ใครมีความคืบหน้าเรื่องขึ้น VAT --> 8% --> 10% บ้างไหมครับ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
วรันศ์ บัฟเฟต
Verified User
โพสต์: 1679
ผู้ติดตาม: 0

ใครมีความคืบหน้าเรื่องขึ้น VAT --> 8% --> 10% บ้างไหมครับ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

เรื่องนี้หายไปนานเลย ไม่ทราบมีความคืบหน้ายังไงบ้างครับ ท่านพี่ๆผู้รู้ ขอบคุณครับ
value trap
รูปภาพ
guhungry
Verified User
โพสต์: 567
ผู้ติดตาม: 0

Re: ใครมีความคืบหน้าเรื่องขึ้น VAT --> 8% --> 10% บ้างไหมครั

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ผมว่าขึ้นได้ยากครับมันมีผลกว้างมาก รัฐบาลไหนก็ไม่กล้าขึ้นครับ (ความเห็นส่วนตัว)
ขึ้นภาษีตอนเศรษฐกิจดีก็เร่งเงินเฟ้อให้เพิ่มขึ้น
ขึ้นตอนเศรษฐกิจแย่ ทำให้กำลังซื้อหดเศรษฐกิจก็ยิ่งแย่หนัก
ภาพประจำตัวสมาชิก
dino
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1286
ผู้ติดตาม: 1

Re: ใครมีความคืบหน้าเรื่องขึ้น VAT --> 8% --> 10% บ้างไหมครั

โพสต์ที่ 3

โพสต์

:mrgreen: คงจะยังในเร็วๆนี้ครับ
ตอนนี้คงฝุ่นตลบขาขวิดกัน เรื่องปรับ ครม.
คณะฯคงไม่มีกระจิตกระใจคิดเรื่องนี้ครับ อิอิ
1 ซื้อหุ้นของกิจการที่ดี
2 มีกำไรต่อเนื่องไปในอนาคต
3 ซื้อในราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงของกิจการ
4 ผู้บริหารมีคุณธรรมและความสามารถ
5 และถือมันไว้ ตราบที่มันยังเป็นธุรกิจที่ดีอยู่
                                           วอเรนซ์ บัฟเฟตต์
cyberman
Verified User
โพสต์: 279
ผู้ติดตาม: 0

Re: ใครมีความคืบหน้าเรื่องขึ้น VAT --> 8% --> 10% บ้างไหมครั

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ได้ยินจากวิทยุหรือเปล่าครับว่าจะขึ้นจาก 7% เป็น 8%
blueplanet
Verified User
โพสต์: 1155
ผู้ติดตาม: 0

Re: ใครมีความคืบหน้าเรื่องขึ้น VAT --> 8% --> 10% บ้างไหมครั

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ยังไม่เคยได้ยิน
ปกติ ไม่มีรัฐบาลไหนอยากขึ้นภาษี
ยกเว้น ประเทศนั้น มีหนี้สินมากจนไม่มีปัญญาจ่าย
หนี้นั้น ไม่ว่าจะเป็นหนี้ ของรัฐ หรือ หนี้ของเอกชน ถ้ามีมากๆแล้ว ปัญหาเหมือนกัน
ประเทศนั้นจะถูก สังคมโลก บีบในรูปแบบต่างๆ
เช่น ขึ้น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ขึ้นภาษีทุกชนิด ขายทรัพย์สินต่างๆ เช่นไฟฟ้ำ น้ำประปา โรงพยาบาล
มหาวิทยาลัย ถนน ทางด่วน รัฐวิสาหกิจที่รวยๆ รถไฟ รถไฟฟ้า เขื่อน สวน ไร่ นา ลดค่าเงิน ขึ้นดอกเบี้ยทุกชนิด
ต่อไปค่าบริการทุกอย่าง จะอ้างอิงโดยเงิน us$ ค่าเงินบาทอ่อนมากๆ เหมือนสมัยต้มยำกุ้ง
ดังนั้นทุกอย่างเมื่อคิดเป็นเงินบาทแล้ว จะแพงมาก
แต่ไม่เป็นไร ถ้าใครรวยจริง ก็คงไม่ลำบาก
Blueplanet
kasam
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 313
ผู้ติดตาม: 0

