เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่องภาระหนี้สินของประชาชน
โพสต์แล้ว: พุธ ก.ค. 31, 2013 11:13 am
นางสาว ปภาดา ชินวงศ์ ผู้จัดการโครงการเปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่องภาระหนี้สินของประชาชน กรณีศึกษา หัวหน้าครัวเรือนที่มีอายุ 25-60 ปี ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ได้แก่ นนทบุรี สมุทรปราการ ปทุมธานี จำนวนทั้งสิ้น 1,205 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างเดือนกรกฎาคม 2556 ที่ผ่านมา พบว่า
ผลการสำรวจชี้ให้เห็นว่า ตัวอย่างส่วนมากหรือร้อยละ 61.0 มีภาระหนี้สินที่ต้องผ่อนชำระเมื่อเทียบกับรายได้ในแต่ละเดือน โดยตัวอย่างร้อยละ 30.6 ระบุต้องผ่อนชำระร้อยละ 26 – 50 ของรายได้ต่อเดือน ร้อยละ 26.4 ระบุต้องผ่อนชำระหนี้สินไม่เกินร้อยละ 25 ของรายได้ต่อเดือน และร้อยละ 4.0 ระบุต้องผ่อนชำระมากกว่าร้อยละ 50 ของรายได้ต่อเดือน ในขณะที่ร้อยละ 39.0 ระบุไม่มีหนี้สินที่ต้องชำระ/ผ่อนชำระ
นอกจากนี้ตัวอย่างกว่าร้อยละ 60 ระบุการมีหนี้สิน ซึ่งเป็นหนี้ในระบบมากที่สุด รองลงมา คือ หนี้นอกระบบ และหนี้ทั้งในระบบและนอกระบบ ตามลำดับ ทั้งนี้เมื่อพิจารณาจำแนกตามรายได้ส่วนตัวต่อเดือน พบว่า เมื่อกลุ่มตัวอย่างมีรายได้เพิ่มขึ้น ก็จะมีหนี้สินเพิ่มขึ้นตาม โดยกลุ่มที่มีรายได้มากกว่า 50,000 บาทต่อเดือน มีหนี้สินสูงถึงร้อยละ 80 ขณะที่กลุ่มที่มีรายได้ น้อยกว่า 10,000 บาทต่อเดือน มีหนี้สินร้อยละ 50 แต่มีข้อน่าสังเกตว่าเกือบครึ่งหนึ่งที่เป็นหนี้สินนอกระบบ
กลุ่มตัวอย่างที่เป็นหนี้ในระบบ ระบุว่า ส่วนใหญ่กู้ยืมเงินจากธนาคารพาณิชย์ รองลงมาคือ ธนาคารของรัฐ หนี้กับบัตรเครดิต สินเชื่อเงินด่วน/เงินสด ตามลำดับ สำหรับรูปแบบการกู้นอกระบบของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า เกินครึ่งหรือร้อยละ 57.6 กู้ยืมจากนายทุน รองลงมา คือ พ่อแม่ ญาติพี่น้อง และเพื่อน โดยมีอัตราดอกเบี้ยสูงสุดร้อยละ 20 บาท/เดือน
เมื่อสอบถามถึงประเภทหนี้สินที่ต้องผ่อนชำระ พบว่า ผู้มีรายได้น้อยกว่า 30,000 บาทส่วนมากมีภาระหนี้สินที่ต้องผ่อนชำระ คือ เรื่องค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ อาหาร เป็นต้น และการกู้ยืม/หนี้สิน ในการประกอบอาชีพ ประกอบธุรกิจ และสิ่งที่ค้นพบคือ ผู้มีรายได้ 10,000 –30,000 หรือร้อยละ 1 ใน 5 ของตัวอย่างระบุมีหนี้สินต้องผ่อนรถยนต์คันแรก ตามนโยบายของรัฐ ขณะที่ผู้ที่มีรายได้ 30,001 บาทขึ้นไประบุมีหนี้สินต้องผ่อนรถยนต์และบ้านที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ
จากผลสำรวจ พบว่า ตัวอย่างบางส่วนเคยถูกข่มขู่ตามทวงหนี้จากนายทุนนอกระบบ อย่างไรก็ตามการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อกฎหมายควบคุมธุรกิจทวงหนี้ พบว่า ตัวอย่างไม่ถึงครึ่งหรือร้อยละ 42.2 รับทราบตัวกฎหมายดังกล่าว และสิ่งที่ตัวอย่างอยากให้รัฐบาลชุดปัจจุบันเข้ามาแก้ไขปัญหาเรื่องหนี้สินนอกระบบ โดยเฉพาะเรื่องดอกเบี้ยที่ไม่ควรเกินกฎหมายกำหนด รองลงมา คือ จัดตั้งสถาบันการเงินเพื่อช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย และเพิ่มบทลงโทษในตัวกฎหมาย ควบคุมเจ้าหนี้ ตามลำดับ
