ภาษีใหม่ 'เลิกอุ้มคนรวยช่วยคนจน' 2012-04-12
โพสต์แล้ว: พุธ เม.ย. 18, 2012 11:51 am
ภาษีใหม่ 'เลิกอุ้มคนรวยช่วยคนจน'
คลังไฟเหลืองสั่งทบทวนแผนจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ใช้สูตรเลิกอุ้มคนรวยช่วยคนจนขยายฐานยกเว้นภาษีจาก 1.5 แสนบาท เป็น 2 แสนบาท พร้อมลดเพดานหักลดหย่อนจาก 7 แสนบาทเหลือไม่เกิน 5 แสนบาท สรรพากรเผยหลังสงกรานต์คอยพบแพ็กเกจภาษีย่อยแบบรายเดือน
นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ถึงแนวโน้มการจัดเก็บภาษีว่า เนื่องจากงบประมาณแผ่นดินที่ถูกกัดกินภายใต้งบประมาณประจำค่อนข้างสูง จึงอยากให้ 3 กรมภาษีซึ่งประกอบด้วย กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต กรมศุลกากร เพิ่มการจัดเก็บรายได้ให้เต็ม 100%จากปัจจุบันร่วมกันจัดเก็บได้ประมาณ 90% โดยคาดหวังว่า รายรับประชาชนที่จะใช้จ่ายก็น่าจะสูงขึ้นและส่งผลกลับคืนสู่ระบบโดยเฉพาะการจัดเก็บภาษีในรูปแบบต่างๆน่าจะดีขึ้น ถ้าทั้ง 4 มาตรการหลักของรัฐสามารถเดินหน้าได้อย่างเป็นรูปธรรม ประกอบด้วย 1. งบประมาณ 2555 เริ่มใช้ 2.งบเงินกู้ 3.5แสนล้านบาท 3.กองทุนประกันภัยพิบัติวงเงิน 5 หมื่นล้านบาทและ 4.สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำ(ซอฟต์โลน)อีก 3 แสนล้านบาท เป็นต้น
"ขณะนี้ได้นำเสนอเกี่ยวกับแนวทาง และขั้นตอนปรับปรุงโครงสร้างภาษีแต่ละกรมต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแล้ว คงจะมีโอกาสสรุปกันหลังสงกรานต์ จากที่ผ่านมาได้มอบนโยบายให้ทั้ง 3 กรมศึกษาความเป็นไปได้ทั้งเชิงกว้างและเชิงลึก เช่น การปรับปรุงภาษีตัวใดตัวหนึ่งเพื่อขยายฐาน หรือการอุดรอยรั่วต่างๆ และแนวทางจัดเก็บภาษีรูปแบบใหม่ๆตามการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจที่หลากหลายขึ้น"นายทนุศักดิ์กล่าว
สำหรับแผนจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้นนายทนุศักดิ์กล่าวว่า ในหลักการเกี่ยวกับแผนจัดเก็บภาษีนั้นไม่ควรจะทำให้ชาวบ้านเดือดร้อนยิ่งช่วงนี้อาจมีปัญหาค่าครองชีพอยู่แล้ว โดยนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ให้ไฟเหลืองเพื่อจะไฟเขียว เพียงแต่เมื่อดูรายละเอียดที่กรมสรรพากรเสนอมา โดยส่วนตัวยังไม่เห็นด้วย เพราะไปกระทบผู้มีรายได้น้อยจากกรณีปรับอัตราจัดเก็บที่ระดับ 5%จากเดิมจัดเก็บอยู่ที่อัตรา 10%ของฐานรายได้รวมระหว่าง 150,001-500,000 บาทต่อปี จึงอยากให้ทบทวนรายละเอียดอีกครั้งว่า ถ้าจัดเก็บที่อัตรา 5%จะกระทบกลุ่มไหนกันแน่ หรือรายได้เข้ารัฐจะลดไปเท่าไร หรือ แต่ละขั้นมีจำนวนผู้เสียภาษีเท่าไร
