ความสุขคืออะไร/วิบูลย์ พึงประเสริฐ

บทความต่างๆ ที่ตีพิมพ์ใน ThaiVI คุณสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม เพื่อการลงทุนแบบเน้นคุณค่า

โพสต์ โพสต์
Thai VI Article
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1827
ผู้ติดตาม: 1

ความสุขคืออะไร/วิบูลย์ พึงประเสริฐ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

โค้ด: เลือกทั้งหมด

บทความ Value Way  ฉบับวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2556
โดย วิบูลย์ พึงประเสริฐ
ความสุขคืออะไร

	ฉบับที่แล้วกล่าวถึงหลายคนมุ่งมั่นทำงานหาเงินเพื่อที่จะทำเงินได้มากๆโดยหวังว่าวันหนึ่งได้เงินมามากพอแล้ว เงินเหล่านั้นจะทำให้เรามี”ความสุข” แต่แท้จริงความสุขที่ใช้เงินซื้อหามาเหล่านั้นกลับเป็นแค่ความสุขเพียงชั่วคราวและสุดท้ายชีวิตของเราก็กลับไปมีความทุกข์เช่นเดิมต่อไป จะเห็นว่าวัตถุสิ่งของไม่ได้ทำให้เรามี”ความสุขที่แท้จริง”ได้ แล้วอะไรจะทำให้มีความสุขได้จริงๆ 
	มีการวิจัยจำนวนมากในปัจจุบันที่มุ่งเน้นถึงการค้นหาว่าความสุขของผู้คนจริงๆแล้วอยู่ที่ปัจจัยอะไรบ้าง นักวิจัยเหล่านี้เรียกผลงานของพวกเขาว่าเป็น”เศรษฐศาตร์แห่งความสุข” (Happiness Economics) ผลงานเหล่านี้ส่วนใหญ่จะอยู่ตามมหาวิทยาลัยชั้นนำในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ จากการสำรวจพบว่าผู้คนมักให้ความสำคัญกับเงินเป็นประเด็นหลักในการทำแบบสอบถาม แต่เมื่อเจาะลึกเข้าไปในรายละเอียดโดยให้มูลค่าของปัจจัยอื่นๆนอกเหนือจากเงินจะพบว่ามีสิ่งอื่นๆที่ถ้าขาดหายไปจะทำให้”ความสุข”ของผู้คนลดลงมากกว่ามูลค่าของเงิน
	จะขออธิบายปัจจัยต่างๆเหล่านั้นตามลำดับดังนี้
   ปัจจัยแรกคือสุขภาพ ผู้คนมักไม่ค่อยคิดถึงสุขภาพมากมักเพราะปัจจุบันเรายังมีสุขภาพที่ดี ทำให้เรานึกไม่ออกว่าถ้าเราเกิดป่วยหรือสุขภาพไม่ดีขึ้นมาจะเป็นอย่างไร ซึ่งในความเป็นจริงเราเห็นผู้คนจำนวนมากเกิดป่วยขึ้นมาอย่างกระทันหันหรือไม่ได้ตั้งตัวจำนวนมาก หลายคนทำงานมุ่งมั่นหาเงินด้วยความเคร่งเครียดก่อนที่จะค้นพบว่าตนเองเป็นโรคมะเร็งร้ายโดยไม่รู้ตัวมาก่อน หรือหลายคนคิดว่าความโชคร้ายเช่นนั้นคงไม่มีโอกาสเกิดขึ้นกับตนเองซึ่งเป็นการคิดเข้าข้างตนเองมากกว่าที่จะเป็นความจริง นักเศรษฐศาตร์แห่งความสุขทำการวิจัยโดยให้ผู้เข้าร่วมสัมภาษณ์ตอบแบบสอบถามว่าสมมุติให้คะแนนความสุขระดับหนึ่งถึงสิบ ถ้าเกิดสุขภาพไม่ดีขึ้นมา (ลดลงหนึ่งในห้าหรือ 20 เปอร์เซนต์) ความสุขจะลดลงไปเท่าไหร่ พบว่าผลเฉลี่ยของความสุขจะลดลงไป 6 จาก 10 เหลือความสุขแค่ 4 คะแนน ขณะที่แบบสอบถามถามว่าถ้ารายได้ลดลงไปหนึ่งในสามหรือลดลง 33 เปอร์เซนต์ ความสุขจะลดลงไปเท่าไหร่ ผลจากการสำรวจพบว่าความสุขลดลงไป 2 ระดับยังเหลือความสุข 8 คะแนน แสดงให้เห็นว่าถ้ามีการวัดความสำคัญของปัจจัยต่างๆแล้ว สุขภาพสำคัญกว่าเงินสำหรับคนส่วนใหญ่แต่เรามักมองไม่เห็นความสำคัญ
