สรุป Money talk@SET 16 Feb 2014
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.พ. 16, 2014 9:51 pm
สรุป Money talk@SET 16 Feb 2014
ช่วงที่ 1 หัวข้อ "เส้นทางมืออาชีพการเงิน" By SixtyNine
* เป็นการสรุปครั้งแรกของผมนะครับ เนื่องจากครั้งนี้พี่ Big(i-salmon) ไม่ได้มา ผมจึงจดคร่าวๆมาสรุปแทน อาจผิดพลาดหรือไม่ครบถ้วนอย่างไรช่วยแก้ไขหรือเสริมได้นะครับ
แขกรับเชิญ
1.คุณชนิตร ชาณชัยณรงค์ CFA รองผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์
2.ดร.สมจินต์ ศรไพศาล CFA, CFP นายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน
3.คุณเกียรติศักด์ สิริรัตนกิจ CFA, FRM ผอ.อาวุโส ตราสารอนุพันธ์ เมแบงค์กิมเอ็ง
4.ผศ.ดร.ประดิษฐ์ วิธิศุภกร ผอ.โครงการ FIRM, NIDA BUSINESS SCHOOL
ผู้ดำเนินรายการ
ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา อ.เสน่ห์ ศรีสุวรรณ
ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา กล่าวเปิดงาน ว่า คุณชนิตร ชาณชัยณรงค์(คุณช้าง)เป็นคนมีพระคุณต่อรายการ Money Talk เพราะจัดหาสถานที่ให้ ให้เงิน และบางครั้งเป็นผู้ที่ช่วยติดต่อคนมาพูดด้วย (MoneyTalk จะอยู่ไม่ได้ถึงวันนี้ถ้าไม่มีคุณช้าง)
อ.เสน่ห์เกริ่นเรื่องที่อ.เสน่ห์ เกษียณงานแล้ว และจะมีการให้สัมภาษณ์ประวัติของอ.เองเร็วๆนี้ในรายการ Moneytalk
ย้ายจากสายงานวิศวะมาเส้นทางการเงินได้อย่างไร ???
CFA,CPF,FRM คืออะไรและสำคัญอย่างไร???
หลักสูตร FIRM ของ NIDA คืออะไร???
คุณชนิตร ชาณชัยณรงค์ :
- ย้อนไป 20 ปีก่อน เคยเป็นวิศวะกรไฟฟ้าในโรงงาน และได้มามีโอกาสคุยกับ ดร.สมจินต์ ศรไพศาล ประมาณ 3 ชม. พอคิดแล้วมันไม่รุ่งเพราะทำต่อไปเรื่อย ๆอย่างมากก็เป็นได้แค่ผู้จัดการโรงงาน จึงเปลี่ยนวิธีคิด เรื่องการเงิน เพราะการเงินไม่ใช่เรียนอย่างเดียว แต่ต้องมีการประยุกต์ให้ใช้ได้ด้วย
- CFA ที่ขึ้นทะเบียนในประเทศไทยทั้งหมดประมาณ 700 คน(Lv.3) ยังไงการรับคนเข้าทำงานเราก็เลือกคนที่มี CFA ก่อน(ถ้ามี)เพราะต้องมีความอดทนสูง
- CFA สอนให้วิเคราะห์หลายอย่างไม่ใช่หุ้นอย่างเดียว เช่น หุ้น,เงินสกุลต่างๆ ,ตราสารต่างๆ,อสังหาริมทรัพย์
- ตกใจเมื่อได้ไปติดต่อทำงานที่กัมพูชา ประเทศกัมพูชามีการส่งเสริมให้ทุนในการสอบ CFA และปัจจุบันเวียดนาม คาดว่ามีผู้ที่สอบผ่านเยอะกว่าประเทศไทยแล้ว
ผศ.ดร.ประดิษฐ์ วิธิศุภกร :
