หน้า 1 จากทั้งหมด 2
อะไรคือบรรทัดฐานของคำว่า Value
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ธ.ค. 07, 2012 4:09 pm
โดย chukieat30
เราให้คุณค่าและกำหนดคุณค่า value จากอะไรกันบ้างครับ
ผมขอรอฟัง ทัศนะท่านอื่นๆก่อน
Re: อะไรคือบรรทัดฐานของคำว่า Value
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ธ.ค. 07, 2012 5:38 pm
โดย อ่อนซ่อนศิลป์
เหมือนซื้อของมีคุณภาพ 10 บาทในราคา 5 บาท ส่วนต่างตรงนี้คือ VALUE ครับ
หรือบางทีการตั้งราคาสินค้า เช่น ต้นทุนผลิตของเสื้อยืดคู่รัก อยู่ที่ตัวละ 30 บาท แต่ขายกันในราคาที่คนยอมรับกันได้คือ 90 บาท ส่วนต่างตรงนี้คือคุณค่าในสายตาผู้บริโภค
คุณค่าหุ้น น่าจะอยู่ที่ส่วนต่างระหว่างอนาคต เมื่อเทียบกับปัจจุบัน
price is what you pay value is what you get
Re: อะไรคือบรรทัดฐานของคำว่า Value
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ธ.ค. 07, 2012 7:58 pm
โดย David TON
ขอตอบหน่อยนะครับพี่ชู
แต่ก่อนผมสงสัยมากๆเลยว่าเค้าหาไอ้เจ้า value กันยังงัย อ่านแล้วก็อ่านอีก ก็ยังมึนๆงงๆ กับไอ้เจ้า value
มาจนปัจจุบัน ผมรู้แระ แต่มันก็ยังไม่สามารถอธิบายได้อยู่ดี อธิบายไปมันก็ไม่หมด เป็นชิ้นๆ ท่อนๆ
เหมือนกับถามให้อธิบายว่า "รสเปรี้ยวมันเป็นยังงัย"
สรุปก็คือรอท่านด้านล่างตอบละกันครับ....อิอิ
Re: อะไรคือบรรทัดฐานของคำว่า Value
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ธ.ค. 07, 2012 8:20 pm
โดย yakjabon
สามารถใชหลักเหตุผลของตัวกิจการในการตัดสินใจเข้าซื้อ บางครั้งก็สามารถเปรียบเทียบมูลค่าเป็นตัวเลขเพื่อเทียบกับราคาปัจจุบันว่าถูกหรือแพงเทียบกับมูลค่าตามเหตุผลเรา จึงสามารถเห็นได้ว่า VI แต่ละคนอาจประเมินมูลค่าไม่เท่ากัน เพราะแต่ละคนมักจะมีเหตุผลของตนเอง
Re: อะไรคือบรรทัดฐานของคำว่า Value
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ธ.ค. 07, 2012 10:48 pm
โดย pak
"Value is all around" ครับ
มันแทรกซึมอยู่ในทุกๆการตัดสินใจของนักลงทุนทุกคน
"ทำไม JMT เปิดมาจึงซิลลิ่ง?
แต่ทำไม ANAN จึงเปิดมาต่ำกว่าจองกว่า10%?"
มันไม่ได้บังเอิญครับ แต่ Value มันถูกกำหนดในใจของนักลงทุนอยู่ตลอดเวลา
...เพียงแต่ความแม่นยำของแต่ละคนจะเป็นอย่างไร ก็เท่านั้นเอง
ผมรู้สึกถึงมันได้เป็นอย่างดี ถึง "มุมมองที่แตกต่าง"
เพราะบริษัทฯของผมนั้น คนส่วนใหญ่ให้ Value มันต่ำมากๆ
ในขณะที่ผมรักและให้ Value มันสูงมากในเวลาเดียวกัน
คนที่รู้และตระหนักถึงคุณค่า(Value) จึงจะเป็นนักลงทุนที่สมเหตุสมผล
และมักจะไม่ขายหมู!!!
เพราะเค้าจะรู้ และเข้าใจคุณค่าของบริษัทฯตนเองได้เป็นอย่างดี
และคนกลุ่มนี้ จะเป็นนักลงทุนที่มีความสุข เพราะตัดสินใจอยู่บนพื้นฐานความรู้ความเข้าใจของตนเอง
...ไม่ต้องพึ่งพาใคร
แต่คนที่ไม่เห็นคุณค่าของมัน ก็จึงมักจะเสีย "โอกาส"
และจมอยู่บน "ความไม่รู้"!!!
