Peter Lynch - One Up On Wall Street
โพสต์แล้ว: อังคาร ส.ค. 10, 2004 9:02 am
บทที่ 01 ล้างมือในอ่างทองคำ
ปีเตอร์ ลินช์ เกษียณอายุก่อนวัย หรือ เซียนหุ้นอำลาวงการ ฯลฯ นี่คือข้อความพาดหัวหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ธุรกิจที่วางจำหน่ายทั่วสหรัฐอเมริกา เมื่อวันพุธที่ 28 มีนาคม 2533
คำถามแรกที่เราซึ่งเป็นคนไทยจะต้องถามคือ นายปีเตอร์ ลินช์ เป็นใคร มีความสำคัญมากเพียงใด หนังสือพิมพ์ถึงได้เอาขึ้นไปพาดหัวหน้า 1 พร้อมๆ กันเกือบทุกฉบับ อ๋อแน่ล่ะ เขาย่อมมีความสำคัญมากพอดูทีเดียวสำหรับอเมริกันชนที่นิยมเล่นหุ้น เพราะทุกวันนี้คนอเมริกัน 1 ใน 250 คนจะต้องเอาเงินไปฝากแกไว้เพื่อลงทุนเล่นหุ้น และกองทุนของนายปีเตอร์ ลินช์นี้เป็นกองทุนเล่นหุ้นที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา
กองทุน มาเกลเลน ของบริษัท ฟิเดลล์อินเวสต์เมนท์ จำกัด ที่นายปีเตอร์ ลินช์ ดำรงตำแหน่งประธานอยู่นี้มียอดเงินสูงถึง 13,000 ล้านเหรียญ หรือประมาณ 338,000 ล้านบาท จัดว่าเป็นกองทุนเล่นหุ้นที่ใหญ่ที่สุดในโลก เพราะมีหุ้นอยู่ในมือ (ที่เรียกว่า พอร์ตโฟลิโอ) ถึง 1,500 ตัว ตั้งมาแค่ 13 ปีแต่ทำกำไรให้แก่ผู้ลงทุนถึง 2,510% ซึ่งหมายความว่า ถ้าคุณนำเงินไปร่วมกองทุนนายปีเตอร์ ลินช์ 10,000 เหรียญ หรือประมาณ 260,000 บาทเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ตอนนี้หรือวันนี้ถ้าคุณถอนเงินออกมาคุณจะไดรับเงินถึง 190,000 เหรียญ หรือประมาณร่วม 5 ล้านบาท เพราะเหตุนี้เองหนังสือพิมพ์ถึงได้ประโคมข่าวการอำลาวงการหุ้นของนายลินช์อย่างครึกโครม
คำถามต่อมากก็คือ แล้วทำไมนายนายลินช์จึงต้องเกษียณอายุ หรือ ทำไมนายลินช์จึงต้องอำลาวงการหุ้น ถ้าเป็นเราๆ ท่านๆ ก็จะเดาว่า อ๋อนายลินช์คงมีวัยล่อเข้าไป 58 หรือ 59 แล้วละมั้ง ซึ่งถ้าเป็นวัยขนาดนี้ถ้าเกษียณอายุไปแล้วก็ไม่น่าจะแปลกใจอะไร เพราะขนาด พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ อดีต ผบ.ทบ. และ ผบ.สูงสุด ยังเกษียณอายุด้วยวัยแค่ 55 ปีเท่านั้น แต่นายปีเตอร์ ลินช์ เกษียณอายุงานตัวเองด้วยวัยแค่ 46 ปีเท่านั้น เป็นธรรมดาที่นักลงทุนฝากเงินไว้กับกองทุนมาเกลเลนจะต้องเสียดาย เพราะในเมื่อตัวทำเงินทำทอง ล้างมือในอ่างทองคำ ไปแล้ว บรรดานักลงทุนทั้งหลายที่ไว้เนื้อเชื่อใจในฝีมือของ ปีเตอร์ ลินช์ คนนี้ก็เริ่มทยอยถอนเงินออกกันเป็นทิวแถว เพราะถ้าเรือปราศจากหางเสือเช่นนี้ก็ไม่มีใครอยากจะเสี่ยงไปล่องด้วย สู้กระโจนขึ้นฝั่งปลอดภัยไว้ก่อนดีกว่า