Re: ใครมีความคืบหน้าเรื่องขึ้น VAT --> 8% --> 10% บ้างไหมครั

โพสต์ที่ 6

โพสต์

เคยเป็น 10% เมื่อหลายปีก่อนครับแล้วก็กลับมาที่ 7%
ถ้าจำไม่ผิดตามกฎหมายจะเป็นที่ 10% สมัยเริ่มใช้ใหม่ๆโดย ปชป.
ตัวเลขอื่นๆต้องขอ ครม.เป็นช่วงๆครับว่าจะเป็นเท่าไหร่
วรันศ์ บัฟเฟต
Verified User
โพสต์: 1679
ผู้ติดตาม: 0

Re: ใครมีความคืบหน้าเรื่องขึ้น VAT --> 8% --> 10% บ้างไหมครั

โพสต์ที่ 7

โพสต์

blueplanet เขียน:ยังไม่เคยได้ยิน
ปกติ ไม่มีรัฐบาลไหนอยากขึ้นภาษี
ยกเว้น ประเทศนั้น มีหนี้สินมากจนไม่มีปัญญาจ่าย
หนี้นั้น ไม่ว่าจะเป็นหนี้ ของรัฐ หรือ หนี้ของเอกชน ถ้ามีมากๆแล้ว ปัญหาเหมือนกัน
ประเทศนั้นจะถูก สังคมโลก บีบในรูปแบบต่างๆ
เช่น ขึ้น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ขึ้นภาษีทุกชนิด ขายทรัพย์สินต่างๆ เช่นไฟฟ้ำ น้ำประปา โรงพยาบาล
มหาวิทยาลัย ถนน ทางด่วน รัฐวิสาหกิจที่รวยๆ รถไฟ รถไฟฟ้า เขื่อน สวน ไร่ นา ลดค่าเงิน ขึ้นดอกเบี้ยทุกชนิด
ต่อไปค่าบริการทุกอย่าง จะอ้างอิงโดยเงิน us$ ค่าเงินบาทอ่อนมากๆ เหมือนสมัยต้มยำกุ้ง
ดังนั้นทุกอย่างเมื่อคิดเป็นเงินบาทแล้ว จะแพงมาก
แต่ไม่เป็นไร ถ้าใครรวยจริง ก็คงไม่ลำบาก
วันที่ 1 เมษายน 2556

คลังชงขึ้นแวตใช้หนี้2ล้านล้าน เลี่ยงยาก!

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์


คลังชงขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มใช้หนี้ 2 ล้านล้าน ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เอกชนเชื่อรัฐบาลเลี่ยงยาก เหตุใช้เงินกับประชานิยมมหาศาล

สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) ในฐานหน่วยงานด้านนโยบาย เตรียมเสนอปรับโครงสร้างภาษี รับการขยายตัวทางเศรษฐกิจและความสามารถในการหารายได้ภาครัฐ เพื่อการพัฒนาประเทศและชำระหนี้ภาครัฐที่เพิ่มขึ้นจากโครงการกู้เงินโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท

ประเด็นหนี้สาธารณะที่ปรับเพิ่มขึ้นจากโครงการดังกล่าวและรายจ่ายภาครัฐอื่นๆตามนโยบายรัฐบาล สศค.ไม่ได้กังวลมากนักเพราะเชื่อว่าการลงทุนทั้งหมดของภาครัฐจะทำให้เศรษฐกิจขยายตัวขึ้น และผลที่ได้คือรัฐบาลมีรายได้มากขึ้น

นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่าสศค.ประเมินว่าผลของการลงทุนในระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของประเทศระยะเวลา 7-8 ปี วงเงิน 2 ล้านล้านบาท จะทำให้อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยเพิ่มขึ้นประมาณ 1% ต่อปี จากศักยภาพทางเศรษฐกิจที่สามารถขยายตัวได้เฉลี่ย 4.5% ต่อปี ขณะเดียวกัน จะทำให้รัฐบาลมีรายได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 4 หมื่นล้านบาทต่อปี

"เมื่อรายได้ภาษีขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจ ดังนั้น เมื่อเรามองภาพว่า เศรษฐกิจจะดีขึ้นเมื่อเกิดการลงทุน ก็แน่นอนว่า ต้องมีการเติบโตของรายได้ภาษีมาเป็นรายได้ในการใช้จ่ายของประเทศชาติ จากการประมาณการของทางสศค. คาดว่าเมื่อถึงจุดหนึ่ง รายได้ทางภาษีของเราจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ยประมาณ 4 หมื่นล้านบาทต่อปี นี่คือผลที่กระทบแรกๆ และจะเริ่มเห็นก็ต่อเมื่อมีการลงทุน แต่ถ้าลงทุนมากและเร็ว ผลก็จะมากตามไปด้วย เป็นรายได้ที่ไม่ต้องทำอะไรเพิ่มเลย ก็จะนำมาชำระดอกเบี้ยและเงินต้นส่วนหนึ่ง"นายสมชัยกล่าว

ทั้งนี้ รัฐบาลประเมินว่าเงินกู้ 2 ล้านล้านบาทนั้น จะชำระดอกเบี้ยในช่วง 10 ปีแรก จากนั้นจะทยอยชำระทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยในปีที่ 11 เป็นต้นไป จนถึงปีที่ 50 จะสามารถชำระเงินต้นโครงการนี้หมด รวมทั้งดอกเบี้ยและเงินต้น 5.16 ล้านล้านบาท

ชี้ลดภาษีนิติบุคคลกระตุ้นลงทุน

นายสมชัยมั่นใจว่านโยบายการลดภาษีของรัฐบาลที่ผ่านมา จะสร้างรายได้ให้กับรัฐบาลมากขึ้น เนื่องจากจะทำให้เกิดการค้าการลงทุนและกำลังซื้อในประเทศเพิ่มขึ้น

กรณีการปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลลงเหลือ 23% เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้กับเอกชนไทยในการใช้กำไรไปลงทุนต่อได้ รวมทั้งทำให้ขีดความสามารถแข่งขันของประเทศเมื่อเทียบประเทศเพื่อนบ้าน ดังนั้น ไม่ใช่จะมีแต่คนไทยที่ลงทุนเท่านั้น แต่จะมีการลงทุนจากต่างประเทศด้วย

"จากการที่ลดภาษีดังกล่าว เราคิดในเชิงพลวัต เมื่อเราแข่งขันกับประเทศอื่นๆได้ ต่างชาติก็จะมาลงทุนในไทย ดังนั้น ฐานภาษีเงินได้นิติบุคคลของเราก็จะกว้างขึ้น แม้อัตราภาษีจะลดลง และเราหวังว่า ในระยะกลางและระยะยาว รายได้ของภาษีในส่วนของนิติบุคคลไม่ได้ลดลง แต่จะเพิ่มขึ้น"

นายสมชัยกล่าวว่ากรมสรรพากรรายงานว่ารายได้ภาษีเงินได้นิติบุคคลไม่ได้ลดลง แต่กลับเพิ่มขึ้น และสูงกว่าเป้าหมาย เนื่องจากภาคเอกชนไทยลงทุนเพิ่ม ดังนั้นเมื่อต่างชาติมีเม็ดเงินก็เข้ามาลงทุนในไทย เสียภาษีให้คนไทยและรัฐบาลไทย ซึ่งจะทำให้รายได้ภาษีเพิ่มขึ้น

