การเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรม - ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
-
- Verified User
- โพสต์: 60
- ผู้ติดตาม: 0
การเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรม - ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 1
อุตสาหกรรมแต่ละอย่างมีการเปลี่ยนแปลงช้าเร็วไม่เท่ากัน บางอุตสาหกรรมเปลี่ยนแปลงเร็วมาก แต่บางอย่างช้ามาก การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วมักจะมีการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี หรือพฤติกรรมของคน หรือไม่ก็เกิดจากลักษณะ หรือคุณสมบัติของกิจการที่มีความอ่อนไหวต่อสภาพแวดล้อม หรือภาวะเศรษฐกิจสูง ซึ่งทำให้บางช่วงเวลาบริษัทในอุตสาหกรรมประสบกับความล้มเหลวอย่างรุนแรงและกว้างขวาง และทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรม
ผลของการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในอุตสาหกรรมที่ชัดเจน ก็คือ บริษัทที่เคยรุ่งเรืองและยิ่งใหญ่ กลายเป็นบริษัทที่ล้มเหลวตกต่ำลง ขณะเดียวกัน บริษัทที่เคยเป็นรอง หรือบริษัทขนาดเล็กเติบโตขึ้น กลายเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่แทนในระยะเวลาอันสั้น ลองมาดูกันว่าอุตสาหกรรมอะไรที่เปลี่ยนเร็ว และอุตสาหกรรมอะไรที่เปลี่ยนช้า
อุตสาหกรรมที่เปลี่ยนแปลงเร็วที่สุด คือ อุตสาหกรรมไฮเทคทั้งหลาย โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และการสื่อสารโทรคมนาคม เพราะนี่คือภาคอุตสาหกรรมที่มีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วทางเทคโนโลยีและการประยุกต์ใช้ ถ้าลองนึกย้อนหลังไปไม่นานนัก พบว่า บริษัทที่ยิ่งใหญ่ในอดีตจำนวนมาก บัดนี้กลายเป็นบริษัทที่ "มีปัญหา" ไล่ตั้งแต่อดีตยาวนาน ก็มี บริษัท เท็กซัสอินสตรูเม้นท์ ที่โด่งดังมากสมัย 40 ปีก่อน ที่ผมยังเรียนวิศวกรรมในมหาวิทยาลัยที่เป็นผู้ผลิตเครื่องคิดเลขเครื่องแรกๆ ของโลกและ ฟิลิปส์ ฟิชเชอร์ ปรมาจารย์การลงทุนคนหนึ่งที่ บัฟเฟตต์ ยกย่อง กล่าวถึงว่าเป็นบริษัทที่เป็น "ซูเปอร์สต็อก" แต่เดี๋ยวนี้ไม่รู้อยู่ไหน
ต่อมาก็มีบริษัท IBM คอมพิวเตอร์ หรือ BIG BLUE หรือ "ยักษ์สีฟ้า" สัญลักษณ์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่เป็นตัวแทนของอเมริกันที่เป็น "จ้าวแห่งเทคโนโลยีโลก" แต่แล้ว บริษัทเล็กๆ ก่อตั้งโดยเด็กอายุไม่ถึง 20 ปีชื่อ ไมโครซอฟท์ ก็ก้าวขึ้นมาแข่งขันด้วยซอฟต์แวร์ควบคุม "คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล" ที่ในที่สุดสามารถแย่งชิงการนำในธุรกิจคอมพิวเตอร์ และกลายเป็น "ราชันย์แห่งโลกของไอที" ในเวลาอันสั้น แม้บริษัท IBM ก็ยังยิ่งใหญ่อยู่ แต่บทบาทในฐานะผู้นำทางด้านธุรกิจก็แทบไม่เหลือแล้ว
มาถึงยุคของโทรคมนาคม เรามีโมโตโรล่า ที่ในยุคแรกของโทรศัพท์มือถือ ทุกคนต้องใช้เครื่องของโมโตโรล่า แต่แล้วในเวลาไม่นานนัก ทุกคนต่างต้องการใช้มือถือของโนเกีย บริษัทสุดยอดด้านไฮเทคจากฟินแลนด์ ที่อดีตถูกปรามาสว่าเป็น "ประเทศหลังเขาแห่งยุโรป" โนเกียกลายเป็นความภาคภูมิใจของฟินแลนด์และหุ้นโนเกีย ใหญ่คับตลาดหุ้นฟินแลนด์ แต่แล้ว โนเกียก็ประสบชะตากรรมแบบเดียวกับโมโตโรล่า เพราะบริษัทกำลังประสบกับปัญหา เนื่องจากแอ๊ปเปิ้ลได้เข้ามายึดกุมตลาดของสมาร์ทโฟนที่เป็นที่คลั่งไคล้ของคนทั้งโลก หุ้นของแอ๊ปเปิ้ลกลายเป็นหุ้นที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ผมยังไม่ได้พูดถึงบริษัทไฮเทคที่เคยยิ่งใหญ่จำนวนมาก อาทิเช่น พานาโซนิค โซนี่ ชาร์ป หรือ บริษัทโกดัก ต่างก็ตกลงมาจากจุดสูง และแทนที่อาจจะโดยซัมซุงและบริษัทที่เคย "รองบ่อน" อื่นๆ เพราะคงไม่มีเนื้อที่พอที่จะกล่าวถึง และนี่ยังไม่นับผู้เล่นที่กำลังกลายเป็น "ราชัน" ใหม่ๆ อย่าง กูเกิลและเฟซบุ๊ค ประเด็นของผม คือ "ราชัน" ในวันนี้อาจกลายเป็น "ยาจก" ในวันข้างหน้าได้ บางทีในเวลาไม่นานนัก
อีกด้านหนึ่ง อุตสาหกรรมอาหารเป็นอุตสาหกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงช้ามาก โค้ก เป็นเครื่องดื่มที่ยิ่งใหญ่ระดับโลกมาช้านานอาจจะเกือบร้อยปี ถึงวันนี้โค้กก็ยังยิ่งใหญ่เหมือนเดิม หรือยิ่งใหญ่ขึ้น โดยที่ไม่มีทีท่าว่าจะมีเครื่องดื่มชนิดไหนมาแซงได้ เช่นเดียวกัน แมคโดนัลด์ ก็เป็นอาหารที่ยิ่งใหญ่พอๆ กันและนับวันมันจะขยายไปทั่วโลก โดยที่ยังหาคนที่มาต่อกรได้ยาก นอกจากอาหารแล้ว ธุรกิจค้าปลีกประเภทขายสินค้าราคาถูกอย่างวอลมาร์ท คาร์ฟูร์ และเทสโก้ เหล่านี้ต่างก็เป็นผู้นำในตลาดของประเทศตนเอง และตลาดโลกมาช้านาน โดยที่ไม่มีความเสี่ยงที่จะมีคู่แข่งมาทำลายตำแหน่งของตนเองได้ เป็นที่น่าสังเกตว่าทั้งสองอุตสาหกรรมต่างก็เป็นธุรกิจ "โลว์เทค" ที่มีการใช้เทคโนโลยีน้อยมาก
อุตสาหกรรมที่น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงเร็วระดับกลางๆ ผมคิดว่า น่าจะอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีความไวต่อสภาวะเศรษฐกิจ หรือมีความเกี่ยวเนื่องกับเทคโนโลยี ตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรมการเงินการธนาคาร ที่มักจะมีการเปลี่ยนแปลงในช่วงภาวะวิกฤติที่ทำให้ผู้นำ หรือบริษัทที่โดดเด่นแต่บริหารงานอย่างไม่ระมัดระวังต้องประสบปัญหาล้มหายตายจากไปและมีบริษัทระดับรองก้าวขึ้นมาแทนที่ เช่นเดียวกัน การวางกลยุทธ์ หรือการบริหารงานที่ผิดพลาด อาจจะทำให้บริษัทที่เป็นผู้นำค่อยๆ เสียส่วนแบ่งการตลาดไปทีละน้อยจนในที่สุดกลายเป็นผู้ตามได้
กลับมาที่ตลาดหุ้นไทย ค่าที่ว่าเราไม่มีอุตสาหกรรมไฮเทคจริงๆ ผมจึงลองมาคิดดูว่าอุตสาหกรรมอะไร ที่น่าจะถือว่ามีการเปลี่ยนแปลงเร็ว คำตอบของผมคือ ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะที่ทำเพื่อขาย เช่น บริษัทขายบ้านจัดสรร เหตุผลก็คือ นี่คือธุรกิจที่ต้อง "นับหนึ่งใหม่" ทุกปี เพราะลูกค้าเดิมไม่ซื้อซ้ำ ดังนั้น เราจึงเห็นบริษัทที่เป็นผู้นำอันดับหนึ่งมีการเปลี่ยนแปลงไปเร็วมาก ระหว่างอันดับหนึ่งกับอันดับ 2 และ 3 ยอดขายไม่ได้ทิ้งห่างกัน และดูเหมือนว่าโอกาสที่อันดับหนึ่งอาจจะ "แพ้" เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
ธุรกิจการเงินเองซึ่งรวมถึงธนาคารด้วย ดูเหมือนว่า จะเปลี่ยนแปลงที่เร็วพอสมควร อันดับหรือความโดดเด่น อยู่ในระดับที่สู้กันได้อย่างน้อยใน 3 อันดับแรก ในธุรกิจหลักทรัพย์ ผมคิดว่ามีโอกาสที่ผู้นำจะเปลี่ยนแปลงได้เสมอ บางทีอาจจะเกิดขึ้นจากการขยายตัวภายใน หรืออาจจะมีการควบรวมกับรายอื่นทำให้สถานะและความสามารถในการแข่งขันเปลี่ยนแปลงไปในเวลาไม่นานนัก
เช่นเดียวกับต่างประเทศ อุตสาหกรรมเกี่ยวกับอาหาร ค้าปลีก และอาจจะรวมถึงพลังงาน น่าจะเปลี่ยนแปลงไปช้า ผู้นำก็ยังคงเป็นผู้นำ ตำแหน่งทางการตลาด ไม่น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปได้ง่าย เช่นเดียวกับผลประกอบการที่มักจะมีความสม่ำเสมอมากกว่าธุรกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงเร็ว
ธุรกิจไอที สื่อสาร บันเทิง สื่อ และสิ่งพิมพ์ น่าจะเปลี่ยนแปลงที่เร็วพอสมควร โดยเฉพาะช่วงที่มีเทคโนโลยีและการกำกับควบคุมใหม่ๆ เกิดขึ้น ในธุรกิจเหล่านี้ บางทีเราต้องระวังว่าผู้นำอาจจะเพลี่ยงพล้ำและผู้ตามหรือผู้เล่นหน้าใหม่ขึ้นมากลายเป็น "ดารา" ได้
มองในมิติของหุ้น ผมเองไม่ชอบอุตสาหกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงเร็ว เพราะบริษัทในอุตสาหกรรมจะมีความเสี่ยงมากกว่าปกติ บ่อยครั้งผมจะหลีกเลี่ยง โดยเฉพาะถ้ากำลังอยู่ในช่วงที่เปลี่ยนแปลงรุนแรง แต่ถ้าผมคิดจะลงทุนในอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนแปลงเร็ว ผมมัก "ขอส่วนลด" หรือให้ค่า PE ของหุ้นต่ำกว่าหุ้นของบริษัทที่มีสถานะใกล้เคียงกันแต่อยู่ในอุตสาหกรรมที่ "มั่นคง" กว่า
8 พฤษภาคม 2555
คอลัมน์ โลกในมุมมองของ Value Investor ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
http://bit.ly/J2XlLp
ผลของการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในอุตสาหกรรมที่ชัดเจน ก็คือ บริษัทที่เคยรุ่งเรืองและยิ่งใหญ่ กลายเป็นบริษัทที่ล้มเหลวตกต่ำลง ขณะเดียวกัน บริษัทที่เคยเป็นรอง หรือบริษัทขนาดเล็กเติบโตขึ้น กลายเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่แทนในระยะเวลาอันสั้น ลองมาดูกันว่าอุตสาหกรรมอะไรที่เปลี่ยนเร็ว และอุตสาหกรรมอะไรที่เปลี่ยนช้า
อุตสาหกรรมที่เปลี่ยนแปลงเร็วที่สุด คือ อุตสาหกรรมไฮเทคทั้งหลาย โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และการสื่อสารโทรคมนาคม เพราะนี่คือภาคอุตสาหกรรมที่มีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วทางเทคโนโลยีและการประยุกต์ใช้ ถ้าลองนึกย้อนหลังไปไม่นานนัก พบว่า บริษัทที่ยิ่งใหญ่ในอดีตจำนวนมาก บัดนี้กลายเป็นบริษัทที่ "มีปัญหา" ไล่ตั้งแต่อดีตยาวนาน ก็มี บริษัท เท็กซัสอินสตรูเม้นท์ ที่โด่งดังมากสมัย 40 ปีก่อน ที่ผมยังเรียนวิศวกรรมในมหาวิทยาลัยที่เป็นผู้ผลิตเครื่องคิดเลขเครื่องแรกๆ ของโลกและ ฟิลิปส์ ฟิชเชอร์ ปรมาจารย์การลงทุนคนหนึ่งที่ บัฟเฟตต์ ยกย่อง กล่าวถึงว่าเป็นบริษัทที่เป็น "ซูเปอร์สต็อก" แต่เดี๋ยวนี้ไม่รู้อยู่ไหน
ต่อมาก็มีบริษัท IBM คอมพิวเตอร์ หรือ BIG BLUE หรือ "ยักษ์สีฟ้า" สัญลักษณ์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่เป็นตัวแทนของอเมริกันที่เป็น "จ้าวแห่งเทคโนโลยีโลก" แต่แล้ว บริษัทเล็กๆ ก่อตั้งโดยเด็กอายุไม่ถึง 20 ปีชื่อ ไมโครซอฟท์ ก็ก้าวขึ้นมาแข่งขันด้วยซอฟต์แวร์ควบคุม "คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล" ที่ในที่สุดสามารถแย่งชิงการนำในธุรกิจคอมพิวเตอร์ และกลายเป็น "ราชันย์แห่งโลกของไอที" ในเวลาอันสั้น แม้บริษัท IBM ก็ยังยิ่งใหญ่อยู่ แต่บทบาทในฐานะผู้นำทางด้านธุรกิจก็แทบไม่เหลือแล้ว
