เพิ่มเติมวิเคราะห์อัตราส่วนกระแสเงินสด
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. มี.ค. 29, 2012 1:56 am
Modified Debt Principal Payback Period (Debt Coverage Ratio)
Modified Debt Principal Payback Period = Long-term Debts or Total Debts / CFO
อัตราส่วนนี้จะบอกให้ทราบว่าหนี้สินระยะยาวมีอยู่กี่เท่าเมื่อเปรียบเทียบกับกระแสเงินสดที่ได้จากการดำเนินงานสุทธิ หรืออาจมองอย่างง่ายๆ ก็คือ ถ้าบริษัทนำเงินสดจากการดำเนินงาน (หลังหักรายจ่ายต่างๆ รวมทั้งดอกเบี้ย) แล้วมาจ่ายเงินต้น ถ้าบริษัทสามารถได้เงินสดสุทธิจากการดำเนินงานจำนวนดังกล่าวคงที่ จะใช้ระยะเวลากี่งวดจึงจะจ่ายเงินต้นได้หมด
ค่าที่คำนวณได้จะบอกนัยแก่ผู้บริหารหรือนักลงทุนว่า ระยะเวลาของหนี้ระยะยาวที่เหลืออยู่โดยเฉลี่ยกับระยะเวลาที่จะจ่ายหนี้หมดถ้าระยะเวลาเฉลี่ยของหนี้ระยะยาวมากกว่าค่าที่คำนวณได้ตามสูตร หมายความว่า เมื่อถึงระยะเวลาดังกล่าวบริษัทจะยังมีหนี้เหลืออยู่ที่ต้องชำระทันที สิ่งที่ทำได้คือ การ refinance หรือก่อหนี้ก้อนใหม่ หรืออาจต้องหาเงินมาชำระโดยการเพิ่มทุน
หนี้ระยะยาวควรจะเป็นหนี้ที่ต้องชำระจริง เนื่องจากมาตรฐานการบัญชีอาจจะมีการบันทึกรายการลักษณะหนี้สินรอตัดบัญชี เช่น หนี้สินภาษีเงินได้รอตัดบัญชี ถ้ามีไม่ต้องนำมารวมคำนวณ เพราะจำนวนดังกล่าวจะนำมาปรับกับค่าใช้จ่ายภาษีทางบัญชี ซึ่งผลจากการเพิ่มลดทางบัญชีนี้ในการคำนวณเงินสดได้ปรับปรุงในตัวอยู่แล้ว หนี้สินภาษีเงินได้รอตัดบัญชี จึงไม่ต้องนำมารวมในการคำนวณ
** ย้ำนะครับว่าต้องเป็น debt ไม่ใช่ liability เอ... 2 ตัวนี้ต่างกันอย่างไร
ในทางการเงินเมื่อพูดถึง debt จะหมายถึงหนี้ที่มีดอกเบี้ย ส่วน liability จะหมายถึงหนี้ที่ไม่มีดอกเบี้ยเสียส่วนใหญ่ เช่นเจ้าหนี้การค้า ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย เงินรับล่วงหน้าค่าสินค้าเป็นต้น
การนำไปใช้ เช่น ถ้าบริษัท ABC ออกหุ้นกู้ 2,000 ลบ อายุ 5 ปี ดอกเบี้ย 4% เสนอขาย public นอกจากดู coupon rate, YTM, อายุ Duration อื่นๆ ด้านการเงิน ทางงบการเงินก็ช่วยประเมินได้ด้วย สิ่งที่น่าจะสนใจเพิ่มคือออกหุ้นกู้แล้ว ความเสี่ยงเพิ่มไหม ดู D/E Ratio บริษัทอาจออกบริคณฑ์สนธิ แน่นอนมีประมาณการอะไรมายืดยาว แต่ผมอาจไม่ต้องรอนานแค่ดูจากงบล่าสุดถอยไปอีก 2 ปี ก็พอประเมินขั้นต้นได้แล้วว่าบริษัทนี้จะเกิดอะไรในวันข้างหน้าได้บ้าง หุ้นสามัญจะซื้อมั๊ย หุ้นกู้จะจองมั๊ย
สมมติล่าสุดบริษัทมีหนี้ธนาคารระยะยาว 1,000 ลบ equity รวม 2,000 ออกหุ้นกู้ไปจ่ายหนี้ธนาคาร ดอกเบี้ย 7.5% ที่เหลือ ขยายกิจการเพิ่มกำลังการผลิต
CFO สุทธิ 250 ลบ.
