หน้า 1 จากทั้งหมด 1
แชร์มุมมองเกี่ยวกับคำว่า "อย่าโลภเกินความรู้"
โพสต์แล้ว: จันทร์ เม.ย. 30, 2012 12:54 pm
โดย airazoc
ผมอยากแชร์มุมมองเกี่ยวกับข้อความที่ว่า "อย่าโลภเกินความรู้" สักหน่อย
จริงๆ เคยโพสอะไรทำนองนี้ในบางกระทู้ แต่คิดว่าแยกออกมาเลย หนึ่งกระทู้น่าจะดี
จะได้ถกกันในประเด็นนี้
คำว่าอย่าโลภเกินความรู้นั้น จริงๆแล้วเป็นสิ่งสำคัญมากในการเป็นนักลงทุน เป็นสิ่งที่ป้องกันการขาดทุนของนักลงทุนได้เป็นอย่างดี และใช้ป้องกันรักษา อาการจิตตกจากการขายหมูได้อีกด้วย
ผมขอยกตัวอย่าง สมมติว่ามีหุ้น A ซึ่งซื้อขายกันอยู่ที่ราคา 1 บาท เราได้วิเคราะห์งบการเงินแล้วเห็นว่าผลประกอบการดีต่อเนื่อง และไม่น่าจะมีอะไรหมกเม็ด จากนั้นเราก็ได้ศึกษาภาพรวมของตลาดของกิจการนั้นๆ ว่ามีโอกาสเติบโตสูงไปอีกหลายปี รวมถึงเราอาจมีความรู้เฉพาะทางเกี่ยวกับกิจการใน sector นั้นๆเป็นพิเศษ ที่ทำให้เรามองขาดขึ้นไปอีกว่ามันจะดีขึ้นอีกมากอย่างไรในอนาคต เมื่อมองแล้ว สมมติเราคำนวนได้ว่า ราคาที่ แฟร์สำหรับปัจจุบันคือ 2 บาท และราคาในอีกหนึ่งปีข้างหน้า ที่จะสะท้อนผลประกอบการที่ดีขึ้น น่าจะเป็นสามบาท เราก็อาจจะซัดเข้าไปตัวเดียวครึ่งพอร์ทที่ราคา 1 บาท
กาลเวลาผ่านไป คนอื่นๆ เริ่มมองเห็นความดีของบริษัทดังกล่าว ราคาเริ่มขยับสูงขึ้นไป เป็น 2 บาท เราก็อาจจะยังไม่ขาย ผ่านไปอีกเดือน อาจจะไปถึง 3 บาท ซึ่งเป็นเป้าในอีกปีข้างหน้า บางคนอาจจะถือตามไปดูกิจการ บางคนอาจจะขายเพราะคิดว่าราคาขึ้นมาเกินมูลค่าไปเยอะ กว่ากิจการจะโตตามความคาดหวังทัน ก็อีกนาน หมุนเงินไปลงทุนตัวอื่นที่หาเจอดีกว่า ทั้งสองแบบก็ไม่ได้มีใครผิด
ทีนี้ หลังจากนั้นอีกเดือน มันอาจจะวิ่งไป 5 บาท หรือ 10 บาท ก็ตาม คนที่ขายไปแล้ว ก็ไม่ควรมานั่งโอดโอยว่า ขายหมู เพราะความรู้ของเรา มีแค่ 3 บาท เราคำนวนได้แค่ว่าอีกปี มันน่าจะ fair ที 3 บาท อะไรที่เกิน 3 บาทไปนั้น ไม่ใช่ของเราอย่าไปเสียดาย ให้เอาเวลาไปพิจารณา และหาความรู้ ว่าเราพลาดตรงไหน ทำไมถึงมองไม่ออกว่ากิจการมีค่าถึง 5 บาท 10 บาท, ในทางกลับกัน คนที่ถือดูกิจการต่อไป ก็ไม่มีสิทธิมานั่งกระหยิ่มใจว่าตัวเองกำไรเยอะ สิ่งที่เลย 3 บาทมานั้น ถือว่าได้มาเพราะฟลุค ต้องเสียใจและหาความรู้เพิ่มเติมเช่นเดียวกับคนแรกที่ขายไป ว่าเรามองอะไรขาดไป ทำไมเรามองไม่ออกว่ามันดีมาก
แน่นอนระหว่างทางก็จะมีคนที่ไม่รู้ว่าทำไมหุ้นมันขึ้นมาขนาดนั้น อาจจะเชื่อบทวิเคราะห์ อาจจะฟังตามๆกันมา อาจจะซื้อตามคนอื่น แต่หากไม่ได้ประเมินมูลค่าด้วนตนเอง หรือ อ่านบทวิเคราะห์ไม่แตก อ่านสิ่งที่บทวิเคราะห์คำนวนให้ดูไม่เข้าใจ ว่าทำไมเขาให้เป้าราคาเท่านั้นเท่านี้ อาจจะซัดเข้าไป ที่ 5 บาท 10 บาท แล้วราคาไม่กระดิกอีกเลย หรืออาจจะลงมาด้วยซ้ำ ก็ไม่ควรนั่งบ่นว่าติดดอย เพราะเชื่อโบร้ก หรือ เพราะซื้อตามใคร แต่ต้องทำการบ้านให้มากขึ้น ว่าเราเข้าใจอะไรผิด ตรงไหนของบทวิเคราะห์ที่เป็นข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงได้ อะไรคือสิ่งที่ต้องติดตาม เพื่อให้รู้ว่าบทวิเคราะห์จะถูกต้องหรือไม่
ผมยังไม่เคยเห็นใครหมดตัวถ้าไม่โลภเกินสิ่งที่ตัวเองรู้
ขออวยพรให้นักลงทุนทุกท่านพัฒนาความรู้และความสามารถในการวิเคราะห์ให้เก่งวันเก่งคืนนะครับ
ประสบความสำเร็จและมีความสุขกับการลงทุนครับ
Re: แชร์มุมมองเกี่ยวกับคำว่า "อย่าโลภเกินความรู้"
โพสต์แล้ว: จันทร์ เม.ย. 30, 2012 1:13 pm
โดย ซุนเซ็ก
Absolutely Agree กับประโยคนี้ครับ โดยไม่มีข้อต่อแย้งใดๆทั้งสิ้น
Re: แชร์มุมมองเกี่ยวกับคำว่า "อย่าโลภเกินความรู้"
โพสต์แล้ว: จันทร์ เม.ย. 30, 2012 1:20 pm
โดย chukieat30
+1 ให้พี่ airazoc krab
สำหรับผม มันคือ 2 คำ โลภเกินความรู้ และ โลภเกินความโลภ
โลภเกินความรู้คือ ลงทุนในกิจการที่ตัวเองไม่ถนัด มองกิจการไม่ขาด ทำให้มอง
หุ้นด้วยความหลง และเข้าข้างตัวเอง
โลภเกินความโลภ คือ เราอาจจะรู้บ้างแต่เราเห็นการขึ้นลงของราคาที่รวดเร็วและเรา
ก้มักจะวิ่งเข้าใส่ ทั้งๆที่ เราไม่มี MOS
ถ้า เราไม่โลภเกินความรู้ และความโลภ เล่นในเกมของเรา ไม่สนใจการขึ้นลงของราคา
ในช่วงรายวัน
นี่แหล่ะ นักลงทุนครับ
Re: แชร์มุมมองเกี่ยวกับคำว่า "อย่าโลภเกินความรู้"
โพสต์แล้ว: จันทร์ เม.ย. 30, 2012 1:22 pm
โดย picatos
สักวันหนึ่งหวังว่าผมจะได้มีโอกาสเป็นตัวอย่างในการหมดตัวจากการไม่โลภเกินความรู้ให้พี่ airazoc ดู
จะได้พิสูจน์ว่า black swan มีจริง ทุกสิ่งทุกอย่างนั้นไม่เที่ยง และโลกนี้ไม่มีอะไรเลยที่เราสามารถยึดมั่นถือมั่นได้
Re: แชร์มุมมองเกี่ยวกับคำว่า "อย่าโลภเกินความรู้"
โพสต์แล้ว: จันทร์ เม.ย. 30, 2012 1:25 pm
โดย airazoc
picatos เขียน:สักวันหนึ่งหวังว่าผมจะได้มีโอกาสเป็นตัวอย่างในการหมดตัวจากการไม่โลภเกินความรู้ให้พี่ airazoc ดู
จะได้พิสูจน์ว่า black swan มีจริง
ขอให้วันนั้นไม่มาถึงครับ
หงส์ดำ น่ากลัวไปจริงๆ
Re: แชร์มุมมองเกี่ยวกับคำว่า "อย่าโลภเกินความรู้"
โพสต์แล้ว: จันทร์ เม.ย. 30, 2012 1:28 pm
โดย pak
จากกระทู้เรื่อง "การมองภาพใหญ่ของหุ้น by Naris"
ตั้งแต่ 28 November 2007
humdrum เขียน:ตลาดผันผวน ผมคิดว่า timing เหมาะที่จะลงบทความนี้ ของท่านนริศ
เวลา get lost จะกลับมาอ่านบทความนี้เสมอครับ
ขอขอบพระคุณท่านนริศอีกครั้งครับ
การมองภาพใหญ่ของหุ้น
อาจารย์นิเวศน์ ท่านเคยกล่าวไว้ว่า ในการคัดสรรหุ้น นักลงทุนต้องมอง ภาพใหญ่
น่าคิดนะครับ!!!!!!!!!