- CFA สามารถทำได้หลายอาชีพในเส้นทางการเงินเช่น นักวิเคราะห์หลักทรัพย์,ผู้จัดการกองทุนรวม,บริษัทหลักทรัพย์
- หากเลือกการลงทุนที่ดีนั้น เลือกระหว่าง บ้าน,รถ,หรืออื่น ๆ จะเห็นว่าการศึกษาเป็นการลงทุนคุ้มค่าที่สุด และ ผลตอบแทนดีที่สุด
- หลักสูตร Firm (Financial Investment and Risk Management) ของนิด้าเปิดมาได้ 7 ปี หลักสูตร Firm ได้มีการวางหลักสูตรให้ใกล้เคียงกับ CFA,FRM มากที่สุด ระยะเวลาเรียน 18 เดือน เรียนเสาร์-อาทิตย์ เรียนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด ค่าหน่วยกิต 9,000 บาท/หน่วยกิต รวม 3 แสนกว่าบาท ซึ่งจะมีค่ากิจกรรมอีกประมาณ 1แสนกว่าบาท และมีการบินไปเรียนที่ U.Top 10 อเมริกาด้วย ช่วงที่เรียนทางสถาบันส่งเสริมให้นักศึกษาไปสอบ CFA
- คุณสมบัติผู้สมัคร ป.ตรีสาขาไหนก็ได้ เพราะก่อนเรียนจะมีการปรับพื้นฐาน แต่ต้องการคะแนน GMAT หรือ TOFEL หรือ สอบกับสถาบัน
- เปิดรับปลายเดือน มีนาคม 57 รับไม่เกิน 30 คน ต่อปี
- หลักสูตรของ FIRM นั้นเราตั้งมาตรงกับการสอบ CFA ตั้งแต่แรก ซึ่งสถาบันในเมืองนอกนั้นบางหลักสูตรบางสถาบันไม่ตรงตั้งแต่แรกแต่พยายามมาปรับให้ใกล้เคียงทีหลัง
- คนเก่งที่ไม่มีเงิน NIDA ตั้งทุน 6 ทุนต่อรุ่น ที่ไม่เสียค่าหน่วยกิต
- เรียนนิด้าแล้วจะมีอนาคตที่ดีไหม อะไรที่ทำให้มั่นใจ
1.สถาบัน NIDA เป็นสถาบันที่มีชื่อเสียง MBA ที่แรกของประเทศ
2.CFA เป็นใบการันตีหากสอบได้
3.NIDA เป็นสถาบัน 1 ใน 2 สถาบันของประเทศที่มี AACSB (ซึ่งใช้เวลา 6 ปี)
ดร.สมจินต์ ศรไพศาล :
- CFA สำคัญกับนักลงทุนเพราะนักลงทุนก็ต้องนำข้อมูลเพื่อจะตัดสินใจในการลงทุน
- CFA สำคัญกับกองทุนรวม นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ และบริษัทหลักทรัพย์ ในการบริหารหนี้และการระดมทุน
- ความรู้ทั่วไปของหลักสูตรอื่นๆจะกว้างๆ แต่ CFA เป็นความรู้ที่แคบลงมาแต่เจาะลึกและทันสมัยทั้ง 7 วิชา แบะเนื้อหาสามารถใช้ได้จริงเสมอ
- เวลาบริษัทเลือกคนจะเลือกคนที่เป็น CFA ก่อนเพราะ CFA เป็นใบการันตีว่า คนที่มีนั้นมีความทุ่มเท อดทน มีความมุ่งมั่น และใจรัก
- ในการสอบ CFA จะมีวิชาจรรยาบรรณอยู่ด้วยซึ่งเป็นเรื่องที่ดีเพราะนักการเงินอาชีพที่มีตำแหน่งสูงระดับหนึ่ง จะมีช่องทางที่จะสามารถยักยอกเงินของลูกค้าหรือบริษัทได้ แต่ด้วยจรรยาบรรณเราจะไม่ทำเด็ดขาดและสนับสนุนให้บ้านเมืองเป็นเช่นนี้ด้วยเช่นกัน