และปล่อยให้การตัดสินใจอยู่ภายใต้ "อารมณ์" ที่ตลาดยัดเยียดให้
...เราจึงมักเห็นคนกลุ่มหลังนี้ ไม่ค่อยจะมีความสุขในการลงทุนมากนัก
การประเมิน Value มีหลากหลายรูปแบบ ทั้งเชิงปริมาณ และคุณภาพ
โดยความแม่นยำจะขึ้นกับ "ความรู้" และ "ประสบการณ์" ของนักลงทุน
เราจึงมักจะเห็นว่า คนในวงการจะสามารถมองธุรกิจได้ขาดกว่าคนนอก
นั่นเป็นเพราะประสบการณ์ และความรอบรู้ในธุรกิจนั้นๆเป็นอย่างดี ทั้งในส่วนจุดแข็งและจุดด้อย
เช่นเท่าที่ผมเคยพบมา คือ JAS , SYMC , PTTEP , RS หรือ WORK
คนที่เข้าใจ Business Model ย่อมให้ Value ได้อย่างแม่นยำกว่า
การพูดคุยกับคนที่รู้จริง และการศึกษาหาความรู้ในเชิงวิชาการ
จึงจะทำให้เราค้นหาคุณค่าของกิจการได้ลึกซึ้งมากขึ้น
ซึ่งมันน่าภาคภูมิใจอย่างมาก เมื่อเราสามารถมองและปรเมินกิจการออกได้ตัวความมั่นใจของเราเอง
เป้าหมายสุดท้าย คือ กำไร และ ความสุขในการลงทุนครับผม
เวิ้นเว้อ...จนเกือบจบไม่ลง (ฮา...)
Re: อะไรคือบรรทัดฐานของคำว่า Value
โพสต์แล้ว: เสาร์ ธ.ค. 08, 2012 12:17 am
โดย xavi
ขอตอบพี่ชูด้วยคนครับ
ผมมองว่า Value นั้นเป็นสิ่งที่เป็นทั้ง "ศาสตร์" และ "ศิลป์" ในตัวมันเองครับ
มีทั้งสิ่งที่วัดได้ง่าย (Tangible Asset) วัดได้ยาก (Intangible Asset, Inorganic Growth) และ วัดไม่ได้ (ความศรัทธา, ความเชื่อ)
เราพยายามใช้ "ศาสตร์" ต่างๆมาสร้างบรรทัดฐานให้กับ Value ของสินทรัพย์แต่ละอย่าง แต่สิ่งที่ทำให้คนมอง Value ต่างกัน ก็เนื่องมาจากการมองมูลว่าที่วัดได้ยากหรือวัดไม่ได้เลยนี่ล่ะครับ ซึ่ผมมองว่านี่คือ "ศิลป์" อย่างนึง เพราะไม่งั้นเรามี Super Computer สักหนึ่งตัว เราก็คงจะเป็นคนที่ร่ำรวยมหาศาลได้แน่ๆ
แต่คนที่ประสบความสำเร็จหลายคน เช่น Buffett, Lynch หรือ อย่าง ดร. ก็จะไม่ได้เก่งแค่ "ศาสตร์" อย่างเดียว คนเหล่านี้ก็เหมือนกับเป็น "ปราชญ์" มีแง่มุมดีๆในการมองเรื่องราวต่างๆ อย่างสร้างสรร มีจินตนการ เพียงแต่ส่วนใหญ่แล้วพวกเขา "มักจะ" คาดการณ์ได้อย่างถูกต้อง
ซึ่งการที่คนมอง Value ต่างกันนี่ล่ะครับ จึงก่อให้เกิดการซื้อ ขาย สินทรัพย์ต่างๆกันไป เช่นผมขายหุ้นที่ผมมองว่าแพงไปแล้ว (Over Value) แต่นั่นก็เพราะคนซื้อคิดว่ามันยังถูกอยู่ (Under Value)
Re: อะไรคือบรรทัดฐานของคำว่า Value
โพสต์แล้ว: เสาร์ ธ.ค. 08, 2012 6:22 am
โดย CHiNU_Vi
Price is what you see. Value is what you feel.
