เปิดพอร์ต: กวิน สุวรรณตระกูล ผู้ลงทุนสไตล์ถัวเฉลี่ย
โพสต์แล้ว: อังคาร ธ.ค. 10, 2013 9:23 am
คอลัมน์: เปิดพอร์ต: กวิน สุวรรณตระกูล ผู้ลงทุนสไตล์ถัวเฉลี่ย
Source - โพสต์ ทูเดย์ (Th)
Friday, December 06, 2013 03:04
บงกชรัตน์ สร้อยทอง
"กวิน สุวรรณตระกูล" หรือ "ต้าร์"พนักงานบริษัทและผู้ที่ศึกษาเรื่องการลงทุนเพิ่มความมั่งคั่งด้วยหลักการลงทุนแบบถัวเฉลี่ย (Dollar Average Cost)หรือ DCA และยังเป็นพิธีกรรายการ "มือใหม่ The Season 2" ของสถานีโทรทัศน์มันนี่ ชาแนล
ผู้ชายที่เริ่มต้นทำงานประจำและมีความคิดว่า วันหนึ่งอยากรวยแต่การทำงานประจำเพียงอย่างเดียวคงจะประสบความสำเร็จได้ยาก และการจะไปเป็นเจ้าของธุรกิจเองอาจจะเป็นหนทางหนึ่ง แต่แล้วจะหาเงินจากไหนไปลงทุน เพราะแต่ละเดือนก็มีรายจ่ายมาก การจะเก็บเงินเป็นจำนวนเงินก้อนจึงยาก
ดังนั้น จึงเริ่มเก็บเงินที่มีอยู่ให้งอกเงยเพราะการจะนำเงินไปฝากธนาคารเพียงอย่างเดียวก็ไม่น่าพอที่จะให้มีเงินหลัก 1 ล้านบาทในอายุน้อย ดังนั้น ต้องนำเงินไปลงทุนอย่างอื่นอย่างหุ้น พันธบัตร หรือกองทุนรวมถึงจะได้เงินตอบแทนที่เพิ่มขึ้น
"กวิน" จึงตัดสินใจเอาเงินออมที่เก็บไว้เดือนละ 6,000-8,000 บาท และเป็นก้อนประมาณ 2 แสนบาท กระโจนไปซื้อกับกองทุนรวมและลงทุนในหุ้นบางส่วน
โชคไม่เข้าข้าง "กวิน" เข้าไปในช่วงที่เกิดวิกฤตซับไพรม์ ทำให้ขาดทุนติดลบ 70% ทั้งหมดนั้นเกิดจากที่ไม่สามารถควบคุมตัวเอง เจ้าหน้าที่การตลาดแนะนำอะไรก็ปฏิบัติตามหมด เพราะเขาคำนึงเรื่องเป้าหมายของการลงทุน โดยคิดถึงผลตอบแทนเป็นตัวตั้ง
"ตอนนั้นเรียกได้ว่าฟังทุกอย่างที่บอกว่าตัวไหนดีน่าลงทุน หาหุ้นทุกตัวในเว็บพันทิป ซึ่งสามารถจำกัดความให้ตัวเองได้เลยว่าเป็นแมลงเม่าของแท้" กวินบอก
จากนั้นเขากลับมาตั้งหลัก โดยพยายามหาคำตอบและจัดระบบวิธีความคิดใหม่ ขณะเดียวกันก็ไม่ยอมขายหุ้นนั้นทิ้งไป เพราะคิดว่าจะกลับมาจัดการให้ดีขึ้น
ช่วงนั้นเริ่มได้ยินการลงทุนหุ้นแบบที่เน้นหุ้นคุณค่าหรือแบบวีไอ พร้อมกับเริ่มหาหนังสืออ่านไปเรื่อยๆเพื่อมาช่วยตอบโจทย์การลงทุนในแบบฉบับของตัวเองและเป็นการลงทุนระยะยาว
ในที่สุดได้บทสรุปแนวทางการลงทุนที่คิดว่าเหมาะกับตัวเอง คือต้องเริ่มจากการเลือกหุ้นให้ถูกเป็นอย่างแรก และหุ้นตัวนั้นต้องมีการจ่ายปันผลที่ดีและต่อเนื่องแต่วิธีการลงทุนจะเลือกใช้วิธีแบบ DCA ที่มีการหักบัญชีจากธนาคารเพื่อไปออมหุ้นแบบรายเดือน พร้อมกับเปลี่ยนเป้าหมายเป็นจะทำอย่างไรให้ตัวเองมีเงินเก็บ 1 ล้านบาท ได้โดยที่ยังใช้ชีวิตของการทำงานอยู่ แม้เงินที่ลงทุนไปครั้งหนึ่งจะได้จำนวนหุ้นแต่ละครั้งที่ไม่เยอะก็ตาม
