นมีการเติบโตของเศรษฐกิจที่สูงนั้นทำให้มีคนที่ขยับฐานะจากชนชั้นล่างขึ้นสู่ชนชั้นกลางมากขึ้น ซึ่งส่งผลทำให้มีคนสามารถซื้อรถขับมากขึ้น ทำให้เกิดการใช้พลังงานที่มากขึ้น
นอกจากนี้นั้นอีกธุรกิจนึงที่อาจเกี่ยวข้องกับ Megatrend คือเรื่องของการท่องเที่ยว เพราะโลกไร้พรมแดนในปัจจุบันนั้นทำให้ค่าเครื่องบินนั้นถูกลง ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการเดินทางที่มากขึ้น
แต่ก็อาจจะมีจุดอ่อนสำหรับการมองเพียงแค่ Megatrend เพียงอย่างเดียวเพราะบางธุรกิจนั้นแม้ demand จะเพิ่มขึ้นจริงแต่ก็อาจจะมาพร้อมกับการแข่งขันที่สูง เช่นธุรกิจ Internet ISP (ในอดีต) เพราะมีการแข่งขันที่สูงมาก เนื่องจากในช่วงนั้นมีบริษัทที่ได้รับสัมปทานเยอะมากทำให้เกิดการแข่งขันที่ราคาเพียงอย่างเดียว สุดท้ายก็มีบริษัทจำนวนมากที่ล้มละลายไป หรืออีกตัวอย่างนึงคือธุรกิจการท่องเที่ยวนั้นแม้ demand อาจจะเพิ่มขึ้นแต่ก็อาจจะประสบปัญหาในแง่บริษัทสายการบินเองก็มีการแข่งขันที่สูงมาก รวมไปถึงยังอาจจะประสบปัญหาจากปัจจัยอย่างอื่นเช่นปัญหาน้ำมันราคาแพงเป็นต้น หรืออย่างธุรกิจโรงแรมเองนั้นก็อาจจะประสบปัญหาการแข่งขันที่สูงมากเนื่องจากมีการเปิดใหม่ของโรงแรมเป็นจำนวนมากเช่นเดียวกัน
6.สำหรับบริษัทที่อาจจะมองว่าเป็น monopoly (ผูกขาด) ในบ้านเรานั้นก็อาจจะมีเช่นธุรกิจสนามบิน เพียงแต่ก็อาจจะมีปัญหาในแง่การบริหารจัดการองค์กรที่ค่อนข้างจะอึดอัด
หรืออย่างอุตสาหกรรมโรงพยาบาลในบ้านเรานั้นก็ถือว่า monopoly ในระดับนึง ซึ่งอุตสาหกรรมนี้นั้นมองว่าการเกิดขึ้นใหม่ของโรงพยาบาลเองนั้นถือว่าเกิดขึ้นค่อนข้างยากเนื่องจาก ถ้าตั้งโรงพยาบาลใหม่นั้นอาจจะต้องยอมขาดทุนเป็นระยะเวลาเป็น 10 ปี เพราะในช่วงแรกฐานลูกค้าของโรงพยาบาลยังไม่มากพอที่ทำให้เกิดการคุ้มทุน จึงทำให้ธุรกิจนี้นั้นส่วนใหญ่ใช้ Strategy ซื้อโรงพยาบาลมากกว่าการตั้งโรงพยาบาลใหม่ เพียงแต่ในปัจจุบันเองนั้นก็เหลือกลุ่มโรงพยาบาลที่จะให้ซื้อน้อยมาก ซึ่งสำหรับโรงพยาบาลนั้นนอกจากจะโตจากการซื้อกิจการก็อาจจะสามารถโตแบบ Organic growth คือการที่มีลูกค้ามาใช้บริการเพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงการขึ้นค่ารักษาบริการของทางโรงพยาบาล
7.สำหรับการมอง Population trend นั้นในประเทศไทยเองอาจจะไม่ค่อย work สักเท่าไรเนื่องจากโดยปัจจุบันประเทศไทยมีประชากรเพิ่มขึ้นค่อนข้างน้อย (ประมาณ 1%)
8.ในระยะหลังๆ ธุรกิจที่จะโตในบ้านเรานั้น ส่วนใหญ่จะโตมาจากการกิน market share ยกตัวอย่างเช่นธุรกิจ modern trade เองนั้นสามารถโต 15% ต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลาที่นานจากการที่ผู้บริโภคเปลี่ยนจากการเดินซื้อของในตลาดสดมาเป็นซื้อที่ห้างแทน
