หน้า 1 จากทั้งหมด 1

นายแบงก์ ยอมรับ ยาก ศก.ไทยโต 4.1% ปีนี้

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ย. 02, 2013 3:14 pm
โดย วรันศ์ บัฟเฟต
นายแบงก์ ยอมรับ ยาก ศก.ไทยโต 4.1% ปีนี้

นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ ให้สัมภาษณ์ Money channel ถึงแนวโน้มเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 ว่า จากการดัชนีต่างๆ ของเดือน กรกฎาคม ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นเดือนแรกของไตรมาสที่ 3 ตัวเลขสำคัญๆ หลายตัวยังติดลบ เช่น ภาคการผลิต ติดลบ 0.5% โดยเฉพาะสินค้าประเภทอาหาร // เครื่องใช้ไฟฟ้า // รถยนต์ และ ฮาร์ดิสก์ไดร์ฟ // การบริโภคในประเทศติดลบ 0.7% // การลงทุนของภาคเอกชน ก็ติดลบ 5.4% และ ภาคการส่งออกติดลบ 1.3% เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศผู้นำเข้ายังแผ่วอยู่มาก

เมื่อตัวเลขในเดือนแรกของไตรมาสที่ 3 ส่วนใหญ่ยังติดลบ และดัชนีบางตัวแย่ต่อเนื่องจากเดือน มิถุนายน สะท้อนให้เห็นว่า ความหวังว่าไตรมาสที่ 3 และ 4 เศรษฐกิจจะฟื้นจากการบริโภคภายในประเทศ การส่งออก และจะทำให้ทั้งปีนี้ เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ 4.1% มีความเป็นไปได้ยากยิ่งขึ้น

Re: นายแบงก์ ยอมรับ ยาก ศก.ไทยโต 4.1% ปีนี้

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ย. 02, 2013 3:15 pm
โดย วรันศ์ บัฟเฟต
นักเศรษฐศาสตร์ ห่วงหนี้ครัวเรือนมากสุด

นักเศรษฐศาสตร์ ห่วงหนี้ครัวเรือนมากสุด พร้อมระบุ แม้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน แต่เศรษฐกิจไทยปี 57-63 จะโตต่ำกว่าปีละ 5.63%

ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) ร่วมกับคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เปิดเผยผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ เรื่อง “จีดีพีกับหนี้สาธารณะ" พบว่า นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ร้อยละ 65.5 เห็นว่าในช่วงปี 2557-2563 ซึ่งเป็นช่วงที่รัฐบาลมีแผนจะลงทุนโครงสร้างพื้นฐานตาม พ.ร.ก.บริหารจัดการน้ำ และ พ.ร.บ.ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน เศรษฐกิจไทยมีโอกาสกว่า 50% ที่จะขยายตัวเฉลี่ยน้อยกว่าร้อยละ 5.63 ต่อปี (จีดีพี ณ ราคาประจำปี)ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวเฉลี่ยในช่วง 16 ปีที่ผ่านมา

ส่วนจะมีโอกาสมากน้อยเพียงใดที่จีดีพีจะขยายตัวน้อยกว่าร้อยละ 4 ต่อปี นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ร้อยละ 57.4 บอกว่ามีโอกาสมากกว่า 50% นั่นหมายความว่ามีโอกาสมากกว่าครึ่งเช่นกันที่สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีจะเกินร้อยละ 50 ตามที่รัฐบาลคาดการณ์ไว้

นอกจากนี้ร้อยละ 85.2 คิดว่ารัฐบาลยังคงต้องใช้งบประมาณแบบขาดดุลอยู่ในปี 2560 มีเพียงร้อยละ 11.5 ที่คิดว่ารัฐบาลน่าจะใช้งบประมาณแบบสมดุลได้ตามที่ได้วางแผนไว้ และนักเศรษฐศาสตร์มากถึงร้อยละ 90.2 เชื่อว่ามีโอกาสมากกว่า 50% ที่รัฐบาลในช่วงปี 2560-2563 จะใช้งบประมาณแบบขาดดุลเหมือนเดิม

อย่างไรก็ตาม เมื่อถามว่า “ระหว่างหนี้สาธารณะหนี้ภาคเอกชนและหนี้ครัวเรือนหนี้อะไรน่าเป็นห่วงที่สุด" ร้อยละ 63.9 บอกว่า หนี้ครัวเรือนน่าห่วงที่สุด รองลงมาร้อยละ 31.1 หนี้สาธารณะน่าห่วงที่สุด ขณะที่หนี้ภาคเอกชนไม่มีนักเศรษฐศาสตร์คนใดที่เห็นว่าน่าห่วง