Re: อะไรคือบรรทัดฐานของคำว่า Value
โพสต์แล้ว: เสาร์ ธ.ค. 08, 2012 7:30 am
โดย simpleBE
สนับสนุนความเห็นของคุณ pak ครับ
แต่ละอย่างล้วนมีคุณค่าในตัวเอง มากน้อยต่างกันไป
คนที่จะมองเห็นคุณค่าของสิ่งนั้นก็ต้องมาจากความเข้าใจเป็นหลัก
Re: อะไรคือบรรทัดฐานของคำว่า Value
โพสต์แล้ว: เสาร์ ธ.ค. 08, 2012 2:46 pm
โดย untrataro25
value ในมุมมองเม่าแบบผม น่าจะหมายถึงการมองเห็นอนาคตที่ยังมาไม่ถึง ยังไม่เกิดขึ้นจริง สินค้าชิ้นนี้ตอนนี้ราคา 5 บาท แต่ในอนาคตอีก 2-3 ปี ราคามันจะเป็น 50 บาท จะมองเห็นแบบนี้ได้ ต้องศึกษา เข้าใจมันอย่างลึกซึ้ง จนบางครั้งรู้สึกเหมือนตัวเองเป็นเจ้าของกิจการเลยทีเดียว
Re: อะไรคือบรรทัดฐานของคำว่า Value
โพสต์แล้ว: เสาร์ ธ.ค. 08, 2012 4:05 pm
โดย chatchai
คุณค่า ถ้าเป็นสิ่งของสะสม คงเป็นคุณค่าทางใจ
แต่ถ้าเป็นการลงทุน มูลค่าของสินทรัพย์จะขึ้นอยู่กับ กระแสเงินสดสุทธิในอนาคตที่ได้รับจากสินทรัพย์ และ อัตราผลตอบแทนที่คาดหวัง
ถ้าเป็นสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนระบุไวัชัดเจน ก็คงประเมินมูลค่าไม่ยาก
แต่กระแสเงินสดอิสระที่ได้รับจากกิจการไม่แน่นอน มีตั้งแต่ ค่อนข้างตายตัว จนถึงผันผวนสุดๆ
ความยากของการประเมินราคาหุ้น ก็อยากตรงนี้แหละ
ในตลาด ไม่ใช่ทุกคนจะสนใจมูลค่าของกิจการ บางกลุ่มสนใจแต่ว่าราคาหุ้นในอนาคตจะต้องสูงขึ้นกว่าราคาที่ตัวเองซื้อ ก็เท่านั้น มูลค่าเท่าไรไม่สนใจ
Re: อะไรคือบรรทัดฐานของคำว่า Value
โพสต์แล้ว: เสาร์ ธ.ค. 08, 2012 6:13 pm
โดย David TON
CHiNU_Vi เขียน:Price is what you see. Value is what you feel.
โอ๊ว....คมมากเลยพี่ แต่บรรทัดเดียวเองไม่ต้องโม้มาก
Re: อะไรคือบรรทัดฐานของคำว่า Value
โพสต์แล้ว: เสาร์ ธ.ค. 08, 2012 6:29 pm
โดย Nevercry.boy
chukieat30 เขียน:เราให้คุณค่าและกำหนดคุณค่า value จากอะไรกันบ้างครับ
ผมขอรอฟัง ทัศนะท่านอื่นๆก่อน
หุ้นที่เราถือไว้ ณ ปัจจุบัน สมมติเราตายไป พวกเค้ายังสามารถสร้างความมั่งคั่งให้กับลูกหลานเราได้ใช่หรือไม่?
