ขอวิแคะ ในมุมมองตัวเอง และเฉพาะด้านที่ตัวเองพอรู้
ผมว่า ที่น่ากลัวคือเศรษฐกิจโลกมากกว่าการเมืองบ้านเรา
แต่ระยะนี้ มันจะยังเป็น too big to fail ไปอีกนาน เขาไม่ปล่อยให้ล้มง่ายๆ ใหญ่ๆ โตๆ ยังเป็นมหาอำนาจกันอยู่
ตลอดเวลาที่ผ่านมา ระยะเวลาซบเซามักจะสั้นๆ ระยะเวลาคงที่และกลายมาเป็นขาขึ้น มันยาวกว่าเสมอ ไม่ว่าจะแก้ปัญหาด้วยวิธีเด็ดขาด หรือชั่วคราว พอกหนี้ก็ตาม แต่สุดท้ายมันเป็นวัฏจักรแบบนี้ตลอด
จีนก็ยังเป็นจีนทรงอิทธิพลอยู่ จัดอันดับคนรวย เทมาจีนมากขึ้น
หันมามองไทย ถ้าสมมติเศรษฐกิจโลกไร้ปัญหาเลย เอาแต่ปัจจัยภายในประเทศล้วนๆ
ปัญหาที่เราเห็นนี้มันแค่กระทบระยะสั้นเท่านั้น แล้วมันก็จะผ่านไป
เป็นแค่เกมการเมืองขึ้นกับช่วงไหน ใครชิงอำนาจมาได้
ถ้าเป็นสมัยก่อน ใครชนะก็ตั้งตัวเป็นเจ้าเมือง เป็นราชา หรือถ้าขนาดระดับอาณาจักรปราบดาภิเษกเป็นจักพรรดิ ส่วนใครแพ้ก็กลายเป็นกบฎถุกทุบด้วยท่อนจันทน์ลงหลุม ถ้าเป็นแบบจีน ก็เล่นกันยกครอบครัวเอามาตัดหัวกลางลานเจ็ดชั่วโคตร ยกบ้าน
ผมไม่ได้สนับสนุนอะไรเห็นด้วย-ไม่เห็นด้วยนะครับ ประเด็นแค่มองว่าแก่นแท้แล้วมันไม่เกี่ยวกับว่าใครดีใครชั่วจริงๆ ซักเท่าไหร่ แต่ก็คือ "เกม" ชิงอำนาจธรรมดาที่มีมาแต่โบราณกาล ... ผิดแค่ว่ายุคนี้ เพิ่มมากลายเป็นชิงช่องทางข่าวสาร ชิงมวลชนเพิ่มเติม เหมือนเกมหมากรุกเอาประชาชนเป็นตัวเดิน ผลัดกันรุกผลัดกันรับ ใครชนะ ก็ครองอำนาจรัฐไป
แต่มันไม่ได้ทำให้ประเทศเราถึงกับเจริญทันตาเห็น หรือล่มโคมไปทันทีเลย แค่เพราะการแย่งชิงอำนาจแค่นี้หรอกครับ เชื่อเถอะ อีกไม่กี่เดือน ลองกลับมาดู ว่าจะเป็นอย่างที่ผมว่ารึเปล่า (เหมือนกับตอนน้ำท่วม ผมก็เคยบอกเพื่อนๆ ผมที่มาถาม ว่ามันก็ไม่ได้ท่วมทุกปี ไม่เห็นต้องชิงขาย)
ระยะยาวที่เราเห็น ผมเห็นสัญญาณอันหนึ่ง จาก campaign เพียงชุดเดียว ก็ที่เราเห็นวิสัยทัศน์ "2020" จากประชาธิปัตย์
ถึงแม้คือการเกทับบลัฟแหลก หรือการโต้ข่าวกันทางการเมือง หรือฝ่ายที่เชียร์เพื่อไทย บอกว่านี่คือการ copy กันชัดๆ
แต่มันคือจุดเริ่มต้น
มันบอกได้ว่า ต่อให้เป็นรัฐบาลไม่ว่าใครเข้ามา ไม่ว่าด้วยวิธีกู้/ไม่กู้ก็ตาม 2ล้านล้านหรือไม่ก็ตาม ต่อไปนี้ต้องมากับ Mega project นี้แล้ว เพราะเป็นเรื่องที่เรียกได้ว่าไม่ว่าฝ่ายไหน ไม่สามารถทิ้งโครงการ "จำเป็น" ต่อการพัฒนาประเทศไปพวกนี้แล้ว
ต่อให้จะตระบัดสัตย์ เล่นลิ้น สร้างไม่เยอะ แต่ยังไงก็ "ต้องมี"
แล้วลงทุน มันก็ไม่ได้หนีไปไหน เพราะเป็น infrastructure อยู่ในประเทศ