เหตุผลที่นายปีเตอร์ ลินช์ เกษียณอายุก่อนวัยอันสมควรนั้นแกให้เหตุผลว่า ผมตายไปก็เอาเงินไปไม่ได้ นี่เป็นสัจธรรมที่แกต้องตอบคำถามลูกค้าที่ถามไถ่กันมามากมาย แต่ลึกๆ นั้นนายลินช์เผยออกมาในตอนหลังว่า แกเป็นคนมีปมด้อย พ่อของแกเสียชีวิตเมื่ออายุ 46 ปีเท่านั้น ซึ่งตอนนั้นนายลินช์ยังเป็นเด็กชายตัวน้อยๆ วัย 10 ขวบแค่นั้นเอง พ่อนายลินช์เป็นคนขยันเป็นอาจารย์สอนคณิตศาสตร์ แต่เมื่อมองไม่เห็นความก้าวหน้าในวิชาชีพนี้แกจึงลาออกไปเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีของบริษัท บอห์นแฮนคอก จำกัด เมื่อตอนที่นายลินช์อายุได้ 7 ขวบ พ่อของแกก็เริ่มป่วยหนัก เทียวเข้าเทียวออกกับโรงพยาบาลอยู่เป็นประจำ หลังจากนั้นได้ 3 ปีพ่อของแกก็เสียชิวิตด้วยโรคมะเร็งในสมอง
เมื่อสิ้นผู้นำในครอบครัว แม่ของนายลินช์ก็ต้องทำหน้าที่เป็นช้างเท้าหน้าออกหาเลี้ยงครอบครัวต่อไป และเด็กชายลินช์เองก็ไม่ได้งอมืองอเท้าออกไปเป็นแคดดีหารายได้เสริมครอบครัวไปด้วย พร้อมกันนี้ก็ส่งเสริมการเรียนของตัวเองด้วยเช่นกัน
นายปีเตอร์ ลินช์ บอกว่า ผมทำงานวันละ 10 กว่าชั่วโมงมาถึง 13 ปีเต็ม วิ่งไปซักถามและหาข้อมูลนับพันบริษัทเพื่อมาประกอบการตัดสินใจซื้อหุ้นให้แก่ผู้มาร่วมลงทุนจนแทบไม่มีเวลาให้ครอบครัว ตอนนี้ก็แต่งงานมา 22 ปี มีลูก 3 คนเป็นสามใบเถา คือลูกสาวล้วนๆ วัย 15, 11 และ 7 ปี และขณะนี้ฐานะทางครอบครัวก็มั่นคง ชื่อเสียงจัดว่าดังพอสมควร แล้วจะให้ผมต้องการอะไรอีกล่ะ
ตอนทำงานผมต้องทำงานถึง 6 วันต่ออาทิตย์ ตื่นตีห้าทุกวัน ถึงที่ทำงาน 06.45 น. และออกจากที่ทำงาน 6 โมงเย็น กลับถึงบ้าน 1 ทุ่มทุกวัน แถมวันอาทิตย์ยังต้องไปทำงานเพิ่มอีก 4 ชั่วโมงก่อนไปโบสถ์ พวกคุณจะใช้งานผมหนักแบบนี้อีกหรือ เพราะฉะนั้นผมจึงขอเกษียณอายุทำงานด้วยวัยแค่ 46 ปีเท่ากับตอนที่คุณพ่อผมเสียชีวิตตอนนั้น
ความจริงแล้ว นายปีเตอร์ ลินช์ เล่าให้ฟังว่า ผมตั้งใจจะอำลาวงการหุ้นตั้งแต่ปี 1987 แต่ในปีนั้นเกิดวิกฤตการณ์ ตลาดหุ้นถึงคราววิปโยคร่วงไปตั้ง 1,000 จุด ผมจึงจากไปตอนนั้นไม่ได้ เพราะคนจะดูว่าผมเป็นผู้แพ้ ผมต้องกอบกู้สถานการณ์อยู่ 2 ปีเต็ม และบัดนี้มันเป็นจังหวะที่งาม สมควรแก่เวลาเพราะลูกค้าทุกคนร่ำรวยกันถ้วนหน้า ผมจึงขอล้างมือในอ่างทองคำเสียที