   ทุกคนทราบว่าการรักษาสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญ เช่น การทานอาหารที่มีประโยชน์ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ แต่หลายคนอ้างว่าไม่มีเวลาในการออกกำลังกาย ทั้งๆที่การออกกำลังกายที่เหมาะสมนั้นแค่ทำต่อเนื่องวันละครึ่งชั่วโมงทุกๆวันก็เพียงพอ หลายคนซื้อเครื่องออกกำลังกายอย่างลู่วิ่งหรือจักรยานออกกำลังกายไว้ที่บ้าน แต่เวลาผ่านไปเครื่องมือออกกำลังกายเหล่านั้นกลับกลายเป็นที่ตากผ้าหรือแขวนผ้าเช็ดตัวไปอย่างน่าเสียดาย การอ้างว่าไม่มีเวลานั้นเป็นเพียงข้อแก้ตัวเท่านั้นเองเพราะถ้าเราคิดว่าสิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นสิ่งสำคัญ เราจะให้เวลากับสิ่งนั้นก่อนเสมอ เหตุผลที่คนส่วนใหญ่ไม่ออกกำลังกายนั้นเพราะคิดว่าไม่ใช้เรื่องเร่งด่วน การที่เราดำเนินกิจกรรมไปโดยไม่ได้ออกกำลังนั้นไม่ได้เป็นเรื่องขอขาดบาดตาย เพราะเรายังคงมีชีวิตอยู่ตามปกติไม่ได้เดือดร้อนอะไร แต่สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นจากการขาดการออกกำลังจะค่อยๆสะสมขึ้นเรื่อยๆจนรักษาได้ยากอย่างความอ้วนหรือไขมันในเลือดเป็นต้น
   หรืออย่างเรื่องการพักผ่อน หลายคนนอนไม่หลับทั้งๆที่อยากจะนอนให้หลับทั้งนี้อาจเกิดจากความเครียดในหน้าที่การงานโดยที่ไม่รู้ตัว ส่วนใหญ่มักเกิดจากความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นระหว่างการนอนหลับทำให้หลับได้ไม่สนิท หรืออาจเกิดจากการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนมากเกินไปเช่น ชา กาแฟหรือน้ำอัดลม การนอนหลับไม่เพียงพอจะทำให้ร่างกายมีภูมิต้านทานที่ลดลง โอกาสที่จะเจ็บป่วยทั้งจากเชื้อโรคเช่นโรคหวัดหรือโรคที่เกิดจากภูมิคุ้มกันเช่นมะเร็งมีมากขึ้นตามลำดับ
   จะเห็นว่าสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญ บางครั้งสำคัญมากกว่าเงินที่มีแต่เรามักมองข้ามไปโดยมุ่งมั่นหาเงินและละเลยเรื่องสุขภาพ จนวันหนึ่งเกิดเจ็บป่วยขึ้นมาเงินเหล่านั้นก็ถูกนำไปรักษาตนเองจ่ายให้กับโรงพยาบาล เสียทั้งเงินและเวลา บางครั้งหลายคนอาจไม่ได้ใช้เงินเหล่านั้นอีกเลยก็เป็นไปได้เพราะทำงานหาเงินจนป่วยและเสียชีวิตไปก่อนวัยอันควรเหมือนตัวอย่างที่เห็นจำนวนมากในสังคมปัจุบัน สำหรับนักลงทุนการมีสุขภาพที่ดีจะช่วยยังไม่ต้องเสียเงินไปจ่ายเป็นค่าหมอและค่ารักษาพยาบาลและเงินลงทุนที่มียังงอกเงยตามระยะเวลาที่มากขึ้นตามสุขภาพที่ดีอีกด้วย 
[/size]
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 0

