R33: กับดักของ “อิสรภาพทางการเงิน”
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 728
- ผู้ติดตาม: 0
R33: กับดักของ “อิสรภาพทางการเงิน”
โพสต์ที่ 1
มือใหม่หัดเขียนครับ ถ้าสนใจอ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ http://randomwalk.bloggang.com
เมื่อตอนเด็กๆเราคงมีความใฝ่ฝันมากมายที่จะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ในสิ่งที่ตนเองชอบ แต่พอคนเราโตขึ้นผมเชื่อว่าคนส่วนใหญ่จะถูกกดดันจากสิ่งที่เรียกว่า “เงิน” บางคนต้องทำงานอย่างหนักในสิ่งตัวเองที่ไม่ชอบเพื่อที่จะได้ “เงิน” มามากๆมาเผื่อสำรองไว้ในการใช้ชีวิตประจำวันของตนเองและครอบครัว และผมมั่นใจว่าเป้าหมายชีวิตของคนส่วนใหญ่ที่โตเป็นผู้ใหญ่แล้วก็คือการมี “อิสรภาพทางการเงิน” เพื่อที่จะไม่ต้องทำงานหนัก และสามารถเลือกที่จะมีความสุขกับที่สิ่งที่ตนเองชอบในเวลาที่เหลืออยู่ของชีวิต
คำนิยามของ “อิสรภาพทางการเงิน” น่าจะหมายถึง การที่เราไม่ต้องทำอะไรนั่งอยู่เฉยๆก็มีกระแสเงินสดเป็นรายรับเข้ามาหาเราสม่ำเสมอในจำนวนที่มากกว่ารายจ่ายของเราซึ่งเรียกว่ามี “กระแสเงินสดสุทธิที่เป็นบวก” เมื่อเวลาผ่านไปกระแสเงินสดสุทธิที่เป็นบวกจะทำให้เรามีเงินเพิ่มขึ้นโดยไม่ต้องทำงานอะไรเลย หลักการสำคัญที่จะมีกระแสเงินสดสุทธิที่เป็นบวกก็คงต้องมาจากการที่เราได้ครอบครองสินทรัพย์จำนวนหนึ่ง ซึ่งสินทรัพย์เหล่านั้นจะผลิตสินค้าและบริการที่เป็นที่ต้องการของคนอื่นออกมาอย่างสม่ำเสมอ และผลผลิตเหล่านั้นก็ควรจะมากกว่าการบริโภคของเรา สินทรัพย์เหล่านี้อาจจะเป็น ธุรกิจ อสังหาริมทรัพย์ หรือตราสารทางการเงินต่างๆ ที่มันสามารถสร้างผลผลิตได้โดยอัตโนมัติโดยที่เราไม่ต้องทำงานหรือลงแรงอะไรเพิ่มเติม และที่สำคัญกระแสเงินสดสุทธินี้ควรจะหักการด้อยค่าของอำนาจซื้อเนื่องจากการเงินเฟ้อด้วย ถ้าเราครอบครองสินทรัพย์ที่ให้อัตราผลตอบแทนแค่เท่ากับเงินเฟ้อผมก็คิดว่าเราไม่ได้มีเงินเพิ่ม และจะใช้ชีวิตอย่างลำบากขึ้นในอนาคต
ผมเชื่อว่ามีคนจำนวนหนึ่งได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการมี “อิสรภาพทางการเงิน” และเริ่มที่จะหาสินทรัพย์ที่มีผลผลิตมาครอบครอง ซึ่งการลงทุนในหุ้นก็เป็นการครอบครอบสินทรัพย์ชนิดหนึ่ง แต่ข้อสังเกตคือถ้าเราลงทุนแล้วได้กระแสเงินสดที่เป็นบวกแต่ต้องกังวลหรือต้องคิดมากกับการลงทุนก็อาจจะไม่ถือว่ามีอิสรภาพทางการเงินอย่างแท้จริง