ถอดรหัสลงทุนสไตล์ 'วอร์เรน บัฟเฟตต์'
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. พ.ค. 17, 2012 12:36 pm
วันที่ 17 พฤษภาคม 2555 06:09
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
กางพอร์ตลงทุนล่าสุด "เบิร์กไชร์ แฮทอะเวย์" จับทางความรวยสไตล์ "วอร์เรน บัฟเฟตต์"
การขยับของ "เบิร์กไชร์ แฮทอะเวย์" เป็นที่จับตามองของนักลงทุนทั่วโลก เพราะอาณาจักรด้านการลงทุนแห่งนี้สร้างความมั่งคั่งให้ "วอร์เรน บัฟเฟตต์" มหาเศรษฐีพันล้านที่ได้ฉายา "เทพพยากรณ์แห่งโอมาฮา" ทำให้หลายคนอยากรู้เคล็ดลับการลงทุนของบัฟเฟตต์ ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของเบิร์กไชร์ฯ
ล่าสุด เบิร์กไชร์ฯ รายงานต่อคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ของสหรัฐว่า ในไตรมาสแรกปีนี้ บริษัทซื้อหุ้นใน "เจนเนอรัล มอเตอร์ส" (จีเอ็ม) เพิ่มอีก 10 ล้านหุ้น คิดเป็นมูลค่าประมาณ 214 ล้านดอลลาร์
การลงทุนดังกล่าว เกิดขึ้นหลังค่ายรถอเมริกันรายนี้ ฟื้นจากภาวะล้มละลายเมื่อ 3 ปีก่อน โดยทำยอดขายในตลาดสหรัฐได้เพิ่มขึ้น และรายงานรายได้สุทธิ 1 พันล้านดอลลาร์ ในไตรมาสแรก การขยับครั้งนี้ยังสะท้อนความชื่นชอบส่วนตัวที่มีต่อค่ายรถแห่งนี้ ซึ่งคุณปู่บัฟเฟตต์ขับรถคาร์ดิลแลค ดีทีเอส ของจีเอ็ม และเขาไม่ได้ลงทุนในฟอร์ด หรือไครสเลอร์ บริษัทรถยนต์เพียงรายเดียวที่เบิร์กไชร์ฯ ประกาศออกสื่อว่าเข้าไปลงทุนซื้อหุ้น 10% คือ บริษัทผลิตรถยนต์ไฟฟ้า "บีวายดี"
นอกจากนี้ เบิร์กไชร์ฯ ยังเพิ่มหุ้นยักษ์ค้าปลีก "วอล-มาร์ต" ในพอร์ตลงทุนอีก 8 ล้านหุ้น รวมเป็น 46.7 ล้านหุ้น ซึ่งเป็นการตัดสินใจก่อนจะเกิดกรณีฉาวเรื่องสินบนของวอล-มาร์ตในเม็กซิโก
แม้เบิร์กไชร์ฯ จะไม่ได้รายงานรายละเอียดการลงทุนทั้งหมด เพราะผู้คุมกฎยินยอมให้บริษัทไม่ต้องรายงานทุกอย่าง เพราะนักลงทุนต่างจับตาจังหวะก้าวของบัฟเฟตต์อย่างใกล้ชิด ในฐานะผู้ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง
แต่ในพอร์ตลงทุนมูลค่า 7.53 หมื่นล้านดอลลาร์ของเบิร์กไชร์ฯ ในไตรมาสแรกปีนี้ บริษัทได้เริ่มซื้อหุ้นในเวียคอม 1.6 ล้านหุ้น มาเก็บไว้ในพอร์ต ขณะที่เพิ่มการลงทุนในไดเร็คท์ทีวี ลิเบอร์ตี้ มีเดีย ดาวิต้า อิงค์ และแบงก์ ออฟ นิวยอร์ก เมลลอน
ส่วนหุ้นที่ถูกลดน้ำหนัก คือ อินเทล คอร์ป คราฟท์ ฟู้ดส์ ดอลลาร์ เจนเนอรัล พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล และเวริสค์ อะนาไลติกส์
ที่น่าสังเกต คือ หุ้นไอบีเอ็ม ซึ่งบัฟเฟตต์ปฏิเสธการลงทุนในบริษัทเทคโนโลยีมาตลอด เพราะคาดการณ์ในระยะยาวได้ยาก แต่กลับลำมาซื้อหุ้นไอบีเอ็มไม่นานมานี้ โดยให้เหตุผลว่าไอบีเอ็มปรับมาเป็นบริษัทที่เน้นบริการแก่ลูกค้ามากขึ้น โดยปัจจุบันเบิร์กไชร์ฯ ถือครองหุ้นไอบีเอ็ม 64.4 ล้านหุ้น เพิ่มจาก 63.9 ล้านหุ้น ในเดือนธันวาคมปีที่แล้ว