เบิ้องต้นดูเหมือนดีจ่ายหนี้เก่าดอกเบี้ย 7.5% แต่มองทางบัญชีคร่าวๆ เดิมจ่ายดอกเบี้ย 75 ลบ ของใหม่จ่าย 80 ลบ ถ้าขายคงที่ กำไร EBIT คงที กำไรลดแน่ แต่งคงมีการเติบโตบ้างละ ก็ไม่น่ามีกำไรลด.....
ทีนี้มาดูเฉพาะ Ratio นี้กัน
หนี้ระยะยาวใหม่เป็น 2,000 ลบ อายุ 4 ปี หากอัตราส่วน Modified Debt Principal Payback Period ชำระได้เท่ากับ 4 พอดี CFO ต้องเฉลี่ยเท่ากับปีละ 500 ลบ ล่าสุด CFO ได้ 300 ถ้าจะเฉลี่ยได้ 500 ใน ระยะ 4 ปี ต้องมีกำไรเติบโตปีละราว 35.4%
สิ่งที่ควรดูคือขายโตคงที่ 35-36% ต่อปีไม่ใช่เรื่องง่ายยกเว้นอุตสาหกรรมโตมากๆ เงินอีก 1000 ลบ ขยายลงทุนได้ขนาดนี้หรือไม่ ถ้าประเมินว่ายากแสดงว่าหุ้นกู้นี้เมื่อครบอายุก็ต้องหาหนี้มา refinance อีก หรือไม่ก็ต้องเพิ่มทุนใช้หนี้ ซึ่งไม่ใช่ประโยชน์ที่ดีต่อผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE)
Modified Debt Principal Payback Period = Long-term Debts or Total Debts / CFO
อัตราส่วนนี้จะบอกให้ทราบว่าหนี้สินระยะยาวมีอยู่กี่เท่าเมื่อเปรียบเทียบกับกระแสเงินสดที่ได้จากการดำเนินงานสุทธิ หรืออาจมองอย่างง่ายๆ ก็คือ ถ้าบริษัทนำเงินสดจากการดำเนินงาน (หลังหักรายจ่ายต่างๆ รวมทั้งดอกเบี้ย) แล้วมาจ่ายเงินต้น ถ้าบริษัทสามารถได้เงินสดสุทธิจากการดำเนินงานจำนวนดังกล่าวคงที่ จะใช้ระยะเวลากี่งวดจึงจะจ่ายเงินต้นได้หมด
ค่าที่คำนวณได้จะบอกนัยแก่ผู้บริหารหรือนักลงทุนว่า ระยะเวลาของหนี้ระยะยาวที่เหลืออยู่โดยเฉลี่ยกับระยะเวลาที่จะจ่ายหนี้หมดถ้าระยะเวลาเฉลี่ยของหนี้ระยะยาวมากกว่าค่าที่คำนวณได้ตามสูตร หมายความว่า เมื่อถึงระยะเวลาดังกล่าวบริษัทจะยังมีหนี้เหลืออยู่ที่ต้องชำระทันที สิ่งที่ทำได้คือ การ refinance หรือก่อหนี้ก้อนใหม่ หรืออาจต้องหาเงินมาชำระโดยการเพิ่มทุน
หนี้ระยะยาวควรจะเป็นหนี้ที่ต้องชำระจริง เนื่องจากมาตรฐานการบัญชีอาจจะมีการบันทึกรายการลักษณะหนี้สินรอตัดบัญชี เช่น หนี้สินภาษีเงินได้รอตัดบัญชี ถ้ามีไม่ต้องนำมารวมคำนวณ เพราะจำนวนดังกล่าวจะนำมาปรับกับค่าใช้จ่ายภาษีทางบัญชี ซึ่งผลจากการเพิ่มลดทางบัญชีนี้ในการคำนวณเงินสดได้ปรับปรุงในตัวอยู่แล้ว หนี้สินภาษีเงินได้รอตัดบัญชี จึงไม่ต้องนำมารวมในการคำนวณ