มาถึงยุคของโทรคมนาคม เรามีโมโตโรล่า ที่ในยุคแรกของโทรศัพท์มือถือ ทุกคนต้องใช้เครื่องของโมโตโรล่า แต่แล้วในเวลาไม่นานนัก ทุกคนต่างต้องการใช้มือถือของโนเกีย บริษัทสุดยอดด้านไฮเทคจากฟินแลนด์ ที่อดีตถูกปรามาสว่าเป็น "ประเทศหลังเขาแห่งยุโรป" โนเกียกลายเป็นความภาคภูมิใจของฟินแลนด์และหุ้นโนเกีย ใหญ่คับตลาดหุ้นฟินแลนด์ แต่แล้ว โนเกียก็ประสบชะตากรรมแบบเดียวกับโมโตโรล่า เพราะบริษัทกำลังประสบกับปัญหา เนื่องจากแอ๊ปเปิ้ลได้เข้ามายึดกุมตลาดของสมาร์ทโฟนที่เป็นที่คลั่งไคล้ของคนทั้งโลก หุ้นของแอ๊ปเปิ้ลกลายเป็นหุ้นที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ผมยังไม่ได้พูดถึงบริษัทไฮเทคที่เคยยิ่งใหญ่จำนวนมาก อาทิเช่น พานาโซนิค โซนี่ ชาร์ป หรือ บริษัทโกดัก ต่างก็ตกลงมาจากจุดสูง และแทนที่อาจจะโดยซัมซุงและบริษัทที่เคย "รองบ่อน" อื่นๆ เพราะคงไม่มีเนื้อที่พอที่จะกล่าวถึง และนี่ยังไม่นับผู้เล่นที่กำลังกลายเป็น "ราชัน" ใหม่ๆ อย่าง กูเกิลและเฟซบุ๊ค ประเด็นของผม คือ "ราชัน" ในวันนี้อาจกลายเป็น "ยาจก" ในวันข้างหน้าได้ บางทีในเวลาไม่นานนัก
อีกด้านหนึ่ง อุตสาหกรรมอาหารเป็นอุตสาหกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงช้ามาก โค้ก เป็นเครื่องดื่มที่ยิ่งใหญ่ระดับโลกมาช้านานอาจจะเกือบร้อยปี ถึงวันนี้โค้กก็ยังยิ่งใหญ่เหมือนเดิม หรือยิ่งใหญ่ขึ้น โดยที่ไม่มีทีท่าว่าจะมีเครื่องดื่มชนิดไหนมาแซงได้ เช่นเดียวกัน แมคโดนัลด์ ก็เป็นอาหารที่ยิ่งใหญ่พอๆ กันและนับวันมันจะขยายไปทั่วโลก โดยที่ยังหาคนที่มาต่อกรได้ยาก นอกจากอาหารแล้ว ธุรกิจค้าปลีกประเภทขายสินค้าราคาถูกอย่างวอลมาร์ท คาร์ฟูร์ และเทสโก้ เหล่านี้ต่างก็เป็นผู้นำในตลาดของประเทศตนเอง และตลาดโลกมาช้านาน โดยที่ไม่มีความเสี่ยงที่จะมีคู่แข่งมาทำลายตำแหน่งของตนเองได้ เป็นที่น่าสังเกตว่าทั้งสองอุตสาหกรรมต่างก็เป็นธุรกิจ "โลว์เทค" ที่มีการใช้เทคโนโลยีน้อยมาก
อุตสาหกรรมที่น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงเร็วระดับกลางๆ ผมคิดว่า น่าจะอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีความไวต่อสภาวะเศรษฐกิจ หรือมีความเกี่ยวเนื่องกับเทคโนโลยี ตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรมการเงินการธนาคาร ที่มักจะมีการเปลี่ยนแปลงในช่วงภาวะวิกฤติที่ทำให้ผู้นำ หรือบริษัทที่โดดเด่นแต่บริหารงานอย่างไม่ระมัดระวังต้องประสบปัญหาล้มหายตายจากไปและมีบริษัทระดับรองก้าวขึ้นมาแทนที่ เช่นเดียวกัน การวางกลยุทธ์ หรือการบริหารงานที่ผิดพลาด อาจจะทำให้บริษัทที่เป็นผู้นำค่อยๆ เสียส่วนแบ่งการตลาดไปทีละน้อยจนในที่สุดกลายเป็นผู้ตามได้