ตัวอย่างที่ชัดเจน ตัวอย่างหนึ่ง มีนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ที่จะออกผลวิจัยให้นักลงทุน เมื่อศึกษาแล้วพบว่าบริษัทนั้นควร Sell-Hold แต่บริษัทนั้นมีส่วนได้เสียกับบริษัทที่ตนทำงานอยู่ CFA ก็ต้องกล้าที่จะออกผลวิจัยเช่นนั้น
- CFA สอนให้เราวิเคราะห์ตลาด
- CFP เน้นวิเคราะห์ลูกค้า แนะนำการลงทุนให้ลูกค้าเพื่อความเหมาะสม
- FRM การวัดความเสี่ยง การประเมินความเสี่ยง และผลกระทบต่าง ๆ
- สาเหตุที่เปลี่ยนอาชีพมาสู่เส้นทางการเงิน เพราะช่วงปี 1988 อาชีพการเงินบูมมาก และมีสิทธิ์เลือกไปฝึกงานระหว่าง การเงินและเทคโนโลยี ซึ่งก็เลือกการเงินเพราะเห็นโอกาสมากกว่า
- 3 ช สำหรับความสำเร็จของอาชีพในเส้นทางการเงิน
1.ชื่นชม ชอบจริงๆ เช่น ติดตามตลาดหุ้นบ่อย ชอบอ่านหนังสือเกี่ยวกับการเงิน ชอบอ่านข่าวเกี่ยวกับการเงิน
2.เชี่ยวชาญ มีการสอบ CFA หรือมีการไปเรียนเพิ่มเติมเช่นหลักสูตร FIRM
3.ชอบธรรมมะ เป็นคนที่มีความมั่นคงในจิตใจ ชอบความถูกต้อง รับผิดชอบต่อวิชาชีพ เพราะธุรกิจทางการเงินเป็นธุรกิจของความเชื่อมั่น
คุณเกียรติศักด์ สิริรัตนกิจ :
- เคยเป็นวิศวะเครื่องกลออกแบบมาก่อน เริ่มจากลงทุนในตลาดหุ้น
- ช่วงที่สอบ CFA ต้องทุ่มเทมาก หนังสือหนาหลายเล่ม และถ้าศึกษาต้องใช้เวลาในการอ่านหนังสือทั้งหมด 250 ชม. แต่ถ้าเรียนหลักสูตรของ NIDA อาจจะใช้เวลาในการอ่านน้อยกว่าเพราะการเรียนของ MBA NIDA เนื้อหาของ MBA ควบคุม CFA ทั้ง 3 Lv.
- อาชีพที่บังคับว่าต้องมี CFA
ผู้จัดการกองทุน CFA LV.3
นักวิเคราะห์ตราสารอนุพันธ์ CFA LV.2
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ LV.1
- ค่าสอบต่อ CFA ต่อ 1 Lv. = 30,000 บาท
- CFA และ FRM เป็นทักษะที่สนับสนุนช่วยซึ่งกันและกัน เพราะ CFA จะเป็นความรู้ของการเงินภาพรวมและ FRM จะเป็นการวิเคราะห์การมองความเสี่ยง
- FRM จะสามารถมองความเสี่ยงได้ทั้งของลูกค้าที่เราบริหารหรือของตัวบริษัทที่เราทำงานอยู่ได้ดียิ่งขึ้น
- เมย์แบงก์ กิมเอ็ง ช่วงแรก มี CFA น้อยมากปัจจุบันมีอยู่ 8 คน และ FRM มีแค่ 2 คน
ดร.ไพบูลย์ :
เมื่อก่อนมี Ph.D ห้อยท้ายชื่อ เท่ห์มากปัจจุบัน CFA,CPA,FRM,CFP เท่ห์กว่า
การสอบ CFA แพงแต่ก็มีทุนต่าง ๆในการสอบมากมายเช่น
1.บริษัทหลักทรัพย์มีทุนให้ไปสอบ
2.พนักงานในตลาดหลักทรัพย์มีทุนในการสอบ
3.MBA NIDA ถ้าสอบผ่านสามารถมาเบิกค่าใช้จ่ายได้
- (บ่องตง) ความรู้ของ MBA NIDA ตรงกับเนื้อหาของ CFA ทั้ง 3 Lv.
