ลองหัดทำ Five Force Model มาส่งครับ รบกวนช่วยวิจารณ์ทีครับ
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ต.ค. 28, 2012 4:43 pm
คือผมเป็นมือใหม่ทำ Five Force Model ในที่นี้ผมทำของ AIS มายาวนิดนึง(หรือสั้นไปก็ไม่แน่ใจ)นะครับ หาก Admin เห็นว่าควรจะไปอยู่ร้อยคนร้อยหุ้นก็ลบได้ย้ายได้ครับ
วิเคระห์ Five Force Model for AIS
1.การแข่งขันภายในอุตสาหกรรม (5/5 คะแนน)
ปัจจุบัน AIS ดำเนินธุรกิจด้านโทรคมนาคม เป็นผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งประกอบไปด้วย VOICE และ NON VOICE service
โดยธุรกิจนี้เป็นลักษณะของการทำสัญญาสัมปทาน ปัจจุบันมีคู่แข่งรายใหญ่ในอุตสาหกรรมเดียวกันเพียงสองรายคือ TRUE และ DTAC และ AIS เป็นผู้
ครองส่วนแบ่งตลาดสูงสุด(ส่วนแบ่งทางการตลาดในเชิงรายได้อยู่ที่ 54% ในปี 2554) จากการศึกษาแบบคร่าวๆของผู้เขียน มียุคสมัยหนึ่งที่การแข่งขัน
ระหว่างผู้ให้บริการทั้งสามเจ้าเป็นลักษณะของ Red Ocean มาก่อนมีการแข่งขันตัดราคากันสูงมากผลสุดท้ายไม่มีใครได้อะไรจากธุรกิจนี้ ต่อมามีลักษะ
ของการเก็บค่าบริการที่ค่อนข้างใกล้เคียงมีการแข่งขันกันน้อยลง แต่สิ่งที่สังเกตได้ง่ายคือ AIS มีจุดแข็งในเรื่องของคุณภาพสัญญาณที่เหนือกว่าคู่แข่ง
ทั้งในเมืองและต่างจังหวัด ในขณะที่ DTAC ยังคงมีปัญหาเรื่องสัญญาณล่มบ่อยในปีนี้ (2012) ส่วน TRUE คุณภาพสัญญาณยังต่ำอยู่ในต่างจังหวัด
2.อำนาจการต่อรองของ Supplier (2/5 คะแนน)
ด้วยลักษณะการประกอบธุรกิจที่เป็นสัญญาสัมปทานกับรัฐ เสมือนว่ารัฐคือ Supplier ผู้ให้สิทธิ์ในการใช้คลื่น ในที่นี้คือ TOT สำหรับการให้บริการ
ที่ความถี่ 900 Mhzโดย TOT ได้ส่วนแบ่งรายได้อยู่ที่ 20% สำหรับลูกค้าเติมเงินและ 30% สำหรับลูกค้ารายเดือน และAIS จ่ายรายได้ 30% ให้กับ กสท.
สำหรับสิทธิ์การใช้คลื่น 1800 Mhz เนื่องจากเป็นธุรกิจสัมปทานอำนาจต่อรองกับ Supplier จึงค่อนข้างต่ำ มีคู่แข่งรายอื่นๆที่ยินดีจ่ายค่าสัมปทานหาก
AIS ไม่จ่าย ไม่ทำ ก็มีคนมาทำแทนอยู่ดี อย่างไรก็ดีในอนาคตกำลังมีการให้ใบอนุญาต 3G เพื่อใช้คลื่นความที่ 2100 Mhz อายุ 15 ปี โดยมีการประมูล
ไปแล้วและ AIS เสียค่าใช้จ่ายสำหรับใบอนุญาตอยู่ที่ 14,625 ล้านบาทซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่ FIX ไม่แปรผันกับปริมาณรายได้ในแต่ละปี เท่ากับว่า AIS มีค่า
ใช้จ่ายรายปีสำหรับการบริการคลื่น 2100 Mhz อยู่ที่ 975 ล้านบาทต่อปีเท่านั้นซึ่งค่อนข้างต่ำ แต่ด้วยราคาที่ต่ำทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างองค์กรของ
รัฐว่าอาจเกิดการเสียประโยชน์โดยไม่สมควร ทำให้อาจมีมาตรการคุมค่าบริการเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประชาชน ซึ่งหากมีมติใดๆออกมาก็จำเป็นที่จะ
ต้องยอมรับอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
3. อำนาจต่อรองของลูกค้า (4/5 คะแนน)