กลับมาที่ตลาดหุ้นไทย ค่าที่ว่าเราไม่มีอุตสาหกรรมไฮเทคจริงๆ ผมจึงลองมาคิดดูว่าอุตสาหกรรมอะไร ที่น่าจะถือว่ามีการเปลี่ยนแปลงเร็ว คำตอบของผมคือ ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะที่ทำเพื่อขาย เช่น บริษัทขายบ้านจัดสรร เหตุผลก็คือ นี่คือธุรกิจที่ต้อง "นับหนึ่งใหม่" ทุกปี เพราะลูกค้าเดิมไม่ซื้อซ้ำ ดังนั้น เราจึงเห็นบริษัทที่เป็นผู้นำอันดับหนึ่งมีการเปลี่ยนแปลงไปเร็วมาก ระหว่างอันดับหนึ่งกับอันดับ 2 และ 3 ยอดขายไม่ได้ทิ้งห่างกัน และดูเหมือนว่าโอกาสที่อันดับหนึ่งอาจจะ "แพ้" เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
ธุรกิจการเงินเองซึ่งรวมถึงธนาคารด้วย ดูเหมือนว่า จะเปลี่ยนแปลงที่เร็วพอสมควร อันดับหรือความโดดเด่น อยู่ในระดับที่สู้กันได้อย่างน้อยใน 3 อันดับแรก ในธุรกิจหลักทรัพย์ ผมคิดว่ามีโอกาสที่ผู้นำจะเปลี่ยนแปลงได้เสมอ บางทีอาจจะเกิดขึ้นจากการขยายตัวภายใน หรืออาจจะมีการควบรวมกับรายอื่นทำให้สถานะและความสามารถในการแข่งขันเปลี่ยนแปลงไปในเวลาไม่นานนัก
เช่นเดียวกับต่างประเทศ อุตสาหกรรมเกี่ยวกับอาหาร ค้าปลีก และอาจจะรวมถึงพลังงาน น่าจะเปลี่ยนแปลงไปช้า ผู้นำก็ยังคงเป็นผู้นำ ตำแหน่งทางการตลาด ไม่น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปได้ง่าย เช่นเดียวกับผลประกอบการที่มักจะมีความสม่ำเสมอมากกว่าธุรกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงเร็ว
ธุรกิจไอที สื่อสาร บันเทิง สื่อ และสิ่งพิมพ์ น่าจะเปลี่ยนแปลงที่เร็วพอสมควร โดยเฉพาะช่วงที่มีเทคโนโลยีและการกำกับควบคุมใหม่ๆ เกิดขึ้น ในธุรกิจเหล่านี้ บางทีเราต้องระวังว่าผู้นำอาจจะเพลี่ยงพล้ำและผู้ตามหรือผู้เล่นหน้าใหม่ขึ้นมากลายเป็น "ดารา" ได้
มองในมิติของหุ้น ผมเองไม่ชอบอุตสาหกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงเร็ว เพราะบริษัทในอุตสาหกรรมจะมีความเสี่ยงมากกว่าปกติ บ่อยครั้งผมจะหลีกเลี่ยง โดยเฉพาะถ้ากำลังอยู่ในช่วงที่เปลี่ยนแปลงรุนแรง แต่ถ้าผมคิดจะลงทุนในอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนแปลงเร็ว ผมมัก "ขอส่วนลด" หรือให้ค่า PE ของหุ้นต่ำกว่าหุ้นของบริษัทที่มีสถานะใกล้เคียงกันแต่อยู่ในอุตสาหกรรมที่ "มั่นคง" กว่า
8 พฤษภาคม 2555
คอลัมน์ โลกในมุมมองของ Value Investor ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
http://bit.ly/J2XlLp
-
- Verified User
- โพสต์: 571
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรม - ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 3
เห็นด้วยครับผม ขอบคุณครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 262
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรม - ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 5
ขอบคุณ จขกท. และ อ.นิเวศน์ เป็นอย่างยิ่งครับผม
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2603
- ผู้ติดตาม: 1
Re: การเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรม - ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 6
เห็นด้วยเหมาะกับช่วงนี้มากๆครับ หุ้นที่กำลังร้อนเเรงอยู่ช่วงนี้ เป็นเพราะความ"คาดหวัง"ที่เปลี่ยนเเปลงหรือเป็นตัว"ธุรกิจ"ที่เปลี่ยนเเปลงกันเเน่?
