ก.ล.ต.ชูไอเดียตั้งสินบนนำจับร่นเวลาสืบ-ตรวจสอบหุ้นปั่น
โพสต์แล้ว: อังคาร พ.ย. 06, 2012 10:47 am
ก.ล.ต.ชูไอเดียตั้งสินบนนำจับร่นเวลาสืบ-ตรวจสอบหุ้นปั่น
updated: 06 พ.ย. 2555 เวลา 08:52:02 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
ก.ล.ต. ไอเดียกระฉูด ผุดแนวคิดให้รางวัลสินบนนำจับผู้ให้เบาะแส-ข้อมูลคดีหุ้นปั่น และคดีที่อยู่ระหว่างตรวจสอบ ด้านโบรกฯ เตือนระวังผู้หวังดีเฮโลแจ้งข่าวทำตรวจสอบวุ่น หวั่นเสี่ยงเกิดการกลั่นแกล้งได้
แหล่งข่าวจากสำนักงานคณะ กรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า ในขณะนี้สำนักงาน ก.ล.ต. ยังคงอยู่ระหว่างการแก้ไขกฎหมายหลายข้อเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการลงทุน
ซึ่ง หนึ่งในประเด็นที่มีการหยิบยกขึ้นมาหารือคือ การให้รางวัลสินบนกับผู้ที่แจ้งเบาะแสคดีที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบ โดยจะต้องมีหลักฐาน เอกสารอย่างชัดเจน เพื่อช่วยให้คดีดำเนินการได้รวดเร็วขึ้น
"เหมือนกับหน่วยงานอื่น ๆ ที่ใช้วิธีนี้ เช่น กรมศุลกากร อย่างไรก็ตามการจะได้รางวัลนั้น ต้องเป็นข้อมูลที่มีหลักฐานเอกสารชัดเจนด้วย เพราะต้องยอมรับว่าที่ผ่านมาข้อมูลต่าง ๆ ค่อนข้างหายากมาก แต่ข้อสรุปทั้งหมดยังคงต้องคุยกับหลายฝ่ายว่าเห็นด้วยหรือไม่" แหล่งข่าวกล่าว
นายรณกฤต สารินวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ คันทรี่ กรุ๊ป (CGS) กล่าวว่า การใช้วิธีให้สินบนนำจับนั้น อาจจะสร้างความยุ่งยากให้กับการตรวจสอบมากยิ่งขึ้น เช่น เกิดการให้ข้อมูลจำนวนมากเพื่อหวังรางวัล และบางกรณีอาจเป็นการกลั่นแกล้งของผู้ไม่หวังดี จึงอยากให้พิจารณาในแง่มุมดังกล่าวด้วย
"แต่ก็ต้องยอมรับว่าอาจจะมี ความวุ่นวายตามมา ถ้าคนแห่มาแจ้งกันเป็น 10-20 เคส แล้วเราก็ไม่รู้ด้วยว่าเป็นการกลั่นแกล้งกันหรือเปล่า ดังนั้นจึงถือว่าทำได้ยากโดยเฉพาะกับตลาดบ้านเราที่มีนักลงทุนรายย่อย 60-70% ซึ่งมักจะเกิดข่าวลือทุกวัน จะเข้าไปใส่ใจตรวจสอบข้อมูลทุกเรื่องก็ไม่ได้ แถมจากประสบการณ์ส่วนตัวของผมยังพบว่า ถ้าหลักทรัพย์ไหนมีข่าวลือ อยู่ระหว่างการตรวจสอบ ก็ยิ่งกระตุ้นให้เกิดวอลุ่มซื้อขายเข้าไปอีก" นายรณกฤตกล่าว
นายรณกฤตกล่าวว่า มุมมองส่วนตัวเห็นว่าทางแก้ไขหนึ่งที่จะช่วยให้กระบวนการตรวจสอบดีขึ้น และลงทุนตามกระแสข่าวลือเบาบางลง คือ การส่งเสริมให้ผู้บริหารบริษัทจดทะเบียน(บจ.)ให้ข้อมูลกับนักวิเคราะห์มาก ขึ้น เพื่อที่จะได้ใช้ประเมินความเสี่ยง และแจ้งข้อมูลให้นักลงทุนทราบว่าควรลงทุนหรือไม่ เพราะที่ผ่านพบว่ายังคงมีหลักทรัพย์อีกราว 300 บริษัท ที่ยังไม่มีผู้ทำบทวิเคราะห์ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มักจะมีการเข้าไปเก็งกำไร แต่ผู้บริหารกลับปฏิเสธที่จะให้ข้อมูลกับนักวิเคราะห์