"กวิน" บอกว่า ตอนนั้นหาข้อมูลมาได้ว่ามี 2 บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เท่านั้นที่มีการตัดบัญชีแบบรายเดือนโดยเริ่มคัดเลือกหุ้นที่ดี ที่คิดว่ามีการเติบโต และมีการจ่ายปันผลต่อเนื่องเช่น บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ(BGH) บริษัท ซีพี ออลล์ (CPALL) บริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ (HMPRO) และก็เริ่มนำเงินที่แบ่งไว้สำหรับออมทุกเดือน 6,000-8,000 บาท ตัดบัญชีกับธนาคาร จนทุกวันนี้ได้เพิ่มวงเงินสำหรับออมหุ้นที่ 2-3 หมื่นบาทต่อเดือน
"ได้ลงทุนแบบ DCA รู้สึกว่าตัวเองมีความสุขมากเพราะไม่ต้องไปสนใจกับภาวะหรือดัชนีหุ้นที่มีความผันผวน ซึ่งใครหลายๆ คน ก็สามารถทำได้และไม่ต้องไปกลัวการขาดทุน เพียงแต่จุดเริ่มต้นที่สำคัญอยู่ที่ต้องไปศึกษาตัวธุรกิจให้ดี วิเคราะห์มูลค่าหุ้นที่แท้จริงเพราะเขามีความเชื่อและมั่นใจว่าการที่เลือกหุ้นที่ดีแล้วถึงอย่างไรก็ไม่มีทางเจ๊งได้" กวิน เล่า
อย่างไรก็ดี ถึงวันนี้ก็มีวิธีการปรับเปลี่ยนวิธีการลงทุนบ้าง โดยหันมาเลือกหุ้นที่มีโอกาสเติบโตสูงแม้จะยังไม่ได้ปันผลก็ตาม เนื่องจากเชื่อว่าการได้ผลตอบแทนส่วนต่างของราคาหุ้นจะช่วยให้อัตราผลตอบแทนที่ดีและเพิ่มขึ้นในอนาคตได้ เพราะราคาหุ้นบางตัวก็ปรับเพิ่มขึ้นมา 100-200% ซึ่งคิดเป็น 70% ของพอร์ตการลงทุนในปัจจุบัน
นอกจากนั้น อีก 20% คือ การมีหุ้นที่มีการจ่ายปันผลต่อเนื่องหรือกองทุนหุ้นปันผลที่เขาก็สามารถเลือกซื้อจากบล.ฟิลลิป (ประเทศไทย)เช่นกัน เพราะมีโปรแกรมทั้งออมหุ้นและเป็นตัวแทนจำหน่ายการซื้อขายหน่วยลงทุนของทุกบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) ด้วย ทำให้สามารถเลือกซื้อเลือกขายกองทุนรวมได้สะดวกและที่เหลือก็ต้องเป็นเงินสด 10%
"กวิน" บอกว่า ก็จะมีการทบทวนพอร์ตเสมอ โดยจะมีการคัดเลือกหุ้นที่จ่ายปันผลน้อยออกไปก่อนเพราะเชื่อว่าอัตราผลตอบแทนที่ได้ในเรื่องส่วนต่างราคาหุ้นจะดีกว่า แต่ก็จะไม่กลับไปเลือกลงทุนในหุ้นที่เก็งกำไร ในที่สุดตลอดระยะเวลาการลงทุนมา 6-7 ปีซึ่ง 1-2 ปี แรกนิ่ง
เขาถือว่าโชคดีมากเพราะเจอปัญหาได้เร็วและกลับตัวได้ทัน และหันมาเลือกการลงทุน DCA และส่งผลให้เขามีเงิน 1 ล้านบาทได้ แม้จะทำงานประจำด้วยอายุเพียง 27-28 ปี
จนถึงวันนี้ "กวิน" อายุ 31 ปี มูลค่าพอร์ตการลงทุนมากกว่า 5 ล้านบาทแล้ว n
ลงทุนแบบ DCA รู้สึกว่าตัวเองมีความสุขมาก เพราะไม่ต้องไปสนใจ
กับภาวะหรือดัชนีหุ้นที่มี
ความผันผวน
บรรยายใต้ภาพ
