หุ้นกลุ่ม กระจายสินค้า/ Trading Business
โพสต์แล้ว: พุธ ก.ย. 25, 2013 4:45 pm
หลังจากที่ได้อ่านบทความ หุ้นกลุ่มโรงงานของ ดร.นิเวศน์แล้วตามกระทู้นี้
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=7&t=56436
เลยขอต่อยอดด้วยกระทู้นี้นะครับ เป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่อยู่ใน supply chain ผมเห็นว่ามีความน่าสนใจหลายอย่าง เลยหยิบยกประเด็นมาวิเคราะห์กับพี่ๆน้องๆนะครับ
ขอยกภาพ supply chain ง่ายๆมาภาพนี้นะครับ จะเห็นว่าห่วงโซ่ที่ถัดมาจาก กลุ่มผู้ผลิต คือ กลุ่มที่ทำหน้าที่เป็นผู้กระจายสินค้า ส่งสินค้าไปให้กับผู้ค้าส่งและผุ้ค้าปลีก
ในสมัยก่อนถามว่าทำไม ผู้ค้าส่งหรือผู้ค้าปลีก จึงไม่สั่งโดยตรงกับผู้ผลิต ทำไมถึงต้องมี distributor เข้ามาอยู่ในห่วงโซ่ด้วย ผมว่าภาพนี้น่าจะตอบคำถามนี้ได้ ภาพด้านซ้าย จะเห็นว่า ถ้าไม่มีผู้ที่ทำหน้าที่กระจายสินค้าแล้ว ผู้ค้าส่งหากต้องการขายสินค้า 10 ตัวให้กับลูกค้า ก็จะต้องไปติดต่อกับผู้ผลิตถึง 10 ราย ดังนั้นบทบาทของ Distributor ก็คือหน้าที่ของ Sourcing สินค้ามาขาย อำนวยความสะดวกให้กับผู้ค้าส่ง/ผู้ค้าปลีก นี่คือภาพที่เกิดขึ้นในสมัยก่อนที่ผ่านมา แต่ผมคิดว่าปัจจุบันภาพนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมแล้ว
จุดกำเนิดของ Distributors รายสำคัญในเมืองไทย
มานั่งนับไล่ดู บริษัทฯที่ทำหน้าที่กระจายสินค้ารายใหญ่ๆ ในเมืองไทย ส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุปโภคบริโภคมี
1. DKSH หรือ ดีทแฮล์ม เดิม (ยิลเลตต์ ออรัลบี เนสท์เล่ เอเวนท์ etc)
2. สหพัฒน์ (มาม่า เปา โคโดโม น้ำยาซักผ้าไฮคลาส etc)
3. เบอร์ลี่ยุคเกอร์ (สบู่นกแก้ว กระดาษทิชชู่เซลล็อค ขนมเทสโต้ ปาร์ตี้ etc)
4. PM (premier marketing) (ทาโร่ โคโคริ แจ็กซ์ คาลบี้ โอเล่ beautylabo etc)
5. Mass Marketing (สบู่สิวฝ้า ดร.มนตรี กย.15 คูก้า น้ำยาซักผ้าโฮม etc)
6. Moong Marketing (พีเจ้นท์ foggy revivalcare 4care etc)
7. Durbell (กระทิงแดง ลูกทุ่ง เพียวริคุ เจเล่ etc)
ทั้งหมดนี้ยกเว้น DKSH กับ Mass Marketing นอกนั้นมีจุดกำเนิดคล้ายๆกัน คือเริ่มมาจากการทำหน้าที่กระจายสินค้าของตนเองก่อน แล้วค่อยขยายธุรกิจมาเป็นรับกระจายสินค้าให้กับบริษัทฯอื่นด้วย
ลองวิเคราะห์ จุดเปลี่ยนและโอกาสเติบโต ของธุรกิจ ในกลุ่มนี้นะครับ
ผมคิดว่า จุดเปลี่ยนหลักๆ ของธุรกิจในกลุ่มนี้มาจาก
1. ความแข็งแกร่งของ Retailer โดยเฉพาะพวก Modern trade ที่มีพลังมากล้น สร้างเครือข่าย logistic ของตนเองขึ้นมา ทำให้ความสำคัญของ distributor ในเรื่องการกระจายสินค้าลดลงไปเยอะ บรรดาผู้ผลิต ที่เคยแบ่งส่วนแบ่งกำไรให้กับ distributor ก็ไม่อยากแบ่งแล้ว แค่ไปส่งของที่ DC ของ Modern Trade และแบ่ง % ให้กับ Modern Trade แค่นี้ก็ได้แล้ว ทำให้ Distributor ขาดลูกค้า