** ย้ำนะครับว่าต้องเป็น debt ไม่ใช่ liability เอ... 2 ตัวนี้ต่างกันอย่างไร
ในทางการเงินเมื่อพูดถึง debt จะหมายถึงหนี้ที่มีดอกเบี้ย ส่วน liability จะหมายถึงหนี้ที่ไม่มีดอกเบี้ยเสียส่วนใหญ่ เช่นเจ้าหนี้การค้า ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย เงินรับล่วงหน้าค่าสินค้าเป็นต้น
การนำไปใช้ เช่น ถ้าบริษัท ABC ออกหุ้นกู้ 2,000 ลบ อายุ 5 ปี ดอกเบี้ย 4% เสนอขาย public นอกจากดู coupon rate, YTM, อายุ Duration อื่นๆ ด้านการเงิน ทางงบการเงินก็ช่วยประเมินได้ด้วย สิ่งที่น่าจะสนใจเพิ่มคือออกหุ้นกู้แล้ว ความเสี่ยงเพิ่มไหม ดู D/E Ratio บริษัทอาจออกบริคณฑ์สนธิ แน่นอนมีประมาณการอะไรมายืดยาว แต่ผมอาจไม่ต้องรอนานแค่ดูจากงบล่าสุดถอยไปอีก 2 ปี ก็พอประเมินขั้นต้นได้แล้วว่าบริษัทนี้จะเกิดอะไรในวันข้างหน้าได้บ้าง หุ้นสามัญจะซื้อมั๊ย หุ้นกู้จะจองมั๊ย
สมมติล่าสุดบริษัทมีหนี้ธนาคารระยะยาว 1,000 ลบ equity รวม 2,000 ออกหุ้นกู้ไปจ่ายหนี้ธนาคาร ดอกเบี้ย 7.5% ที่เหลือ ขยายกิจการเพิ่มกำลังการผลิต
CFO สุทธิ 250 ลบ.
เบิ้องต้นดูเหมือนดีจ่ายหนี้เก่าดอกเบี้ย 7.5% แต่มองทางบัญชีคร่าวๆ เดิมจ่ายดอกเบี้ย 75 ลบ ของใหม่จ่าย 80 ลบ ถ้าขายคงที่ กำไร EBIT คงที กำไรลดแน่ แต่งคงมีการเติบโตบ้างละ ก็ไม่น่ามีกำไรลด.....
ทีนี้มาดูเฉพาะ Ratio นี้กัน
หนี้ระยะยาวใหม่เป็น 2,000 ลบ อายุ 4 ปี หากอัตราส่วน Modified Debt Principal Payback Period ชำระได้เท่ากับ 4 พอดี CFO ต้องเฉลี่ยเท่ากับปีละ 500 ลบ ล่าสุด CFO ได้ 300 ถ้าจะเฉลี่ยได้ 500 ใน ระยะ 4 ปี ต้องมีกำไรเติบโตปีละราว 35.4%
สิ่งที่ควรดูคือขายโตคงที่ 35-36% ต่อปีไม่ใช่เรื่องง่ายยกเว้นอุตสาหกรรมโตมากๆ เงินอีก 1000 ลบ ขยายลงทุนได้ขนาดนี้หรือไม่ ถ้าประเมินว่ายากแสดงว่าหุ้นกู้นี้เมื่อครบอายุก็ต้องหาหนี้มา refinance อีก หรือไม่ก็ต้องเพิ่มทุนใช้หนี้ ซึ่งไม่ใช่ประโยชน์ที่ดีต่อผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE)