คุณค่าของความคลั่งไคล้/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1827
- ผู้ติดตาม: 1
คุณค่าของความคลั่งไคล้/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 1
โลกในมุมมองของ Value Investor 28 กรกฎาคม 55
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
คุณค่าของความคลั่งไคล้
ผมอยู่ในวงการหุ้นและตลาดหุ้นมานาน สิ่งหนึ่งที่ผมสังเกตเห็นก็คือ หุ้นของบริษัทที่ผลิตและขายหรือให้บริการสินค้าที่ลูกค้าบางส่วนมีความนิยมสูงมาก หรือสูงขนาดที่เรียกว่า “คลั่งไคล้” หรือ “เสพติด” มักจะมีราคาดี คือมีค่า PE สูง และเป็นหุ้นที่ให้ผลตอบแทนสูงต่อเนื่องยาวนาน ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจน้อยเมื่อเทียบกับหุ้นทั่วๆไป ลักษณะของบริษัทหรือสินค้าเหล่านี้ก็คือ มันมี “สาวก” ที่เหนียวแน่น พวกเขามีความต้องการสินค้าของบริษัทสูง พวกเขาอยากใช้สินค้าของบริษัทด้วยเหตุผลต่างๆ โดยเฉพาะเหตุผลทางด้านจิตใจมากกว่าสินค้าของบริษัทอื่นที่ขายสินค้าแบบเดียวกัน ความคลั่งไคล้ของสินค้าของบริษัทนั้น แสดงออกให้เห็นเวลาที่พวกเขาไปซื้อของ ผมไม่รู้จะอธิบายอย่างไร แต่เวลาเราเห็น เรามักจะรู้สึกได้ ลองมาดูกันว่าสินค้าประเภทไหนบ้างที่คน “คลั่งไคล้”
ก่อนอื่นผมอยากจะเริ่มจากผู้หญิงกับเด็ก เพราะนี่คือยอด “นักช้อป” และสินค้าที่พวกเขา คลั่งไคล้ก็คือสินค้าแฟชั่นที่สวยงามและแสดงสถานะที่เริดหรูและมี “มีระดับ” ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็เช่น กระเป๋าถือของหลุยส์วิตตอง เสื้อผ้าของร้านที่มีชื่อเสียงออกแบบโดยนักออกแบบชื่อดัง เหล่านี้ ผู้หญิงจำนวนมากที่มีรายได้ค่อนข้างสูง ต่างก็เรียกหาที่จะต้องมีไว้ครอบครอง บางครั้งแม้จะต้องเข้าคิวและ “ยื้อแย่ง” กันเพื่อจะได้คอลเล็คชั่นใหม่ที่เพิ่งจะออกมาก็ยอม ในส่วนของเด็กนั้น อาการของความคลั่งไคล้อาจจะไม่ติดยึดกับบริษัทมากเท่าตัวสินค้าและการสังเกตก็ต้องติดตามเป็นระยะเพราะมักจะมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว สินค้าที่พวกเขาคลั่งไคล้นั้น อาจจะเป็นตุ๊กตารุ่นใหม่ รองเท้ากีฬาบางแบบ เกมคอมพิวเตอร์ นอกจากนั้นก็อาจจะเป็นร้านค้าหรือร้านอาหารที่เด็กจะร้องขอที่จะเข้าไปใช้บริการจนเราสังเกตได้ ในการที่จะติดตามหาสินค้าหรือบริษัทเหล่านี้ การสังเกตและใช้ “ความรู้สึก” จะช่วยให้เราได้พบหุ้นก่อนคนอื่น
