Eco Car II
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ส.ค. 23, 2013 9:12 am
อนุกรรมการส่งเสริมการลงทุน ถกเงื่อนไขอีโคคาร์ ระยะที่ 2 กำหนดมาตรฐานเครื่องยนต์ยูโร 5 สอดคล้องกับเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า วันนี้
แหล่งข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่านายประเสริฐ บุญชัยสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการนโยบายส่งเสริมการลงทุนวันนี้ (23ส.ค.) เพื่อหารือเกี่ยวกับนโยบายสนับสนุนการลงทุนรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล (อีโคคาร์) ระยะที่ 2 โดยเมื่อได้ข้อสรุปแล้วกระทรวงอุตสาหกรรม ก็จะเสนอคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ที่มีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธาน พิจารณาวันที่ 28 ส.ค.นี้ เพื่อพิจารณาเงื่อนไขการส่งเสริมการลงทุน
แหล่งข่าว กล่าวว่า เมื่อบีโอไอประกาศนโยบายออกมาแล้ว ก็จะเชิญชวนให้ผู้ผลิตรถยนต์ยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนภายในปี 2556 และเริ่มลงทุนได้ในปี 2557 ทั้งนี้กระทรวงอุตสาหกรรมต้องการ ให้ผู้ผลิตรถยนต์เดินหน้าผลิตรถอีโคคาร์ต่อเนื่อง และเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ไทยผลิตรถยนต์ปีละ 3 ล้านคัน ได้ภายในปี 2560 การพิจารณาจะต้องดำเนินการให้รอบคอบและเป็นธรรมกับผู้ผลิตรถยนต์ 5 ราย ที่ได้รับส่งเสริมการลงทุนผลิตอีโคคาร์ระยะที่ 1 คือ โตโยต้า ฮอนด้า มิตซูบิชิ นิสสัน และซูซูกิ
ทั้งนี้ การส่งเสริมการลงทุนผลิตรถอีโคคาร์ระยะที่ 2 จะเปิดกว้างให้ผู้ผลิตรถยนต์ ที่เคยได้รับส่งเสริมการลงทุน และยังไม่เคยได้รับส่งเสริมการลงทุนสามารถยื่นเข้ามาได้ โดยสิทธิประโยชน์สิทธิประโยชน์จะใกล้เคียงกันทำให้ผู้ผลิตรถอีโคคาร์ระยะที่ 1 ไม่เสียผลประโยชน์แต่อย่างใด
แหล่งข่าว กล่าวว่า มาตรฐานด้านมลพิษของรถอีโคคาร์ระยะที่ 2 จะเข้มงวดมากขึ้นโดยจะปรับเปลี่ยนทางเทคนิค เพื่อให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้ามากขึ้น โดยจะกำหนดให้การปล่อยมลพิษต้องอยู่ในมาตรฐานยูโร 5 จากเดิมระยะ1 ที่กำหนดที่มาตรฐานยูโร 4 ทำให้การปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จะต้องน้อยกว่า 120 กรัม ต่อ 1 กิโลเมตร จะมีผลต่ออัตราภาษีสรรพสามิตที่จะลดต่ำกว่ารถอีโคคาร์ระยะ 1 ที่เสียภาษีสรรพสามิต 17% ส่วนขนาดของเครื่องยนต์ไม่ได้กำหนดว่าจะต้องต่ำกว่า 1,000 ซีซี แต่จะไปเน้นที่อัตราการปล่อยมลพิษแทน
ทั้งนี้ การกำหนดสิทธิประโยชน์อีโคคาร์ระยะที่ 2 ในส่วนของภาษีสรรพสามิตต้องพิจารณาร่วมกับกระทรวงการคลัง ที่มีการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ใหม่ ซึ่งโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ ของกระทรวงการคลังเป็นกรอบใหญ่ ที่ใช้กับรถยนต์ทุกประเภท แต่สิทธิประโยชน์ของอีโคคาร์จะแยกออกมาเพราะภาครัฐต้องการส่งเสริมการลงทุนผลิตรถยนต์ประเภทนี้ให้เป็นโปรดักแชมเปี้ยน
ด้านนายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า กลุ่มยานยนต์ ส.อ.ท.ยังไม่มีการหารือเกี่ยวกับนโยบายดังกล่าว เพราะยังไม่ทราบรายละเอียดว่ากระทรวงอุตสาหกรรมจะกำหนดเงื่อนไขอย่างไร หากมีประกาศเงื่อนไขออกมาแล้วไม่กระทบกับผู้ลงทุนระยะที่ 1 ก็เป็นเรื่องที่ดีสำหรับการส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ในไทย แต่ถ้าประกาศนโยบายออกมาขณะนี้เลย อาจมีผลต่อเงื่อนไขการผลิตรถอีโคคาร์ระยะที่ 1 ที่กำหนดให้ผลิตให้ได้ปีละ 100,000 คัน ภายใน 5ปี ต้องการให้กระทรวงอุตสาหกรรมยืดระยะเวลาในการบังคับใช้ออกไปเพื่อให้ผู้ลงทุนระยะที่ 1 ที่มีความเสี่ยง ทางธุรกิจมากกว่าได้รับผลตอบแทนการลงทุนตามที่วางแผนไว้ โดยผู้ลงทุนระยะที่ 1 ถือเป็นผู้บุกเบิกตลาดรถยนต์ประหยัดพลังงานจนพิสูจน์ได้ว่าไม่เป็นที่นิยม
