หน้า 1 จากทั้งหมด 1

หุ้น Community

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. พ.ค. 16, 2013 10:52 pm
โดย vichit
หุ้น Community

สินค้าโภคภัณฑ์หรือคอมโมดิตี้ Commodities) คือ กลุ่มสินค้าที่แยกความแตกต่างในเชิงคุณภาพได้ยาก โดยแบ่งเป็นสองประเภทคือ หนึ่ง Hard Commodities คือสินค้าที่เกิดจากธรรมชาติและเกี่ยวเนื่องเช่น โลหะเงิน ทองคำ อัญมณี พลังงานและการผลิต เป็นต้น หุ้นกลุ่มนี้ได้แก่ หุ้นน้ำมัน หุ้นถ่านหิน หุ้นปิโตรเคมี หุ้นโรงกลั่น หุ้นเหล็ก และสอง Soft Commodities ซึ่งเป็นสินค้าที่เกิดขึ้นจากฝีมือมนุษย์เช่น หุ้นกลุ่มสินค้าเกษตร ข้าว ข้าวโพด ถั่วเหลือง ยางพารา น้ำมันปาล์ม น้ำตาล เนื้อสัตว์ เป็นต้น

หุ้นคอมโมดิตี้เป็นหุ้นวัฏจักรชนิดหนึ่งโดยแปรผันจากสองปัจจัยหลัก คือ หนึ่ง อุปสงค์ Demand) หรือความต้องการตามสภาวะเศรษฐกิจ และอุปทาน Supply) หรือความสามารถในการผลิต ซึ่งมีผลต่อการกำหนดราคาต่อหน่วยของผลิตภัณฑ์ องค์ประกอบอื่นที่สำคัญได้แก่ อัตราแลกเปลี่ยน การเพิ่มหรือลดปริมาณการผลิต การซื้อขายล่วงหน้า การเก็งกำไร หรือการกักตุนสินค้า นักลงทุนจำเป็นต้องรู้และเข้าใจถึงปัจจัยที่มีผลกระทบต่อธุรกิจหากสนใจลงทุน อย่างไรก็ตาม นักลงทุนเน้นคุณค่าส่วนใหญ่มักหลีกเลี่ยงการลงทุนหุ้นเหล่านี้เนื่องจากผลประกอบการขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยที่บริษัทไม่สามารถควบคุมและคาดเดาได้นั่นเอง

คอมมูนิตี้ Community) หมายถึง กลุ่มคนหรือชุมชนที่อยู่รวมกัน บริษัท สยามฟิวเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ SF) พัฒนาคอมมูนิตี้ มอลล์ Community Mall) เพราะเห็นโอกาสทางธุรกิจจากการขยายตัวของชุมชนนอกเมืองซึ่งอยู่ไกลจากศูนย์การค้าขนาดใหญ่ จึงพัฒนารูปแบบธุรกิจศูนย์การค้าชุมชนเพื่อให้มีสินค้าและบริการตอบสนองความต้องการพร้อมความสะดวกสบายและประหยัดเวลา เราจึงเห็นความสำเร็จและการเพิ่มขึ้นของคอมมูนิตี้มอลล์อย่างมากในระยะไม่นานนี้

บริษัท อีเบย์ EBAY) ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1995 โดยสร้าง “คอมมูนิตี้การประมูลสินค้าออนไลน์” ต่อมาพัฒนาเป็นแพลตฟอร์มธุรกรรมออนไลน์ที่ได้รับการยอมรับจากผู้ซื้อและผู้ขายทั่วโลก มีมูลค่าตลาดสูงถึง 60,000 ล้านเหรียญ บริษัทอเมซอน AMZN) สร้าง “คอมมูนิตี้ผู้ซื้อหนังสือออนไลน์” เมื่อปีค.ศ. 1994 และปัจจุบันเป็นร้านค้าปลีกออนไลน์ทั่วโลกโดยมีมูลค่าตลาดสูงถึง 100,000 ล้านเหรียญ บริษัทเฟซบุ๊ค FB) สร้าง “คอมมูนิตี้โซเชียลเนตเวิอร์ค” หลายร้อยล้านคน แม้ราคาหุ้นจะลดลงมาเกือบครึ่งของราคาไอพีโอแต่ก็ยังมีมูลค่าตลาดถึง 47,000 ล้านเหรียญเลยทีเดียว

