หน้า 1 จากทั้งหมด 1

จงเลือกธุรกิจที่ง่ายต่อความเข้าใจ โดย พี่มน Montri Nipitvitt

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. เม.ย. 05, 2012 10:00 am
โดย The Kop 71
จากคำที่ว่า “Simple is the best” ในการลงทุนนั้นมีอะไรที่ยากๆเต็มไปหมด
มีสมการทางการเงินที่ดูแล้วชวนปวดเศียรเวียนกระหม่อมอย่างแรง
แต่พอเอาเข้าจริงๆกลับไม่ค่อยเห็นมีคนนำมาใช้อย่างเป็นเรื่องเป็นราว

จะว่าไม่เคยเห็นก็ไม่ได้ เพราะผมเคยเห็นกองทุนหนึ่งเป็นกองทุนที่ใช้การคำนวนเชิงปริมาณที่ค่อนข้างซับซ้อน
โดยว่าจ้างนักวิชาการมาทำตัวแบบเพื่อใช้ในการลงทุน ไม่ต้องเดาให้ปวดห...ัวครับ
กองทุนกองนี้ยังไม่สามารถสร้างผลตอบแทนกลับคืนสู่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้เท่าทุนเลยด้วยซ้ำ
ที่เป็นเช่นนี้มิใช่ตัวแบบการคำนวณผิดพลาดอะไรหรอกครับ แต่มันเป็นเพราะค่าใช้จ่ายในการซื้อๆขายๆหุ้นเข้าๆออกๆนั่นเอง
ถ้าตัวแบบคำนวณว่าต้องขายก็ต้องขาย บอกว่าต้องซื้อก็ซื้อ ทำไปทำมาค่าใช้จ่ายเลยสูงมากเมื่อเทียบกับผลตอบแทน
และนี่เป็นเรื่องที่ยืนยันในชั้นแรกว่า “Simple is the best”

การลงทุนของกองทุนที่กล่าวถึงข้างต้นนั้น ไม่ได้พิจารณาเลือกลงทุนในธุรกิจ
หากแต่เลือกลงทุนเพราะมันเป็นเพียงตราสารทางการเงินซึ่งมีผลตอบแทนและความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาเป็นปัจจัยหลัก
แต่สำหรับนักลงทุนแบบเน้นมูลค่านั้นจะเลือกลงทุนในธุรกิจ และต้องเป็น “ธุรกิจที่ง่ายต่อการทำความเข้าใจ”
ไม่ได้มองเพียงเพราะมันเป็นหุ้นหรือเป็นเพียงตราสารทางการเงินที่ใช้ความไม่แน่นอนของราคามาใช้ในการตัดสินใจลงทุน

มูลค่าของหุ้นซึ่งในวันหนึ่งมันจะสะท้อนออกมาผ่านราคาหุ้นนั้นขึ้นอยู่กับความสามารถในการทำกำไรระยะยาว
และความสามารถในการทำกำไรในระยะยาวขึ้นอยู่กับความสามารถในการแข่งขัน
และความสามารถในการแข่งขันนั้นจะต้องคงทนและสามารถปกป้องความสามารถในการทำกำไรระยะยาวของบริษัท
ไม่ให้คู่แข่งขันทั้งรายเก่ารายใหม่สามารถเข้ามาสร้างผลกระทบต่อความสามารถในการทำกำไรของบริษัทในระยะยาวได้
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือ ธุรกิจน้ำอัดลมของโค๊ก เป๊บซี่ และอีกหลายๆสินค้าหรือธุรกิจทั้งในประเทศและในโลกนี้

พิจารณาความสามารถในการแข่งขันนั้นให้มองหาสองสิ่ง

1) อุปสรรคในการเข้ามาแย่งส่วนแบ่งตลาดของคู่แข่งทั้งในและนอกอุตสาหกรรม (Barriors to entry) และ
2) ประสิทธิภาพในการดำเนินงานของกิจการ (Operational Effectiveness) เรามาดูกันที่ละอย่างครับ