ไม่ได้หมายถึงทุนคืนแบบระยะสั้น แต่มันคือการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เห็นผล ที่ไม่ต้องใช้วิธี "เงินโปรยเฮลิคอปเตอร์"
ไม่ขอมองมุมการเมืองนะครับ เพราะเราคงเถียงกันไม่จบ ไม่เคยเห็นรัฐบาลชุดไหนในไทย ที่ขาวสะอาดบริสุทธิ์
ขอพูดในผลลัพธ์จริง ที่มีผลต่อระยะยาว และเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจประเทศ แล้วส่งผลการลงทุนของเรามากกว่า ...ในแง่ไม่ว่าอีก 5-10 ปีนับต่อไปนี้ ไม่ว่าใครได้อำนาจไปก็ตาม ก็ต้องมาเล่นโครงการพวกนี้
ในเมื่อประชาชนล้วนเอาด้วย กระแสส่วนใหญ่ ที่ไม่ต้องเกี่ยวกับการเมือง แต่เกี่ยวกับการพัฒนาประเทศ ล้วนเห็นว่ามันถึงเวลาแล้ว ที่ต้องมี หรือถ้าไม้เอาใหญ่มาก อย่างน้อย ต้องเริ่มแล้ว
ผมเลยอยากออกความเห็นส่วนตัว ขอเป็น "โหน" เดากระแสนะครับ
เดาล้วนๆ นะครับ แต่เดามีเหตุผลรองรับ ไม่อยากให้เชื่อทั้งหมด แต่เอาส่วนหนึ่งไปเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจดู ว่าผม "เดา" แบบนี้ เพราะอะไร
เพราะถ้าเรา "เดาแบบมีเหตุผลประกอบ" ตอนเหตุการณ์หรือ ปัจจัยเปลี่ยน เราก็จะพร้อมเสมอ ที่จะ หาเหุตผล "วิเคราะห์ใหม่" ได้ถูกทาง
ไม่ใช่หลับหูหลับตาเดาไม่ใช่เดาแบบแค่ว่ากราฟพุ่งขึ้นมากี่ยอด ถัดมามันต้องดิ่งลงเสมอ เลยต้องชิงขายก่อน...
เดาว่าเมื่อฝุ่นควันการเมืองจางลง (และน่าจะจางลงภายในระยะเวลาไม่นาน เพราะรบย่อมมีพัก เรื่องแตกหัก มันแค่ละคร
มีการเดินเกมเจรจา lobby กันอะไรสาระพิษสารพัดหลังฉาก)
กิจการที่ได้รับผลประโยชน์ กลับมาคึกคัก ก็เดิมๆ คือรับเหมาโครงการต่างๆ
ในภาพรวม
นอกจากโครงการในประเทศแล้ว ประเทศเพื่อนบ้านก็พากันโต จะดึงดูดฝรั่งกลับมา
ตอนนี้ก็ดึงพอควรอยู่แล้ว อาจไม่มากถึงตอนฝรั่งโปรยเงิน QE ที่นั่นเป็นภาวะเงินมากผิดปกติ และเป็นแค่ financial sector
แต่เอเชีย ยังโตเรื่อยๆ เป็นการลงทุน real sector
ผมไม่เชื่อว่า AEC มันจะเกิดขึ้น แล้วพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ เศรษฐกิจไม่คิดว่าจะบูมขนาดทำให้เป็นแบบสิบล้อถูกล็อตโต้ หรือยาจกตกยากกลายเป็นเศรษฐีพบบ่อน้ำมันอะไรขนาดนั้น
แต่ผมก็เชื่อว่า เศรษฐกิจเอเชียจะยึดโยง ไร้พรมแดนกันมากขึ้น เพราะกระแสมันไปทางนั้น
เมื่อต่างชาติมาลงทุนแถบนี้ จะมองเป็น "เอเชีย" เพราะการลงทุนไมได้มีแค่ตลาดหุ้นเท่านั้น
การเอาเงินมาลงแบบ FDI หรือ foreign direct investment ในรูปอุตสาหกรรม อสังหา ที่ต้องใช้เม็ดเงินมาทั้งนั้น ...