ถ้าใช่ก็มีคุณค่าพอ ถ้าไม่ใช่เอาไว้เก็งกำไรก็ไม่ว่ากัน
อีหนู กับ กิ๊ก กับ เมีย กับ แม่ของลูก ก็มีคุณค่าต่างกัน ฉันท์ใดฉันท์นั้น
Re: อะไรคือบรรทัดฐานของคำว่า Value
โพสต์แล้ว: เสาร์ ธ.ค. 08, 2012 7:14 pm
โดย nut776
ไม่รู้ว่าสุดท้าย จะพรรณนายังไงก็คงไปจบกับคำว่า
"กำไรที่คาดว่าจะได้" หรือเปล่าคับ
Re: อะไรคือบรรทัดฐานของคำว่า Value
โพสต์แล้ว: เสาร์ ธ.ค. 08, 2012 7:22 pm
โดย Nevercry.boy
nut776 เขียน:ไม่รู้ว่าสุดท้าย จะพรรณนายังไงก็คงไปจบกับคำว่า
"กำไรที่คาดว่าจะได้" หรือเปล่าคับ
ใช่ครับ แต่กำไรที่คาดว่าจะได้ นั่นไม่พอครับ ต้องคาดการณ์ว่า กำไรที่จะได้ในระยะเวลาเท่าไร? มันจะเป็นสมการเหมือนการหา IRR
ส่วนตัวผมว่าโคตรนอนเซนท์ ที่ให้ใช้สมการเท่ากับ N ใน IRR ---- อันนี้ส่วนตัวงด debate
ปัญหาคือเราจะคำนวณ G อย่างไร? ที่จะได้แม่นยำที่สุด ถ้าไม่มี G เลย ผมว่าไม่มีคุณค่า
ถ้า G ไม่มากแต่ต่อเนื่องยาวนานและมี DCA แข็งแกร่ง ผมมองเป็นหุ้นแข็งแกร่ง แต่ไม่ตอบโจทย์ทั้งหมด ไมโครซอฟต์เองครั้งนึงเคยถูกมองเป็นหุ้นแข็งแกร่ง แต่ก็เป็นรอบของมัน
ถ้า G เร็วพุ่ง ๆ อาจเป็นไปได้ในช่วงสั้น ๆ พวกนี้คือมีคุณค่าในช่วงเวลาของมัน
ถ้าพูดแบบไม่พรรณนาโวหาร คือ เราต้องมีธุรกิจในช่วงขาขึ้นอยู่ในพอร์ตเราในช่วงเวลาใกล้รุ่งจนถึงจุดรุ่งโรจน์ของมันครับ
Re: อะไรคือบรรทัดฐานของคำว่า Value
โพสต์แล้ว: เสาร์ ธ.ค. 08, 2012 8:42 pm
โดย chukieat30
Re: อะไรคือบรรทัดฐานของคำว่า Value
โพสต์แล้ว: เสาร์ ธ.ค. 08, 2012 8:59 pm
โดย dragonrider
ถ้าเอาตามหนังสือ พฤติกรรมพยากรณ์ เค้าอธิบายว่า value ของแต่ละคนต่างกัน
แต่ value ของแต่ละคนจะเกิดจากการเปรียบเทียบ ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งกับของอีกสิ่งหนึ่ง
เช่น เราเคยซื้อมะนาวลูกละบาท พอ เจอมะนาวลูกละ 5 บาท เราก็คิดว่า ราคามันเกิน value
ในขณะที่ ถ้าปกติ เราซื้อ มะนาวลูกละ 10 ไปเจอแม่ค้าขายลูกละ 5 เราก็ว่ามันถูกแสนถูก
Re: อะไรคือบรรทัดฐานของคำว่า Value
โพสต์แล้ว: เสาร์ ธ.ค. 08, 2012 10:49 pm
โดย yy
ขอถามคุณชูกลับก็แล้วกันนะครับว่า
500 บาทต่อปี นี่ คุ้มค่ากับความว่า Value หรือยังครับ
ไม่ได้หาเรื่องนะครับ
เพราะว่าคนเรามีจุดยืนของความคิดเห็นที่ต่างกัน
...
แล้วผมจะค่อยมาตอบคำถามที่เหลือครับ
Re: อะไรคือบรรทัดฐานของคำว่า Value
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ธ.ค. 09, 2012 8:17 am
โดย chukieat30
yy เขียน:ขอถามคุณชูกลับก็แล้วกันนะครับว่า
500 บาทต่อปี นี่ คุ้มค่ากับความว่า Value หรือยังครับ
ไม่ได้หาเรื่องนะครับ
เพราะว่าคนเรามีจุดยืนของความคิดเห็นที่ต่างกัน
...แล้วผมจะค่อยมาตอบคำถามที่เหลือครับ