อุปสรรคในการเข้ามาแย่งส่วนแบ่งตลาดของคู่แข่งทั้งในและนอกอุตสาหกรรม (Barriors to entry)
ธุรกิจใดก็ตามที่ไม่สามารถสกัดกั้นคู่แข่งได้ ธุรกิจนั้นขาดซึ่งความสามารถในการแข่งขันโดยสิ้นเชิง
แม้ในระยะสั้นจะเหนือกว่าด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่า แต่ถ้าคู่แข่งสามารถรุกเข้ามาในกำแพงแห่งการแข่งขันได้
และบริษัทที่เหนือกว่าไม่ใช้ความได้เปรียบที่เหนือกว่าสกัดให้ถอยออกไป ไม่นานคู่แข่งก็จะสามารถลดความเสียเปรียบลงได้ในไม่ช้า
ความได้เปรียบที่ว่านั้นหมายถึง ขนาดของการผลิต ขนาดของเครือข่ายการจัดส่งสินค้า และกำลังในการทำการตลาด
และส่งเสริมการขาย ซึ่งบริษัทเจ้าตลาดจะมีต้นทุนต่อหน่วยที่ต่ำกว่าคู่แข่งที่เล็กกว่าเสมอ
แต่หากคู่แข่งสามารถเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ความได้เปรียบนี้จะค่อยๆลดหายไปในที่สุด
ปรากฎการณ์นี้กำลังเกิดขึ้นในตลาดเครื่องดื่มชาเขียวในบ้านเรา การตอบโต้กันไปมาไม่น่าสนใจเท่า
“การเคลื่อนตัวเชิงกลยุทธ์(Strategic Moves)” ของทั้งสองฝ่าย ถ้าใครสนใจก็ติดตามไว้เป็นกรณีศึกษาก็ดีไม่น้อย

หากเมื่อใดที่ท่านพบเห็นบริษัทใดมีทั้งขนาดที่ใหญ่และมาพร้อมกับความยึดติดและความเคยชินของลูกค้านั่นแหละ

“สุดยอดธุรกิจ”

ขนาดที่ใหญ่ทำให้ต้นทุนต่อหน่วยลดลงจนคู่แข่งเกิดความยากลำบากในการต่อสู้ แถมสู้ไปลูกค้าก็ไม่เอาด้วย
เพราะยึดติดกับตราสินค้า และคุณภาพ รวมถึงเคยชินไปเรียบร้อยแล้ว คู่แข่งไม่เพียงแต่ต้องทำให้ต้นทุนเทียบเท่าเจ้าตลาดเท่านั้น
ยังจะต้องทำให้ต่ำกว่ามากๆเพื่อให้ลูกค้าเปลี่ยนไปลองใช้บริการบ้าง ธุรกิจแบบนี้ในบ้านเรามีอยู่ตามปั๊มน้ำมันและริมถนนต่างๆ
อยู่ตามห้างสรรพสินค้า และจุดต่างๆมากมาย แต่ถ้าเอาระดับโลกและชัดเจนมากๆคือ Louis Vitton
และสินค้าแบรนด์เนมดังๆทั้งหลายซึ่งขนาดเศรษฐีน้อยใหญ่ยอมไปต่อคิวยาวๆเพื่อเข้าไปซื้อได้เพียงชิ้นสองชิ้น
เรื่องนี้ฝรั่งใช้คำว่า “จับลูกค้ายัดใส่กรง หรือ Capivity” และนี่เป้นเหตุผลที่บริษัท LVMH เจ้าของ Louis Vitton
จึงไล่ซื้อธุรกิจสินค้า Premium Brand ทั่วโลกมาไว้ใต้ร่มเงาของบริษัทเป็นจำนวนมาก

