การเพิ่มทุนและการลดทุน
โพสต์แล้ว: อังคาร มี.ค. 27, 2012 9:35 pm
การเพิ่มทุนและการลดทุน
หลังจากที่บริษัทจัดตั้งเรียบร้อยแล้วและดำเนินงานได้ในระยะเวลาหนึ่ง บริษัทอาจจะพบกับปัญหาเกี่ยวกับเงินทุนของบริษัท เนื่องจากบริษัทอาจขยายกิจการเกินกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้หรือบริษัทอาจเกิดการขาดทุนเกินทุน ด้วยเหตุผลที่บริษัทจำเป็นต้องบริหารเงินทุนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและสอดคล้องกับนโยบายของบริษัท บริษัทจึงอาจจำเป็นต้องทำการเพิ่มทุนหรือลดทุน
การเพิ่มทุน คือ การระดมเงินทุนเข้ามาเพิ่มในบริษัทโดยการออกหุ้นทุนหลังจากที่บริษัทได้ขายหุ้นทุนที่จดทะเบียนไว้เดิมจนหมดแล้ว ดังนั้นในการเพิ่มทุน บริษัทจำเป็นต้องจดทะเบียนเพิ่มทุน ซึ่งมูลค่าหุ้นมักจะเท่ากับราคาพาร์ที่เคยจดทะเบียนไว้แต่เดิม
หลักเกณฑ์ในการเพิ่มทุน
ในการเพิ่มทุน บริษัทมหาชนต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด มาตรา 136-138 ซึ่งสรุปได้ดังนี้
1. การจดทะเบียนเพิ่มทุนจะกระทำได้เมื่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นลงมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียง
ทั้งนี้บริษัทต้องนำมตินั้นไปขอจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ที่ประชุมลงมติ
2. การเพิ่มทุนจะทำได้ต่อเมื่อบริษัทได้จำหน่ายหุ้นทั้งหมดและได้รับชำระเงินค่าหุ้นครบถ้วนแล้ว หรือในกรณีที่หุ้นยังจำหน่ายไม่ครบ หุ้นที่เหลือต้องเป็นหุ้นจัดสรรไว้เพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพหรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นตามมาตรา 136
3. การเพิ่มทุนของบริษัทมหาชนไม่ต้องใช้มติพิเศษ
4. จำนวนหุ้นที่ออกใหม่จะเสนอขายทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้โดยจะเสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมทั้งหมดหรือจะเสนอขายต่อประขาขนหรือบุคคลอื่นไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้นตามมาตรา 137
5. เมื่อบริษัทดำเนินการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทุนชำระแล้วบริษัทจะต้องแจ้งแก่ผู้ถือหุ้นเป็นหนังสือและประกาศในหนังสือพิมพ์อย่างน้อยหนึ่งฉบับภายใน 14 วันนับแต่วันที่ได้จดทะเบียนเพิ่มหรือลดทุนตามมาตรา 143
จากหลักเกณฑ์ที่กล่าวมาข้างต้น บริษัทจะต้องออกหุ้นใหม่และจะต้องจำหน่ายไปยังผู้ถือหุ้นเดิมหรือบุคคลอื่น หลักการทางการบัญชีในการออกหุ้นใหม่มี 2 วิธีคือ
1. ออกหุ้นใหม่โดยการนำออกจำหน่าย
การออกหุ้นใหม่โดยการนำออกจำหน่าย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดให้บริษัทจำกัดเสนอขายหุ้นให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนของหุ้นที่ถืออยู่ ถ้าผู้ถือหุ้นเดิมไม่รับซื้อบริษัทสามารถนำหุ้นที่เหลือไปเสนอขายให้กับบุคคลภายนอกหรือคณะกรรมการต่อไป
