ดอลลาร์ไหลกลับ โดย วีรพงษ์ รามางกูร
โพสต์แล้ว: เสาร์ ก.ค. 13, 2013 8:29 pm
ดอลลาร์ไหลกลับ โดย วีรพงษ์ รามางกูร
http://www.prachachat.net/news_detail.p ... 1373596808
updated: 12 ก.ค. 2556 เวลา 09:44:01 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
หลายคนมีความสงสัยว่า บ้านเราที่เดือดร้อนเพราะค่าเงินบาทแข็งขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปีที่แล้วจาก 31 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ มาแข็งสุดสุด เมื่อปลายเดือนเมษายนอยู่ที่ 27.70 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ สร้างความตระหนกและความเสียหายกับผู้ส่งออก จนเป็นเหตุให้เป้าหมายทางเศรษฐกิจทุกตัวของเรา เช่น การส่งออก การขยายตัวทางเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อ พลาดหมดทุกตัว จนเป็นเหตุให้ทางการยอมรับและลดดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25
หลังจากนั้นค่าเงินบาทก็อ่อนตัว ดัชนีราคาหุ้นก็ตกลงเรื่อยๆ จากกว่า 1,620 จุด ลงมาต่ำกว่า 1,400 จุด ราคาพันธบัตรในตลาดลดลง ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงอย่างรวดเร็วจนต่ำกว่า 31 บาทต่อดอลลาร์
สาเหตุที่เป็นอย่างนั้น ไม่ได้เกิดจากนโยบายลดดอกเบี้ยเพียง 0.25 เปอร์เซ็นต์ของเรา แต่เป็นเพราะการคาดการณ์ในตลาดการเงินของโลกเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว
ถ้าหากจำได้ สหรัฐอเมริกาได้เปลี่ยนนโยบายจากการขาดดุลงบประมาณของรัฐบาลแล้วออกพันธบัตรกู้ยืมจากประชาชนอย่างต่อเนื่องเรื่อยมา ธนาคารกลางของสหรัฐเปลี่ยนนโยบายโดยการเพิ่มปริมาณ อย่างที่ภาษาเศรษฐกิจเรียกว่า open market operation แต่ ดร.เบอร์นันเก้ เรียกเสียใหม่อย่างโก้ว่า คิวอี หรือ quantitative easing แปลว่านโยบายผ่อนคลายทางปริมาณ (เงิน) กล่าวคือพิมพ์เงินออกมาซื้อพันธบัตรรัฐบาลคืนจากตลาด ปริมาณเงินในตลาดก็เพิ่มขึ้นเท่ากับจำนวนเงินที่นำออกมาซื้อพันธบัตร
เมื่อปริมาณเงินมากขึ้น ดอกเบี้ยระยะยาวก็ลดลง เพราะราคาพันธบัตร ราคาหุ้นและสินทรัพย์ทางการเงินต่างทยอยกันขึ้นราคา เพราะมีเงินมากขึ้น
ขณะเดียวกันเมื่ออัตราดอกเบี้ยลดลง นักลงทุนต่างก็พากันกู้เงินดอลลาร์ เข้ามาซื้อสินทรัพย์ทางการเงินในตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศเอเชีย เพราะเป็นภูมิภาคที่พื้นฐานทางเศรษฐกิจดีกว่ายุโรป
การที่เงินดอลลาร์หลั่งไหลเข้ามาลงทุนในตลาดทุนในประเทศเอเชีย จึงทำให้ตลาดทุนในเอเชียต่างคึกคัก ดัชนีตลาดทุนก็ดี ราคาพันธบัตรก็ดี รวมทั้งค่าเงินก็ทะยานสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ภายในเวลาไม่นานค่าเงินและราคาสินทรัพย์เหล่านี้ก็มีราคาเกินความจริงของพื้นฐานไป จนกระทบต่อการส่งออก การลงทุน
เมื่อ ดร.เบอร์นันเก้ทำท่าว่าจะหยุดหรือลดการเพิ่มประมาณเงินตามโครงการคิวอี นักลงทุนเก็งกำไรก็คาดว่าดอกเบี้ยในอเมริกาคงจะขึ้น ราคาของพันธบัตร ราคาหุ้นในอเมริกาน่าจะลดลง