ใครจะลงด้วยเหตุผลทางธุรกิจจริง หรือ "ไม่มีที่ลง" เลยเอามาฟอกขาว ก็แล้วแต่ (อย่างที่ได้ยินมาที่บูมในพนมเปญ)... แต่มันคือโครงการที่เกิดขึ้นจริง สร้างงาน ใช้เงินจริง มีวัตถุจับต้องได้
เมื่อประเทศข้างเคียงบูม อีกประเทศก็ได้รับผลประโยชน์สะท้อนด้วย
โดยเฉพาะพม่า เมื่อสร้างเมือง ก็ย่อมต้องการเอาประเทศใกล้และสะดวก ... ผมไม่คิดว่าต่างชาติ ใครจะเอาบังคลาเทศหรืออินเดีย เป็นจุดเชื่อมต่อ
มันเหมือนตอนนี้ ที่ตะวันตก หรือแม้แต่จีนก็เถอะ ถ้าจะไปขยายธุรกิจที่ลาว ก็จะมองจากบริษัทลูกที่ไทยให้ไปหยั่งเชิงที่เวียงจันทน์ก่อน
ถ้าเป็นธุรกิจที่พนมเปญก็จะเลือกว่า ตัวแทนสาขาในกทม.หรือในโฮจิมินห์จะเหมาะกว่า ก่อนจะเอาจริง
ดังนั้นก็ต้องเอาไทยเป็นศูนย์บัญชาการหรืออย่างน้อยทางผ่าน
เพราะสะดวกและเอื้ออำนวยในการทำธุรกรรมการเงินรวมถึงการเดินทาง... แล้วเชื่อมโยงไปบริษัทที่พม่า ที่ "ย่างกุ้ง"
ถัดมา คิดว่าคงไม่ต้องอธิบายมาก เป็นกระแสต่อเนื่องจากตอนนี้
ICT คือ "สื่อสารโทรคมนาคม" ยังเป็นประเภท "ผู้เล่นน้อยราย" ต่อไป ขณะที่ trend ใช้ Data โตขึ้นเรื่อยๆ
ตรงข้ามกับหน่วยงานรัฐ คือ TOT กับ CAT จะดิ้นกันเหนื่อย จะอ่อนล้า ถูกลู่ถูกังกันต่อไปแบบ THAI, รฟท, ขสมก
ส่วน "สื่อสารมวลชน" ที่เราเห็นในรูปแบบ Digital TV นั้น
ผู้เล่นรายเก่าของวงการ "สื่อสารมวลชน" ที่เป็นของรัฐหรือกึ่งรัฐโชคดีกว่าสื่อสารโทรคมนาคม เพราะมีทางออกได้ใบอนุญาตประเภทเสือนอนกินกันไปแล้ว
(ยังเหลือ 2 ใบที่ยังไม่ให้ใคร...)
แต่ที่สบายตัวที่สุดคือ MCOT เพราะนอกจากได้งานทำต่อเหมือนช่อง11(กรมประชาสัมพันธ์)/ช่อง 5 (ทบ)/TBPS ได้ "ใบอนุญาตนอนกิน" ไปก่อน โดยไม่ต้องออกแรงประมูลแล้ว ยังประมูล HD ทำมาหากินได้อีกช่อง
โดยควบคุมต้นทุนได้เอง เพราะได้ใบอนุญาต MUX ประเภทเดียวกัน
โดยแผนงานของกสทช. จะให้รายเก่าออกอากาศคู่กันทั้ง Digital และ Analogue และคืนคลื่นได้ภายใน 5 ปี แล้วไปทำธุรกิจ MUX ส่วน content ต้องทำเป็นช่องสาธารณะ
นี่ถ้า MCOT ปรับปรุงกระบวนการทำงานใหม่ หรือได้ผู้บริหารมาใหม่อย่างผอ.แสงชัย ผอ.มิ่งขวัญ ผมจะรีบเอางบย้อนหลัง MCOT มานั่งvaluation ดูเตรียมตัวทันที เพราะได้เปรียบชาวบ้านขนาดนี้แล้ว...