ผมว่าที่ท่านกล่าวคำว่า ภาพใหญ่ นั้น ไม่น่าจะหมายถึง macro economic หรือ ภาพรวมทางเศรษฐกิจ แต่น่าจะหมายถึง ภาพใหญ่ ในส่วนของ micro economics ต่างหากครับ
ใช่แล้วครับ เป็น ภาพใหญ่ โดยรวมของ หุ้น
ถ้าผมต้องการที่จะเข้าใจ หุ้น ตัวใดตัวหนึ่งอย่างถี่ถ้วนแล้ว ผมมักจะมองดูหุ้นตัวนั้นจากมุมต่างๆ กัน พิจารณาดูทั้งด้านบน ด้านล่าง และด้านข้าง พลิกหาจุดกำเนิดของแต่ละส่วนอย่างถี่ถ้วน .ฉะนั้นเมื่อมองดู ภาพใหญ่ ของหุ้นแล้ว ผมจะรู้ทุกซอกทุกมุมไม่ว่าจะเป็นการแสดงออกในรูปแบบใด ผมก็จะได้เห็นมุมมองที่แตกต่างกันทั้งสามมุมของแต่ละส่วน
มุมที่ว่ามีอะไรบ้าง ต้องมองอย่างไร ถึงจะค้นคว้าหา ภาพใหญ่ ที่ว่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผมขออนุญาตผ่า ภาพใหญ่ ออกเป็นทั้งหมด 3 ส่วน เผื่อที่จะมองแง่มุมได้ต่างๆ กัน มีลักษณะดังต่อไปนี้ครับ
มุมที่หนึ่ง
ภาพใหญ่ในเรื่องของความต้องการของตนเอง
โดยที่ผมจะ ถาม ความต้องการของตนเองให้ได้ก่อนว่า
หนึ่ง ผมต้องการผลตอบแทนในการลงทุนเท่าไหร่?
สอง ในระยะเวลานานเท่าใด?
สาม ยอมขาดทุนจากเงินลงทุนได้มากขนาดไหน?
การตั้งคำถามเหล่านี้ ก็เพื่อทำให้ผมสามารถกำหนด ภาพใหญ่ ในเรื่องความต้องการของตนเอง กำหนดชนิดของปลาที่ต้องการ และกำหนดแหล่งที่จะไปตกปลาตัวนั้น เช่น ถ้าผมต้องการผลตอบแทนไม่สูงมาก ขอส่วนต่างราคาหุ้นรวมปันผลซักประมาณ 10% ต่อปี และต้องการถือระยะยาวซัก 20 ปี ช่วงแรกไม่เน้นเงินปันผล แต่เน้นความปลอดภัยมากๆหน่อย ผมก็เลือกหุ้นที่มี brand name แข็งแกร่ง เป็นผู้นำในตลาด มีประวัติที่ผ่านมาดีชัดเจน trend ผู้บริโภคระยะยาวน่าจะโตกว่า GDP เพราะฉะนั้นถ้าตั้งโจทย์ไว้อย่างนี้แล้ว ผมก็จะเลือกได้ง่ายขึ้น ยอมที่จะเลือกหุ้นที่มี margin of safety น้อยหน่อยก็ไม่เป็นไร เพราะต้องการแลกความเสี่ยงกับราคาที่ซื้อแพงขึ้น เปรียบเสมือนเรายอมไปตกปลาในบ่อที่เขาเตรียมปลาไว้ให้แล้ว เพื่อที่ชัวร์ๆว่ายังไงปลาก็กินเบ็ดของเรา (แต่ต้องเสียค่าตกปลาหน่อยบ้าง เพื่อแลกกับความเสี่ยงที่ลดลง) หุ้นประเภทนี้ เช่น TF SCC PB CP7-11 SAUCE BH เป็นต้น
ส่วนใครที่ต้องการได้ผลตอบแทนสูงๆ คงจะไปเสียเงินตกในบ่อไม่ได้ ก็คงต้องไปหาปลาในแหล่งที่คนอื่นยังไม่ไปหา อย่างที่สมาชิกท่านหนึ่งในเว็บ Thaivi.com ที่ใช้ล๊อกอินว่าคุณ ลูกอีสาน กล่าวไว้ว่า
จงไปหาปลาในที่ๆ มันมีปลา
ถ้าเราอยากได้ผลตอบแทนสูงๆสัก 50% ต่อปี เราก็ควรต้องมีความกล้าที่จะไปค้นหาในที่ๆคนอื่นยังไม่ไป และบางครั้งต้องเข้าถ้ำเสือ จึงจะได้ลูกเสือ ก็แน่นอนว่าความเสี่ยงก็ต้องมากกว่าหุ้นพื้นฐานมากอยู่มากโข แต่เราก็สามารถที่จะลดความเสี่ยงให้ต่ำลงได้โดยการทำความเข้าใจกับหุ้นตัวนั้นให้มากที่สุด ในเมื่อความไม่รู้ในหุ้นตัวนั้นๆ ลดลง ความเสี่ยงก็ลดลงด้วยเช่นกัน ที่สำคัญ
อย่าหลอกตัวเองว่ารู้ และ
อย่าโลภเกินความรู้
มุมที่สอง
ภาพใหญ่ในเรื่องของตัวหุ้น
หลังจากที่ผมได้ทำความรู้จักกับตนเอง และสามารถหาคำตอบทั้ง สามคำถาม จากมุมที่หนึ่งได้แล้ว ต่อไป เรื่องที่จะผมจะหาหุ้นในแบบที่ผมต้องการก็จะเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น ตัวอย่างเช่น ถ้าเราตั้งเป้าไว้ว่าต้องการผลตอบแทนสัก 50% ต่อปี และโดยส่วนตัวแล้ว เป็นคนที่มีความขยันในการหาข้อมูล มีนิสัยที่ติดตามติดข่าวสารตลอด สามารถซื้อและขายหุ้นได้เร็ว (เช่น คนที่พอร์ตเล็กสามารถลงทุนในหุ้นตัวเล็กๆได้ง่ายกว่าคนพอร์ตใหญ่) และ ไม่มีเหตุจำเป็นที่ต้องถือยาวหลายๆปี อีกทั้งยังสามารถแบกรับความเสี่ยงของเงินลงทุนทั้งหมดที่ลงไป ถ้ามีปัจจัยหลาย ๆ อย่าง เป็นลักษณะแบบนี้ เราคงไม่ไปหาหุ้นพื้นฐานที่ โตช้า ครับ
แต่ ภาพใหญ่ ที่เราควรจะมองก่อนอื่น คือ ประเภทหุ้นที่สามารถให้ผลตอบแทนได้มากๆ อย่างหุ้นประเภท supergrowth หุ้น turnaround หุ้นวัฏจักร หรือหุ้น asset play ที่รอการปลดปล่อยและเปลี่ยนแปลงทรัพย์สิน (เช่น ticon สมัยที่เริ่มขายกองทุนอสังหา ) รวมไปถึงวอร์แรนบางตัวที่คิดว่ามี upside มากพอควร หลังจากนั้น เราค่อยมามองภาพใหญ่ หุ้นตัวนั้นๆอีกที
ภาพใหญ่ ของหุ้นโตเร็ว คืออะไร?
คำตอบคือ การเติบโตของผลกำไร ครับ
ถ้าเป็นหุ้นลักษณะนี้ เราต้องเน้นโฟกัสของเราส่วนมากไปที่ความน่าจะเป็นทั้งแง่บวกและแง่ลบไปที่ ผลกำไร ของบริษัทจะหาได้ในอนาคตนั่นเอง
และถ้าเป็นหุ้นในกลุ่ม turnaround ละครับ เราต้องโฟกัสไปที่อะไรบ้าง?
