หน้า 1 จากทั้งหมด 1

ต้นทุนการกู้ยืม vs. ดอกเบี้ยจ่าย

โพสต์แล้ว: อังคาร มี.ค. 27, 2012 8:36 pm
โดย pollux
ต้นทุนการกู้ยืม vs. ดอกเบี้ยจ่าย

ต้นทุนการกู้ยืม หมายถึง ต้นทุน รายจ่าย หรือค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาเงินทุนโดยการกู้ ยืมเงิน ดังนั้น ต้นทุนการกู้ยืมส่วนใหญ่จะประกอบด้วย ดอกเบี้ยจ่ายจากเงินกู้ระยะสั้น ดอกเบี้ยจ่ายจากเงินกู้ระยะยาว ค่าธรรมเนียมการกู้ยืม และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกู้ยืมเงิน คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่า ต้นทุนการกู้ยืม มีความหมายครอบคลุมเพียงแค่ดอกเบี้ยจ่ายที่เกิดจากการกู้ยืมเงิน แต่ตามคำจำกัดความของบัญชี ต้นทุนการกู้ยืมประกอบด้วยรายการอื่นเพิ่มเติมจากดอกเบี้ยจ่าย ดังนี้

1) จำนวนการตัดจำหน่ายของส่วนลดและส่วนเกินที่เกี่ยวข้องกับการกู้ยืม เช่น ส่วนลดหรือส่วนเกินจากการออกหุ้นกู้ ในตลาดตราสารหนี้ บริษัทที่เป็นเจ้าของหุ้นกู้นั้นๆ สามารถเสนอขายหุ้นกู้ของตนเองได้ในอัตราดอกเบี้ยที่บริษัทต้องการ ในกรณีที่บริษัทเสนอขายหุ้นกู้ในอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยในตลาด อัตราดอกเบี้ยหุ้นกู้ที่สูงกว่าอัตราตลาดนี้ทำให้บริษัทสามารถขายหุ้นกู้ได้ในราคาสูง เรียก "ส่วนเกินมูลค่าหุ้นกู้" ส่วนเกินมูลค่าหุ้นกู้นี้จะบันทึกบัญชีเป็นหนี้สินรวมกับหุ้นกู้และทะยอยตัดจำหน่ายในแต่ละงวดเพื่อปรับดอกเบี้ยจ่ายของหุ้นกู้ให้สอดคล้องกับจำนวนดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายตามอัตราตลาด ณ วันที่ขายหุ้นกู้ ในทางกลับกัน ในกรณีที่อัตราดอกเบี้ยหุ้นกู้ที่บริษัทเสนอจ่ายต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยในตลาด ส่วนลดมูลค่าหุ้นกู้จะเกิดขึ้น บริษัทจะนำส่วนลดมูลค่าหุ้นกู้ไปลดหนี้สินหุ้นกู้ในงบดุลและทะยอยตัดจำหน่ายไปปรับเพิ่มดอกเบี้ยจ่ายในแต่ละงวดให้สอดคล้องกับดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายตามอัตราตลาด ณ วันที่ขายหุ้นกู้ เพราะเหตุนี้การตัดจำหน่ายส่วนลดและส่วนเกินมูลค่าหุ้นกู้นี้จึงมีผลกระทบโดยตรงต่อการเพิ่มและลดดอกเบี้ยจ่าย จึงถือเป็นรายการหนึ่งที่รวมอยู่ในต้นทุนการกู้ยืม

2) ค่าใช้จ่ายทางการเงินที่เกิดจากสัญญาระยะยาวที่จัดเป็นสัญญาเช่าการเงิน (Financial Lease) ซึ่งโดยนัยแล้วคือ ดอกเบี้ยที่ผู้เช่าจะต้องจ่ายในแต่ละงวด

