ก้าวเล็กๆบนเส้นทาง VI (บันทึกกันลืม)
โพสต์แล้ว: ศุกร์ พ.ย. 15, 2013 9:03 am
คงต้องขอออกตัวก่อนว่าผมไม่ได้เก่งกล้าสามารถอะไร หรือมีประสบการณ์มากมายอะไรนะครับ เพราะอายุ จริงก็พึ่ง 24 ปี และอายุการลงทุนก็แค่ 2 ปี แต่ได้รับโอกาสไปอัดรายการ Money Talk ของท่านอาจารย์ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา ในฐานะตัวแทนอบรมไทยวีไอรุ่นที่ 4 ด้วยความที่พึ่งเคยอัดรายการครั้งแรกในชีวิต แถมยังเป็นรายการโปรดอีกต่างหาก ก็เลยตื่นทั้งกล้องและพิธีกร ทำให้พูดจาไม่ค่อยรู้เรื่องไปซักงั้น หลังจากกลับมานั่งๆนอนๆคิดอยู่คืนหนึ่ง ก็สรุปว่าจะของแชร์เรื่องราวผ่านตัวหนังสือจะดีกว่า
จุดเริ่มต้นของเรื่องราวการก้าวเข้ามาบนเส้นทางที่เรียกว่า VI (Value Investor): กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว (จริงๆก็ไม่ได้นานมากประมาณ 2 ปีครึ่ง) ตลอดเวลา 22 ปีที่ผ่านมาผมไม่เคยสนใจเกี่ยวกับการลงทุนเลย แต่ในชีวิตคนเราก็มีจุดเปลี่ยนอยู่มากมาย ซึ่งของผมก็เป็นการที่เพื่อนคนหนึ่งได้หยิบเอาหนังสือเล่มหนึ่งให้ผมอ่าน หนังสือที่เป็นจุดเริ่มต้นของเรื่องราวทั้งหมด "Rich Dad Poor Dad" คือชื่อของหนังสือเล่มนั้น Passive Income และ Financial Freedom คือแนวคิดที่การจุดประกายให้ผมเริ่มสนใจเกี่ยวกับการลงทุน ซึ่งมันทำให้ผมนึกถึงเรื่องราวตอนที่อยู่ ม. 6 เคยมีรุ่นน้องที่โรงเรียนถามผมว่า ระหว่าง "ทำในสิ่งที่รัก กับรักในสิ่งที่ทำจะเลือกอย่างไหน?" ผมก็ตอบไปว่า "ก็ต้องทำในสิ่งที่เรารักสิ เพราะมีไม่กี่คนหรอกที่จะสามารถรักในงานที่เค้าทำอยู่ได้ ถ้าไม่ได้เริ่มจากการทำงานที่เขารัก" แล้วรุ่นน้องคนนั้นก็ถามต่อว่า "แต่ถ้าเราเลือกทำในสิ่งที่เรารักแต่มันเป็นงานที่ไม่ค่อยจะทำเงินละจะทำยังไง?" ซึ่งคำถามนี้ผมจำได้ว่าผมไม่สามารถตอบรุ่นน้องคนนั้นได้ แค่หลังจากได้ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับ Passive Income และ Financial Freedom ผมก็บอกกับตัวเองว่านี่ละคำตอบของคำถามนั้น สำหรับผม Financial Freedom ไม่ใช่การที่เรามีเงินมากพอจนเราสามารถอยู่ได้โดยไม่ต้องทำงาน แต่เป็นการที่เรามีเงินมากพอจนเราไม่ต้องคิดมากเรื่องเงิน คือเราสามารถทำงานที่เรารัก ทำงานกับคนที่เราอยากที่จะทำงานด้วย โดยไม่ต้องแคร์เรื่องเงินเดือน หลังจากนั้นผมก็มาศึกษาหาดูว่าเราสามารถสามารถสร้าง Passive Income จากที่ใดได้บ้าง ซึ่งในตอนนั้นผมก็ได้อ่านหนังสืออีกเล่มที่พาผมเข้าสู่เส้นทางการลงทุน