หน้า 1 จากทั้งหมด 1

ทำไมกำไรกลุ่มแบงค์โตเอาๆครับ

โพสต์แล้ว: พุธ ก.ค. 25, 2012 7:52 am
โดย ดำ
ดูคร่าวๆจาก bottom line แบงค์ไตรมาส 2 กำไรโตเกือบทุกราย

Re: ทำไมกำไรกลุ่มแบงค์โตเอาๆครับ

โพสต์แล้ว: พุธ ก.ค. 25, 2012 9:10 am
โดย [v]
จากนโยบายเน้นการบริโภคภายในประเทศครับ

Re: ทำไมกำไรกลุ่มแบงค์โตเอาๆครับ

โพสต์แล้ว: พุธ ก.ค. 25, 2012 10:40 am
โดย superboy
รวมบัตรเครดิตด้วย พ่วงกันไป อิอิอิ

Re: ทำไมกำไรกลุ่มแบงค์โตเอาๆครับ

โพสต์แล้ว: พุธ ก.ค. 25, 2012 1:28 pm
โดย kosch
เฉพาะภาระภาษีที่ลดจาก ๓๐ เป็น ๒๓ % ก็เยอะแล้วครับ แล้วปีหน้าจะเหลือเพียง ๒๐ ครับ

Re: ทำไมกำไรกลุ่มแบงค์โตเอาๆครับ

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ค. 29, 2012 7:43 pm
โดย miracle
สินเชื่อขยายตัว
ได้แหล่งเงินกู้ราคาถูกจากน้ำท่วม
ลิสซิ่งทำงานไม่ทันเพราะมาตราการรถคันแรก

แต่อยากลืมว่าอ่านบทวิเคราะห์เรื่องบาเซิล3ด้วยว่า
ธนาคารควรเพิ่มทุนหรือควบรวมอีกหรือไม่

ถ้าใม่ทำก็อาจจะเกิดเหมือนบทเรียนต้มยำกุ้ง
เพราะธนาคารมีโอกาสเพิ่มทุนแต่ไม่ยอมเพิ่มในห่วงเวลาที่ดีที่สุด ขยายสินเชื่อมาก
:)

Re: ทำไมกำไรกลุ่มแบงค์โตเอาๆครับ

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ค. 29, 2012 9:58 pm
โดย koon007
กำไรดีตลอด จนเมื่อมีปัญหาแค่10%ของสินทรัพย์ก็ล้มได้ง่ายง่ายเลย สัดส่วนผู้ถือหุ้นเทียบกับหนี้สินส่วนใหญ่ หนึ่งในสิบ

Re: ทำไมกำไรกลุ่มแบงค์โตเอาๆครับ

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ค. 30, 2012 4:56 pm
โดย waririn
มีอธิบายประเด็นนี้พอดีค่ะ
เบื้องหลังแบงก์กำไรเละ : ทวี มีเงิน
updated: 30 ก.ค. 2555 เวลา 15:50:04 น.

เมื่อเร็วๆ นี้ธนาคารพาณิชย์ 11 แห่งโชว์ผลประกอบการครึ่งปีแรกปรากฏว่ามีกำไรรวมกันสูงถึง 8.5 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีที่แล้ว 16% คงไม่มีธุรกิจไหนกำไรดีเท่านี้อีก โดยมีแบงก์กสิกรไทยและกรุงไทยนำโด่ง โตกว่า 30% ผลกำไรที่โชว์ออกมาเล่นเอาธุรกิจต่างๆ ที่กำลังกระเสือกกระสนให้พ้นวิกฤตเศรษฐกิจยุโรปต่างอิจฉาตาร้อนไปตามๆ กัน

คุณสมเกียรติ ศิริชาติไชย รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ′ส่วนใหญ่เกิดจากทั้งรายได้ดอกเบี้ยสุทธิและรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย′ ซึ่งรายได้อันหลังคือรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยน่าสนใจ เพราะกำลังจะเป็นรายได้หลักของธุรกิจธนาคาร

เบื้องหลังการถ่ายทำเป็นเพราะทางการมี ′ปรัชญาแบงก์ล้มไม่ได้′ ธนาคารจึงเป็นธุรกิจเดียวที่ทางการไม่ปล่อยให้ล้ม ปรัชญานี้มีมาหลังวิกฤตปี 2540 หรือ ′วิกฤตต้มยำกุ้ง′ สถาบันการเงินได้รับผลกระทบ ธนาคารไทยประสบปัญหา ′หนี้เสีย′ มหาศาล จนสถานะสั่นคลอน ต้องปล่อยให้ธนาคารต่างประเทศเข้ามาเทกโอเวอร์ กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่

เมื่อสถาบันการเงินสั่นคลอนย่อมส่งผลกระทบกับภาคธุรกิจและเศรษฐกิจของประเทศอย่างมิอาจหลีกเลี่ยงได้ เพราะสถาบันการเงินคือ ′ท่อขนาดใหญ่′ ที่ไปสูบฉีดระบบเศรษฐกิจของประเทศให้เดินหน้า ประสบการณ์ครั้งนั้นจึงเป็นที่มาหลักปรัชญาว่า ′แบงก์ล้มไม่ได้′

นั่นแปลว่า นโยบายได้เปิดกว้างให้ธนาคารสามารถหารายได้ครอบจักรวาลไม่จำกัดเฉพาะการ ′ปล่อยกู้′ เหมือนแต่ก่อน แต่ปล่อยให้ทำธุรกรรม ตั้งแต่ขายประกันไม่ว่าจะเป็นประกันชีวิตจนถึงประกันภัยรูปแบบต่างๆ ที่แต่เดิมจำกัดเฉพาะธุรกิจประกัน นอกจากนี้ยังมีรายได้จากการเก็บค่าธรรมเนียมการบริการต่างๆ

ยังไม่รวมถึงรายได้หลักจาก ′ส่วนต่างดอกเบี้ย′ ระหว่างเงินฝากกับเงินกู้ ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์กันว่าแบงก์หาประโยชน์จากเงินกู้มากเกินไป ขณะเดียวกันก็กดดอกเบี้ยเงินฝาก ทำให้แบงก์มีกำไรจาก ′ส่วนต่าง′ อย่างเป็นกอบเป็นกำ

แต่รายได้เหมือนเป็น ′โบนัส′ ก้อนใหญ่เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายลดภาษี ′นิติบุคคล′ แต่เดิมเคยเสีย 30% เหลือเพียง 23% เท่ากับแบงก์มีกำไรทันที 7% และในปีหน้ารัฐบาลจะลดเหลือ 17% นั่นเท่ากับว่าปีหน้าแบงก์จะมีกำไรเพิ่มจากเดิมอีก 5% รองพื้นทันที

นี่คือตัวช่วยที่ทำให้แบงก์ปีนี้กำไรชนิดพุงปลิ้นเลยทีเดียว ก็คงต้องฝากแบงก์ชาติถึงเวลาที่จะหาทางช่วยชาวบ้านให้ ′ส่วนต่าง′ เงินกู้กับเงินฝาก มันเหลือแคบลงได้หรือไม่

ทุกวันนี้คนฝากเงินแทบไม่ได้ประโยชน์อะไรแม้แต่น้อย

ที่มา : นสพ.ข่าวสด