เมื่อมีการคาดการณ์อย่างนั้น ประกอบกับราคาสินทรัพย์ทางการเงินในเอเชียมีราคาสูงกว่าความเป็นจริงไปแล้วหรือไม่ก็กำไรพอแล้ว ก็ทำการขายสินทรัพย์ทางการเงินในภูมิภาคเอเชีย เพื่อรีบเอาเงินดอลลาร์กลับคืนไปใช้หนี้ ก่อนที่ดอกเบี้ยในสหรัฐจะถีบตัวสูงขึ้น
ด้วยเหตุนี้ ราคาหุ้น ราคาพันธบัตร ในภูมิภาคเอเชียจึงดำดิ่งลง ประกอบกับข่าวที่ว่าเศรษฐกิจสหรัฐเริ่มฟื้นตัว การว่างงานจะเริ่มลดลง ค่าเงินดอลลาร์ในภูมิภาคเอเชียจึงถีบตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ค่าเงินสกุลต่างๆ ในเอเชียรวมทั้งเงินบาทจึงอ่อนตัวลงอย่างรวดเร็ว ราคาหุ้น ราคาพันธบัตรตลาดกลางต่างๆ จึงลดลงอย่างรวดเร็ว ราคาทรัพย์สินทางการเงินจะเหมือนจังหวะการบรรเลงดนตรีไทย ที่เวลาขึ้นขึ้นช้าเหมือนขึ้นบันไดเลื่อน แต่เวลาลงจะลงเร็วเหมือนลงลิฟต์ เราจึงเห็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ 2-3 สัปดาห์นี้ทั้งภูมิภาค
เหตุการณ์นี้กำลังจะเกิดขึ้นที่ญี่ปุ่นอีก เมื่อนายกรัฐมนตรีอาเบะประกาศหยุดคิวอีที่ญี่ปุ่น เงินญี่ปุ่นที่อ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์ถึง 30 เปอร์เซ็นต์ ก็จะทะยานแข็งขึ้นอย่างรวดเร็ว อาจจะเป็นเพราะญี่ปุ่นไม่อยากให้เงินเยนอ่อนเกินเป้าหมายที่ 100 เยนต่อดอลลาร์ เพราะเงินเฟ้อพื้นฐานอาจจะเกิน 2 เปอร์เซ็นต์
คงต้องคอยดูว่า คิวอียุโรป และอังกฤษจะเอาอย่างไร เมื่อธนาคารกลางสหรัฐใช้ลมปากหยุดหรือชะลอคิวอีเพื่อทดสอบตลาด
เหตุการณ์ที่อเมริกาเขย่าการเงินของโลก ทำให้นึกถึงวันที่ 4 มกราคม 2537 ตอนนั้น ดร.อลัน กรีนสแปน ประกาศทยอยขึ้นดอกเบี้ยเท่าตัวภายในเวลา 12 เดือน เกิดความปั่นป่วนไปทั่วโลก เพราะเงินดอลลาร์ไหลกลับอเมริกา กองทุนต่างๆ ทยอยขายหุ้นทั่วโลก รวมทั้งเอเชียและประเทศไทยด้วย ดัชนีราคาหุ้นอยู่ที่ 1,750 มูลค่าหุ้นทั้งหมดเกินมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ เหมือนๆ กับเที่ยวนี้ที่ดัชนีตลาดหุ้นอยู่ที่ 1,620 มูลค่าหุ้นทั้งหมดเกินมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมเหมือนกัน ฝรั่งก็เทขายพันธบัตรและหุ้นในตลาดเหมือนกัน
หลังจากเดือนมกราคม 2537 ดอลลาร์ก็ทยอยไหลออกจากประเทศไทย แต่ประเทศไทยขณะนั้นตรึงค่าเงินบาทไว้กับตะกร้าเงิน ไม่ยอมลดค่าเงินลงหรือไม่ยอมให้ดอลลาร์แพงขึ้นเมื่อเทียบกับเงินบาท ประกอบกับประเทศไทยยังขาดดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดอยู่ จนถูกโจมตีครั้งแรกตอนวันคริสต์มาสปลายปี 2539 ต่อมาวันวาเลนไทน์และวันที่ 10 พฤษภาคม 2540 แล้วก็เกิดต้มยำกุ้ง เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 เป็นความผิดพลาดอย่างใหญ่หลวงในประวัติศาสตร์ของธนาคารแห่งประเทศไทยอย่างที่ทราบกัน
แต่คราวนี้คงจะไม่เป็นอย่างนั้น เพราะเราได้เปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนจากระบบตรึงค่า มาเป็นระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงทันทีเมื่อเงินไหลออก สัดส่วนของเงินกู้ระยะสั้นเมื่อเทียบกับทุนสำรองยังอยู่ในอัตราต่ำ ทุนสำรองระหว่างประเทศของเราก็เป็นของเราจริงๆ ไม่ใช่กู้มาเป็นทุนสำรอง ฟองสบู่ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ ก็ยังพอควบคุมได้