ในทางบัญชีเมื่อเกิดการเพิ่มทุน ส่วนของทุนจดทะเบียนจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น และส่งผลให้เงินสดที่เป็นรายการสินทรัพย์ของบริษัทเพิ่มขึ้นเท่ากัน เมื่อบริษัทมีเงินสดเพิ่มขึ้น บริษัทก็สามารถนำเงินไปขยายกิจการหรือใช้ซื้อและสร้างสินทรัพย์รายการอื่นๆ เพื่อก่อให้เกิดรายได้เข้าบริษัทต่อไป
2. ออกหุ้นใหม่โดยการจ่ายเป็นหุ้นปันผล
การเพิ่มทุนโดยการออกหุ้นใหม่และนำไปจ่ายเป็นหุ้นปันผลนั้นทำให้บริษัทมีเงินทุนหมุนเวียนมาใช้ในการบริหารงานมากขึ้นวิธีหนึ่งเนื่องจากการจ่ายเงินปันผลเป็นหุ้น บริษัทไม่ต้องนำเงินสดออกจากกิจการเพื่อจ่ายเป็นเงินปันผล เพียงแต่เปลี่ยนส่วนของผู้ถือหุ้นที่เป็นกำไรสะสมมาเป็นส่วนของทุนเรือนหุ้น โดยมียอดรวมในส่วนของผู้ถือหุ้นคงเดิม
การลดทุน คือ การลดมูลค่าส่วนทุนของเจ้าของเดิม การลดทุนส่วนใหญ่เกิดขึ้นเมื่อบริษัทเกิดการขาดทุนเป็นเวลานาน และไม่สามารถลบล้างผลขาดทุนออกได้ ทำให้บริษัทมียอดขาดทุนสะสมติดอยู่ในส่วนทุน และทำให้บริษัทไม่อาจประกาศจ่ายเงินปันผลได้ ด้วยเหตุผลนี้ บริษัทจึงมักต้องการลดทุนจดทะเบียนของบริษัทลงเพื่อล้างหรือลดผลขาดทุนสะสม และเริ่มต้นใหม่เมื่อผลขาดทุนสะสมเป็นศูนย์
หลักเกณฑ์การลดทุน
บริษัทมหาชนที่ต้องการลดทุนจดทะเบียนต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัดมาตรา 119 ซึ่งกำหนดว่า บริษัทอาจพิจารณาโอนทุนสำรองต่างๆ มาลดหรือล้างผลขาดทุนสะสม โดยผู้ถือหุ้นต้องมีมติอนุมัติให้ทำการโอนทุนสำรองอื่น ทุนสำรองตามกฎหมาย ส่วนเกินมูลค่าหุ้นทุน และทุนเรือนหุ้น เพื่อมาให้ตัดกับผลขาดทุนสะสมและส่วนต่ำมูลค่าหุ้น ตามลำดับ จากที่กล่าวข้าวต้น การลดทุนสามารถปฏิบัติได้ 2 วิธีดังนี้
1. ลดมูลค่าที่ตราไว้ของหุ้น (Par Value)
บริษัทอาจพิจารณาลดราคาพาร์ของหุ้นลง เช่น จากเดิมราคาหุ้นละ 10 บาท ลดเหลือหุ้นละ 8 บาท ส่วนจำนวนหุ้นยังคงเท่าเดิม ในการลดมูลค่าหุ้นนั้น หุ้นทุกหุ้นต้องถูกลดเสมอเหมือนกันหมดทั้งหุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธิ เพราะหุ้นทุกหุ้นในบริษัทต้องมีมูลค่าเท่ากันหมดตามมาตรา 1096 โดยถือตามราคาที่ตราไว้ (Par Value)
2. ลดจำนวนหุ้น
บริษัทอาจลดจำนวนหุ้นลงแทนการลดราคาพาร์ เช่น จากเดิมมี 1,000,000 หุ้น ลดเหลือ 500,000 หุ้น มูลค่าหุ้นยังคงเดิมแต่จำนวนหุ้นลดน้อยลงไป
นอกจากการลดทุนเพื่อล้างขาดทุนสะสมแล้ว บริษัทอาจลดทุนเนื่องจากเหตุการณ์อื่น เช่น บริษัทอาจจะมีเงินทุนในการดำเนินงานมากเกินไปและไม่มีความจำเป็นที่จะใช้ทุนนั้น จึงทำการลดจำนวนทุนจดทะเบียนลงเพื่อคืนทุนให้แก่ผู้ถือหุ้นหรือไถ่ถอนคืนหุ้นบุริมสิทธิซึ่งทำได้ในกรณีที่บริษัทออกหุ้นบุริมสิทธิโดยกำหนดเงื่อนไขการเรียกไถ่คืนไว้ล่วงหน้า หรือบริษัทได้ซื้อหุ้นคืนและมิได้ขายออกไปภายใน 3 ปีบริษัทจะต้องทำการลดทุนจดทะเบียนนั้นลง เป็นต้น