ชี้ภาษีมูลค่าเพิ่มต้องปรับแน่

นอกจากนี้ หากคิดจากการบริโภคของไทยยังมีแนวโน้มของการเติบโต ถึงแม้เราจะคงอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มเอาไว้ที่ 7% รายได้จากส่วนนี้ก็จะเพิ่มขึ้น จากการที่คนไทยบริโภคมากขึ้น รวมทั้ง การที่ต่างชาติเข้ามาบริโภคในเมืองไทยด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่ยังไม่ต้องปรับโครงสร้างภาษีเลย รายได้ภาษีที่ได้ ส่วนหนึ่งก็นำไปใช้ในการพัฒนาประเทศและอีกส่วนนำไปชำระหนี้โครงสร้างพื้นฐานของประเทศ

นับจากนี้ต่อไปอีก 7-8 ปี สศค.จะไม่หยุดนิ่งเรื่องของการปฏิรูปโครงสร้างภาษี ที่ผ่านมา ได้ดำเนินการเป็นส่วนๆ เพียงแต่ยังไม่ได้บูรณาการ เมื่อถึงจุดหนึ่งรัฐบาลก็คงต้องดำเนินการทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็นอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งชัดเจนว่านายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเห็นว่า มีความเป็นไปได้ว่า ถ้าเมืองนอกมีการลดอัตราภาษีลงอีก เราก็จะนำมาพิจารณาด้วยเช่นเดียวกัน แต่ขณะนี้อัตราภาษีที่ 20% ยังอยู่ในอัตราที่เหมาะสม

นายสมชัยกล่าวว่าอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นชัดเจนว่าถึงจุดหนึ่งจะต้องมีการเพิ่มขึ้น แต่ขึ้นกับสถานการณ์เศรษฐกิจและความจำเป็นในเรื่องการใช้แหล่งภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นรายได้หลักของรัฐบาล โดยอัตราภาษีคงไม่อยู่ที่ระดับ 7% ไปจนถึง 7 ปีแน่นอน เมื่อเศรษฐกิจเริ่มดี คนพร้อมที่จะรองรับการเสียภาษีที่มากขึ้น ต้องเพิ่มอัตราภาษีตัวนี้ ทั้งนี้ การเพิ่มอัตราภาษีจำนวน 1% จะทำให้รายได้ส่วนนี้เพิ่มขึ้นกว่า 5 หมื่นล้านบาทต่อปี

"ช่วงที่เรามีงบประมาณสมดุลได้จริงๆ หรือขาดดุลน้อยๆ ก็เห็นว่าน่าจะเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มได้ เพราะถือว่าประชาชนรับได้และเราก็จะขึ้นในอัตราต่ำๆ เช่น 1% เพื่อนำเงินไปพัฒนาเศรษฐกิจด้านอื่น และนำไปชำระหนี้" เขากล่าว

ทั้งนี้ รัฐบาลประเมินว่าการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีจะเข้าสู่งบประมาณแบบสมดุลในปี 2560 โดยจะทยอยลดการกู้เงินเพื่อชดเชยงบประมาณลง ซึ่งในปี 2556 รัฐบาลกู้เงินชดเชย 3 แสนล้านบาท ในปี 2557 ลดเหลือ 2.5 แสนล้านบาท ในปี 2558 ลดเหลือ 1.5 แสนล้านบาทและในปี 2559 ลดเหลือ 7.5 หมื่นล้านบาท

ลดภาษีบุคคลหนุนคนรายได้เพิ่ม

ส่วนโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น มีแนวโน้มลดลงและจะต้องมีเรื่องของการหักค่าลดหย่อน หักค่าใช้จ่ายต่างๆ ซึ่งต้องมีการปรับปรุงระบบนี้ด้วย ปัจจุบันยังไม่ได้มีการทำ แต่ในระยะยาวเห็นว่า ต้องมีการปรับ เพราะเห็นว่ายังไม่เหมาะสมในสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งหากทำตรงนี้ก็จะทำให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มมากขึ้น