เพราะความกังวลนี้ก็จะถือว่าเป็นต้นทุนของเราอย่างหนึ่ง ถ้าเรายังต้องมีต้นทุนในการต้องจดจ่อเฝ้าหน้าจอซื้อขายวันหนึ่งหลายชั่วโมง ก็คงไม่แตกต่างกับมนุษย์เงินเดือนที่ต้องทำงานประจำอยู่ในออฟฟิศ ดังนั้น ผมจึงคิดว่าการมี “อิสรภาพทางเวลา” เป็นเป้าหมายที่แท้จริงอีกทีของการมี “อิสรภาพทางการเงิน” ถ้าเรามีอิสรภาพทางการเงินแต่ไม่มีเวลา ก็คงไม่มีประโยชน์อะไร
ดังนั้นนักลงทุนที่อยากมีอิสรภาพทางการเงินควรตั้งเป้าหมายในการลงทุน และเดินให้ถูกทาง ก่อนที่จะเดินหลงทางและติดกับดักการไม่มีอิสรภาพทางการเงินอย่างแท้จริง ตัวอย่างของวิธีการลงทุนที่หลงทางคือ การลงทุนที่ใช้เวลามาก และการลงทุนที่ทำให้เกิดความกังวล
การลงทุนที่ใช้เวลามาก
เทรดเดอร์ที่เก็งกำไรรายนาทีคงจะเป็นอาชีพที่ดูดีในสายตาคนทั่วไปว่าจะทำเงินได้หลายเท่าตัวในช่วงเวลาสั้นๆ อย่างไรก็ตามเทรดเดอร์เหล่านั้นจะต้องใช้แรงกายของเราในการทุ่มเทจดจ่อหน้าคอมพิวเตอร์เป็นรายนาที วันหนึ่งหลายชั่วโมง พอถึงอายุประมาณหนึ่งก็ต้องเกษียณตัวเองเพราะทนกับความเครียดที่เกิดขึ้นในการใช้เวลาอันยาวนานที่จะต้องนั่งอยู่หน้าจอไม่ไหว ถึงแม้ว่าจะทำเงินได้จริงแต่ก็เป็นกลยุทธ์ที่เทรดเดอร์ไม่สามารถนำไปใช้ตอนแก่ได้ เพราะไม่มี “อสิรภาพทางเวลา” ซึ่งถึงเวลานั้นเทรดเดอร์ก็คงต้องศึกษาวิธีการลงทุนประเภทอื่นที่เหนื่อย กังวล และใช้เวลาน้อยลง
การลงทุนที่ทำให้เกิดความกังวล
สำหรับการเล่นหุ้นปั่นที่มีการเหวี่ยงของราคาจะทำให้รายรับเราจะไม่สม่ำเสมอขึ้นอยู่ช่วงจังหวะตลาด บางครั้งตัวที่เราเข้าก็ไม่ได้ขึ้นไปตามที่มีคนบอกมา แถมยังตกลงมาจากราคาที่เราซื้อไปอีก ท้ายที่สุดเมื่อมีหุ้นปั่นตัวใหม่ก็จะต้องแบกรับกับความกังวลครั้งใหม่ ความกังวลเหล่านี้ก็จะเป็นวัฎจักรวนเวียนไปโดยไม่จบสิ้นทำให้เราจะไม่เคยมี “อสิรภาพทางเวลา”
ในช่วงตลาดขาขึ้น คนส่วนใหญ่จะได้กำไรและจะคิดเกินตัวว่าถ้าเรายืมเงินมาลงทุนกำไรของเราก็จะเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่า พวกเขาก็จะเล่นบัญชีมาร์จิ้นในการซื้อหุ้น หรือถ้าลงทุนในตลาดฟิวเจอร์เราก็จะเพิ่มจำนวนสัญญาโดยเผื่อเงินไว้น้อยมาก ผมคิดว่าการลงทุนโดยลักษณะเหล่านี้จะทำให้เรามีความกังวลมากกว่าเดิม และความกังวลเหล่านี้แหละที่เป็นต้นทุนในการลงทุนของเราที่จะทำให้เราไม่มี “อิสรภาพทางเวลา”
