รายได้ที่ยังไม่เรียกชำระ (Accrued Revenue)
โพสต์แล้ว: อังคาร มี.ค. 27, 2012 9:05 pm
รายได้ที่ยังไม่เรียกชำระ (Accrued Revenue)
รายได้ที่ยังไม่เรียกชำระจัดเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนประเภทหนึ่งซึ่งเกิดจากการขายสินค้าหรือการให้บริการที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว แต่ยังไม่ได้เรียกชำระหรือยังไม่ได้ส่งใบแจ้งหนี้ไปให้ลูกค้า รายได้ที่เป็นไปตามเงื่อนไขการรับรู้รายการ แม้จะยังไม่ได้เรียกชำระก็ถือเป็นรายได้แล้วตามเกณฑ์คงค้างและสามารถบันทึกเป็นรายได้ในงบกำไรขาดทุน ตามปกติ รายได้ที่ยังไม่เรียกชำระมักเป็นรายได้ที่ไม่ใช่กิจการหลักของบริษัท ตัวอย่างเช่น เมื่อบริษัทจัดส่งสินค้าและส่งใบแจ้งหนี้แล้ว แต่ยังไม่ได้รับรับชำระเงินจากลูกค้า บริษัทจะบันทึกลูกค้าเป็นลูกหนี้ (แต่ถ้าหากบริษัทยังไม่ได้ส่งใบแจ้งหนี้ บริษัทจะบันทึกลูกค้าเป็น "รายได้ที่ยังไม่เรียกชำระ") หรือรายได้จากการให้เช่าซึ่งเกิดในเดือนธันวาคม แต่ระบบเรียกชำระลูกค้าในวันที่ 5 มกราคม ดังนั้น ณ วันสิ้นปี บริษัทต้องบันทึก "รายได้ที่ยังไม่เรียกชำระ" เป็นสินทรัพย์ในงบแสดงฐานะทางการเงิน ควบคู่ไปกับ "รายได้จากการให้เช่า" ในงบกำไรและขาดทุน
เมื่อพิจารณาถึงความหมายของ รายได้ที่ยังไม่เรียกชำระแล้ว จะมีความคล้ายคลึงกับ ลูกหนี้ ข้อแตกต่างก็คือรายได้ที่ยังไม่เรียกชำระจะเป็นรายการที่กิจการไม่เคยรับรู้หรือบันทึกมาก่อน เมื่อถึงตอนสิ้นงวดเมื่อบริษัทรวบรวมรายได้ที่จะแสดงในงบกำไรขาดทุน บริษัทจึงจะบันทึกรายได้ที่ยังไม่เรียกชำระนี้
รายได้ที่ยังไม่เรียกการชำระ มีความสำคัญในการวิเคราะห์งบการเงิน เนื่องจากหากไม่มีสินทรัพย์ชนิดนี้ บริษัทจะแสดงรายได้ที่ต่ำกว่าความเป็นจริงและอาจจะไม่สามารถรับรู้ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการรับรู้รายได้นั้นๆ ด้วย นอกจากนั้น หากนักลงทุนอ่านงบการเงินแล้วพบว่า รายได้ที่ยังไม่ได้เรียกชำระมีจำนวนแตกต่างไปจากจำนวนที่กิจการเคยบันทึกไว้ในงวดก่อนๆ อย่างเห็นได้ชัด อาจบ่งชี้ให้เห็นว่ากิจการได้มีการให้สินเชื่อทางการค้ามากขึ้น อาจจะพยายามเพิ่มรายได้เพื่อทำกำไรเข้าเป้าตามที่กำหนดไว้ ในกรณีเช่นนี้รายได้และกำไรจะเพิ่มขึ้น แต่กระแสเงินสดจะไม่เพิ่มขึ้นตามไปด้วย
หลังจากเข้าใจหลักการของ “รายได้ที่ยังไม่เรียกชำระ”แล้ว เราสามารถเข้าใจได้ว่าสินทรัพย์ชนิดนี้ช่วยในการตกแต่งรายได้ และกำไรให้สูงเกินจริงได้อย่างไร บริษัทอาจรับรู้รายได้ที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง ในจำนวนที่สูงกว่าความเป็นจริง และทำการปรับรายการนั้นในปีต่อมา เช่น บริษัทจดทะเบียนอาจซื้อขายสินค้าหรือสินทรัพย์ด้วยราคาสูงหรือต่ำกว่าความเป็นจริง โดยเฉพาะกับกรรมการ/ผู้บริหาร/ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือบริษัทในเครือ/บริษัทที่เกี่ยวข้องกับบุคคลเหล่านั้น และยิ่งหากเป็นรายการที่ยังไม่เรียกชำระ อาจมีโอกาสเป็นไปได้ว่ารายได้นั้นอาจไม่ใช่รายได้ที่เกิดขึ้นจริง และอาจไม่มีความตั้งใจที่จะเรียกชำระในภายหลัง