3) ผลต่างจากอัตราแลกเปลี่ยนที่เกิดจากการกู้ยืมที่เป็นเงินตราต่างประเทศ เช่น ในกรณีที่บริษัทกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินในต่างประเทศและเกิดดอกเบี้ยขึ้น เมื่อบริษัทจำต้องแปลงดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายจากการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศนั้น ให้เป็นเงินบาท ผลต่างจากอัตราแลกเปลี่ยนของดอกเบี้ยเงินกู้ถือเป็นส่วนหนึ่งของดอกเบี้ยเงินกู้ ตามปกติ ต้นทุนการกู้ยืมเหล่านี้จะบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนสำหรับงวดบัญชีที่ต้นทุนการกู้ยืมเกิดขึ้น โดยไม่คำนึงถึงวัตถุประสงค์ของการกู้ยืม อย่างไรก็ตาม บริษัทสามารถนำต้นทุนการกู้ยืมไปบันทึกรวมเป็นส่วนหนึ่งของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน เช่น อาคารและอุปกรณ์ ถ้าต้นทุนการกู้ยืมนั้นเกี่ยวข้องโดยตรงกับการได้มา การก่อสร้าง หรือการผลิตสินทรัพย์ โดยเฉพาะเมื่อสินทรัพย์นั้นต้องใช้ระยะเวลานานในการเตรียมพร้อม

เราจะเห็นได้ว่า ต้นทุนการกู้ยืมไม่ได้รวมเฉพาะรายการที่เรียกว่า "ดอกเบี้ยจ่าย" แต่ยังรวมรายการที่เกี่ยวข้องกับดอกเบี้ยจ่ายต่างๆ นอกจากนั้น แม้ต้นทุนการกู้ยืมส่วนใหญ่จะบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน แต่ต้นทุนกู้ยืมบางส่วนก็สามารถบันทึกรวมเป็นราคาทุนของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนในงบแสดงฐานะการเงิน แล้วค่อยๆ ทะยอยตัดเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนหรือบันทึกเป็นสินค้าคงเหลือเมื่อมีการตัดค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนนั้น

Re: ต้นทุนการกู้ยืม vs. ดอกเบี้ยจ่าย

โพสต์แล้ว: พุธ มี.ค. 28, 2012 10:17 am
โดย chatchai
มีดอกเบี้ยจากการกู้ยืมเงินประเภทไหนที่ไม่ต้องบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนบ้างครับ

Re: ต้นทุนการกู้ยืม vs. ดอกเบี้ยจ่าย

โพสต์แล้ว: พุธ มี.ค. 28, 2012 10:25 am
โดย chikojung
สอบถามเพิ่มเติมครับ

ถ้าเราอยากจะรู้ต้นทุนการกู้ยืมของบริษัทจดทะเบียนจะดูได้จากไหนครับ
คือจะแสดงเป็นต้นทุนการกู้ยืมทั้งหมดที่ยืมมา หรือต้องไปดูหนี้แต่ละก้อนเองครับ

แล้วเรื่อง financial lease เราจะรู้ได้หรือเปล่าครับว่าบริษัทจ่ายดอกเบี้ยในการทำ financial lease แต่ละครั้งเท่าไหร่ครับ

Re: ต้นทุนการกู้ยืม vs. ดอกเบี้ยจ่าย

โพสต์แล้ว: พุธ มี.ค. 28, 2012 1:47 pm
โดย picatos
chatchai เขียน:มีดอกเบี้ยจากการกู้ยืมเงินประเภทไหนที่ไม่ต้องบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนบ้างครับ
พวกดอกเบี้ยที่ Capitalize เข้าเป็น Fix Asset รึเปล่าครับ? พวกนั้นจะรับรู้เป็นค่าเสื่อมราคาแทน

Re: ต้นทุนการกู้ยืม vs. ดอกเบี้ยจ่าย

โพสต์แล้ว: พุธ มี.ค. 28, 2012 8:22 pm
โดย boomboom.s
chatchai เขียน:มีดอกเบี้ยจากการกู้ยืมเงินประเภทไหนที่ไม่ต้องบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนบ้างครับ
คุณ picatos บอกถูกเเล้วคับ ดอกเบี้ยจ่ายที่ไม่ต้องบันทึกเปนค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุกคือพวกที่เกิดจากการกู้ยืมเงินที่เกี่ยวข้องกับ fix asset(ที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ etc.) และจะ capitalize รวมเข้าไปกับราคาทุนของ fix asset และรับรู้ผ่านการคิดค่าเสื่อมในแต่ละงวดคับ

