เงินลงทุนในบริษัทร่วม วิธีส่วนได้ส่วนเสีย และส่วนแบ่งกำไรขาด
โพสต์แล้ว: พุธ มี.ค. 28, 2012 9:27 am
เงินลงทุนในบริษัทร่วม
เงินลงทุนในบริษัทร่วม เกิดขึ้นเมื่อบริษัทใหญ่ลงทุนซื้อหุ้นในบริษัทร่วม จนสามารถเข้าไปมีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญต่อบริษัทร่วม บริษัทใหญ่จะนำเงินลงทุนในบริษัทร่วมมาแสดงภายใต้สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนในงบแสดงฐานะการเงิน
การที่บริษัทใหญ่จะมีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญเหนือบริษัทร่วมได้นั้น บริษัทใหญ่ต้องสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายทางการเงินและการดำเนินงานของบริษัทร่วม หลักฐานที่แสดงว่าบริษัทใหญ่มีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญต่อบริษัทร่วม เช่น
- มีตัวแทนอยู่ในคณะกรรมการบริษัทหรือผู้บริหารที่มีอำนาจเทียบเท่า
- มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย
- มีรายการระหว่างผู้ลงทุนกับกิจการที่ถูกลงทุนอย่างเป็นสาระสำคัญ
- มีการแลกเปลี่ยนเจ้าหน้าที่ระดับผู้บริหาร
- มีการให้ข้อมูลทางเทคนิคที่สำคัญในการดำเนินงาน
ถ้าบริษัทหนึ่งถือหุ้นในอีกบริษัทหนึ่งอย่างน้อย 20% แต่ไม่ถึง 50% ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้ลงทุนมีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญต่อผู้ถูกลงทุน (นอกจากจะพิสูจน์เป็นอย่างอื่น) เนื่องจากผู้ลงทุนสามารถเข้าไปมีอำนาจในการออกเสียงทั้งโดยทางตรงหรือทางอ้อม (ทางอ้อมเช่น โดยผ่านทางบริษัทย่อย) จนสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายทางการเงินและการดำเนินงานของผู้ถูกลงทุนได้
เมื่อบริษัทใหญ่สามารถเข้าไปมีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญต่อบริษัทร่วม บริษัทใหญ่จะแสดง "เงินลงทุนในบริษัทร่วม" โดยใช้วิธีส่วนได้เสีย (Equity Method) ในงบการเงินรวม (งบรวม) อย่างไรก็ดี ในงบการเงินเฉพาะกิจการ (งบเดี่ยว) บริษัทใหญ่จะแสดงเงินลงทุนในบริษัทร่วมโดยใช้วิธีราคาทุนหักค่าเผื่อการด้อยค่าของเงินลงทุน
วิธีส่วนได้เสีย (Equity method)
หลังจากที่บริษัทใหญ่รับรู้ "เงินลงทุนในบริษัทร่วม" ด้วยราคาที่จ่ายซื้อในตอนแรก บริษัทใหญ่ต้องปรับปรุง "เงินลงทุนในบริษัทร่วม" (ที่แสดงในงบรวม) ด้วยกำไรหรือขาดทุนสุทธิตามสัดส่วนที่บริษัทใหญ่ถือหุ้นในบริษัทร่วม พูดง่ายๆ ก็คือ ณ วันสิ้นงวดต่อๆไป "เงินลงทุนในบริษัทร่วม" จะเพิ่มขึ้นหรือลดลงด้วยสัดส่วนกำไรหรือขาดทุนที่เกิดขึ้นกับบริษัทร่วม (ตามสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทใหญ่) เช่น บริษัทร่วมประกาศกำไรสุทธิสิ้นปีจำนวน 100,000 บาท ถ้าบริษัทใหญ่ถือหุ้นในบริษัทร่วมร้อยละ 30 มูลค่าตามบัญชีของ "เงินลงทุนในบริษัทร่วม" จะมีจำนวนเพิ่มขึ้น = 30%*100,000 = 30,000 บาท
อย่างไรก็ดี ถ้าบริษัทร่วมจ่ายเงินปันผลให้กับบริษัทใหญ่ในระหว่างงวด บริษัทใหญ่ต้องนำเงินปันผลรับมาหักออกจาก "เงินลงทุนในบริษัทร่วม" เนื่องจากบริษัทใหญ่รับรู้ส่วนแบ่งกำไรขาดทุนจากบริษัทร่วมมาไว้ในบัญชีแล้ว หากไม่นำเงินปันผล (ซึ่งเป็นการคืนกำไรให้บริษัทใหญ่) มาหักออก ผลการดำเนินงานของบริษัทร่วมจะถูกนับซ้ำในงบการเงินรวมของบริษัทใหญ่
