ประโยชน์ของหนี้สิน และการใช้ Financial Leverage
โพสต์แล้ว: จันทร์ เม.ย. 30, 2012 11:25 am
คนส่วนมากเมื่อได้ยินคำว่า "หนี้สิน" ก็มักจะมีความรู้สึกทางลบ แต่วันนี้ผมมาพูดถึงประโยชน์ของหนี้สิน ซึ่งหลายๆคนก็อาจจะคิดว่าผมบ้า
โดยส่วนตัวแล้ว ผมเป็นคนที่ชอบมองอะไรสองด้าน ผมเชื่อเสมอว่า สิ่งใดๆในโลกนี้ล้วนมีทั้งด้านบวกและด้านลบ ผมคิดว่าการมองอะไรด้านเดียวอย่างสุดโต่งเป็นนิสัยที่ติดตัวคนเรามาช้านาน สิ่งที่ผมสังเกตเห็นบ่อยๆก็คือการที่คนๆหนึ่งนั่งฟังการบรรยายเป็นเวลานาน หรืออ่านบทความใดบทความหนึ่ง จนจบ แล้วตั้งคำถามขึ้นมาว่า "สรุปแล้วมันดีหรือไม่ดี?" สรุปแล้วผมควรจะทำยังไง?" ผมคิดว่าถ้าทุกอย่างมันสามารถสรุปได้ง่ายๆเช่นนั้น ผู้บรรยายคงไม่ต้องเสียเวลามาอธิบายให้มันยืดยาวนัก
ในบทความก่อนๆของผม จะสังเกตุได้ว่าผมจะนำอีกด้านหนึ่งที่คนมักจะไม่ให้ความสำคัญมาพูดเสมอ เช่นหัวข้อ [การลงทุน vs. การทำธุรกิจ] ผมเชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่รู้อยุ่แล้วล่ะครับว่าการทำธุรกิจนั้นดี สังเกตง่ายๆ คนแทบทุกคนล้วนอยากมีธุรกิจเป็นของตนเอง ในทางกลับกัน คนในอัตราส่วนที่น้อยมากที่จะเข้าใจถึงการลงทุนในหุ้นที่แท้จริง (ไม่นับการเก็งกำไร) ผมจึงหยิบยกข้อดีของการลงทุนมาเขียน หัวข้อล่าสุดเกี่ยวกับเงินปันผลก็เช่นกัน ทุกคนรู้อยู่แล้วครับว่าการที่บริษัทจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นนั้นเป็นเรื่้องดี ซึ่งผมก็ไม่ได้เถียงว่ามันไม่ดี เพียงแต่จะบอกว่าการจ่ายเงินปันผลเองนั้นก็มีค่าเสียโอกาสแฝงอยู่เท่านั้น (กลับกลายเป็นว่ามีผู้อ่านใน WebBoard มาถกเถียงกันว่า สรุปจ่ายปันผลดีหรือไม่ดี -__-")
เพื่อป้องกันปัญหาแบบเดิมๆ ก่อนที่จะเริ่มเนื้อหาในบทความนี้ ผมต้องขอเรียนผู้อ่านทุกท่านก่อนว่า ผมไม่ได้มีเจตนาจะบอกว่า หนี้สิน นั้นดี หรือไม่ดี แต่อย่างใดนะครับ
การระดมทุนเพื่อไปลงทุนใดๆ ของบริษัทนั้นมีแหล่งเงินทุนทั้งสิ้น 3 องค์ประกอบใหญ่ๆ
1.ส่วนของผู้ถือหุ้น (ใช้กำไรสะสม + ออกหุ้นสามัญ)
2.หุ้นบุริมสิทธิ์ (ออกหุ้นบุริมสิทธิ์)
3.หนี้สิน (เฉพาะหนี้ระยะยาวเท่านั้น ไม่นับหนี้สินหมุนเวียนนะครับ)