ประการสุดท้าย ความต้องการที่อยากให้รัฐบาลชุดปัจจุบัน ดำเนินการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ โดยตัวอย่าง ร้อยละ 63.7 ระบุอยากให้นำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้อย่างจริงจัง รองลงมา อยากให้มีการปรับสมดุลราคาสินค้าให้มีความสอดคล้องกับรายได้ค่าแรงขั้นต่ำ จัดสวัสดิการให้กับประชาชนอย่างครอบคลุม เช่น การรักษาพยาบาล รณรงค์ปลูกฝังจิตสำนึกรักแผ่นดินอย่างจริงจัง “ใช้สินค้าไทยบริโภคสินค้าไทย” และส่งเสริมสนับสนุนการทำอาชีพเสริม เช่น การฝึกฝีมือแรงงานตามลำดับ
จากการศึกษาครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นว่า กลุ่มตัวอย่างมีภาระหนี้สิน สำหรับกลุ่มผู้มีรายได้น้อย เผชิญปัญหาหนี้สินนอกระบบ รวมไปถึงภาระการจ่ายอัตราดอกเบี้ยที่สูง ดังนั้นรัฐบาลควรเข้ามาแก้ไขนอกจากตัวกฎหมายในการควบคุม ยังรวมไปถึงการให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนให้ทั่วถึง นอกจากนี้ผู้มีรายได้ตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป ซึ่งส่วนใหญ่มีการกู้เงินมาซื้อรถยนต์ ซื้อบ้าน ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการผลักดันนโยบายของรัฐบาลเอง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการขาดสภาพคล่องที่จะนำไปสู่ภาวะหนี้เสียของประชาชนได้ รัฐบาลควรปลูกจิตสำนึกให้กับประชาชนในการนำหลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้กับทุกภาคส่วน ซึ่งจากผลสำรวจกลุ่มตัวอย่างเกือบ 2 ใน 3 ได้ให้ความเห็นว่ารัฐบาลควรมีการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้อย่างจริงจัง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 42.1 เป็นชาย ร้อยละ 57.9 เป็นหญิง และเมื่อจำแนกตามช่วงอายุของตัวอย่าง พบว่า ร้อยละ 17.9 อายุระหว่าง 25-30 ปี ร้อยละ 31.9 อายุระหว่าง 31-40 ปี ร้อยละ 25.1 อายุระหว่าง 41-50 ปี และร้อยละ 25.1 อายุระหว่าง 51-60 ปี สำหรับด้านการศึกษาของตัวอย่างนั้นพบว่า ร้อยละ 69.3 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 30.7 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป นอกจากนี้ ตัวอย่างร้อยละ 44.2 ระบุอาชีพค้าขายอิสระ/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 23.2 ระบุเป็นลูกจ้าง/พนักงานบริษัท ร้อยละ 16.5 ระบุรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 8.3 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณ ร้อยละ 7.2 ระบุ เป็นข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ และร้อยละ 0.2 ระบุเป็นเกษตรกร และเมื่อพิจารณาถึงรายได้ส่วนตัวต่อเดือนพบว่าร้อยละ 23.4 ระบุรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาท ร้อยละ 68.9 ระบุ รายได้ 10,000-30,000 บาท ร้อยละ 6.9 ระบุรายได้ 30,001-50,000 และร้อยละ 0.8 ระบุรายได้ มากกว่า 50,000 บาทขึ้นไป