ในภาพรวม
"วงการ" มันจะบูม แต่ใครจะเป็นใหญ่ จะไม่เด็ดขาด เหมือนวงการมือถือ
แต่ก็จะ "ค่อยๆ" ขยายผลประโยชน์ให้ใหญ่ขึ้น เหมือนกับที่เราเห็น "ผู้จัด" "ผู้ผลิตรายการ" เกิดขึ้นใหม่
เหมือนนิคมอุตสาหกรรมใหม่ ขนาดย่อม เปรียบได้ ก็คล้ายฮอลลีวู๊ดทีวีเมืองไทย
ดังที่เราเห็น "ผู้จัด" หน้าเก่า หน้าใหม่ ผลิตงานเข้าช่อง 3 ช่อง 7 กันเกิดเสี่ย เฮีย เงินล้าน ร้อยล้าน พันล้าน รายใหม่ผูดกันขึ้นมาอย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อน
เหมือนที่เราเห็นมันเริ่มต้นที่วงการดาวเทียมแล้ว (แต่มันยังเลอะไปด้วยโฆษณาขายตรงอยู่)
การมีช่องทางสื่อสารไปมวลชนมากขึ้น มีคุณภาพดีขึ้น ผมมองว่า "ธุรกิจผลิต content" (content provider) จะเติบโต
แต่จะมีบริษัทที่อยู่ในตลาดเท่าไหร่ ได้รับผลบุญไป ไม่แน่ใจ
และก็อาจมีบริษัทใหม่ เข้าตลาดอีก ที่ไม่จำเป็นต้องเป็น คนได้ใบอนุญาตที่ประมูลไปไม่กี่วันมานี้ แต่สามารถที่จะมีศักยภาพ สร้าง "ผลิตผล" ป้อนอุตสาหกรรมนี้ได้
ส่วนบริษัทที่ได้ใบอนุญาต ในฐานะ service provider ไม่ได้คิดว่า "เล่นง่ายๆ" เหมือนเจ้าของมือถือ
นอกจาก "ศึกชิงตา" อย่างดร.นิเวศน์ว่าแล้ว ที่ทำให้รูปแบบ "prime channels" ทรงอิทธิพลอย่างเก่า คือ rating "กึ่งผูกขาด" 7->3->9/5/11 ลดความสำคัญลงไป
เพราะเริ่มต้นจุดสตาร์ทที่เท่าเทียวกัน ด้วยผู้เล่นมากรายขึ้น
ยังเพราะต้นทุนคงที่ เมื่อหักตัวเลขแล้ว มันยังดูไม่น่าดึงดูด (ลองดูสรุป "ประมาณการ" ที่กระทู้พี่ฉัตร
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=1&t=56988)
โดยเฉพาะช่องทางกระจายภาคพื้นดินที่เรียกว่า "MUX" ที่ข้อเท็จจริงคือยังไม่ได้ตัวเลขแม้จริงเลย ยังเป็นแค่แผนงานเสนอกสทช.
ธุรกิจอะไรกันเนี่ย จะยืมเงินจากธนาคารอยู่แล้ว ได้แค่ประมาณ.. แต่ป่านนี้ ยังไม่ได้ตัวเลขที่แท้จริงเลย... ทำเองก็ไม่ได้ด้วย เพราะไม่ได้ใบอนุญาต ... กสทช. เอาไป "แลกเปลี่ยน" กับการคืนคลื่นเร็วขึ้น
5 ปี ให้เหล่าเสือนอนกินไปแล้ว
ดังนั้นคอยจับตาดู...
แล้วถ้าใครบริหารไม่ดี หรือสู้แรงรายใหญ่สายป่านยาวไม่ได้ หรือ ถ้าระหว่างสัมปทานมีเหตุการณ์สะดุด แบบวงการโทรคมนาคม
คงต้องมีบางรายเหี่ยวเฉา หรืออาจต้องคืน/เปลี่ยนเจ้าของใบอนุญาตกันบ้าง
แบบที่เคยเกิดมาแล้วกับ The M Group/IEC/WCS/Samart/DCS
หรือเป็นเสือลำบาก เดินกระเผลกๆ อย่าง TT&T/TA Orange -> True