ผมคิดว่าโดยปกติแล้วนักลงทุนจะนอนหลับสบายใจก็ต่อเมื่อการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าที่เขาลงทุนนั้นยังคงเป็นไปตามการเปลี่ยนแปลงปกติเหมือนๆชาวบ้าน ซึ่งความปกติที่สามารถเป็นตัวชี้วัดของเมืองไทยก็คือการเปลี่ยนแปลงของ “SET INDEX” ถ้าเราลงทุนในทรัพย์สินที่มีขนาดการเปลี่ยนแปลงมากกว่าการเปลี่ยนแปลงของตลาดเนื่องจากมาร์จิ้น หรือ LEVERAGE เกินตัว ก็จะทำให้เรารู้สึกกังวลว่าเราได้ทำสิ่งผิดปกติที่คนอื่นเขาไม่ทำกัน และทุกครั้งที่เราได้ทำสิ่งผิดปกตินี้จะทำให้กลยุทธ์การเล่นผิดเพี้ยนไปจากที่วางแผนไว้เดิม ในที่สุดก็จะทำให้ตัดขาดทุนเร็ว พอตัดแล้วราคาก็ขึ้นไปใหม่ พอตามเข้าไปมันก็หล่นลงมา จนทำให้ขาดทุนอย่างมากในท้ายที่สุด ทั้งหมดนี้อาจจะไม่ใช่ความผิดในการเล่นของเรา แต่เป็นความผิดของการบริหารเงินหรือ “Money Management” ที่มี “ส่วนเผื่อเพื่อความอุ่นใจ” ไม่มากพอ ทำให้เรามีสภาพอารมณ์ที่ไม่ปกติ ผลของการลงทุนของเราจึงไม่ปกติ
ดังนั้นเราจึงควรต้องหาวิธีที่เราลงทุนแล้วมี “อิสรภาพทางเวลา” กล่าวคือใช้เวลาไม่มาก และไม่กังวล อาจจะลงทุนระยะยาวในหุ้นที่ดีมากเป็นระยะเวลา 10 ปีขึ้นไปโดยระหว่างนี้เราไม่ต้องคิดอะไรเลย หรือถ้าเราอยากติดตามอย่างมากที่สุดก็ควรจะพึ่งพาความคิดของเรา 2-3 ชั่วโมงต่อวัน สามารถนำกลยุทธ์ที่ทำสำเร็จในครั้งก่อนมาใช้ในครั้งต่อไปได้ไม่ยาก หรือเรียกได้ว่ามีระบบอัตโนมัติในการลงทุนที่ยั่งยืนสามารถนำมาใช้กับอนาคตได้เรื่อยๆโดยไม่ต้องมาเริ่มต้นคิดกับการลงทุนครั้งใหม่ ถึงแม้ว่าการลงทุนแต่ละครั้งคงจะไม่เหมือนกัน 100% แต่แก่นหลักหรือปรัชญาในการลงทุนแล้วควรจะต้องเหมือนเดิม ถ้าเรามีการลงทุนแบบมี “อิสรภาพทางเวลา” แล้วก็คงไม่ต้องติดตามตลาดต่างประเทศตอนกลางคืน ไปเที่ยวต่างจังหวัด หรือต่างประเทศหลายวันได้โดยไม่ต้องมีความกังวล โดยที่ในระหว่างนั้นเราก็มีกระแสเงินสดสุทธิที่เป็นบวกเข้ามาหาเราอย่างสม่ำเสมอ (โดยที่มากกว่าการด้อยค่าของอำนาจซื้อเนื่องจากเงินเฟ้อ) และนี่แหละถึงจะเรียกการมี “อิสรภาพทางการเงิน” อย่างแท้จริงครับ
เมื่อตอนเด็กๆเราคงมีความใฝ่ฝันมากมายที่จะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ในสิ่งที่ตนเองชอบ แต่พอคนเราโตขึ้นผมเชื่อว่าคนส่วนใหญ่จะถูกกดดันจากสิ่งที่เรียกว่า “เงิน” บางคนต้องทำงานอย่างหนักในสิ่งตัวเองที่ไม่ชอบเพื่อที่จะได้ “เงิน” มามากๆมาเผื่อสำรองไว้ในการใช้ชีวิตประจำวันของตนเองและครอบครัว และผมมั่นใจว่าเป้าหมายชีวิตของคนส่วนใหญ่ที่โตเป็นผู้ใหญ่แล้วก็คือการมี “อิสรภาพทางการเงิน” เพื่อที่จะไม่ต้องทำงานหนัก และสามารถเลือกที่จะมีความสุขกับที่สิ่งที่ตนเองชอบในเวลาที่เหลืออยู่ของชีวิต