ในธุรกิจนี้ลูกค้ามีตัวเลือกเพียงสามเจ้าคือ AIS DTAC และ TRUE โดยปัจจัยที่ลูกค้าใช้เลือกผู้ให้บริการมักขึ้นอยู่กับคุณภาพและราคา จาก
สถานการณ์ปัจจุบันที่ AIS ครองความเป็นหนึ่งด้านคุณภาพ จึงเป็นตัวเลือกต้นๆของลูกค้า ซึ่งมักจะยอมจ่ายด้วยราคาที่แพงกว่าเจ้าอื่นๆเพื่อให้ตนเองได้
รับบริการที่ดีขึ้น อย่างไรก็ดีธรรมชาติของธุรกิจมือถือมักเปิดโอกาสให้ลูกค้าได้พบกับ Promotion ที่หลากหลายขึ้นอยู่กับประเภทการใช้งาน จึงดูเหมือน
ว่าลูกค้ามีอำนาจในการเลือกผลิตภัณฑ์ แต่จากประสบการณ์ของผู้เขียนเองมักพบว่าผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ถูกออกแบบมานั้น ออกแบบมาเพื่อให้ลูกค้าเดินใน
เกมของผู้ให้บริการ เช่น สิทธิในการโทรเข้าเครือข่ายเดียวกันด้วยราคาพิเศษ หรือ โทร Buffet ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งเท่านั้น หากจะโทรอีกช่วงเวลาจะได้
Rate ค่าใช้จ่ายที่ต่างกัน โทรน้อยได้วันเยอะมีค่าบริการโทรที่แพงกว่าโทรเยอะได้วันน้อยเป็นต้น
4. ภัยคุกคามจากสินค้าทดแทน (5/5 คะแนน)
โดยพื้นฐานรายได้ส่วนใหญ่ของค่าย AIS มาจากการให้บริการด้าน VOICE เป็นหลัก และรองลงมาคือบริการ NON-VOICE หรือบริการ DATA บนมือถือ ซึ่งตอนนี้ยังมองไม่เห็นถึงสินค้าที่จะทดแทนได้ในธุรกิจนี้ หรือหากมีเทคโนโลยีใหม่เข้ามาก็มีความเป็นไปได้สูงที่จะต้องพึ่งพาสัญญาสัมปทาน หรือใบอนุญาตใดๆอยู่ดี และมีต้นทุนในการลงทุนตั้งต้นค่อนข้างสูง ซึ่งคาดว่าเหล่าผู้ที่จะเข้ามาทำสินค้าทดแทนดังกล่าวก็ยังคงเป็นผู้ให้บริการรายใหญ่เจ้าเดิม
5.ภัยคุกคามจากผู้แข่งขันหน้าใหม่ (5/5 คะแนน)
ด้วยความที่เป็นธุรกิจที่ต้องมีการลงทุนสูงทั้งในด้านโครงข่าย การให้บริการ สัญญาสัมปทานหรือใบอนุญาต(จากสานะงบดุลของผู้บริการรายใหญ่
มักมีสินทรัพย์อยู่ในระดับแสนล้านขึ้นไป) จึงมีโอกาสน้อยที่จะมีผู้เล่นหน้าใหม่เข้ามาในธุรกิจนี้ แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีเสียเลย ในปัจจุบันมีผู้ให้บริการ 3G ราย
ย่อยภายใต้สัปทานของ TOT เช่น I-MOBILE 3GX, 365 3G, MOJO 3G แต่ก็ถือได้ว่ามีขนาดที่เล็กมากไม่ถึง 1% ของ Market Cap ในขณะที่ CAT
และ HUTCH อยู่ที่ 1.47 % (อ้างอิงจากข้อมูลในเว็บ กสทช nbtc.go.th) ซึ่งในอนาคตก็มีโอกาสที่ผู้เล่นรายย่อยเหล่านี้จะเพิ่มขึ้นแต่ไม่น่าเป็นภัยคุกคาม
มากนัก
สรุป
จากการประเมินให้คะแนน Five Force Model ที่ (21/25 คะแนน) โดยรวมแล้วบริษัท AIS อยู่ในสภาพตลาดที่ตัวบริษัทเองมีความสามารถ
แข่งขันได้ค่อนสูง อันเป็นผลมาจากคุณภาพของการให้บริการซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคจดจำ มีความสามารถที่ทำให้ผู้บริโภคยอมควักกระเป๋าเพื่อจ่ายค่าบริการ
ที่สูงกว่าผู้ให้บริการรายอื่นๆได้ นอกจากนี้ยังอยู่ในอุตสาหกรรมที่การแข่งขันไม่รุนแรง และโอกาสที่ผู้แข่งขันหน้าใหม่จะเข้ามาได้ลำบากเนื่องจากมีค่าใช้