มีปัญหา หรืออยากสอบถามข้อมูลเพิ่มโพสต์เข้ามาได้เลยนะคะ
รายได้ที่ยังไม่เรียกชำระจัดเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนประเภทหนึ่งซึ่งเกิดจากการขายสินค้าหรือการให้บริการที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว แต่ยังไม่ได้เรียกชำระหรือยังไม่ได้ส่งใบแจ้งหนี้ไปให้ลูกค้า รายได้ที่เป็นไปตามเงื่อนไขการรับรู้รายการ แม้จะยังไม่ได้เรียกชำระก็ถือเป็นรายได้แล้วตามเกณฑ์คงค้างและสามารถบันทึกเป็นรายได้ในงบกำไรขาดทุน ตามปกติ รายได้ที่ยังไม่เรียกชำระมักเป็นรายได้ที่ไม่ใช่กิจการหลักของบริษัท ตัวอย่างเช่น เมื่อบริษัทจัดส่งสินค้าและส่งใบแจ้งหนี้แล้ว แต่ยังไม่ได้รับรับชำระเงินจากลูกค้า บริษัทจะบันทึกลูกค้าเป็นลูกหนี้ (แต่ถ้าหากบริษัทยังไม่ได้ส่งใบแจ้งหนี้ บริษัทจะบันทึกลูกค้าเป็น "รายได้ที่ยังไม่เรียกชำระ") หรือรายได้จากการให้เช่าซึ่งเกิดในเดือนธันวาคม แต่ระบบเรียกชำระลูกค้าในวันที่ 5 มกราคม ดังนั้น ณ วันสิ้นปี บริษัทต้องบันทึก "รายได้ที่ยังไม่เรียกชำระ" เป็นสินทรัพย์ในงบแสดงฐานะทางการเงิน ควบคู่ไปกับ "รายได้จากการให้เช่า" ในงบกำไรและขาดทุน
เมื่อพิจารณาถึงความหมายของ รายได้ที่ยังไม่เรียกชำระแล้ว จะมีความคล้ายคลึงกับ ลูกหนี้ ข้อแตกต่างก็คือรายได้ที่ยังไม่เรียกชำระจะเป็นรายการที่กิจการไม่เคยรับรู้หรือบันทึกมาก่อน เมื่อถึงตอนสิ้นงวดเมื่อบริษัทรวบรวมรายได้ที่จะแสดงในงบกำไรขาดทุน บริษัทจึงจะบันทึกรายได้ที่ยังไม่เรียกชำระนี้
รายได้ที่ยังไม่เรียกการชำระ มีความสำคัญในการวิเคราะห์งบการเงิน เนื่องจากหากไม่มีสินทรัพย์ชนิดนี้ บริษัทจะแสดงรายได้ที่ต่ำกว่าความเป็นจริงและอาจจะไม่สามารถรับรู้ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการรับรู้รายได้นั้นๆ ด้วย นอกจากนั้น หากนักลงทุนอ่านงบการเงินแล้วพบว่า รายได้ที่ยังไม่ได้เรียกชำระมีจำนวนแตกต่างไปจากจำนวนที่กิจการเคยบันทึกไว้ในงวดก่อนๆ อย่างเห็นได้ชัด อาจบ่งชี้ให้เห็นว่ากิจการได้มีการให้สินเชื่อทางการค้ามากขึ้น อาจจะพยายามเพิ่มรายได้เพื่อทำกำไรเข้าเป้าตามที่กำหนดไว้ ในกรณีเช่นนี้รายได้และกำไรจะเพิ่มขึ้น แต่กระแสเงินสดจะไม่เพิ่มขึ้นตามไปด้วย
หลังจากเข้าใจหลักการของ “รายได้ที่ยังไม่เรียกชำระ”แล้ว เราสามารถเข้าใจได้ว่าสินทรัพย์ชนิดนี้ช่วยในการตกแต่งรายได้ และกำไรให้สูงเกินจริงได้อย่างไร บริษัทอาจรับรู้รายได้ที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง ในจำนวนที่สูงกว่าความเป็นจริง และทำการปรับรายการนั้นในปีต่อมา เช่น บริษัทจดทะเบียนอาจซื้อขายสินค้าหรือสินทรัพย์ด้วยราคาสูงหรือต่ำกว่าความเป็นจริง โดยเฉพาะกับกรรมการ/ผู้บริหาร/ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือบริษัทในเครือ/บริษัทที่เกี่ยวข้องกับบุคคลเหล่านั้น และยิ่งหากเป็นรายการที่ยังไม่เรียกชำระ อาจมีโอกาสเป็นไปได้ว่ารายได้นั้นอาจไม่ใช่รายได้ที่เกิดขึ้นจริง และอาจไม่มีความตั้งใจที่จะเรียกชำระในภายหลัง
มีปัญหา หรืออยากสอบถามข้อมูลเพิ่มโพสต์เข้ามาได้เลยนะคะ