ผลงานและเคล็ดลับของนักเล่นหุ้นระดับ เซียนเหนือเซียน นี้ยังเป็นที่กล่าวขวัญถึงตลอดเวลา และยังคงเป็นตำนานที่ย่าน วอลสตรีท จะต้องจดจำไปอีกนานทีเดียว เรื่องนี้ไม่ใช่นิยายหรือนิทานที่มาผูกเรื่องให้นักเล่นหุ้นน้ำลายหก กรุงเทพธุรกิจ ได้ติดตามเอามาถ่ายทอดให้บรรดานักลงทุนในเมืองไทยรู้ถึงเคล็ด กลวิธี วิธีการ ฯลฯ ที่จะสร้างกำไรให้แก่ตัวเองในการตัดสินใจเป็นนักลงทุน และเมื่อท่านอ่านจบเล่มแล้ว อะไรบางอย่างที่ไม่เหมือนกับบรรยากาศการเล่นหุ้นในเมืองไทย ก็ขอให้จำกลเม็ดนั้นเอามาประยุกต์ดัดแปลงให้เข้ากับสถานการณ์บ้านเรา เชื่อว่าจะช่วยได้มากทีเดียว
อ่านมาถึงตรงนี้ บางคนก็ได้ความรู้คือ แค่รู้จักว่านายปีเตอร์ ลินช์คือใคร หรือรู้ว่านายลินช์ขณะนี้เลิกเล่นหุ้นไปแล้ว ถ้าท่านได้ความรู้แค่นี้ ขอโทษ อนาคตการเป็นนักเล่นหุ้นยังอยู่อีกไกล เพราะในบทนี้นายปีเตอร์ ลินช์ สอนไว้ว่า การตัดสินใจเกษียณอายุตัวเองในจังหวะที่สวย รู้จักประมาณตนและสถานการณ์รอบด้านนั้นคือคุณสมบัติข้อแรกของการเป็นนักเล่นหุ้นที่รู้ว่าเมื่อใดควรบุก เมื่อใดควรถอยนั่นเอง
ปีเตอร์ ลินช์ เกษียณอายุก่อนวัย หรือ เซียนหุ้นอำลาวงการ ฯลฯ นี่คือข้อความพาดหัวหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ธุรกิจที่วางจำหน่ายทั่วสหรัฐอเมริกา เมื่อวันพุธที่ 28 มีนาคม 2533
คำถามแรกที่เราซึ่งเป็นคนไทยจะต้องถามคือ นายปีเตอร์ ลินช์ เป็นใคร มีความสำคัญมากเพียงใด หนังสือพิมพ์ถึงได้เอาขึ้นไปพาดหัวหน้า 1 พร้อมๆ กันเกือบทุกฉบับ อ๋อแน่ล่ะ เขาย่อมมีความสำคัญมากพอดูทีเดียวสำหรับอเมริกันชนที่นิยมเล่นหุ้น เพราะทุกวันนี้คนอเมริกัน 1 ใน 250 คนจะต้องเอาเงินไปฝากแกไว้เพื่อลงทุนเล่นหุ้น และกองทุนของนายปีเตอร์ ลินช์นี้เป็นกองทุนเล่นหุ้นที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา
กองทุน มาเกลเลน ของบริษัท ฟิเดลล์อินเวสต์เมนท์ จำกัด ที่นายปีเตอร์ ลินช์ ดำรงตำแหน่งประธานอยู่นี้มียอดเงินสูงถึง 13,000 ล้านเหรียญ หรือประมาณ 338,000 ล้านบาท จัดว่าเป็นกองทุนเล่นหุ้นที่ใหญ่ที่สุดในโลก เพราะมีหุ้นอยู่ในมือ (ที่เรียกว่า พอร์ตโฟลิโอ) ถึง 1,500 ตัว ตั้งมาแค่ 13 ปีแต่ทำกำไรให้แก่ผู้ลงทุนถึง 