ทุนหมุนเวียน รวมกรณีของกิจการอสังหาริมทรัพย์
โพสต์แล้ว: เสาร์ เม.ย. 28, 2012 12:05 am
ได้รับแจ้งจาก ดร.ภาพรว่ามีคนถามเรื่องเกี่ยวกับทุนหมุนเวียนของอสังหาริมทรัพย์ แต่ผมหาไม่เจอกระทู้ถามนั้น เลยมา post ไว้ตรงนี้แทน ไม่แน่ใจว่าถามแนวไหนอย่างไร เลยเขียนรวมๆ หากท่านใดจะถามเรื่องทุนหมุนเวียนก็เข้าที่นี่ได้ครับ หรือถามในวิเคราะห์เชิงบัญชีน่าจะดีกว่าครับ
การบริหารทุนหมุนเวียน รวมกรณีของกิจการอสังหาริมทรัพย์
งานระหว่างทำหรืองานระหว่างก่อสร้าง ที่บางกิจการแสดงต่อจากสินค้าคงเหลือถือว่ารวมอยู่ในทุนหมุนเวียนด้วย
ทุนหมุนเวียน ในทางบัญชี คือ สินทรัพย์หมุนเวียนหักหนี้สินหมุนเวียน
Working capital = Current assets – Current liabilities หรือเขียนย่อๆ ว่า WC = CA –CL
ในตำราทางการเงินมักนิยามว่า ทุนหมุนเวียน = ลูกหนี้การค้า + สินค้าคงเหลือ – เจ้าหนี้การค้า หรือที่เขียนว่า
Working Capital = Account receivable +Inventory – Account payable
ในความหมายที่แท้จริงนั้น ทุนหมุนเวียน Working Capital คือ เงินทุนระยะสั้นที่กิจการมีไว้หรือดำรงไว้เพื่อใช้ในการดำเนินงานเพื่อให้กิจการสามารถขับเคลื่อนกิจกรรมทางธุรกิจ กิจกรรมนั้นๆ ก็คือ การผลิตและกระบวนการผลิต การขายและกิจกรรมการตลาดต่างๆ การดำเนินนงานบริหารงานในส่วนงานสนับสนุน (support activities) เช่นงานบัญชี การเงิน บริหารบุคคล งานวิจัย งานด้าน IT เป็นต้น รายการในงบดุล บ่งบอกว่าสิ่งที่บริษัทได้ลงทุนไว้ (ยังไม่เปลี่ยนมาเป็นเงินสด) มีอะไรบ้าง เช่น ลูกหนี้การค้า 100 ความหมายคือสินทรัพย์ลูกหนี้ที่เหลืออยู่นี้ คือเงินที่บริษัทได้ลงไป ซึ่งคือ สินค้าที่ขายไป บวกกำไรขั้นต้น สมมติบริษัทมีกำไรที่คิดจากการขาย 20 แสดงว่าสินค้าที่ขายมีต้นทุนที่จ่ายไปไม่ว่าจะค่าวัตถุดิบ ค่าแรง ค่าโสหุ้ยในโรงงาน เท่ากับ 80 นั่นคือสิ่งที่จ่ายไป รวมกับกำไรที่ต้องการอีก 20 ดังนั้นการที่บริษัทมีลูกหนี้ในงบ 100 ก็หมายถึงเงินที่กิจการได้ลงไปในสินค้าแล้ว 80 (บางคนสงสัยว่าซ้าซ้อนกับสินค้าไหม ไม่ครับ เพราะเราย้ายต้นทุนสินค้าจากสินค้ามาไว้ในลูกหนี้ โดยเครดิตสินค้าออก 80 ไปเป็นต้นทุนขาย และตั้งขายพร้อมลูกหนี้ 100 แทนโดยราคาขายหรือลูกหนี้บวกกำไรขั้นต้นไว้) กำไรหรือเงินอีก 20 ก็ลงทุนในลูกหนี้อยู่นั่นเอง เก็บเงินได้เมื่อไรกำไรตัวเงินจึงเข้ามาบริษัทตามเกณฑ์เงินสด