http://www.matichon.co.th/news_detail.p ... 3&catid=03
ผลการสำรวจชี้ให้เห็นว่า ตัวอย่างส่วนมากหรือร้อยละ 61.0 มีภาระหนี้สินที่ต้องผ่อนชำระเมื่อเทียบกับรายได้ในแต่ละเดือน โดยตัวอย่างร้อยละ 30.6 ระบุต้องผ่อนชำระร้อยละ 26 – 50 ของรายได้ต่อเดือน ร้อยละ 26.4 ระบุต้องผ่อนชำระหนี้สินไม่เกินร้อยละ 25 ของรายได้ต่อเดือน และร้อยละ 4.0 ระบุต้องผ่อนชำระมากกว่าร้อยละ 50 ของรายได้ต่อเดือน ในขณะที่ร้อยละ 39.0 ระบุไม่มีหนี้สินที่ต้องชำระ/ผ่อนชำระ
นอกจากนี้ตัวอย่างกว่าร้อยละ 60 ระบุการมีหนี้สิน ซึ่งเป็นหนี้ในระบบมากที่สุด รองลงมา คือ หนี้นอกระบบ และหนี้ทั้งในระบบและนอกระบบ ตามลำดับ ทั้งนี้เมื่อพิจารณาจำแนกตามรายได้ส่วนตัวต่อเดือน พบว่า เมื่อกลุ่มตัวอย่างมีรายได้เพิ่มขึ้น ก็จะมีหนี้สินเพิ่มขึ้นตาม โดยกลุ่มที่มีรายได้มากกว่า 50,000 บาทต่อเดือน มีหนี้สินสูงถึงร้อยละ 80 ขณะที่กลุ่มที่มีรายได้ น้อยกว่า 10,000 บาทต่อเดือน มีหนี้สินร้อยละ 50 แต่มีข้อน่าสังเกตว่าเกือบครึ่งหนึ่งที่เป็นหนี้สินนอกระบบ
กลุ่มตัวอย่างที่เป็นหนี้ในระบบ ระบุว่า ส่วนใหญ่กู้ยืมเงินจากธนาคารพาณิชย์ รองลงมาคือ ธนาคารของรัฐ หนี้กับบัตรเครดิต สินเชื่อเงินด่วน/เงินสด ตามลำดับ สำหรับรูปแบบการกู้นอกระบบของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า เกินครึ่งหรือร้อยละ 57.6 กู้ยืมจากนายทุน รองลงมา คือ พ่อแม่ ญาติพี่น้อง และเพื่อน โดยมีอัตราดอกเบี้ยสูงสุดร้อยละ 20 บาท/เดือน
เมื่อสอบถามถึงประเภทหนี้สินที่ต้องผ่อนชำระ พบว่า ผู้มีรายได้น้อยกว่า 30,000 บาทส่วนมากมีภาระหนี้สินที่ต้องผ่อนชำระ คือ เรื่องค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ อาหาร เป็นต้น และการกู้ยืม/หนี้สิน ในการประกอบอาชีพ ประกอบธุรกิจ และสิ่งที่ค้นพบคือ ผู้มีรายได้ 10,000 –30,000 หรือร้อยละ 1 ใน 5 ของตัวอย่างระบุมีหนี้สินต้องผ่อนรถยนต์คันแรก ตามนโยบายของรัฐ ขณะที่ผู้ที่มีรายได้ 30,001 บาทขึ้นไประบุมีหนี้สินต้องผ่อนรถยนต์และบ้านที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ
จากผลสำรวจ พบว่า ตัวอย่างบางส่วนเคยถูกข่มขู่ตามทวงหนี้จากนายทุนนอกระบบ อย่างไรก็ตามการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อกฎหมายควบคุมธุรกิจทวงหนี้ พบว่า ตัวอย่างไม่ถึงครึ่งหรือร้อยละ 42.2 รับทราบตัวกฎหมายดังกล่าว และสิ่งที่ตัวอย่างอยากให้รัฐบาลชุดปัจจุบันเข้ามาแก้ไขปัญหาเรื่องหนี้สินนอกระบบ โดยเฉพาะเรื่องดอกเบี้ยที่ไม่ควรเกินกฎหมายกำหนด รองลงมา คือ จัดตั้งสถาบันการเงินเพื่อช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย และเพิ่มบทลงโทษในตัวกฎหมาย ควบคุมเจ้าหนี้ ตามลำดับ