Re: ต้นทุนการกู้ยืม vs. ดอกเบี้ยจ่าย

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. มี.ค. 29, 2012 6:06 pm
โดย pollux
chikojung เขียน:สอบถามเพิ่มเติมครับ

ถ้าเราอยากจะรู้ต้นทุนการกู้ยืมของบริษัทจดทะเบียนจะดูได้จากไหนครับ
คือจะแสดงเป็นต้นทุนการกู้ยืมทั้งหมดที่ยืมมา หรือต้องไปดูหนี้แต่ละก้อนเองครับ

แล้วเรื่อง financial lease เราจะรู้ได้หรือเปล่าครับว่าบริษัทจ่ายดอกเบี้ยในการทำ financial lease แต่ละครั้งเท่าไหร่ครับ
ต้นทุนทางการเงินของบริษัทสามารถดูได้ในงบกำไรขาดทุนคับ แต่ส่วนนี่จะบอกเพียงต้นทุน(finance cost)ซึ่งเป็นยอดรวมในงวดนั้นๆโดยที่ไม่ได้รวมส่วนที่ capitalize ไว้ใน fix asset คับ แต่ส่วนที่ cap ไว้นั้นอาจดูได้จากหมายเหตุประกอบงบการเงินในส่วนของ ที่ดิน อาคาร และ อุปกรณ์ ในบางบริษัท แต่เท่าที่ผมลองเปิดดูเเล้ว บริษัท ส่วนใหญ่ จะรวมต้นทุนทางการเงินกับต้นทุนของสินทรัพย์นั้นเป็นก้อนเดียวกันโดยไม่แบ่งจำเเนกออกมา แต่บอกเพียงว่าได้รวมต้นทุนทางการกู้ยืมไว้แล้ว แต่ว่าเราสามารถประมานส่วนที่ cap ไว้ได้จากจำนวนดอกเบี้ยจ่ายที่เป็นเงินสดสูงกว่าดอกเบี้ยจ่ายตามเกณฑ์คงค้าง ถ้าสูงมากๆ ก็น่าจะมาจากดอกเบี้ยที่ cap ไว้ในสินทรัพย์ ซึ่งส่วนนี้ดูได้จากงบกระแสเงินสดคับ
ส่วนเรื่องดอกเบี้ยจากการทำในแต่ละครั้ง finance lease นั้นสามารถเปิดดูจากหมายเหตุงบการเงินของ finance lease ได้คับ แต่บางบริษัทก็บอกเพียงแค่ Book value ของ lease agreement คับ

Re: ต้นทุนการกู้ยืม vs. ดอกเบี้ยจ่าย

โพสต์แล้ว: อังคาร เม.ย. 10, 2012 10:44 pm
โดย beethoven
- หนี้เงินกู้บางประเภทกำหนดให้จ่ายคืนเป็นงวดซึ่งรวมต้นและดอกในแต่ละงวดไปด้วยกัน แต่บางประเภทจ่ายแต่เฉพาะดอกจนครบกำหนดสิ้นอายุสัญญาจึงจ่ายเงินต้นคืนไปพร้อมกับดอกงวดสุดท้าย ผมมีความสับสนระหว่างการจ่ายดอกเบี้ยกับการจ่ายคืนเงินต้นครับว่าเขาจ่ายกันอย่างไร และ รายการดอกเบี้ยจ่ายในงบที่กล่าวถึงกันอยู่นี้ คือส่วนไหนกันครับ และมีวิธีการดูจากงบได้อย่างไรให้ทราบว่าบริษัทนั้นๆมีหนี้ในลักษณะใด
- Interest coverage ratio คลุมการชำระเงินต้นด้วยหรือไม่ ถ้าไม่รวมเงินต้นกรุณาแนะนำว่าควรดูตัวเลขใดที่บอกความสามารถในการชำระหนี้ของบริษัท
ขอบคุณครับ