http://www.prachachat.net/news_detail.p ... catid=0902
updated: 06 พ.ย. 2555 เวลา 08:52:02 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
ก.ล.ต. ไอเดียกระฉูด ผุดแนวคิดให้รางวัลสินบนนำจับผู้ให้เบาะแส-ข้อมูลคดีหุ้นปั่น และคดีที่อยู่ระหว่างตรวจสอบ ด้านโบรกฯ เตือนระวังผู้หวังดีเฮโลแจ้งข่าวทำตรวจสอบวุ่น หวั่นเสี่ยงเกิดการกลั่นแกล้งได้
แหล่งข่าวจากสำนักงานคณะ กรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า ในขณะนี้สำนักงาน ก.ล.ต. ยังคงอยู่ระหว่างการแก้ไขกฎหมายหลายข้อเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการลงทุน
ซึ่ง หนึ่งในประเด็นที่มีการหยิบยกขึ้นมาหารือคือ การให้รางวัลสินบนกับผู้ที่แจ้งเบาะแสคดีที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบ โดยจะต้องมีหลักฐาน เอกสารอย่างชัดเจน เพื่อช่วยให้คดีดำเนินการได้รวดเร็วขึ้น
"เหมือนกับหน่วยงานอื่น ๆ ที่ใช้วิธีนี้ เช่น กรมศุลกากร อย่างไรก็ตามการจะได้รางวัลนั้น ต้องเป็นข้อมูลที่มีหลักฐานเอกสารชัดเจนด้วย เพราะต้องยอมรับว่าที่ผ่านมาข้อมูลต่าง ๆ ค่อนข้างหายากมาก แต่ข้อสรุปทั้งหมดยังคงต้องคุยกับหลายฝ่ายว่าเห็นด้วยหรือไม่" แหล่งข่าวกล่าว
นายรณกฤต สารินวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ คันทรี่ กรุ๊ป (CGS) กล่าวว่า การใช้วิธีให้สินบนนำจับนั้น อาจจะสร้างความยุ่งยากให้กับการตรวจสอบมากยิ่งขึ้น เช่น เกิดการให้ข้อมูลจำนวนมากเพื่อหวังรางวัล และบางกรณีอาจเป็นการกลั่นแกล้งของผู้ไม่หวังดี จึงอยากให้พิจารณาในแง่มุมดังกล่าวด้วย
"แต่ก็ต้องยอมรับว่าอาจจะมี ความวุ่นวายตามมา ถ้าคนแห่มาแจ้งกันเป็น 10-20 เคส แล้วเราก็ไม่รู้ด้วยว่าเป็นการกลั่นแกล้งกันหรือเปล่า ดังนั้นจึงถือว่าทำได้ยากโดยเฉพาะกับตลาดบ้านเราที่มีนักลงทุนรายย่อย 60-70% ซึ่งมักจะเกิดข่าวลือทุกวัน จะเข้าไปใส่ใจตรวจสอบข้อมูลทุกเรื่องก็ไม่ได้ แถมจากประสบการณ์ส่วนตัวของผมยังพบว่า ถ้าหลักทรัพย์ไหนมีข่าวลือ อยู่ระหว่างการตรวจสอบ ก็ยิ่งกระตุ้นให้เกิดวอลุ่มซื้อขายเข้าไปอีก" นายรณกฤตกล่าว
นายรณกฤตกล่าวว่า มุมมองส่วนตัวเห็นว่าทางแก้ไขหนึ่งที่จะช่วยให้กระบวนการตรวจสอบดีขึ้น และลงทุนตามกระแสข่าวลือเบาบางลง คือ การส่งเสริมให้ผู้บริหารบริษัทจดทะเบียน(บจ.)ให้ข้อมูลกับนักวิเคราะห์มาก ขึ้น เพื่อที่จะได้ใช้ประเมินความเสี่ยง และแจ้งข้อมูลให้นักลงทุนทราบว่าควรลงทุนหรือไม่ เพราะที่ผ่านพบว่ายังคงมีหลักทรัพย์อีกราว 300 บริษัท ที่ยังไม่มีผู้ทำบทวิเคราะห์ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มักจะมีการเข้าไปเก็งกำไร แต่ผู้บริหารกลับปฏิเสธที่จะให้ข้อมูลกับนักวิเคราะห์
http://www.prachachat.net/news_detail.p ... catid=0902