ถัดจากผู้หญิงและเด็กก็คือ ผู้ชาย ซึ่งความคลั่งไคล้ก็อาจจะไม่สูงเท่าแต่พวกเขาก็ “ติด” อะไรหลายๆอย่าง สินค้าแรกที่โดดเด่นมากก็คือ บุหรี่ นี่คือสุดยอดของสินค้าที่ทำเงิน “มโหฬาร” แม้ว่ากำลังถูก “ต่อต้าน” โดยภาครัฐและสังคมทั่วโลก สินค้าที่คนบางคนอาจจะติดแต่คนส่วนมากอาจจะแค่ “คลั่งไคล้” เล็กน้อยก็คือ เหล้าเบียร์และสินค้าที่มีแอลกอฮอล นี่ก็เป็นสินค้าที่คนดื่มอาจจะติดรสชาดของสินค้าบางยี่ห้อที่ทำให้มันมีค่าสูงกว่าปกติอย่างเช่นครั้งหนึ่งยี่ห้อจอห์นนี่วอคเกอร์ก็ค่อนข้างดังมากในประเทศย่านเอเซีย แต่เดี๋ยวนี้ผมเองก็ไม่ทราบว่าเป็นยี่ห้อไหน บางที เหล้าวอดก้ายี่ห้อ Grey Goose อาจจะกำลังเป็นที่คลั่งไคล้ของคนมีระดับก็เป็นได้ เพราะผมเคยเห็นมีการกล่าวถึงในนิยายหรือบทความหรือข่าวงานเลี้ยงในวงสังคมอยู่บ้างว่าเป็นเหล้าที่มีระดับ “สุดยอด” นอกจากเหล้าเบียร์แล้ว ผู้ชายก็อาจจะมีแนวโน้มที่ชอบหรือคลั่งไคล้การพนันและในเรื่องของการ “แข่งขัน” อย่างเช่น การชมและพนันการแข่งขันกีฬาต่างๆ เป็นต้น
กลุ่มสุดท้ายก็คือ คนทั่วไป โดยเฉพาะที่เป็นวัยรุ่นจนถึงอายุใกล้เกษียณ ความคลั่งไคล้ในระยะหลังๆ นี้ก็หนีไม่พ้นในเรื่องของเทคโนโลยีโดยเฉพาะที่เป็นการติดต่อไร้สาย นี่ดูเหมือนจะสังเกตได้ง่ายมาก ตัวอย่างเช่นสินค้าตระกูลไอทั้งหลายเช่นไอโฟนและไอแพด ความคลั่งไคล้นั้นเกิดทั่วโลกและเกิดใกล้ตัว ดังนั้น ไม่มีใครไม่รู้ แต่คนที่ตัดสินใจซื้อหุ้นก่อนที่งบการเงินของบริษัทแอปเปิลจะออกนั้น สามารถทำกำไรได้มหาศาล และหุ้นของบริษัทที่มีสินค้าที่คนคลั่งไคล้ทั่วโลกนี้ ได้กลายเป็นหุ้นที่มูลค่าสูงที่สุดในโลกหลังจากที่ผลิตสินค้าที่คนคลั่งไคล้ติดต่อกันมานานเพียงสิบกว่าปี พูดถึงเรื่องโทรศัพท์นี้ น่าจะยังคงจำได้ว่าเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา บีบี ก็เป็นโทรศัพท์ที่คนคลั่งไคล้กันทั่วโลกเช่นกันเห็นได้จากดาราไทยที่ใช้กันเกือบทุกคน และในช่วงนั้น บริษัทที่ผลิตบีบีก็มีค่าสูงมาก แต่หลังจากที่กระแสของบีบีตกลงไป มูลค่าหุ้นก็ตกลงและบริษัทอาจจะกำลังมีปัญหาทางการเงินอยู่ในขณะนี้ ไหนๆ ก็พูดแล้ว ซัมซุงเองก็มีแท็บเล็ตที่คนเริ่ม “คลั่งไคล้” อยู่เหมือนกันเห็นได้จากยอดขายที่สูงลิ่ว และนี่ก็เช่นกัน ทำให้บริษัทซัมซุงที่ผลิตมันกลายเป็นบริษัทที่มีมูลค่าสูงที่สุดในตลาดหุ้นเกาหลีในขณะนี้
ความคลั่งไคล้นั้น ไม่จำเป็นที่จะต้องเกิดในระดับนานาชาติหรือแม้แต่ทั่วประเทศ มันอาจจะเป็นสินค้าของบริษัทเล็กๆ ในระดับท้องถิ่นก็ได้ ข้อสำคัญก็คือ เราต้องเห็นว่าสินค้านั้นมีกลุ่มคนที่ “คลั่งไคล้” และยอมจ่ายเงินซื้อ อาจจะสูงกว่าสินค้าแบบเดียวกัน เพื่อจะได้สินค้ามาใช้หรือมากิน ตัวอย่างที่ผมคิดว่าน่าจะมีลักษณะนี้ก็เช่น