ตามวิธีส่วนได้เสีย บริษัทใหญ่ต้องตัดกำไรขาดทุนที่เกิดจากรายการระหว่างกัน (รายการระหว่างบริษัทใหญ่กับบริษัทร่วม) ออกให้หมดก่อนที่จะนำสัดส่วนกำไรขาดทุนจากบริษัทร่วมมารวมในเงินลงทุน ตัวอย่างรายการระหว่างกันก็เช่น การซื้อหรือขายอสังหาริมทรัพย์หรือสินทรัพย์อื่น การเป็นตัวแทน การให้หรือรับข้อมูลจากการวิจัยและพัฒนา การให้สิทธิในการใช้สินทรัพย์ การมีสัญญาบริหารจัดการ เป็นต้น เนื่องจากกำไรขาดทุนของรายการระหว่างกันได้รวมอยู่ในสัดส่วนกำไรขาดทุนจากบริษัทร่วมอยู่แล้ว หากไม่ตัดออก ผลการดำเนินงานของบริษัทร่วมจะถูกนับซ้ำในงบการเงินรวมของบริษัทใหญ่เช่นกัน
นอกจากการปรับปรุงที่กล่าวมาแล้วข้างต้น วิธีส่วนได้เสียยังกำหนดให้บริษัทใหญ่ต้องนำรายการบางรายการมาหักจาก "เงินลงทุนในบริษัทร่วม" เช่น การตัดค่าเสื่อมราคาของส่วนต่างระหว่างมูลค่ายุติธรรมที่สูงกว่ามูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ในบริษัทร่วม การตัดจำหน่ายสินทรัพย์ไม่มีตัวตนต่างๆ ที่เกิดจากการรวมกิจการ เป็นต้น
ส่วนแบ่งกำไรขาดทุนจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม
ตามวิธีส่วนได้เสีย เมื่อบริษัทใหญ่รับรู้การเปลี่ยนแปลงของเงินลงทุนในงบดุล บริษัทใหญ่ต้องรับรู้ "ส่วนแบ่งกำไรขาดทุนจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม" ในงบกำไรขาดทุน (ตามสัดส่วนที่บริษัทใหญ่ถือหุ้นในบริษัทร่วม) อย่าลืมว่า บริษัทใหญ่ต้องตัดเงินปันผลที่ได้รับจากบริษัทร่วมออกจากงบกำไรขาดทุนรวมเมื่อบริษัทใหญ่รับรู้ส่วนแบ่งกำไรขาดทุนดังกล่าว
งบการเงินเฉพาะกิจการของบริษัทใหญ่
ในงบการเงินเฉพาะกิจการของบริษัทใหญ่ "เงินลงทุนในบริษัทร่วม" จะแสดงในงบดุลด้วยราคาทุนเดิมหักค่าเผื่อการด้อยค่าของเงินลงทุน นอกจากนั้น บริษัทจะรับรู้ "เงินปันผลับ" เป็นรายได้ในงบกำไรขาดทุน (แทนการรับรู้ "ส่วนแบ่งกำไรขาดทุนจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม")
สรุป
บริษัทใหญ่ที่มีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญต่อบริษัทร่วมต้องแสดง "เงินลงทุนในบริษัทร่วม" ในงบการเงินเฉพาะกิจการด้วยวิธีราคาทุนหักค่าเผื่อการด้อยค่า และรับรู้ "เงินปันผล" ที่ได้รับจากบริษัทร่วมเป็นรายได้ในงบกำไรขาดทุน
นอกจากนั้น บริษัทใหญ่ยังต้องแสดง "เงินลงทุนในบริษัทร่วม" ในงบดุลรวมตามวิธีส่วนได้เสีย และรับรู้ "ส่วนแบ่งกำไรขาดทุนจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม" เป็นรายได้ในงบกำไรขาดทุนรวม ในขณะที่ต้องตัดเงินปันผลรับออกจากรายได้เพื่อป้องกันการนับซ้ำ
ตามวิธีส่วนได้เสีย "เงินลงทุนในบริษัทร่วม" ที่แสดงในงบดุลรวม (ณ วันสิ้นงวด) คำนวณคร่าวๆ ได้ดังนี้
เงินลงทุนในบริษัทร่วมต้นงวด
+/- สัดส่วนกำไรหรือขาดทุนจากบริษัทร่วมตามสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทใหญ่
- เงินปันผลรับ
- ค่าเสื่อมราคาของมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ในบริษัทร่วมที่สูงกว่าราคาทุน
- ค่าตัดจำหน่ายสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่เกิดจาการรวมกิจการ
