เชิญข่าว
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ส.ค. 22, 2013 2:20 pm
ข่าวก็คือข่าว มุมมองและวิจารณญาณของผู้อ่านเป็นตัวกำหนดว่านั่นข่าวดีหรือนี่ข่าวร้าย
?????????????????????????????????????????????????????????????????????????????
เตือนวิกฤตหุ้นโลกรอบใหม่ “ไทย-มาเลย์” เสี่ยงต่อคิว “อินเดีย-อินโดฯ” ชี้ “ศก.ชะลอ-ขาดดุลสูง” มีโอกาสโดนถล่ม
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 22 สิงหาคม 2556 08:48 น.
“บล.โนมูระ” เตือนสถานการณ์ตลาดหุ้นโลกขณะนี้คล้ายคลึงกับวิกฤตการณ์เมื่อปี 1997-1998 เป็นอย่างมาก ยอมรับ “อินเดีย-อินโดฯ” ได้รับความเสียหายไปแล้ว คาดลำดับต่อไป คือ ประเทศที่มียอดขาดดุลงบสูง ศก.ชะลอตัว และต่างชาติครองสัดส่วนในการถือครองพันธบัตรรัฐบาลของประเทศนั้นสูง ระบุ “ไทย-มาเลย์” มีคุณสมบัติเหล่านี้มากที่สุด “ธ.ยูบีเอส” ยอมรับหนี้สินในภาคครัวเรือน และภาครัฐบาลของมาเลเซียพุ่งขึ้นสู่ระดับสูง ขณะที่การปฏิรูปการคลังในมาเลเซียหยุดชะงักลง แถมต่างชาติถือครองพันธบัตรเกินครึ่ง
นายประทีป โมฮินานี นักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) โนมูระ เปิดเผยถึงสถานการณ์ตลาดหุ้นทั่วโลกในขณะนี้ โดยมองว่ามีความคล้ายคลึงกับวิกฤตการณ์ในปี 1997-1998 เป็นอย่างมาก โดยขณะนี้มี 2 ประเทศที่ได้รับความเสียหายแล้ว คือ อินเดีย และอินโดนีเซีย ซึ่งประเทศที่มีแนวโน้มที่จะได้รับความความเสียหายเป็นลำดับต่อไป คือ ประเทศที่มียอดขาดดุลงบประมาณสูง มีเศรษฐกิจชะลอตัว และต่างชาติครองสัดส่วนในการถือครองพันธบัตรรัฐบาลของประเทศนั้นสูง ซึ่งไทยกับมาเลเซียมีคุณสมบัติเหล่านี้มากที่สุด
นักเศรษฐศาสตร์ ระบุว่า ไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ หรือกลุ่มทิป ซึ่งมองว่าทั้ง 3 ประเทศนี้มีดุลการชำระเงินระหว่างประเทศที่แข็งแกร่งกว่าอินโดนีเซีย และอินเดียเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจเติบโตเร็ว และยังไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะปั่นป่วนในช่วงก่อนหน้านี้มากนัก อีกทั้งประเทศในภูมิภาคนี้ได้เพิ่มทุนสำรองเงินตราต่างประเทศให้สูงขึ้น และได้ลดหนี้สกุลเงินต่างประเทศลงมาก นับตั้งแต่เกิดวิกฤตการเงินเอเชียในปี 1997 เป็นต้นมา
ด้านนายเอ็ดเวิร์ด เทเธอร์ นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารยูบีเอส เปิดเผยว่า ยอดขาดดุลของมาเลเซียจะเป็นการเพิ่มแรงกดดันต่อผู้กำหนดนโยบายของมาเลเซียให้คุมเข้มนโยบายการเงิน และให้ปฏิรูปการคลัง แต่มาเลเซียเผชิญความเสี่ยงน้อยกว่าอินโดนีเซียเป็นอย่างมาก เนื่องจากมาเลเซียเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยยอดเกินดุลการค้าของมาเลเซียเคยดิ่งลงในเดือน เม.ย. จนแตะจุดต่ำสุดนับตั้งแต่เกิดวิกฤติการเงินปี 1997
นอกจากนี้ นักลงทุนยังมองว่า มาเลเซียเผชิญความเสี่ยงจากการที่ชาวต่างชาติถือครองตราสารหนี้เกือบครึ่งหนึ่งของประเทศด้วย ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา หนี้สินทั้งในภาคครัวเรือน และภาครัฐบาลของมาเลเซียพุ่งขึ้นสู่ระดับสูง ขณะที่การปฏิรูปการคลังในมาเลเซียหยุดชะงักลง
หลังจากผลการเลือกตั้งที่สูสีกันในเดือน พ.ค. ส่งผลให้สถานะของนายกรัฐมนตรีมาเลเซียอ่อนแอลง สกุลเงินริงกิตของมาเลเซียดิ่งลงแตะจุดต่ำสุดรอบ 3 ปีที่ 3.3 ริงกิตต่อดอลลาร์ เมื่อวานนี้ และรูดลงมาแล้วกว่า 7% จากช่วงต้นปีนี้
กรณีดังกล่าว เทรดเดอร์ประเมินว่า ธนาคารกลางมาเลเซียได้ใช้เงินไปแล้วประมาณ 1.3 พันล้านดอลลาร์ในการปกป้องค่าเงินริงกิตในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา แรงเทขายได้ลุกลามออกไปสู่ตลาดหุ้นกัวลาลัมเปอร์เมื่อวานนี้ด้วย ส่งผลให้ดัชนีคอมโพสิตของตลาดหุ้นกัวลาลัมเปอร์ดิ่งลง 1.85% ถึงแม้ว่าโดยปกติแล้วตลาดหุ้นแห่งนี้ถือเป็นแหล่งลงทุนที่ปลอดภัยในภูมิภาคนี้
ส่วนนายกุนดี คาห์ยาดี นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารโอซีบีซี ยอมรับว่า ไทยมีดุลการค้า และดุลบัญชีเดินสะพัดตกต่ำลง และคาดว่าเศรษฐกิจไทยอาจจะเผชิญกับปัญหาแบบเดียวกัน อย่างไรก็ดี ความเสี่ยงของไทยในปัจจุบันอยู่ในระดับที่สามารถจัดการได้
ฝรั่งทิ้งแบงก์แถมชอร์ตเซล สินเชื่อก.ค.ชะลอตัว KBANK หนักสุึด ลบ 3.6%
วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม 2556 เวลา 11:12:39 น.