หากว่ากันตามทฤษฏีต้นทุนของเงินทุนแล้ว ในมุมมองของบริษัท การออกหนี้สินคือการระดมทุนที่มีต้นทุนต่ำที่สุด เพราะดอกเบี้ยที่จ่ายนั้นถือเป็นค่าใช้จ่าย ซึ่งหักภาษีได้ (Tax-deductible)(ผมจะไม่พูดถึงรายละเอียดการคำนวณนะครับ) โดยการออกหุ้นสามัญใหม่นั้นจะมีต้นทุนสูงที่สุด และมักจะทำให้ผู้ถือหุ้นเดิมไม่ประทับใจนัก การออกหุ้นสามัญใหม่จะทำให้มีตัวหารกำไรขาดทุนมากขึ้น โดยความเสี่ยงที่จะต้องแบกรับของผู้ถือหุ้นเก่าก็จะลดน้อยลงไปพร้อมๆกับกำไรหรือขาดทุนที่น้อยลง โดยหากเป็นหุ้นของบริษัทที่กำลังรุ่งโรจน์ ก็ไม่น่าแปลกใจเลยที่ผูถือหุ้นเก่าๆ ไม่ต้องการให้ใครมาแชร์กำไรไปจากพวกเขา
อย่างไรก็ตาม เป็นไปไม่ได้ที่บริษัทใดบริษัทหนึ่งจะใช้แหล่งเงินทุนจากหนี้สินทั้ง 100% เพราะมันหมายถึงอัตราความเสี่ยงทางการเงินที่สูงมาก การจ่ายดอกเบี้ยและชำระหนี้สินนั้นเป็นต้นทุนทางการเงินที่คงที่ กล่าวคือ ไม่ว่าบริษัทจะมีผลกำไรเพิ่มขึ้น หรือน้อยลงเท่าไร อัตราดอกเบี้ยที่บริษัทต้องจ่ายก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลง และถึงแม้ว่าบริษัทจะมีผลการดำเนินการขาดทุน ก็ยังต้องจ่ายดอกเบี้ยและเงินต้นที่กู้ยืมมาให้กับเจ้าหนี้เมื่อถึงวันครบกำหนด ด้วยเหตุนี้บริษัทจึงต้องมีสัดส่วนโครงสร้างเงินทุนที่เหมาะสมอันประกอบไปด้วยองค์ประกอบทั้งสาม เพื่อความมั่นคงในการดำเนินธุรกิจระยะยาว ซึ่งในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมก็มักจะมีสัดส่วนโครงสร้างที่แตกต่างกันออกไป
การที่บริษัทใช้หนี้สินระยะยาวเป็นแหล่งเงินทุนนั้นเปรียบเสมือนดาบสองคม (Financial Leverage) หากบริษัทคาดว่า ยอดขาย และ ผลกำไรของบริษัทจะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต (และผลออกมาดีอย่างที่คาดการณ์จริงๆ) การกู้หนี้ยืมสินก็อาจจะเป็นตัวเลือกที่ดีกว่าการเพิ่มทุนโดยการออกหุ้นสามัญ เพราะหากเพิ่มทุนโดยการออกหุ้นสามัญใหม่ จะทำให้ตัวหารกำไรเพิ่มขึ้นและส่งผลให้ กำไรต่อหุ้นลดน้อยลง ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายจากการกู้ยืมหนี้สินนั้นไม่ได้เพิ่มมากขึ้นตามกำไรที่เพิ่มขึ้น
ในทางกลับกัน หากผลประกอบการของบริษัทไม่ได้ออกมาดีอย่างที่คาดไว้ การใช้ Financial Leverage นี้ก็จะส่งผลทางลบต่อกำไรสุทธิเช่นกัน เพราะอัตราดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายก็ไม่ได้ลดน้อยลงตามกำไรที่ลดลง บางบริษัทที่มีหนี้สินเยอะอาจจะถึงขั้นล้มละลายเลยก็ได้ ตาม concept "High risk high return"
เราสามารถมองไปถึงวิสัยทัศน์ของบริษัทได้จากโครงสร้างเงินทุนว่าเป็นลักษณะอนุรักษ์นิยม (กู้หนี้สินน้อย) หรือเป็นลักษณะ Aggressive (กู้หนี้สินเยอะ)
