300/15000 กับ10ดาวรุ่งปี56 และดาวร่วงปี56
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ธ.ค. 23, 2012 10:00 am
ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการวิเคราะห์ของหอการค้าไทย
เกี่ยวกับอุตสาหกรรม ดาวรุ่งและดาวร่วง
ผศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย เปิดเผยผลการ จัดอันดับ 10 ธุรกิจดาวรุ่งในปี 2556 ซึ่งพิจารณาจากข้อมูลด้านนำเข้าและส่งออก ข้อมูลสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ ข้อมูลดัชนีราคาผู้บริโภค และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม รวมถึงข้อมูลปฐมภูมิจากการสำรวจของหอการค้าโพลล์
พบว่า ธุรกิจทางการแพทย์และความงามยังคงครองอันดับ 1 ของธุรกิจดาวรุ่ง ต่อเนื่อง 3 ปีซ้อน เป็นผลมาจากกระแสการให้ความสำคัญกับการรักษาสุขภาพและการดูแลความงามมากขึ้น ประกอบกับการบริการทางการแพทย์ของไทยมีคุณภาพดีและราคาไม่แพงในสายตาชาวไทยและต่างชาติ รวมถึงเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มดีขึ้น ขณะที่ปัจจัยเสี่ยงคือการขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญและความเพียงพอของบุคลากรในการรักษาโดยเฉพาะสาขาพยาบาล
ธุรกิจเด่นอันดับ 2 คือ ธุรกิจเทคโนโลยีสื่อสารที่ได้รับอานิสงค์จากการประมูลและออกใบอนุญาต 3จี ความต้องการใช้ระบบสื่อสารที่มากขึ้น ขณะที่ปัจจัยเสี่ยงคือ ความชัดเจนในนโยบายและสัมปทานการเชื่อมต่อสัญญาณที่จะมีในปี 56
ตามมาด้วยอันดับ 3 คือ ธุรกิจด้านสื่อโทรทัศน์ที่เป็นผลมาจากการเดินหน้าเข้าสู่ยุคทีวีดิจิตอล และการออกใบอนุญาตให้มีการดำเนินการฟรีทีวีมากขึ้น แต่ปัจจัยเสี่ยงยังมีความไม่แน่นอนทางด้านนโยบายของรัฐบาลและการแข่งขันทางด้านสื่อมีความรุนแรงมากขึ้น แต่ยังขาดบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ
อันดับ 4 - ธุรกิจสถานีบริการ จำหน่ายน้ำมันและก๊าซเอ็นจีวี-แอลพีจี
อันดับ 5 - ธุรกิจพลังงานและพลังงานทดแทน
อันดับ 6 - ธุรกิจอาหาร
อันดับ 7 - เครื่องดื่มแอลกอฮอลล์และบุหรี่
อันดับ 8 - ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์
อันดับ 9 - ธุรกิจสถาบันการเงิน ,ธุรกิจก่อสร้างและวัสดุก่อสร้าง
อันดับ 10 - อสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจโลจิสติกส์
ส่วนธุรกิจดาวร่วงปี 56 ส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจที่มีการใช้แรงงานเป็นจำนวนมากและเป็นธุรกิจที่ไม่มีความโดดเด่น เช่น ธุรกิจของเล่นเด็ก ธุรกิจ HOME STAY ร้านค้าโชว์ห่วย ธุรกิจด้านหัตถกรรม สิ่งทอผ้าผืน ผักและผลไม้อบแห้ง เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ธุรกิจผลิตรองเท้า และอุตสาหกรรมฟอกย้อม
ส่วนตัวมองว่าอ300/15000 ทำให้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น การกินใช้ก้น่าจะดีขึ้น
เช่น อาจจะเคยกินแต่ข้าวข้างทางก้เปลี่ยนมากินเหลาได้(บ้าง) อาจจะเคยใส่แต่เสื้อ
3ตัว100 ก้อาจจะซื้อเสื้อตัวละ200ใส่ได้บ้าง
อาจจะเคยใส่แต่เสื้อใน 4ตัว100 ก้อาจจะเปลี่ยนมาใส่ตัวละ 200-300 ได้
อาจจะเคยซื้อเบียร์ทีละขวด ก้อาจจะกินทีละ 2-3ขวด
อาจจะเคยสูบบุหรี่วันละ10บาท ก้อาจจะสูบวันละซอง
ที่แน่ๆ กลุ่มค้าปลีกน่าจะได้อานิสงค์ และพวกของกินของใช้ในชีวิตประจำวันครับ
ส่วนอุตสาหกรรมเสื้อผ้า ผมมองว่า ให้มองเป็นแบรนด์ๆ ไปครับ
ตอนปี2008 วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ หลุยส์ พราด้า และกระเป๋าแบรนด์ ทำไมยอดขายไม่ลด
ผมมองว่า มันเป็นเรื่องของ สินค้าที่อยู่ในระดับบนๆมาก ซึ่งกลุ่มลูกค้าตลาดบน
เวลาเกิดวิกฤติ ไม่ได้แปลว่า เค้าจะไม่ซื้อ อาจจะเป็นเพราะเค้าอาจจะมีความมั่งคั่งมาก