ดังนั้นในงบการเงิน ลูกหนี้การค้า 100 สินค้าคงเหลือ 60 เจ้าหนี้การค้า 90 (สมมติในงบการเงินมีเพียงเท่านี้) ทุนหมุนเวียนที่กิจการลงไป จะเท่ากับ 70 ระหว่างปีรายการลูกหนี้ ขาย สินค้า เจ้าหนี้ ก็หมุนเวียนเป็นเงินสดรับเข้า จ่ายอก ตลอดปี ที่เหลือในงบก็คือทุนหมุนเวียนสุทธิ ที่ยังไม่เปลี่ยนเป็นเงินเข้ามา
รายการสินทรัพย์หมุนเวียนอื่นๆ เช่นค่าใช้จ่ายล่วงหน้า ภาษีซื้อ (ลูกหนี้สรรพกร) ก็คือเงินที่กิจการจ่ายลงทุนในการดำเนิงานไปแล้ว ส่วนหนี้สินหมุนเวียนอื่น เช่นค่าใช้จ่ายค้างจ่าย ภาษีขาย (เจ้าหนี้หนี้สรรพกร) ก็เช่นกันรายการเหล่านี่ทๆให้กิจการชะลอการจ่ายลงทุนระยะสั้สออกไป จึงเป็นเหตุผลว่าทำไม ทุนหมุนเวียนจึงเอารายการหนี้สินหมุนเวียนมาลบ เพราะบอกว่า กิจการยังไม่ต้องเอาเงินไปลงทุน(ระยะสั้น) เท่าไร
บางคนอาจจะถามว่า ถ้าเช่นนั้นทุนหมุนเวียนติดลบก็น่าจะดีกว่าสิ ดูเหมือนใช่ แต่ไม่ใช่ครับ อย่าลืมครับว่า ทุนหมันเวียนก็คือสินทรัพย์กลุ่มก้อนหนึ่ง กิจการมไเว้เพื่อให้ธุรกิจหมุนเวียนเดินไปได้โดยปกติ เหมือนกับเราเปิดร้านโชห่วยขายของ ต้องมีสินค้าโชว์ในร้าน ถ้าทุนหมุนเวียนเป็นลบ ก็แปลว่ากิจการถือหนี้ไว้ เอาของขายหมดร้านก็ยังจ่ายหนี้ไม่ได้ อย่างนี้ก็เจ้งแน่นอน
บริษัทต้องมีระดับทุนหมุนเวียนที่เหมาะสม มากไปก็ไม่ดี น้อยไปก็ไม่ดี หลายคนอาตถามว่าเท่าไรดี เรื่องนี้ตอบยาว ลองไปหาความรู้ในเรื่อง Working capital management ใน corporate finance ดู ส่วนถ้าในมุมการวิเคราะห์ ผมแนะให้ใช้อัตราส่วนหลักๆ 4 ตัวคือ
- AR turnover การหาระยะเวลาเก็บเงินจากลูกหนี้โดยเฉลี่ยหรือระยะเวลาให้เครดิตการขาย
- Inventory turnover การหาระยะเวลาการถือสินค้าหรือระยะเวลาแปลงสภาพให้เป็นสินค้าจนขายสินค้า
- AP turnover การหาระยะเวลาการจ่ายเจ้าหนี้การค้าหรือระยะเวลาได้เครดิตการซื้อเฉลี่ย
- Cash cycle วงจรเงินสดหรือระยะเวลาตั้งแต่จ่ายค่าสินค้า (วัตถุดิบ) จนถึงเวลาที่ได้รับค่าขายสินค้าที่เป็นเงินสด
Cash cycle = ระยะเวลาเก็บเงิน บวก ระยะเวลาถือสินค้า ลบ ระยะเวลาจ่ายเจ้าหนี้ค่าสินค้า