หนังสือเล่มนั้นก็คือ “The Classic Guild Learn to Earn” หลังจากอ่านหนังสือศึกษาเกี่ยวกับการลงทุนอยู่ซักพัก(ประมาณครึ่งปี) ก็ได้มีโอกาสได้เริ่มลงทุนลงจริงๆในตลาดหุ้น ผ่านโครงการ KS Young Turk Investor 3.3 ของธนาคารกสิกรไทย ซึ่งเป็นการเรียนผ่าน Facebook หลังจากที่กระโดดเข้ามาในตลาดหุ้น ช่วงแรกๆผมก็ลงทุนแบบมั่วไปซักประมาณ 1 อาทิตย์ ซึ่งใน 1 อาทิตย์นั้นไม่เป็นอันเรียนเลย เพราะว่าค่อยแต่นั่ง check ดูราคาหุ้นตลอด ก็เลยมานั่งคุยกับตัวเองว่ามันไม่สนุกแล้วนะถ้ายังเล่นหุ้นแบบนี้ ก็เลยไปหยิบเอาหนังสือเกี่ยวกับการลงทุนเก่าๆมานั่งอ่านซ้ำ แล้วก็เลยลองลงทุนแบบเน้นคุณค่าดู ปรากฏว่า หลังจากลงทุนแนวเน้นคุณค่าไปได้ซักพักก็รู้ว่า “นี่ละการลงทุนที่เราตามหา” เพราะผมสนุกกับกระบวนการของการลงทุนแบบเน้นคุณค่า ผมสนุกกับการวิเคราะห์บริษัท การอ่านงบการเงิน และการติดตามเรื่องราวของบริษัท นับจากวันนั้นผมก็ยึดแนวการลงทุนแนวนี้มาตลอด พยายามศึกษาหาความรู้มาโดยตลอด จนได้มีโอกาสเข้าร่วมอบรมหลักสูตรการลงทุนเน้นคุณค่าของสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า(ประเทศไทย) ซึ่งผมคงไม่ต้องบรรยายว่าหลักสูตรนี่ดียังไง เพราะตอนเปิดจองภายใน 1 วินาที ก็เต็มแล้ว
หลักสูตรนี่ให้อะไรกับผมบ้าง: สำหรับผมสิ่งที่ได้จากหลักสูตรนี่หลักๆก็คงเป็น หลักการ และทัศนคติของการลงทุนเน้นคุณค่า หลักสูตรนี่ได้สร้างแก่นหรือแกนการลงทุนให้กับผม มันก็เหมือนกับ นักเดินทางได้เข็มทิศ แต่เข็มทิศนี่ไม่ได้ชี้ไปที่ทิศเหนือ แต่มันชี้ไปที่สิ่งที่เราปรารถนา (เหมือนกับเข็มทิศของกัปตันแจ็ค ในเรื่อง Pirates of the Caribbean) จริงๆ สำหรับวิธีการในการลงทุนเราก็สามารถศึกษาได้จากหนังสือต่างๆหรือหลักสูตรสัมนาอื่น แต่ในหลักสูตรนี่จะพิเศษกว่าหลักสูตรอื่นตรงที่ มีการหยิบยกเอาตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริงมาเป็น case study ท่านอาจารย์ต่างๆก็สอนจากปรสบการณ์ ซึ่งไม่สามารถหาเรียนได้จากที่ไหน ท้ายที่สุดก็เป็นการให้ ผู้เข้าอบรมได้ทำ course work ได้ใช้ความรู้ที่ได้อบรมมาใช้ในการวิเคราะห์หุ้นจริงๆ แล้วก็ออกมา present ให้บรรดาอาจารย์และผู้ร่วมอบรมฟัง สำหรับผมแล้วผมคิดว่าส่วนนี้มีประโยชน์กับผมมากที่สุด เพราะเราจะได้รู้ตัวว่าการวิเคราะห์ของเรายังขาดอะไรไปบ้าง ยังมีอะไรที่ต้องดูเพิ่มเติมบ้าง ได้เรียนรู้ว่าบรรดาคนเก่งๆ เซียนๆ เค้าคิด เค้าทำยังไง ในการวิเคราะห์หุ้นตัวหนึ่ง