ประสิทธิภาพในการดำเนินงานของกิจการ (Operational Effectiveness) คือการดำเนินงานในเรื่องเดียวกันกับคู่แข่งนั่นแหละ
แต่ทำได้ดีกว่า ต้นทุนถูกกว่า ถ้าบริษัทมีสิ่งนี้แต่เพียงอย่างเดียวก็ไม่เพียงพอ เพราะมันสามารถลอกเลียนแบบกันได้
และเทคโนโลยีใหม่ๆจะช่วยให้คู่แข่งขันตามทันในไม่ช้า ประสิทธิภาพในการดำเนินงานจะต้องมาพร้อมๆกับขนาดที่ใหญ่พอ
จนคู่แข่งไม่สามารถเทียบได้ เราจะเห็นได้ในธุรกิจที่เป็นสินค้าโภคภัณฑ์ ที่ราคาของสินค้าในระยะยาวจะขึ้นอยู่กับ
ต้นทุนเฉลี่ยของผู้ผลิตรายใหญ่ที่มีประสิทธิภาพสูง ถึงแม้ว่าธุรกิจนี้จะมีการขึ้นลงเป็นรอบวัฎจักร
แต่ไม่ว่าจะเป็นรอบขาลงบริษัทจะอยู่รอดด้วยสุขภาพที่ดีและคู่แข่งที่ด้อยกว่าจะล้มหายตายจากไป
พอรอบขาขึ้นกลับมาบริษัทจะมีผลดำเนินงานดีกว่าใครๆในตลาด ประสิทธิภาพในการดำเนินงานนี้
เราสามารถสังเกตุได้จาก การเข้าถึงแหล่งวัตถุดิบที่ถูกกว่า ดีกว่าคู่แข่ง การลงทุนที่ใช้เงินทุนน้อยกว่า
การผลิตที่ต้นทุนต่อหน่วยถูกกว่า

หลายท่านอาจจะบอกว่า จริงๆแล้วมันไม่ง่ายที่จะมองหาสิ่งที่ผมกล่าวถึง
แต่ถ้าเอาใจใส่ในการเรียนรู้ ติดตามดูเหตุการณ์ต่างๆรอบๆตัว บันทึกจดจำ
ไม่นานสิ่งเหล่านี้จะทำให้ท่านเห็นและเข้าใจมันได้ในทันที
เสมือน “ช่างเทคนิคผู้ชำนาณ แค่มองก็รู้แล้วว่าจะซ่อมสิ่งของเหล่านี้อย่างไร”

Re: จงเลือกธุรกิจที่ง่ายต่อความเข้าใจ โดย พี่มน Montri Nipit

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. เม.ย. 05, 2012 12:44 pm
โดย dr.momo
เพราะสังคม..ประเมินค่า..ที่จนรวย
คนจึงสร้าง..เปลือกสวย..ไว้สวมใส่
หากสังคม..วัดค่า..ที่ภายใน
คนจะสร้าง..แต่จิตใจ..ที่ใฝ่ดี
-------------

ชอบครับ ขออนุญาตลอกไปเผยแพร่ใน fb

แล้วก็ขอบคุณสำหรับบทความครับ

Re: จงเลือกธุรกิจที่ง่ายต่อความเข้าใจ โดย พี่มน Montri Nipit

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. เม.ย. 05, 2012 1:12 pm
โดย boatwatkal
ขอลอกด้วยคนครับ

Re: จงเลือกธุรกิจที่ง่ายต่อความเข้าใจ โดย พี่มน Montri Nipit

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. เม.ย. 05, 2012 7:50 pm
โดย Sumeth6
บริษัทขนาดใหญ่ มาพร้อมความยึดติดหรือเคยชินกับสินค้า... :D

Re: จงเลือกธุรกิจที่ง่ายต่อความเข้าใจ โดย พี่มน Montri Nipit

โพสต์แล้ว: ศุกร์ เม.ย. 06, 2012 2:28 pm
โดย tigerroad197
ขอบคุณ ท่านเจ้าของกระทู้ มากครับ