ค่าอัตราส่วนต่างๆนี้ เมื่อนำไปพิจารณาร่วมกับ Current ratio, Quick ratio, CFO จะเห็นภาพธุรกิจชัดเจนขึ้นมองเห็นสภาพคล่องชัดเจน มองเห็นกระแสเงินสดจากการดำเนินงานชัดเจน ว่ามาจากไหน หลายๆ บริษัท CFO ถูกแต่งหรือสร้างมาจากการก่อหนี้สินระยะสั้นเป็นส่วนหลักไม่ได้มาจากการดำเนินงานแท้จริง ทำให้ CFO ที่นำไปวิเคราะห์เกี่ยวเนื่องกับหลายๆอัตราส่วนหรือหลายๆอย่าง ผิดเพี้ยนได้ เพราะส่วนใหญ่ดูแต่ bottom line ของ CFO เท่านั้น นอกจากนี้ประเด็นอื่นที่ให้เป็นข้อสังเกตในการวิเคราะห์ที่อาจต้องดูว่า มีรายการที่เป็นหนี้ประเภท debt มากหรือไม่เพราะถ้ามากเกินไป เช่นมากกว่า 40% หรือ 50% ของหนี้สินหมุนเวียนรวม จะถือว่าอันตราย บางกิจการมี OD หรือเงินก้ระยะสั้นจากสถาบันการเงินรวมมากกว่า 40% ของหนี้สินหมุนเวียนรวม แบบนี้ผมไม่ชอบเท่าไรเพราะบริษัทจะมีสภาพเงินตึงตัวตลอด รับเข้าต้องรีบจ่ายออก สะดุดไม่ได้อันตราย
• ทุนหมุนเวียน (Working Capital) ในทางการเงินอาจแตกต่างจากความเข้าใจของนักบัญชี
• หนี้สินระยะสั้น เช่นเงินเบิกเกินบัญชี เงินกู้ยืมระยะสั้น เงินกู้ T/R ทางบัญชีรวมอยู่ในหนี้สินหมุนเวียน แต่ทางการเงินถือว่าเป็น Debt ไม่ใช่ Liability
• ถ้าเรามองแบบบัญชีอาจจะทำให้การใช้สูตรนี้ผิดเพี้ยนไปได้ เพราะบางบริษัทกู้เงินระยะสั้นโดยไม่ได้สัมพันธ์กับสินทรัพย์หมุนเวียน อาจเป็นการ missed matching หรือกู้ระยะสั้นเพื่อ refinance หนี้ระยะยาว
• Net Working Capital (NWC) = สินทรัพย์หมุนเวียน(CA) – หนี้สินหมุนเวียน(CL)
• CL = Non-interest barrier liabilities (excluding O/D, Short-term loans)
สำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ มักมีรายการที่เรียกแตกต่างไป แต่เนื้อแท้ก็คือสินค้าคงเหลือ คือทุนหมุนเวียนเช่นกัน เพราะกิจการก็ลงเงินทุนไปเพื่อไปรับรายได้ภายหลัง เช่น งานระหว่างก่อสร้างตามสัญญา เงินจ่ายล่วงหน้าค่าก่อสร้าง ต้นทุนโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อขาย สินค้าคงเหลือและวัสดุรอโอนเข้างาน งานระหว่างก่อสร้าง บ้างก็รวมกันเป็น สินค้าคงเหลือและงานระหว่างทำ - สุทธิ หรือ มูลค่างานที่เสร็จแต่ยังไม่เรียถเก็บเป็นต้น ชื่อเหล่านี้ต่างกันไปตามสภาพธุรกิจ บางแห่งสร้างบ้านเพื่อขาย บ้างอาจทำคอนโดมิเนียม รับเหมาก่อสร้างตึกอาคาร รับจ้างก่อสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน เป็นต้น จึงต้องใช้วิจารณญาณดูให้ดีแต่ที่กล่าวมาล้วนคือส่วนหนึ่งของทุนหมุนเวียนในหมวดสินค้าคงเหลือที่หาอัตราส่วนแล้วต้องใช้คู่กับต้นทุนขายทั้งสิ้น คิดง่ายๆว่า ถ้าเอารายการนี้ออก มันต้องโอนเข้าอะไรในงบกำไรขาดทุน ถ้าไปต้นทุนขาย มันก็คือสินค้าคงเหลือนั่นเอง