ผู้เข้าชม : 1315 คน ข่าวหุ้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ราคาหุ้นกลุ่มแบงก์วันนี้ (22 ส.ค.) อ่อนตัวลงแรง หลังตัวเลขสินเชื่อขยายตัวลดลงอย่างมากในเดือนก.ค. และมีแรงเทขายหุ้นแบงก์ผ่าน NVDR ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงขายจากนักลงทุนต่างชาติ และมีการชอร์ตหุ้นกลุ่มนี้จำนวนมากด้วยเช่นกัน โดยล่าสุด ณ เวลา 11.02 น. ราคาหุ้นธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK อยู่ที่ 159.50 บาท ลดลง 6 บาท หรือ 3.63% มูลค่าการซื้อขาย 1.83 พันล้านบาท และเป็นมูลค่าการซื้อขายสูงสุดของวันนี้
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL อยู่ที่ 184.50 บาท ลดลง 4.50 บาท หรือ 2.38% มูลค่าการซื้อขาย 758 ล้านบาท ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) อยู่ที่ 141.50 บาท ลดลง 5.50 บาท หรือ 3.74 % มูลค่าการซื้อขาย 942.33 ล้านบาท และธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) หรือ BAY อยู่ที่ 37.50 บาท บวก 0.25 บาท หรือ 0.66% มูลค่าการซื้อขาย 777 ล้านบาท
โดยวานนี้ (21 ส.ค.) มีแรงขาย KBANK SCB และ BBL ผ่าน NVDR ออกมาเป็นอันดับ 1, 3 และ5 ตามลำดับ มูลค่า 1.2 พันล้านบาท 388.55 ล้านบาท และ169.89 ล้านบาท ตามลำดับ นอกจากนี้ ยังมีการขายชอร์ตหุ้น KBANK ออกมา 367.53 ล้านบาท หรือ 11.32% ของปริมาณการซื้อขายแบบ Auto Matching BBL 139.80 ล้านบาท หรือ 10.96% และ SCB 193.33 ล้านบาท หรือ 8.37%
ขณะที่ข้อมูลจาก http://www.settrade.com ระบุว่า บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) จำนวน 10 แห่ง แนะนำ “ซื้อ” KBANK อีก 1 แห่ง แนะนำ “ถือ” โดยให้ราคาเป้าหมายเฉลี่ยที่ 232 บาท แนะนำ “ซื้อ” SCB จำนวน 11 แห่ง อีก 1 แห่ง แนะนำ “ถือ” โดยให้ราคาเป้าหมายเฉลี่ยที่ 205 บาท แนะนำ “ซื้อ” BBL จำนวน 12 แห่ง อีก 2 แห่ง แนะนำ “ถือ” และอีก 1 แห่ง แนะนำ “ขาย” โดยให้ราคาเป้าหมายเฉลี่ยที่ 243 บาท แนะนำ “ซื้อ” BAY จำนวน 3 แห่ง อีก แห่ง 8แนะนำ “ถือ” และอีก 1 แห่ง แนะนำ “ขาย” โดยให้ราคาเป้าหมายเฉลี่ยที่ 38.54 บาท
บล.ไทยพาณิชย์ระบุว่า การขยายสินเชื่อชะลอตัวลงในเดือน ก.ค. ธนาคารเกือบทุกแห่งมีอัตราการขยายตัวของสินเชื่อจากเดือนก่อนหน้าชะลอตัวลงอย่างมากในเดือน ก.ค. โดยการชะลอตัวเกิดจากสินเชื่อทั้ง 3 ประเภท คือ สินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ สินเชื่อ SMEs และสินเชื่อรายย่อย เดือน ก.ค.เป็นเดือนที่มีการชำระคืนสืนเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่จำนวนมาก ส่งผลทำให้ BBL BAY และ LHBANK มีอัตราการขยายตัวของสินเชื่อติดลบ
อัตราการขยายตัวของสินเชื่อรถยนต์ชะลอตัวลงอย่างมาก เพราะขาดปัจจัยสนับสนุนจากมาตรการรถยนต์คันแรก การขยายตัวของสินเชื่อในเดือน ก.ค. ส่วนใหญ่เกิดจากสินเชื่อ SMEs และสินเชื่อรายย่อย ทั้งนี้ KTB เป็นธนาคารเพียงแห่งเดียวที่ยังไม่ได้ประกาศตัวเลขสินเชื่อเดือน ก.ค. KKP เป็นธนาคารเพียงแห่งเดียวที่มีอัตราการขยายตัวของสินเชื่อในระดับทรงตัวในเดือน ก.ค. โดยส่วนใหญ่ได้รับการสนับสนุนจากสินเชื่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
ปรับราคาเป้าหมายลดลง; ยังคงเลือก BBL กับ KTB เป็น top picks; ปรับคำแนะนำสำหรับ TISCO ขึ้นสู่ “ซื้อ” เราปรับราคาเป้าหมายของธนาคารส่วนใหญ่ลดลงเฉลี่ย 4% เพื่อสะท้อนการปรับประมาณการอัตราการขยายตัวของสินเชื่อลดลงและการปรับประมาณการต้นทุนสินเชื่อเพิ่มขึ้น เราเชื่อว่าราคาหุ้นที่ปรับตัวลดลงแรงในระยะหลังนี้สะท้อนความเสี่ยงที่จะขยายสินเชื่อได้ต่ำกว่าเป้าไปเรียบร้อยแล้ว
เรายังคงราคาเป้าหมายของ BAY กับ TMB ไว้ไม่เปลี่ยนแปลง เนื่องจากราคาเป้าหมายของธนาคารสองแห่งนี้ส่วนใหญ่ได้รับการสนับสนุนจากประเด็น M&A ทั้งนี้ ราคาเป้าหมายของ BAY มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นได้อีกจากการรวมกิจการกับสาขากรุงเทพฯ ของ Bank of Tokyo-Mitsubishi UFJ (BTMU) เรายังคงชอบธนาคารขนาดใหญ่ที่เน้นปล่อยสินเชื่อภาคธุรกิจมากกว่าธนาคารขนาดเล็กที่เน้นปล่อยสินเชื่อรายย่อย เรามีมุมมองเชิงบวกต่ออัตราการขยายตัวของสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่และ SMEs มากกว่าสินเชื่อภาคครัวเรือนโดยเฉพาะสินเชื่อรถยนต์
เรามีความกังวลเกี่ยวกับคุณภาพสินทรัพย์ของสินเชื่อภาคครัวเรือนมากกว่าสินเชื่อภาคธุรกิจ เนื่องจากหนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูงถึง 80% ของ GDP เรายังคงเลือก BBL กับ KTB เป็นtop picks ของกลุ่มธนาคาร เนื่องจากจะได้รับประโยชน์จากวัฏจักรการลงทุน ในขณะที่ปรับคำแนะนำสำหรับ TISCO ขึ้นจาก “Neutral” สู่ “ซื้อ” เพราะราคาหุ้นต่ำกว่ามูลค่าตามปัจจัยพื้นฐานอย่างมากหลังจากราคาหุ้นปรับตัวลดลงแรงเมื่อไม่นานนี้
บล.ฟินันเซีย ไซรัส ระบุในบทวิเคราะห์วันนี้ (22 ส.ค.) ว่า สินเชื่อเดือน ก.ค. ไม่โต ธนาคาร 8 แห่งยังไม่รวม KTB แสดงยอดสินเชื่อทรงตัว +0.1% จากเดือนก่อนหน้า ทำให้สินเชื่อสะสม 7M13 โตเพียง 5.34% YTD เป็น downside ต่อประมาณการสินเชื่อของเราที่คาดโต 11.7% เบื้องต้นเราอาจปรับลดการเติบโตของสินเชื่อปีนี้เป็น 7.2% ซึ่งอาจทำให้กำไรของกลุ่มแบงก์ลดลง 7% เหลือโตเพียง 15% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนลดลงจากเดิมที่คาด +22% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนเป็นอัตราการเติบโตที่ต่ำที่สุดตั้งแต่ปี 2010