สิ่งที่ต้องดูในกลุ่มนี้ คือ จุดกลับตัว ของธุรกิจครับ เราต้องตรวจสอบอย่างถี่ถ้วนว่าในอดีตที่ผ่านมา ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับบริษัทเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นชั่วครั้งชั่วคราวที่ทำให้รายได้และกำไรลดลงในปีที่ผ่านมาหรือไม่ หุ้นลักษณะนี้อาจจะเจอมรสุมบางอย่างในช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น อาจจะเป็นเรื่องของราคาวัตถุดิบที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากและทางบริษัทปรับราคาขายไม่ทัน เป็นต้น แต่ราคาหุ้นได้ปรับตัวลงมารองรับข่าวร้ายไปหมดแล้ว พอธุรกิจฟื้น ผลประกอบการฟื้น ราคาหุ้นก็จะฟื้นเช่นกัน
เมื่อผมได้ภาพใหญ่ชัดเจนแล้ว เราค่อยไปมองภาพย่อยเจาะทำความรู้จักส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้องกับบริษัทนั้นๆ ครับ
มุมที่สาม
ภาพใหญ่ในจังหวะการลงทุน
ได้คำตอบจาก มุมที่ 1 และ มุมที่ 2 แล้วใช่ไหมครับ ดีใจด้วยครับ
มีสิ่งที่ต้องเพิ่มเติมอีกนิดครับ ทั้งสองมุมจะมีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกันอยู่หนึ่งอย่างครับ สิ่งนั้นคือ
ระยะเวลา
ครับ เป็นระยะเวลาในการครอบครองหุ้นและจังหวะในการซื้อ-ขายหุ้น (time & timing)
ตัวอย่างเช่น นักลงทุนบางท่านที่มีพอร์ตที่ใหญ่มูลค่าเป็นหลายร้อนล้าน ทำให้ต้องมองหาหุ้นที่มีมาร์เก็ตแคปสูงๆในการลงทุน ท่านเป็นคนไม่ชอบอะไรที่เสี่ยง มีอิสระภาพทางการเงินแล้ว ต้องการผลตอบแทนระดับ 10-15% ต่อปี ก็เพียงพอ และต้องการลงทุนในหุ้นแต่ละตัวในระยะ5ปีขึ้นไป ทำให้ต้องมอง ภาพใหญ่เป็นแบบระยะยาวของ trend อุตสาหกรรมนั้นๆ ว่ามี กำแพง และคูเมืองป้องกันคู่แข่งในระยะยาวเกิน 5 ปีหรือเปล่า? (เท่ากับระยะเวลาที่ท่านต้องการลงทุน) โดยมองข้ามปัจจัยที่มีผลกระทบในแง่ลบในระยะสั้นๆ (หรือนั่นคือจังหวะในการซื้อของท่านมากกว่า) ท่านควรมองข้ามภาพเล็กๆในองค์ประกอบที่ไม่ค่อยมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับ trend ของธุรกิจในระยะยาว
ส่วนบางคนที่พอร์ตเล็กและอาจมีความต้องการผลกำไรมากกว่านั้น จึงต้องไปมองหาหุ้นขนาดเล็กและขนาดกลางที่สามารถเติบโตได้รวดเร็วในระยะ 1-5 ปีข้างหน้า ซึ่งก็ต้องมอง ภาพใหญ่ ของผลกำไรแค่ในระยะกลางๆ 1-5 ปีเท่า ๆ กับระยะเวลาที่เราต้องการลงทุน
อีกกรณีหนึ่ง สมมุติว่าถ้าเรารู้ว่าปีหน้ามีบริษัทหนึ่งกำไรของบริษัทจะ turnaround กำไรจะโตกว่า 5 เท่าจากปีที่ผ่านมา pe ปีหน้าอาจเหลือเพียง 2 เท่ากว่าในราคาปัจจุบัน (สมมุติว่าเป็นจุดเริ่มต้นขาขึ้นของหุ้นวัฎจักร) อย่างน้อยๆ เราคงไม่มองไปในอนาคตอีก 5 ปีว่าบริษัทจะเป็นอย่างไร หรือคงไม่ต้องไปหารายละเอียดข้อด้อยปลีกย่อยของหุ้นตัวนั้น เหมือนกับที่ประธานของ Thaivi.com คุณ
สามัญชน ท่านเคยปรารถไว้ว่า
ช้างก็บินได้สำหรับขาขึ้นของหุ้นวัฏจักร
ผมคงมองในระยะสั้นๆ ถึงแค่ปีหน้าให้ชัวร์ๆไว้ก่อน เพราะถ้าเป็นจริง ปีหน้านี้เราคงได้กำไรจากส่วนต่างราคาหุ้นตัวนี้เป็นแน่แท้ แล้วค่อยมาหาจุดขายอีกครั้งหนึ่ง
แต่ปัญหาที่สำคัญที่สุดอยู่ที่ว่า
เรามีความสามารถในการมอง ภาพใหญ่ ในระยะต่างๆได้ตรงและชัดเจนเพียงใด
เพราะถ้ายิ่งสั้น โอกาสกลับตัวยิ่งน้อย โอกาสขาดทุนมีสูงกว่า ส่วนคนที่มอง ภาพใหญ่ ในระยะยาวอย่างเช่น อาจารย์นิเวศน์ โอกาสขาดทุนก็แทบจะเป็นศูนย์ เนื่องจากภาพใหญ่ทั้งสามส่วนของท่านชัดเจนมาก (ชัดเจนแม้นกระทั่งคนภายนอกยังมองเห็น)
และที่สำคัญที่สุดใครสามารถมองหา ภาพใหญ่ ในระยะยาวที่ราคาหุ้นยังไม่แพง ต้องถือว่าเขาสามารถถูกหวยได้เป็นระยะเวลานานถึง 10 ปี ติดต่อกันทีเดียว โดยไม่ต้องไปเสียเวลาหาหุ้นตัวใหม่อีกเลยครับ
...............................................................................................
Re: แชร์มุมมองเกี่ยวกับคำว่า "อย่าโลภเกินความรู้"
โพสต์แล้ว: จันทร์ เม.ย. 30, 2012 1:32 pm
โดย pak
จากกระทู้เรื่อง "สิ่งที่ผมเรียนรู้จากการอยู่ในตลาดหุ้นมา 8 ปี" ของคุณ โอ@
ตั้งแต่ 1 September 2011
โอ@ เขียน:สิ่งที่ผมเรียนรู้จากการอยู่ในตลาดหุ้นมา 8 ปี
1. คนเข้ามาเล่นหุ้นส่วนมากคิดว่าหาเงินได้ง่ายๆ
มีเพื่อนจำนวนมากเห็นผมลงทุนมานานและได้ผลตอบแทนพอสมควร ก็มาถามว่าอยากลงทุนบ้างทำยังไงดี ผมก็ซื้อหนังสือให้ 2-3 เล่ม
บอกว่าไปอ่านให้จบก่อน แล้วมีอะไรมาถาม หนังสือเหล่านั้นผมอ่านวันเดียวจบ และรู้สึกว่ามันน่าสนใจมาก ....
90% ของเพื่อนๆอ่านหนังสือไม่จบ แต่ก็ไปเปิดพอร์ตแล้วก็ซื้อตามคนอื่นบอก
ช่วงตลาดดีก็กำไร ... ช่วงตลาดแย่ก็ ... "เฮ้ย ทำไงดีวะกรูซื้อปูมา 700 บาทต่อกิโล"
ถ้าเล่นหุ้นมันง่าย ป่านนี้ไม่มีใครทำงานแล๊วววว .... อย่าลืมนะคนตายเขาไม่ได้พูด
2. คนไทยยังคงมีความรู้ทางด้านการลงทุนน้อยมาก
ผมว่าไทยเราก็เหมือนอเมริกาครับ เมื่อก่อนอเมริกามีแต่นักลงทุนรายย่อย แต่เล่นไปเล่นมา รายย่อย ย่อยยับกันหมด ทำให้ตอนนี้
อเมริกาเต็มไปด้วยกองทุน รายย่อยแทบไม่เหลือเลย
แล้วเราจะเล่นอย่างไรละในตลาดอย่างนี้ ลองนึกภาพตามนะครับ สมมติผมไปอธิบายให้คนคนนึงฟังว่า
- มีหุ้นตัวนึง pe 10 เท่า แต่คิด dcf ออกมาจากราคานี้ยังมี upside 200%
- กับอีกตัวผมบอกว่า ตัวนี้ pe 5 เท่า โตปีละ 20% ถือไป ปีนึงกำไร 100%
คุณว่าหุ้นตัวไหนจะขึ้นก่อนกันครับ
3. วลีเด็ดจากเซียน "อย่าโลภเกินความรู้" ใช้ได้เสมอ
4. บางทีเราก็รักหุ้นตัวนึงซะจนลืมมองข้อด้อยของมัน
ความรักทำให้คนตาบอด ... ซื้อหุ้นก็ทำให้เราตาบอดได้เหมือนกัน ตอน Subprime ผมก็โดนไปกับหุ้นตัวนึง ... ไม่ต้องกลัว หุ้นเรา