ช็อกโกแล็ตของ See’s Candy ซึ่งเป็นเครือข่ายร้านขายขนมหวานและช็อกโกแล็ตที่บัฟเฟตต์ซื้อมาเป็นบริษัทแรกๆ ที่บัฟเฟตต์ยอมจ่ายเงินซื้อหุ้นที่ “ไม่ถูก” และมีค่า PE สูงกว่าที่เขาเคยซื้อ เหตุผลของผมก็คือ ชอกโกแล็ตของ See’s นั้น มีราคาแพงมาก ดังนั้น คนที่ซื้อ โดยเฉพาะที่เป็นผู้หญิงนั้น น่าจะต้องติดหรือคลั่งไคล้สินค้าของบริษัท จึงได้ยอมซื้อมาตลอด เหนือสิ่งอื่นใด ขนมหวานนั้นก็เป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่คนมักจะคลั่งไคล้ ผมยังจำได้ถึงครั้งหนึ่งที่มีโดนัทยี่ห้อหนึ่งจากมาเลเซียมาเปิดขายในเมืองไทยแล้วคนเข้าคิวซื้อกันยาวเหยียด ซึ่งหลังจากนั้นไม่นานคนก็เลิกเห่อและร้านที่ขายก็ปิดตัวลง แต่แล้วหลังจากนั้นไม่กี่ปีก็มีโดนัทยี่ห้อใหม่อีกยี่ห้อหนึ่งจากอเมริกาที่เข้ามาและทำให้คนคลั่งไคล้ต่ออาจจะถึงวันนี้ อย่างไรก็ตาม ความคลั่งไคล้ที่จบลงง่ายๆนั้น อาจจะไม่ให้คุณค่าอะไรมากนัก ดังนั้น เราจะต้องพยายามมองให้ออกว่าสินค้านั้นจะอยู่ทนได้แค่ไหน
คุณค่าของความคลั่งไคล้นั้น จะมากหรือน้อยคงต้องขึ้นอยู่กับระดับของความคลั่งไคล้ว่ามีมากหรือน้อยแค่ไหน ถ้ามากระดับที่เรียกว่า “เสพติด” เลย มันก็มีค่ามากขึ้น นอกจากนั้น ระยะเวลาที่คนจะคลั่งไคล้นั้นน่าจะยาวแค่ไหน ถ้ายาวมากอย่างที่เรียกว่าเกือบจะ “ถาวร” อย่างกรณีของ หลุยส์วิตตอง นั้น คุณค่าก็มากขึ้นมากเมื่อเทียบกับสินค้าอย่างอื่นที่อาจจะทำให้คนคลั่งไคล้เพียงชั่วครู่ชั่วยาม สุดท้ายก็คือ จำนวนคนที่คลั่งไคล้ ถ้ามีมากทั่วประเทศหรือทั่วโลก คุณค่าก็มากขึ้นตามจำนวนคน
คุณค่าของความคลั่งไคล้จะมากหรือน้อยก็จะสะท้อนออกมาจาก Profit Margin หรือกำไรต่อยอดขายที่จะสูงกว่าเมื่อเทียบกับบริษัทธรรมดาที่อยู่ในธุรกิจเดียวกัน แต่คุณค่าที่สำคัญยิ่งกว่าก็คือ ตลาดจะให้ราคาหุ้นที่แพงกว่าบริษัทธรรมดามากวัดจากค่า PE ของหุ้นที่มีคนคลั่งไคล้ในผลิตภัณฑ์จะสูงกว่าบริษัทธรรมดามาก บางทีอาจจะสูงกว่าเท่าตัว เช่น ถ้า PE ของบริษัทที่ไม่มีอะไรโดดเด่นเท่ากับ 10 เท่า บริษัทที่มีคนคลั่งไคล้ในสินค้าสูงและต่อเนื่องยาวนานอาจจะมีค่า PE สูงถึง 20 เท่าเป็นต้น
ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะสามารถบอกได้ว่าสินค้าไหนหรือร้านไหนมีคนคลั่งไคล้ในช่วงต้นๆ ที่จะทำให้เรามีโอกาสซื้อหุ้นก่อน เหตุผลก็คือ มันเป็นเรื่องที่ไม่มีใครทำเครื่องวัดหรือทำแบบสอบถามเพื่อทำวิจัยในสถานการณ์แบบนั้น เป็นหน้าที่ของเราที่จะต้องใช้ Sense หรือความรู้สึกเองเมื่อประสบกับคนที่ใช้สินค้าหรือบริการ อีกทางหนึ่งที่จะทำเงินกับบริษัทเหล่านั้นก็คือ ในบางสถานการณ์ที่ตลาดหุ้นตกต่ำหรือในบางช่วงที่บริษัทเหล่านั้นมีปัญหาทำให้หุ้นตกลงมามาก แต่เราดูแล้วว่าสินค้าของบริษัทยังได้รับความนิยมขนาดคลั่งไคล้อยู่ต่อไปได้ เราก็สามารถเข้าไปซื้อหุ้นแล้วรอให้ทุกอย่างกลับมาเป็นปกติ และนี่ก็คือวิธีทำเงินจากหุ้นที่คนคลั่งไคล้ในผลิตภัณฑ์