กวิน สุวรรณตระกูล--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์
Source - โพสต์ ทูเดย์ (Th)
Friday, December 06, 2013 03:04
บงกชรัตน์ สร้อยทอง
"กวิน สุวรรณตระกูล" หรือ "ต้าร์"พนักงานบริษัทและผู้ที่ศึกษาเรื่องการลงทุนเพิ่มความมั่งคั่งด้วยหลักการลงทุนแบบถัวเฉลี่ย (Dollar Average Cost)หรือ DCA และยังเป็นพิธีกรรายการ "มือใหม่ The Season 2" ของสถานีโทรทัศน์มันนี่ ชาแนล
ผู้ชายที่เริ่มต้นทำงานประจำและมีความคิดว่า วันหนึ่งอยากรวยแต่การทำงานประจำเพียงอย่างเดียวคงจะประสบความสำเร็จได้ยาก และการจะไปเป็นเจ้าของธุรกิจเองอาจจะเป็นหนทางหนึ่ง แต่แล้วจะหาเงินจากไหนไปลงทุน เพราะแต่ละเดือนก็มีรายจ่ายมาก การจะเก็บเงินเป็นจำนวนเงินก้อนจึงยาก
ดังนั้น จึงเริ่มเก็บเงินที่มีอยู่ให้งอกเงยเพราะการจะนำเงินไปฝากธนาคารเพียงอย่างเดียวก็ไม่น่าพอที่จะให้มีเงินหลัก 1 ล้านบาทในอายุน้อย ดังนั้น ต้องนำเงินไปลงทุนอย่างอื่นอย่างหุ้น พันธบัตร หรือกองทุนรวมถึงจะได้เงินตอบแทนที่เพิ่มขึ้น
"กวิน" จึงตัดสินใจเอาเงินออมที่เก็บไว้เดือนละ 6,000-8,000 บาท และเป็นก้อนประมาณ 2 แสนบาท กระโจนไปซื้อกับกองทุนรวมและลงทุนในหุ้นบางส่วน
โชคไม่เข้าข้าง "กวิน" เข้าไปในช่วงที่เกิดวิกฤตซับไพรม์ ทำให้ขาดทุนติดลบ 70% ทั้งหมดนั้นเกิดจากที่ไม่สามารถควบคุมตัวเอง เจ้าหน้าที่การตลาดแนะนำอะไรก็ปฏิบัติตามหมด เพราะเขาคำนึงเรื่องเป้าหมายของการลงทุน โดยคิดถึงผลตอบแทนเป็นตัวตั้ง
"ตอนนั้นเรียกได้ว่าฟังทุกอย่างที่บอกว่าตัวไหนดีน่าลงทุน หาหุ้นทุกตัวในเว็บพันทิป ซึ่งสามารถจำกัดความให้ตัวเองได้เลยว่าเป็นแมลงเม่าของแท้" กวินบอก
จากนั้นเขากลับมาตั้งหลัก โดยพยายามหาคำตอบและจัดระบบวิธีความคิดใหม่ ขณะเดียวกันก็ไม่ยอมขายหุ้นนั้นทิ้งไป เพราะคิดว่าจะกลับมาจัดการให้ดีขึ้น
ช่วงนั้นเริ่มได้ยินการลงทุนหุ้นแบบที่เน้นหุ้นคุณค่าหรือแบบวีไอ พร้อมกับเริ่มหาหนังสืออ่านไปเรื่อยๆเพื่อมาช่วยตอบโจทย์การลงทุนในแบบฉบับของตัวเองและเป็นการลงทุนระยะยาว
ในที่สุดได้บทสรุปแนวทางการลงทุนที่คิดว่าเหมาะกับตัวเอง คือต้องเริ่มจากการเลือกหุ้นให้ถูกเป็นอย่างแรก และหุ้นตัวนั้นต้องมีการจ่ายปันผลที่ดีและต่อเนื่องแต่วิธีการลงทุนจะเลือกใช้วิธีแบบ DCA ที่มีการหักบัญชีจากธนาคารเพื่อไปออมหุ้นแบบรายเดือน พร้อมกับเปลี่ยนเป้าหมายเป็นจะทำอย่างไรให้ตัวเองมีเงินเก็บ 1 ล้านบาท ได้โดยที่ยังใช้ชีวิตของการทำงานอยู่ แม้เงินที่ลงทุนไปครั้งหนึ่งจะได้จำนวนหุ้นแต่ละครั้งที่ไม่เยอะก็ตาม
"กวิน" บอกว่า ตอนนั้นหาข้อมูลมาได้ว่ามี 2 บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เท่านั้นที่มีการตัดบัญชีแบบรายเดือนโดยเริ่มคัดเลือกหุ้นที่ดี ที่คิดว่ามีการเติบโต และมีการจ่ายปันผลต่อเนื่องเช่น บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ(BGH) บริษัท ซีพี ออลล์ (CPALL) บริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ (HMPRO) และก็เริ่มนำเงินที่แบ่งไว้สำหรับออมทุกเดือน 6,000-8,000 บาท ตัดบัญชีกับธนาคาร จนทุกวันนี้ได้เพิ่มวงเงินสำหรับออมหุ้นที่ 2-3 หมื่นบาทต่อเดือน
"ได้ลงทุนแบบ DCA รู้สึกว่าตัวเองมีความสุขมากเพราะไม่ต้องไปสนใจกับภาวะหรือดัชนีหุ้นที่มีความผันผวน ซึ่งใครหลายๆ คน ก็สามารถทำได้และไม่ต้องไปกลัวการขาดทุน เพียงแต่จุดเริ่มต้นที่สำคัญอยู่ที่ต้องไปศึกษาตัวธุรกิจให้ดี วิเคราะห์มูลค่าหุ้นที่แท้จริงเพราะเขามีความเชื่อและมั่นใจว่าการที่เลือกหุ้นที่ดีแล้วถึงอย่างไรก็ไม่มีทางเจ๊งได้" กวิน เล่า
อย่างไรก็ดี ถึงวันนี้ก็มีวิธีการปรับเปลี่ยนวิธีการลงทุนบ้าง โดยหันมาเลือกหุ้นที่มีโอกาสเติบโตสูงแม้จะยังไม่ได้ปันผลก็ตาม เนื่องจากเชื่อว่าการได้ผลตอบแทนส่วนต่างของราคาหุ้นจะช่วยให้อัตราผลตอบแทนที่ดีและเพิ่มขึ้นในอนาคตได้ เพราะราคาหุ้นบางตัวก็ปรับเพิ่มขึ้นมา 100-200% ซึ่งคิดเป็น 70% ของพอร์ตการลงทุนในปัจจุบัน
นอกจากนั้น อีก 20% คือ การมีหุ้นที่มีการจ่ายปันผลต่อเนื่องหรือกองทุนหุ้นปันผลที่เขาก็สามารถเลือกซื้อจากบล.ฟิลลิป (ประเทศไทย)เช่นกัน เพราะมีโปรแกรมทั้งออมหุ้นและเป็นตัวแทนจำหน่ายการซื้อขายหน่วยลงทุนของทุกบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) ด้วย ทำให้สามารถเลือกซื้อเลือกขายกองทุนรวมได้สะดวกและที่เหลือก็ต้องเป็นเงินสด 10%
"กวิน" บอกว่า ก็จะมีการทบทวนพอร์ตเสมอ โดยจะมีการคัดเลือกหุ้นที่จ่ายปันผลน้อยออกไปก่อนเพราะเชื่อว่าอัตราผลตอบแทนที่ได้ในเรื่องส่วนต่างราคาหุ้นจะดีกว่า แต่ก็จะไม่กลับไปเลือกลงทุนในหุ้นที่เก็งกำไร ในที่สุดตลอดระยะเวลาการลงทุนมา 6-7 ปีซึ่ง 1-2 ปี แรกนิ่ง
เขาถือว่าโชคดีมากเพราะเจอปัญหาได้เร็วและกลับตัวได้ทัน และหันมาเลือกการลงทุน DCA และส่งผลให้เขามีเงิน 1 ล้านบาทได้ แม้จะทำงานประจำด้วยอายุเพียง 27-28 ปี
จนถึงวันนี้ "กวิน" อายุ 31 ปี มูลค่าพอร์ตการลงทุนมากกว่า 5 ล้านบาทแล้ว n
ลงทุนแบบ DCA รู้สึกว่าตัวเองมีความสุขมาก เพราะไม่ต้องไปสนใจ
กับภาวะหรือดัชนีหุ้นที่มี
ความผันผวน
บรรยายใต้ภาพ
กวิน สุวรรณตระกูล--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์