Margin of Safety
โพสต์แล้ว: เสาร์ มิ.ย. 02, 2012 12:34 pm
Margin of Safety
ผมมีความคิดเหมือนฟันเลื่อย เดี๋ยวขึ้นเดี๋ยวลง สร้างความวิงเวียนให้กับลุกน้อง เวลาลงทุนในบริษัท ผมมักสร้างสมมุติฐานของตนเอง แล้วทดสอบมันด้วยเทคนิคการ invert เสมอ เพื่อให้การ balace ทางความคิดของเราครับ ผมเคยทำผิดมาก่อน ผมจึงไม่เชื่อในตัวเองมากเกินไปอีกแล้วและคอยจับผิดตนเอง ทำอย่างนี้แล้วส่วนตัวผมชอบที่จะหาเรื่องตนเองตลอด และที่สำคัญเพื่อคิดค้นเทคนิตใหม่ๆ ของ MOS ขึ้นมาตลอด
ตัวอย่างสมมุติผมต้องการ long ซื้อหุ้นสัก 1 ล้าน ผมอาจจะเริ่มต้นด้วยการขายออก short สัก 2-3 แสน ดูว่ามีคนแย่งขายหรือไม่ หรือดูว่ามีคนตั้งรับซื้อหรือไม่ จากประสบการณ์ผมกับเทคนิคนี้ หุ้นที่ซื้อยากคือหุ้นที่มักให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าเสมอ แต่ทำอย่างนี้ระวังข้ออันตราย ถ้ามองจากมุมหลักคณิตศาสตร์ pure mathematics การ Short เวลาไม่เป็นอย่างที่คิด หุ้นตัวนั้นมันจะกินสัดส่วน % เทียบกับทั้งพอร์ตให้โตมากขึ้นเรื่อยๆ ถือว่าเสี่ยงมากเวลามันผิดพลาด เทคนิครับมือกับ Short Strategy's Limitations คือ การกระจายการ short ไปหลายๆ ตัว อย่าให้มันมากเกินไปกับความเสี่ยงในตัวกลยุทธ์ short ของมันเองครับ หลักง่ายๆ ใช้อะไรก็ต้องดูขอเสียของมันก่อน ถ้าเราหาไม่เจอ โพสในเว็บก็ได้ครับ ลองคุยกับสมาชิกท่านอื่นท่เขาไม่ชอบความคิดของเรา หรือลองยกสถานการณ์แบบนักบินที่เขาฝึกกัน เขาฝึกกับเครื่อง simulator แล้วครูจะลองสร้าง harzard ขึ้นมา ไม่ใช่ตัวเดียว แต่เป้นหลายตัวพร้อมๆ กัน แล้วดูว่าเราจะรับมืออย่างไร จากนั้นถ้าวิธีมันถูกต้อง คราวนี้ก็ทำซ้ำแล้วซ้ำอีกให้เกิดความชำนาญ ผมสามารถแยกนักลงทุนเน้นคุณค่าที่เก่งได้ด้วยความคิดอย่างนี้ เขาฝึกเทคนิค value investing จนเกิดความเชี่ยวชาญและสามารถบอกจุดบกพร่องของมันได้
ในขณะที่ Long เวลาราคามันตกลง หุ้นตัวนั้นเมื่อเทียบ % กับพอร์ตก็จะเล็กตามไปด้วย ความเสี่ยงก็จะหดลงตามกรอบของมัน
ด้วยความเข้าใจที่อธิบายด้วยคณิตศาสตร์อย่างนี้ ก็หลัก Algebra ที่เรียนตอนมัธยม ไม่มีอะไรซับซ้อนครับ เราก็เอามาปรับใช้ในการบริหารพอร์ต ดังนั้นเวลา Short สัดส่วนคร่าว ๆ ไม่ควรเกิน 1% ของพอร์ต และเวลา Long ผมก็ให้น้ำหนักแต่ละตัวไม่เกิน 5 % ยกเว้นว่ามีอะไรที่ดีมากผ่าน cheklist ของบริษัทเกือบหมด อย่างนี้ก็เพิ่มเป็น 10% แต่นานๆ จะเจอทีครับ
ชาลี มังเกอร์เคยพูดถึง วิชาฟิสิกส์ ควรใช้หลักการของมันในการปรับใช้กับอาชีพการลงทุน ผมไม่ชอบเรียนฟิสิกส์เลยเพราะมีอคติกับครูที่สอน ไปแอบขอเรียนจากคนที่เก่งฟิสิกส์อย่าง Richard Feynman เขาได้ the Nobel Prize-winning ทางฟิสิกส์ คนนี้ ชาลี มังเกอร์พูดถึงบ่อยครั้ง สิ่งเดียวที่ผมจำได้แม่น คือ สุนทรพจน์ของเขา เรือง "อย่าหลอกตัวเอง" จาก The Feynman principle ที่บอกว่า "You must not fool yourself—and you are the easiest person to fool," แล้วเอามันมาปรับใช้กับบริหารพอร์ต