เว็บไซต์ smh.com.au ถอดรหัสลงทุนสไตล์บัฟเฟตต์ ซึ่งประมวลจากการประชุมประจำปีของเบิร์กไชร์ฯ อย่างแรก คือ ไร้ข้อจำกัด บัฟเฟตต์ และ "ชาร์ลี มังเกอร์" รองประธานเบิร์กไชร์ สละเวลา 6 ชั่วโมงให้ซักถามทุกสิ่งอย่าง ยกเว้นรายชื่อบริษัทที่เข้าไปซื้อหุ้น หรือแนวทางประเมินมูลค่าบริษัทที่จะเข้าไปซื้อหุ้น เพราะเท่ากับแบไต๋ว่าเบิร์กไชร์เตรียมจะควักจ่ายซื้ออะไร อีกประเด็น คือ อาจทำให้นักลงทุนเดินตามแบบผิดๆ เพราะในการลงทุน ทุกคนสามารถนำแนวทางไปประยุกต์ใช้ แต่ไม่ควรทำตามแบบไม่ลืมหูลืมตา
เพราะแม้จะมีความเป็นไปได้ที่เซียนบัฟเฟตต์จะชอบแนวทางการลงทุนแบบหลากหลายตัวเลือก แต่เราอาจเดิมพันเงินบาทสุดท้ายในสิ่งที่บัฟเฟตต์ไม่ได้เหลียวมอง และเป็นไปได้ยากที่บัฟเฟตต์จะปรับเปลี่ยน โดยอ้างอิงจากผลกำไรหรือขาดทุนเพียงอย่างเดียว แต่เขาคาดหวังการเติบโต และพิจารณาจากหลายสิ่งหลายอย่างประกอบกัน
แนวทางต่อมา บัฟเฟตต์ไม่ปลื้มทองคำสักเท่าไร ถึงแม้ผู้คนจะแห่ลงทุนทองคำ เขาเคยพูดไว้ว่า เมื่อตอนที่เทกโอเวอร์เบิร์กไชร์ฯ ราคาทองอยู่ที่ 20 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ราคาหุ้นเบิร์กไชร์อยู่ที่ 15 ดอลลาร์ แต่ปัจจุบันราคาทองอยู่ที่ 1,600 ดอลลาร์ ราคาหุ้นเบิร์กไชร์อยู่ที่ 120,000 ดอลลาร์ต่อหุ้น
อีกเคล็ดลับ คือ ซื้อในสิ่งที่คุณมีความรู้ แม้ยักษ์เทคโนโลยีอย่างกูเกิลและแอปเปิลจะเป็นที่หมายปอง แต่ไม่ใช่สำหรับบัฟเฟตต์และมังเกอร์ ซึ่งบริษัทเหล่านี้อยู่นอกเหนือความสามารถหยั่งรู้ของทั้งคู่ และถือเป็นบทเรียนสำคัญสำหรับนักลงทุน ดังที่บัฟเฟตต์เคยพูดว่า หากคุณซื้อธุรกิจที่ราคาต่ำกว่ามูลค่า คุณจะทำเงินได้ และหากคุณรู้ว่าธุรกิจอะไรที่สามารถสร้างมูลค่าและไม่สร้างมูลค่า คุณก็จะทำเงินได้
อีกเทคนิค ที่ต้องเรียนรู้ นั่นคือ รอคอยราคาที่เหมาะสม เพราะนอกเหนือจากการลงทุนในธุรกิจที่มีความรู้จริงๆ เสน่ห์ของหุ้นอยู่ที่บริษัทต่างๆ ขายมันในราคาที่น่าสงสาร และนี่ทำให้บัฟเฟตต์และชาร์ลีร่ำรวย
สุดท้าย คือ ทำให้ง่ายเข้าไว้ แม้คุณจะทำให้การลงทุนสลับซับซ้อนได้มากตามที่ต้องการ แต่มันไม่จำเป็น การขยับขยายความสามารถในการลงทุนอาจต้องใช้เวลา หากคุณมองหาธุรกิจใหม่ๆ หรือเทคโนโลยีแบบแกะกล่อง ซึ่งกรณีของบัฟเฟตต์ไม่ใช่แบบนั้น ท็อป 4 หุ้นในพอร์ตลงทุนของคุณปู่ ได้แก่ โคคา-โคลา อเมริกัน เอ็กซ์เพรส ไอบีเอ็ม และธนาคารเวลส์ ฟาร์โก ซึ่งไม่ได้โดดเด่นมากมาย หรือมาพร้อมผลิตภัณฑ์สุดไฮเทค