สูงสุดคืนสู่สามัญ ยิ่งเรียบง่าย ก็ยิ่งดี

Re: จงเลือกธุรกิจที่ง่ายต่อความเข้าใจ โดย พี่มน Montri Nipit

โพสต์แล้ว: จันทร์ เม.ย. 09, 2012 8:09 am
โดย The Kop 71
วันนี้ บทความนี้ พี่มนตรี นำลง ในกรุงเทพธุรกิจ Value Way ด้วยนะครับ

Re: จงเลือกธุรกิจที่ง่ายต่อความเข้าใจ โดย พี่มน Montri Nipit

โพสต์แล้ว: จันทร์ เม.ย. 09, 2012 9:12 am
โดย blueplanet
แต่สำหรับนักลงทุนแบบเน้นมูลค่านั้นจะเลือกลงทุนในธุรกิจ และต้องเป็น “ธุรกิจที่ง่ายต่อการทำความเข้าใจ”
ผมไม่เห็นด้วย ตั้งแต่อ่านครั้งแรกแล้ว
ถ้าเราเลือกแบบนี้ ใครๆก็เข้าใจราคาหุ้นก็คงไม่ถูก บางครั้งอาจจะแพงเกินไปด้วยซ้ำ
สิ่งที่ควรทำ คือ เลือกธุรกิจที่ยากๆหน่อย ที่เราเข้าใจ
ความหมายคือ ถ้า เราเห็นว่าธุรกิจไหนกำไรดี แต่มันค่อนข้างยากสำหรับเรา
เราก็ควรทำความเข้าใจมัน ไม่ใช่อันไหนถ้ามันจะยุ่งยากหน่อยเราก็ข้ามไปแล้ว
แต่ถ้าเราพยายามแล้วดูยังงัยก็ไม่เข้าใจ เราก็จะไม่ซื้อมัน
เราอาจจะได้หุ้นที่ถูกหน่อยเพราะความยากของมัน

Re: จงเลือกธุรกิจที่ง่ายต่อความเข้าใจ โดย พี่มน Montri Nipit

โพสต์แล้ว: อังคาร เม.ย. 10, 2012 4:36 pm
โดย kumchai
blueplanet เขียน:แต่สำหรับนักลงทุนแบบเน้นมูลค่านั้นจะเลือกลงทุนในธุรกิจ และต้องเป็น “ธุรกิจที่ง่ายต่อการทำความเข้าใจ”
ผมไม่เห็นด้วย ตั้งแต่อ่านครั้งแรกแล้ว
ถ้าเราเลือกแบบนี้ ใครๆก็เข้าใจราคาหุ้นก็คงไม่ถูก บางครั้งอาจจะแพงเกินไปด้วยซ้ำ
สิ่งที่ควรทำ คือ เลือกธุรกิจที่ยากๆหน่อย ที่เราเข้าใจ
ความหมายคือ ถ้า เราเห็นว่าธุรกิจไหนกำไรดี แต่มันค่อนข้างยากสำหรับเรา
เราก็ควรทำความเข้าใจมัน ไม่ใช่อันไหนถ้ามันจะยุ่งยากหน่อยเราก็ข้ามไปแล้ว
แต่ถ้าเราพยายามแล้วดูยังงัยก็ไม่เข้าใจ เราก็จะไม่ซื้อมัน
เราอาจจะได้หุ้นที่ถูกหน่อยเพราะความยากของมัน
เห็นด้วยครับ