คำนิยามของ “อิสรภาพทางการเงิน” น่าจะหมายถึง การที่เราไม่ต้องทำอะไรนั่งอยู่เฉยๆก็มีกระแสเงินสดเป็นรายรับเข้ามาหาเราสม่ำเสมอในจำนวนที่มากกว่ารายจ่ายของเราซึ่งเรียกว่ามี “กระแสเงินสดสุทธิที่เป็นบวก” เมื่อเวลาผ่านไปกระแสเงินสดสุทธิที่เป็นบวกจะทำให้เรามีเงินเพิ่มขึ้นโดยไม่ต้องทำงานอะไรเลย หลักการสำคัญที่จะมีกระแสเงินสดสุทธิที่เป็นบวกก็คงต้องมาจากการที่เราได้ครอบครองสินทรัพย์จำนวนหนึ่ง ซึ่งสินทรัพย์เหล่านั้นจะผลิตสินค้าและบริการที่เป็นที่ต้องการของคนอื่นออกมาอย่างสม่ำเสมอ และผลผลิตเหล่านั้นก็ควรจะมากกว่าการบริโภคของเรา สินทรัพย์เหล่านี้อาจจะเป็น ธุรกิจ อสังหาริมทรัพย์ หรือตราสารทางการเงินต่างๆ ที่มันสามารถสร้างผลผลิตได้โดยอัตโนมัติโดยที่เราไม่ต้องทำงานหรือลงแรงอะไรเพิ่มเติม และที่สำคัญกระแสเงินสดสุทธินี้ควรจะหักการด้อยค่าของอำนาจซื้อเนื่องจากการเงินเฟ้อด้วย ถ้าเราครอบครองสินทรัพย์ที่ให้อัตราผลตอบแทนแค่เท่ากับเงินเฟ้อผมก็คิดว่าเราไม่ได้มีเงินเพิ่ม และจะใช้ชีวิตอย่างลำบากขึ้นในอนาคต
ผมเชื่อว่ามีคนจำนวนหนึ่งได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการมี “อิสรภาพทางการเงิน” และเริ่มที่จะหาสินทรัพย์ที่มีผลผลิตมาครอบครอง ซึ่งการลงทุนในหุ้นก็เป็นการครอบครอบสินทรัพย์ชนิดหนึ่ง แต่ข้อสังเกตคือถ้าเราลงทุนแล้วได้กระแสเงินสดที่เป็นบวกแต่ต้องกังวลหรือต้องคิดมากกับการลงทุนก็อาจจะไม่ถือว่ามีอิสรภาพทางการเงินอย่างแท้จริง เพราะความกังวลนี้ก็จะถือว่าเป็นต้นทุนของเราอย่างหนึ่ง ถ้าเรายังต้องมีต้นทุนในการต้องจดจ่อเฝ้าหน้าจอซื้อขายวันหนึ่งหลายชั่วโมง ก็คงไม่แตกต่างกับมนุษย์เงินเดือนที่ต้องทำงานประจำอยู่ในออฟฟิศ ดังนั้น ผมจึงคิดว่าการมี “อิสรภาพทางเวลา” เป็นเป้าหมายที่แท้จริงอีกทีของการมี “อิสรภาพทางการเงิน” ถ้าเรามีอิสรภาพทางการเงินแต่ไม่มีเวลา ก็คงไม่มีประโยชน์อะไร
ดังนั้นนักลงทุนที่อยากมีอิสรภาพทางการเงินควรตั้งเป้าหมายในการลงทุน และเดินให้ถูกทาง ก่อนที่จะเดินหลงทางและติดกับดักการไม่มีอิสรภาพทางการเงินอย่างแท้จริง ตัวอย่างของวิธีการลงทุนที่หลงทางคือ การลงทุนที่ใช้เวลามาก และการลงทุนที่ทำให้เกิดความกังวล