ธปท.ระบุบาทอ่อนค่าจากเงินไหลออก เป็นไปตามทิศทางเดียวกับภูมิภาค
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย (22 ส.ค. 56) - - นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยอมรับว่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงในช่วงนี้ เกิดจากเม็ดเงินที่ไหลออก ซึ่งถือว่าเป็นไปในทิศทางเดียวกับภูมิภาค โดยเฉพาะตลาดเกิดใหม่
ทั้งนี้ตามหลักการแล้วหากเงินบาทอ่อนค่าเร็วเกินไป ธปท.ก็จะเข้าไปดูแล
ล่าสุดเงินบาทอ่อนค่าแตะ 32 บาทต่อดอลลาร์
เรียบเรียง โดย ดาริน ปริญญากุล
อนุมัติ โดย พิมพ์รภัส ศิริไพรวัน
อีเมล์แสดงความคิดเห็น [email protected]
ที่มา อีไฟแนนซ์ไทย วันที่ 22/08/13 เวลา 12:52:02
นายกฯถกด่วน! ครม.เศรษฐกิจ หลังค่าเงินบาทอ่อนค่าในรอบ 3 ปี ผวาเงินไหลออก เฟดจ่อลดขนาดคิวอี
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าความเคลื่อนไหวของ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ว่า เมื่อค่ำที่ผ่านมานายกรัฐมนตรีเดินทางกลับจากการเดินทางเยือนประเทศทาจิกิสถานและปากีสถาน และเมื่อช่วงเช้า (22 ส.ค.) ที่ผ่านมาเวลา 09.00น. นายกฯเดินทางเข้ามาปฏิบัติภารกิจที่ทำเนียบรัฐบาล และเวลา 09.30 น.นายกฯเป็นประธานในการประชุมภาพรวมเศรษฐกิจ
ท่ามกลางแนวโน้มค่าเงินบาทที่ปรับตัวอ่อนค่าลงต่ำสุดในรอบ 3 ปี แตะ 32.12 บาท/ดอลลาร์ จากแนวโน้มเงินไหลออกภูมิภาค หลังธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณลดขนาดคิวอี
ขณะที่ในเดือน เม.ย.ค่าเงินบาทแข็งค่าสุดแตะที่ระดับ 28.55 บาท/ดอลลาร์
โดยมีรัฐมนตรีทางด้านเศรษฐกิจเข้าร่วมประชุม อาทิ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ฯ พร้อมด้วยหน่วยงานด้านเศรษฐกิจ ที่ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล
ขณะที่เวลา 10.00 น. มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่อาคารรัฐสภา แต่ยังไม่มีกำหนดการว่านายกฯจะเข้าร่วมประชุมหรือไม่
นายแบงก์มั่นใจ “เงินบาท” ไม่โดนถล่มร่วงหนักซ้ำรอย “รูปี-รูเปียห์” ครม.ถกด่วน! คาดรับมือพายุการเงินโลก
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 22 สิงหาคม 2556 13:18 น.
นายแบงก์มั่นใจ “เงินบาท” ไม่โดนถล่มร่วงหนักซ้ำรอย “รูปี-รูเปียห์” เพราะเศรษฐกิจไทยแข็งแกร่ง ทุนสำรองระหว่างประเทศยังมีอยู่สูง และเพิ่งเริ่มขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในปีนี้ แตกต่างจากอินโดนีเซีย ที่มีปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเรื้อรัง ขณะที่นายกฯ ถกด่วน ครม.เศรษฐกิจ คาดรับมือเงินไหลออก บาทอ่อนสุดรอบ 3 ปี หลุดระดับ 32 บาท/ดอลลาร์
นายบันลือศักดิ์ ปุสสะรังษี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักวิจัย สายบริหารความเสี่ยง ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงกรณีที่นักวิเคราะห์ และนักเศรษฐศาสตร์เป็นห่วงค่าเงินบาทจะอ่อนค่าหนักเหมือนกับเงินรูปี อินเดีย และ รูเปียห์ อินโดนีเซีย โดยมั่นใจว่า การอ่อนค่าของเงินบาทจะไม่รุนแรงเหมือนกับ 2 เงินสกุลดังกล่าว
ทั้งนี้ เนื่องจากมองว่าพื้นฐานเศรษฐกิจไทยมีความแข็งแกร่ง ทุนสำรองระหว่างประเทศยังมีอยู่สูง และไทยเพิ่งเริ่มขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในปีนี้ แตกต่างจากอินโดนีเซีย ที่มีปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเรื้อรังมานาน ดังนั้น มั่นใจว่าสถานการณ์เงินบาทที่อ่อนค่าไม่น่าห่วง
ส่วนแนวโน้มเงินบาทในระยะยี้ยังอ่อนค่าต่อเนื่อง เนื่องจากนักลงทุนต่างชาติลดขนาดการลงทุนในตลาดหุ้น และตลาดพันธบัตรของไทย และหันไปเก็งกำไรเงินดอลลาร์สหรัฐ หลังจากคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน ธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) ยังไม่กำหนดกรอบเวลาที่ชัดเจนในการชะลอมาตรการอัดฉีดสภาพคล่อง (QE)
นักบริหารเงินยอมรับว่า เงินบาทเช้านี้ยังมีทิศทางอ่อนค่าต่อเนื่อง อยู่ที่ระดับ 32.02-32.04 บาทต่อดอลลาร์ สาเหตุเพราะเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น เมื่อเทียบกับทุกสกุล โดยเป็นผลมาจากการประชุม FOMC ที่ยังไม่กำหนดกรอบเวลาที่ชัดเจนในการชะลอ QE ประกอบกับมีเงินไหลออกจากตลาดหุ้น และตลาดพันธบัตรอย่างต่อเนื่อง พร้อมคาดว่าแนวโน้มวันนี้เงินบาทมีโอกาสอ่อนค่าต่อเนื่อง โดยมองกรอบการเคลื่อนไหวไว้ที่ 32-32.20 บาทต่อดอลลาร์
โดยเมื่อช่วงเช้าวันนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจเพื่อหารือทิศทางเศรษฐกิจช่วงครึ่งปีหลัง หลังสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ปรับเป้าจีดีพีปีนี้เหลือร้อยละ 3.8-4.3 จากเดิมที่คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 4.2-5.2 เนื่องจากการส่งออกในไตรมาส ที่ 2 ติดลบร้อยละ 1.9 และการบริโภคในประเทศชะลอตัว โดยรัฐบาลจะหาแนวทางกระตุ้นเศรษฐกิจช่วงครึ่งปีหลังให้เติบโตได้ใกล้เคียงร้อยละ 5 ตามที่เคยคาดการณ์ไว้
พร้อมกันนี้ ยังคาดว่าจะมีการหารือสถานการณ์เงินบาทอ่อนค่าแตะ 32 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งถือว่าเป็นการอ่อนค่าสุดในรอบ 3 ปี และอาจมีการหารือผลกระทบเงินทุนไหลออกต่อเนื่อง รวมถึงภาวะผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่กำลังผันผวน
ไขปริศนาหุ้นไทย-อินโดฯ ทรุดหนักกว่าเพื่อน เพราะมีสัญญาณเกิดวิกฤต ศก.ภายในประเทศ
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 21 สิงหาคม 2556 10:28 น.
หุ้นไทยดิ่งต่อเนื่อง 3 วันซ้อน ดัชนีทรุดไปแล้ว 80 จุด คาดทิศทางยังผันผวน โบรกฯ ยอมรับตลาดยังอยู่ในภาวะอ่อนแอ คาดในระยะสั้นยังเผชิญผลกระทบเงินทุนไหลออก พร้อมไขปริศนาหุ้นไทย-อินโดฯ ทรุดหนักกว่าเพื่อน เพราะมีสัญญาณเกิดวิกฤต ศก.ภายในประเทศตนเอง “ไพบูลย์” เชื่อดัชนีไม่ลงลึกไปถึง 1,200 จุด
รายงานข่าวบรรยากาศตลาดหุ้นไทยวันนี้ (21 ส.ค.) ดัชนีภาคเช้ายังปรับลงต่อเนื่อง และแกว่งตัวผันผวนในแดนลบ โดยเมื่อเวลา 10.12 น. ดัชนีปรับลงไปที่ 1,355.71 จุด ลดลง 15.15 จุด หรือเปลี่ยนแปลง -1.11% มูลค่าการซื้อขาย 4,390.83 ล้านบาท ซึ่งหากรวมกับการปรับลง 2 วันก่อนหน้านี้ ดัชนีปรับลงไปกว่า 80 จุดแล้ว
นายจักรกริช เจริญเมธาชัย กรรมการผู้จัดการ ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) โกลเบล็ก ยอมรับว่า ตลาดหุ้นไทยยังอยู่ในภาวะอ่อนแอจากความกังวลเรื่องการถดถอยของเศรษฐกิจภายในประเทศ และมาตรการผ่อนคลายทางการเงินรอบที่ 3 (คิวอี) ของสหรัฐฯ ที่ส่งผลให้เกิดกระแสเงินไหลออกจากภูมิภาค โดยกลยุทธ์การลงทุน พอร์ตลงทุนระยะ 6 เดือน แนะนำถือหุ้น 20% ส่วนพอร์ตระยะสั้นแนะนำเก็งกำไร จบในวันเดียว โดยประเมินแนวรับที่ 1,357 จุด
ด้านนายไพบูลย์ นลินทรางกูร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บล.ทิสโก้ ยอมรับว่า ตอนนี้ได้เกิดภาพใหญ่เงินทุนต่างชาติได้ไหลออกกลับเข้าไปลงทุนในประเทศพัฒนาแล้ว ทำให้ตลอดระยะเวลา 3 เดือนตลาดหุ้นของประเทศเกิดใหม่ (เอเมอร์จิน มาร์เกต) ปรับตัวลดลงมาโดยตลอด
อย่างไรก็ตาม ประเมินว่าสถานการณ์เงินทุนไหลออกจากประเทศเกิดใหม่นั้นจะเป็นเพียงภาพระยะสั้น จนกว่าทิศทางเศรษฐกิจประเทศจีนจะมีเสถียรภาพ รวมถึงเศรษฐกิจไทยด้วย ซึ่งเชื่อว่าตัวเลขเศรษฐกิจของไทยในไตรมาส 2 ของปีนี้ที่ออกมา ถือว่าเป็นระดับต่ำที่สุดแล้ว
“คาดว่าในช่วงครึ่งหลังของปี 2556 เศรษฐกิจโลกจะมีการฟื้นตัว และเชื่อว่าจะส่งผลดีต่อภาคการส่งออกของไทย ซึ่งมีสัดส่วนสูงถึง 70% ของจีดีพีประเทศ และเป็นจังหวะที่ค่าเงินบาทอ่อนน่าจะทำให้การส่งออกในครึ่งหลังของปีดีขึ้น”
ดังนั้น จึงเชื่อได้ว่านักลงทุนจะมีโอกาสเห็นภาพดัชนีหุ้นไทยจะฟื้นตัวภายในปีนี้ เพียงแต่ในระยะสั้นนี้อาจต้องเผชิญกับภาวะเงินทุนไหลออกก่อน แต่ไม่เชื่อว่าจะทำให้ดัชนีหุ้นปรับตัวลดลงต่ำทดสอบระดับ 1,200 จุด
ขณะที่นักวิเคราะห์บางแห่งมองว่า ตลาดหุ้นไทย และตลาดหุ้นอินโดนีเซียปรับตัวลงหนักกว่าภูมิภาค เนื่อจากได้ผลกระทบเศรษฐกิจภายในประเทศ ซึ่งประเทศไทยเจอกระแสข่าวเศรษฐกิจหดตัวต่อเนื่อง 2 ไตรมาส และเข้าสู่ภาวะการถดถอยทางเศรษฐกิจ ส่วนอินโดนีเซียมีปัญหาขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างรุนแรง เนื่องจากใช้เงินจำนวนมหาศาลไปอุดหนุนราคาน้ำมัน ภาครัฐสั่งคุมเข้มธนาคารพาณิชย์
นอกจากภาวะตลาดหุ้นไทยที่ปรับตัวลดลงอย่างหนัก 2 วันติดต่อกันแล้ว ทิศทางของค่าเงินบาท ยังได้รับผลกระทบที่เกิดจากภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจไทย 2 ไตรมาสติดต่อกัน หลังการแถลงสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ยังได้ปรับลดคาดการณ์จีดีพี ในปี 2556 ลงเหลือ 3.8-4.3% จากเดิม 4.2-5.2%
ด้านเงินบาทเปิดตลาดเช้านี้ (21 ส.ค.) อยู่ที่ระดับ 31.70 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าลงจากเย็นวานนี้ที่ปิดตลาดที่ระดับ 31.63/65 บาท/ดอลลาร์ ถือว่าอ่อนค่าสุดในรอบ 1 ปี
นักค้าเงินจาก ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย ยอมรับว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เงินบาทอ่อนค่าลง เป็นเพราะนักลงทุนมีความกังวลกับตัวเลขจีดีพี ในไตรมาส 2/56 ที่ขยายตัวเพียง 2.8% ซึ่งต่ำกว่าที่คาด ขณะเดียวกัน สภาพัฒน์ยังได้ปรับลดคาดการณ์จีดีพี ในปี 56 ลงเหลือ 3.8-4.3% จากเดิม 4.2-5.2% และ ไตรมาส 2 โตแค่ 2.8% ทำให้เงินบาทอ่อนค่า ขณะที่ภูมิภาคค่อนข้างปรับแข็งค่า
?????????????????????????????????????????????????????????????????????????????