"ถ้าเป็นอย่างนี้ ก็จะมีคนบอกว่าคนเกษียณอายุได้ภาษีลดลงใช่หรือไม่ ก็ต้องบอกว่าใช่ แต่ก็จะมีเงินไปใช้จ่ายที่อื่นเพิ่มขึ้น และเมื่อมีการใช้จ่ายบริโภค รัฐก็จะได้ภาษีมูลค่าเพิ่ม ขณะเดียวกัน บริษัทห้างร้านมีรายได้มากขึ้น เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลมากขึ้น แม้อัตราภาษีเท่าเดิม"นายสมชัยกล่าว

เตรียมเก็บภาษีสรรพสามิตเพิ่ม

นายสมชัยกล่าวว่ากรณีที่รัฐบาลต้องการรายได้เพิ่มขึ้น ภาษีสรรพสามิตถือเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญอีกแหล่งหนึ่ง ทั้งนี้ ปัจจุบันรัฐบาลยังมีการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล หากปรับเพิ่มขึ้นก็จะทำให้รายได้เพิ่มเข้ามาประมาณแสนล้านบาทต่อปี แต่นับจากนี้ เราคงต้องเพิ่มอยู่แล้ว แต่ก็ต้องดูสภาพทางเศรษฐกิจ และระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้กระทบประชาชนจนเกินไป รวมถึง ภาษีสรรพสามิตอีกหลายตัวที่จะนำมาใช้ได้ ดังนั้น ภาษีสรรพสามิตก็ถือเป็นเครื่องมือหนึ่งในการหารายได้เข้ารัฐ

ด้านภาษีศุลกากรก็ชัดเจนว่า มีแนวโน้มปรับลดอัตราภาษีเหลือ 0%ก็จะทำให้รายได้ภาษีศุลกากรลดลงจริง แต่จะไปเพิ่มส่วนอื่นๆ ให้กับรัฐบาล โดยเฉพาะกรณีที่มีการค้าและการลงทุนมากขึ้น รายได้ภาษีจากการนำเข้าส่งออกก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

"นี่เป็นภาพของการปรับโครงสร้างภาษีทั้งหมด และที่บอกว่าจะหาเงินที่ไหนมาชำระ ถามว่า เศรษฐกิจไทยจะนิ่งอย่างนี้ไปตลอดหรือ ก็ไม่จริง เพราะการลงทุน 2 ล้านล้านบาทนั้น ทำให้เศรษฐกิจเติบโตอยู่แล้ว และจะดึงการลงทุนเข้ามา ขณะเดียวกัน ภาษีใหม่ๆ ก็จะเกิดขึ้น" นายสมชัยกล่าว

หอการค้าชี้เลี่ยงขึ้นภาษียาก

นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล รองประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า ถ้ารัฐบาลจะขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มเป็น 8 % คงมีความจำเป็นเพราะที่ผ่านมารัฐบาลมีนโยบายประชานิคมหลายโครงการที่ต้องใช้งบประมาณ โดยเฉพาะการจำนำข้าวตันละ 15,000 บาท ที่เลิกได้ยาก และรัฐบาลพยายามกำหนดเกรดข้าวที่จะเข้าร่วมโครงการแต่ชาวนาอาจจะไม่ยอมเนื่องจากตอนประกาศโครงการไม่ได้กำหนดเงื่อนไขไว้ ซึ่งต่อไปรัฐบาลอาจต้องมาดูว่าโครงการต่างๆ ที่ใช้งบประมาณมากมีความจำเป็นที่ต้องดำเนินการต่อหรือไม่

"ถ้าเมื่อรัฐบาลพิจารณาแล้วมีความต้องการใช้งบประมาณโครงการต่างๆ มากแต่มีงบไม่เพียงพอก็ต้องเลือกระหว่างความจำเป็นทางการคลังและผลกระทบทางการเมือง"