ตัวอย่างของทัศนคติที่เปลี่ยนไปหลังหลักสูตรนี้: ผมได้ปรับเปลี่ยนทัศนคติเกี่ยวกับการประเมินมูลค่าหุ้น แต่ก่อนเวลาจะประเมินมูลค่าของหุ้นตัวหนึ่งๆ ผมมักจะพยายามหาวิธีที่สามารถประเมินมูลค่าที่แท้จริงได้ใกล้เคียงมากที่สุด พยายามหาวิธี หรือหา model ที่ดีที่สุดที่สามารถใช้ในการประเมินหุ้นได้ทุกตัว แต่จริงๆแล้ววิธีการประเมินมูลค่า มันเป็นเพียงแค่เครื่องมือ มันไม่มี model ที่ดีที่สุดที่สามารถใช้ได้กับหุ้นทุกตัว model หนึ่งๆอาจจะเหมาะสมสำหรับหุ้นประเภทหนึ่ง แต่อาจจะไม่เหมาะสมกับหุ้นอีกประเภทหนึ่ง การประเมินมูลค่าที่แท้จริง จริงๆแล้วเป็นการสร้างมูลค่าที่น่าจะเป็นภายในใจเรา เป็นการสร้างความเชื่อมั่นในใจเราว่า มูลค่าของบริษัทน่าจะมีค่าประมาณนี้ โดยวิธีการต่างๆ แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่มีใครสามารถหามูลค่าที่แท้จริงของบริษัทออกมาได้ เพราะว่า บริษัทนั้นเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา (แต่เปลี่ยนแปลงน้อยกว่าราคาหุ้นเยอะ) นั้นถ้าให้นักลงทุนสองคนใช้ model ในการประเมินมูลค่าเดียวกัน ก็จะได้มูลค่าที่แท้จริงของบริษัทที่แตกต่างกันออกมา มูลค่าที่แท้จริงของบริษัทนั้นไม่ใช้จุด แต่เป็นช่วงของมูลค่า ดังนั้นเราจึงต้องมีอีกแนวคิดหนึ่งมาช่วย นั้นก็คือ Margin of Safety หรือ ส่วนเผื่อความปลอดภัย เพื่อลดความเสี่ยงจากการที่มูลค่าของบริษัทนั้นมีค่าเป็นช่วง เป็นส่วนเผื่อสำหรับความไม่แน่นอนและความผิดพลาดในการประเมินมูลค่าบริษัทของเรา ทัศนคติเกี่ยวกับการประเมินมูลค่าและ Margin of Safety เป็นแนวคิดที่สำคัญมาก แต่นักลงทุนมือใหม่ (รวมถึงผมด้วย) มักจะละเลยไม่ใส่ใจ เลยทำให้ไม่สามารถอยู่นิ่งๆในตลาดหุ้นได้ เพราะถ้าเราสามารถสร้างมูลค่าที่แท้ของบริษัทในใจเราได้ และเราเชื่อมั่นในมูลค่านั้น ราคาหุ้นจะไม่มีความหมายสำหรับเราเลย ราคาจะกลายเป็นเพียงตัวอ้างอิง เป็น Reference เพื่อจะบอกถึงผลตอบแทนและความเสี่ยงเมื่อเราซื้อหุ้นนั้น
นี่เป็นข้อคิดส่วนตัวของผมหลังจากที่ลงทุนมาได้ประมาณ 2 ปี ที่อยากจะฝากถึง พี่ๆเพื่อนๆ นักลงทุน
“อย่าลงทุนในหุ้น เพียงหวังที่จะรวย เพราะคุณจะจนลง จงลงทุนของหุ้น เพราะคุณรักและสนุกกับการลงทุน การลงทุนในหุ้นนั้น ไม่ใช่แค่ ซื้อ ถือ แล้วก็ขาย มันมีอะไรที่มากกว่านั้น(ซึ่งก็ขึ้นอยูเกับแต่ละคน)”
สุดท้ายนี้ผมก็ขอขอบคุณ สมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า (ประเทศไทย) ที่จัดหลักสูตรที่ดีๆนี้