ไม่ลงหลอก เก่งขนาดนี้ ราคาตอนนี้ PE 5 เอง .... ผลลัพธ์.... ภายใน 1 อาทิตย์หุ้นผมลงไป 30% สุดท้ายใครจะไปรู้ว่า xxxx จะมีหุ้น
PE 2 ให้ซื้อเต็มไปหมดเลย
5. ราคาหุ้นเป็นโฆษณาที่ดีที่สุด ... พอราคาขึ้นไปเรื่อยๆ เดี๋ยวคนก็จะมาสนใจกันเต็มไปหมดเอง ... ไม่ต้องไปโฆษณากับใครที่ไหน
6. ข่าวมักจะมาหลังจากราคาตอบสนองแล้ว
ถ้าวันนี้ set ลง ... ตลาดไทยทรุดตามตลาดต่างประเทศ, ตัวเลขเศรษฐกิจไม่ดี
ถ้าวันนี้ set ขึ้น ... ต่างชาติเข้าลงทุนในไทยเพิ่ม เนื่องจากลดพอร์ตในต่างประเทศ
ลองสังเกตุดูครับ
7. นักวิเคราะห์ในทีวี บางทีก็ไม่ได้รู้อะไรมากมาย
หลายท่านก็เก่งนะครับ นั่งฟังแล้วก็รู้สึกว่าได้อะไร แต่บางท่านต้องเก๊กครับ ตอบๆไปก่อน ผิดถูกไม่รู้ จะบอกว่าไม่รู้ไม่ได้เดี๋ยวเสียหน้า
ถ้าตอบถูก ... เดี๋ยวอีกอาทิตย์ถัดมาจะบอกว่า เนี่ยผมบอกไปแล้วอาทิตย์ที่แล้ว ถ้าตอบผิด ..... หายไปกับกลีบเมฆ
8. ความรู้ไม่มีสิ้นสุด
ทุกครั้งที่มองกลับไปข้างหลังก็จะรู้สึกว่าเมื่อก่อนเราโง่นะเนี่ย ฉะนั้นยังไงก็ห้ามหยุดศึกษาครับ
9. เพื่อนเป็นสิ่งที่ดีมากในโลกการลงทุน
ศึกษาหุ้นคนเดียวสู้ศึกษากันหลายๆหัวไม่ได้หรอกครับ ยิ่งถ้าเป็นคนที่กล้า comment แรงๆ นี่ใช่เลย
10. คนเราชอบเสพย์ข่าวดี
ลองไปดูหลายๆอันครับ ผมจำได้ว่า กระทู้ PTL มีคนไปบอกว่า ระวัง PTL ราคาแพงนะ ... มีคนมาหาว่า เสี่ย VI ส่งคนมาปล่อย
ข่าวจะได้เก็บหุ้นถูกๆ ... อ้าวชิปหาย เตือนแม่งก็โดนหาว่าทุบหุ้น พอไม่เตือนก็เจอหาว่าปั่นหุ้น
11. เล่นหุ้นให้คนอื่นยากกว่าตัวเอง
รับบริหารเงินให้คนอื่นนี่ปวดหัวมากครับ ถึงแม้คนเอาเงินให้เราเขาจะบอกว่าเขาไม่คิดอะไร แต่เราเองนั่นแหละ จะรู้สึกว่า เฮ้ย ไม่ได้
เงินเขาขาดทุนไม่ได้นะ เครียดเปล่าๆ
12. เหนือฟ้ายังมีฟ้า
พื้นฐานธุรกิจหรือจะเท่าเจ้าของลิขิต ผมได้เรียนรู้ว่า เล่นหุ้นที่เจ้าของอยากให้หุ้นขึ้นครับ ให้พยายามอยู่ข้างเดียวกับเขา (อาจจะดูไม่วีไอเท่าไหร่นะครับ)
13. ไทยแลนด์แดนอินไซด์
คนบางคนอยู่ในตลาดมาหนึ่งเดือนสองเดือน บอกว่า เฮ้ยๆ ได้อินไซด์มาเต็มเลย .. คุณมี connection แค่นั้น ... อยู่ในตลาดมาแค่นี้
คุยได้ข่าวมาไม่คิดว่าคนอื่นเขาจะได้ข่าวมาเหมือนกันหรอ ... เวลาได้ข่าวมา ต้องเช็คครับว่าข่าวจริงแค่ไหน แล้วก็เราได้ข่าวเป็นไม้ที่
เท่าไหร่ ถ้าได้เป็นไม้ท้ายก็อย่าไปเล่นเลยครับ เขาว่าข่าวไม้แรกมักจะมาจากเมียน้อยผู้บริหาร
14. ซื้อหุ้นตามเพื่อนแล้วซวยทุกที
เพื่อนๆมาเล่าให้ฟัง ... ตัวนี้ดีอย่างโน้นดีอย่างนี้ ... เอาวะ ซื้อๆไปก่อนเดี๋ยวเพื่อนล้อ ... หุ้นมันลงมา 5% ก็เพราะเรามันไม่รู้พื้นฐาน
เลยต้อง cut loss ทิ้ง ... เพื่อนทุกคนอยู่ครบ .. แล้วหุ้นก็ดีดกลับไป +30% ในหนึ่งอาทิตย์ T_T เศร้าไม๊ ? .... ตอบได้ว่าเศร้า แต่
ทำไงได้ละ ขี้เกียจเอง
15. โอกาสมักจะมาตอนเราขี้เกียจ
ด้วยความขี้เกียจทำให้ปีที่ผ่านมาๆพลาดไปหลายมหกรรมเลยทีเดียว
16. จงลืมต้นทุน
ต้นทุนไม่ได้ช่วยให้ชีวิตดีขึ้น ... จงคิดแต่ว่าราคาหุ้นปัจจุบันเนี่ย ถ้าเรายังไม่มีหุ้นตัวนี้ เราจะซื้อหรือเปล่า ถ้าเราไม่คิดจะซื้อ ... แล้วเราจะถือมันไว้ทำไม
17. ข่าวในหนังสือพิมพ์ ... ข่าวร้ายลงฟรี ข่าวดีเสียตังค์
18. ตลาดหุ้นเป็นสถานที่แปลก .. คนรวยนั่งรถเบนซ์ เดินไปขอคำแนะนำการลงทุนจากคนที่นั่งรถเมล์มาทำงาน
19. ราคาหุ้นในตลาดมันก็หลักการเศรษฐศาสตร์ขั้นต้น
หุ้นมันก็มีอยู่จำนวนเท่าเดิม .. อยู่ดีดีคนอยากมาซื้อหุ้นตัวนี้ มันก็ขึ้น ... อยู่ดีดีคนได้ข่าวร้าย แล้วเชื่อตามๆกัน มันก็ลง
20 มนุษย์เราเป็นสัตว์สังคม
เรามักจะคล้อยตามสิ่งรอบข้างได้ง่ายมาก ถ้าเราเชื่อว่าหุ้นตัวนึงไม่ดี ถ้าคนรอบข้างคอยบอกว่าหุ้นตัวนี้ดี ... คนเดียวอาจะไม่เท่าไหร่ แต่ถ้า 20 คนยืนยันเหมือนกัน
เรามีโอกาสจะคล้อยตามได้ง่ายมาก
21. เขาว่าถ้าเราเจอแมลงสาบตัวนึง ให้คิดได้เลยมันมีอีกเป็นฝูง
คล้ายกับหุ้นเลย .. ถ้ามีข่าวดีอันนึง เดี๋ยวจะมีมาอีกเพียบ ... แต่ถ้ามีข่าวร้ายเมื่อไหร่ ... โหย ... ร้ายแล้วเดี๋ยวมีร้ายกว่า
22. กับดัก VI หยิ่งในศาสตร์ของตน
หลายๆทีเราทะนงตัวว่าตัวเองเป็น VI
VI เป็นผู้ฉลาด รอบรู้ ศาสตร์อื่นๆล้วนด้อยกว่า ระวังครับ มันจะทิ่มแทงเราเอง
ลองดูสถานการณ์เหล่านี้
"ศึกษาตามหลัก VI มาดีแล้ว ราคาลงมา 30% ไม่เห็นต้องกลัวเลย .... สุดท้ายราคาลงไป 50% เฮ้ย รู้งี้ฟังคนอื่นพูดบ้างก็ดี"
"หุ้นลง 10% ... ไม่เป็นไรศึกษามาดี ลง 50% ก็ได้ ... พอเกิดจริง มันลงมา 30% เฮ้ย !! เดี๋ยวเหมือนครั้งก่อน กรูไปก่อนดีกว่า กลัวแล้ว สรุป ขายได้โลว์เลย"
หลายๆครั้งผมมักจะเห็นว่า VI ขายโลว์ ... ทำไมหรอครับ เพราะ VI ความอดทนสูงกว่าคนอื่นไงครับ ทนไปเรื่อยๆ จนสุดท้ายทนไม่ได้
23. ซื้อหุ้นอย่าดูแค่มันถูก
คิดมูลค่าหุ้นออกมาโหย ถูกมาก upside 50% ดูแค่นี้ระวังนะครับ
หุ้นมันจะขึ้นได้ต้องมีคนมาสนใจ มาซื้อเพิ่ม
1. คนที่ถืออยู่แล้วมาซื้อเพิ่ม
2. ถ้าหุ้นตัวเล็ก นักลงทุนคนอื่นมาซื้อเพิ่ม
3. ถ้าหุ้นตัวกลางๆ นักลงทุนซื้อกันหมดแล้ว ต้องรอกองทุนมาสนใจ
4. ถ้าหุ้นเต็มไปด้วยกองทุนและนักลงทุนแล้ว ... ให้กลับไปดูข้อ 1
บางทีคนรอบตัวเราซื้อหุ้นกันไปหมดแล้วแต่หุ้นไม่ขึ้น อันนี้เริ่มน่ากลัวแล้วครับ แสดงว่ามีคนขายอยู่จำนวนมาก
เขาอาจจะรู้อะไรที่เราไม่รู้ก็ได้
Re: แชร์มุมมองเกี่ยวกับคำว่า "อย่าโลภเกินความรู้"
โพสต์แล้ว: จันทร์ เม.ย. 30, 2012 1:36 pm
โดย ดำ
เมื่อไหร่ที่โลภ แต่กลัวว่าจะโลภเกินความรู้
ก็ไปเพิ่มความรู้ให้มากกว่าความโลภสิครับ ไม่เห็นยาก
อย่าโลภแต่ขี้เกียจเป็นพอ
Re: แชร์มุมมองเกี่ยวกับคำว่า "อย่าโลภเกินความรู้"
โพสต์แล้ว: จันทร์ เม.ย. 30, 2012 1:40 pm
โดย pak
สำหรับผมแล้ว...