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
คุณค่าของความคลั่งไคล้
ผมอยู่ในวงการหุ้นและตลาดหุ้นมานาน สิ่งหนึ่งที่ผมสังเกตเห็นก็คือ หุ้นของบริษัทที่ผลิตและขายหรือให้บริการสินค้าที่ลูกค้าบางส่วนมีความนิยมสูงมาก หรือสูงขนาดที่เรียกว่า “คลั่งไคล้” หรือ “เสพติด” มักจะมีราคาดี คือมีค่า PE สูง และเป็นหุ้นที่ให้ผลตอบแทนสูงต่อเนื่องยาวนาน ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจน้อยเมื่อเทียบกับหุ้นทั่วๆไป ลักษณะของบริษัทหรือสินค้าเหล่านี้ก็คือ มันมี “สาวก” ที่เหนียวแน่น พวกเขามีความต้องการสินค้าของบริษัทสูง พวกเขาอยากใช้สินค้าของบริษัทด้วยเหตุผลต่างๆ โดยเฉพาะเหตุผลทางด้านจิตใจมากกว่าสินค้าของบริษัทอื่นที่ขายสินค้าแบบเดียวกัน ความคลั่งไคล้ของสินค้าของบริษัทนั้น แสดงออกให้เห็นเวลาที่พวกเขาไปซื้อของ ผมไม่รู้จะอธิบายอย่างไร แต่เวลาเราเห็น เรามักจะรู้สึกได้ ลองมาดูกันว่าสินค้าประเภทไหนบ้างที่คน “คลั่งไคล้”
ก่อนอื่นผมอยากจะเริ่มจากผู้หญิงกับเด็ก เพราะนี่คือยอด “นักช้อป” และสินค้าที่พวกเขา คลั่งไคล้ก็คือสินค้าแฟชั่นที่สวยงามและแสดงสถานะที่เริดหรูและมี “มีระดับ” ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็เช่น กระเป๋าถือของหลุยส์วิตตอง เสื้อผ้าของร้านที่มีชื่อเสียงออกแบบโดยนักออกแบบชื่อดัง เหล่านี้ ผู้หญิงจำนวนมากที่มีรายได้ค่อนข้างสูง ต่างก็เรียกหาที่จะต้องมีไว้ครอบครอง บางครั้งแม้จะต้องเข้าคิวและ “ยื้อแย่ง” กันเพื่อจะได้คอลเล็คชั่นใหม่ที่เพิ่งจะออกมาก็ยอม ในส่วนของเด็กนั้น อาการของความคลั่งไคล้อาจจะไม่ติดยึดกับบริษัทมากเท่าตัวสินค้าและการสังเกตก็ต้องติดตามเป็นระยะเพราะมักจะมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว สินค้าที่พวกเขาคลั่งไคล้นั้น อาจจะเป็นตุ๊กตารุ่นใหม่ รองเท้ากีฬาบางแบบ เกมคอมพิวเตอร์ นอกจากนั้นก็อาจจะเป็นร้านค้าหรือร้านอาหารที่เด็กจะร้องขอที่จะเข้าไปใช้บริการจนเราสังเกตได้ ในการที่จะติดตามหาสินค้าหรือบริษัทเหล่านี้ การสังเกตและใช้ “ความรู้สึก” จะช่วยให้เราได้พบหุ้นก่อนคนอื่น