เตือนวิกฤตหุ้นโลกรอบใหม่ “ไทย-มาเลย์” เสี่ยงต่อคิว “อินเดีย-อินโดฯ” ชี้ “ศก.ชะลอ-ขาดดุลสูง” มีโอกาสโดนถล่ม
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 22 สิงหาคม 2556 08:48 น.
“บล.โนมูระ” เตือนสถานการณ์ตลาดหุ้นโลกขณะนี้คล้ายคลึงกับวิกฤตการณ์เมื่อปี 1997-1998 เป็นอย่างมาก ยอมรับ “อินเดีย-อินโดฯ” ได้รับความเสียหายไปแล้ว คาดลำดับต่อไป คือ ประเทศที่มียอดขาดดุลงบสูง ศก.ชะลอตัว และต่างชาติครองสัดส่วนในการถือครองพันธบัตรรัฐบาลของประเทศนั้นสูง ระบุ “ไทย-มาเลย์” มีคุณสมบัติเหล่านี้มากที่สุด “ธ.ยูบีเอส” ยอมรับหนี้สินในภาคครัวเรือน และภาครัฐบาลของมาเลเซียพุ่งขึ้นสู่ระดับสูง ขณะที่การปฏิรูปการคลังในมาเลเซียหยุดชะงักลง แถมต่างชาติถือครองพันธบัตรเกินครึ่ง
นายประทีป โมฮินานี นักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) โนมูระ เปิดเผยถึงสถานการณ์ตลาดหุ้นทั่วโลกในขณะนี้ โดยมองว่ามีความคล้ายคลึงกับวิกฤตการณ์ในปี 1997-1998 เป็นอย่างมาก โดยขณะนี้มี 2 ประเทศที่ได้รับความเสียหายแล้ว คือ อินเดีย และอินโดนีเซีย ซึ่งประเทศที่มีแนวโน้มที่จะได้รับความความเสียหายเป็นลำดับต่อไป คือ ประเทศที่มียอดขาดดุลงบประมาณสูง มีเศรษฐกิจชะลอตัว และต่างชาติครองสัดส่วนในการถือครองพันธบัตรรัฐบาลของประเทศนั้นสูง ซึ่งไทยกับมาเลเซียมีคุณสมบัติเหล่านี้มากที่สุด
นักเศรษฐศาสตร์ ระบุว่า ไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ หรือกลุ่มทิป ซึ่งมองว่าทั้ง 3 ประเทศนี้มีดุลการชำระเงินระหว่างประเทศที่แข็งแกร่งกว่าอินโดนีเซีย และอินเดียเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจเติบโตเร็ว และยังไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะปั่นป่วนในช่วงก่อนหน้านี้มากนัก อีกทั้งประเทศในภูมิภาคนี้ได้เพิ่มทุนสำรองเงินตราต่างประเทศให้สูงขึ้น และได้ลดหนี้สกุลเงินต่างประเทศลงมาก นับตั้งแต่เกิดวิกฤตการเงินเอเชียในปี 1997 เป็นต้นมา
ด้านนายเอ็ดเวิร์ด เทเธอร์ นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารยูบีเอส เปิดเผยว่า ยอดขาดดุลของมาเลเซียจะเป็นการเพิ่มแรงกดดันต่อผู้กำหนดนโยบายของมาเลเซียให้คุมเข้มนโยบายการเงิน และให้ปฏิรูปการคลัง แต่มาเลเซียเผชิญความเสี่ยงน้อยกว่าอินโดนีเซียเป็นอย่างมาก เนื่องจากมาเลเซียเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยยอดเกินดุลการค้าของมาเลเซียเคยดิ่งลงในเดือน เม.ย. จนแตะจุดต่ำสุดนับตั้งแต่เกิดวิกฤติการเงินปี 1997
นอกจากนี้ นักลงทุนยังมองว่า มาเลเซียเผชิญความเสี่ยงจากการที่ชาวต่างชาติถือครองตราสารหนี้เกือบครึ่งหนึ่งของประเทศด้วย ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา หนี้สินทั้งในภาคครัวเรือน และภาครัฐบาลของมาเลเซียพุ่งขึ้นสู่ระดับสูง ขณะที่การปฏิรูปการคลังในมาเลเซียหยุดชะงักลง
หลังจากผลการเลือกตั้งที่สูสีกันในเดือน พ.ค. ส่งผลให้สถานะของนายกรัฐมนตรีมาเลเซียอ่อนแอลง สกุลเงินริงกิตของมาเลเซียดิ่งลงแตะจุดต่ำสุดรอบ 3 ปีที่ 3.3 ริงกิตต่อดอลลาร์ เมื่อวานนี้ และรูดลงมาแล้วกว่า 7% จากช่วงต้นปีนี้
กรณีดังกล่าว เทรดเดอร์ประเมินว่า ธนาคารกลางมาเลเซียได้ใช้เงินไปแล้วประมาณ 1.3 พันล้านดอลลาร์ในการปกป้องค่าเงินริงกิตในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา แรงเทขายได้ลุกลามออกไปสู่ตลาดหุ้นกัวลาลัมเปอร์เมื่อวานนี้ด้วย ส่งผลให้ดัชนีคอมโพสิตของตลาดหุ้นกัวลาลัมเปอร์ดิ่งลง 1.85% ถึงแม้ว่าโดยปกติแล้วตลาดหุ้นแห่งนี้ถือเป็นแหล่งลงทุนที่ปลอดภัยในภูมิภาคนี้
ส่วนนายกุนดี คาห์ยาดี นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารโอซีบีซี ยอมรับว่า ไทยมีดุลการค้า และดุลบัญชีเดินสะพัดตกต่ำลง และคาดว่าเศรษฐกิจไทยอาจจะเผชิญกับปัญหาแบบเดียวกัน อย่างไรก็ดี ความเสี่ยงของไทยในปัจจุบันอยู่ในระดับที่สามารถจัดการได้
ฝรั่งทิ้งแบงก์แถมชอร์ตเซล สินเชื่อก.ค.ชะลอตัว KBANK หนักสุึด ลบ 3.6%
วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม 2556 เวลา 11:12:39 น.
