หน้า 1 จากทั้งหมด 1

Margin of safety ต่างกับ upside ในบทวิเคราะห์ของบล. ไหมครับ

โพสต์แล้ว: เสาร์ มิ.ย. 01, 2013 12:16 pm
โดย HOLYHIKARU
คือเท่าที่อ่านบทวิเคราะห์จาก บล. มักจะไม่ค่อยมีการใช้คำว่า margin of safety

แต่มักใช้คำว่า upside เท่านั้นเท่านี้กัน โดยเอา fair value เทียบกับ current price

ซึ่งผมเข้าใจว่ามันคืออันเดียวกันกับ margin of safety

ไม่ทราบว่าถูกต้องไหมครับ ขอบคุณครับ

Re: Margin of safety ต่างกับ upside ในบทวิเคราะห์ของบล. ไหมค

โพสต์แล้ว: เสาร์ มิ.ย. 01, 2013 2:27 pm
โดย Tibular
เป็นเพียงบางส่วนของ MoS คับ Upside ที่บทวิเคราะห์ว่า
ซึ่ง Upside ในบทวิเคราะห์จะใช้หลักการณ์ทางการเงินคาดการณ์
ผลประกอบการ ซึ่งถูกบ้างผิดบ้าง เพราะอนาคตไม่แน่นอน
แล้วตีมูลค่าหุ้นเท่านั้นเท่านี้ ตามแต่สมมุติฐาน ซึ่งมักจะไม่ค่อยถูกเท่าไหร่นัก (ความเห็นส่วนตัว)
เพราะมี Conflict of Interest และปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ต่างๆอยู่มาก เช่น ตลาดดี ก็จะตีมูลค่าหุ้นสูงขึ้น
พอตลาดตก ก็ปรับมูลค่าหุ้นลงซะอย่างนั้น รวมถึงภาวะเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม และภาวะเฉพาะตัวของบริษัทด้วย ฯลฯ
เพราะฉะนั้น upside เท่านั้นเท่านี้ โดยเอา fair value เทียบกับ current price ของหุ้น
แล้วแนะนำให้ซื้อ ถือ ขาย ของบทวิเคราะห์ จึงควรพิจารณาให้ดีก่อน

แต่ในด้านข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงถือว่าทำได้ดี เพราะว่าเค้าจะมี
ประชุมนักวิเคราะห์ซึ่งมีการพบปะกับผู้บริหารบริษัทในการประชุมต่างๆมากกว่านักลงทุน
เพราะฉะนั้นก็ขอให้ใช้วิจารณญาณให้ดีเวลาใช้งานบทวิเคราะห์

ส่วนคำว่า MoS ในหลักการลงทุนของ VI สมัยแรกๆก็คิดมาจากมูลค่า
สินทรัพย์สุทธิ (ยุคของเบน แกรแฮม) แล้วตีมาเป็นราคาหุ้น และต้องซื้อต่ำกว่าราคานั้น ยิ่งมากเท่าไหร่
ยิ่งถือว่ามีความปลอดภัย เพราะถ้าเกิดปิดกิจการ ชำระบัญชีสินทรัพย์ต่างๆ
นำเงินมาคืนผู้ลงทุน ซึ่งก็จะไม่สามารถได้ในราคาตามบัญชีแน่ๆ ต้องตีตามราคาตลาด
แต่ถ้านักลงทุนซื้อหุ้นในราคามี MoS มาก ก็จะได้รับผลตอบแทนใกล้เคียงกับการชำระบัญชีเลิกกิจการ
ซึ่งถือว่าเป็นการปลอดภัยของเงินที่ลงทุนไป (จะเห็นว่าการลงทุนแบบ VI จะเน้นเรื่องความปลอดภัยของเงินลงทุนมาก่อน)

แต่หลังๆมาก็จะรวมมุมมองหลายๆด้านเข้าไปด้วย
เช่นในด้านการเติบโต ด้านความแข็งแกร่งทางกิจการ พูดง่ายๆก็
มองทั้งในด้านสินทรัพย์ที่มีตัวตน และไม่มีตัวตนไปด้วย
ในด้านสินทรัพย์ ก็มีเรื่องของมูลค่าทางบัญชีของสินทรัพย์
ความสามารถในการทำกำไรของกิจการเทียบกับผลตอบแทนจากการการลงทุนอื่นๆ
และในด้านการเติบโตของกิจการ ซึ่งเป็นการเผื่อ MoS ที่ต้องฝากฝังไว้กับแผนงาน
ในอนาคตของกิจการเท่าที่ข้อมูลจะหาได้ แล้วตั้งสมมุติฐานกำไรที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ในส่วนสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ก็เป็นอีกส่วนที่จะทำให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของกิจการในด้านต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็นด้านการตลาด ความพึงพอใจของลูกค้า ความภักดีต่อสินค้า สัญญา ลิขสิทธ์ สัมปทาน

ถ้ามองในแง่นักลงทุน VI ก็จะเรียกว่า ความได้เปรียบทางการแข่งขัน (อย่างยั่งยืนด้วย)
ซึ่งบัฟเฟตต์ ก็อธิบายว่าเหมือน กับกำแพงปราสาท ที่มีคูน้ำล้อมรอบ ซึ่งจะทำให้คู่ต่อสู้เข้ามาลำบาก

ก็เป็นแง่มุมของคำว่า MoS คับ

จุดสำคัญของนักลงทุนแบบ VI คือเราต้องประเมินมูลค่าหุ้นให้ได้เอง (อย่างมีเหตุมีผลด้วย โดยรวมเอาปัจจัยต่างๆเข้าไปให้ครอบคลุมมากที่สุด)
เราถึงจะกำหนด MoS และทำการลงทุนในหุ้นตัวนั้นได้อย่างเหมาะสม

Re: Margin of safety ต่างกับ upside ในบทวิเคราะห์ของบล. ไหมค

โพสต์แล้ว: เสาร์ มิ.ย. 01, 2013 11:36 pm
โดย kongkiti
ผมเคยถามคำถามนี้กับตัวเองเหมือนกัน
คิดไปคิดมา น่าจะได้คำตอบ (ไม่รู้มีใครคิดเหมือนผมรึเปล่า)
หากดูที่ การคำนวณ
MOS = (ราคาที่เหมาสม-ราคาตลาด)/ราคาที่เหมาะสม x 100 %
Upside = (ราคาที่เหมาะสม-ราคาตลาด)/ราคาตลาด x 100%

มอง Upside คือ คิดว่าหุ้นจะขึ้นอีกกี่ %
มอง MOS คือคิดว่า เราซื้อแบงก์ 1 usd ได้ที่ราคาต่ำกว่านั้นกี่ %

สมมติหุ้นตัวเดียวกัน
ราคาตลาด = 5 บาทต่อหุ้น
ราคาที่เหมาะสม = 10 บาทต่อหุ้น
Upside = 100%
MOS = 50%

นักลงทุนทั่วไปดู Upside คงอยากซื้อเลย ได้กำไรเยอะดี มีโอกาสราคาขึ้นสูง
ส่วน VI คงชอบดู MOS มากกว่า เอาราคาที่เหมาะสมเป็นที่ตั้ง มากกว่า
คือการซื้อแบงก์ 1usd ในราคา 50 cent (ยืมสำนวนฝรั่งมาพูด :P )

ส่วนมูลค่าที่เหมาะสม ก็อย่างที่คุณ Tibular ชี้แนะ