Re: ต้นทุนการกู้ยืม vs. ดอกเบี้ยจ่าย

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. เม.ย. 12, 2012 3:32 pm
โดย parporn
beethoven เขียน:- หนี้เงินกู้บางประเภทกำหนดให้จ่ายคืนเป็นงวดซึ่งรวมต้นและดอกในแต่ละงวดไปด้วยกัน แต่บางประเภทจ่ายแต่เฉพาะดอกจนครบกำหนดสิ้นอายุสัญญาจึงจ่ายเงินต้นคืนไปพร้อมกับดอกงวดสุดท้าย ผมมีความสับสนระหว่างการจ่ายดอกเบี้ยกับการจ่ายคืนเงินต้นครับว่าเขาจ่ายกันอย่างไร และ รายการดอกเบี้ยจ่ายในงบที่กล่าวถึงกันอยู่นี้ คือส่วนไหนกันครับ และมีวิธีการดูจากงบได้อย่างไรให้ทราบว่าบริษัทนั้นๆมีหนี้ในลักษณะใด
- Interest coverage ratio คลุมการชำระเงินต้นด้วยหรือไม่ ถ้าไม่รวมเงินต้นกรุณาแนะนำว่าควรดูตัวเลขใดที่บอกความสามารถในการชำระหนี้ของบริษัท
ขอบคุณครับ
เอาคร่าวๆ นะคะ เงินกู้มี 2 แบบคือ จ่ายเงินต้นพร้อมดอกเบี้ย และจ่ายดอกเบี้ยอย่างเดียวจนถึงกำหนดชำระเงินต้นจึงคืนเงินต้น ในทางบัญชี หนี้ทั้ง 2 แบบมีนัยไม่แตกต่างกัน การบันทึกดอกเบี้ยทำเหมือนกัน เพราะถึงจะเป็นเงินกู้แบบที่จ่ายทั้งต้นและดอกพร้อมกัน นักบัญชีก็ยังคงต้องชำแหละดอกเบี้ยออกจากเงินต้นเพื่อบันทึกบัญชีดอกเบี้ยให้ถูกต้องอยู่ดี

การจะดูให้รู้ว่าบริษัทมีหนี้แบบไหน ดูได้จ่กหมายเหตุประกอบงบการเงิน


interest coverage ratio ไม่นำเงินต้นมารวมคำนวณ ใช้แต่ดอกเบี้ยล้วนๆ

การดูความสามารถในการชำระหนี้ดูได้จาก debt/equity ratio และดูจาก debt payback period ก็ได้ ช่วยอ่านบทความของอาจารย์สรีพงศ์ sun_cisa2 ที่พูดถึงการวิเคราะห์งบกระแสเงินสดเพิ่มเติมค่ะ

Re: ต้นทุนการกู้ยืม vs. ดอกเบี้ยจ่าย

โพสต์แล้ว: ศุกร์ เม.ย. 13, 2012 8:22 pm
โดย pollux
beethoven เขียน:- หนี้เงินกู้บางประเภทกำหนดให้จ่ายคืนเป็นงวดซึ่งรวมต้นและดอกในแต่ละงวดไปด้วยกัน แต่บางประเภทจ่ายแต่เฉพาะดอกจนครบกำหนดสิ้นอายุสัญญาจึงจ่ายเงินต้นคืนไปพร้อมกับดอกงวดสุดท้าย ผมมีความสับสนระหว่างการจ่ายดอกเบี้ยกับการจ่ายคืนเงินต้นครับว่าเขาจ่ายกันอย่างไร และ รายการดอกเบี้ยจ่ายในงบที่กล่าวถึงกันอยู่นี้ คือส่วนไหนกันครับ และมีวิธีการดูจากงบได้อย่างไรให้ทราบว่าบริษัทนั้นๆมีหนี้ในลักษณะใด
- Interest coverage ratio คลุมการชำระเงินต้นด้วยหรือไม่ ถ้าไม่รวมเงินต้นกรุณาแนะนำว่าควรดูตัวเลขใดที่บอกความสามารถในการชำระหนี้ของบริษัท
ขอบคุณครับ
ขออธิบายเพิ่มเติม และยกตัวอย่างง่ายๆนะครับ