ขอบคุณท่านอาจารย์ไพบูลย์ ที่มอบโอกาสที่แสนพิเศษในการไปอัดรายการ Money Talk และท่านอาจารย์นิเวศน์ ผู้ที่วางรากฐานการลงทุนเน้นคุณค่าในประเทศไทย และทำให้ผมค้นพบกิจกรรมที่แสนสนุก และยังสามารถทำเงินได้อีกด้วย
ปล. จริงๆแล้วผมยังมีอะไรที่จะเล่าที่จะแชร์อีกเยอะไว้วันหลังจะมาเล่าให้ฟังนะครับ
N.Pittayaporn
จุดเริ่มต้นของเรื่องราวการก้าวเข้ามาบนเส้นทางที่เรียกว่า VI (Value Investor): กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว (จริงๆก็ไม่ได้นานมากประมาณ 2 ปีครึ่ง) ตลอดเวลา 22 ปีที่ผ่านมาผมไม่เคยสนใจเกี่ยวกับการลงทุนเลย แต่ในชีวิตคนเราก็มีจุดเปลี่ยนอยู่มากมาย ซึ่งของผมก็เป็นการที่เพื่อนคนหนึ่งได้หยิบเอาหนังสือเล่มหนึ่งให้ผมอ่าน หนังสือที่เป็นจุดเริ่มต้นของเรื่องราวทั้งหมด "Rich Dad Poor Dad" คือชื่อของหนังสือเล่มนั้น Passive Income และ Financial Freedom คือแนวคิดที่การจุดประกายให้ผมเริ่มสนใจเกี่ยวกับการลงทุน ซึ่งมันทำให้ผมนึกถึงเรื่องราวตอนที่อยู่ ม. 6 เคยมีรุ่นน้องที่โรงเรียนถามผมว่า ระหว่าง "ทำในสิ่งที่รัก กับรักในสิ่งที่ทำจะเลือกอย่างไหน?" ผมก็ตอบไปว่า "ก็ต้องทำในสิ่งที่เรารักสิ เพราะมีไม่กี่คนหรอกที่จะสามารถรักในงานที่เค้าทำอยู่ได้ ถ้าไม่ได้เริ่มจากการทำงานที่เขารัก" แล้วรุ่นน้องคนนั้นก็ถามต่อว่า "แต่ถ้าเราเลือกทำในสิ่งที่เรารักแต่มันเป็นงานที่ไม่ค่อยจะทำเงินละจะทำยังไง?" ซึ่งคำถามนี้ผมจำได้ว่าผมไม่สามารถตอบรุ่นน้องคนนั้นได้ แค่หลังจากได้ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับ Passive Income และ Financial Freedom ผมก็บอกกับตัวเองว่านี่ละคำตอบของคำถามนั้น สำหรับผม Financial Freedom ไม่ใช่การที่เรามีเงินมากพอจนเราสามารถอยู่ได้โดยไม่ต้องทำงาน แต่เป็นการที่เรามีเงินมากพอจนเราไม่ต้องคิดมากเรื่องเงิน คือเราสามารถทำงานที่เรารัก ทำงานกับคนที่เราอยากที่จะทำงานด้วย โดยไม่ต้องแคร์เรื่องเงินเดือน หลังจากนั้นผมก็มาศึกษาหาดูว่าเราสามารถสามารถสร้าง Passive Income จากที่ใดได้บ้าง ซึ่งในตอนนั้นผมก็ได้อ่านหนังสืออีกเล่มที่พาผมเข้าสู่เส้นทางการลงทุน หนังสือเล่มนั้นก็คือ “The Classic Guild Learn to Earn” หลังจากอ่านหนังสือศึกษาเกี่ยวกับการลงทุนอยู่ซักพัก(ประมาณครึ่งปี) ก็ได้มีโอกาสได้เริ่มลงทุนลงจริงๆในตลาดหุ้น ผ่านโครงการ KS Young Turk Investor 3.3 ของธนาคารกสิกรไทย ซึ่งเป็นการเรียนผ่าน Facebook หลังจากที่กระโดดเข้ามาในตลาดหุ้น