สัดส่วนหนี้สินต่อทุนหรือ debt:equity ratio ก็ยังต่ำ เท่าที่ทราบมีเพียง 0.6 กระแสเงินสดหรือสภาพคล่องในบริษัทจดทะเบียนก็ยังสูง กล่าวคือ 1 ใน 3 ของเงินหมุนเวียน ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนขณะนี้ยังดีอยู่ เมื่อดัชนีตลาดหลักทรัพย์และราคาพันธบัตรตกลงมาสู่ระดับที่เหมาะสมกับพื้นฐาน ค่าเงินบาทอ่อนลง การส่งออกและการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมคงจะดำรงอยู่ได้
ความไม่แน่นอนเกิดขึ้นทันที ถ้าเศรษฐกิจอเมริกาเริ่มฟื้นตัวอย่างที่บริษัทเอส แอนด์ พี และมูดี้ส์ ปรับระดับความน่าเชื่อถือให้อเมริกา อย่างที่เคยคาดการณ์ไว้ว่าถ้าสามารถพบและเจาะก๊าซ เจาะน้ำมัน จากใต้ชั้นหินระดับลึกขึ้นมาได้
หาก ดร.เบอร์นันเก้ชะลอหรือหยุดโครงการคิวอี 3 เหตุการณ์ก็คงค่อยๆ ปรับเข้าสู่ดุลยภาพหรือภาวะปกติ แต่ถ้าธนาคารกลางสหรัฐไม่ชะลอหรือหยุดคิวอี 3 สถานการณ์คงจะปั่นป่วนหนักเข้าไปอีก ดังนั้น จึงไม่น่าเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางสหรัฐจะไม่ชะลอหรือหยุดโครงการคิวอี 3 ตามที่ได้โยนหินถามทางไว้
ผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการเงินของเราจะเป็นอย่างไร เป็นเรื่องที่น่าคิดและต้องเตรียมการกัน อย่าให้ผิดพลาดอย่างปี 2540 อีก
เวลายักษ์ใหญ่พลิกตัว เราก็เดือดร้อนกันทุกที
http://www.prachachat.net/news_detail.p ... 1373596808
updated: 12 ก.ค. 2556 เวลา 09:44:01 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
หลายคนมีความสงสัยว่า บ้านเราที่เดือดร้อนเพราะค่าเงินบาทแข็งขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปีที่แล้วจาก 31 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ มาแข็งสุดสุด เมื่อปลายเดือนเมษายนอยู่ที่ 27.70 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ สร้างความตระหนกและความเสียหายกับผู้ส่งออก จนเป็นเหตุให้เป้าหมายทางเศรษฐกิจทุกตัวของเรา เช่น การส่งออก การขยายตัวทางเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อ พลาดหมดทุกตัว จนเป็นเหตุให้ทางการยอมรับและลดดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25
หลังจากนั้นค่าเงินบาทก็อ่อนตัว ดัชนีราคาหุ้นก็ตกลงเรื่อยๆ จากกว่า 1,620 จุด ลงมาต่ำกว่า 1,400 จุด ราคาพันธบัตรในตลาดลดลง ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงอย่างรวดเร็วจนต่ำกว่า 31 บาทต่อดอลลาร์
สาเหตุที่เป็นอย่างนั้น ไม่ได้เกิดจากนโยบายลดดอกเบี้ยเพียง 0.25 เปอร์เซ็นต์ของเรา แต่เป็นเพราะการคาดการณ์ในตลาดการเงินของโลกเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว
ถ้าหากจำได้ สหรัฐอเมริกาได้เปลี่ยนนโยบายจากการขาดดุลงบประมาณของรัฐบาลแล้วออกพันธบัตรกู้ยืมจากประชาชนอย่างต่อเนื่องเรื่อยมา ธนาคารกลางของสหรัฐเปลี่ยนนโยบายโดยการเพิ่มปริมาณ อย่างที่ภาษาเศรษฐกิจเรียกว่า open market operation แต่ ดร.เบอร์นันเก้ เรียกเสียใหม่อย่างโก้ว่า คิวอี หรือ quantitative easing แปลว่านโยบายผ่อนคลายทางปริมาณ (เงิน) กล่าวคือพิมพ์เงินออกมาซื้อพันธบัตรรัฐบาลคืนจากตลาด ปริมาณเงินในตลาดก็เพิ่มขึ้นเท่ากับจำนวนเงินที่นำออกมาซื้อพันธบัตร
เมื่อปริมาณเงินมากขึ้น ดอกเบี้ยระยะยาวก็ลดลง เพราะราคาพันธบัตร ราคาหุ้นและสินทรัพย์ทางการเงินต่างทยอยกันขึ้นราคา เพราะมีเงินมากขึ้น
ขณะเดียวกันเมื่ออัตราดอกเบี้ยลดลง นักลงทุนต่างก็พากันกู้เงินดอลลาร์ เข้ามาซื้อสินทรัพย์ทางการเงินในตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศเอเชีย เพราะเป็นภูมิภาคที่พื้นฐานทางเศรษฐกิจดีกว่ายุโรป
การที่เงินดอลลาร์หลั่งไหลเข้ามาลงทุนในตลาดทุนในประเทศเอเชีย จึงทำให้ตลาดทุนในเอเชียต่างคึกคัก ดัชนีตลาดทุนก็ดี ราคาพันธบัตรก็ดี รวมทั้งค่าเงินก็ทะยานสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ภายในเวลาไม่นานค่าเงินและราคาสินทรัพย์เหล่านี้ก็มีราคาเกินความจริงของพื้นฐานไป จนกระทบต่อการส่งออก การลงทุน
เมื่อ ดร.เบอร์นันเก้ทำท่าว่าจะหยุดหรือลดการเพิ่มประมาณเงินตามโครงการคิวอี นักลงทุนเก็งกำไรก็คาดว่าดอกเบี้ยในอเมริกาคงจะขึ้น ราคาของพันธบัตร ราคาหุ้นในอเมริกาน่าจะลดลง
เมื่อมีการคาดการณ์อย่างนั้น ประกอบกับราคาสินทรัพย์ทางการเงินในเอเชียมีราคาสูงกว่าความเป็นจริงไปแล้วหรือไม่ก็กำไรพอแล้ว ก็ทำการขายสินทรัพย์ทางการเงินในภูมิภาคเอเชีย เพื่อรีบเอาเงินดอลลาร์กลับคืนไปใช้หนี้ ก่อนที่ดอกเบี้ยในสหรัฐจะถีบตัวสูงขึ้น
ด้วยเหตุนี้ ราคาหุ้น ราคาพันธบัตร ในภูมิภาคเอเชียจึงดำดิ่งลง ประกอบกับข่าวที่ว่าเศรษฐกิจสหรัฐเริ่มฟื้นตัว การว่างงานจะเริ่มลดลง ค่าเงินดอลลาร์ในภูมิภาคเอเชียจึงถีบตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ค่าเงินสกุลต่างๆ ในเอเชียรวมทั้งเงินบาทจึงอ่อนตัวลงอย่างรวดเร็ว ราคาหุ้น ราคาพันธบัตรตลาดกลางต่างๆ จึงลดลงอย่างรวดเร็ว ราคาทรัพย์สินทางการเงินจะเหมือนจังหวะการบรรเลงดนตรีไทย ที่เวลาขึ้นขึ้นช้าเหมือนขึ้นบันไดเลื่อน แต่เวลาลงจะลงเร็วเหมือนลงลิฟต์ เราจึงเห็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ 2-3 สัปดาห์นี้ทั้งภูมิภาค
เหตุการณ์นี้กำลังจะเกิดขึ้นที่ญี่ปุ่นอีก เมื่อนายกรัฐมนตรีอาเบะประกาศหยุดคิวอีที่ญี่ปุ่น เงินญี่ปุ่นที่อ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์ถึง 30 เปอร์เซ็นต์ ก็จะทะยานแข็งขึ้นอย่างรวดเร็ว อาจจะเป็นเพราะญี่ปุ่นไม่อยากให้เงินเยนอ่อนเกินเป้าหมายที่ 100 เยนต่อดอลลาร์ เพราะเงินเฟ้อพื้นฐานอาจจะเกิน 2 เปอร์เซ็นต์
คงต้องคอยดูว่า คิวอียุโรป และอังกฤษจะเอาอย่างไร เมื่อธนาคารกลางสหรัฐใช้ลมปากหยุดหรือชะลอคิวอีเพื่อทดสอบตลาด
