ชวนแสดงความเห็นเกี่ยวกับตลาดช่วงที่ผ่านมาและช่วงนี้
โพสต์แล้ว: พุธ ต.ค. 03, 2012 10:51 pm
มีเพื่อนหลายคนมาถามว่าทำไม ช่วงที่ผ่านมาบรรยากาศการลงทุนมันก็ดูขมุกขมัว ดัชนีเศรษฐกิจบางอย่างดี บางอย่างแย่ ถึงตัวเลขจ้างงานสูงขึ้น แต่ตัวเลขว่างงานก็ยังบานตะไทอยู่ดังเดิมขึ้นๆลงๆ ไม่ลดลง ไหงช่วงที่ผ่านมาหุ้นขึ้นเอาๆ ...
ผมเลยตอบไปว่า
ให้ดูตัวเลขจ้างงานเป็นหลักครับ ถ้าจ้างเพิ่มยิ่งเยอะยิ่งดี ส่วนตัวเลขว่างงาน ถ้าหลังจากวิกฤติ ไม่ต้องดูก็ได้ เอาไว้ดูตอนเศรษฐกิจดีๆ ถ้ามันเริ่มสูงขึ้นมา ให้ระวังตัว
ถามว่าทำไม ...
ผมขอเอาไอเดียจากหนังสือ Market Never Forget ของ Ken Fisher มาแชร์ให้ฟังคือ
เพราะตัวเลขจ้างงาน คิดมาจาก ตัวเลขการจ้างงานเพิ่มขึ้นของบริษัทต่างๆ ในขณะที่ตัวเลขว่างงาน จะคำนวนจาก จำนวนผู้ที่กำลังหางานอยู่ ซึ่งในช่วงที่เศรษฐกิจกำลัง recover หลังวิกฤติทนั้น ตัวเลขว่างงานจะคงที่สูงขึ้นกว่าช่วงวิกฤติอีกเป็นระยะเวลาหนึ่ง ทั้งนี้เป็นเพราะ เมื่อบริษัทต่างๆเริ่มมีการจ้างงานมากขึ้น พวกที่ว่างงานอยู่ก็จะเริ่มออกมาหางานบ้าง ก็จะไปเข้าอยู่ในตัวเลขว่างงาน ทำให้ตัวเลขไม่ลดลง และจริงๆ จะมากขึ้นด้วยซ้ำ ในช่วงเศรษฐกิจกลับมาขยายตัวช่วงแรกๆ ตัวเลขนี้จะลดลง เมื่อคนถูกจ้างไปเยอะแล้ว คนหางานเริ่มน้อยลง ตัวเลขว่างงานก็จะลดลงเองในภายหลัง
ดังนั้น ตัวเลขว่างงาน จึงเป็น lagging indicator ที่ไม่สามารถชี้วัดสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบันได้ดีนัก เมื่อเทียบกับ indicator อื่นๆ หากไปดูสถิติย้อนหลังจะพบว่า หลังจากวิกฤติจบลงไปแล้วอย่างน้อย 2 ไตรมาส ตัวเลขว่างานถึงจะลงไปสงบเสงี่ยมที่ตัวเลขต่ำๆ
สาเหตุที่เป็น lagging indicator เป็นเพราะ
ระบบการจ้างงานของบริษัทนั้น จะ lag จากความเป็นจริงเสมอ
ลองจินตนาการว่า เรามีบริษัทที่ดำเนินกิจการอยู่เป็นปกติ สมมติว่าคุณเป็นผู้บริหาร แล้วยอดขายเริ่มเติบโตช้า หรือหดตัวลง เราไม่รู้หรอกว่า Recession มาหรือยัง อาจจะมาถึงแล้วก็ได้ หรืออาจจะกำลังมา แต่เราก็ยังดำเนินกิจการต่อไป จนเมื่อยอดขายตกต่ำมากๆ เราก็เริ่มลด cost ด้านต่างๆก่อน โดยที่ยังไม่เลิกจ้างพนักงาน ยอดขายก็ยังตกต่ำต่อไป จนมั่นใจแล้วว่าตอนนี้ Recession แล้วล่ะ วิกฤติมาแล้วถ้าไม่ลดการจ้างคน บริษัทก็ต้องปิด บริษัทก็ต้องตัดแขนขา รักษาชีวิตเอาไว้ก็ต้อง lay off คน (ซึ่งคนพวกนี้ก็จะไปหางาน ตัวเลขว่างงานก็จะเริ่มงอกออกมาให้เห็น) ผ่านไปอีกระยะ ตัวเลขว่างงานสูงจนนิ่งแล้วหรือบางทีก็เริ่มลดลง (ไม่ใช่เพราะมีงานทำ แต่เพราะขี้เกียจจะหางานแล้ว เลยไม่ไปลงทะเบียนหางานแล้ว) ชีวิตก็ยากเข็ญต่อไปสักพัก จนวันนึง recession แอบจบไปแล้ว แต่เรายังไม่รู้ตัว เราเห็นว่ายอดขายเริ่มเพิ่มขึ้น แต่บริษัทที่เหลือคนอยู่จึ๋งเดียว เพราะ lay off ไปจนเหลือแค่เท่าที่พอจะรันบริษัทได้ ก็ต้องทำงานกันหนักขึ้นเพื่อบริการยอดขายที่งอกขึ้นมา เพราะในฐานะผู้บริหาร เราคงไม่สามารถที่จะอยู่ๆ จ้างคนมาเพิ่มอีกกลุ่มเบ้อเร่อ ทั้งที่ยังไม่แน่ใจว่า recession จบไปหรือยัง จะมี double dip หรือเปล่า ช่วงเวลาเลวร้ายผ่านไปแล้วจริงไหม ก็ทำงานหนักกันไป จนยอดขายเยอะจนทำไม่ไหวแล้ว เราก็จะเริ่มมองว่า อนาคตเริ่มดี แต่เราก็จะยังไม่จ้างคน เราจะเริ่มจ้าง temp หรือ part-time เพื่อทำงานที่เราทำไม่ไหวแล้ว เพราะการจ้าง temp นั้นหากสิ่งต่างๆ เลวร้ายลงอีกครั้ง เราสามารถกลับไปเป็นบริษัทที่มีคนน้อยๆ รักษาตัวรอดได้ง่ายกว่า จ่ายค่าชดเชยน้อยกว่า แต่ก็ไม่เกิด double dip ... งานก็เริ่มงอกมาเรื่อยๆ ยอดขายท่วมท้น กำไรพุ่งสูงต่อเนื่องไป 2-3 ไตรมาส ทีมงานเริ่มบ่นว่าถ้าไม่จ้างคนเพิ่มเรากำลังเสียโอกาสไปฟรีๆจำนวนมาก จนเราเริ่มเชื่อแล้วว่า recession จบไปแล้วนั่นแหละ เราถึงจะเริ่มจ้างพนักงาน full-time ซึ่งในช่วง 2-3 ไตรมาสที่สิ่งต่างๆเริ่มดีขึ้นนี้เอง ยอดตัวเลขว่างงานจะไม่ลดลง และจากสถิติ จะเพิ่มขึ้นด้วย เพราะคนที่ไม่มีงานทำ เริ่มเห็นเพื่อนมีงานทำ เลยออกมาหางานทำบ้าง เราจะ mark วันที่ recession จบลง ย้อนหลังเสมอ
ดังนั้นผมคิดว่าหลังจากวิกฤติแต่ละครั้ง อย่าให้ตัวเลขว่างงานขู่ให้เรากลัวในการกลับมาลงทุน เมื่อสิ่งต่างๆเริ่มดีขึ้นในไตรมาสแรก ตัวเลขกำไรเริ่มกลับมา ยอดจ้างงานเพิ่มขึ้น ดัชนีการผลิตและบริโภคต่างๆ เพิ่มขึ้น ก็ควรจะเริ่มกลับมาสู่ตลาดกันเพื่อไม่ให้พลาดขึ้นรถไฟด่วนซื้อของถูกเป็นคนแรกๆ
เป็นแค่สิ่งที่ผมเก็บเกี่ยวไอเดียมานะครับ อยากชวนเพื่อนๆพี่ๆน้องๆ มาถกกันในหัวข้อนี้ ผมอาจจะเข้าใจผิดก็ได้ อยากฟังความเห็นและแนวคิดของท่านอื่นๆด้วยครับ
*สำหรับเรื่อง การลอกหุ้น ตอนที่ 2 ยังทำรูปไม่เสร็จน่ะครับ ขอเขียนข้ามไปข้ามมาละกันครับรอบหน้าอาจจะเป็นตอน 2 หรืออาจจะเป็นเรื่องอื่นมาคั่นเวลาอีกก็ได้*
ผมเลยตอบไปว่า
ให้ดูตัวเลขจ้างงานเป็นหลักครับ ถ้าจ้างเพิ่มยิ่งเยอะยิ่งดี ส่วนตัวเลขว่างงาน ถ้าหลังจากวิกฤติ ไม่ต้องดูก็ได้ เอาไว้ดูตอนเศรษฐกิจดีๆ ถ้ามันเริ่มสูงขึ้นมา ให้ระวังตัว
ถามว่าทำไม ...