จริงอยู่ว่าการที่บริษัทแทบจะไม่มีหนี้ระระยาวนั้นเป็นเรื่องดี แต่บริษัทเหล่านี้มักจะมีอัตราการเจริญเติบโตของกำไรที่ไม่หวือหวา การลงทุนเพิ่มของบริษัทในแต่ละโครงการก็จะใช้เพียงเงินทุนจากกำไรสะสม หรือการออกหุ้นเพิ่มทุนเท่านั้น งบประมาณการลงทุนที่น้อย นั้้นย่อมทำให้บริษัทยากที่จะเติบโตได้รวดเร็วเท่ากับบริษัทที่ใช้หนี้เป็นส่วนหนึ่งของเงินทุน บริษัทประเภทนี้สว่นใหญ่เป็นบริษัทที่มั่นคง และจ่ายปันผลดี แต่ไม่เสาะหาโอกาสที่จะขยายกิจการมากนัก
หนี้สินอีกประเภทหนึ่งที่ผมไม่ได้เน้นถึงในบทความนี้ก็คือ หนี้สินหมุนเวียน ซึ่งสามารถนำไปเปรียบเทียบกับ สินทรัพย์หมุนเวียน เพื่อวัดสภาพคล่องคร่าวๆของบริษัทได้ สิ่งหนึ่งที่นักลงทุนควรระวังก็คือการด่วนตัดสินอะไรง่ายๆ นักลงทุนบางคนที่อ้างตนว่าเป็น Value Investor ซื้อหุ้นของบริษัทโดยอ่านเพียงแค่หน้าสรุปของงบการเงิน โดยไม่ได้เปิดออกมาอ่านด้วยซ้ำว่าหนี้สินของบริษัทนั้นแบ่งเป็นหนี้สินหมุนเวียนเท่าไร และ หนี้สินระยะยาวเท่าไร ซึ่งหนี้สินทั้งสองประเภทนี้มีนัยความหมายที่แตกต่างกัน
ติดตามอ่านบทความของผมได้ที่ Blog : http://jo-of-glue.bloggang.com
หรือใน Facebook : http://www.facebook.com/JoOfGlueInvestmentTalk
ขอบคุณครับ
โดยส่วนตัวแล้ว ผมเป็นคนที่ชอบมองอะไรสองด้าน ผมเชื่อเสมอว่า สิ่งใดๆในโลกนี้ล้วนมีทั้งด้านบวกและด้านลบ ผมคิดว่าการมองอะไรด้านเดียวอย่างสุดโต่งเป็นนิสัยที่ติดตัวคนเรามาช้านาน สิ่งที่ผมสังเกตเห็นบ่อยๆก็คือการที่คนๆหนึ่งนั่งฟังการบรรยายเป็นเวลานาน หรืออ่านบทความใดบทความหนึ่ง จนจบ แล้วตั้งคำถามขึ้นมาว่า "สรุปแล้วมันดีหรือไม่ดี?" สรุปแล้วผมควรจะทำยังไง?" ผมคิดว่าถ้าทุกอย่างมันสามารถสรุปได้ง่ายๆเช่นนั้น ผู้บรรยายคงไม่ต้องเสียเวลามาอธิบายให้มันยืดยาวนัก
ในบทความก่อนๆของผม จะสังเกตุได้ว่าผมจะนำอีกด้านหนึ่งที่คนมักจะไม่ให้ความสำคัญมาพูดเสมอ เช่นหัวข้อ [การลงทุน vs. การทำธุรกิจ] ผมเชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่รู้อยุ่แล้วล่ะครับว่าการทำธุรกิจนั้นดี สังเกตง่ายๆ คนแทบทุกคนล้วนอยากมีธุรกิจเป็นของตนเอง ในทางกลับกัน คนในอัตราส่วนที่น้อยมากที่จะเข้าใจถึงการลงทุนในหุ้นที่แท้จริง (ไม่นับการเก็งกำไร) ผมจึงหยิบยกข้อดีของการลงทุนมาเขียน หัวข้อล่าสุดเกี่ยวกับเงินปันผลก็เช่นกัน