ประโยคที่กล่าวว่า "อย่าโลภเกินความรู้" มันมักจะมาพร้อมกับอีกประโยคอื่นๆในใจของผมคือ เช่น...
- จงยินดีและพลอยอนุโมทนากับผู้อื่น เมื่อเห็นผู้อื่นได้ดี
- จงเล่นในเกมส์ที่ตนเองถนัดเท่านั้น
- จงพอใจในสิ่งที่ตัวเองมี
- จงอย่าเปรียบเทียบผลตอบแทนกับใคร(แต่จงตั้งใจทำให้ดีที่สุดสำหรับตัวเราเอง)
- จงเรียนรู้ให้มากขึ้น หากเรายังมีความโลภและความต้องการที่มากขึ้นกว่าเดิม
"ความโลภ"...ย่อมเกิดขึ้นได้กับทุกคน อยู่ที่ว่า เราจะดับมันได้ไหม? และเร็วเพียงใด?
"ความโลภ"...คือ วัตุดิบชั้นดี ของ "ความขยัน, การไขว่คว้า, ความทะเยอทะยาน และการเดินมุ่งหน้าไปสู่ความสำเร็จ"
ดังนั้น "ความโลภ" จึงไม่ใช่สิ่งเลวร้ายเสมอไป
แค่เพียงเราต้องบริหารจัดการ "ความโลภ" ให้เป็น...ก็เท่านั้นเองครับ
Re: แชร์มุมมองเกี่ยวกับคำว่า "อย่าโลภเกินความรู้"
โพสต์แล้ว: จันทร์ เม.ย. 30, 2012 5:09 pm
โดย perfectackle
บางทีเราคิดว่าเรารู้เยอะครับ เลยขาดทุนจากความเข้าใจผิด คิดว่าแค่นี้ยังไม่เกินความรู้เรา
Re: แชร์มุมมองเกี่ยวกับคำว่า "อย่าโลภเกินความรู้"
โพสต์แล้ว: จันทร์ เม.ย. 30, 2012 5:22 pm
โดย multipleceilings
อย่าโลภเลยดีที่สุด
โลภก็ส่วนโลภ
ความรู้ส่วนความรู้
รู้ให้มากกว่าเดิม
โลภให้น้อยที่สุด ถึงไม่โลภเลย
Re: แชร์มุมมองเกี่ยวกับคำว่า "อย่าโลภเกินความรู้"
โพสต์แล้ว: จันทร์ เม.ย. 30, 2012 6:04 pm
โดย blueplanet
multipleceilings เขียน:อย่าโลภเลยดีที่สุด
โลภก็ส่วนโลภ
ความรู้ส่วนความรู้
รู้ให้มากกว่าเดิม
โลภให้น้อยที่สุด ถึงไม่โลภเลย
เห็นด้วยกับ คุณ multipleceilings
เราเอา ความโลภมาผูกกับความรู้ แล้ว เติมคำว่าอย่า
มองรวมๆแล้วดูขลัง ทำให้คนบางคนยึดเป็น สรณะ ท่องประโยคเท่ห์ๆพวกนี้
ประโยคเทห์ๆสั้นๆ ไม่มีประโยชน์ และบางทีทำให้เราหลงประเด็นไปเลย
เช่น จงกลัวเมื่อคนอื่นกล้า จงกล้าเมื่อคนอื่นกลัว
บัฟเฟต ก็คงพูดให้คนรู้จักคิด ไม่ใช่พูดให้คนยึดเอาไปใชเป็นหลักในการลงทุน
อย่าขาดทุน และอย่าขาดทุน คำสอนนี้ ไม่ได้แปลว่าขาดทุนไม่ได้
น่าจะแปลว่า คิดให้หนัก พิจารณาให้ดีก่อนซื้อ
ประโยคเทห์ๆ ไม่ได้ช่วยให้เราลงทุนดีขึ้น
คนไทยมีคำสอนโดยใช้ประโยคสั้นๆเต็มไปหมด
และพิจารณาดีๆแล้วบางครั้งมันขัดกัน
เช่น ช้าๆได้พล้าเล่มงาม และ น้ำขึ้นให้รีบตัก
ผมต้องการความรู้ ผมไม่ต้องการคำคม
Re: แชร์มุมมองเกี่ยวกับคำว่า "อย่าโลภเกินความรู้"
โพสต์แล้ว: จันทร์ เม.ย. 30, 2012 6:08 pm
โดย ดำ
ถ้าไม่โลภเลย คงไม่มาเล่นหุ้นมั้งครับ
Re: แชร์มุมมองเกี่ยวกับคำว่า "อย่าโลภเกินความรู้"
โพสต์แล้ว: จันทร์ เม.ย. 30, 2012 6:53 pm
โดย torpongpak
ผมขอถามนิดนึงครับ
ถ้าเราเห็นธุรกิจตัวนึง มีการรับorderสั่งซื้อเพิ่มขึ้น หรือประมูลงานได้มากขึ้น เรารู้เเน่ๆว่าบริษัทนั้นต้องมีตัวเลขกำไรดีขึ้น ผลตามมาก็คงทำให้ราคาหุ้นเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันเเน่นอน
เเต่...เรายังไม่เข้าใจตัวพื้นฐานของบริษัทอย่างละเอียด รู้เเค่ว่าบริษัทขายอะไร มีสินค้าเเบบไหน ลูกค้าอยู่ที่ไหน เเต่ยังไม่รู้ลึกถึงขั้นปัจจัยที่ทำให้Demandสินค้าเหล่านั้นเพิ่ม หรือยังไม่เข้าใจ"จุดตาย"ที่ทำให้พื้นฐานของบริษัทนั้นเปลี่ยนอย่างเเน่ชัด
อย่างนี้เราควรซื้อหุ้นของบริษัทนี้ไหมครับ? เเละถือว่าเป็นการโลภเกินความรู้หรือไม่?
Re: แชร์มุมมองเกี่ยวกับคำว่า "อย่าโลภเกินความรู้"
โพสต์แล้ว: จันทร์ เม.ย. 30, 2012 7:14 pm
โดย multipleceilings
ดำ เขียน:ถ้าไม่โลภเลย คงไม่มาเล่นหุ้นมั้งครับ
งั้นเราโลภก็กันต่อไปครับ
Re: แชร์มุมมองเกี่ยวกับคำว่า "อย่าโลภเกินความรู้"
โพสต์แล้ว: อังคาร พ.ค. 01, 2012 9:08 am
โดย Diamond Dust
torpongpak เขียน:ผมขอถามนิดนึงครับ
ถ้าเราเห็นธุรกิจตัวนึง มีการรับorderสั่งซื้อเพิ่มขึ้น หรือประมูลงานได้มากขึ้น เรารู้เเน่ๆว่าบริษัทนั้นต้องมีตัวเลขกำไรดีขึ้น ผลตามมาก็คงทำให้ราคาหุ้นเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันเเน่นอน
เเต่...เรายังไม่เข้าใจตัวพื้นฐานของบริษัทอย่างละเอียด รู้เเค่ว่าบริษัทขายอะไร มีสินค้าเเบบไหน ลูกค้าอยู่ที่ไหน เเต่ยังไม่รู้ลึกถึงขั้นปัจจัยที่ทำให้Demandสินค้าเหล่านั้นเพิ่ม หรือยังไม่เข้าใจ"จุดตาย"ที่ทำให้พื้นฐานของบริษัทนั้นเปลี่ยนอย่างเเน่ชัด
อย่างนี้เราควรซื้อหุ้นของบริษัทนี้ไหมครับ? เเละถือว่าเป็นการโลภเกินความรู้หรือไม่?