จ่ายในการลงทุนสูงมาก แต่ปัจจัยที่ไม่ควรละเลยคือเรื่องของการทำสัญญาสัมปทาน หรือใบอนุญาตกับรัฐซึ่งอาจมีผลกระทบต่อรายได้ของบริษัทจากการ
กำหนดค่าบริการเพื่อปกป้องผู้บริโภค หรือรายได้ส่วนแบ่งที่ต้องจัดส่งให้กับรัฐ
วิเคระห์ Five Force Model for AIS
1.การแข่งขันภายในอุตสาหกรรม (5/5 คะแนน)
ปัจจุบัน AIS ดำเนินธุรกิจด้านโทรคมนาคม เป็นผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งประกอบไปด้วย VOICE และ NON VOICE service
โดยธุรกิจนี้เป็นลักษณะของการทำสัญญาสัมปทาน ปัจจุบันมีคู่แข่งรายใหญ่ในอุตสาหกรรมเดียวกันเพียงสองรายคือ TRUE และ DTAC และ AIS เป็นผู้
ครองส่วนแบ่งตลาดสูงสุด(ส่วนแบ่งทางการตลาดในเชิงรายได้อยู่ที่ 54% ในปี 2554) จากการศึกษาแบบคร่าวๆของผู้เขียน มียุคสมัยหนึ่งที่การแข่งขัน
ระหว่างผู้ให้บริการทั้งสามเจ้าเป็นลักษณะของ Red Ocean มาก่อนมีการแข่งขันตัดราคากันสูงมากผลสุดท้ายไม่มีใครได้อะไรจากธุรกิจนี้ ต่อมามีลักษะ
ของการเก็บค่าบริการที่ค่อนข้างใกล้เคียงมีการแข่งขันกันน้อยลง แต่สิ่งที่สังเกตได้ง่ายคือ AIS มีจุดแข็งในเรื่องของคุณภาพสัญญาณที่เหนือกว่าคู่แข่ง
ทั้งในเมืองและต่างจังหวัด ในขณะที่ DTAC ยังคงมีปัญหาเรื่องสัญญาณล่มบ่อยในปีนี้ (2012) ส่วน TRUE คุณภาพสัญญาณยังต่ำอยู่ในต่างจังหวัด
2.อำนาจการต่อรองของ Supplier (2/5 คะแนน)
ด้วยลักษณะการประกอบธุรกิจที่เป็นสัญญาสัมปทานกับรัฐ เสมือนว่ารัฐคือ Supplier ผู้ให้สิทธิ์ในการใช้คลื่น ในที่นี้คือ TOT สำหรับการให้บริการ
ที่ความถี่ 900 Mhzโดย TOT ได้ส่วนแบ่งรายได้อยู่ที่ 20% สำหรับลูกค้าเติมเงินและ 30% สำหรับลูกค้ารายเดือน และAIS จ่ายรายได้ 30% ให้กับ กสท.
สำหรับสิทธิ์การใช้คลื่น 1800 Mhz เนื่องจากเป็นธุรกิจสัมปทานอำนาจต่อรองกับ Supplier จึงค่อนข้างต่ำ มีคู่แข่งรายอื่นๆที่ยินดีจ่ายค่าสัมปทานหาก
AIS ไม่จ่าย ไม่ทำ ก็มีคนมาทำแทนอยู่ดี อย่างไรก็ดีในอนาคตกำลังมีการให้ใบอนุญาต 3G เพื่อใช้คลื่นความที่ 2100 Mhz อายุ 15 ปี โดยมีการประมูล
ไปแล้วและ AIS เสียค่าใช้จ่ายสำหรับใบอนุญาตอยู่ที่ 14,625 ล้านบาทซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่ FIX ไม่แปรผันกับปริมาณรายได้ในแต่ละปี เท่ากับว่า AIS มีค่า
ใช้จ่ายรายปีสำหรับการบริการคลื่น 2100 Mhz อยู่ที่ 975 ล้านบาทต่อปีเท่านั้นซึ่งค่อนข้างต่ำ แต่ด้วยราคาที่ต่ำทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างองค์กรของ
รัฐว่าอาจเกิดการเสียประโยชน์โดยไม่สมควร ทำให้อาจมีมาตรการคุมค่าบริการเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประชาชน ซึ่งหากมีมติใดๆออกมาก็จำเป็นที่จะ
ต้องยอมรับอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
3. อำนาจต่อรองของลูกค้า (4/5 คะแนน)
ในธุรกิจนี้ลูกค้ามีตัวเลือกเพียงสามเจ้าคือ AIS DTAC และ TRUE โดยปัจจัยที่ลูกค้าใช้เลือกผู้ให้บริการมักขึ้นอยู่กับคุณภาพและราคา จาก