การลงทุนที่ใช้เวลามาก
เทรดเดอร์ที่เก็งกำไรรายนาทีคงจะเป็นอาชีพที่ดูดีในสายตาคนทั่วไปว่าจะทำเงินได้หลายเท่าตัวในช่วงเวลาสั้นๆ อย่างไรก็ตามเทรดเดอร์เหล่านั้นจะต้องใช้แรงกายของเราในการทุ่มเทจดจ่อหน้าคอมพิวเตอร์เป็นรายนาที วันหนึ่งหลายชั่วโมง พอถึงอายุประมาณหนึ่งก็ต้องเกษียณตัวเองเพราะทนกับความเครียดที่เกิดขึ้นในการใช้เวลาอันยาวนานที่จะต้องนั่งอยู่หน้าจอไม่ไหว ถึงแม้ว่าจะทำเงินได้จริงแต่ก็เป็นกลยุทธ์ที่เทรดเดอร์ไม่สามารถนำไปใช้ตอนแก่ได้ เพราะไม่มี “อสิรภาพทางเวลา” ซึ่งถึงเวลานั้นเทรดเดอร์ก็คงต้องศึกษาวิธีการลงทุนประเภทอื่นที่เหนื่อย กังวล และใช้เวลาน้อยลง
การลงทุนที่ทำให้เกิดความกังวล
สำหรับการเล่นหุ้นปั่นที่มีการเหวี่ยงของราคาจะทำให้รายรับเราจะไม่สม่ำเสมอขึ้นอยู่ช่วงจังหวะตลาด บางครั้งตัวที่เราเข้าก็ไม่ได้ขึ้นไปตามที่มีคนบอกมา แถมยังตกลงมาจากราคาที่เราซื้อไปอีก ท้ายที่สุดเมื่อมีหุ้นปั่นตัวใหม่ก็จะต้องแบกรับกับความกังวลครั้งใหม่ ความกังวลเหล่านี้ก็จะเป็นวัฎจักรวนเวียนไปโดยไม่จบสิ้นทำให้เราจะไม่เคยมี “อสิรภาพทางเวลา”
ในช่วงตลาดขาขึ้น คนส่วนใหญ่จะได้กำไรและจะคิดเกินตัวว่าถ้าเรายืมเงินมาลงทุนกำไรของเราก็จะเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่า พวกเขาก็จะเล่นบัญชีมาร์จิ้นในการซื้อหุ้น หรือถ้าลงทุนในตลาดฟิวเจอร์เราก็จะเพิ่มจำนวนสัญญาโดยเผื่อเงินไว้น้อยมาก ผมคิดว่าการลงทุนโดยลักษณะเหล่านี้จะทำให้เรามีความกังวลมากกว่าเดิม และความกังวลเหล่านี้แหละที่เป็นต้นทุนในการลงทุนของเราที่จะทำให้เราไม่มี “อิสรภาพทางเวลา”
ผมคิดว่าโดยปกติแล้วนักลงทุนจะนอนหลับสบายใจก็ต่อเมื่อการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าที่เขาลงทุนนั้นยังคงเป็นไปตามการเปลี่ยนแปลงปกติเหมือนๆชาวบ้าน ซึ่งความปกติที่สามารถเป็นตัวชี้วัดของเมืองไทยก็คือการเปลี่ยนแปลงของ “SET INDEX” ถ้าเราลงทุนในทรัพย์สินที่มีขนาดการเปลี่ยนแปลงมากกว่าการเปลี่ยนแปลงของตลาดเนื่องจากมาร์จิ้น หรือ LEVERAGE เกินตัว ก็จะทำให้เรารู้สึกกังวลว่าเราได้ทำสิ่งผิดปกติที่คนอื่นเขาไม่ทำกัน และทุกครั้งที่เราได้ทำสิ่งผิดปกตินี้จะทำให้กลยุทธ์การเล่นผิดเพี้ยนไปจากที่วางแผนไว้เดิม ในที่สุดก็จะทำให้ตัดขาดทุนเร็ว พอตัดแล้วราคาก็ขึ้นไปใหม่ พอตามเข้าไปมันก็หล่นลงมา จนทำให้ขาดทุนอย่างมากในท้ายที่สุด ทั้งหมดนี้อาจจะไม่ใช่ความผิดในการเล่นของเรา แต่เป็นความผิดของการบริหารเงินหรือ “Money Management” ที่มี “ส่วนเผื่อเพื่อความอุ่นใจ” ไม่มากพอ ทำให้เรามีสภาพอารมณ์ที่ไม่ปกติ ผลของการลงทุนของเราจึงไม่ปกติ