500บาทต่อปี ยังไงก้คุ้มเิกินคุ้มครับถ้าสมัครสมาชิกไทยวีไอ ทั้งข้อมูล ทั้งสัมนา
แต่บางคนก้เลือกจะเดินแบบหมาป่าเดียวดาย
หลายล๊อคอิน มีจุดยืนบนอุดมการณ์และมีความสามารถในการหาปลากินเองได้
เค้าจึงเลือกจะเป็น
หมาป่าเดียวดายครับ
คนเราย่อมจะมีจุดยืนที่แตกต่างกัน การไม่ได้ต่อสมาชิกไม่ได้แปลว่า เค้าไม่อยากต่อ
แต่เค้าอาจจะเป็นกลุ่มคน GEN-X ที่ไม่ต้องการสังกัด
เรื่องแบบนี้ บังคับกันไม่ได้หรอกครับ
หวังว่าคุณ YY จะเข้าใจนะครับ
Re: อะไรคือบรรทัดฐานของคำว่า Value
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ธ.ค. 09, 2012 8:41 am
โดย chukieat30
ขอยกบทความตอนนึงเรื่อง VI GEN-X ของท่าน อาจารย์มานะครับ
ผมคงไม่พูดถึง Gen Z ซึ่งก็คือเด็กที่อายุไม่ถึง 15 ปี ในปัจจุบันซึ่งเป็นหลานของเบบี้บูม แต่จะพูดถึงนักลงทุนที่เป็น VI ในประเทศไทย เหตุผลก็เพราะว่าจากการสังเกตผมพบว่า VI ไทยที่ประสบความสำเร็จสูงและมีพอร์ตขนาดใหญ่มากเมื่อเทียบกับอายุนั้น ส่วนใหญ่แล้วเป็นคน Gen-X ซึ่งก็คือ VI ที่มีอายุระหว่าง 31- 47 คนกลุ่มนี้ผมคิดว่าอยู่ในสถานะที่ “ได้เปรียบที่สุด” ในการลงทุนในตลาดหุ้นไทย เหตุผลก็คือ หนึ่งพวกเขาเป็นลูกของเบบี้บูมที่ได้สะสมความมั่งคั่งไว้มากพอที่จะให้ลูกได้เริ่มลงทุนอย่างเต็มที่ได้ ข้อสอง พวกเขาเป็นนักลงทุนที่มักจะไม่ได้ผ่านเหตุวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 ดังนั้น พวกเขาเข้าตลาดในช่วงที่ตลาดหุ้นเติบโตอย่างรวดเร็วและมั่นคงมากตลอดมา ข้อสาม พวกเขาได้เรียนรู้หลักการ VI มาตั้งแต่เริ่มเข้าตลาด ดังนั้น จึงมีหลักการการลงทุนที่ถูกต้องมาตั้งแต่แรก และข้อสุดท้ายที่ผมจะพูดก็คือ พวกเขาเป็นคนที่ไม่ติดยึดกับอะไรที่เป็น “สถาบัน” พวกเขาไม่คิดว่าจะต้องทำงานและเติบโตตามระบบหรือในบริษัทขนาดใหญ่ ตรงกันข้าม พวกเขาอยากเป็น “อิสระ” โดยการทำธุรกิจเช่น ตั้งบริษัทขนาดเล็กและเป็นตัวของตัวเอง หลายคนมองว่าการลงทุนในตลาดหุ้นแบบ VI เป็นหนทางแห่งความสำเร็จทางหนึ่ง และโชคดี หลายคนได้บรรลุความฝันนั้น
Re: อะไรคือบรรทัดฐานของคำว่า Value
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ธ.ค. 09, 2012 11:12 am
โดย pullmeunder
value กำหนดจากตัวเราเอง และ คนรอบข้างครับ
รถ10ล้าน เราอาจจะมองไม่คุ้ม แต่ถ้าคนอื่นที่มีเงินเป็นหมื่นล้าน มองว่าขับสบาย นิ่มนวล ไปถึงจุดหมายได้เร็วขึ้น เปรียบเทียบกับราคาแล้วคุ้ม
หุ้นนั้นก็เปรียบเสมือนมุมมองที่ต่างกันทำให้เกิดการซื้อขาย 10บาทเรามองว่าเกินพื้นฐานละ แต่คนซื้อมองว่า 10 ถือว่าถูกถ้าถือไปในระยะยาวหรือไม่ก็เก็งกำไรเพื่อไปขายต่อ
Re: อะไรคือบรรทัดฐานของคำว่า Value
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ธ.ค. 09, 2012 2:57 pm
โดย namdee
เห็นด้วยกับพี่pak ครับ