คนเราจะมีความสุข มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่ามีเท่าไร เเต่ขึ้นกับว่า เราพอเมื่อไร
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
- py106
- Verified User
- โพสต์: 296
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรม - ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 7
Many thanks for the sharing
แวะไปเยี่ยมเยียนกันได้ครับ ^^
http://py106travel.blogspot.com
http://py106travel.blogspot.com
- chukieat30
- Verified User
- โพสต์: 3531
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรม - ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 8
เช่นเดียวกับต่างประเทศ อุตสาหกรรมเกี่ยวกับอาหาร ค้าปลีก และอาจจะรวมถึงพลังงาน น่าจะเปลี่ยนแปลงไปช้า ผู้นำก็ยังคงเป็นผู้นำ ตำแหน่งทางการตลาด ไม่น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปได้ง่าย เช่นเดียวกับผลประกอบการที่มักจะมีความสม่ำเสมอมากกว่าธุรกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงเร็ว
ขอบคุณครับท่านอาจารย์
ธรรมชาติ สอนผมว่า เมื่อมืดก้มีสว่าง เมื่อมีหนาวก้มีร้อน
ครั้งนึง เราเคยมองว่าอาหารจะล้นโลก จนต้องเร่งพัฒนาอุตสาหกรรม
แต่เมื่อ อุตสาหกรรมถึงจุดพีคแล้ว อาหารและการเกษตรกลับขาดแคลน
เฉกเช่นเดียวกับบ้านเราที่ ช่วงนึงปาลม์ขาดจนต้องโค่นยางตอนราคายางตกต่ำไปปลูกปาลม์
แต่พอราคาปาลม์ถูก คนก้จะหันไปปลูกยางแทน
เมื่ออาหารและเกษตร ซึ่งมันเคยเป็นพระอาทิตย์ตกดิน ในสายตาหลายๆคน
มันก้ต้องมีช่วง ที่เป็นพระอาทิตย์ขึ้นครับ
สำหรับอาหารและเกษตร
ขอบคุณครับท่านอาจารย์
ธรรมชาติ สอนผมว่า เมื่อมืดก้มีสว่าง เมื่อมีหนาวก้มีร้อน
ครั้งนึง เราเคยมองว่าอาหารจะล้นโลก จนต้องเร่งพัฒนาอุตสาหกรรม
แต่เมื่อ อุตสาหกรรมถึงจุดพีคแล้ว อาหารและการเกษตรกลับขาดแคลน
เฉกเช่นเดียวกับบ้านเราที่ ช่วงนึงปาลม์ขาดจนต้องโค่นยางตอนราคายางตกต่ำไปปลูกปาลม์
แต่พอราคาปาลม์ถูก คนก้จะหันไปปลูกยางแทน
เมื่ออาหารและเกษตร ซึ่งมันเคยเป็นพระอาทิตย์ตกดิน ในสายตาหลายๆคน
มันก้ต้องมีช่วง ที่เป็นพระอาทิตย์ขึ้นครับ
สำหรับอาหารและเกษตร
ถ้าคุณตีลูกตามไทเกอร์ คุณก้ไม่มีทางจะเหนือกว่า ไทเกอร์ จงนำวงสวิงของไทเกอร์มาปรับใช้ให้เหมาะกับคุณ
หวิ่งชุนหวอซาน หวิ่งชุนยิปมันจีทคุดโด้ พื้นฐานก้มาจากหวิ่งชุน แม้ชื่อจะต่าง
แต่หวิ่งชุนก้คือ หวิ่งชุน
ทำวันนี้ให้ดี ทำพรุ่งนี้ให้ดีกว่า และทำวันข้างหน้าให้ดีที่สุด
หวิ่งชุนหวอซาน หวิ่งชุนยิปมันจีทคุดโด้ พื้นฐานก้มาจากหวิ่งชุน แม้ชื่อจะต่าง
แต่หวิ่งชุนก้คือ หวิ่งชุน
ทำวันนี้ให้ดี ทำพรุ่งนี้ให้ดีกว่า และทำวันข้างหน้าให้ดีที่สุด
- chukieat30
- Verified User
- โพสต์: 3531
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรม - ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 9
ผมมองว่า อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร ตะวันขึ้นแล้วครับ หลังจากผ่านช่วงตกดิน
คนเราต้อง ทานข้าว ต้องกินอาหาร
ดังนั้น ทั้งน้ำและอาหารจะขาดไม่ได้ จะกุ้งจะหมูจะแพงไก่จะแพงก้ยังต้องกินต่อไป
ประชากรโลกเพิ่มทุกปี แต่พื้นที่การปลูกอาหารลดลงทุกปี
ไม่แน่ว่าในอนาคต อาจจะเป็นแบบที่เค้าว่า food is the last resource.