หากมีข้อสงสัย สามารถโพสเข้ามาได้เลยค่ะ
หลังจากที่บริษัทจัดตั้งเรียบร้อยแล้วและดำเนินงานได้ในระยะเวลาหนึ่ง บริษัทอาจจะพบกับปัญหาเกี่ยวกับเงินทุนของบริษัท เนื่องจากบริษัทอาจขยายกิจการเกินกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้หรือบริษัทอาจเกิดการขาดทุนเกินทุน ด้วยเหตุผลที่บริษัทจำเป็นต้องบริหารเงินทุนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและสอดคล้องกับนโยบายของบริษัท บริษัทจึงอาจจำเป็นต้องทำการเพิ่มทุนหรือลดทุน
การเพิ่มทุน คือ การระดมเงินทุนเข้ามาเพิ่มในบริษัทโดยการออกหุ้นทุนหลังจากที่บริษัทได้ขายหุ้นทุนที่จดทะเบียนไว้เดิมจนหมดแล้ว ดังนั้นในการเพิ่มทุน บริษัทจำเป็นต้องจดทะเบียนเพิ่มทุน ซึ่งมูลค่าหุ้นมักจะเท่ากับราคาพาร์ที่เคยจดทะเบียนไว้แต่เดิม
หลักเกณฑ์ในการเพิ่มทุน
ในการเพิ่มทุน บริษัทมหาชนต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด มาตรา 136-138 ซึ่งสรุปได้ดังนี้
1. การจดทะเบียนเพิ่มทุนจะกระทำได้เมื่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นลงมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียง
ทั้งนี้บริษัทต้องนำมตินั้นไปขอจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ที่ประชุมลงมติ
2. การเพิ่มทุนจะทำได้ต่อเมื่อบริษัทได้จำหน่ายหุ้นทั้งหมดและได้รับชำระเงินค่าหุ้นครบถ้วนแล้ว หรือในกรณีที่หุ้นยังจำหน่ายไม่ครบ หุ้นที่เหลือต้องเป็นหุ้นจัดสรรไว้เพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพหรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นตามมาตรา 136
3. การเพิ่มทุนของบริษัทมหาชนไม่ต้องใช้มติพิเศษ
4. จำนวนหุ้นที่ออกใหม่จะเสนอขายทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้โดยจะเสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมทั้งหมดหรือจะเสนอขายต่อประขาขนหรือบุคคลอื่นไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้นตามมาตรา 137
5. เมื่อบริษัทดำเนินการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทุนชำระแล้วบริษัทจะต้องแจ้งแก่ผู้ถือหุ้นเป็นหนังสือและประกาศในหนังสือพิมพ์อย่างน้อยหนึ่งฉบับภายใน 14 วันนับแต่วันที่ได้จดทะเบียนเพิ่มหรือลดทุนตามมาตรา 143
จากหลักเกณฑ์ที่กล่าวมาข้างต้น บริษัทจะต้องออกหุ้นใหม่และจะต้องจำหน่ายไปยังผู้ถือหุ้นเดิมหรือบุคคลอื่น หลักการทางการบัญชีในการออกหุ้นใหม่มี 2 วิธีคือ
1. ออกหุ้นใหม่โดยการนำออกจำหน่าย
การออกหุ้นใหม่โดยการนำออกจำหน่าย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดให้บริษัทจำกัดเสนอขายหุ้นให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนของหุ้นที่ถืออยู่ ถ้าผู้ถือหุ้นเดิมไม่รับซื้อบริษัทสามารถนำหุ้นที่เหลือไปเสนอขายให้กับบุคคลภายนอกหรือคณะกรรมการต่อไป