ดังนั้น อะไรก้ตามที่แม้จะเป็นพวกเสื้อผ้า แต่ถ้ามีลูกค้าในกลุ่มบน
ผมว่าไม่ค่อยกระทบครับ
เกี่ยวกับอุตสาหกรรม ดาวรุ่งและดาวร่วง
ผศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย เปิดเผยผลการ จัดอันดับ 10 ธุรกิจดาวรุ่งในปี 2556 ซึ่งพิจารณาจากข้อมูลด้านนำเข้าและส่งออก ข้อมูลสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ ข้อมูลดัชนีราคาผู้บริโภค และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม รวมถึงข้อมูลปฐมภูมิจากการสำรวจของหอการค้าโพลล์
พบว่า ธุรกิจทางการแพทย์และความงามยังคงครองอันดับ 1 ของธุรกิจดาวรุ่ง ต่อเนื่อง 3 ปีซ้อน เป็นผลมาจากกระแสการให้ความสำคัญกับการรักษาสุขภาพและการดูแลความงามมากขึ้น ประกอบกับการบริการทางการแพทย์ของไทยมีคุณภาพดีและราคาไม่แพงในสายตาชาวไทยและต่างชาติ รวมถึงเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มดีขึ้น ขณะที่ปัจจัยเสี่ยงคือการขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญและความเพียงพอของบุคลากรในการรักษาโดยเฉพาะสาขาพยาบาล
ธุรกิจเด่นอันดับ 2 คือ ธุรกิจเทคโนโลยีสื่อสารที่ได้รับอานิสงค์จากการประมูลและออกใบอนุญาต 3จี ความต้องการใช้ระบบสื่อสารที่มากขึ้น ขณะที่ปัจจัยเสี่ยงคือ ความชัดเจนในนโยบายและสัมปทานการเชื่อมต่อสัญญาณที่จะมีในปี 56
ตามมาด้วยอันดับ 3 คือ ธุรกิจด้านสื่อโทรทัศน์ที่เป็นผลมาจากการเดินหน้าเข้าสู่ยุคทีวีดิจิตอล และการออกใบอนุญาตให้มีการดำเนินการฟรีทีวีมากขึ้น แต่ปัจจัยเสี่ยงยังมีความไม่แน่นอนทางด้านนโยบายของรัฐบาลและการแข่งขันทางด้านสื่อมีความรุนแรงมากขึ้น แต่ยังขาดบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ
อันดับ 4 - ธุรกิจสถานีบริการ จำหน่ายน้ำมันและก๊าซเอ็นจีวี-แอลพีจี
อันดับ 5 - ธุรกิจพลังงานและพลังงานทดแทน
อันดับ 6 - ธุรกิจอาหาร
อันดับ 7 - เครื่องดื่มแอลกอฮอลล์และบุหรี่
อันดับ 8 - ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์
อันดับ 9 - ธุรกิจสถาบันการเงิน ,ธุรกิจก่อสร้างและวัสดุก่อสร้าง
อันดับ 10 - อสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจโลจิสติกส์
ส่วนธุรกิจดาวร่วงปี 56 ส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจที่มีการใช้แรงงานเป็นจำนวนมากและเป็นธุรกิจที่ไม่มีความโดดเด่น เช่น ธุรกิจของเล่นเด็ก ธุรกิจ HOME STAY ร้านค้าโชว์ห่วย ธุรกิจด้านหัตถกรรม สิ่งทอผ้าผืน ผักและผลไม้อบแห้ง เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ธุรกิจผลิตรองเท้า และอุตสาหกรรมฟอกย้อม
ส่วนตัวมองว่าอ300/15000 ทำให้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น การกินใช้ก้น่าจะดีขึ้น
เช่น อาจจะเคยกินแต่ข้าวข้างทางก้เปลี่ยนมากินเหลาได้(บ้าง) อาจจะเคยใส่แต่เสื้อ
3ตัว100 ก้อาจจะซื้อเสื้อตัวละ200ใส่ได้บ้าง
อาจจะเคยใส่แต่เสื้อใน 4ตัว100 ก้อาจจะเปลี่ยนมาใส่ตัวละ 200-300 ได้
อาจจะเคยซื้อเบียร์ทีละขวด ก้อาจจะกินทีละ 2-3ขวด
อาจจะเคยสูบบุหรี่วันละ10บาท ก้อาจจะสูบวันละซอง
ที่แน่ๆ กลุ่มค้าปลีกน่าจะได้อานิสงค์ และพวกของกินของใช้ในชีวิตประจำวันครับ
ส่วนอุตสาหกรรมเสื้อผ้า ผมมองว่า ให้มองเป็นแบรนด์ๆ ไปครับ
ตอนปี2008 วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ หลุยส์ พราด้า และกระเป๋าแบรนด์ ทำไมยอดขายไม่ลด
ผมมองว่า มันเป็นเรื่องของ สินค้าที่อยู่ในระดับบนๆมาก ซึ่งกลุ่มลูกค้าตลาดบน
เวลาเกิดวิกฤติ ไม่ได้แปลว่า เค้าจะไม่ซื้อ อาจจะเป็นเพราะเค้าอาจจะมีความมั่งคั่งมาก
ดังนั้น อะไรก้ตามที่แม้จะเป็นพวกเสื้อผ้า แต่ถ้ามีลูกค้าในกลุ่มบน
ผมว่าไม่ค่อยกระทบครับ