ดังนั้นเราจึงควรต้องหาวิธีที่เราลงทุนแล้วมี “อิสรภาพทางเวลา” กล่าวคือใช้เวลาไม่มาก และไม่กังวล อาจจะลงทุนระยะยาวในหุ้นที่ดีมากเป็นระยะเวลา 10 ปีขึ้นไปโดยระหว่างนี้เราไม่ต้องคิดอะไรเลย หรือถ้าเราอยากติดตามอย่างมากที่สุดก็ควรจะพึ่งพาความคิดของเรา 2-3 ชั่วโมงต่อวัน สามารถนำกลยุทธ์ที่ทำสำเร็จในครั้งก่อนมาใช้ในครั้งต่อไปได้ไม่ยาก หรือเรียกได้ว่ามีระบบอัตโนมัติในการลงทุนที่ยั่งยืนสามารถนำมาใช้กับอนาคตได้เรื่อยๆโดยไม่ต้องมาเริ่มต้นคิดกับการลงทุนครั้งใหม่ ถึงแม้ว่าการลงทุนแต่ละครั้งคงจะไม่เหมือนกัน 100% แต่แก่นหลักหรือปรัชญาในการลงทุนแล้วควรจะต้องเหมือนเดิม ถ้าเรามีการลงทุนแบบมี “อิสรภาพทางเวลา” แล้วก็คงไม่ต้องติดตามตลาดต่างประเทศตอนกลางคืน ไปเที่ยวต่างจังหวัด หรือต่างประเทศหลายวันได้โดยไม่ต้องมีความกังวล โดยที่ในระหว่างนั้นเราก็มีกระแสเงินสดสุทธิที่เป็นบวกเข้ามาหาเราอย่างสม่ำเสมอ (โดยที่มากกว่าการด้อยค่าของอำนาจซื้อเนื่องจากเงินเฟ้อ) และนี่แหละถึงจะเรียกการมี “อิสรภาพทางการเงิน” อย่างแท้จริงครับ
- chukieat30
- Verified User
- โพสต์: 3531
- ผู้ติดตาม: 0
Re: R33: กับดักของ “อิสรภาพทางการเงิน”
โพสต์ที่ 3
+1 ให้บทความดีๆครับ ตามไปอ่านดู เขียนได้โดนมากๆครับ
ผมก้เื่ชื่อแบบเดียวกับคุณ ถ้าเป็นอิสรภาพทางการเงิน ก้ต้องเป็นอิสรภาพทางเวลาด้วย
สำหรับผม ถึงเป้าก้ เลิก
คำเดียวสั้นๆๆ เลิกและเอาเวลาไปใช้ชีวิตอยู่กับธรรมชาติชนบท
ถ้ามี100ล้าน ดอกปีละ 3.5ล้าน ผมพอกินพอใช้ ไม่อยากไ้ด้อะไรแล้ว
เมื่อถึงจุดๆหนึ่งที่เรามีเงินมากพอ เงินก้ไม่ใช่ทุกสิ่งในชีวิต
สำหรับผม พ่อแม่และคนที่มีบุญคุณกับเรานั่นแหล่ะ คือ ทุกสิ่งในชีวิต
ขอใช้ชีวิตแบบ ไร้ชื่อ ไร้เสียง อยู่กับคนที่เรารัก แค่นี้ก้สุขใจมากพอแล้ว
ผมก้เื่ชื่อแบบเดียวกับคุณ ถ้าเป็นอิสรภาพทางการเงิน ก้ต้องเป็นอิสรภาพทางเวลาด้วย
สำหรับผม ถึงเป้าก้ เลิก
คำเดียวสั้นๆๆ เลิกและเอาเวลาไปใช้ชีวิตอยู่กับธรรมชาติชนบท
ถ้ามี100ล้าน ดอกปีละ 3.5ล้าน ผมพอกินพอใช้ ไม่อยากไ้ด้อะไรแล้ว
เมื่อถึงจุดๆหนึ่งที่เรามีเงินมากพอ เงินก้ไม่ใช่ทุกสิ่งในชีวิต