ช่วงแรกๆผมก็ลงทุนแบบมั่วไปซักประมาณ 1 อาทิตย์ ซึ่งใน 1 อาทิตย์นั้นไม่เป็นอันเรียนเลย เพราะว่าค่อยแต่นั่ง check ดูราคาหุ้นตลอด ก็เลยมานั่งคุยกับตัวเองว่ามันไม่สนุกแล้วนะถ้ายังเล่นหุ้นแบบนี้ ก็เลยไปหยิบเอาหนังสือเกี่ยวกับการลงทุนเก่าๆมานั่งอ่านซ้ำ แล้วก็เลยลองลงทุนแบบเน้นคุณค่าดู ปรากฏว่า หลังจากลงทุนแนวเน้นคุณค่าไปได้ซักพักก็รู้ว่า “นี่ละการลงทุนที่เราตามหา” เพราะผมสนุกกับกระบวนการของการลงทุนแบบเน้นคุณค่า ผมสนุกกับการวิเคราะห์บริษัท การอ่านงบการเงิน และการติดตามเรื่องราวของบริษัท นับจากวันนั้นผมก็ยึดแนวการลงทุนแนวนี้มาตลอด พยายามศึกษาหาความรู้มาโดยตลอด จนได้มีโอกาสเข้าร่วมอบรมหลักสูตรการลงทุนเน้นคุณค่าของสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า(ประเทศไทย) ซึ่งผมคงไม่ต้องบรรยายว่าหลักสูตรนี่ดียังไง เพราะตอนเปิดจองภายใน 1 วินาที ก็เต็มแล้ว
หลักสูตรนี่ให้อะไรกับผมบ้าง: สำหรับผมสิ่งที่ได้จากหลักสูตรนี่หลักๆก็คงเป็น หลักการ และทัศนคติของการลงทุนเน้นคุณค่า หลักสูตรนี่ได้สร้างแก่นหรือแกนการลงทุนให้กับผม มันก็เหมือนกับ นักเดินทางได้เข็มทิศ แต่เข็มทิศนี่ไม่ได้ชี้ไปที่ทิศเหนือ แต่มันชี้ไปที่สิ่งที่เราปรารถนา (เหมือนกับเข็มทิศของกัปตันแจ็ค ในเรื่อง Pirates of the Caribbean) จริงๆ สำหรับวิธีการในการลงทุนเราก็สามารถศึกษาได้จากหนังสือต่างๆหรือหลักสูตรสัมนาอื่น แต่ในหลักสูตรนี่จะพิเศษกว่าหลักสูตรอื่นตรงที่ มีการหยิบยกเอาตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริงมาเป็น case study ท่านอาจารย์ต่างๆก็สอนจากปรสบการณ์ ซึ่งไม่สามารถหาเรียนได้จากที่ไหน ท้ายที่สุดก็เป็นการให้ ผู้เข้าอบรมได้ทำ course work ได้ใช้ความรู้ที่ได้อบรมมาใช้ในการวิเคราะห์หุ้นจริงๆ แล้วก็ออกมา present ให้บรรดาอาจารย์และผู้ร่วมอบรมฟัง สำหรับผมแล้วผมคิดว่าส่วนนี้มีประโยชน์กับผมมากที่สุด เพราะเราจะได้รู้ตัวว่าการวิเคราะห์ของเรายังขาดอะไรไปบ้าง ยังมีอะไรที่ต้องดูเพิ่มเติมบ้าง ได้เรียนรู้ว่าบรรดาคนเก่งๆ เซียนๆ เค้าคิด เค้าทำยังไง ในการวิเคราะห์หุ้นตัวหนึ่ง