ข้อ 1
วิธีการจ่ายดอกเบี้ยและเงินต้นมีอยู่หลายแบบ ขึ้นอยู่กับสัญญาเงินกู้ ซึ่งรายละเอียดเกี่ยวกับเงินกู้แต่ละส่วน ทางกิจการจะเปิดเผยอยู่ในหมายเหตุประกอบงบการเงินเกี่ยวกับเงินกู้ระยะยาว ในหมายเหตุนี้ ทางกิจการจะเปิดเผยข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับ จำนวนเงินต้น อัตราดอกเบี้ย วิธีการชำระคืนทั้งดอกเบี้ยและเงินต้น และยอดคงเหลือของเงินต้น ณ สิ้นปี ตัวอย่าง (สมมติ)เช่น บริษัท ก. มีเงินกู้ 375 ล้าน อัตราดอกเบี้ย 6.5% ต่อปี มีกำหนดการชำระเป็นรายงวด งวดละ10 ล้าน สิ้นปีมีเงินคงเหลือ 320 ล้าน เป็นต้น

รายการดอกเบี้ยจ่ายในงบการเงิน คือ จำนวนดอกเบี้ยที่เกิดขึ้น ที่ไม่รวมเงินต้น ( นั่นคือ 6.5% ของ 375 ล้าน ในตัวอย่างข้างต้น)

วิธีการดูจากงบการเงิน เราสามารถดูเงินกู้แต่ละส่วนได้จาก หมายเหตุประกอบงบการเงินอย่างที่กล่าวมาข้างต้น เรายังสามารถดูจำนวนเงินกู้ได้จากงบดุล โดยจะสังเกตุได้ว่า เงินกู้นั้นจะแบ่งเป็น หนี้สินหมุนเวียนและหนี้สินไม่หมุนเวียน เงินต้นที่ถึงกำหนดชำระคืนภายใน1 ปี จะอยู่ในรายการหนี้สินหมุนเวียน ส่วนที่สุทธิจากที่ต้องจ่ายชำระภายใน 1 ปีก็จะอยู่ในรายการหนี้สินไม่หมุนเวียนครับ

ข้อ 2
อัตราส่วนความสามารถในการชำระดอกเบี้ย Interest coverage ratio ไม่รวมการชำระเงินต้นครับ
เมื่อบริษัทมีการกู้ยืมเงิน จำนวนเงินต้นจะถูกบันทึกอยู่ใน "ส่วนเงินสดที่มาจากหรือถูกใช้ไปในกิจกรรมจัดหาเงิน"(Financing Activities) ในงบกระแสเงินสด ส่วนค่าใช้จ่ายที่เพิ่มเติมออกมาจากตัวเงินต้น หรือในทางหนึ่งเรียกว่า ดอกเบี้ยจ่ายของเงินต้น จะถูกบันทึกอยู่ในงบกำไรขาดทุน Interest coverage ratio ตัวนี้แหละ ที่สามารถบ่งบอกได้ถึงความสามารถของบริษัทที่จะจ่ายดอกเบี้ยที่เกิดขึ้น

นอกจากนี้ เรายังสามารถวิเคราะห์ความสามารถในการชำระหนี้ของบริษัทผ่าน อัตราส่วนวัดความเสี่ยง เช่น อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (Debt-to-Equity ratio) หรืออัตราส่วนสถาพคล่อง เช่น อัตราส่วนหมุนเวียน (Current ratio) และอัตราส่วนหมุนเวียนเร็ว (Quick ratio) เป็นต้น

อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน คือ หนี้สินรวม/ส่วนของผู้ถือหุ้น Debt-to-Equity ratio สามารถบอกว่าบริษัทมีหนี้เท่าไหร่สำหรับเงินทุนส่วนของผู้ถือหุ้น โดยปกติยิ่งต่ำยิ่งดี แต่ต้องดูองค์ประกอบอื่นๆ ด้วย เช่น ลักษณะของธุรกิจ ความสามารถในการทำกำไร กระแสเงินสดหมุนเวียน เป็นต้น