ที่มา http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... B9%8C.html
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
กางพอร์ตลงทุนล่าสุด "เบิร์กไชร์ แฮทอะเวย์" จับทางความรวยสไตล์ "วอร์เรน บัฟเฟตต์"
การขยับของ "เบิร์กไชร์ แฮทอะเวย์" เป็นที่จับตามองของนักลงทุนทั่วโลก เพราะอาณาจักรด้านการลงทุนแห่งนี้สร้างความมั่งคั่งให้ "วอร์เรน บัฟเฟตต์" มหาเศรษฐีพันล้านที่ได้ฉายา "เทพพยากรณ์แห่งโอมาฮา" ทำให้หลายคนอยากรู้เคล็ดลับการลงทุนของบัฟเฟตต์ ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของเบิร์กไชร์ฯ
ล่าสุด เบิร์กไชร์ฯ รายงานต่อคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ของสหรัฐว่า ในไตรมาสแรกปีนี้ บริษัทซื้อหุ้นใน "เจนเนอรัล มอเตอร์ส" (จีเอ็ม) เพิ่มอีก 10 ล้านหุ้น คิดเป็นมูลค่าประมาณ 214 ล้านดอลลาร์
การลงทุนดังกล่าว เกิดขึ้นหลังค่ายรถอเมริกันรายนี้ ฟื้นจากภาวะล้มละลายเมื่อ 3 ปีก่อน โดยทำยอดขายในตลาดสหรัฐได้เพิ่มขึ้น และรายงานรายได้สุทธิ 1 พันล้านดอลลาร์ ในไตรมาสแรก การขยับครั้งนี้ยังสะท้อนความชื่นชอบส่วนตัวที่มีต่อค่ายรถแห่งนี้ ซึ่งคุณปู่บัฟเฟตต์ขับรถคาร์ดิลแลค ดีทีเอส ของจีเอ็ม และเขาไม่ได้ลงทุนในฟอร์ด หรือไครสเลอร์ บริษัทรถยนต์เพียงรายเดียวที่เบิร์กไชร์ฯ ประกาศออกสื่อว่าเข้าไปลงทุนซื้อหุ้น 10% คือ บริษัทผลิตรถยนต์ไฟฟ้า "บีวายดี"
นอกจากนี้ เบิร์กไชร์ฯ ยังเพิ่มหุ้นยักษ์ค้าปลีก "วอล-มาร์ต" ในพอร์ตลงทุนอีก 8 ล้านหุ้น รวมเป็น 46.7 ล้านหุ้น ซึ่งเป็นการตัดสินใจก่อนจะเกิดกรณีฉาวเรื่องสินบนของวอล-มาร์ตในเม็กซิโก
แม้เบิร์กไชร์ฯ จะไม่ได้รายงานรายละเอียดการลงทุนทั้งหมด เพราะผู้คุมกฎยินยอมให้บริษัทไม่ต้องรายงานทุกอย่าง เพราะนักลงทุนต่างจับตาจังหวะก้าวของบัฟเฟตต์อย่างใกล้ชิด ในฐานะผู้ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง
แต่ในพอร์ตลงทุนมูลค่า 7.53 หมื่นล้านดอลลาร์ของเบิร์กไชร์ฯ ในไตรมาสแรกปีนี้ บริษัทได้เริ่มซื้อหุ้นในเวียคอม 1.6 ล้านหุ้น มาเก็บไว้ในพอร์ต ขณะที่เพิ่มการลงทุนในไดเร็คท์ทีวี ลิเบอร์ตี้ มีเดีย ดาวิต้า อิงค์ และแบงก์ ออฟ นิวยอร์ก เมลลอน
ส่วนหุ้นที่ถูกลดน้ำหนัก คือ อินเทล คอร์ป คราฟท์ ฟู้ดส์ ดอลลาร์ เจนเนอรัล พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล และเวริสค์ อะนาไลติกส์
ที่น่าสังเกต คือ หุ้นไอบีเอ็ม ซึ่งบัฟเฟตต์ปฏิเสธการลงทุนในบริษัทเทคโนโลยีมาตลอด เพราะคาดการณ์ในระยะยาวได้ยาก แต่กลับลำมาซื้อหุ้นไอบีเอ็มไม่นานมานี้ โดยให้เหตุผลว่าไอบีเอ็มปรับมาเป็นบริษัทที่เน้นบริการแก่ลูกค้ามากขึ้น โดยปัจจุบันเบิร์กไชร์ฯ ถือครองหุ้นไอบีเอ็ม 64.4 ล้านหุ้น เพิ่มจาก 63.9 ล้านหุ้น ในเดือนธันวาคมปีที่แล้ว