ประการสุดท้าย ความต้องการที่อยากให้รัฐบาลชุดปัจจุบัน ดำเนินการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ โดยตัวอย่าง ร้อยละ 63.7 ระบุอยากให้นำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้อย่างจริงจัง รองลงมา อยากให้มีการปรับสมดุลราคาสินค้าให้มีความสอดคล้องกับรายได้ค่าแรงขั้นต่ำ จัดสวัสดิการให้กับประชาชนอย่างครอบคลุม เช่น การรักษาพยาบาล รณรงค์ปลูกฝังจิตสำนึกรักแผ่นดินอย่างจริงจัง “ใช้สินค้าไทยบริโภคสินค้าไทย” และส่งเสริมสนับสนุนการทำอาชีพเสริม เช่น การฝึกฝีมือแรงงานตามลำดับ
จากการศึกษาครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นว่า กลุ่มตัวอย่างมีภาระหนี้สิน สำหรับกลุ่มผู้มีรายได้น้อย เผชิญปัญหาหนี้สินนอกระบบ รวมไปถึงภาระการจ่ายอัตราดอกเบี้ยที่สูง ดังนั้นรัฐบาลควรเข้ามาแก้ไขนอกจากตัวกฎหมายในการควบคุม ยังรวมไปถึงการให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนให้ทั่วถึง นอกจากนี้ผู้มีรายได้ตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป ซึ่งส่วนใหญ่มีการกู้เงินมาซื้อรถยนต์ ซื้อบ้าน ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการผลักดันนโยบายของรัฐบาลเอง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการขาดสภาพคล่องที่จะนำไปสู่ภาวะหนี้เสียของประชาชนได้ รัฐบาลควรปลูกจิตสำนึกให้กับประชาชนในการนำหลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้กับทุกภาคส่วน ซึ่งจากผลสำรวจกลุ่มตัวอย่างเกือบ 2 ใน 3 ได้ให้ความเห็นว่ารัฐบาลควรมีการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้อย่างจริงจัง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 42.1 เป็นชาย ร้อยละ 57.9 เป็นหญิง และเมื่อจำแนกตามช่วงอายุของตัวอย่าง พบว่า ร้อยละ 17.9 อายุระหว่าง 25-30 ปี ร้อยละ 31.9 อายุระหว่าง 31-40 ปี ร้อยละ 25.1 อายุระหว่าง 41-50 ปี และร้อยละ 25.1 อายุระหว่าง 51-60 ปี สำหรับด้านการศึกษาของตัวอย่างนั้นพบว่า ร้อยละ 69.3 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 30.7 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป นอกจากนี้ ตัวอย่างร้อยละ 44.2 ระบุอาชีพค้าขายอิสระ/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 23.2 ระบุเป็นลูกจ้าง/พนักงานบริษัท ร้อยละ 16.5 ระบุรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 8.3 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณ ร้อยละ 7.2 ระบุ เป็นข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ และร้อยละ 0.2 ระบุเป็นเกษตรกร และเมื่อพิจารณาถึงรายได้ส่วนตัวต่อเดือนพบว่าร้อยละ 23.4 ระบุรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาท ร้อยละ 68.9 ระบุ รายได้ 10,000-30,000 บาท ร้อยละ 6.9 ระบุรายได้ 30,001-50,000 และร้อยละ 0.8 ระบุรายได้ มากกว่า 50,000 บาทขึ้นไป
http://www.matichon.co.th/news_detail.p ... 3&catid=03