แวยู่ แต่ละคนมองได้หายความหมาย คุณค่าแล้วแต่คนมอง 555+
อย่างผม
1. มอง loxley ว่าvalue คือการเล่นข่าวหวย
2. มองadvanc value คือเบอร์1ในสื่อสาร
3. มอง live value คือ ราคาต่ำ ปั่นง่าย เล่นข่าว
3. ฯลฯ
แล้วแต่ใครจะเห็นคุณค่าของสิ่งนั้นเป็นอะไร
Re: อะไรคือบรรทัดฐานของคำว่า Value
โพสต์แล้ว: จันทร์ ธ.ค. 10, 2012 8:31 am
โดย Ii'8N
การลงทุนแบบ value อาจมีวิธีหลากหลาย
แต่สรุปที่ปลายทางเดียวกันหมด คือการประเมินอย่างถี่ถ้วนแล้ว ว่าจะได้รับผลตอบแทน (worth or value) หลังจากที่จ่ายไป (cost or price)
Graham & Buffet จึงบอกว่า ราคา คือสิ่งที่จ่าย (คุณควักกระเป๋า) คุณค่า คือสิ่งที่เราจะได้รับ (ออกมาจากของที่ซื้อ)
Kiyosaki พ่อรวยสอนลูก บอกว่าเรา "ลงทุน" คือการรู้ว่า "ได้กำไรตั้งแต่ตอนซื้อ" แล้ว
หลักการตลาดที่นักการตลาดพูดถึงกัน รวมถึง Guy Kawasaki ที่เคยทำงานให้ Steve Jobs ถึงแม้แต่ไม่ใช่นักลงทุน ก็บอกว่าหลักคิดอย่างหนึ่งที่เขาเรียนรู้จากการทำงานกับ jobs คือ cost จะไม่เท่ากับ value นั่นคือต้อง "สร้างคุณค่าของสินค้า ให้สูงกว่าราคาที่ลูกค้าจะมาจ่าย"
มีนักการตลาดหลายท่านเขียนทำนองว่า ต้องทำให้ "value above cost"
คนที่ทำรายงานความเป็นไปได้โครงการ ตอนทำ feasibility study จะเสนอใครก็ตาม ต้องเปรียบเทียบ benefits ว่าอยู่เหนือ costs
BCR: benefit-cost ratio จึงมากกว่า 1 มากๆ เท่านั้น ยิ่งมาก ยิ่งจะดึงดูดให้เจ้าของเงินที่ให้กู้ยอมรับ อยากจะกระหายปล่อยเงินมาให้เยอะๆ
มาที่ชีวิตประจำวัน ความจริงการประเมินมูลค่าติดตัวเราอยู่ทุกวันโดยไม่รู้ตัวอยู่แล้ว จะเลือกโรงเรียนให้ลูก จะซื้อนาฬิกาซักเรือน มือถือซักเครื่อง (จะเลือก iphone อย่างของ jobs ที่ว่า, android, หรือ windows phone? อะไรดี)
ผู้หญิงก็การเปรียบเทียบ "จุกจิก" เลือกกระเป๋า รองเท้า เสื้อผ้า เครื่องสำอางค์ เลือกร้านทำผม สปา
หรือเลือกอาหาร ว่าอันไหนมีน้ำตาลสูง มีแคลลอรี่มาก ดูว่า "สาเหตุ" ย่อมส่งให้เกิดผล
ขึ้นอยู่กับว่า แต่ละครั้งเราใส่ใจขนาดไหน ว่าเราเปรียบเทียบกันแล้ว ว่าเราจะเลือกสินค้าและบริการ เราจะได้รับ value ตอบแทนกลับมา คุ้มค่า cost/price ที่เราจ่ายไปขนาดไหน
ลุงลินช์ จึงบอกว่า การลงทุน ก่อนที่จะไปคิดว่ามันซับซ้อนอะไรมากมายหรือต้องไปคิดว่าเป็นนักบริหารกองทุนถึงจะได้รับผลตอบแทนสูง (เข้าใจผิดชัดๆ เพราะการใช้เงินกองทุนซื้อหุ้นอะไรมีข้อจำกัดมากกว่า)
ให้เริ่มต้นเหมือนที่คุณเปรียบเทียบราคาและ features ตู้ไมโครเวฟก่อนซื้อ
หรือจะซื้อรถยนต์ ถ้าบรรยากาศแบบคนซื้อรถบ้านเรา ก็วิ่งอู่โน้น โชว์รูมค่ายนี้ ขอลองขับ เดินงานมอเตอร์โชว์ เปรียบเทียบ spec ของเครื่อง การกินน้ำมัน เอาทั้งด้านคุณค่าทางใจ ทางคุณภาพ และตัวเลข ทั้งหมดที่เราวิ่งรวบรวมมาเทียบกับราคาที่จ่ายทั้งระบะสั้นและการผ่อนระยะยาว ฯลฯ