บริษัทโคลา โคล่า KO) สร้าง “คอมมูนิตี้ผู้ชื่นชอบรสชาติเครื่องดื่มโค๊ก” ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1886 มีมูลค่าตลาด 160,000 ล้านเหรียญ บริษัท เป็ปซี่ PEP) ก็สร้าง “คอมมูนิตี้ผู้ดื่มเครื่องดื่มเป๊ปซี่” ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1898 มีมูลค่าตลาด 105,000 ล้านเหรียญ บริษัทแมคโดนัล MCD) สร้าง “คอมมูนิตี้ผู้ชอบแฮมเบอร์เกอร์” ตั้งแต่ปีค.ศ. 1940 ปัจจุบันมีมูลค่าตลาด 84,000 ล้านเหรียญ

บริษัทข้างต้นเป็นตัวอย่างของ “หุ้น Community” ได้เป็นอย่างดี เพราะล้วนใช้เวลาสร้าง “คอมมูนิตี้ของผู้บริโภค” ระดับโลกอย่างแข็งแกร่ง คุณสมบัติเด่นของหุ้น Community คือ หนึ่ง มียี่ห้อหรือตราสินค้าที่แข็งแกร่ง ผู้บริโภคภูมิใจที่ได้เป็นเจ้าของและเมื่อใช้สินค้าและผลิตภัณฑ์ สอง คุณภาพและมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ที่เท่าเทียมกันทุกแห่ง สาม ความภักดีต่อสินค้า ผู้บริโภคมั่นใจต่อคุณภาพและมาตรฐานของสินค้า ไม่เปลี่ยนใจไปลองใช้ผลิตภัณฑ์อื่นโดยง่าย

ข้อดีของหุ้น Community คือ การเติบโตของรายได้อย่างยั่งยืน เพราะฐานรายได้ที่แน่นอนจากการซื้อซ้ำของกลุ่มผู้บริโภคเดิมที่มีความภักดีต่อบริษัท และรายได้เพิ่มเติมจากการเข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหม่ อย่างไรก็ตาม การรักษาฐาน “คอมมูนิตี้ของผู้บริโภค” เดิมเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งเพราะต้องใช้ทรัพยากรมากกว่าเพื่อได้มาซึ่งลูกค้าใหม่ บริษัทชั้นนำจึงตอกย้ำความเป็นผู้นำของตนผ่านการโฆษณาตอกย้ำเรื่องตราสินค้า รักษาคุณภาพและมาตรฐานสินค้า ตลอดจนการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อลูกค้าเดิม Customer Loyalty Program) ในหลายรูปแบบเช่น บัตรสมาชิก บัตรส่วนลด บัตรสะสมคะแนน บัตรสมนาคุณ เป็นต้น

บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่มีสินค้าและผลิตภัณฑ์บริการแก่ผู้บริโภคโดยตรงได้แก่ กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม ธนาคาร เงินทุนหลักทรัพย์ ประกันภัยและประกันชีวิต พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ พาณิชย์ การแพทย์ สื่อและสิ่งพิมพ์ ท่องเที่ยวและสันทนาการ ขนส่ง และสื่อสาร เป็นต้น บริษัทเหล่านี้อยู่ในข่ายที่จะสร้าง “คอมมูนิตี้ของผู้บริโภค” ได้

ในฐานะ Value Investor ต้องพิจารณาดูว่าบริษัทจดทะเบียนในกลุ่มธุรกิจดังกล่าว บริษัทใดที่สามารถรักษา “คอมมูนิตี้ของผู้บริโภคเดิม” ได้อย่างเหนี่ยวแน่น และหากยังมีศักยภาพในการขยายขอบข่ายและขนาดของ “คอมมูนิตี้” ให้เติบโตเพิ่มขึ้นไปอีกในระยะยาว นั่นอาจหมายถึง มูลค่าตลาดของกิจการนั้นต้องสูงขึ้นจากที่เป็นอยู่แน่นอน

http://portal.settrade.com/blog/thanwa/2012/11/22/1205