http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... รุ่น2.html
แหล่งข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่านายประเสริฐ บุญชัยสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการนโยบายส่งเสริมการลงทุนวันนี้ (23ส.ค.) เพื่อหารือเกี่ยวกับนโยบายสนับสนุนการลงทุนรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล (อีโคคาร์) ระยะที่ 2 โดยเมื่อได้ข้อสรุปแล้วกระทรวงอุตสาหกรรม ก็จะเสนอคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ที่มีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธาน พิจารณาวันที่ 28 ส.ค.นี้ เพื่อพิจารณาเงื่อนไขการส่งเสริมการลงทุน
แหล่งข่าว กล่าวว่า เมื่อบีโอไอประกาศนโยบายออกมาแล้ว ก็จะเชิญชวนให้ผู้ผลิตรถยนต์ยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนภายในปี 2556 และเริ่มลงทุนได้ในปี 2557 ทั้งนี้กระทรวงอุตสาหกรรมต้องการ ให้ผู้ผลิตรถยนต์เดินหน้าผลิตรถอีโคคาร์ต่อเนื่อง และเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ไทยผลิตรถยนต์ปีละ 3 ล้านคัน ได้ภายในปี 2560 การพิจารณาจะต้องดำเนินการให้รอบคอบและเป็นธรรมกับผู้ผลิตรถยนต์ 5 ราย ที่ได้รับส่งเสริมการลงทุนผลิตอีโคคาร์ระยะที่ 1 คือ โตโยต้า ฮอนด้า มิตซูบิชิ นิสสัน และซูซูกิ
ทั้งนี้ การส่งเสริมการลงทุนผลิตรถอีโคคาร์ระยะที่ 2 จะเปิดกว้างให้ผู้ผลิตรถยนต์ ที่เคยได้รับส่งเสริมการลงทุน และยังไม่เคยได้รับส่งเสริมการลงทุนสามารถยื่นเข้ามาได้ โดยสิทธิประโยชน์สิทธิประโยชน์จะใกล้เคียงกันทำให้ผู้ผลิตรถอีโคคาร์ระยะที่ 1 ไม่เสียผลประโยชน์แต่อย่างใด
แหล่งข่าว กล่าวว่า มาตรฐานด้านมลพิษของรถอีโคคาร์ระยะที่ 2 จะเข้มงวดมากขึ้นโดยจะปรับเปลี่ยนทางเทคนิค เพื่อให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้ามากขึ้น โดยจะกำหนดให้การปล่อยมลพิษต้องอยู่ในมาตรฐานยูโร 5 จากเดิมระยะ1 ที่กำหนดที่มาตรฐานยูโร 4 ทำให้การปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จะต้องน้อยกว่า 120 กรัม ต่อ 1 กิโลเมตร จะมีผลต่ออัตราภาษีสรรพสามิตที่จะลดต่ำกว่ารถอีโคคาร์ระยะ 1 ที่เสียภาษีสรรพสามิต 17% ส่วนขนาดของเครื่องยนต์ไม่ได้กำหนดว่าจะต้องต่ำกว่า 1,000 ซีซี แต่จะไปเน้นที่อัตราการปล่อยมลพิษแทน
ทั้งนี้ การกำหนดสิทธิประโยชน์อีโคคาร์ระยะที่ 2 ในส่วนของภาษีสรรพสามิตต้องพิจารณาร่วมกับกระทรวงการคลัง ที่มีการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ใหม่ ซึ่งโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ ของกระทรวงการคลังเป็นกรอบใหญ่ ที่ใช้กับรถยนต์ทุกประเภท แต่สิทธิประโยชน์ของอีโคคาร์จะแยกออกมาเพราะภาครัฐต้องการส่งเสริมการลงทุนผลิตรถยนต์ประเภทนี้ให้เป็นโปรดักแชมเปี้ยน
ด้านนายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า กลุ่มยานยนต์ ส.อ.ท.ยังไม่มีการหารือเกี่ยวกับนโยบายดังกล่าว เพราะยังไม่ทราบรายละเอียดว่ากระทรวงอุตสาหกรรมจะกำหนดเงื่อนไขอย่างไร หากมีประกาศเงื่อนไขออกมาแล้วไม่กระทบกับผู้ลงทุนระยะที่ 1 ก็เป็นเรื่องที่ดีสำหรับการส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ในไทย แต่ถ้าประกาศนโยบายออกมาขณะนี้เลย อาจมีผลต่อเงื่อนไขการผลิตรถอีโคคาร์ระยะที่ 1 ที่กำหนดให้ผลิตให้ได้ปีละ 100,000 คัน ภายใน 5ปี ต้องการให้กระทรวงอุตสาหกรรมยืดระยะเวลาในการบังคับใช้ออกไปเพื่อให้ผู้ลงทุนระยะที่ 1 ที่มีความเสี่ยง ทางธุรกิจมากกว่าได้รับผลตอบแทนการลงทุนตามที่วางแผนไว้ โดยผู้ลงทุนระยะที่ 1 ถือเป็นผู้บุกเบิกตลาดรถยนต์ประหยัดพลังงานจนพิสูจน์ได้ว่าไม่เป็นที่นิยม
http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... รุ่น2.html