สอดคล้องนายสาธิต รังคศิริ อธิบดีกรมสรรพากรกล่าวว่า ขณะนี้กรมสรรพากร ได้เสนอร่างขยายฐานยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จาก 150,000 บาทต่อปี เป็น 200,000 บาทต่อปี ให้รัฐมนตรีช่วยและ รัฐมนตรีว่าการ พิจารณาผลกระทบและอัตราที่เหมาะสม ซึ่งจะต้องสอดรับกับการปรับลดการหักลดหย่อนภาษีจากไม่เกิน 700,000 บาท เหลือ ไม่เกิน 500,000 บาท ไม่เช่นนั้นหากลดอัตราสูงของฐานภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คนรวยก็ยังได้เปรียบ
ทั้งนี้หากประเทศไทยเก็บภาษีจากผู้เสียภาษีฐานสูงในอัตรา 37%ได้ทั้งหมดจะมีเม็ดเงินภาษีคิดเป็นสัดส่วน 50%ของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จากปัจจุบันมีผู้เสียภาษีทั้งระบบประมาณ 10ล้านราย แต่เสียภาษีจริง 2 ล้านรายและเสียภาษีในอัตราสูง 37%แค่ 20,000-30,000 รายเท่านั้น ดังนั้นการลดอัตราภาษีสูงให้กับคนรวยรัฐบาลต้องคิดให้หนัก เม็ดเงินภาษีจะหายไปจำนวนมาก ไม่เหมือนลดภาษีคนระดับกลางและระดับล่าง
สำหรับรายละเอียดแผนจัดเก็บภาษีดังกล่าวมีหลายมิติ บางโมเดลปรับแล้วกระทบให้บางกลุ่มเสียภาษีเพิ่มขึ้นหรือลดลง ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ว่า ถ้าต้องการให้อัตราภาษีค่อนข้างต่ำก็ต้องไปลดอัตราสูงสุดแต่จะถูกครหาว่าเอาใจคนรวย ถ้าต้องการกระจายรายได้ก็ไปลดอัตราให้ต่ำมากและปรับเพิ่มขึ้นในอัตราสูง ซึ่งในที่สุดการตัดสินใจจะอยู่ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
นายสาธิตกล่าวว่า เมื่อได้ข้อสรุปแผนจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแล้ว ในขั้นตอนต่อไปจะต้องวิเคราะห์เรื่องค่าลดหย่อน ค่าใช้จ่ายแต่ละช่วงฐานภาษี ควรเป็นอย่างไรแล้วจับรวมกันเป็นแพ็กเกจเพื่อลดความซ้ำซ้อนในการสูญเสียรายได้ เพราะหากแยกพิจารณาเป็นรายตัว(ภาษี)จะดูเหมือนรัฐสูญเสียรายได้จำนวนมาก แม้เวลานี้ยังไม่สามารถระบุความสูญเสียจากการปรับโครงสร้างภาษีภายหลังปรับลดภาษีนิติบุคคลเหลือ 23%แต่แผนจัดเก็บภาษีที่ได้นำเสนอไว้หลากหลายนั้นสะท้อนถึงการกอบกู้รายได้จากส่วนที่ขยายฐานและลดภาษีโดยรวม โดยในเดือนเมษายนนี้จะเห็นแพ็กเกจย่อยในการแยกยื่นภาษีสามีและภรรยา จากนั้นจะมีภาษีตัวอื่นๆทยอยตามออกมาเป็นระยะๆตามที่ได้วางเป้าหมายจะออกแพ็กเกจภาษีทุกเดือนไปจนถึงสิ้นปี จากก่อนหน้าติดขัดที่ต้องเร่งผลักดันสิ่งที่สังคมรอก่อน นอกจากนี้แนวโน้มการเพิ่มรายได้ภาครัฐทั่วโลกยังมีภาษีทางอ้อมที่สัมพันธ์กับภาษีบริโภคหลังจากทิศทางจัดเก็บภาษีทางตรงจะปรับลดลง
" กรมได้เสนอแนวคิดแผนจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ต้องซอยแต่ละช่วงให้ถี่ๆ และแต่ละฐานภาษีได้อานิสงส์ต่อการลดภาษีเท่าไหร่ คาดว่าจะใช้เวลาไม่นาน จากที่ผ่านมากรมได้เป็นผู้วิเคราะห์แต่ละช่วงฐานภาษีของแต่ละแพ็กเกจว่าจะกระทบเท่าไหร่ และจากเดือนเมษายนเป็นต้นไปจะเห็นแพ็กเกจออกมาทุกเดือน" อธิบดีกรมสรรพากรกล่าว
ที่มา ฐานเศรษกิจ