ถัดจากผู้หญิงและเด็กก็คือ ผู้ชาย ซึ่งความคลั่งไคล้ก็อาจจะไม่สูงเท่าแต่พวกเขาก็ “ติด” อะไรหลายๆอย่าง สินค้าแรกที่โดดเด่นมากก็คือ บุหรี่ นี่คือสุดยอดของสินค้าที่ทำเงิน “มโหฬาร” แม้ว่ากำลังถูก “ต่อต้าน” โดยภาครัฐและสังคมทั่วโลก สินค้าที่คนบางคนอาจจะติดแต่คนส่วนมากอาจจะแค่ “คลั่งไคล้” เล็กน้อยก็คือ เหล้าเบียร์และสินค้าที่มีแอลกอฮอล นี่ก็เป็นสินค้าที่คนดื่มอาจจะติดรสชาดของสินค้าบางยี่ห้อที่ทำให้มันมีค่าสูงกว่าปกติอย่างเช่นครั้งหนึ่งยี่ห้อจอห์นนี่วอคเกอร์ก็ค่อนข้างดังมากในประเทศย่านเอเซีย แต่เดี๋ยวนี้ผมเองก็ไม่ทราบว่าเป็นยี่ห้อไหน บางที เหล้าวอดก้ายี่ห้อ Grey Goose อาจจะกำลังเป็นที่คลั่งไคล้ของคนมีระดับก็เป็นได้ เพราะผมเคยเห็นมีการกล่าวถึงในนิยายหรือบทความหรือข่าวงานเลี้ยงในวงสังคมอยู่บ้างว่าเป็นเหล้าที่มีระดับ “สุดยอด” นอกจากเหล้าเบียร์แล้ว ผู้ชายก็อาจจะมีแนวโน้มที่ชอบหรือคลั่งไคล้การพนันและในเรื่องของการ “แข่งขัน” อย่างเช่น การชมและพนันการแข่งขันกีฬาต่างๆ เป็นต้น
กลุ่มสุดท้ายก็คือ คนทั่วไป โดยเฉพาะที่เป็นวัยรุ่นจนถึงอายุใกล้เกษียณ ความคลั่งไคล้ในระยะหลังๆ นี้ก็หนีไม่พ้นในเรื่องของเทคโนโลยีโดยเฉพาะที่เป็นการติดต่อไร้สาย นี่ดูเหมือนจะสังเกตได้ง่ายมาก ตัวอย่างเช่นสินค้าตระกูลไอทั้งหลายเช่นไอโฟนและไอแพด ความคลั่งไคล้นั้นเกิดทั่วโลกและเกิดใกล้ตัว ดังนั้น ไม่มีใครไม่รู้ แต่คนที่ตัดสินใจซื้อหุ้นก่อนที่งบการเงินของบริษัทแอปเปิลจะออกนั้น สามารถทำกำไรได้มหาศาล และหุ้นของบริษัทที่มีสินค้าที่คนคลั่งไคล้ทั่วโลกนี้ ได้กลายเป็นหุ้นที่มูลค่าสูงที่สุดในโลกหลังจากที่ผลิตสินค้าที่คนคลั่งไคล้ติดต่อกันมานานเพียงสิบกว่าปี พูดถึงเรื่องโทรศัพท์นี้ น่าจะยังคงจำได้ว่าเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา บีบี ก็เป็นโทรศัพท์ที่คนคลั่งไคล้กันทั่วโลกเช่นกันเห็นได้จากดาราไทยที่ใช้กันเกือบทุกคน และในช่วงนั้น บริษัทที่ผลิตบีบีก็มีค่าสูงมาก แต่หลังจากที่กระแสของบีบีตกลงไป มูลค่าหุ้นก็ตกลงและบริษัทอาจจะกำลังมีปัญหาทางการเงินอยู่ในขณะนี้ ไหนๆ ก็พูดแล้ว ซัมซุงเองก็มีแท็บเล็ตที่คนเริ่ม “คลั่งไคล้” อยู่เหมือนกันเห็นได้จากยอดขายที่สูงลิ่ว และนี่ก็เช่นกัน ทำให้บริษัทซัมซุงที่ผลิตมันกลายเป็นบริษัทที่มีมูลค่าสูงที่สุดในตลาดหุ้นเกาหลีในขณะนี้