2,510% ซึ่งหมายความว่า ถ้าคุณนำเงินไปร่วมกองทุนนายปีเตอร์ ลินช์ 10,000 เหรียญ หรือประมาณ 260,000 บาทเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ตอนนี้หรือวันนี้ถ้าคุณถอนเงินออกมาคุณจะไดรับเงินถึง 190,000 เหรียญ หรือประมาณร่วม 5 ล้านบาท เพราะเหตุนี้เองหนังสือพิมพ์ถึงได้ประโคมข่าวการอำลาวงการหุ้นของนายลินช์อย่างครึกโครม
คำถามต่อมากก็คือ แล้วทำไมนายนายลินช์จึงต้องเกษียณอายุ หรือ ทำไมนายลินช์จึงต้องอำลาวงการหุ้น ถ้าเป็นเราๆ ท่านๆ ก็จะเดาว่า อ๋อนายลินช์คงมีวัยล่อเข้าไป 58 หรือ 59 แล้วละมั้ง ซึ่งถ้าเป็นวัยขนาดนี้ถ้าเกษียณอายุไปแล้วก็ไม่น่าจะแปลกใจอะไร เพราะขนาด พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ อดีต ผบ.ทบ. และ ผบ.สูงสุด ยังเกษียณอายุด้วยวัยแค่ 55 ปีเท่านั้น แต่นายปีเตอร์ ลินช์ เกษียณอายุงานตัวเองด้วยวัยแค่ 46 ปีเท่านั้น เป็นธรรมดาที่นักลงทุนฝากเงินไว้กับกองทุนมาเกลเลนจะต้องเสียดาย เพราะในเมื่อตัวทำเงินทำทอง ล้างมือในอ่างทองคำ ไปแล้ว บรรดานักลงทุนทั้งหลายที่ไว้เนื้อเชื่อใจในฝีมือของ ปีเตอร์ ลินช์ คนนี้ก็เริ่มทยอยถอนเงินออกกันเป็นทิวแถว เพราะถ้าเรือปราศจากหางเสือเช่นนี้ก็ไม่มีใครอยากจะเสี่ยงไปล่องด้วย สู้กระโจนขึ้นฝั่งปลอดภัยไว้ก่อนดีกว่า
เหตุผลที่นายปีเตอร์ ลินช์ เกษียณอายุก่อนวัยอันสมควรนั้นแกให้เหตุผลว่า ผมตายไปก็เอาเงินไปไม่ได้ นี่เป็นสัจธรรมที่แกต้องตอบคำถามลูกค้าที่ถามไถ่กันมามากมาย แต่ลึกๆ นั้นนายลินช์เผยออกมาในตอนหลังว่า แกเป็นคนมีปมด้อย พ่อของแกเสียชีวิตเมื่ออายุ 46 ปีเท่านั้น ซึ่งตอนนั้นนายลินช์ยังเป็นเด็กชายตัวน้อยๆ วัย 10 ขวบแค่นั้นเอง พ่อนายลินช์เป็นคนขยันเป็นอาจารย์สอนคณิตศาสตร์ แต่เมื่อมองไม่เห็นความก้าวหน้าในวิชาชีพนี้แกจึงลาออกไปเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีของบริษัท บอห์นแฮนคอก จำกัด เมื่อตอนที่นายลินช์อายุได้ 7 ขวบ พ่อของแกก็เริ่มป่วยหนัก เทียวเข้าเทียวออกกับโรงพยาบาลอยู่เป็นประจำ หลังจากนั้นได้ 3 ปีพ่อของแกก็เสียชิวิตด้วยโรคมะเร็งในสมอง
เมื่อสิ้นผู้นำในครอบครัว แม่ของนายลินช์ก็ต้องทำหน้าที่เป็นช้างเท้าหน้าออกหาเลี้ยงครอบครัวต่อไป และเด็กชายลินช์เองก็ไม่ได้งอมืองอเท้าออกไปเป็นแคดดีหารายได้เสริมครอบครัวไปด้วย พร้อมกันนี้ก็ส่งเสริมการเรียนของตัวเองด้วยเช่นกัน