http://www.thanonline.com/index.php?opt ... &id=117128
คลังไฟเหลืองสั่งทบทวนแผนจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ใช้สูตรเลิกอุ้มคนรวยช่วยคนจนขยายฐานยกเว้นภาษีจาก 1.5 แสนบาท เป็น 2 แสนบาท พร้อมลดเพดานหักลดหย่อนจาก 7 แสนบาทเหลือไม่เกิน 5 แสนบาท สรรพากรเผยหลังสงกรานต์คอยพบแพ็กเกจภาษีย่อยแบบรายเดือน
นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ถึงแนวโน้มการจัดเก็บภาษีว่า เนื่องจากงบประมาณแผ่นดินที่ถูกกัดกินภายใต้งบประมาณประจำค่อนข้างสูง จึงอยากให้ 3 กรมภาษีซึ่งประกอบด้วย กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต กรมศุลกากร เพิ่มการจัดเก็บรายได้ให้เต็ม 100%จากปัจจุบันร่วมกันจัดเก็บได้ประมาณ 90% โดยคาดหวังว่า รายรับประชาชนที่จะใช้จ่ายก็น่าจะสูงขึ้นและส่งผลกลับคืนสู่ระบบโดยเฉพาะการจัดเก็บภาษีในรูปแบบต่างๆน่าจะดีขึ้น ถ้าทั้ง 4 มาตรการหลักของรัฐสามารถเดินหน้าได้อย่างเป็นรูปธรรม ประกอบด้วย 1. งบประมาณ 2555 เริ่มใช้ 2.งบเงินกู้ 3.5แสนล้านบาท 3.กองทุนประกันภัยพิบัติวงเงิน 5 หมื่นล้านบาทและ 4.สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำ(ซอฟต์โลน)อีก 3 แสนล้านบาท เป็นต้น
"ขณะนี้ได้นำเสนอเกี่ยวกับแนวทาง และขั้นตอนปรับปรุงโครงสร้างภาษีแต่ละกรมต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแล้ว คงจะมีโอกาสสรุปกันหลังสงกรานต์ จากที่ผ่านมาได้มอบนโยบายให้ทั้ง 3 กรมศึกษาความเป็นไปได้ทั้งเชิงกว้างและเชิงลึก เช่น การปรับปรุงภาษีตัวใดตัวหนึ่งเพื่อขยายฐาน หรือการอุดรอยรั่วต่างๆ และแนวทางจัดเก็บภาษีรูปแบบใหม่ๆตามการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจที่หลากหลายขึ้น"นายทนุศักดิ์กล่าว
สำหรับแผนจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้นนายทนุศักดิ์กล่าวว่า ในหลักการเกี่ยวกับแผนจัดเก็บภาษีนั้นไม่ควรจะทำให้ชาวบ้านเดือดร้อนยิ่งช่วงนี้อาจมีปัญหาค่าครองชีพอยู่แล้ว โดยนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ให้ไฟเหลืองเพื่อจะไฟเขียว เพียงแต่เมื่อดูรายละเอียดที่กรมสรรพากรเสนอมา โดยส่วนตัวยังไม่เห็นด้วย เพราะไปกระทบผู้มีรายได้น้อยจากกรณีปรับอัตราจัดเก็บที่ระดับ 5%จากเดิมจัดเก็บอยู่ที่อัตรา 10%ของฐานรายได้รวมระหว่าง 150,001-500,000 บาทต่อปี จึงอยากให้ทบทวนรายละเอียดอีกครั้งว่า ถ้าจัดเก็บที่อัตรา 5%จะกระทบกลุ่มไหนกันแน่ หรือรายได้เข้ารัฐจะลดไปเท่าไร หรือ แต่ละขั้นมีจำนวนผู้เสียภาษีเท่าไร