ผู้เข้าชม : 1315 คน ข่าวหุ้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ราคาหุ้นกลุ่มแบงก์วันนี้ (22 ส.ค.) อ่อนตัวลงแรง หลังตัวเลขสินเชื่อขยายตัวลดลงอย่างมากในเดือนก.ค. และมีแรงเทขายหุ้นแบงก์ผ่าน NVDR ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงขายจากนักลงทุนต่างชาติ และมีการชอร์ตหุ้นกลุ่มนี้จำนวนมากด้วยเช่นกัน โดยล่าสุด ณ เวลา 11.02 น. ราคาหุ้นธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK อยู่ที่ 159.50 บาท ลดลง 6 บาท หรือ 3.63% มูลค่าการซื้อขาย 1.83 พันล้านบาท และเป็นมูลค่าการซื้อขายสูงสุดของวันนี้
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL อยู่ที่ 184.50 บาท ลดลง 4.50 บาท หรือ 2.38% มูลค่าการซื้อขาย 758 ล้านบาท ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) อยู่ที่ 141.50 บาท ลดลง 5.50 บาท หรือ 3.74 % มูลค่าการซื้อขาย 942.33 ล้านบาท และธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) หรือ BAY อยู่ที่ 37.50 บาท บวก 0.25 บาท หรือ 0.66% มูลค่าการซื้อขาย 777 ล้านบาท
โดยวานนี้ (21 ส.ค.) มีแรงขาย KBANK SCB และ BBL ผ่าน NVDR ออกมาเป็นอันดับ 1, 3 และ5 ตามลำดับ มูลค่า 1.2 พันล้านบาท 388.55 ล้านบาท และ169.89 ล้านบาท ตามลำดับ นอกจากนี้ ยังมีการขายชอร์ตหุ้น KBANK ออกมา 367.53 ล้านบาท หรือ 11.32% ของปริมาณการซื้อขายแบบ Auto Matching BBL 139.80 ล้านบาท หรือ 10.96% และ SCB 193.33 ล้านบาท หรือ 8.37%
ขณะที่ข้อมูลจาก http://www.settrade.com ระบุว่า บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) จำนวน 10 แห่ง แนะนำ “ซื้อ” KBANK อีก 1 แห่ง แนะนำ “ถือ” โดยให้ราคาเป้าหมายเฉลี่ยที่ 232 บาท แนะนำ “ซื้อ” SCB จำนวน 11 แห่ง อีก 1 แห่ง แนะนำ “ถือ” โดยให้ราคาเป้าหมายเฉลี่ยที่ 205 บาท แนะนำ “ซื้อ” BBL จำนวน 12 แห่ง อีก 2 แห่ง แนะนำ “ถือ” และอีก 1 แห่ง แนะนำ “ขาย” โดยให้ราคาเป้าหมายเฉลี่ยที่ 243 บาท แนะนำ “ซื้อ” BAY จำนวน 3 แห่ง อีก แห่ง 8แนะนำ “ถือ” และอีก 1 แห่ง แนะนำ “ขาย” โดยให้ราคาเป้าหมายเฉลี่ยที่ 38.54 บาท
บล.ไทยพาณิชย์ระบุว่า การขยายสินเชื่อชะลอตัวลงในเดือน ก.ค. ธนาคารเกือบทุกแห่งมีอัตราการขยายตัวของสินเชื่อจากเดือนก่อนหน้าชะลอตัวลงอย่างมากในเดือน ก.ค. โดยการชะลอตัวเกิดจากสินเชื่อทั้ง 3 ประเภท คือ สินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ สินเชื่อ SMEs และสินเชื่อรายย่อย เดือน ก.ค.เป็นเดือนที่มีการชำระคืนสืนเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่จำนวนมาก ส่งผลทำให้ BBL BAY และ LHBANK มีอัตราการขยายตัวของสินเชื่อติดลบ
อัตราการขยายตัวของสินเชื่อรถยนต์ชะลอตัวลงอย่างมาก เพราะขาดปัจจัยสนับสนุนจากมาตรการรถยนต์คันแรก การขยายตัวของสินเชื่อในเดือน ก.ค. ส่วนใหญ่เกิดจากสินเชื่อ SMEs และสินเชื่อรายย่อย ทั้งนี้ KTB เป็นธนาคารเพียงแห่งเดียวที่ยังไม่ได้ประกาศตัวเลขสินเชื่อเดือน ก.ค. KKP เป็นธนาคารเพียงแห่งเดียวที่มีอัตราการขยายตัวของสินเชื่อในระดับทรงตัวในเดือน ก.ค. โดยส่วนใหญ่ได้รับการสนับสนุนจากสินเชื่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
ปรับราคาเป้าหมายลดลง; ยังคงเลือก BBL กับ KTB เป็น top picks; ปรับคำแนะนำสำหรับ TISCO ขึ้นสู่ “ซื้อ” เราปรับราคาเป้าหมายของธนาคารส่วนใหญ่ลดลงเฉลี่ย 4% เพื่อสะท้อนการปรับประมาณการอัตราการขยายตัวของสินเชื่อลดลงและการปรับประมาณการต้นทุนสินเชื่อเพิ่มขึ้น เราเชื่อว่าราคาหุ้นที่ปรับตัวลดลงแรงในระยะหลังนี้สะท้อนความเสี่ยงที่จะขยายสินเชื่อได้ต่ำกว่าเป้าไปเรียบร้อยแล้ว
เรายังคงราคาเป้าหมายของ BAY กับ TMB ไว้ไม่เปลี่ยนแปลง เนื่องจากราคาเป้าหมายของธนาคารสองแห่งนี้ส่วนใหญ่ได้รับการสนับสนุนจากประเด็น M&A ทั้งนี้ ราคาเป้าหมายของ BAY มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นได้อีกจากการรวมกิจการกับสาขากรุงเทพฯ ของ Bank of Tokyo-Mitsubishi UFJ (BTMU) เรายังคงชอบธนาคารขนาดใหญ่ที่เน้นปล่อยสินเชื่อภาคธุรกิจมากกว่าธนาคารขนาดเล็กที่เน้นปล่อยสินเชื่อรายย่อย เรามีมุมมองเชิงบวกต่ออัตราการขยายตัวของสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่และ SMEs มากกว่าสินเชื่อภาคครัวเรือนโดยเฉพาะสินเชื่อรถยนต์
เรามีความกังวลเกี่ยวกับคุณภาพสินทรัพย์ของสินเชื่อภาคครัวเรือนมากกว่าสินเชื่อภาคธุรกิจ เนื่องจากหนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูงถึง 80% ของ GDP เรายังคงเลือก BBL กับ KTB เป็นtop picks ของกลุ่มธนาคาร เนื่องจากจะได้รับประโยชน์จากวัฏจักรการลงทุน ในขณะที่ปรับคำแนะนำสำหรับ TISCO ขึ้นจาก “Neutral” สู่ “ซื้อ” เพราะราคาหุ้นต่ำกว่ามูลค่าตามปัจจัยพื้นฐานอย่างมากหลังจากราคาหุ้นปรับตัวลดลงแรงเมื่อไม่นานนี้
บล.ฟินันเซีย ไซรัส ระบุในบทวิเคราะห์วันนี้ (22 ส.ค.) ว่า สินเชื่อเดือน ก.ค. ไม่โต ธนาคาร 8 แห่งยังไม่รวม KTB แสดงยอดสินเชื่อทรงตัว +0.1% จากเดือนก่อนหน้า ทำให้สินเชื่อสะสม 7M13 โตเพียง 5.34% YTD เป็น downside ต่อประมาณการสินเชื่อของเราที่คาดโต 11.7% เบื้องต้นเราอาจปรับลดการเติบโตของสินเชื่อปีนี้เป็น 7.2% ซึ่งอาจทำให้กำไรของกลุ่มแบงก์ลดลง 7% เหลือโตเพียง 15% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนลดลงจากเดิมที่คาด +22% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนเป็นอัตราการเติบโตที่ต่ำที่สุดตั้งแต่ปี 2010