อัตราส่วนหมุนเวียน คือ ทรัพย์สินหมุนเวียน/หนี้สินหมุนเวียน Current ratio สามารถแสดงถึงความสามารถในการชำระหนี้สินซึ่งกำลังจะครบกำหนดด้วยเงินสดที่คุณกำลังจะมีเข้ามาเท่านั้น โดยปกติ บริษัทที่มีสภาพคล่องควรมีอัตราส่วนมากกว่า 1

อัตราส่วนหมุนเวียนเร็ว คือ (สินทรัพย์หมุนเวียน ที่หักสินค้าคงคลังออก )/ หนี้สินหมุนเวียน Quick ratio สามารถแสดงให้เห็นว่า บริษัทมีความง่ายแค่ไหนในการจ่ายชำระหนี้สินระยะสั้นโดยไม่ต้องรอให้มีการขายสินค้าคงคลังออกไป หรือเปลี่ยนสินค้าคงคลังเหล่านั้นให้เป็นสินค้าเพื่อขาย โดยปกติ อัตราส่วนที่ดีควรมากกว่า1 เช่นเดียวกันครับ

Re: ต้นทุนการกู้ยืม vs. ดอกเบี้ยจ่าย

โพสต์แล้ว: ศุกร์ เม.ย. 20, 2012 12:31 am
โดย beethoven
ขอบคุณที่อธิบายได้ชัดเจนมากครับ ตอนนี้ผมเข้าใจแล้วครับ

Re: ต้นทุนการกู้ยืม vs. ดอกเบี้ยจ่าย

โพสต์แล้ว: ศุกร์ เม.ย. 20, 2012 11:12 am
โดย sun_cisa2
อัตราส่วนด้าน solvency ratios (อัตราส่วนการอยู่รอด) ที่นิยมใช้กันคือ
1 debt to equity retio บางคนอาจใช้ debt to asset ratio ก็ได้
2 Time interest earn or Interest coverage ratio --> EBIT / Interest
แต่ขอเสริมที่อาจนำใช้เพิ่มอีกสัก 2-3 ตัว
3 Debt pay back period = Long term Debt / CFO ดูว่า CFO จ่ายเงินต้นหมดในกี่ปี CFO นี้หักดอกเบี้ยแล้วครับ
4 Modified Interest Coverage Ratio = CFO before tax and interest / Interest (cash) เหมาะกับกิจการที่มีการ capitalize ดอกเบี้ยเป็นสินทรัพย์ ใช้อัตราส่วนนี้แทนจะลดปัญหาไปได้
5 Debt Service Coverage Ratio (DSCR) = EBITDA/(Principal Repayment + Interest payments + Lease payments) ตัวนี้ไว้ดูว่า กำไรที่ใกล้เคียงเงินสด มีจำนวนมากพอในการจ่ายภาระของหนี้สินแต่ละปีทั้งต้นและดอกเพียงพอหรือไม่ กิจการที่มีภาระจ่ายเงินต้นคืนทุกงวด พร้อมดอกเบี้ย เช่น amortized bond or lease payment , high purchase
ทุกอัตราส่วนมีข้อได้เปรียบเสียเปรียบในตัว การนำไปใช้ต้องอ่านอัตราส่วนแต่ละตัวให้เข้าใจจริงๆ ไม่เพียงการคำนวณค่าตามสูตรเท่านั้น เพราะจะทำให้สับสนได้ เช่น ICR อาจได้ค่าดูดีมากๆ หนี้เยอะแต่ดอกเบี้ยต่ำ ต้องสงสัยก่อนว่าอาจมีการทำ int.capt. ได้ ก็ใช้ MICR วิเคราะห์แทน
บริษัทที่ออก Amortizedond หรือมีหนี้ประเภท Leasing สูงๆ ควรดู DSCR ประกอบเป็นต้น