เตือนสินค้าแพง-กระทบผู้บริโภค

นายพรศิลป์ กล่าวว่า การขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มกระทบประชาชนมากกว่าผู้ประกอบการ โดยการขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มจะส่งผลกระทบต่อวิตวิทยาทำให้ราคาสินค้าปรับขึ้นทันที ซึ่งการบริโภคในระยะสั้นอาจจะชะลอตัวแต่ในระยะยาวประชาชนจะชินและยอมรับราคาแพงได้ และรัฐบาลอาจต้องมาดูว่าถ้าราคาสินค้าแพงขึ้นจะช่วยเหลือผู้บริโภคได้อย่างไร เพราะรัฐบาลรับปากแล้วว่าจะไม่ปรับค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มขึ้นจากวันละ 300 บาท ไปจนถึงปี 2558 โดยการคงแรงขั้นต่ำไว้ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นทุกปีก็ต้องเข้าไปดูว่าจะช่วยผู้บริโภคได้อย่างไร

นายธนิต โสรัตน์ เลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ภาษีมูลค่าเพิ่มเกี่ยวข้องกับผู้ผลิตและผู้บริโภค โดยผู้ผลิตต้นน้ำจะผลักภาระภาษีมูลค่าเพิ่มที่สูงขึ้นให้กับผู้ผลิตกลางน้ำและปลายน้ำ และถ้าผู้ผลิตปลายน้ำขอคืนภาษีได้ไม่หมดก็ต้องปรับราคาสินค้าขึ้น ซึ่งทำให้การเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มมีผลกระทบต่อผู้บริโภคปลายทางมากที่สุด และราคาสินค้าปลายทางอาจสูงกว่า 1 % เนื่องจากภาษีมูลค่าเพิ่มถูกเก็บจากผู้ผลิตตลอดซัพพลายเชน 5-6 ทอด เพราะผู้ผลิตทุกทอดจะผลักภาระทั้งหมด

"ถ้ารัฐบาลไม่ต้องการให้ประชาชนได้รับผลกระทบมากอาจขึ้นภาษีแบบขั้นบันได เช่น ขึ้นครั้งละ 0.5 % รวมทั้งอาจแยกอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในสินค้าแต่ละชนิดเหมือนจีน และถ้าสินค้าใดจำเป็นก็เก็บในอัตราต่ำกว่าสินค้าฟุ่มเฟือย"

นายธนิต กล่าวว่า รัฐบาลคงไม่มีทางเลือกในการเก็บรายได้เพิ่มจึงต้องขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม เพราะปีนี้ต้องลดภาษีเงินได้นิติบุคคลลงจาก 23 % เหลือ 20 % ทำให้รายได้หายไปจำนวนหนึ่ง รวมทั้งรัฐบาลมีความเสี่ยงที่จะเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลลดลงเพราะมีแนวโน้มที่ภาคธุรกิจจะมีกำไรลดลงหรือขาดทุน เนื่องจากผู้ประกอบการมีต้นทุนเพิ่มขึ้นจากการปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท และราคาวัตถุดิบสูงขึ้น และผู้ผลิตเพื่อการส่งออกได้รับความเสี่ยงจากเงินบาทแข็งค่าเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าชะลอตัวลง ซึ่งจะเห็นจากการส่งออกเดือน ก.พ.นี้ ที่ติดลบและมีแนวโน้มที่จะติดลบต่อเนื่องแสดงให้เห็นว่ารายได้ของผู้ส่งออกมีแนวโน้มลดลง
value trap
รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
anubist
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1373
ผู้ติดตาม: 0

Re: ใครมีความคืบหน้าเรื่องขึ้น VAT --> 8% --> 10% บ้างไหมครั

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ก่อนขึ้นแวต เก็บภาษีที่ดินก่อนได้มั้ย ร่างค้างเติ่งมาตั้งแต่สมัยปชป.แล้ว
ทุนน้อยและหลุดดอยแล้ว เย้ๆ
โพสต์โพสต์