เหตุการณ์ที่อเมริกาเขย่าการเงินของโลก ทำให้นึกถึงวันที่ 4 มกราคม 2537 ตอนนั้น ดร.อลัน กรีนสแปน ประกาศทยอยขึ้นดอกเบี้ยเท่าตัวภายในเวลา 12 เดือน เกิดความปั่นป่วนไปทั่วโลก เพราะเงินดอลลาร์ไหลกลับอเมริกา กองทุนต่างๆ ทยอยขายหุ้นทั่วโลก รวมทั้งเอเชียและประเทศไทยด้วย ดัชนีราคาหุ้นอยู่ที่ 1,750 มูลค่าหุ้นทั้งหมดเกินมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ เหมือนๆ กับเที่ยวนี้ที่ดัชนีตลาดหุ้นอยู่ที่ 1,620 มูลค่าหุ้นทั้งหมดเกินมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมเหมือนกัน ฝรั่งก็เทขายพันธบัตรและหุ้นในตลาดเหมือนกัน
หลังจากเดือนมกราคม 2537 ดอลลาร์ก็ทยอยไหลออกจากประเทศไทย แต่ประเทศไทยขณะนั้นตรึงค่าเงินบาทไว้กับตะกร้าเงิน ไม่ยอมลดค่าเงินลงหรือไม่ยอมให้ดอลลาร์แพงขึ้นเมื่อเทียบกับเงินบาท ประกอบกับประเทศไทยยังขาดดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดอยู่ จนถูกโจมตีครั้งแรกตอนวันคริสต์มาสปลายปี 2539 ต่อมาวันวาเลนไทน์และวันที่ 10 พฤษภาคม 2540 แล้วก็เกิดต้มยำกุ้ง เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 เป็นความผิดพลาดอย่างใหญ่หลวงในประวัติศาสตร์ของธนาคารแห่งประเทศไทยอย่างที่ทราบกัน
แต่คราวนี้คงจะไม่เป็นอย่างนั้น เพราะเราได้เปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนจากระบบตรึงค่า มาเป็นระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงทันทีเมื่อเงินไหลออก สัดส่วนของเงินกู้ระยะสั้นเมื่อเทียบกับทุนสำรองยังอยู่ในอัตราต่ำ ทุนสำรองระหว่างประเทศของเราก็เป็นของเราจริงๆ ไม่ใช่กู้มาเป็นทุนสำรอง ฟองสบู่ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ ก็ยังพอควบคุมได้
สัดส่วนหนี้สินต่อทุนหรือ debt:equity ratio ก็ยังต่ำ เท่าที่ทราบมีเพียง 0.6 กระแสเงินสดหรือสภาพคล่องในบริษัทจดทะเบียนก็ยังสูง กล่าวคือ 1 ใน 3 ของเงินหมุนเวียน ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนขณะนี้ยังดีอยู่ เมื่อดัชนีตลาดหลักทรัพย์และราคาพันธบัตรตกลงมาสู่ระดับที่เหมาะสมกับพื้นฐาน ค่าเงินบาทอ่อนลง การส่งออกและการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมคงจะดำรงอยู่ได้
ความไม่แน่นอนเกิดขึ้นทันที ถ้าเศรษฐกิจอเมริกาเริ่มฟื้นตัวอย่างที่บริษัทเอส แอนด์ พี และมูดี้ส์ ปรับระดับความน่าเชื่อถือให้อเมริกา อย่างที่เคยคาดการณ์ไว้ว่าถ้าสามารถพบและเจาะก๊าซ เจาะน้ำมัน จากใต้ชั้นหินระดับลึกขึ้นมาได้
หาก ดร.เบอร์นันเก้ชะลอหรือหยุดโครงการคิวอี 3 เหตุการณ์ก็คงค่อยๆ ปรับเข้าสู่ดุลยภาพหรือภาวะปกติ แต่ถ้าธนาคารกลางสหรัฐไม่ชะลอหรือหยุดคิวอี 3 สถานการณ์คงจะปั่นป่วนหนักเข้าไปอีก ดังนั้น จึงไม่น่าเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางสหรัฐจะไม่ชะลอหรือหยุดโครงการคิวอี 3 ตามที่ได้โยนหินถามทางไว้
ผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการเงินของเราจะเป็นอย่างไร เป็นเรื่องที่น่าคิดและต้องเตรียมการกัน อย่าให้ผิดพลาดอย่างปี 2540 อีก
เวลายักษ์ใหญ่พลิกตัว เราก็เดือดร้อนกันทุกที