สุดท้ายเมื่อถามว่า “หากรัฐบาลจะใช้นโยบายงบประมาณรายจ่ายสมดุลอย่างยั่งยืน" ในช่วงปี 2560 เป็นต้นไป รัฐบาลต้องดำเนินการอะไรบ้างในตอนนี้ อันดับ 1 เห็นว่าต้องหยุด เลิก โครงการประชานิยมต่างๆ ที่อยู่ในลักษณะชดเชยราคา การโอนความมั่งคั่ง ชเนื่องจากโครงการในลักษณะนี้เป็นโครงการที่ไม่ช่วยเสริมสร้างศักยภาพในการผลิตให้สูงขึ้น อันดับ 2 เห็นว่าต้องลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่มีความจำเป็นเร่งด่วน มีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ ช่วยสร้างรายได้ให้กับรัฐเมื่อโครงการแล้วเสร็จ หรือช่วยสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศในระยะยาวอย่างยั่งยืน

อันดับ 3 เร่งรัดการจัดเก็บภาษี การเพิ่มภาษี ต้องรีบผ่าน พ.ร.บ. กู้เงินลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน พร้อมกับลดรายจ่ายไปด้วย อันดับ 4 ต้องมีวินัยทางการคลัง มีการติดตามการใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง อันดับ 5 ปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างจริงจัง และ อันดับ 6 อื่นๆ ได้แก่ เร่งกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการบริโภค การลงทุน ขยายกำลังซื้อในประเทศ ปรับเปลี่ยนวิธีใช้งบประมาณ คงต้องใช้งบประมาณแบบขาดดุลไปก่อน และคนไทยต้องอยู่อย่างพอเพียงช่วยตัวเองได้

Re: นายแบงก์ ยอมรับ ยาก ศก.ไทยโต 4.1% ปีนี้

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 03, 2013 8:41 am
โดย PLUSLOVE
สองสูงครับ หนี้สาธารณะสูง+หนี้ครัวเรือนสูง มันต้องเลือกสักทาง เศรษฐกิจถึงจะไปได้

เครื่องยนต์4ตัว C I G X-M Gกับ Cต้องไม่สูงไปพร้อมๆกัน เวลามีปัญหาจะได้แก้ง่าย

Re: นายแบงก์ ยอมรับ ยาก ศก.ไทยโต 4.1% ปีนี้

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 03, 2013 12:39 pm
โดย วรันศ์ บัฟเฟต
การบริโภคในประเทศชะลอตัวชัดเจน

นายสมชาย พรรัตนเจริญ นายกสมาคมการค้าส่ง-ปลีกไทย ต่างก็บอกว่า มีสัญญาณการชะลอตัวของการบริโภคในประเทศที่ชัดเจน โดยผู้ประกอบการค้าปลีกต่างๆ รายงานตัวเลขยอดขายส่วนใหญ่ติดลบ แม้ว่ารายได้ของประชาชนจะเพิ่มขึ้นจากการปรับขึ้นค่าแรง แต่ก็ไม่เพียงพอกับรายจ่ายที่เพิ่มขึ้น

ประกอบกับ หนี้สินที่เพิ่มขึ้นจากใช้เงินในอนาคต หรือ บัตรเครดิต ที่คิดอัตราดอกเบี้ยสูง ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ผู้บริโภคมีเงินจับจ่ายลดลง

อย่างไรก็ตาม นายกสมาคมการค้าส่ง-ปลีกไทย แนะให้รัฐบาลช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย ควบคุมราคาอาหาร และหานโยบายที่ช่วยลดค่าครองชีพ

Re: นายแบงก์ ยอมรับ ยาก ศก.ไทยโต 4.1% ปีนี้

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 03, 2013 12:39 pm
โดย วรันศ์ บัฟเฟต
"เครดิต สวิส" หั่นจีดีพีไทยปีนี้เหลือเพียง 2.7%

เครดิต สวิส วาณิชธนกิจชั้นนำของยุโรป ออกบทวิเคราะห์ปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยลงเช่นเดียวกับสำนักวิจัยอื่น โดยระบุว่า ตัวเลขเศรษฐกิจในเดือนกรกฎาคม ที่ผ่านมา ทั้งการส่งออก การผลิตไปจนถึงตัวชี้วัดความต้องการภายในประเทศ ล้วนแต่ปรับลดลง ส่งผลให้มีการทบทวนคาดการณ์จีดีพีปี 2556 ของไทยใหม่ โดยปรับลดลงจาก 4% เหลือขยายตัวเพียง 2.7% ต่ำกว่าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มองไว้ที่ระดับ 4.2% และต่ำกว่าที่สถาบันต่างๆ ส่วนใหญ่คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 4.3%