การบริหารทุนหมุนเวียน รวมกรณีของกิจการอสังหาริมทรัพย์
งานระหว่างทำหรืองานระหว่างก่อสร้าง ที่บางกิจการแสดงต่อจากสินค้าคงเหลือถือว่ารวมอยู่ในทุนหมุนเวียนด้วย
ทุนหมุนเวียน ในทางบัญชี คือ สินทรัพย์หมุนเวียนหักหนี้สินหมุนเวียน
Working capital = Current assets – Current liabilities หรือเขียนย่อๆ ว่า WC = CA –CL
ในตำราทางการเงินมักนิยามว่า ทุนหมุนเวียน = ลูกหนี้การค้า + สินค้าคงเหลือ – เจ้าหนี้การค้า หรือที่เขียนว่า
Working Capital = Account receivable +Inventory – Account payable
ในความหมายที่แท้จริงนั้น ทุนหมุนเวียน Working Capital คือ เงินทุนระยะสั้นที่กิจการมีไว้หรือดำรงไว้เพื่อใช้ในการดำเนินงานเพื่อให้กิจการสามารถขับเคลื่อนกิจกรรมทางธุรกิจ กิจกรรมนั้นๆ ก็คือ การผลิตและกระบวนการผลิต การขายและกิจกรรมการตลาดต่างๆ การดำเนินนงานบริหารงานในส่วนงานสนับสนุน (support activities) เช่นงานบัญชี การเงิน บริหารบุคคล งานวิจัย งานด้าน IT เป็นต้น รายการในงบดุล บ่งบอกว่าสิ่งที่บริษัทได้ลงทุนไว้ (ยังไม่เปลี่ยนมาเป็นเงินสด) มีอะไรบ้าง เช่น ลูกหนี้การค้า 100 ความหมายคือสินทรัพย์ลูกหนี้ที่เหลืออยู่นี้ คือเงินที่บริษัทได้ลงไป ซึ่งคือ สินค้าที่ขายไป บวกกำไรขั้นต้น สมมติบริษัทมีกำไรที่คิดจากการขาย 20 แสดงว่าสินค้าที่ขายมีต้นทุนที่จ่ายไปไม่ว่าจะค่าวัตถุดิบ ค่าแรง ค่าโสหุ้ยในโรงงาน เท่ากับ 80 นั่นคือสิ่งที่จ่ายไป รวมกับกำไรที่ต้องการอีก 20 ดังนั้นการที่บริษัทมีลูกหนี้ในงบ 100 ก็หมายถึงเงินที่กิจการได้ลงไปในสินค้าแล้ว 80 (บางคนสงสัยว่าซ้าซ้อนกับสินค้าไหม ไม่ครับ เพราะเราย้ายต้นทุนสินค้าจากสินค้ามาไว้ในลูกหนี้ โดยเครดิตสินค้าออก 80 ไปเป็นต้นทุนขาย และตั้งขายพร้อมลูกหนี้ 100 แทนโดยราคาขายหรือลูกหนี้บวกกำไรขั้นต้นไว้) กำไรหรือเงินอีก 20 ก็ลงทุนในลูกหนี้อยู่นั่นเอง เก็บเงินได้เมื่อไรกำไรตัวเงินจึงเข้ามาบริษัทตามเกณฑ์เงินสด