9.สำหรับนักลงทุนนั้น ปัจจัยนึงที่ควรจะมองคือผู้บริหารของบริษัท โดยสังเกตจากการให้สัมภาษณ์ของผู้บริหารในช่วงอดีต แล้วเราก็มาดูว่าผู้บริหารสามารถบริหารบริษัทได้ตามที่เคยให้สัมภาษณ์หรือไม่ อาจจะต้องดูหลายๆปี รวมไปถึงมองว่าการที่ไม่สามารถทำตามที่เคยให้สัมภาษณ์นั้นเป็นเรื่องสุดวิสัยหรือไม่
10.หนังสือแนะนำของ P’สุมาอี้ คือ Beating the street ของ Peter Lynch และตีแตกของท่านอาจารย์นิเวศน์ (เล่มหลังนั้นอ่านแล้วอาจจะสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้ที่อ่าน)
ซึ่งการที่เราเคยอ่านหนังสือในช่วงแรกๆของการลงทุน แล้วกลับมาอ่านใหม่ในอีก 2-3 ปีต่อมานั้นเราเองอาจจะเข้าใจในรายละเอียดมากขึ้น รวมไปถึงได้อะไรใหม่ๆจากการอ่านหนังสือเล่มนั้นอีกรอบครับ
11.อาชีพนักลงทุนนั้นจริงๆแล้ว % ประสบความสำเร็จเองนั้นก็มี % ที่น้อยใกล้เคียงกับอาชีพอื่นๆ เพราะฉะนั้นถ้าอยากจะประสบความสำเร็จเราเองก็ต้องมีความพยายามแน่วแน่จริงจัง โดยดูจากข้อมูลของลูกค้าของ broker พบว่าในนักลงทุน 100 คนนั้นมีคนที่ไม่ขาดทุนเพียงแค่ 35 คน และสำหรับนักลงทุนเพียงแค่ไม่ถึง 10 คน ที่สามารถลงทุนจนสามารถเปลี่ยนชีวิตของตัวเอง
12.สำหรับการลงทุนนั้น P’สุมาอี้เองนั้นก็ไม่ได้มองว่าทุกกรณีต้องมาทำ DCF เนื่องจากการที่จะทำ DCF เองนั้นต้องใช้ข้อมูลและตัวแปรที่ใช้เป็นจำนวนมาก
13.สำหรับ sale growth นั้นเราควรที่จะสนใจ sale growth ที่เกิดขึ้นจากปริมาณการขายที่มากขึ้นมากกว่า การที่ sale growth เนื่องจากราคาขายที่เพิ่มขึ้น (การที่จะหาข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณการขายนั้น เราอาจจะต้องไปลองหาข้อมูลจากข่าวของบริษัทเพราะว่าข้อมูลนี้นั้นอาจจะไม่ได้แสดงอยู่ในงบการเงิน)
14.สำหรับวิธีการง่ายๆอย่างนึงในการหาข่าวของบริษัทนั้น คือ การใช้ internet ในการหาข้อมูลจาก google โดยเพียงแค่ลองพิมพ์ชื่อของบริษัท ชื่อผู้บริหาร ก็จะทำให้เราสามารถหาข้อมูลของบริษัทได้มากขึ้น
ปล.เนื่องจากกว่าผมจะเดินทางจากชลบุรีมาถึงงานก็ประมาณ 6 โมงกว่าแล้ว ทำให้ผมไม่ได้ฟังตั้งแต่ช่วงแรกๆครับ (ขออภัยที่อาจจะนำมา share ให้เพื่อนๆทราบได้เพียงแค่บางส่วนครับ)
สำหรับเพื่อนๆที่สนใจความรู้จาก P’สุมาอี้ สามารถเข้าไปอ่านความรู้ในการลงทุนเพิ่มเติมได้จาก http://dekisugi.net/
สุดท้ายนี้ขอขอบคุณ P’สุมาอี้ มากๆครับสำหรับความรู้ดีๆที่นำมาฝากเพื่อนๆนักลงทุนเสมอๆ และขอขอบคุณ web thaivi ด้วยครับสำหรับคลังแห่งความรู้ในการลงทุนที่ช่วยทำให้เกิดนักลงทุนที่มีความรู้มากมาย รวมไปถึงขอขอบคุณตลาดหลักทรัพย์ที่มีสัมมนาการลงทุนดีๆให้ได้ไปเรียนรู้อยู่ตลอดเวลาครับ
earthcu/27 Jan 2012