ทุกคนรู้อยู่แล้วครับว่าการที่บริษัทจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นนั้นเป็นเรื่้องดี ซึ่งผมก็ไม่ได้เถียงว่ามันไม่ดี เพียงแต่จะบอกว่าการจ่ายเงินปันผลเองนั้นก็มีค่าเสียโอกาสแฝงอยู่เท่านั้น (กลับกลายเป็นว่ามีผู้อ่านใน WebBoard มาถกเถียงกันว่า สรุปจ่ายปันผลดีหรือไม่ดี -__-")
เพื่อป้องกันปัญหาแบบเดิมๆ ก่อนที่จะเริ่มเนื้อหาในบทความนี้ ผมต้องขอเรียนผู้อ่านทุกท่านก่อนว่า ผมไม่ได้มีเจตนาจะบอกว่า หนี้สิน นั้นดี หรือไม่ดี แต่อย่างใดนะครับ
การระดมทุนเพื่อไปลงทุนใดๆ ของบริษัทนั้นมีแหล่งเงินทุนทั้งสิ้น 3 องค์ประกอบใหญ่ๆ
1.ส่วนของผู้ถือหุ้น (ใช้กำไรสะสม + ออกหุ้นสามัญ)
2.หุ้นบุริมสิทธิ์ (ออกหุ้นบุริมสิทธิ์)
3.หนี้สิน (เฉพาะหนี้ระยะยาวเท่านั้น ไม่นับหนี้สินหมุนเวียนนะครับ)
หากว่ากันตามทฤษฏีต้นทุนของเงินทุนแล้ว ในมุมมองของบริษัท การออกหนี้สินคือการระดมทุนที่มีต้นทุนต่ำที่สุด เพราะดอกเบี้ยที่จ่ายนั้นถือเป็นค่าใช้จ่าย ซึ่งหักภาษีได้ (Tax-deductible)(ผมจะไม่พูดถึงรายละเอียดการคำนวณนะครับ) โดยการออกหุ้นสามัญใหม่นั้นจะมีต้นทุนสูงที่สุด และมักจะทำให้ผู้ถือหุ้นเดิมไม่ประทับใจนัก การออกหุ้นสามัญใหม่จะทำให้มีตัวหารกำไรขาดทุนมากขึ้น โดยความเสี่ยงที่จะต้องแบกรับของผู้ถือหุ้นเก่าก็จะลดน้อยลงไปพร้อมๆกับกำไรหรือขาดทุนที่น้อยลง โดยหากเป็นหุ้นของบริษัทที่กำลังรุ่งโรจน์ ก็ไม่น่าแปลกใจเลยที่ผูถือหุ้นเก่าๆ ไม่ต้องการให้ใครมาแชร์กำไรไปจากพวกเขา
อย่างไรก็ตาม เป็นไปไม่ได้ที่บริษัทใดบริษัทหนึ่งจะใช้แหล่งเงินทุนจากหนี้สินทั้ง 100% เพราะมันหมายถึงอัตราความเสี่ยงทางการเงินที่สูงมาก การจ่ายดอกเบี้ยและชำระหนี้สินนั้นเป็นต้นทุนทางการเงินที่คงที่ กล่าวคือ ไม่ว่าบริษัทจะมีผลกำไรเพิ่มขึ้น หรือน้อยลงเท่าไร อัตราดอกเบี้ยที่บริษัทต้องจ่ายก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลง และถึงแม้ว่าบริษัทจะมีผลการดำเนินการขาดทุน ก็ยังต้องจ่ายดอกเบี้ยและเงินต้นที่กู้ยืมมาให้กับเจ้าหนี้เมื่อถึงวันครบกำหนด ด้วยเหตุนี้บริษัทจึงต้องมีสัดส่วนโครงสร้างเงินทุนที่เหมาะสมอันประกอบไปด้วยองค์ประกอบทั้งสาม เพื่อความมั่นคงในการดำเนินธุรกิจระยะยาว ซึ่งในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมก็มักจะมีสัดส่วนโครงสร้างที่แตกต่างกันออกไป