ธปท.ระบุบาทอ่อนค่าจากเงินไหลออก เป็นไปตามทิศทางเดียวกับภูมิภาค
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย (22 ส.ค. 56) - - นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยอมรับว่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงในช่วงนี้ เกิดจากเม็ดเงินที่ไหลออก ซึ่งถือว่าเป็นไปในทิศทางเดียวกับภูมิภาค โดยเฉพาะตลาดเกิดใหม่
ทั้งนี้ตามหลักการแล้วหากเงินบาทอ่อนค่าเร็วเกินไป ธปท.ก็จะเข้าไปดูแล
ล่าสุดเงินบาทอ่อนค่าแตะ 32 บาทต่อดอลลาร์
เรียบเรียง โดย ดาริน ปริญญากุล
อนุมัติ โดย พิมพ์รภัส ศิริไพรวัน
อีเมล์แสดงความคิดเห็น [email protected]
ที่มา อีไฟแนนซ์ไทย วันที่ 22/08/13 เวลา 12:52:02
นายกฯถกด่วน! ครม.เศรษฐกิจ หลังค่าเงินบาทอ่อนค่าในรอบ 3 ปี ผวาเงินไหลออก เฟดจ่อลดขนาดคิวอี
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าความเคลื่อนไหวของ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ว่า เมื่อค่ำที่ผ่านมานายกรัฐมนตรีเดินทางกลับจากการเดินทางเยือนประเทศทาจิกิสถานและปากีสถาน และเมื่อช่วงเช้า (22 ส.ค.) ที่ผ่านมาเวลา 09.00น. นายกฯเดินทางเข้ามาปฏิบัติภารกิจที่ทำเนียบรัฐบาล และเวลา 09.30 น.นายกฯเป็นประธานในการประชุมภาพรวมเศรษฐกิจ
ท่ามกลางแนวโน้มค่าเงินบาทที่ปรับตัวอ่อนค่าลงต่ำสุดในรอบ 3 ปี แตะ 32.12 บาท/ดอลลาร์ จากแนวโน้มเงินไหลออกภูมิภาค หลังธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณลดขนาดคิวอี
ขณะที่ในเดือน เม.ย.ค่าเงินบาทแข็งค่าสุดแตะที่ระดับ 28.55 บาท/ดอลลาร์
โดยมีรัฐมนตรีทางด้านเศรษฐกิจเข้าร่วมประชุม อาทิ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ฯ พร้อมด้วยหน่วยงานด้านเศรษฐกิจ ที่ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล
ขณะที่เวลา 10.00 น. มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่อาคารรัฐสภา แต่ยังไม่มีกำหนดการว่านายกฯจะเข้าร่วมประชุมหรือไม่
นายแบงก์มั่นใจ “เงินบาท” ไม่โดนถล่มร่วงหนักซ้ำรอย “รูปี-รูเปียห์” ครม.ถกด่วน! คาดรับมือพายุการเงินโลก
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 22 สิงหาคม 2556 13:18 น.
นายแบงก์มั่นใจ “เงินบาท” ไม่โดนถล่มร่วงหนักซ้ำรอย “รูปี-รูเปียห์” เพราะเศรษฐกิจไทยแข็งแกร่ง ทุนสำรองระหว่างประเทศยังมีอยู่สูง และเพิ่งเริ่มขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในปีนี้ แตกต่างจากอินโดนีเซีย ที่มีปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเรื้อรัง ขณะที่นายกฯ ถกด่วน ครม.เศรษฐกิจ คาดรับมือเงินไหลออก บาทอ่อนสุดรอบ 3 ปี หลุดระดับ 32 บาท/ดอลลาร์
นายบันลือศักดิ์ ปุสสะรังษี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักวิจัย สายบริหารความเสี่ยง ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงกรณีที่นักวิเคราะห์ และนักเศรษฐศาสตร์เป็นห่วงค่าเงินบาทจะอ่อนค่าหนักเหมือนกับเงินรูปี อินเดีย และ รูเปียห์ อินโดนีเซีย โดยมั่นใจว่า การอ่อนค่าของเงินบาทจะไม่รุนแรงเหมือนกับ 2 เงินสกุลดังกล่าว
ทั้งนี้ เนื่องจากมองว่าพื้นฐานเศรษฐกิจไทยมีความแข็งแกร่ง ทุนสำรองระหว่างประเทศยังมีอยู่สูง และไทยเพิ่งเริ่มขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในปีนี้ แตกต่างจากอินโดนีเซีย ที่มีปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเรื้อรังมานาน ดังนั้น มั่นใจว่าสถานการณ์เงินบาทที่อ่อนค่าไม่น่าห่วง
ส่วนแนวโน้มเงินบาทในระยะยี้ยังอ่อนค่าต่อเนื่อง เนื่องจากนักลงทุนต่างชาติลดขนาดการลงทุนในตลาดหุ้น และตลาดพันธบัตรของไทย และหันไปเก็งกำไรเงินดอลลาร์สหรัฐ หลังจากคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน ธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) ยังไม่กำหนดกรอบเวลาที่ชัดเจนในการชะลอมาตรการอัดฉีดสภาพคล่อง (QE)
นักบริหารเงินยอมรับว่า เงินบาทเช้านี้ยังมีทิศทางอ่อนค่าต่อเนื่อง อยู่ที่ระดับ 32.02-32.04 บาทต่อดอลลาร์ สาเหตุเพราะเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น เมื่อเทียบกับทุกสกุล โดยเป็นผลมาจากการประชุม FOMC ที่ยังไม่กำหนดกรอบเวลาที่ชัดเจนในการชะลอ QE ประกอบกับมีเงินไหลออกจากตลาดหุ้น และตลาดพันธบัตรอย่างต่อเนื่อง พร้อมคาดว่าแนวโน้มวันนี้เงินบาทมีโอกาสอ่อนค่าต่อเนื่อง โดยมองกรอบการเคลื่อนไหวไว้ที่ 32-32.20 บาทต่อดอลลาร์
โดยเมื่อช่วงเช้าวันนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจเพื่อหารือทิศทางเศรษฐกิจช่วงครึ่งปีหลัง หลังสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ปรับเป้าจีดีพีปีนี้เหลือร้อยละ 3.8-4.3 จากเดิมที่คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 4.2-5.2 เนื่องจากการส่งออกในไตรมาส ที่ 2 ติดลบร้อยละ 1.9 และการบริโภคในประเทศชะลอตัว โดยรัฐบาลจะหาแนวทางกระตุ้นเศรษฐกิจช่วงครึ่งปีหลังให้เติบโตได้ใกล้เคียงร้อยละ 5 ตามที่เคยคาดการณ์ไว้
พร้อมกันนี้ ยังคาดว่าจะมีการหารือสถานการณ์เงินบาทอ่อนค่าแตะ 32 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งถือว่าเป็นการอ่อนค่าสุดในรอบ 3 ปี และอาจมีการหารือผลกระทบเงินทุนไหลออกต่อเนื่อง รวมถึงภาวะผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่กำลังผันผวน
ไขปริศนาหุ้นไทย-อินโดฯ ทรุดหนักกว่าเพื่อน เพราะมีสัญญาณเกิดวิกฤต ศก.ภายในประเทศ
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 21 สิงหาคม 2556 10:28 น.