เว็บไซต์ smh.com.au ถอดรหัสลงทุนสไตล์บัฟเฟตต์ ซึ่งประมวลจากการประชุมประจำปีของเบิร์กไชร์ฯ อย่างแรก คือ ไร้ข้อจำกัด บัฟเฟตต์ และ "ชาร์ลี มังเกอร์" รองประธานเบิร์กไชร์ สละเวลา 6 ชั่วโมงให้ซักถามทุกสิ่งอย่าง ยกเว้นรายชื่อบริษัทที่เข้าไปซื้อหุ้น หรือแนวทางประเมินมูลค่าบริษัทที่จะเข้าไปซื้อหุ้น เพราะเท่ากับแบไต๋ว่าเบิร์กไชร์เตรียมจะควักจ่ายซื้ออะไร อีกประเด็น คือ อาจทำให้นักลงทุนเดินตามแบบผิดๆ เพราะในการลงทุน ทุกคนสามารถนำแนวทางไปประยุกต์ใช้ แต่ไม่ควรทำตามแบบไม่ลืมหูลืมตา
เพราะแม้จะมีความเป็นไปได้ที่เซียนบัฟเฟตต์จะชอบแนวทางการลงทุนแบบหลากหลายตัวเลือก แต่เราอาจเดิมพันเงินบาทสุดท้ายในสิ่งที่บัฟเฟตต์ไม่ได้เหลียวมอง และเป็นไปได้ยากที่บัฟเฟตต์จะปรับเปลี่ยน โดยอ้างอิงจากผลกำไรหรือขาดทุนเพียงอย่างเดียว แต่เขาคาดหวังการเติบโต และพิจารณาจากหลายสิ่งหลายอย่างประกอบกัน
แนวทางต่อมา บัฟเฟตต์ไม่ปลื้มทองคำสักเท่าไร ถึงแม้ผู้คนจะแห่ลงทุนทองคำ เขาเคยพูดไว้ว่า เมื่อตอนที่เทกโอเวอร์เบิร์กไชร์ฯ ราคาทองอยู่ที่ 20 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ราคาหุ้นเบิร์กไชร์อยู่ที่ 15 ดอลลาร์ แต่ปัจจุบันราคาทองอยู่ที่ 1,600 ดอลลาร์ ราคาหุ้นเบิร์กไชร์อยู่ที่ 120,000 ดอลลาร์ต่อหุ้น
อีกเคล็ดลับ คือ ซื้อในสิ่งที่คุณมีความรู้ แม้ยักษ์เทคโนโลยีอย่างกูเกิลและแอปเปิลจะเป็นที่หมายปอง แต่ไม่ใช่สำหรับบัฟเฟตต์และมังเกอร์ ซึ่งบริษัทเหล่านี้อยู่นอกเหนือความสามารถหยั่งรู้ของทั้งคู่ และถือเป็นบทเรียนสำคัญสำหรับนักลงทุน ดังที่บัฟเฟตต์เคยพูดว่า หากคุณซื้อธุรกิจที่ราคาต่ำกว่ามูลค่า คุณจะทำเงินได้ และหากคุณรู้ว่าธุรกิจอะไรที่สามารถสร้างมูลค่าและไม่สร้างมูลค่า คุณก็จะทำเงินได้
อีกเทคนิค ที่ต้องเรียนรู้ นั่นคือ รอคอยราคาที่เหมาะสม เพราะนอกเหนือจากการลงทุนในธุรกิจที่มีความรู้จริงๆ เสน่ห์ของหุ้นอยู่ที่บริษัทต่างๆ ขายมันในราคาที่น่าสงสาร และนี่ทำให้บัฟเฟตต์และชาร์ลีร่ำรวย
สุดท้าย คือ ทำให้ง่ายเข้าไว้ แม้คุณจะทำให้การลงทุนสลับซับซ้อนได้มากตามที่ต้องการ แต่มันไม่จำเป็น การขยับขยายความสามารถในการลงทุนอาจต้องใช้เวลา หากคุณมองหาธุรกิจใหม่ๆ หรือเทคโนโลยีแบบแกะกล่อง ซึ่งกรณีของบัฟเฟตต์ไม่ใช่แบบนั้น ท็อป 4 หุ้นในพอร์ตลงทุนของคุณปู่ ได้แก่ โคคา-โคลา อเมริกัน เอ็กซ์เพรส ไอบีเอ็ม และธนาคารเวลส์ ฟาร์โก ซึ่งไม่ได้โดดเด่นมากมาย หรือมาพร้อมผลิตภัณฑ์สุดไฮเทค
ที่มา http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... B9%8C.html