ตัวอย่างของทัศนคติที่เปลี่ยนไปหลังหลักสูตรนี้: ผมได้ปรับเปลี่ยนทัศนคติเกี่ยวกับการประเมินมูลค่าหุ้น แต่ก่อนเวลาจะประเมินมูลค่าของหุ้นตัวหนึ่งๆ ผมมักจะพยายามหาวิธีที่สามารถประเมินมูลค่าที่แท้จริงได้ใกล้เคียงมากที่สุด พยายามหาวิธี หรือหา model ที่ดีที่สุดที่สามารถใช้ในการประเมินหุ้นได้ทุกตัว แต่จริงๆแล้ววิธีการประเมินมูลค่า มันเป็นเพียงแค่เครื่องมือ มันไม่มี model ที่ดีที่สุดที่สามารถใช้ได้กับหุ้นทุกตัว model หนึ่งๆอาจจะเหมาะสมสำหรับหุ้นประเภทหนึ่ง แต่อาจจะไม่เหมาะสมกับหุ้นอีกประเภทหนึ่ง การประเมินมูลค่าที่แท้จริง จริงๆแล้วเป็นการสร้างมูลค่าที่น่าจะเป็นภายในใจเรา เป็นการสร้างความเชื่อมั่นในใจเราว่า มูลค่าของบริษัทน่าจะมีค่าประมาณนี้ โดยวิธีการต่างๆ แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่มีใครสามารถหามูลค่าที่แท้จริงของบริษัทออกมาได้ เพราะว่า บริษัทนั้นเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา (แต่เปลี่ยนแปลงน้อยกว่าราคาหุ้นเยอะ) นั้นถ้าให้นักลงทุนสองคนใช้ model ในการประเมินมูลค่าเดียวกัน ก็จะได้มูลค่าที่แท้จริงของบริษัทที่แตกต่างกันออกมา มูลค่าที่แท้จริงของบริษัทนั้นไม่ใช้จุด แต่เป็นช่วงของมูลค่า ดังนั้นเราจึงต้องมีอีกแนวคิดหนึ่งมาช่วย นั้นก็คือ Margin of Safety หรือ ส่วนเผื่อความปลอดภัย เพื่อลดความเสี่ยงจากการที่มูลค่าของบริษัทนั้นมีค่าเป็นช่วง เป็นส่วนเผื่อสำหรับความไม่แน่นอนและความผิดพลาดในการประเมินมูลค่าบริษัทของเรา ทัศนคติเกี่ยวกับการประเมินมูลค่าและ Margin of Safety เป็นแนวคิดที่สำคัญมาก แต่นักลงทุนมือใหม่ (รวมถึงผมด้วย) มักจะละเลยไม่ใส่ใจ เลยทำให้ไม่สามารถอยู่นิ่งๆในตลาดหุ้นได้ เพราะถ้าเราสามารถสร้างมูลค่าที่แท้ของบริษัทในใจเราได้ และเราเชื่อมั่นในมูลค่านั้น ราคาหุ้นจะไม่มีความหมายสำหรับเราเลย ราคาจะกลายเป็นเพียงตัวอ้างอิง เป็น Reference เพื่อจะบอกถึงผลตอบแทนและความเสี่ยงเมื่อเราซื้อหุ้นนั้น
นี่เป็นข้อคิดส่วนตัวของผมหลังจากที่ลงทุนมาได้ประมาณ 2 ปี ที่อยากจะฝากถึง พี่ๆเพื่อนๆ นักลงทุน
“อย่าลงทุนในหุ้น เพียงหวังที่จะรวย เพราะคุณจะจนลง จงลงทุนของหุ้น เพราะคุณรักและสนุกกับการลงทุน การลงทุนในหุ้นนั้น ไม่ใช่แค่ ซื้อ ถือ แล้วก็ขาย มันมีอะไรที่มากกว่านั้น(ซึ่งก็ขึ้นอยูเกับแต่ละคน)”
สุดท้ายนี้ผมก็ขอขอบคุณ สมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า (ประเทศไทย) ที่จัดหลักสูตรที่ดีๆนี้
ขอบคุณท่านอาจารย์ไพบูลย์ ที่มอบโอกาสที่แสนพิเศษในการไปอัดรายการ Money Talk และท่านอาจารย์นิเวศน์ ผู้ที่วางรากฐานการลงทุนเน้นคุณค่าในประเทศไทย และทำให้ผมค้นพบกิจกรรมที่แสนสนุก และยังสามารถทำเงินได้อีกด้วย
ปล. จริงๆแล้วผมยังมีอะไรที่จะเล่าที่จะแชร์อีกเยอะไว้วันหลังจะมาเล่าให้ฟังนะครับ
N.Pittayaporn