ดังนั้นในงบการเงิน ลูกหนี้การค้า 100 สินค้าคงเหลือ 60 เจ้าหนี้การค้า 90 (สมมติในงบการเงินมีเพียงเท่านี้) ทุนหมุนเวียนที่กิจการลงไป จะเท่ากับ 70 ระหว่างปีรายการลูกหนี้ ขาย สินค้า เจ้าหนี้ ก็หมุนเวียนเป็นเงินสดรับเข้า จ่ายอก ตลอดปี ที่เหลือในงบก็คือทุนหมุนเวียนสุทธิ ที่ยังไม่เปลี่ยนเป็นเงินเข้ามา
รายการสินทรัพย์หมุนเวียนอื่นๆ เช่นค่าใช้จ่ายล่วงหน้า ภาษีซื้อ (ลูกหนี้สรรพกร) ก็คือเงินที่กิจการจ่ายลงทุนในการดำเนิงานไปแล้ว ส่วนหนี้สินหมุนเวียนอื่น เช่นค่าใช้จ่ายค้างจ่าย ภาษีขาย (เจ้าหนี้หนี้สรรพกร) ก็เช่นกันรายการเหล่านี่ทๆให้กิจการชะลอการจ่ายลงทุนระยะสั้สออกไป จึงเป็นเหตุผลว่าทำไม ทุนหมุนเวียนจึงเอารายการหนี้สินหมุนเวียนมาลบ เพราะบอกว่า กิจการยังไม่ต้องเอาเงินไปลงทุน(ระยะสั้น) เท่าไร
บางคนอาจจะถามว่า ถ้าเช่นนั้นทุนหมุนเวียนติดลบก็น่าจะดีกว่าสิ ดูเหมือนใช่ แต่ไม่ใช่ครับ อย่าลืมครับว่า ทุนหมันเวียนก็คือสินทรัพย์กลุ่มก้อนหนึ่ง กิจการมไเว้เพื่อให้ธุรกิจหมุนเวียนเดินไปได้โดยปกติ เหมือนกับเราเปิดร้านโชห่วยขายของ ต้องมีสินค้าโชว์ในร้าน ถ้าทุนหมุนเวียนเป็นลบ ก็แปลว่ากิจการถือหนี้ไว้ เอาของขายหมดร้านก็ยังจ่ายหนี้ไม่ได้ อย่างนี้ก็เจ้งแน่นอน
บริษัทต้องมีระดับทุนหมุนเวียนที่เหมาะสม มากไปก็ไม่ดี น้อยไปก็ไม่ดี หลายคนอาตถามว่าเท่าไรดี เรื่องนี้ตอบยาว ลองไปหาความรู้ในเรื่อง Working capital management ใน corporate finance ดู ส่วนถ้าในมุมการวิเคราะห์ ผมแนะให้ใช้อัตราส่วนหลักๆ 4 ตัวคือ
- AR turnover การหาระยะเวลาเก็บเงินจากลูกหนี้โดยเฉลี่ยหรือระยะเวลาให้เครดิตการขาย
- Inventory turnover การหาระยะเวลาการถือสินค้าหรือระยะเวลาแปลงสภาพให้เป็นสินค้าจนขายสินค้า
- AP turnover การหาระยะเวลาการจ่ายเจ้าหนี้การค้าหรือระยะเวลาได้เครดิตการซื้อเฉลี่ย
- Cash cycle วงจรเงินสดหรือระยะเวลาตั้งแต่จ่ายค่าสินค้า (วัตถุดิบ) จนถึงเวลาที่ได้รับค่าขายสินค้าที่เป็นเงินสด
Cash cycle = ระยะเวลาเก็บเงิน บวก ระยะเวลาถือสินค้า ลบ ระยะเวลาจ่ายเจ้าหนี้ค่าสินค้า
ค่าอัตราส่วนต่างๆนี้ เมื่อนำไปพิจารณาร่วมกับ Current ratio, Quick ratio, CFO จะเห็นภาพธุรกิจชัดเจนขึ้นมองเห็นสภาพคล่องชัดเจน มองเห็นกระแสเงินสดจากการดำเนินงานชัดเจน ว่ามาจากไหน หลายๆ บริษัท CFO ถูกแต่งหรือสร้างมาจากการก่อหนี้สินระยะสั้นเป็นส่วนหลักไม่ได้มาจากการดำเนินงานแท้จริง ทำให้ CFO ที่นำไปวิเคราะห์เกี่ยวเนื่องกับหลายๆอัตราส่วนหรือหลายๆอย่าง