นายปีเตอร์ ลินช์ บอกว่า ผมทำงานวันละ 10 กว่าชั่วโมงมาถึง 13 ปีเต็ม วิ่งไปซักถามและหาข้อมูลนับพันบริษัทเพื่อมาประกอบการตัดสินใจซื้อหุ้นให้แก่ผู้มาร่วมลงทุนจนแทบไม่มีเวลาให้ครอบครัว ตอนนี้ก็แต่งงานมา 22 ปี มีลูก 3 คนเป็นสามใบเถา คือลูกสาวล้วนๆ วัย 15, 11 และ 7 ปี และขณะนี้ฐานะทางครอบครัวก็มั่นคง ชื่อเสียงจัดว่าดังพอสมควร แล้วจะให้ผมต้องการอะไรอีกล่ะ
ตอนทำงานผมต้องทำงานถึง 6 วันต่ออาทิตย์ ตื่นตีห้าทุกวัน ถึงที่ทำงาน 06.45 น. และออกจากที่ทำงาน 6 โมงเย็น กลับถึงบ้าน 1 ทุ่มทุกวัน แถมวันอาทิตย์ยังต้องไปทำงานเพิ่มอีก 4 ชั่วโมงก่อนไปโบสถ์ พวกคุณจะใช้งานผมหนักแบบนี้อีกหรือ เพราะฉะนั้นผมจึงขอเกษียณอายุทำงานด้วยวัยแค่ 46 ปีเท่ากับตอนที่คุณพ่อผมเสียชีวิตตอนนั้น
ความจริงแล้ว นายปีเตอร์ ลินช์ เล่าให้ฟังว่า ผมตั้งใจจะอำลาวงการหุ้นตั้งแต่ปี 1987 แต่ในปีนั้นเกิดวิกฤตการณ์ ตลาดหุ้นถึงคราววิปโยคร่วงไปตั้ง 1,000 จุด ผมจึงจากไปตอนนั้นไม่ได้ เพราะคนจะดูว่าผมเป็นผู้แพ้ ผมต้องกอบกู้สถานการณ์อยู่ 2 ปีเต็ม และบัดนี้มันเป็นจังหวะที่งาม สมควรแก่เวลาเพราะลูกค้าทุกคนร่ำรวยกันถ้วนหน้า ผมจึงขอล้างมือในอ่างทองคำเสียที
ผลงานและเคล็ดลับของนักเล่นหุ้นระดับ เซียนเหนือเซียน นี้ยังเป็นที่กล่าวขวัญถึงตลอดเวลา และยังคงเป็นตำนานที่ย่าน วอลสตรีท จะต้องจดจำไปอีกนานทีเดียว เรื่องนี้ไม่ใช่นิยายหรือนิทานที่มาผูกเรื่องให้นักเล่นหุ้นน้ำลายหก กรุงเทพธุรกิจ ได้ติดตามเอามาถ่ายทอดให้บรรดานักลงทุนในเมืองไทยรู้ถึงเคล็ด กลวิธี วิธีการ ฯลฯ ที่จะสร้างกำไรให้แก่ตัวเองในการตัดสินใจเป็นนักลงทุน และเมื่อท่านอ่านจบเล่มแล้ว อะไรบางอย่างที่ไม่เหมือนกับบรรยากาศการเล่นหุ้นในเมืองไทย ก็ขอให้จำกลเม็ดนั้นเอามาประยุกต์ดัดแปลงให้เข้ากับสถานการณ์บ้านเรา เชื่อว่าจะช่วยได้มากทีเดียว
อ่านมาถึงตรงนี้ บางคนก็ได้ความรู้คือ แค่รู้จักว่านายปีเตอร์ ลินช์คือใคร หรือรู้ว่านายลินช์ขณะนี้เลิกเล่นหุ้นไปแล้ว ถ้าท่านได้ความรู้แค่นี้ ขอโทษ อนาคตการเป็นนักเล่นหุ้นยังอยู่อีกไกล เพราะในบทนี้นายปีเตอร์ ลินช์ สอนไว้ว่า การตัดสินใจเกษียณอายุตัวเองในจังหวะที่สวย รู้จักประมาณตนและสถานการณ์รอบด้านนั้นคือคุณสมบัติข้อแรกของการเป็นนักเล่นหุ้นที่รู้ว่าเมื่อใดควรบุก เมื่อใดควรถอยนั่นเอง