หุ้นไทยดิ่งต่อเนื่อง 3 วันซ้อน ดัชนีทรุดไปแล้ว 80 จุด คาดทิศทางยังผันผวน โบรกฯ ยอมรับตลาดยังอยู่ในภาวะอ่อนแอ คาดในระยะสั้นยังเผชิญผลกระทบเงินทุนไหลออก พร้อมไขปริศนาหุ้นไทย-อินโดฯ ทรุดหนักกว่าเพื่อน เพราะมีสัญญาณเกิดวิกฤต ศก.ภายในประเทศตนเอง “ไพบูลย์” เชื่อดัชนีไม่ลงลึกไปถึง 1,200 จุด
รายงานข่าวบรรยากาศตลาดหุ้นไทยวันนี้ (21 ส.ค.) ดัชนีภาคเช้ายังปรับลงต่อเนื่อง และแกว่งตัวผันผวนในแดนลบ โดยเมื่อเวลา 10.12 น. ดัชนีปรับลงไปที่ 1,355.71 จุด ลดลง 15.15 จุด หรือเปลี่ยนแปลง -1.11% มูลค่าการซื้อขาย 4,390.83 ล้านบาท ซึ่งหากรวมกับการปรับลง 2 วันก่อนหน้านี้ ดัชนีปรับลงไปกว่า 80 จุดแล้ว
นายจักรกริช เจริญเมธาชัย กรรมการผู้จัดการ ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) โกลเบล็ก ยอมรับว่า ตลาดหุ้นไทยยังอยู่ในภาวะอ่อนแอจากความกังวลเรื่องการถดถอยของเศรษฐกิจภายในประเทศ และมาตรการผ่อนคลายทางการเงินรอบที่ 3 (คิวอี) ของสหรัฐฯ ที่ส่งผลให้เกิดกระแสเงินไหลออกจากภูมิภาค โดยกลยุทธ์การลงทุน พอร์ตลงทุนระยะ 6 เดือน แนะนำถือหุ้น 20% ส่วนพอร์ตระยะสั้นแนะนำเก็งกำไร จบในวันเดียว โดยประเมินแนวรับที่ 1,357 จุด
ด้านนายไพบูลย์ นลินทรางกูร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บล.ทิสโก้ ยอมรับว่า ตอนนี้ได้เกิดภาพใหญ่เงินทุนต่างชาติได้ไหลออกกลับเข้าไปลงทุนในประเทศพัฒนาแล้ว ทำให้ตลอดระยะเวลา 3 เดือนตลาดหุ้นของประเทศเกิดใหม่ (เอเมอร์จิน มาร์เกต) ปรับตัวลดลงมาโดยตลอด
อย่างไรก็ตาม ประเมินว่าสถานการณ์เงินทุนไหลออกจากประเทศเกิดใหม่นั้นจะเป็นเพียงภาพระยะสั้น จนกว่าทิศทางเศรษฐกิจประเทศจีนจะมีเสถียรภาพ รวมถึงเศรษฐกิจไทยด้วย ซึ่งเชื่อว่าตัวเลขเศรษฐกิจของไทยในไตรมาส 2 ของปีนี้ที่ออกมา ถือว่าเป็นระดับต่ำที่สุดแล้ว
“คาดว่าในช่วงครึ่งหลังของปี 2556 เศรษฐกิจโลกจะมีการฟื้นตัว และเชื่อว่าจะส่งผลดีต่อภาคการส่งออกของไทย ซึ่งมีสัดส่วนสูงถึง 70% ของจีดีพีประเทศ และเป็นจังหวะที่ค่าเงินบาทอ่อนน่าจะทำให้การส่งออกในครึ่งหลังของปีดีขึ้น”
ดังนั้น จึงเชื่อได้ว่านักลงทุนจะมีโอกาสเห็นภาพดัชนีหุ้นไทยจะฟื้นตัวภายในปีนี้ เพียงแต่ในระยะสั้นนี้อาจต้องเผชิญกับภาวะเงินทุนไหลออกก่อน แต่ไม่เชื่อว่าจะทำให้ดัชนีหุ้นปรับตัวลดลงต่ำทดสอบระดับ 1,200 จุด
ขณะที่นักวิเคราะห์บางแห่งมองว่า ตลาดหุ้นไทย และตลาดหุ้นอินโดนีเซียปรับตัวลงหนักกว่าภูมิภาค เนื่อจากได้ผลกระทบเศรษฐกิจภายในประเทศ ซึ่งประเทศไทยเจอกระแสข่าวเศรษฐกิจหดตัวต่อเนื่อง 2 ไตรมาส และเข้าสู่ภาวะการถดถอยทางเศรษฐกิจ ส่วนอินโดนีเซียมีปัญหาขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างรุนแรง เนื่องจากใช้เงินจำนวนมหาศาลไปอุดหนุนราคาน้ำมัน ภาครัฐสั่งคุมเข้มธนาคารพาณิชย์
นอกจากภาวะตลาดหุ้นไทยที่ปรับตัวลดลงอย่างหนัก 2 วันติดต่อกันแล้ว ทิศทางของค่าเงินบาท ยังได้รับผลกระทบที่เกิดจากภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจไทย 2 ไตรมาสติดต่อกัน หลังการแถลงสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ยังได้ปรับลดคาดการณ์จีดีพี ในปี 2556 ลงเหลือ 3.8-4.3% จากเดิม 4.2-5.2%
ด้านเงินบาทเปิดตลาดเช้านี้ (21 ส.ค.) อยู่ที่ระดับ 31.70 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าลงจากเย็นวานนี้ที่ปิดตลาดที่ระดับ 31.63/65 บาท/ดอลลาร์ ถือว่าอ่อนค่าสุดในรอบ 1 ปี
นักค้าเงินจาก ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย ยอมรับว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เงินบาทอ่อนค่าลง เป็นเพราะนักลงทุนมีความกังวลกับตัวเลขจีดีพี ในไตรมาส 2/56 ที่ขยายตัวเพียง 2.8% ซึ่งต่ำกว่าที่คาด ขณะเดียวกัน สภาพัฒน์ยังได้ปรับลดคาดการณ์จีดีพี ในปี 56 ลงเหลือ 3.8-4.3% จากเดิม 4.2-5.2% และ ไตรมาส 2 โตแค่ 2.8% ทำให้เงินบาทอ่อนค่า ขณะที่ภูมิภาคค่อนข้างปรับแข็งค่า