สถานการณ์ปัจจุบันที่ AIS ครองความเป็นหนึ่งด้านคุณภาพ จึงเป็นตัวเลือกต้นๆของลูกค้า ซึ่งมักจะยอมจ่ายด้วยราคาที่แพงกว่าเจ้าอื่นๆเพื่อให้ตนเองได้
รับบริการที่ดีขึ้น อย่างไรก็ดีธรรมชาติของธุรกิจมือถือมักเปิดโอกาสให้ลูกค้าได้พบกับ Promotion ที่หลากหลายขึ้นอยู่กับประเภทการใช้งาน จึงดูเหมือน
ว่าลูกค้ามีอำนาจในการเลือกผลิตภัณฑ์ แต่จากประสบการณ์ของผู้เขียนเองมักพบว่าผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ถูกออกแบบมานั้น ออกแบบมาเพื่อให้ลูกค้าเดินใน
เกมของผู้ให้บริการ เช่น สิทธิในการโทรเข้าเครือข่ายเดียวกันด้วยราคาพิเศษ หรือ โทร Buffet ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งเท่านั้น หากจะโทรอีกช่วงเวลาจะได้
Rate ค่าใช้จ่ายที่ต่างกัน โทรน้อยได้วันเยอะมีค่าบริการโทรที่แพงกว่าโทรเยอะได้วันน้อยเป็นต้น
4. ภัยคุกคามจากสินค้าทดแทน (5/5 คะแนน)
โดยพื้นฐานรายได้ส่วนใหญ่ของค่าย AIS มาจากการให้บริการด้าน VOICE เป็นหลัก และรองลงมาคือบริการ NON-VOICE หรือบริการ DATA บนมือถือ ซึ่งตอนนี้ยังมองไม่เห็นถึงสินค้าที่จะทดแทนได้ในธุรกิจนี้ หรือหากมีเทคโนโลยีใหม่เข้ามาก็มีความเป็นไปได้สูงที่จะต้องพึ่งพาสัญญาสัมปทาน หรือใบอนุญาตใดๆอยู่ดี และมีต้นทุนในการลงทุนตั้งต้นค่อนข้างสูง ซึ่งคาดว่าเหล่าผู้ที่จะเข้ามาทำสินค้าทดแทนดังกล่าวก็ยังคงเป็นผู้ให้บริการรายใหญ่เจ้าเดิม
5.ภัยคุกคามจากผู้แข่งขันหน้าใหม่ (5/5 คะแนน)
ด้วยความที่เป็นธุรกิจที่ต้องมีการลงทุนสูงทั้งในด้านโครงข่าย การให้บริการ สัญญาสัมปทานหรือใบอนุญาต(จากสานะงบดุลของผู้บริการรายใหญ่
มักมีสินทรัพย์อยู่ในระดับแสนล้านขึ้นไป) จึงมีโอกาสน้อยที่จะมีผู้เล่นหน้าใหม่เข้ามาในธุรกิจนี้ แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีเสียเลย ในปัจจุบันมีผู้ให้บริการ 3G ราย
ย่อยภายใต้สัปทานของ TOT เช่น I-MOBILE 3GX, 365 3G, MOJO 3G แต่ก็ถือได้ว่ามีขนาดที่เล็กมากไม่ถึง 1% ของ Market Cap ในขณะที่ CAT
และ HUTCH อยู่ที่ 1.47 % (อ้างอิงจากข้อมูลในเว็บ กสทช nbtc.go.th) ซึ่งในอนาคตก็มีโอกาสที่ผู้เล่นรายย่อยเหล่านี้จะเพิ่มขึ้นแต่ไม่น่าเป็นภัยคุกคาม
มากนัก
สรุป
จากการประเมินให้คะแนน Five Force Model ที่ (21/25 คะแนน) โดยรวมแล้วบริษัท AIS อยู่ในสภาพตลาดที่ตัวบริษัทเองมีความสามารถ
แข่งขันได้ค่อนสูง อันเป็นผลมาจากคุณภาพของการให้บริการซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคจดจำ มีความสามารถที่ทำให้ผู้บริโภคยอมควักกระเป๋าเพื่อจ่ายค่าบริการ
ที่สูงกว่าผู้ให้บริการรายอื่นๆได้ นอกจากนี้ยังอยู่ในอุตสาหกรรมที่การแข่งขันไม่รุนแรง และโอกาสที่ผู้แข่งขันหน้าใหม่จะเข้ามาได้ลำบากเนื่องจากมีค่าใช้
จ่ายในการลงทุนสูงมาก แต่ปัจจัยที่ไม่ควรละเลยคือเรื่องของการทำสัญญาสัมปทาน หรือใบอนุญาตกับรัฐซึ่งอาจมีผลกระทบต่อรายได้ของบริษัทจากการ
กำหนดค่าบริการเพื่อปกป้องผู้บริโภค หรือรายได้ส่วนแบ่งที่ต้องจัดส่งให้กับรัฐ