การที่บริษัทใช้หนี้สินระยะยาวเป็นแหล่งเงินทุนนั้นเปรียบเสมือนดาบสองคม (Financial Leverage) หากบริษัทคาดว่า ยอดขาย และ ผลกำไรของบริษัทจะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต (และผลออกมาดีอย่างที่คาดการณ์จริงๆ) การกู้หนี้ยืมสินก็อาจจะเป็นตัวเลือกที่ดีกว่าการเพิ่มทุนโดยการออกหุ้นสามัญ เพราะหากเพิ่มทุนโดยการออกหุ้นสามัญใหม่ จะทำให้ตัวหารกำไรเพิ่มขึ้นและส่งผลให้ กำไรต่อหุ้นลดน้อยลง ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายจากการกู้ยืมหนี้สินนั้นไม่ได้เพิ่มมากขึ้นตามกำไรที่เพิ่มขึ้น
ในทางกลับกัน หากผลประกอบการของบริษัทไม่ได้ออกมาดีอย่างที่คาดไว้ การใช้ Financial Leverage นี้ก็จะส่งผลทางลบต่อกำไรสุทธิเช่นกัน เพราะอัตราดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายก็ไม่ได้ลดน้อยลงตามกำไรที่ลดลง บางบริษัทที่มีหนี้สินเยอะอาจจะถึงขั้นล้มละลายเลยก็ได้ ตาม concept "High risk high return"
เราสามารถมองไปถึงวิสัยทัศน์ของบริษัทได้จากโครงสร้างเงินทุนว่าเป็นลักษณะอนุรักษ์นิยม (กู้หนี้สินน้อย) หรือเป็นลักษณะ Aggressive (กู้หนี้สินเยอะ)
จริงอยู่ว่าการที่บริษัทแทบจะไม่มีหนี้ระระยาวนั้นเป็นเรื่องดี แต่บริษัทเหล่านี้มักจะมีอัตราการเจริญเติบโตของกำไรที่ไม่หวือหวา การลงทุนเพิ่มของบริษัทในแต่ละโครงการก็จะใช้เพียงเงินทุนจากกำไรสะสม หรือการออกหุ้นเพิ่มทุนเท่านั้น งบประมาณการลงทุนที่น้อย นั้้นย่อมทำให้บริษัทยากที่จะเติบโตได้รวดเร็วเท่ากับบริษัทที่ใช้หนี้เป็นส่วนหนึ่งของเงินทุน บริษัทประเภทนี้สว่นใหญ่เป็นบริษัทที่มั่นคง และจ่ายปันผลดี แต่ไม่เสาะหาโอกาสที่จะขยายกิจการมากนัก
หนี้สินอีกประเภทหนึ่งที่ผมไม่ได้เน้นถึงในบทความนี้ก็คือ หนี้สินหมุนเวียน ซึ่งสามารถนำไปเปรียบเทียบกับ สินทรัพย์หมุนเวียน เพื่อวัดสภาพคล่องคร่าวๆของบริษัทได้ สิ่งหนึ่งที่นักลงทุนควรระวังก็คือการด่วนตัดสินอะไรง่ายๆ นักลงทุนบางคนที่อ้างตนว่าเป็น Value Investor ซื้อหุ้นของบริษัทโดยอ่านเพียงแค่หน้าสรุปของงบการเงิน โดยไม่ได้เปิดออกมาอ่านด้วยซ้ำว่าหนี้สินของบริษัทนั้นแบ่งเป็นหนี้สินหมุนเวียนเท่าไร และ หนี้สินระยะยาวเท่าไร ซึ่งหนี้สินทั้งสองประเภทนี้มีนัยความหมายที่แตกต่างกัน
ติดตามอ่านบทความของผมได้ที่ Blog : http://jo-of-glue.bloggang.com
หรือใน Facebook : http://www.facebook.com/JoOfGlueInvestmentTalk
ขอบคุณครับ