ที่น่าแปลกใจ เรื่องที่ลินช์ว่าไว้ และยังเป็นจริงอยู่ตลอด
เราจะซื้ออะไรซักอย่าง ทั้งที่บางทีราคามันไม่กี่พัน กี่หมื่นบาท เปรียบเทียบแล้วเปรียบเทียบอีกหัวแทบแตก
แต่พอการซื้อหุ้นหุ้น ที่เป็นการลงทุนเอาเงินก้อนที่ตัวเองสะสมมา แค่ได้ยินคนกระซิบตัวหุ้นกันบนรถเมล์รถไฟฟ้าแค่นั้นแล้ว คนจำนวนมากกลับลงมือซื้อหุ้นเลย
โดยที่ยังไม่รู้ว่าหุ้นนั้น "มันทำกิจการอะไร"
Re: อะไรคือบรรทัดฐานของคำว่า Value
โพสต์แล้ว: จันทร์ ธ.ค. 10, 2012 1:54 pm
โดย sgholding
ผมเห็นว่า Value คือ ศักยภาพในการทำกำไรของธุรกิจที่สูงกว่าราคาธุรกิจที่เราจ่ายไป ยิ่งสูงกว่าราคาที่เราจ่ายไปเท่าไหร่ก็ยิ่ง Value สูงเท่านั้น เช่น ธุรกิจทำกำไร 100 ล้าน เราซื้อได้ในราคา 1000 ล้าน Value หรือผลตอบแทนเราก็ 10% แต่ถ้าเราซื้อได้ 500 ล้าน Value ก็ 20% ดังนั้น ถ้าเราประเมินศักยภาพของธุรกิจได้แล้ว สิ่งที่ต้องทำต่อไปคือจังหวะเวลาที่จะได้ซื้อในราคาที่เราเห็นว่ามี Value ที่เราต้องการ ซึ่งถ้าเราดูข้อมูลราคาหุ้นต่ำสุดและสูงสุดในรอบ 1 ปี เราจะเห็นว่าราคาแตกต่างกันมาก บางตัวหลาย 10%
Re: อะไรคือบรรทัดฐานของคำว่า Value
โพสต์แล้ว: อังคาร ธ.ค. 11, 2012 7:08 pm
โดย picatos
ที่ผ่านมา ผมเข้าใจว่า
Value = มูลค่า (ในที่นี้น่าจะหมายถึงของกิจการ) = ผลรวมของกระแสเงินสดในอนาคตที่คิดลดของกิจการ
มันต้องหาคำนิยามอื่นด้วยเหรอครับ
Re: อะไรคือบรรทัดฐานของคำว่า Value
โพสต์แล้ว: อังคาร ธ.ค. 11, 2012 7:53 pm
โดย psupas
สมัครเรียน
Re: อะไรคือบรรทัดฐานของคำว่า Value
โพสต์แล้ว: พุธ ธ.ค. 12, 2012 6:03 pm
โดย prichar s.
Intrinsic Value คือมูลค่าของกิจการที่เกิดจากสินทรัพย์และกระแสเงินสด (Cash Flow)
อย่าคิดมากครับ ตัวเลขตัวหนึ่งเท่านั้น แกะงบเก่ง ๆ ก็น่าจะหาตัวเลขนี้ได้กันทุกคน
ส่วนภาคปฏิบัติที่ซื้อ-ขายหุ้นกันอยู่ทุกวันนี้
ส่วนใหญ่มองไปที่ตัวกำไรที่คาดว่าจะได้จากกิจกรรมซื้อ-ขายนั้น ๆ มากกว่า
......................................................................
จะมีสักกี่คนที่หา VALUE ก่อนซื้อหุ้น
Re: อะไรคือบรรทัดฐานของคำว่า Value
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ธ.ค. 13, 2012 5:39 pm
โดย picatos
prichar s. เขียน:Intrinsic Value คือมูลค่าของกิจการที่เกิดจากสินทรัพย์และกระแสเงินสด (Cash Flow)
อย่าคิดมากครับ ตัวเลขตัวหนึ่งเท่านั้น แกะงบเก่ง ๆ ก็น่าจะหาตัวเลขนี้ได้กันทุกคน
ส่วนภาคปฏิบัติที่ซื้อ-ขายหุ้นกันอยู่ทุกวันนี้
ส่วนใหญ่มองไปที่ตัวกำไรที่คาดว่าจะได้จากกิจกรรมซื้อ-ขายนั้น ๆ มากกว่า
......................................................................