ผมปรับใช้อย่างไรหรือครับ ผมไม่มีความสามารถเหมือนมังเกอร์ เขามองอะไรป๊าดเดียวก็บอกจุดอ่อนของมันได้ และผมก็ไม่มีความสามาถเหมือนบัฟเฟตที่สามารถทันอารมณ์ greed และ fear ของตัวเองได้ตลอดเวลา ดังนั้นเวลาลงทุน ก็ต้องมี checklist คอยปรับให้อะไรมันรอดพ้นจากกับดักของ fears and greeds ไปได้ ส่วนใหญ่เอามาจากข้อผิดพลาดที่พบเห้นในตลาด อย่างมีผู็บริหาร CEO ท่านหนึ่งในตลาดหุ้น ผมไปอ่านเจอจากหนังสือที่ไม่ใช่การลงทุน เขามีเมียน้อย และเมียกำลังขอหย่า ฟ้องร้องเรียกเงินหลายสิบล้าน ข้อมูลอย่างนี้ตลาดหลักทรัพย์เขาไม่เอามาลง ผมปรับพอร์ตลงทันที เพราะสมาธิเขาเสียแล้ว กับตันตอนนี้สมาธิไม่อยู๋กับการขับเครื่องบินแล้ว ผู้โดยสารอย่างผมขอเซฟ liverage position ไว้ก่อนดีกว่า หลังจากนั้นเขาก็โดนบอร์ดบีบให้ลาออก ราคาหุ้นก็สะท้อนปรับลงเลยทันที พื้นฐานของบริษัทเปลี่ยนหรือปล่าวผมไม่แน่ใจ แต่พื้นฐานผู็บริหารกำลังแขวนบนเส้นได้ เราก็ต้องระวัง
สมัยก่อน ไทเกอร์เก่งมาก ไมมีใครชนะได้ นักกอล์ฟอวุโสผิวขาวท่านหนึ่งบอกว่า ถึงเก่งก็ยังเด็กมาก ขาดประสบการณ์ชีวิต ถ้าจะล้มไทเกอร์ มีสองอย่าง คือหนึ่ง สุขภาพมีปัญหา สองเรื่อง ครอบครัวมีปัญหา ไทเกอร์ล้มจริงๆ เพราะไปมีกิ๊ก ชีวิตคู่พัง ชีวิตการเล่นกอล์ฟพังไปด้วย สังคมไม่ยอมรับแล้ว ขนาดกับเมียตัวเองยังไม่ซื่อสัตย์ คนอเมริกันเขาก็มองอย่างนั้น
Buffett กับ Munger ทั้งสองท่าน match กันมากนะครับ ส่วนผสมนี้มันสำเร็จมาแล้ว มันน่าจะใช้กับนักลงทุนคนไทยได้ไหม ผมเลยจับลูกน้องเป็นคู่ตะเกียบทำงานด้วยกัน ไม่มีใครวิเคราะห์หุ้นคนเดียว คนหนึ่งต้องเหมือนมังเกอร์ อีกคนต้องเหมือนบัฟเฟต ผมพยามยามมองหานักลงทุนใหม่ๆ ที่มีคุณสมบัติอย่างนั้น แล้วจับพวกเขามาทำงานด้วยกัน ผลกำไรเป็นเครื่องยืนยันได้ดีครับ
ผมมีลุกน้องหลายคนที่เวลาเข้ามาใหม่และมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับความสามารถของผู้จัดการกองทุนในการคาดคะเนสิ่งต่างๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้น ใช่ครับ ผมมองไปข้างหน้า แต่ถ้าผมสามารถมองเห็นทุกอย่างได้จริง ผมคงไม่ต้องมาเป็นนักลงทุนเน้นคุณค่าแล้ว ผมมองไปข้างหน้าและหาทาง MOS ป้องกันต่างหาก เพราะผมเชื่อว่า ไม่มีอะไรแน่นอน ผมจึงต้องหา MOS ส่วนนักลงทุนท่านอื่น ถ้าใครเชื่อว่าสามารถคาดเดาตลาดได้โดยไม่มีทางผิดพลาด ก็ไม่ต้องมาเป้นนักลงทุนเน้นคุณค่าให้เสียเวลาครับ
คุณสมบัติของนักลงทุนเน้นคุณค่าต้อง "ไม่หลอกตัวเอง" ต้องยอมรับตัวเองว่า ทำผิดพลาดได้ ผมเคยมีลูกน้องบอกว่า อย่างพี่ไม่มีวันทำผิดพลาดได้ เข้าใจผมผิดครับ ไปว่าพวกเขาไมได้ พวกเขายังเด็ก พวกเขาดูประวัติการลงทุนของบัฟเฟตกับมังเกอร์ ดูจากประวัติการลงทุนของนักลงทุนเน้นคุณค่าคนอื่นที่ออกตามสื่อ และเชื่อว่า ใครก็ตามที่ลงทุนแนว Value Investing จะมีประวัติการลงทุนที่ดีและงย่อมจะมีภูมิคุ้มกันต่อความผิดพลาดอย่างแน่นอน ผมมักขำกับความคิดแบบนี้เสมอ ผมไม่เคยสนว่าผมมีความสามารถในการ "ตีแตก" บริษัทได้เก่งขนาดไหน ผมทำผิดพลาดเต็มไปหมดเลย แต่สิ่งที่ผมเก่งกว่าคนอื่น คือ ผมยอมรับข้อผิดพลาดตัวเองเก่งกว่าคนอื่น นั่นคือเคล้ดลับของความสำเร็จของมังเกอร์และบัฟเฟตที่ผมเอามาปรับใช้ จดจำเกี่ยวกับความผิดพลาดของตนเองและคนอื่น แต่เราไม่เก่งอย่างทั้งสองท่าน เราก็ต้องทำ checklists ขึ้นมาเหมือนนักบินเขาทำจนเป็นนิสัย พวกเขาหา MOS ทางป้องกันและฝึกมันจนชำนาญนั่นเองครับ
ถ้าเรามั่นใจว่า เราไม่เคยหลอกตัวเอง เราก็ไม่ต้องมี MOS ครับ