ผมว่าเกินครับ... จะลงทุนได้ รู้แค่ว่ารายได้จะเพิ่ม จะได้งาน จะมีกำไรเพิ่มนั้นยังไม่พอครับ แต่ควรจะต้องรู้ให้ลึกถึงปัจจัยที่ส่งผลพื้นฐานธุรกิจรอบด้าน (ไม่เพียงแต่ demand) ไม่ว่าจะเป็น demand supply ของธุรกิจ คู่แข่งขัน โครงสร้างต้นทุน ลูกค้า ฯลฯ เพราะสิ่งเหล่านี้ล้วนเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาๆ order ที่ได้มาอาจจะถูกยกเลิกก็ได้ เพราะลูกค้ามีปัญหา กำไรอาจจะไม่ดีก็ได้เพราะประมูลมาแบบตัดราคาคู่แข่งเยอะ
Re: แชร์มุมมองเกี่ยวกับคำว่า "อย่าโลภเกินความรู้"
โพสต์แล้ว: อังคาร พ.ค. 01, 2012 10:27 am
โดย hunter_kidz
ขอบคุณครับพี่ airazoc
Re: แชร์มุมมองเกี่ยวกับคำว่า "อย่าโลภเกินความรู้"
โพสต์แล้ว: อังคาร พ.ค. 01, 2012 2:44 pm
โดย monsoon
โลภหรือไม่โลภ ผมว่าเรารู้ตัวเองกันดีครับ สำคัญอย่าหลอกตัวเองเป็นดีที่สุด ยิ่งหลอกตัวเองว่าเรารู้จริงเนี่ย ยิ่งน่ากลัว และมีโอกาศผิดพลาดครั้งใหญ่มากๆเลยนะครับ
ผมเห็นด้วยกับบทความนี้ครับ^^
Re: แชร์มุมมองเกี่ยวกับคำว่า "อย่าโลภเกินความรู้"
โพสต์แล้ว: อังคาร พ.ค. 01, 2012 3:19 pm
โดย airazoc
torpongpak เขียน:ผมขอถามนิดนึงครับ
ถ้าเราเห็นธุรกิจตัวนึง มีการรับorderสั่งซื้อเพิ่มขึ้น หรือประมูลงานได้มากขึ้น เรารู้เเน่ๆว่าบริษัทนั้นต้องมีตัวเลขกำไรดีขึ้น ผลตามมาก็คงทำให้ราคาหุ้นเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันเเน่นอน
เเต่...เรายังไม่เข้าใจตัวพื้นฐานของบริษัทอย่างละเอียด รู้เเค่ว่าบริษัทขายอะไร มีสินค้าเเบบไหน ลูกค้าอยู่ที่ไหน เเต่ยังไม่รู้ลึกถึงขั้นปัจจัยที่ทำให้Demandสินค้าเหล่านั้นเพิ่ม หรือยังไม่เข้าใจ"จุดตาย"ที่ทำให้พื้นฐานของบริษัทนั้นเปลี่ยนอย่างเเน่ชัด
อย่างนี้เราควรซื้อหุ้นของบริษัทนี้ไหมครับ? เเละถือว่าเป็นการโลภเกินความรู้หรือไม่?
ถ้าผมรู้ตามที่คุณ torpongpak ว่ามานี้ คือรู้แค่คร่าวๆผมจะทำแบบนี้ครับ
1> ซื้อมา 100 หุ้น แล้วรอไป AGM เพื่อถามให้ละเอียดมากขึ้นในเรื่อง ความเสี่ยงของกิจการ และปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อกำไรของบริษัท ว่ามีอะไรบ้าง จะติดตามได้อย่างไร + ไป Oppday ถ้าเขามา
2> ถ้าผมมีความรู้พอสมควรเกี่ยวกับธุรกิจนั้นๆแล้ว และคิดว่าเป็นขาขึ้นที่ทุกบริษัทใน sector นั้นได้ประโยชน์อยู่แล้ว ผมจะกดมาก่อน 1-5% ของพอร์ทเอามาติดตาม และกดดันตัวเองมากขึ้นให้หาข้อมูล
3> ถ้าผมคิดว่าผมมองออกแล้วว่า สิ่งที่ดูดีขึ้นนั้น มันดีขึ้นอย่างถาวร และไม่มีปัจจัยหรือคู่แข่งที่จะมาทำให้สิ่งนั้นหายไปง่ายๆ ผมก็จะเริ่มซื้อ 5% 10% 15% ของพอร์ทตามความมั่นใจ ขึ้นกับว่าผมหาทางติดตาม parameter ที่ส่งผลโดยตรงกับผลประกอบการของบริษัทได้ละเอียดแค่ไหน ( Parameter เช่น ยอดผู้ใช้บริการ, ยอดสั่งซื้อ, ราคาตลาดโลก, ต้นทุน, อื่นๆ ) และผมเข้าใจโมเดลของการคำนวน EPS แค่ไหน ว่าแต่ละ parameter ขยับแล้วจะส่งผลต่อ bottom line อย่างไร (ถ้าซื้อถึงจุดนี้ควรจะมี Excel ส่วนตัวสำหรับประเมินกำไร และ มูลค่ากิจการนั้นๆ เป็นของตัวเองแล้วนะครับ ทำเป็น ตารางให้สามารถลองหยอดตัวเลขเปลี่ยนค่าไปมาดู จะทำเห็นช่วงราคาที่ซื้อได้ และซื้อไม่ได้ ในกรณี parameter มีค่าต่างๆกัน ถ้าไม่มีโมเดลที่จะใช้คำนวน ก็ควรหยุดซื้อที่ 10% ของพอร์ทเถอะครับจะได้ไม่เสี่ยงมาก)
4> ถ้าผมเข้าใจกิจการอย่างถ่องแท้ อาจจะเพราะอยู่ในสายงาน และติดตามปัจจัยสำคัญขอธุรกิจนั้นได้อย่างใกล้ชิด ผมก็จะเริ่มมี 25% 50% ตามลำดับ เพราะหากมีอะไรเกิดขึ้นในตลาดของกลุ่มธุรกิจที่เราถือหุ้นอยู่ อย่างน้อยเราก็สัมผัสได้ก่อน รู้ก่อนว่าพื้นฐานกิจการของกลุ่มนี้เปลี่ยน และสามารถหนีตายได้ทัน แต่ถ้าอยู่ในกลุ่มที่ผมติดตามตลาดใกล้ชิดไม่ได้ หรือไม่รู้ว่าจะตาม parameter ต่างๆได้ทันท่วงทีอย่างไร ได้ข้อมูลแบบ secondary อีกที ผมก็จะตัดใจ ถือไม่เกิน 15%
*** แน่นอนว่า การอัดตัวเดียวแถมมาจิ้นเข้าไปด้วย ถ้าคิดถูก เป็นไปตามคาด ก็จะรวยเร็วกว่ามาก และเราอาจจะเห็นคนทำสำเร็จมาแล้วเยอะแยะ แต่จริงๆแล้วคนที่ออกจากตลาดไปและไม่มีโอกาสกลับมาเล่าให้เราฟัง มีมากกว่านั้นอีกเยอะ ถึงแม้จะมั่นใจแค่ไหนว่าเรารู้ในกิจการนั้นจริงๆ ผมก็แนะนำว่ามีสัก 50% ก็น่าจะพอนะครับ (ท่านที่บริหารมาจิ้นเก่งๆ อาจจะถือมากกว่านี้และใช้มาจิ้นร่วมด้วย เป็นความสามารถอีกรูปแบบหนึ่งที่ผมไม่มี แต่ถ้าเพื่อนสมาชิกมีความสามารถดังกล่าวก็ถือว่าอยู่ในขอบเขตที่ผมไปไม่ถึงครับ อาจจะสามารถทำกำไรได้มากกว่าผม ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมควรยอม และยินดีกับเพื่อนสมาชิกด้วย) ผมเคยถือตัวเดียว 200% ของเงินที่มี ผมนอนไม่หลับครับ
Re: แชร์มุมมองเกี่ยวกับคำว่า "อย่าโลภเกินความรู้"
โพสต์แล้ว: อังคาร พ.ค. 01, 2012 6:46 pm
โดย torpongpak
ขอบคุณ คุณDaimond dustเเละคุณarizocมากครับ ได้เเนวทางที่ดี
เห็นด้วยครับมันน่าจะนับเป็น"โลภเกินความสามารถ"จริงๆครับอาจเพราะผมสนใจ"ราคาหุ้น"มากกว่าสนใจบริษัทครับ...เหมือนที่บางท่านบอกว่า"เสียดาย ดีกว่าเสียใจ"
การจะสนใจบริษัทได้ก็ต้องศึกษาอย่างที่พี่arizocบอก ซื้อเเล้วไปAGM ศึกษามันเพิ่มขึ้น
กับคำถามที่ถามไปมันเกิดกับผมตอนหลังน้ำท่วมครับ ผมทราบว่าหุ้นอสังหาบางตัวเสียหายจริงไม่มาก เเละต้องกลับมาเเน่นอนเพราะคอนโดเเบรนด์ดังๆของเขาอยู่เเต่ในเมือง เเต่ผมไม่เข้าใจว่าจะตามBacklogอย่างไร อัตราส่วนบ้าน:คอนโด:ทาวเฮาส์ เท่าไหร่ มีLand Bankที่ไหนบ้าง
รู้เเค่ว่าราคาหุ้นน่าจะกลับมาเพราะพื้นฐานไม่ได้เปลี่ยน เเถมทำกำไรสูงเป็นประวัติกาลสะสมไว้