เงินลงทุนในบริษัทร่วมปลายงวด
เงินลงทุนในบริษัทร่วม เกิดขึ้นเมื่อบริษัทใหญ่ลงทุนซื้อหุ้นในบริษัทร่วม จนสามารถเข้าไปมีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญต่อบริษัทร่วม บริษัทใหญ่จะนำเงินลงทุนในบริษัทร่วมมาแสดงภายใต้สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนในงบแสดงฐานะการเงิน
การที่บริษัทใหญ่จะมีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญเหนือบริษัทร่วมได้นั้น บริษัทใหญ่ต้องสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายทางการเงินและการดำเนินงานของบริษัทร่วม หลักฐานที่แสดงว่าบริษัทใหญ่มีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญต่อบริษัทร่วม เช่น
- มีตัวแทนอยู่ในคณะกรรมการบริษัทหรือผู้บริหารที่มีอำนาจเทียบเท่า
- มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย
- มีรายการระหว่างผู้ลงทุนกับกิจการที่ถูกลงทุนอย่างเป็นสาระสำคัญ
- มีการแลกเปลี่ยนเจ้าหน้าที่ระดับผู้บริหาร
- มีการให้ข้อมูลทางเทคนิคที่สำคัญในการดำเนินงาน
ถ้าบริษัทหนึ่งถือหุ้นในอีกบริษัทหนึ่งอย่างน้อย 20% แต่ไม่ถึง 50% ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้ลงทุนมีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญต่อผู้ถูกลงทุน (นอกจากจะพิสูจน์เป็นอย่างอื่น) เนื่องจากผู้ลงทุนสามารถเข้าไปมีอำนาจในการออกเสียงทั้งโดยทางตรงหรือทางอ้อม (ทางอ้อมเช่น โดยผ่านทางบริษัทย่อย) จนสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายทางการเงินและการดำเนินงานของผู้ถูกลงทุนได้
เมื่อบริษัทใหญ่สามารถเข้าไปมีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญต่อบริษัทร่วม บริษัทใหญ่จะแสดง "เงินลงทุนในบริษัทร่วม" โดยใช้วิธีส่วนได้เสีย (Equity Method) ในงบการเงินรวม (งบรวม) อย่างไรก็ดี ในงบการเงินเฉพาะกิจการ (งบเดี่ยว) บริษัทใหญ่จะแสดงเงินลงทุนในบริษัทร่วมโดยใช้วิธีราคาทุนหักค่าเผื่อการด้อยค่าของเงินลงทุน
วิธีส่วนได้เสีย (Equity method)
หลังจากที่บริษัทใหญ่รับรู้ "เงินลงทุนในบริษัทร่วม" ด้วยราคาที่จ่ายซื้อในตอนแรก บริษัทใหญ่ต้องปรับปรุง "เงินลงทุนในบริษัทร่วม" (ที่แสดงในงบรวม) ด้วยกำไรหรือขาดทุนสุทธิตามสัดส่วนที่บริษัทใหญ่ถือหุ้นในบริษัทร่วม พูดง่ายๆ ก็คือ ณ วันสิ้นงวดต่อๆไป "เงินลงทุนในบริษัทร่วม" จะเพิ่มขึ้นหรือลดลงด้วยสัดส่วนกำไรหรือขาดทุนที่เกิดขึ้นกับบริษัทร่วม (ตามสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทใหญ่) เช่น บริษัทร่วมประกาศกำไรสุทธิสิ้นปีจำนวน 100,000 บาท ถ้าบริษัทใหญ่ถือหุ้นในบริษัทร่วมร้อยละ 30 มูลค่าตามบัญชีของ "เงินลงทุนในบริษัทร่วม" จะมีจำนวนเพิ่มขึ้น = 30%*100,000 = 30,000 บาท
อย่างไรก็ดี ถ้าบริษัทร่วมจ่ายเงินปันผลให้กับบริษัทใหญ่ในระหว่างงวด บริษัทใหญ่ต้องนำเงินปันผลรับมาหักออกจาก "เงินลงทุนในบริษัทร่วม" เนื่องจากบริษัทใหญ่รับรู้ส่วนแบ่งกำไรขาดทุนจากบริษัทร่วมมาไว้ในบัญชีแล้ว หากไม่นำเงินปันผล (ซึ่งเป็นการคืนกำไรให้บริษัทใหญ่) มาหักออก ผลการดำเนินงานของบริษัทร่วมจะถูกนับซ้ำในงบการเงินรวมของบริษัทใหญ่