2. ความก้าวหน้าของ Technology ที่ทำให้ การ sourcing หาสินค้ามาขายเป็นเรื่องง่ายขึ้นกว่าสมัยก่อนมาก
เมื่อความสามารถของกลุ่มนี้ลดลง ก็ต้องหาจุดอื่นมาชดเชย ดังนั้น ผมคิดว่าเราจะได้เห็นบริษัทฯนี้ ปรับตัวโดย
1. มีบริการเสริมนอกจากด้าน logistic และ sourcing ที่ลดลง ก็หันมาเน้นการให้บริการด้าน Marketing ให้กับลูกค้าด้วย ( DKSH จะถือว่าเด่นที่สุด )
2. เน้นหาสินค้าเข้ามาใน port ให้มากที่สุด เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งโดยเฉพาะกับ การต่อรอง gross profit margin กับ บรรดา modern trade
3. เน้น กลยุทธ์ M&A ซื้อธุรกิจอื่นที่จะเข้ามาเสิรมได้ เช่น ซื้อธุรกิจบรรดาผุ้ผลิตหรือเจ้าของแบรนด์เดิมๆ ที่น่าสนใจ คือ DKSH ที่เริ่มกระจายสินค้าแล้ว มาทีหลังค่อยมาโตจากการซื้อธุรกิจผู้ผลิต (Vertical integration) และ Mass Marketing ผมก็ได้ข่าวว่า ช่วงนี้ ทาง แมส ก็ได้มีการซื้อธุรกิจอื่นๆเยอะเหมือนกันครับ (ฟังเค้ามา ไม่ยืนยันครับ)
4. มุ่งสู่ AEC ดังจะเห็นปรากฏในข่าวบ่อยๆ ประเทศที่พัฒนาช้ากว่าเรา Distributor ยังมีความสำคัญมาก เพราะปัจจัยเรื่องความแข็งแรงของ retailer ยังไม่มากและ technology ที่เสริมเรื่อง sourcing ยังไม่ดี
โดยสรุปส่วนตัวแล้ว ผมคิดว่าบริษัทฯ ในกลุ่มนี้ โดยรวมแล้วก็อยู่ในสถานะไม่ต่างจาก บรรดาผู้ผลิตเท่าไหร่ โดยเฉพาะผู้ที่ไม่มีสินค้าที่เป็นติดตลาดและเป็นของตนเอง คงต้องพยายามปรับตัวตามข้างบนครับ ส่วนเรื่อง AEC นี่ก็น่าติดตามครับว่า กลุ่มนี้จะได้ประโยชน์มากน้อยแค่ไหนครับ
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=7&t=56436
เลยขอต่อยอดด้วยกระทู้นี้นะครับ เป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่อยู่ใน supply chain ผมเห็นว่ามีความน่าสนใจหลายอย่าง เลยหยิบยกประเด็นมาวิเคราะห์กับพี่ๆน้องๆนะครับ
ขอยกภาพ supply chain ง่ายๆมาภาพนี้นะครับ จะเห็นว่าห่วงโซ่ที่ถัดมาจาก กลุ่มผู้ผลิต คือ กลุ่มที่ทำหน้าที่เป็นผู้กระจายสินค้า ส่งสินค้าไปให้กับผู้ค้าส่งและผุ้ค้าปลีก
ในสมัยก่อนถามว่าทำไม ผู้ค้าส่งหรือผู้ค้าปลีก จึงไม่สั่งโดยตรงกับผู้ผลิต ทำไมถึงต้องมี distributor เข้ามาอยู่ในห่วงโซ่ด้วย ผมว่าภาพนี้น่าจะตอบคำถามนี้ได้ ภาพด้านซ้าย จะเห็นว่า ถ้าไม่มีผู้ที่ทำหน้าที่กระจายสินค้าแล้ว ผู้ค้าส่งหากต้องการขายสินค้า 10 ตัวให้กับลูกค้า ก็จะต้องไปติดต่อกับผู้ผลิตถึง 10 ราย ดังนั้นบทบาทของ Distributor ก็คือหน้าที่ของ Sourcing สินค้ามาขาย อำนวยความสะดวกให้กับผู้ค้าส่ง/ผู้ค้าปลีก นี่คือภาพที่เกิดขึ้นในสมัยก่อนที่ผ่านมา แต่ผมคิดว่าปัจจุบันภาพนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมแล้ว
จุดกำเนิดของ Distributors รายสำคัญในเมืองไทย
มานั่งนับไล่ดู บริษัทฯที่ทำหน้าที่กระจายสินค้ารายใหญ่ๆ ในเมืองไทย ส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุปโภคบริโภคมี
1. DKSH หรือ ดีทแฮล์ม เดิม (ยิลเลตต์ ออรัลบี เนสท์เล่ เอเวนท์ etc)
2. สหพัฒน์ (มาม่า เปา โคโดโม น้ำยาซักผ้าไฮคลาส etc)
3. เบอร์ลี่ยุคเกอร์ (สบู่นกแก้ว กระดาษทิชชู่เซลล็อค ขนมเทสโต้ ปาร์ตี้ etc)
4. PM (premier marketing) (ทาโร่ โคโคริ แจ็กซ์ คาลบี้ โอเล่ beautylabo etc)
5. Mass Marketing (สบู่สิวฝ้า ดร.มนตรี กย.15 คูก้า น้ำยาซักผ้าโฮม etc)
6. Moong Marketing (พีเจ้นท์ foggy revivalcare 4care etc)
7. Durbell (กระทิงแดง ลูกทุ่ง เพียวริคุ เจเล่ etc)
ทั้งหมดนี้ยกเว้น DKSH กับ Mass Marketing นอกนั้นมีจุดกำเนิดคล้ายๆกัน คือเริ่มมาจากการทำหน้าที่กระจายสินค้าของตนเองก่อน แล้วค่อยขยายธุรกิจมาเป็นรับกระจายสินค้าให้กับบริษัทฯอื่นด้วย
ลองวิเคราะห์ จุดเปลี่ยนและโอกาสเติบโต ของธุรกิจ ในกลุ่มนี้นะครับ
ผมคิดว่า จุดเปลี่ยนหลักๆ ของธุรกิจในกลุ่มนี้มาจาก
1. ความแข็งแกร่งของ Retailer โดยเฉพาะพวก Modern trade ที่มีพลังมากล้น สร้างเครือข่าย logistic ของตนเองขึ้นมา ทำให้ความสำคัญของ distributor ในเรื่องการกระจายสินค้าลดลงไปเยอะ บรรดาผู้ผลิต ที่เคยแบ่งส่วนแบ่งกำไรให้กับ distributor ก็ไม่อยากแบ่งแล้ว แค่ไปส่งของที่ DC ของ Modern Trade และแบ่ง % ให้กับ Modern Trade แค่นี้ก็ได้แล้ว ทำให้ Distributor ขาดลูกค้า
2. ความก้าวหน้าของ Technology ที่ทำให้ การ sourcing หาสินค้ามาขายเป็นเรื่องง่ายขึ้นกว่าสมัยก่อนมาก
เมื่อความสามารถของกลุ่มนี้ลดลง ก็ต้องหาจุดอื่นมาชดเชย ดังนั้น ผมคิดว่าเราจะได้เห็นบริษัทฯนี้ ปรับตัวโดย
1. มีบริการเสริมนอกจากด้าน logistic และ sourcing ที่ลดลง ก็หันมาเน้นการให้บริการด้าน Marketing ให้กับลูกค้าด้วย ( DKSH จะถือว่าเด่นที่สุด )
2. เน้นหาสินค้าเข้ามาใน port ให้มากที่สุด เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งโดยเฉพาะกับ การต่อรอง gross profit margin กับ บรรดา modern trade
3. เน้น กลยุทธ์ M&A ซื้อธุรกิจอื่นที่จะเข้ามาเสิรมได้ เช่น ซื้อธุรกิจบรรดาผุ้ผลิตหรือเจ้าของแบรนด์เดิมๆ ที่น่าสนใจ คือ DKSH ที่เริ่มกระจายสินค้าแล้ว มาทีหลังค่อยมาโตจากการซื้อธุรกิจผู้ผลิต (Vertical integration) และ Mass Marketing ผมก็ได้ข่าวว่า ช่วงนี้ ทาง แมส ก็ได้มีการซื้อธุรกิจอื่นๆเยอะเหมือนกันครับ (ฟังเค้ามา ไม่ยืนยันครับ)
4. มุ่งสู่ AEC ดังจะเห็นปรากฏในข่าวบ่อยๆ ประเทศที่พัฒนาช้ากว่าเรา Distributor ยังมีความสำคัญมาก เพราะปัจจัยเรื่องความแข็งแรงของ retailer ยังไม่มากและ technology ที่เสริมเรื่อง sourcing ยังไม่ดี
โดยสรุปส่วนตัวแล้ว ผมคิดว่าบริษัทฯ ในกลุ่มนี้ โดยรวมแล้วก็อยู่ในสถานะไม่ต่างจาก บรรดาผู้ผลิตเท่าไหร่ โดยเฉพาะผู้ที่ไม่มีสินค้าที่เป็นติดตลาดและเป็นของตนเอง คงต้องพยายามปรับตัวตามข้างบนครับ ส่วนเรื่อง AEC นี่ก็น่าติดตามครับว่า กลุ่มนี้จะได้ประโยชน์มากน้อยแค่ไหนครับ