Re: ความสุขคืออะไร/วิบูลย์ พึงประเสริฐ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ขอบคุณมากๆครับ

----------------------------
เป้าหมายชีวิต ภารกิจครอบครัว

http://www.thorfun.com/story/view/UP9sI67rWUsDAAj_

โรคบอดความรวย

http://www.thorfun.com/story/view/UPELCK7rWUU1AALI
ซากคน
Verified User
โพสต์: 1400
ผู้ติดตาม: 0

Re: ความสุขคืออะไร/วิบูลย์ พึงประเสริฐ

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ส่วนตัวผมมอง คนที่มีปัญหาในครอบครัว โดยเฉพาะคนที่มุ่งมั่นจะก้าวหน้าในหน้าที่การงาน หรือ จะร่ำรวยเป็นเศรษฐีนั้น ไม่ได้คิดให้ดีตั้งแต่แรกว่า ต้องการสิ่งใดมากที่สุดสำหรับชีวิต ในระหว่างการเดินทาง พอเจอคนที่ชอบพอกัน ก็เลยตัดสินใจมีครอบครัว ในขณะที่ตนเองก็ยังไม่บรรลุเป้าหมายส่วนตนให้สำเร็จเสียก่อน ทำให้พอก้าวหน้าไปถึงจุดหนึ่ง ที่เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อของความสำเร็จส่วนตนและอาจต้องใช้พลังและเวลาเกือบทั้งหมดเพื่อสร้างมัน จึงเป็นผลให้คนรอบข้างได้รับผลกระทบไปด้วย พอรูปกาลออกมาเป็นอย่างนี้แล้ว สังคมก็มาเพ่งโทษ เรื่องการ มุ่งหาความร่ำรวย การหาเงินเยอะๆ ให้ตกเป็นจำเลย ของการทำลายความสุขของคนอีกแล้ว!! ผมว่าหากจะเพ่งโทษ ก็ต้องโทษ คนที่ยังทำเป้าหมายส่วนตนไม่สำเร็จ แล้วตัดสินใจที่จะมีพันธะกับผู้อื่น ต่างหาก

เราต้องเข้าใจว่า การจะทำสิ่งใดให้ได้ผลเป็นเลิศที่สุดนั้น ต้องมุ่งเน้นทำทีละอย่าง ซึ่งไม่เหมาะกับคนที่มีครอบครัว หากแต่เหมาะกับคนที่ไม่มีพันธะผูกพันกับใคร ครับ อีกประการนึงอยากเสริม คือ คนที่เขียนบทความที่โน้มเอียงไปในทางใด ก็ย่อมมี lifestyle ที่สนับสนุนกับสิ่งที่ตนเขียน อย่างในกรณีที่เป็นเรื่องของการให้คุณค่าของครอบครัว เหนือ เงินตรา ก็แน่นอนล่ะครับจะมี คนมีครอบครัวหรือมีลูก คนไหนกล้าเขียนว่า ครอบครัว เป็นเรื่องไม่สำคัญ หรือ เป็นรอง เรื่องการแสวงหาความก้าวหน้าและเงินตรา

ทั้งหมดทั้งปวงที่กล่าวมานี้ ไม่มีใครสามารถนิยามความสุขได้อย่างถูกต้องหรอกครับ ความสุขเป็นเรื่องเฉพาะบุคคล แม้กระทั่ง คนมีอาการป่วยทางจิต ไปทางซาดิสต์ ก็ย่อมมีความสุขที่ได้ ทำร้ายหรือรังแกสัตว์เลี้ยง ในขณะที่ คนที่รักสัตว์ ย่อมเป็นทุกข์มากมาย หากได้เห็นสิ่งเหล่านั้น เป็นต้น
Kraingchai
Verified User
โพสต์: 21
ผู้ติดตาม: 0

Re: ความสุขคืออะไร/วิบูลย์ พึงประเสริฐ

โพสต์ที่ 4

โพสต์

โดยปกติแล้ว มนุษย์ทุกคนเป็นคนที่มีความสุขโดยพื้นฐาน
แต่เมื่อไรก็ตามที่เราเอาความสุขของเราไป “เปรียบเทียบ” กับความสุขของ “คนอื่น”
ความสุขนั้นก็อาจจะเปลี่ยนเป็น “ความทุกข์” ได้ทันที
โพสต์โพสต์