มีเงิน มีทอง ก้ต้องมีไว้เพื่อซื้ออาหาร
คนเราต้อง ทานข้าว ต้องกินอาหาร
ดังนั้น ทั้งน้ำและอาหารจะขาดไม่ได้ จะกุ้งจะหมูจะแพงไก่จะแพงก้ยังต้องกินต่อไป
ประชากรโลกเพิ่มทุกปี แต่พื้นที่การปลูกอาหารลดลงทุกปี
ไม่แน่ว่าในอนาคต อาจจะเป็นแบบที่เค้าว่า food is the last resource.
มีเงิน มีทอง ก้ต้องมีไว้เพื่อซื้ออาหาร
ถ้าคุณตีลูกตามไทเกอร์ คุณก้ไม่มีทางจะเหนือกว่า ไทเกอร์ จงนำวงสวิงของไทเกอร์มาปรับใช้ให้เหมาะกับคุณ
หวิ่งชุนหวอซาน หวิ่งชุนยิปมันจีทคุดโด้ พื้นฐานก้มาจากหวิ่งชุน แม้ชื่อจะต่าง
แต่หวิ่งชุนก้คือ หวิ่งชุน
ทำวันนี้ให้ดี ทำพรุ่งนี้ให้ดีกว่า และทำวันข้างหน้าให้ดีที่สุด
หวิ่งชุนหวอซาน หวิ่งชุนยิปมันจีทคุดโด้ พื้นฐานก้มาจากหวิ่งชุน แม้ชื่อจะต่าง
แต่หวิ่งชุนก้คือ หวิ่งชุน
ทำวันนี้ให้ดี ทำพรุ่งนี้ให้ดีกว่า และทำวันข้างหน้าให้ดีที่สุด
- KGYF
- Verified User
- โพสต์: 399
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรม - ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 10
ขอบคุณมากครับ
" สัพพะทานัง ธัมมะทานัง ชินาติ = การให้ธรรมะเป็นทาน ย่อมชนะการให้ทั้งปวง "
" ทุกข์มี เพราะยึด ทุกข์ยืด เพราะอยาก ทุกข์มาก เพราะพลอย ทุกข์น้อย เพราะหยุด ทุกข์หลุด เพราะปล่อย"
" ทุกข์มี เพราะยึด ทุกข์ยืด เพราะอยาก ทุกข์มาก เพราะพลอย ทุกข์น้อย เพราะหยุด ทุกข์หลุด เพราะปล่อย"
-
- Verified User
- โพสต์: 390
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรม - ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 12
ขอบคุณ ท่านเจ้าของกระทู้ และ ดร.นิเวศน์ ฯ ครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 232
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรม - ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 13
วิกฤติการเงินรอบใหม่อาจจะเกิดจาก FACEBOOK หรือหุ่นเทคโนโลยีอื่น ๆ
ผมมองว่าตลาดให้ราคาหุ้นเทคโนโลยี เว่อมาก และใช้เงินอย่างบ้าคลั่ง FACEBOOK ซื้อ Instagram โปรแกรม ถ่ายรูปที่เป็นกระแส ชั่วคราวด้วยวงเงินเป้นพันล้าน และซื้อเกมส์ต่าง ๆ มา ใช้เงิน อย่างเยอะ รายได้และกำไรของบริษัท ก็ยังไม่ชัดเลย จะมาจากไหน ผมว่าน่ากลัวและเป็นห่วงบริษัทพวกนี้
ขอบคุณท่านอาจารย์ มุมมองเฉียบคมเสมอครับ
ยังไงค้าปลีก กลุ่มอาหาร กลุ่มสุขภาพ ก็เป็นอะไรที่ยั่งยืนครับ จริงแท้และตลอดไป
ผมมองว่าตลาดให้ราคาหุ้นเทคโนโลยี เว่อมาก และใช้เงินอย่างบ้าคลั่ง FACEBOOK ซื้อ Instagram โปรแกรม ถ่ายรูปที่เป็นกระแส ชั่วคราวด้วยวงเงินเป้นพันล้าน และซื้อเกมส์ต่าง ๆ มา ใช้เงิน อย่างเยอะ รายได้และกำไรของบริษัท ก็ยังไม่ชัดเลย จะมาจากไหน ผมว่าน่ากลัวและเป็นห่วงบริษัทพวกนี้