ผมขอเอาไอเดียจากหนังสือ Market Never Forget ของ Ken Fisher มาแชร์ให้ฟังคือ
เพราะตัวเลขจ้างงาน คิดมาจาก ตัวเลขการจ้างงานเพิ่มขึ้นของบริษัทต่างๆ ในขณะที่ตัวเลขว่างงาน จะคำนวนจาก จำนวนผู้ที่กำลังหางานอยู่ ซึ่งในช่วงที่เศรษฐกิจกำลัง recover หลังวิกฤติทนั้น ตัวเลขว่างงานจะคงที่สูงขึ้นกว่าช่วงวิกฤติอีกเป็นระยะเวลาหนึ่ง ทั้งนี้เป็นเพราะ เมื่อบริษัทต่างๆเริ่มมีการจ้างงานมากขึ้น พวกที่ว่างงานอยู่ก็จะเริ่มออกมาหางานบ้าง ก็จะไปเข้าอยู่ในตัวเลขว่างงาน ทำให้ตัวเลขไม่ลดลง และจริงๆ จะมากขึ้นด้วยซ้ำ ในช่วงเศรษฐกิจกลับมาขยายตัวช่วงแรกๆ ตัวเลขนี้จะลดลง เมื่อคนถูกจ้างไปเยอะแล้ว คนหางานเริ่มน้อยลง ตัวเลขว่างงานก็จะลดลงเองในภายหลัง
ดังนั้น ตัวเลขว่างงาน จึงเป็น lagging indicator ที่ไม่สามารถชี้วัดสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบันได้ดีนัก เมื่อเทียบกับ indicator อื่นๆ หากไปดูสถิติย้อนหลังจะพบว่า หลังจากวิกฤติจบลงไปแล้วอย่างน้อย 2 ไตรมาส ตัวเลขว่างานถึงจะลงไปสงบเสงี่ยมที่ตัวเลขต่ำๆ
สาเหตุที่เป็น lagging indicator เป็นเพราะ
ระบบการจ้างงานของบริษัทนั้น จะ lag จากความเป็นจริงเสมอ
ลองจินตนาการว่า เรามีบริษัทที่ดำเนินกิจการอยู่เป็นปกติ สมมติว่าคุณเป็นผู้บริหาร แล้วยอดขายเริ่มเติบโตช้า หรือหดตัวลง เราไม่รู้หรอกว่า Recession มาหรือยัง อาจจะมาถึงแล้วก็ได้ หรืออาจจะกำลังมา แต่เราก็ยังดำเนินกิจการต่อไป จนเมื่อยอดขายตกต่ำมากๆ เราก็เริ่มลด cost ด้านต่างๆก่อน โดยที่ยังไม่เลิกจ้างพนักงาน ยอดขายก็ยังตกต่ำต่อไป จนมั่นใจแล้วว่าตอนนี้ Recession แล้วล่ะ วิกฤติมาแล้วถ้าไม่ลดการจ้างคน บริษัทก็ต้องปิด บริษัทก็ต้องตัดแขนขา รักษาชีวิตเอาไว้ก็ต้อง lay off คน (ซึ่งคนพวกนี้ก็จะไปหางาน ตัวเลขว่างงานก็จะเริ่มงอกออกมาให้เห็น) ผ่านไปอีกระยะ ตัวเลขว่างงานสูงจนนิ่งแล้วหรือบางทีก็เริ่มลดลง (ไม่ใช่เพราะมีงานทำ แต่เพราะขี้เกียจจะหางานแล้ว เลยไม่ไปลงทะเบียนหางานแล้ว) ชีวิตก็ยากเข็ญต่อไปสักพัก จนวันนึง recession แอบจบไปแล้ว