สอดคล้องนายสาธิต รังคศิริ อธิบดีกรมสรรพากรกล่าวว่า ขณะนี้กรมสรรพากร ได้เสนอร่างขยายฐานยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จาก 150,000 บาทต่อปี เป็น 200,000 บาทต่อปี ให้รัฐมนตรีช่วยและ รัฐมนตรีว่าการ พิจารณาผลกระทบและอัตราที่เหมาะสม ซึ่งจะต้องสอดรับกับการปรับลดการหักลดหย่อนภาษีจากไม่เกิน 700,000 บาท เหลือ ไม่เกิน 500,000 บาท ไม่เช่นนั้นหากลดอัตราสูงของฐานภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คนรวยก็ยังได้เปรียบ
ทั้งนี้หากประเทศไทยเก็บภาษีจากผู้เสียภาษีฐานสูงในอัตรา 37%ได้ทั้งหมดจะมีเม็ดเงินภาษีคิดเป็นสัดส่วน 50%ของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จากปัจจุบันมีผู้เสียภาษีทั้งระบบประมาณ 10ล้านราย แต่เสียภาษีจริง 2 ล้านรายและเสียภาษีในอัตราสูง 37%แค่ 20,000-30,000 รายเท่านั้น ดังนั้นการลดอัตราภาษีสูงให้กับคนรวยรัฐบาลต้องคิดให้หนัก เม็ดเงินภาษีจะหายไปจำนวนมาก ไม่เหมือนลดภาษีคนระดับกลางและระดับล่าง
สำหรับรายละเอียดแผนจัดเก็บภาษีดังกล่าวมีหลายมิติ บางโมเดลปรับแล้วกระทบให้บางกลุ่มเสียภาษีเพิ่มขึ้นหรือลดลง ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ว่า ถ้าต้องการให้อัตราภาษีค่อนข้างต่ำก็ต้องไปลดอัตราสูงสุดแต่จะถูกครหาว่าเอาใจคนรวย ถ้าต้องการกระจายรายได้ก็ไปลดอัตราให้ต่ำมากและปรับเพิ่มขึ้นในอัตราสูง ซึ่งในที่สุดการตัดสินใจจะอยู่ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
นายสาธิตกล่าวว่า เมื่อได้ข้อสรุปแผนจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแล้ว ในขั้นตอนต่อไปจะต้องวิเคราะห์เรื่องค่าลดหย่อน ค่าใช้จ่ายแต่ละช่วงฐานภาษี ควรเป็นอย่างไรแล้วจับรวมกันเป็นแพ็กเกจเพื่อลดความซ้ำซ้อนในการสูญเสียรายได้ เพราะหากแยกพิจารณาเป็นรายตัว(ภาษี)จะดูเหมือนรัฐสูญเสียรายได้จำนวนมาก แม้เวลานี้ยังไม่สามารถระบุความสูญเสียจากการปรับโครงสร้างภาษีภายหลังปรับลดภาษีนิติบุคคลเหลือ 23%แต่แผนจัดเก็บภาษีที่ได้นำเสนอไว้หลากหลายนั้นสะท้อนถึงการกอบกู้รายได้จากส่วนที่ขยายฐานและลดภาษีโดยรวม โดยในเดือนเมษายนนี้จะเห็นแพ็กเกจย่อยในการแยกยื่นภาษีสามีและภรรยา จากนั้นจะมีภาษีตัวอื่นๆทยอยตามออกมาเป็นระยะๆตามที่ได้วางเป้าหมายจะออกแพ็กเกจภาษีทุกเดือนไปจนถึงสิ้นปี จากก่อนหน้าติดขัดที่ต้องเร่งผลักดันสิ่งที่สังคมรอก่อน นอกจากนี้แนวโน้มการเพิ่มรายได้ภาครัฐทั่วโลกยังมีภาษีทางอ้อมที่สัมพันธ์กับภาษีบริโภคหลังจากทิศทางจัดเก็บภาษีทางตรงจะปรับลดลง
" กรมได้เสนอแนวคิดแผนจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ต้องซอยแต่ละช่วงให้ถี่ๆ และแต่ละฐานภาษีได้อานิสงส์ต่อการลดภาษีเท่าไหร่ คาดว่าจะใช้เวลาไม่นาน จากที่ผ่านมากรมได้เป็นผู้วิเคราะห์แต่ละช่วงฐานภาษีของแต่ละแพ็กเกจว่าจะกระทบเท่าไหร่ และจากเดือนเมษายนเป็นต้นไปจะเห็นแพ็กเกจออกมาทุกเดือน" อธิบดีกรมสรรพากรกล่าว
ที่มา ฐานเศรษกิจ
http://www.thanonline.com/index.php?opt ... &id=117128