ในทางบัญชีเมื่อเกิดการเพิ่มทุน ส่วนของทุนจดทะเบียนจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น และส่งผลให้เงินสดที่เป็นรายการสินทรัพย์ของบริษัทเพิ่มขึ้นเท่ากัน เมื่อบริษัทมีเงินสดเพิ่มขึ้น บริษัทก็สามารถนำเงินไปขยายกิจการหรือใช้ซื้อและสร้างสินทรัพย์รายการอื่นๆ เพื่อก่อให้เกิดรายได้เข้าบริษัทต่อไป
2. ออกหุ้นใหม่โดยการจ่ายเป็นหุ้นปันผล
การเพิ่มทุนโดยการออกหุ้นใหม่และนำไปจ่ายเป็นหุ้นปันผลนั้นทำให้บริษัทมีเงินทุนหมุนเวียนมาใช้ในการบริหารงานมากขึ้นวิธีหนึ่งเนื่องจากการจ่ายเงินปันผลเป็นหุ้น บริษัทไม่ต้องนำเงินสดออกจากกิจการเพื่อจ่ายเป็นเงินปันผล เพียงแต่เปลี่ยนส่วนของผู้ถือหุ้นที่เป็นกำไรสะสมมาเป็นส่วนของทุนเรือนหุ้น โดยมียอดรวมในส่วนของผู้ถือหุ้นคงเดิม
การลดทุน คือ การลดมูลค่าส่วนทุนของเจ้าของเดิม การลดทุนส่วนใหญ่เกิดขึ้นเมื่อบริษัทเกิดการขาดทุนเป็นเวลานาน และไม่สามารถลบล้างผลขาดทุนออกได้ ทำให้บริษัทมียอดขาดทุนสะสมติดอยู่ในส่วนทุน และทำให้บริษัทไม่อาจประกาศจ่ายเงินปันผลได้ ด้วยเหตุผลนี้ บริษัทจึงมักต้องการลดทุนจดทะเบียนของบริษัทลงเพื่อล้างหรือลดผลขาดทุนสะสม และเริ่มต้นใหม่เมื่อผลขาดทุนสะสมเป็นศูนย์
หลักเกณฑ์การลดทุน
บริษัทมหาชนที่ต้องการลดทุนจดทะเบียนต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัดมาตรา 119 ซึ่งกำหนดว่า บริษัทอาจพิจารณาโอนทุนสำรองต่างๆ มาลดหรือล้างผลขาดทุนสะสม โดยผู้ถือหุ้นต้องมีมติอนุมัติให้ทำการโอนทุนสำรองอื่น ทุนสำรองตามกฎหมาย ส่วนเกินมูลค่าหุ้นทุน และทุนเรือนหุ้น เพื่อมาให้ตัดกับผลขาดทุนสะสมและส่วนต่ำมูลค่าหุ้น ตามลำดับ จากที่กล่าวข้าวต้น การลดทุนสามารถปฏิบัติได้ 2 วิธีดังนี้
1. ลดมูลค่าที่ตราไว้ของหุ้น (Par Value)
บริษัทอาจพิจารณาลดราคาพาร์ของหุ้นลง เช่น จากเดิมราคาหุ้นละ 10 บาท ลดเหลือหุ้นละ 8 บาท ส่วนจำนวนหุ้นยังคงเท่าเดิม ในการลดมูลค่าหุ้นนั้น หุ้นทุกหุ้นต้องถูกลดเสมอเหมือนกันหมดทั้งหุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธิ เพราะหุ้นทุกหุ้นในบริษัทต้องมีมูลค่าเท่ากันหมดตามมาตรา 1096 โดยถือตามราคาที่ตราไว้ (Par Value)
2. ลดจำนวนหุ้น
บริษัทอาจลดจำนวนหุ้นลงแทนการลดราคาพาร์ เช่น จากเดิมมี 1,000,000 หุ้น ลดเหลือ 500,000 หุ้น มูลค่าหุ้นยังคงเดิมแต่จำนวนหุ้นลดน้อยลงไป
นอกจากการลดทุนเพื่อล้างขาดทุนสะสมแล้ว บริษัทอาจลดทุนเนื่องจากเหตุการณ์อื่น เช่น บริษัทอาจจะมีเงินทุนในการดำเนินงานมากเกินไปและไม่มีความจำเป็นที่จะใช้ทุนนั้น จึงทำการลดจำนวนทุนจดทะเบียนลงเพื่อคืนทุนให้แก่ผู้ถือหุ้นหรือไถ่ถอนคืนหุ้นบุริมสิทธิซึ่งทำได้ในกรณีที่บริษัทออกหุ้นบุริมสิทธิโดยกำหนดเงื่อนไขการเรียกไถ่คืนไว้ล่วงหน้า หรือบริษัทได้ซื้อหุ้นคืนและมิได้ขายออกไปภายใน 3 ปีบริษัทจะต้องทำการลดทุนจดทะเบียนนั้นลง เป็นต้น
หากมีข้อสงสัย สามารถโพสเข้ามาได้เลยค่ะ