แต่เรายังไม่รู้ตัว เราเห็นว่ายอดขายเริ่มเพิ่มขึ้น แต่บริษัทที่เหลือคนอยู่จึ๋งเดียว เพราะ lay off ไปจนเหลือแค่เท่าที่พอจะรันบริษัทได้ ก็ต้องทำงานกันหนักขึ้นเพื่อบริการยอดขายที่งอกขึ้นมา เพราะในฐานะผู้บริหาร เราคงไม่สามารถที่จะอยู่ๆ จ้างคนมาเพิ่มอีกกลุ่มเบ้อเร่อ ทั้งที่ยังไม่แน่ใจว่า recession จบไปหรือยัง จะมี double dip หรือเปล่า ช่วงเวลาเลวร้ายผ่านไปแล้วจริงไหม ก็ทำงานหนักกันไป จนยอดขายเยอะจนทำไม่ไหวแล้ว เราก็จะเริ่มมองว่า อนาคตเริ่มดี แต่เราก็จะยังไม่จ้างคน เราจะเริ่มจ้าง temp หรือ part-time เพื่อทำงานที่เราทำไม่ไหวแล้ว เพราะการจ้าง temp นั้นหากสิ่งต่างๆ เลวร้ายลงอีกครั้ง เราสามารถกลับไปเป็นบริษัทที่มีคนน้อยๆ รักษาตัวรอดได้ง่ายกว่า จ่ายค่าชดเชยน้อยกว่า แต่ก็ไม่เกิด double dip ... งานก็เริ่มงอกมาเรื่อยๆ ยอดขายท่วมท้น กำไรพุ่งสูงต่อเนื่องไป 2-3 ไตรมาส ทีมงานเริ่มบ่นว่าถ้าไม่จ้างคนเพิ่มเรากำลังเสียโอกาสไปฟรีๆจำนวนมาก จนเราเริ่มเชื่อแล้วว่า recession จบไปแล้วนั่นแหละ เราถึงจะเริ่มจ้างพนักงาน full-time ซึ่งในช่วง 2-3 ไตรมาสที่สิ่งต่างๆเริ่มดีขึ้นนี้เอง ยอดตัวเลขว่างงานจะไม่ลดลง และจากสถิติ จะเพิ่มขึ้นด้วย เพราะคนที่ไม่มีงานทำ เริ่มเห็นเพื่อนมีงานทำ เลยออกมาหางานทำบ้าง เราจะ mark วันที่ recession จบลง ย้อนหลังเสมอ
ดังนั้นผมคิดว่าหลังจากวิกฤติแต่ละครั้ง อย่าให้ตัวเลขว่างงานขู่ให้เรากลัวในการกลับมาลงทุน เมื่อสิ่งต่างๆเริ่มดีขึ้นในไตรมาสแรก ตัวเลขกำไรเริ่มกลับมา ยอดจ้างงานเพิ่มขึ้น ดัชนีการผลิตและบริโภคต่างๆ เพิ่มขึ้น ก็ควรจะเริ่มกลับมาสู่ตลาดกันเพื่อไม่ให้พลาดขึ้นรถไฟด่วนซื้อของถูกเป็นคนแรกๆ
เป็นแค่สิ่งที่ผมเก็บเกี่ยวไอเดียมานะครับ อยากชวนเพื่อนๆพี่ๆน้องๆ มาถกกันในหัวข้อนี้ ผมอาจจะเข้าใจผิดก็ได้ อยากฟังความเห็นและแนวคิดของท่านอื่นๆด้วยครับ
*สำหรับเรื่อง การลอกหุ้น ตอนที่ 2 ยังทำรูปไม่เสร็จน่ะครับ ขอเขียนข้ามไปข้ามมาละกันครับรอบหน้าอาจจะเป็นตอน 2 หรืออาจจะเป็นเรื่องอื่นมาคั่นเวลาอีกก็ได้*