นอกจากนี้ เครดิต สวิส ยังปรับลดคาดการณ์การส่งออกของไทยปีนี้ใหม่จาก 4.5% เหลือขยายตัวเพียง 3% และคาดการณ์เงินเฟ้อเฉลี่ยเหลือ 2.3% จากเดิมมองที่ระดับ 2.6% โดยมองว่าปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้การเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยอ่อนแอต่อเนื่องไปจนถึงปี 2557 ทำให้เครดิต สวิส ได้ปรับลดคาดการณ์จีดีพีปีหน้าของไทยใหม่ จากเดิมที่ให้ไว้ขยายตัว 5% ลดเหลือเพียง 4.5%

Re: นายแบงก์ ยอมรับ ยาก ศก.ไทยโต 4.1% ปีนี้

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 03, 2013 12:42 pm
โดย วรันศ์ บัฟเฟต
micky1115 เขียน:สองสูงครับ หนี้สาธารณะสูง+หนี้ครัวเรือนสูง มันต้องเลือกสักทาง เศรษฐกิจถึงจะไปได้

เครื่องยนต์4ตัว C I G X-M Gกับ Cต้องไม่สูงไปพร้อมๆกัน เวลามีปัญหาจะได้แก้ง่าย
ครับ แต่ละอย่างเวลาว่าดี ก็ดีๆๆๆๆๆๆๆเชียร์ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ถ้ามีความพอดีตั้งแต่แรกก็คงไม่ปรับความคาดหวังลงแรงแบบนี้ ทางคลังบ้านเราก็ไม่ค่อยช่วยเท่าไหร่ครับชอบพูดทุกอย่างดีเกินไป ตั้งแต่ไว้้้้้้้้้้้ลาย :x

Re: นายแบงก์ ยอมรับ ยาก ศก.ไทยโต 4.1% ปีนี้

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 03, 2013 10:31 pm
โดย theenuch
ติดตามอ่านค่ะ ขอบคุณค่ะ

Re: นายแบงก์ ยอมรับ ยาก ศก.ไทยโต 4.1% ปีนี้

โพสต์แล้ว: พุธ ก.ย. 04, 2013 9:32 am
โดย syj
"มอร์แกน สแตนเลย์" ปรับลดจีดีพีไทยปีนี้เหลือ 3.7% จากเดิมที่ 4.7% เตือนไทยเสี่ยงดอกเบี้ยขาขึ้น

มอร์แกน สแตนเลย์ บริษัทบริการการเงินระดับโลก ลดประมาณการณ์เศรษฐกิจไทย และอาเชียน 4ประเทศลง โดยได้ปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยใหม่ให้ขยายตัวลดลง เหลือ 3.7%ในปีนี้ จากเดิมที่ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวที่ระดับ 4.7% ก่อนหน้านี้เครดิต สวิส ธนาคารชั้นนำของยุโรปได้ปรับลดจีดีพีไทยลงเหลือ 2.7%

มอร์แกน สแตนเลย์ยังได้ปรับลดอัตราการเติบโตเฉลี่ยของ 4 ประเทศอาเซียน อินโดนีเซีย ไทย มาเลเซียและสิงคโปร์ ลดมาที่ระดับ 4.5 % จากการประมาณการครั้งก่อนที่ระดับ 4.8% โดยอ้างถึงการขยายตัวของเศรษฐกิจในครึ่งแรกของปีที่ต่ำกว่าการคาดการณ์ รวมทั้งแนวโน้มข้างหน้าที่ไม่สดใส

นอกจากปัจจัยภายในของแต่ละประเทศแล้ว อาเชียนจะได้รับผลกระทบจากการที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เตรียมลดขนาดการอัดฉีดเงิน หรือคิวอีเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจลง การชะลอตัวต่อเนื่องของเศรษฐกิจจีนจะมีผลทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ลดลง แต่ภาคการส่งออกของอาเซียนก็อาจจะได้รับแรงส่ง จากการฟื้นตัวของประเทศที่พัฒนาแล้ว

ในกรณีของไทย มีความเสี่ยงที่จะเผญิชกับการปรับตัวขึ้นของดอกเบี้ยที่แท้จริง เช่นเดียวกับที่อินโดนีเซียกำลังประสบอยู่ในขณะนี้ ฐานะดุลบัญชีเดินสะพัดที่อ่อนแอจะทำให้ประเทศไทยมีความเสี่ยงสภาพคล่องตึงตัว หากเฟดปรับลดมาตรการคิวอี นอกจากนี้ผลกระทบดังกล่าวจะทำให้ไทยไม่สามารถทำงบประมาณขาดดุลระดับสูงเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ อย่างที่เคยทำมาในอดีตได้

ทั้งนี้ มอร์แกน สแตนเลย์ยังได้ปรับลดประมาณการการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก ลงเหลือ 2.9% จากเดิมที่จะประเมินว่า จะขยายตัว 3.1% ในปีนี้

http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... ือ3.7.html