สำหรับผม พ่อแม่และคนที่มีบุญคุณกับเรานั่นแหล่ะ คือ ทุกสิ่งในชีวิต
ขอใช้ชีวิตแบบ ไร้ชื่อ ไร้เสียง อยู่กับคนที่เรารัก แค่นี้ก้สุขใจมากพอแล้ว
ถ้าคุณตีลูกตามไทเกอร์ คุณก้ไม่มีทางจะเหนือกว่า ไทเกอร์ จงนำวงสวิงของไทเกอร์มาปรับใช้ให้เหมาะกับคุณ
หวิ่งชุนหวอซาน หวิ่งชุนยิปมันจีทคุดโด้ พื้นฐานก้มาจากหวิ่งชุน แม้ชื่อจะต่าง
แต่หวิ่งชุนก้คือ หวิ่งชุน
ทำวันนี้ให้ดี ทำพรุ่งนี้ให้ดีกว่า และทำวันข้างหน้าให้ดีที่สุด
หวิ่งชุนหวอซาน หวิ่งชุนยิปมันจีทคุดโด้ พื้นฐานก้มาจากหวิ่งชุน แม้ชื่อจะต่าง
แต่หวิ่งชุนก้คือ หวิ่งชุน
ทำวันนี้ให้ดี ทำพรุ่งนี้ให้ดีกว่า และทำวันข้างหน้าให้ดีที่สุด
- chukieat30
- Verified User
- โพสต์: 3531
- ผู้ติดตาม: 0
Re: R33: กับดักของ “อิสรภาพทางการเงิน”
โพสต์ที่ 4
อิสรภาพทางการเงินคือ หยุดเมื่อมีเงินและผลของเงินพอมีกินตลอดชีวิต
อิสรภาพทางเวลา คือ หยุดการทำงานเพื่อให้มีเวลาดูแลคนที่เรารัก
ชื่อเสียง และลาภยศ ก้แค่สิ่งลวงตา ถ้าเราไม่ยึดติดกับมัน เราก้จะไม่เดือดร้อน
ไม่มีใครรู้จัก ไม่มีใครรู้ว่ามีความมั่งคั่ง ไม่มีชื่อเสียงไม่มีนาม
ชีวิตก้จะไม่วุ่นวาย การมีชื่อเสียงลาภยศมันก้เป็นแค่ สิ่งสมมติมันขึ้นมา
ถ้าเราหลับตา ชื่อเสียงและสิ่งสมมติ แม้แต่รางกายเรา ก้ไม่มี นี่แหล่ะ
แก่นแท้ของผม Natural Value Investor
อิสรภาพทางเวลา คือ หยุดการทำงานเพื่อให้มีเวลาดูแลคนที่เรารัก
ชื่อเสียง และลาภยศ ก้แค่สิ่งลวงตา ถ้าเราไม่ยึดติดกับมัน เราก้จะไม่เดือดร้อน
ไม่มีใครรู้จัก ไม่มีใครรู้ว่ามีความมั่งคั่ง ไม่มีชื่อเสียงไม่มีนาม
ชีวิตก้จะไม่วุ่นวาย การมีชื่อเสียงลาภยศมันก้เป็นแค่ สิ่งสมมติมันขึ้นมา
ถ้าเราหลับตา ชื่อเสียงและสิ่งสมมติ แม้แต่รางกายเรา ก้ไม่มี นี่แหล่ะ
แก่นแท้ของผม Natural Value Investor
ถ้าคุณตีลูกตามไทเกอร์ คุณก้ไม่มีทางจะเหนือกว่า ไทเกอร์ จงนำวงสวิงของไทเกอร์มาปรับใช้ให้เหมาะกับคุณ
หวิ่งชุนหวอซาน หวิ่งชุนยิปมันจีทคุดโด้ พื้นฐานก้มาจากหวิ่งชุน แม้ชื่อจะต่าง
แต่หวิ่งชุนก้คือ หวิ่งชุน
ทำวันนี้ให้ดี ทำพรุ่งนี้ให้ดีกว่า และทำวันข้างหน้าให้ดีที่สุด
หวิ่งชุนหวอซาน หวิ่งชุนยิปมันจีทคุดโด้ พื้นฐานก้มาจากหวิ่งชุน แม้ชื่อจะต่าง
แต่หวิ่งชุนก้คือ หวิ่งชุน
ทำวันนี้ให้ดี ทำพรุ่งนี้ให้ดีกว่า และทำวันข้างหน้าให้ดีที่สุด
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 728
- ผู้ติดตาม: 0