เเต่ผมไม่ซื้อครับ...ก็เลยเป็นที่มาของคำถามดังกล่าว
บางตำราหรือบทความเกี่ยวกับการลงทุนเเบบVIบางสำนัก เลยเขียนให้คิดง่ายๆว่าจังหวะที่คิดจะซื้อหุ้น เเค่เราคิดจะ"เก็งกำไร"ราคาหุ้น อันนั้นคงไม่ใช่เเนวทางVIเเล้ว
Re: แชร์มุมมองเกี่ยวกับคำว่า "อย่าโลภเกินความรู้"
โพสต์แล้ว: อังคาร พ.ค. 01, 2012 7:13 pm
โดย torpongpak
ขอโทษครับพิมพ์ชื่อผิด
คุณ"airazoc"เเละ"Diamond Dust"
ขอถามต่อนะครับ ถ้าเกิดหุ้นที่เรามีความรู้พอสมควร เราคำนวณว่า"เกินมูลค่า"เเล้วขายออกไป เพื่อนๆยังติดตามบริษัทเหล่านั้นใกล้ชิดหรือไม่?เเละจะกลับมาซื้ออีกหรือไม่? ถ้าราคาหุ้นขึ้น มาพร้อมกับพื้นฐานธุรกิจที่ดีขึ้น
ขอบคุณครับ
Re: แชร์มุมมองเกี่ยวกับคำว่า "อย่าโลภเกินความรู้"
โพสต์แล้ว: อังคาร พ.ค. 01, 2012 8:47 pm
โดย Linzhi
ผมว่า วลี อย่าโลภเกินความรู้ มักมาตอนตลาดดี ๆ ทุกที
Re: แชร์มุมมองเกี่ยวกับคำว่า "อย่าโลภเกินความรู้"
โพสต์แล้ว: อังคาร พ.ค. 01, 2012 11:04 pm
โดย leky
airazoc เขียน:
*** แน่นอนว่า การอัดตัวเดียวแถมมาจิ้นเข้าไปด้วย ถ้าคิดถูก เป็นไปตามคาด ก็จะรวยเร็วกว่ามาก และเราอาจจะเห็นคนทำสำเร็จมาแล้วเยอะแยะ แต่จริงๆแล้วคนที่ออกจากตลาดไปและไม่มีโอกาสกลับมาเล่าให้เราฟัง มีมากกว่านั้นอีกเยอะ ถึงแม้จะมั่นใจแค่ไหนว่าเรารู้ในกิจการนั้นจริงๆ ผมก็แนะนำว่ามีสัก 50% ก็น่าจะพอนะครับ (ท่านที่บริหารมาจิ้นเก่งๆ อาจจะถือมากกว่านี้และใช้มาจิ้นร่วมด้วย เป็นความสามารถอีกรูปแบบหนึ่งที่ผมไม่มี แต่ถ้าเพื่อนสมาชิกมีความสามารถดังกล่าวก็ถือว่าอยู่ในขอบเขตที่ผมไปไม่ถึงครับ อาจจะสามารถทำกำไรได้มากกว่าผม ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมควรยอม และยินดีกับเพื่อนสมาชิกด้วย) ผมเคยถือตัวเดียว 200% ของเงินที่มี ผมนอนไม่หลับครับ
ผมสงสัยนะครับ หลัง ๆ ดูเหมือนมีการยอมรับการใช้มาร์จิ้นกันมากขึ้น อยากถามนะครับเพราะผมเองก็ไม่เคยเล่นมาร์จิ้นและไม่คิดที่จะเล่น สมมติ
1) นลท. A เลือกหุ้น 10 ตัว ถูก 8 ตัว หมายถึงผลประกอบการดี ราคาหุ้นวิ่งขึ้นตามที่คาดการณ์ไว้
2) นลท. B เลือกหุ้น 10 ตัว ถูก 5 ตัว แต่มูลค่าพอร์ตโดยรวมกำไรมากกว่านลท. A เนื่องจากมีการใช้มาจิ้น
อยากทราบว่าแบบนี้ความเห็นของสมาชิก เราจะตัดสินได้ยังไงว่าใครมีฝีมือมากกว่ากันครับ A ควรจะมีฝีมือดีกว่า B เพราะโดยเนื้อแท้สามารถเลือกหุ้นได้เก่งกว่า B ที่อาจจะเก่งน้อยกว่า แต่ "กล้าเสี่ยง" มากกว่า หรือจะคิดว่า B เก่งกว่า A เพราะถึงแม้จะเลือกหุ้นถูกน้อยกว่าแต่ "กล้าเสี่ยง" มากกว่า
Re: แชร์มุมมองเกี่ยวกับคำว่า "อย่าโลภเกินความรู้"
โพสต์แล้ว: พุธ พ.ค. 02, 2012 8:49 am
โดย airazoc
torpongpak เขียน:ขอโทษครับพิมพ์ชื่อผิด
คุณ"airazoc"เเละ"Diamond Dust"
ขอถามต่อนะครับ ถ้าเกิดหุ้นที่เรามีความรู้พอสมควร เราคำนวณว่า"เกินมูลค่า"เเล้วขายออกไป เพื่อนๆยังติดตามบริษัทเหล่านั้นใกล้ชิดหรือไม่?เเละจะกลับมาซื้ออีกหรือไม่? ถ้าราคาหุ้นขึ้น มาพร้อมกับพื้นฐานธุรกิจที่ดีขึ้น
ขอบคุณครับ
กิจการที่เคยศึกษาละเอียดแล้วครั้งหนึ่งนั้น มันก็เหมือนขี่จักรยานแหละครับ
รู้แล้วก็รู้เลย แม้จะร้างราไม่ได้ติดตามไปนาน แต่ถ้าเราไปพบข่าว หรือข้อมูลตลาดอะไรที่พัวพันกับจุดสำคัญพื้นฐานกิจการ เราก็จะจำได้และกลับบ้านมาเปิด excel เอาตัวเลขหยอดดูได้อย่างรวดเร็วครับ นี่เป็นข้อได้เปรียบของคนที่ทำการบ้านมามากๆ คือเมื่อมีอะไรเกิดขึ้นในตลาดก็จะรู้ตัวได้ไว ว่าดีหรือไม่ดีกับหุ้นกลุ่มไหน ตัวไหนเป็นพิเศษ ทำให้เข้าศึกษาเพิ่มเติมได้อย่างรวดเร็ว ไม่เสียเวลาหาข้อมูลเบื้องต้นนานๆ แน่นอนว่าเมื่อยังเป็นมือใหม่อยู่ ก็จะทำได้ช้าหน่อย แต่มันเป็นการปรับพื้นฐานครับ เมื่อรู้เยอะขึ้นเรื่อยๆ เวลาที่ใช้ในการวิเคราะห์ พิจารณาหุ้นจนมั่นใจว่าจะซื้อเท่าไหร่ดี ก็จะสั้นลงเรื่อยๆ ตัดสินใจได้ไว และมีเหตุผลมากขึ้นเรื่อยๆครับ หุ้นที่เคยผ่านตาแล้วก็ติดตามได้ง่ายขึ้นเรื่อยๆ
Re: แชร์มุมมองเกี่ยวกับคำว่า "อย่าโลภเกินความรู้"
โพสต์แล้ว: พุธ พ.ค. 02, 2012 9:04 am
โดย airazoc
leky เขียน:airazoc เขียน:
*** แน่นอนว่า การอัดตัวเดียวแถมมาจิ้นเข้าไปด้วย ถ้าคิดถูก เป็นไปตามคาด ก็จะรวยเร็วกว่ามาก และเราอาจจะเห็นคนทำสำเร็จมาแล้วเยอะแยะ แต่จริงๆแล้วคนที่ออกจากตลาดไปและไม่มีโอกาสกลับมาเล่าให้เราฟัง มีมากกว่านั้นอีกเยอะ ถึงแม้จะมั่นใจแค่ไหนว่าเรารู้ในกิจการนั้นจริงๆ ผมก็แนะนำว่ามีสัก 50% ก็น่าจะพอนะครับ (ท่านที่บริหารมาจิ้นเก่งๆ อาจจะถือมากกว่านี้และใช้มาจิ้นร่วมด้วย เป็นความสามารถอีกรูปแบบหนึ่งที่ผมไม่มี แต่ถ้าเพื่อนสมาชิกมีความสามารถดังกล่าวก็ถือว่าอยู่ในขอบเขตที่ผมไปไม่ถึงครับ อาจจะสามารถทำกำไรได้มากกว่าผม ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมควรยอม และยินดีกับเพื่อนสมาชิกด้วย) ผมเคยถือตัวเดียว 200% ของเงินที่มี ผมนอนไม่หลับครับ
ผมสงสัยนะครับ หลัง ๆ ดูเหมือนมีการยอมรับการใช้มาร์จิ้นกันมากขึ้น อยากถามนะครับเพราะผมเองก็ไม่เคยเล่นมาร์จิ้นและไม่คิดที่จะเล่น สมมติ
1) นลท. A เลือกหุ้น 10 ตัว ถูก 8 ตัว หมายถึงผลประกอบการดี ราคาหุ้นวิ่งขึ้นตามที่คาดการณ์ไว้
2) นลท. B เลือกหุ้น 10 ตัว ถูก 5 ตัว แต่มูลค่าพอร์ตโดยรวมกำไรมากกว่านลท. A เนื่องจากมีการใช้มาจิ้น
อยากทราบว่าแบบนี้ความเห็นของสมาชิก เราจะตัดสินได้ยังไงว่าใครมีฝีมือมากกว่ากันครับ A ควรจะมีฝีมือดีกว่า B เพราะโดยเนื้อแท้สามารถเลือกหุ้นได้เก่งกว่า B ที่อาจจะเก่งน้อยกว่า แต่ "กล้าเสี่ยง" มากกว่า หรือจะคิดว่า B เก่งกว่า A เพราะถึงแม้จะเลือกหุ้นถูกน้อยกว่าแต่ "กล้าเสี่ยง" มากกว่า