ความคลั่งไคล้นั้น ไม่จำเป็นที่จะต้องเกิดในระดับนานาชาติหรือแม้แต่ทั่วประเทศ มันอาจจะเป็นสินค้าของบริษัทเล็กๆ ในระดับท้องถิ่นก็ได้ ข้อสำคัญก็คือ เราต้องเห็นว่าสินค้านั้นมีกลุ่มคนที่ “คลั่งไคล้” และยอมจ่ายเงินซื้อ อาจจะสูงกว่าสินค้าแบบเดียวกัน เพื่อจะได้สินค้ามาใช้หรือมากิน ตัวอย่างที่ผมคิดว่าน่าจะมีลักษณะนี้ก็เช่น ช็อกโกแล็ตของ See’s Candy ซึ่งเป็นเครือข่ายร้านขายขนมหวานและช็อกโกแล็ตที่บัฟเฟตต์ซื้อมาเป็นบริษัทแรกๆ ที่บัฟเฟตต์ยอมจ่ายเงินซื้อหุ้นที่ “ไม่ถูก” และมีค่า PE สูงกว่าที่เขาเคยซื้อ เหตุผลของผมก็คือ ชอกโกแล็ตของ See’s นั้น มีราคาแพงมาก ดังนั้น คนที่ซื้อ โดยเฉพาะที่เป็นผู้หญิงนั้น น่าจะต้องติดหรือคลั่งไคล้สินค้าของบริษัท จึงได้ยอมซื้อมาตลอด เหนือสิ่งอื่นใด ขนมหวานนั้นก็เป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่คนมักจะคลั่งไคล้ ผมยังจำได้ถึงครั้งหนึ่งที่มีโดนัทยี่ห้อหนึ่งจากมาเลเซียมาเปิดขายในเมืองไทยแล้วคนเข้าคิวซื้อกันยาวเหยียด ซึ่งหลังจากนั้นไม่นานคนก็เลิกเห่อและร้านที่ขายก็ปิดตัวลง แต่แล้วหลังจากนั้นไม่กี่ปีก็มีโดนัทยี่ห้อใหม่อีกยี่ห้อหนึ่งจากอเมริกาที่เข้ามาและทำให้คนคลั่งไคล้ต่ออาจจะถึงวันนี้ อย่างไรก็ตาม ความคลั่งไคล้ที่จบลงง่ายๆนั้น อาจจะไม่ให้คุณค่าอะไรมากนัก ดังนั้น เราจะต้องพยายามมองให้ออกว่าสินค้านั้นจะอยู่ทนได้แค่ไหน
คุณค่าของความคลั่งไคล้นั้น จะมากหรือน้อยคงต้องขึ้นอยู่กับระดับของความคลั่งไคล้ว่ามีมากหรือน้อยแค่ไหน ถ้ามากระดับที่เรียกว่า “เสพติด” เลย มันก็มีค่ามากขึ้น นอกจากนั้น ระยะเวลาที่คนจะคลั่งไคล้นั้นน่าจะยาวแค่ไหน ถ้ายาวมากอย่างที่เรียกว่าเกือบจะ “ถาวร” อย่างกรณีของ หลุยส์วิตตอง นั้น คุณค่าก็มากขึ้นมากเมื่อเทียบกับสินค้าอย่างอื่นที่อาจจะทำให้คนคลั่งไคล้เพียงชั่วครู่ชั่วยาม สุดท้ายก็คือ จำนวนคนที่คลั่งไคล้ ถ้ามีมากทั่วประเทศหรือทั่วโลก คุณค่าก็มากขึ้นตามจำนวนคน
คุณค่าของความคลั่งไคล้จะมากหรือน้อยก็จะสะท้อนออกมาจาก Profit Margin หรือกำไรต่อยอดขายที่จะสูงกว่าเมื่อเทียบกับบริษัทธรรมดาที่อยู่ในธุรกิจเดียวกัน แต่คุณค่าที่สำคัญยิ่งกว่าก็คือ ตลาดจะให้ราคาหุ้นที่แพงกว่าบริษัทธรรมดามากวัดจากค่า PE ของหุ้นที่มีคนคลั่งไคล้ในผลิตภัณฑ์จะสูงกว่าบริษัทธรรมดามาก บางทีอาจจะสูงกว่าเท่าตัว เช่น ถ้า PE ของบริษัทที่ไม่มีอะไรโดดเด่นเท่ากับ 10 เท่า บริษัทที่มีคนคลั่งไคล้ในสินค้าสูงและต่อเนื่องยาวนานอาจจะมีค่า PE สูงถึง 20 เท่าเป็นต้น
ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะสามารถบอกได้ว่าสินค้าไหนหรือร้านไหนมีคนคลั่งไคล้ในช่วงต้นๆ ที่จะทำให้เรามีโอกาสซื้อหุ้นก่อน เหตุผลก็คือ มันเป็นเรื่องที่ไม่มีใครทำเครื่องวัดหรือทำแบบสอบถามเพื่อทำวิจัยในสถานการณ์แบบนั้น เป็นหน้าที่ของเราที่จะต้องใช้ Sense หรือความรู้สึกเองเมื่อประสบกับคนที่ใช้สินค้าหรือบริการ อีกทางหนึ่งที่จะทำเงินกับบริษัทเหล่านั้นก็คือ ในบางสถานการณ์ที่ตลาดหุ้นตกต่ำหรือในบางช่วงที่บริษัทเหล่านั้นมีปัญหาทำให้หุ้นตกลงมามาก แต่เราดูแล้วว่าสินค้าของบริษัทยังได้รับความนิยมขนาดคลั่งไคล้อยู่ต่อไปได้ เราก็สามารถเข้าไปซื้อหุ้นแล้วรอให้ทุกอย่างกลับมาเป็นปกติ และนี่ก็คือวิธีทำเงินจากหุ้นที่คนคลั่งไคล้ในผลิตภัณฑ์
- kongkiti
- Verified User
- โพสต์: 5830
- ผู้ติดตาม: 0
Re: คุณค่าของความคลั่งไคล้/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 2
ขอบคุณท่าน mod และท่าน อ. ครับ ตัวอักษรใหญ่สะใจมาก (ชอบครับ)
ชื่อบทความก็โดนใจ (อีกแล้วครับ) ความคลั่งไคล้ หลักๆ แล้ว ก็คือ Brand ที่เป็นที่นิยมของผู้บริโภคนั่นเอง (คงต้องกลับไปฝึกทำ Scuttlebutt เพิ่ม)
ชื่อบทความก็โดนใจ (อีกแล้วครับ) ความคลั่งไคล้ หลักๆ แล้ว ก็คือ Brand ที่เป็นที่นิยมของผู้บริโภคนั่นเอง (คงต้องกลับไปฝึกทำ Scuttlebutt เพิ่ม)
-
- Verified User
- โพสต์: 249
- ผู้ติดตาม: 0
Re: คุณค่าของความคลั่งไคล้/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 3
อ.นิเวศ เริ่มมีความเชี่ยวชาญเรื่องเทคโนโลยีมากขึ้น
เนื่องจากผมอยู่ในวงการสื่อสาร
เป็นไปตามที่อาจารย์เขียนเลยครับ
เนื่องจากผมอยู่ในวงการสื่อสาร
เป็นไปตามที่อาจารย์เขียนเลยครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 30
- ผู้ติดตาม: 0
Re: คุณค่าของความคลั่งไคล้/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 4
[quote="kongkiti"]ขอบคุณท่าน mod และท่าน อ. ครับ ตัวอักษรใหญ่สะใจมาก (ชอบครับ)
ชื่อบทความก็โดนใจ (อีกแล้วครับ) ความคลั่งไคล้ หลักๆ แล้ว ก็คือ Brand ที่เป็นที่นิยมของผู้บริโภคนั่นเอง (คงต้องกลับไปฝึกทำ Scuttlebutt เพิ่ม)[/quote]
ชื่อบทความก็โดนใจ (อีกแล้วครับ) ความคลั่งไคล้ หลักๆ แล้ว ก็คือ Brand ที่เป็นที่นิยมของผู้บริโภคนั่นเอง (คงต้องกลับไปฝึกทำ Scuttlebutt เพิ่ม)[/quote]
-
- Verified User
- โพสต์: 1252
- ผู้ติดตาม: 0
Re: คุณค่าของความคลั่งไคล้/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 6
ขอบคุณคับ
http://www2.mcot.net/fm965/mp3.cfm?cat= ... &id=395071
หลังจากอาจารย์กลับมาจากฮ่องกงก็ได้มาเล่าให้ฟังในรายการ รู้ใช้เข้าใจเงิน ซึ่งเข้ากับบทความนี้มากคับ
http://www2.mcot.net/fm965/mp3.cfm?cat= ... &id=395071
หลังจากอาจารย์กลับมาจากฮ่องกงก็ได้มาเล่าให้ฟังในรายการ รู้ใช้เข้าใจเงิน ซึ่งเข้ากับบทความนี้มากคับ