Re: จงเลือกธุรกิจที่ง่ายต่อความเข้าใจ โดย พี่มน Montri Nipit

โพสต์แล้ว: อังคาร เม.ย. 10, 2012 5:39 pm
โดย Petey
blueplanet เขียน:แต่สำหรับนักลงทุนแบบเน้นมูลค่านั้นจะเลือกลงทุนในธุรกิจ และต้องเป็น “ธุรกิจที่ง่ายต่อการทำความเข้าใจ”
ผมไม่เห็นด้วย ตั้งแต่อ่านครั้งแรกแล้ว
ถ้าเราเลือกแบบนี้ ใครๆก็เข้าใจราคาหุ้นก็คงไม่ถูก บางครั้งอาจจะแพงเกินไปด้วยซ้ำ
สิ่งที่ควรทำ คือ เลือกธุรกิจที่ยากๆหน่อย ที่เราเข้าใจ
ความหมายคือ ถ้า เราเห็นว่าธุรกิจไหนกำไรดี แต่มันค่อนข้างยากสำหรับเรา
เราก็ควรทำความเข้าใจมัน ไม่ใช่อันไหนถ้ามันจะยุ่งยากหน่อยเราก็ข้ามไปแล้ว
แต่ถ้าเราพยายามแล้วดูยังงัยก็ไม่เข้าใจ เราก็จะไม่ซื้อมัน
เราอาจจะได้หุ้นที่ถูกหน่อยเพราะความยากของมัน
บางที่พี่เค้าอาจเขียนบทความให้คนอื่นอ่านด้วยมั้งครับ ไม่่ใช่แค่นักลงทุนที่มีเวลา/ความพยายามที่จะสร้าง COC ในสิ่งที่เราไม่มี edge อยู่...

นักลงทุนแม่ลูก 2+ทำงานประจำ อาจไม่มีเวลาศึกษาอุตฯอื่นๆ แต่ทำงาน ในบริษัทปิโตรฯ มา 20ปี มันก็เป็น “ธุรกิจที่ง่ายต่อการทำความเข้าใจ” ของเค้า แต่ไม่ใช่ของคนส่วนใหญ่...

Re: จงเลือกธุรกิจที่ง่ายต่อความเข้าใจ โดย พี่มน Montri Nipit

โพสต์แล้ว: อังคาร เม.ย. 10, 2012 6:50 pm
โดย unnop.t
ในความหมายของ ธุรกิจที่ง่ายต่อความเข้าใจ ความหมายจริง ๆน่าจะหมายถึงธุรกิจอะไรก็ได้ ขอใหแค่คุณเข้่าใจมันได้ง่ายสำหรับคุณ. อย่างเช่น คนในอุตสาหกรรมยานยนตร์ ก็เข้าใจยานยนตร์ ขึ้นอยู่กับกรอบความรู้ของเค้า

ง่าย ยาก เป็นข้อคิดเห็น ไม่ใช่ข้อเท็จจริง เป็นเรื่องการตีความของแต่ละคน

ธุรกิจที่เราบอกว่ายาก. คนอื่นอาจบอกว่าง่าย. ขึ้นอยู่กับว่ารู้ หรือไม่รู้แค่นั้น :D

Re: จงเลือกธุรกิจที่ง่ายต่อความเข้าใจ โดย พี่มน Montri Nipit

โพสต์แล้ว: อังคาร เม.ย. 10, 2012 8:30 pm
โดย MrRobot
ยากหรือง่าย อยู่ที่ภูมิหลังหรือความเคยชินของเเต่ละบุคคลจริงๆครับ

ถ้าเอาพวกเราที่อยู่ในเมืองไปอยู่ในป่าคงอยากจะเอาชิวิตรอดออกมาได้ เเต่ถ้าเอาคนป่ามาอยู่ในเมืองเขาคงจะงงหาของกินของใช้ไม่เป็น ดีไม่ดีโดนไฟดูดเอาอีก เเต่เอาเป็นอันว่าไม่มีอะไรยากเกินที่เราจะศึกษามัน ถ้าเอาจริงก็ให้มันเชี่ยวชาญไปเลย :mrgreen:

Re: จงเลือกธุรกิจที่ง่ายต่อความเข้าใจ โดย พี่มน Montri Nipit

โพสต์แล้ว: พุธ เม.ย. 11, 2012 6:54 pm
โดย Paul VI
ขอเอาบทความไปโพสต์ที่ชมรม หมอ VI นะครับ

ขอบคุณครับ