จะมีสักกี่คนที่หา VALUE ก่อนซื้อหุ้น
เพราะว่ามีไม่กี่คนที่หา เราถึงต้องหา เพื่อที่จะได้เป็นคนส่วนน้อยที่เอาชีวิตรอดได้ในตลาด
เพราะ ถ้าหาแล้ว เราจะได้รู้เหนือ รู้ใต้ และจะทำให้ลงทุนได้อย่างปลอดภัยขึ้นอีกเยอะเลยครับ
Re: อะไรคือบรรทัดฐานของคำว่า Value
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ธ.ค. 13, 2012 6:04 pm
โดย ดำ
value คือคุณค่าที่ในระยะยาวแล้วตลาดเป็นผู้ให้ราคา แต่ในระยะสั้นอาจมองไม่เห็นค่า
ถ้าหุ้นนั้นๆ มีคุณค่าเฉพาะในสายตาเรา และไม่ว่านานเท่าไหร่ตลาดก็ไม่เห็นค่าก็ไม่มีประโยชน์
นั่นคือ สุดท้ายแล้ว ในระยะยาวตลาดจะมีประสิทธิภาพขึ้นมาจนได้ครับ
Re: อะไรคือบรรทัดฐานของคำว่า Value
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ธ.ค. 13, 2012 8:36 pm
โดย Freedom_man
หุ้นที่มีมูลค่า = หุ้นที่ลงทุนแล้วได้กำไร
Re: อะไรคือบรรทัดฐานของคำว่า Value
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ธ.ค. 14, 2012 6:59 pm
โดย Noonino
สำหรับผมต้อง "เข้าใจ" อย่างเดียวครับ การประเมิณมูลค่า ทำได้หลากหลายวิธี แต่ละวิธีถ้าให้คนร้อยคนมาประเมิณก็จะได้ร้อยค่า เพราะความเข้าใจแต่ละคนไม่เหมือนกัน ความต้องการผลตอบแทนไม่เท่ากัน ฯลฯ
ดังนั้น เราต้อง "เข้าใจ" ก่อนครับ เข้าใจในที่นี้คือ
1. เข้าใจธุรกิจ ต้องเข้าใจครับ ว่าบริษัททำอะไร มีความเสี่ยงอะไร มีคู่แข่งคือใคร ผู้บริหารเก่งไหม ซื่อสัตย์ไหม ฯลฯ พวกนี้ทฤษฎีมีให้อ่านเยอะแยะ
2. เข้าใจตัวเอง ต้องเข้าใจครับ ว่าเราต้องการผลตอบแทนแค่ไหน รับความเสี่ยงได้แค่ไหน มีทางเลือกในการลงทุนอื่นๆที่ดีกว่าหรือไม่ เงินแต่ละคนมีความหมายไม่เท่ากันครับ (อย่าง Npark สำหรับเราเห็นว่าเสี่ยงสูงไม่น่าลงทุน แต่ทางมาลีนนท์เค้ากลับซื้อ ทำไมล่ะครับ??)
3. เข้าใจตลาด ต้องเข้าใจครับ ว่าขณะนี้ตลาดมองหุ้นตัวนี้อย่างไร ตลาดกระทิงส่วนใหญ่มักให้ราคาสูงกว่าตลาดหมีเป็นธรรมดา อะไรๆก็ดีไปหมด แต่ถ้าเราเข้าใจว่าเมื่อราคาสูงขึ้นเราก็มีความเสี่ยงที่สูงตามไปด้วย เราก็จะระมัดระวัง จะซื้อก็จะไม่ซื้อเยอะ ในทางกลับกัน วิกฤติต่างๆก็เป็นโอกาสในการซื้อที่ดีมากๆ ถ้าเราเข้าใจว่าตลาดกำลังกลัว เราก็จะรู้ว่าความเสี่ยงจะต่ำลงเวลาซื้อซื้อได้เยอะๆ เป็นต้น
4. เข้าใจวิธีการประเมิณ -P/E DCF P/BV วิธีไหนเหมาะกับธุรกิจประเภทไหน ใช้อย่างไร ที่สำคัญการประเมิณควรเป็นการเปรียบเทียบมากกว่าการประเมิณเป็นตัวเลขโดดๆ ครับ
เอาสี่ "เข้าใจ" มารวมกันครับ แล้วค่อยประเมิณมูลค่า จะใช้วิธีอะไรก็ไม่สำคัญหรอกครับถ้าคุณเข้าใจ ไม่มีใครซื้อหุ้นได้ต่ำสุด ขายได้สูงสุดแน่นอนครับ
สำหรับผมที่สำคัญที่สุดคือ "เข้าใจ-ไม่เสี่ยง-ไม่โลภ-กำไรพอเพียง" กินอิ่มนอนหลับไม่นอนสะดุ้งก็แฮปปี้แล้วครับ