ตามวิธีส่วนได้เสีย บริษัทใหญ่ต้องตัดกำไรขาดทุนที่เกิดจากรายการระหว่างกัน (รายการระหว่างบริษัทใหญ่กับบริษัทร่วม) ออกให้หมดก่อนที่จะนำสัดส่วนกำไรขาดทุนจากบริษัทร่วมมารวมในเงินลงทุน ตัวอย่างรายการระหว่างกันก็เช่น การซื้อหรือขายอสังหาริมทรัพย์หรือสินทรัพย์อื่น การเป็นตัวแทน การให้หรือรับข้อมูลจากการวิจัยและพัฒนา การให้สิทธิในการใช้สินทรัพย์ การมีสัญญาบริหารจัดการ เป็นต้น เนื่องจากกำไรขาดทุนของรายการระหว่างกันได้รวมอยู่ในสัดส่วนกำไรขาดทุนจากบริษัทร่วมอยู่แล้ว หากไม่ตัดออก ผลการดำเนินงานของบริษัทร่วมจะถูกนับซ้ำในงบการเงินรวมของบริษัทใหญ่เช่นกัน
นอกจากการปรับปรุงที่กล่าวมาแล้วข้างต้น วิธีส่วนได้เสียยังกำหนดให้บริษัทใหญ่ต้องนำรายการบางรายการมาหักจาก "เงินลงทุนในบริษัทร่วม" เช่น การตัดค่าเสื่อมราคาของส่วนต่างระหว่างมูลค่ายุติธรรมที่สูงกว่ามูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ในบริษัทร่วม การตัดจำหน่ายสินทรัพย์ไม่มีตัวตนต่างๆ ที่เกิดจากการรวมกิจการ เป็นต้น
ส่วนแบ่งกำไรขาดทุนจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม
ตามวิธีส่วนได้เสีย เมื่อบริษัทใหญ่รับรู้การเปลี่ยนแปลงของเงินลงทุนในงบดุล บริษัทใหญ่ต้องรับรู้ "ส่วนแบ่งกำไรขาดทุนจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม" ในงบกำไรขาดทุน (ตามสัดส่วนที่บริษัทใหญ่ถือหุ้นในบริษัทร่วม) อย่าลืมว่า บริษัทใหญ่ต้องตัดเงินปันผลที่ได้รับจากบริษัทร่วมออกจากงบกำไรขาดทุนรวมเมื่อบริษัทใหญ่รับรู้ส่วนแบ่งกำไรขาดทุนดังกล่าว
งบการเงินเฉพาะกิจการของบริษัทใหญ่
ในงบการเงินเฉพาะกิจการของบริษัทใหญ่ "เงินลงทุนในบริษัทร่วม" จะแสดงในงบดุลด้วยราคาทุนเดิมหักค่าเผื่อการด้อยค่าของเงินลงทุน นอกจากนั้น บริษัทจะรับรู้ "เงินปันผลับ" เป็นรายได้ในงบกำไรขาดทุน (แทนการรับรู้ "ส่วนแบ่งกำไรขาดทุนจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม")
สรุป
บริษัทใหญ่ที่มีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญต่อบริษัทร่วมต้องแสดง "เงินลงทุนในบริษัทร่วม" ในงบการเงินเฉพาะกิจการด้วยวิธีราคาทุนหักค่าเผื่อการด้อยค่า และรับรู้ "เงินปันผล" ที่ได้รับจากบริษัทร่วมเป็นรายได้ในงบกำไรขาดทุน
นอกจากนั้น บริษัทใหญ่ยังต้องแสดง "เงินลงทุนในบริษัทร่วม" ในงบดุลรวมตามวิธีส่วนได้เสีย และรับรู้ "ส่วนแบ่งกำไรขาดทุนจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม" เป็นรายได้ในงบกำไรขาดทุนรวม ในขณะที่ต้องตัดเงินปันผลรับออกจากรายได้เพื่อป้องกันการนับซ้ำ
ตามวิธีส่วนได้เสีย "เงินลงทุนในบริษัทร่วม" ที่แสดงในงบดุลรวม (ณ วันสิ้นงวด) คำนวณคร่าวๆ ได้ดังนี้
เงินลงทุนในบริษัทร่วมต้นงวด
+/- สัดส่วนกำไรหรือขาดทุนจากบริษัทร่วมตามสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทใหญ่
- เงินปันผลรับ
- ค่าเสื่อมราคาของมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ในบริษัทร่วมที่สูงกว่าราคาทุน
- ค่าตัดจำหน่ายสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่เกิดจาการรวมกิจการ
เงินลงทุนในบริษัทร่วมปลายงวด