ขอบคุณท่านอาจารย์ มุมมองเฉียบคมเสมอครับ
ยังไงค้าปลีก กลุ่มอาหาร กลุ่มสุขภาพ ก็เป็นอะไรที่ยั่งยืนครับ จริงแท้และตลอดไป
- arjin
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 238
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรม - ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 14
ขอบคุณสำหรับบทความครับ แต่ขอเพิ่มข้อมูลตรง IBM หน่อย จริงอยู่ว่าวันนี้ IBM ไม่มีบทบาทในฐานะผู้ผลิตคอมพิวเตอร์แล้ว (ถ้าวัดความใหญ่ ก็สมัยก่อนคอมพิวเตอร์มีสองแบบคือแบบไอบีเอ็มกับแอปเปิลนั่นแหละ) และก็จริงอีกที่ ณ เวลาหนึ่ง Microsoft ขึ้นแซง IBM ด้วยความเป็นบริษัท Software
แต่ความจริงวันนี้คือ IBM เลือกทิ้งอดีตอันยิ่งใหญ่แล้วเปลี่ยนแนวทางธุรกิจเป็นบริษัท IT Solution ผลที่ได้นั้นใหญ่หรือไม่ใหญ่ ก็พิสูจน์ได้จากตอนนี้มูลค่ากิจการในตลาดหลักทรัพย์ IBM ก็แซงหน้า Microsoft ไปแล้ว
การเปลี่ยน Core Business ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาทำให้ IBM มีภาพกลายเป็นบริษัทที่มีศักยภาพเปลี่ยนแปลงตัวเองได้รวดเร็วตามกับเทคโนโลยีใหม่ในอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนแปลงเร็วแล้วนำเทคโนโลยีมาขายเป็นบริการด้านไอทีให้กับลูกค้า ซึ่งนั่นเป็นเหตุผลให้ Warren Buffett ตัดสินใจลงทุนใน IBM ถึงกว่าหมื่นล้านเหรียญในปีที่แล้วครับ
IBM เป็นตัวอย่างที่น่าสนใจของบริษัทที่เปลี่ยนตัวเองจากการไล่ล่าขายและผลิตเทคโนโลยีนวัตกรรมใหม่ๆ มาเป็นบริษัทผู้ให้บริการเทคโนโลยีสำหรับองค์กรซึ่งลดความเสี่ยงทางธุรกิจได้มากครับ กำไรและรายได้ของ IBM ช่วงหลายปีให้หลังนั่นค่อนข้างแข็งแรงมาก
แต่ความจริงวันนี้คือ IBM เลือกทิ้งอดีตอันยิ่งใหญ่แล้วเปลี่ยนแนวทางธุรกิจเป็นบริษัท IT Solution ผลที่ได้นั้นใหญ่หรือไม่ใหญ่ ก็พิสูจน์ได้จากตอนนี้มูลค่ากิจการในตลาดหลักทรัพย์ IBM ก็แซงหน้า Microsoft ไปแล้ว
การเปลี่ยน Core Business ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาทำให้ IBM มีภาพกลายเป็นบริษัทที่มีศักยภาพเปลี่ยนแปลงตัวเองได้รวดเร็วตามกับเทคโนโลยีใหม่ในอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนแปลงเร็วแล้วนำเทคโนโลยีมาขายเป็นบริการด้านไอทีให้กับลูกค้า ซึ่งนั่นเป็นเหตุผลให้ Warren Buffett ตัดสินใจลงทุนใน IBM ถึงกว่าหมื่นล้านเหรียญในปีที่แล้วครับ
IBM เป็นตัวอย่างที่น่าสนใจของบริษัทที่เปลี่ยนตัวเองจากการไล่ล่าขายและผลิตเทคโนโลยีนวัตกรรมใหม่ๆ มาเป็นบริษัทผู้ให้บริการเทคโนโลยีสำหรับองค์กรซึ่งลดความเสี่ยงทางธุรกิจได้มากครับ กำไรและรายได้ของ IBM ช่วงหลายปีให้หลังนั่นค่อนข้างแข็งแรงมาก
อะไรก็ได้ ...