ผมคิดว่าการลงทุน เราไม่ต้องคิดว่าใครเก่งกว่าใครน่าจะสบายใจกว่าครับ ทุกคนมีปัจจัยและความสามารถในการรับความเสี่ยงต่างกัน พยายามมองสิ่งที่เราขาดอยู่เป็นหลักดีกว่าครับ
ถ้าผมเป็น A แล้วผมคิดว่าไม่ใช้มาจิ้นแล้วผมสบายใจ และมีความสุขมากกว่า กินได้นอนหลับ ผมก็คงไม่ใช้มาจิ้นอยู่อย่างนั้นแหละครับ พัฒนาความรู้ในการหาหุ้นต่อไปเรื่อยๆ สบายใจกว่า ไม่ต้องรีบ แต่ถ้าผมสามารถรับความเสี่ยงได้และมีเวลาพอจะบริหารมาจิ้น ผมก็ต้องพัฒนารูปแบบ และความสามารถในการทำ risk management ให้มากๆ ก่อนจะใช้
ถ้าผมเป็น B ผมจะลดการใช้มาจิ้นครับ แล้วไปพัฒนาการวิเคราะห์หุ้นให้ accuracy rate สูงกว่านี้เยอะๆก่อน ค่อยกลับมาใช้มาจิ้นเท่าเดิม (จากที่คุณ leky ว่ามา ผมถือว่า B เป็นคนที่บริหารมาจิ้นเก่งมาก เพราะเรทการเลือกหุ้นถูก 50% แต่กำไรเยอะกว่า A ได้ ผมขอมองว่าอยู่ในระดับที่ไม่ต้องไปพัฒนามาก ถ้าเทียบกับการหาหุ้นที่ต้องพัฒนาอีก)
การลงทุนไม่ต้องพยายามไปเก่งกว่าใครหรอกครับ เราแค่ลงทุนของเราให้ดีขึ้นเรื่อยๆก็พอ
Re: แชร์มุมมองเกี่ยวกับคำว่า "อย่าโลภเกินความรู้"
โพสต์แล้ว: พุธ พ.ค. 02, 2012 11:45 am
โดย Saran
"อย่าโลภเกินความรู้" ผมว่าเป็นคำพูดที่ไว้ใช้เตือนตอนตลาดขาขึ้นได้ดีมากๆน่ะ
อย่างน้อย คำว่าโลภ ก็ทำให้ได้หยุดคิดได้ว่า ตอนนี้เราโลภเกินไปหรือป่าว
เพราะมีหลายๆงานวิจัยก็สรุปออกมาเยอะมากว่าคนเรานั้นมักมีแนวโน้มที่ over-confidence ด้วยกันทั้งนั้น
เพียงแต่ ความรู้ในการลงทุน นั้นช่วยให้โอกาสที่จะประสบความสำเร็จากการลงทุนมีเพิ่มมากขึ้นแต่ก็ไม่ใช่ว่าจะสำเร็จได้ 100% ครับ
Re: แชร์มุมมองเกี่ยวกับคำว่า "อย่าโลภเกินความรู้"
โพสต์แล้ว: พุธ พ.ค. 02, 2012 12:39 pm
โดย leky
airazoc เขียน:leky เขียน:airazoc เขียน:
*** แน่นอนว่า การอัดตัวเดียวแถมมาจิ้นเข้าไปด้วย ถ้าคิดถูก เป็นไปตามคาด ก็จะรวยเร็วกว่ามาก และเราอาจจะเห็นคนทำสำเร็จมาแล้วเยอะแยะ แต่จริงๆแล้วคนที่ออกจากตลาดไปและไม่มีโอกาสกลับมาเล่าให้เราฟัง มีมากกว่านั้นอีกเยอะ ถึงแม้จะมั่นใจแค่ไหนว่าเรารู้ในกิจการนั้นจริงๆ ผมก็แนะนำว่ามีสัก 50% ก็น่าจะพอนะครับ (ท่านที่บริหารมาจิ้นเก่งๆ อาจจะถือมากกว่านี้และใช้มาจิ้นร่วมด้วย เป็นความสามารถอีกรูปแบบหนึ่งที่ผมไม่มี แต่ถ้าเพื่อนสมาชิกมีความสามารถดังกล่าวก็ถือว่าอยู่ในขอบเขตที่ผมไปไม่ถึงครับ อาจจะสามารถทำกำไรได้มากกว่าผม ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมควรยอม และยินดีกับเพื่อนสมาชิกด้วย) ผมเคยถือตัวเดียว 200% ของเงินที่มี ผมนอนไม่หลับครับ
ผมสงสัยนะครับ หลัง ๆ ดูเหมือนมีการยอมรับการใช้มาร์จิ้นกันมากขึ้น อยากถามนะครับเพราะผมเองก็ไม่เคยเล่นมาร์จิ้นและไม่คิดที่จะเล่น สมมติ
1) นลท. A เลือกหุ้น 10 ตัว ถูก 8 ตัว หมายถึงผลประกอบการดี ราคาหุ้นวิ่งขึ้นตามที่คาดการณ์ไว้
2) นลท. B เลือกหุ้น 10 ตัว ถูก 5 ตัว แต่มูลค่าพอร์ตโดยรวมกำไรมากกว่านลท. A เนื่องจากมีการใช้มาจิ้น
อยากทราบว่าแบบนี้ความเห็นของสมาชิก เราจะตัดสินได้ยังไงว่าใครมีฝีมือมากกว่ากันครับ A ควรจะมีฝีมือดีกว่า B เพราะโดยเนื้อแท้สามารถเลือกหุ้นได้เก่งกว่า B ที่อาจจะเก่งน้อยกว่า แต่ "กล้าเสี่ยง" มากกว่า หรือจะคิดว่า B เก่งกว่า A เพราะถึงแม้จะเลือกหุ้นถูกน้อยกว่าแต่ "กล้าเสี่ยง" มากกว่า
ผมคิดว่าการลงทุน เราไม่ต้องคิดว่าใครเก่งกว่าใครน่าจะสบายใจกว่าครับ ทุกคนมีปัจจัยและความสามารถในการรับความเสี่ยงต่างกัน พยายามมองสิ่งที่เราขาดอยู่เป็นหลักดีกว่าครับ
ถ้าผมเป็น A แล้วผมคิดว่าไม่ใช้มาจิ้นแล้วผมสบายใจ และมีความสุขมากกว่า กินได้นอนหลับ ผมก็คงไม่ใช้มาจิ้นอยู่อย่างนั้นแหละครับ พัฒนาความรู้ในการหาหุ้นต่อไปเรื่อยๆ สบายใจกว่า ไม่ต้องรีบ แต่ถ้าผมสามารถรับความเสี่ยงได้และมีเวลาพอจะบริหารมาจิ้น ผมก็ต้องพัฒนารูปแบบ และความสามารถในการทำ risk management ให้มากๆ ก่อนจะใช้
ถ้าผมเป็น B ผมจะลดการใช้มาจิ้นครับ แล้วไปพัฒนาการวิเคราะห์หุ้นให้ accuracy rate สูงกว่านี้เยอะๆก่อน ค่อยกลับมาใช้มาจิ้นเท่าเดิม (จากที่คุณ leky ว่ามา ผมถือว่า B เป็นคนที่บริหารมาจิ้นเก่งมาก เพราะเรทการเลือกหุ้นถูก 50% แต่กำไรเยอะกว่า A ได้ ผมขอมองว่าอยู่ในระดับที่ไม่ต้องไปพัฒนามาก ถ้าเทียบกับการหาหุ้นที่ต้องพัฒนาอีก)
การลงทุนไม่ต้องพยายามไปเก่งกว่าใครหรอกครับ เราแค่ลงทุนของเราให้ดีขึ้นเรื่อยๆก็พอ
มือใหม่ ๆ ควรจะต้องเข้าใจเนื้อแท้ของการลงทุนครับ อย่าไปมองแต่ว่าจะต้องเอาแบบ "เซียน" โดยเฉพาะเซียนที่ใช้ "ตัวเร่ง" แล้วประสบความสำเร็จครับ แยกแยะให้ออก หุ้นขึ้นเพราะสิ่งที่เราวิเคราะห์ไว้ถูกต้อง หรือเพราะฟลุ๊คเช่นวิเคราะห์ผิดผลประกอบการณ์ต่างจากที่คิดไว้มากแต่หุ้นขึ้นเพราะตลาดดี หุ้นตกเพราะกิจการมันแย่จริงหรือสิ่งที่เราวิเคราะห์ไม่ผิดแต่ตลาดมันแย่
Re: แชร์มุมมองเกี่ยวกับคำว่า "อย่าโลภเกินความรู้"
โพสต์แล้ว: เสาร์ มิ.ย. 02, 2012 3:54 pm
โดย torpongpak
ขอดันกระทู้คุณค่าจากพี่airazocขึ้นมาหน่อยครับ...."อย่าโลภเกินความรู้"
ผมว่าสามารถใช้ได้ไม่ว่าหุ้นจะขึ้นหรือลง...
ตอนหุ้นตก ถ้าเรามีเงินสดอยู่ นายตลาดจะส่งหุ้นดีๆมาให้เราเลือกชมเลือกชิมมากมาย หุ้นหลายตัวราคาNewlowหรือเกือบLowในรอบปี(52Wk=13เดือน) อาทิเช่นpttgcก็New low, NBC, หุ้นเครือสหพัฒน์ ICC, S & J เป็นต้น มันอาจทำให้เราโลภก็ได้นะครับ