ผิดเพี้ยนได้ เพราะส่วนใหญ่ดูแต่ bottom line ของ CFO เท่านั้น นอกจากนี้ประเด็นอื่นที่ให้เป็นข้อสังเกตในการวิเคราะห์ที่อาจต้องดูว่า มีรายการที่เป็นหนี้ประเภท debt มากหรือไม่เพราะถ้ามากเกินไป เช่นมากกว่า 40% หรือ 50% ของหนี้สินหมุนเวียนรวม จะถือว่าอันตราย บางกิจการมี OD หรือเงินก้ระยะสั้นจากสถาบันการเงินรวมมากกว่า 40% ของหนี้สินหมุนเวียนรวม แบบนี้ผมไม่ชอบเท่าไรเพราะบริษัทจะมีสภาพเงินตึงตัวตลอด รับเข้าต้องรีบจ่ายออก สะดุดไม่ได้อันตราย
• ทุนหมุนเวียน (Working Capital) ในทางการเงินอาจแตกต่างจากความเข้าใจของนักบัญชี
• หนี้สินระยะสั้น เช่นเงินเบิกเกินบัญชี เงินกู้ยืมระยะสั้น เงินกู้ T/R ทางบัญชีรวมอยู่ในหนี้สินหมุนเวียน แต่ทางการเงินถือว่าเป็น Debt ไม่ใช่ Liability
• ถ้าเรามองแบบบัญชีอาจจะทำให้การใช้สูตรนี้ผิดเพี้ยนไปได้ เพราะบางบริษัทกู้เงินระยะสั้นโดยไม่ได้สัมพันธ์กับสินทรัพย์หมุนเวียน อาจเป็นการ missed matching หรือกู้ระยะสั้นเพื่อ refinance หนี้ระยะยาว
• Net Working Capital (NWC) = สินทรัพย์หมุนเวียน(CA) – หนี้สินหมุนเวียน(CL)
• CL = Non-interest barrier liabilities (excluding O/D, Short-term loans)
สำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ มักมีรายการที่เรียกแตกต่างไป แต่เนื้อแท้ก็คือสินค้าคงเหลือ คือทุนหมุนเวียนเช่นกัน เพราะกิจการก็ลงเงินทุนไปเพื่อไปรับรายได้ภายหลัง เช่น งานระหว่างก่อสร้างตามสัญญา เงินจ่ายล่วงหน้าค่าก่อสร้าง ต้นทุนโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อขาย สินค้าคงเหลือและวัสดุรอโอนเข้างาน งานระหว่างก่อสร้าง บ้างก็รวมกันเป็น สินค้าคงเหลือและงานระหว่างทำ - สุทธิ หรือ มูลค่างานที่เสร็จแต่ยังไม่เรียถเก็บเป็นต้น ชื่อเหล่านี้ต่างกันไปตามสภาพธุรกิจ บางแห่งสร้างบ้านเพื่อขาย บ้างอาจทำคอนโดมิเนียม รับเหมาก่อสร้างตึกอาคาร รับจ้างก่อสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน เป็นต้น จึงต้องใช้วิจารณญาณดูให้ดีแต่ที่กล่าวมาล้วนคือส่วนหนึ่งของทุนหมุนเวียนในหมวดสินค้าคงเหลือที่หาอัตราส่วนแล้วต้องใช้คู่กับต้นทุนขายทั้งสิ้น คิดง่ายๆว่า ถ้าเอารายการนี้ออก มันต้องโอนเข้าอะไรในงบกำไรขาดทุน ถ้าไปต้นทุนขาย มันก็คือสินค้าคงเหลือนั่นเอง