Re: R33: กับดักของ “อิสรภาพทางการเงิน”
โพสต์ที่ 7
ขอบคุณมากครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 728
- ผู้ติดตาม: 0
Re: R33: กับดักของ “อิสรภาพทางการเงิน”
โพสต์ที่ 11
ขอบคุณครับ
ผมจะ post รวมบทความทั้งหมดลงกระทู้เดียวนะครับ
จะได้ไม่เปลืองกระทู้ และง่ายต่อการติดตาม
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f ... 47#p985347
ผมจะ post รวมบทความทั้งหมดลงกระทู้เดียวนะครับ
จะได้ไม่เปลืองกระทู้ และง่ายต่อการติดตาม
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f ... 47#p985347
-
- Verified User
- โพสต์: 26
- ผู้ติดตาม: 0
Re: R33: กับดักของ “อิสรภาพทางการเงิน”
โพสต์ที่ 12
ขอเสนออีกความหมายนึงของอิสรภาพทางการเงินที่อ่านเจอมาครับ
จากหนังสือของ bizkons
Financial Freedom เล่ม 1 สค 2549 หน้า 14
ในความเป็นจริงแล้ว"อิสระภาพทางการเงิน" ไม่ได้หมายถึงการมีเงินมากพอที่จะใช้จ่ายอย่างไรก็ไม่มีวันหมด หรือร่ำรวยเงินทองจนไม่ต้องทำงาน แต่หมายถึง
การมีชีวิตอยู่อย่างพอเพียง
มีอิสระในการเลือกที่จะทำ และเป็นในสิ่งที่ตัวเองต้องการ
โดยไม่มี "เงิน" มาเป็นเครื่องพันธนาการทางความคิด และการตัดสินใจ
จากหนังสือของ bizkons
Financial Freedom เล่ม 1 สค 2549 หน้า 14
ในความเป็นจริงแล้ว"อิสระภาพทางการเงิน" ไม่ได้หมายถึงการมีเงินมากพอที่จะใช้จ่ายอย่างไรก็ไม่มีวันหมด หรือร่ำรวยเงินทองจนไม่ต้องทำงาน แต่หมายถึง
การมีชีวิตอยู่อย่างพอเพียง
มีอิสระในการเลือกที่จะทำ และเป็นในสิ่งที่ตัวเองต้องการ
โดยไม่มี "เงิน" มาเป็นเครื่องพันธนาการทางความคิด และการตัดสินใจ
- Zhou_Enlai
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 112
- ผู้ติดตาม: 0
Re: R33: กับดักของ “อิสรภาพทางการเงิน”
โพสต์ที่ 13
เยี่ยมมากๆครับ อิสระภาพทางการเงิน เเท้จริงเเล้วไม่ได้ขึ้นอยู่กับตัวเงินอย่างเดียว เเต่ยังขึ้นอยู่กับ "ตัวเรา" ด้วยs.teerapong เขียน:
ในความเป็นจริงแล้ว"อิสระภาพทางการเงิน" ไม่ได้หมายถึงการมีเงินมากพอที่จะใช้จ่ายอย่างไรก็ไม่มีวันหมด หรือร่ำรวยเงินทองจนไม่ต้องทำงาน แต่หมายถึง
การมีชีวิตอยู่อย่างพอเพียง
มีอิสระในการเลือกที่จะทำ และเป็นในสิ่งที่ตัวเองต้องการ
โดยไม่มี "เงิน" มาเป็นเครื่องพันธนาการทางความคิด และการตัดสินใจ
"ใช้ชีวิตจนแก่เฒ่า ศึกษาจนแก่เฒ่า ดัดแปลงจนแก่เฒ่า" (活到老、学到老、改造到老)