- หลักสูตร FIRM เป็นหลักสูตรที่มีสถิติที่สูงที่สุดในโลกในการสอบ CFAเพราะมีโอกาสการสอบสูงสุดอยู่ 100 % (เนื่องจากรุ่นนั้นมีคนไปสอบคนเดียวและสอบติด 55+)
- เสาร์ 29 มีนาคม 2557 มี Oper house เปิดบ้าน NIDA ให้ดูว่าหลักสูตรแต่ละหลักสูตรดีอย่างไร
อ.เสน่ห์ :
- มืออาชีพ คือ ทำจริงจังทำเป็นอาชีพ และมีหลักการชัดเจน
- สอบถาม คุณเกียรติศักด์ เนื่องจากเป็น FRM สอบถามว่า อนุพันธ์ กับ อนุภรรยาอันไหนเสี่ยงกว่ากัน 555+)
- 7 อาชีพที่ AEC ยอมรับ 1.หมอ 2. พยาบาล 3. ทันตแพทย์ 4. วิศวะ
5. บัญชี 6 นักสำรวจ 7.มัคคุเทศ แต่ไม่มีนักการเงินเป็นปัญหาหรือไม่?
- มีผู้ทำสำรวจ 60 ประเทศที่ไม่ได้มีภาษาอังกฤษเป็น ภาษาแม่ ประเทศไทยอยู่ลำดับที่ 55
คุณชนิตร ชาณชัยณรงค์ : นักการเงินทำงานข้ามประเทศมานานแล้ว CFA เป็นเสมือนพาสปอนของอาชีพการเงิน และต้องมี ภาษาอังกฤษ และ ความรู้ทางการเงินที่ดี
-3 ช สำหรับ แมงเม่า
1.ชอกซ้ำ
2.ชินชา
3.ชิว ๆ
ช่วงที่ 1 หัวข้อ "เส้นทางมืออาชีพการเงิน" By SixtyNine
* เป็นการสรุปครั้งแรกของผมนะครับ เนื่องจากครั้งนี้พี่ Big(i-salmon) ไม่ได้มา ผมจึงจดคร่าวๆมาสรุปแทน อาจผิดพลาดหรือไม่ครบถ้วนอย่างไรช่วยแก้ไขหรือเสริมได้นะครับ
แขกรับเชิญ
1.คุณชนิตร ชาณชัยณรงค์ CFA รองผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์
2.ดร.สมจินต์ ศรไพศาล CFA, CFP นายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน
3.คุณเกียรติศักด์ สิริรัตนกิจ CFA, FRM ผอ.อาวุโส ตราสารอนุพันธ์ เมแบงค์กิมเอ็ง
4.ผศ.ดร.ประดิษฐ์ วิธิศุภกร ผอ.โครงการ FIRM, NIDA BUSINESS SCHOOL
ผู้ดำเนินรายการ
ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา อ.เสน่ห์ ศรีสุวรรณ
ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา กล่าวเปิดงาน ว่า คุณชนิตร ชาณชัยณรงค์(คุณช้าง)เป็นคนมีพระคุณต่อรายการ Money Talk เพราะจัดหาสถานที่ให้ ให้เงิน และบางครั้งเป็นผู้ที่ช่วยติดต่อคนมาพูดด้วย (MoneyTalk จะอยู่ไม่ได้ถึงวันนี้ถ้าไม่มีคุณช้าง)
อ.เสน่ห์เกริ่นเรื่องที่อ.เสน่ห์ เกษียณงานแล้ว และจะมีการให้สัมภาษณ์ประวัติของอ.เองเร็วๆนี้ในรายการ Moneytalk
ย้ายจากสายงานวิศวะมาเส้นทางการเงินได้อย่างไร ???
CFA,CPF,FRM คืออะไรและสำคัญอย่างไร???
หลักสูตร FIRM ของ NIDA คืออะไร???
คุณชนิตร ชาณชัยณรงค์ :
- ย้อนไป 20 ปีก่อน เคยเป็นวิศวะกรไฟฟ้าในโรงงาน และได้มามีโอกาสคุยกับ ดร.สมจินต์ ศรไพศาล ประมาณ 3 ชม. พอคิดแล้วมันไม่รุ่งเพราะทำต่อไปเรื่อย ๆอย่างมากก็เป็นได้แค่ผู้จัดการโรงงาน จึงเปลี่ยนวิธีคิด เรื่องการเงิน เพราะการเงินไม่ใช่เรียนอย่างเดียว แต่ต้องมีการประยุกต์ให้ใช้ได้ด้วย
- CFA ที่ขึ้นทะเบียนในประเทศไทยทั้งหมดประมาณ 700 คน(Lv.3) ยังไงการรับคนเข้าทำงานเราก็เลือกคนที่มี CFA ก่อน(ถ้ามี)เพราะต้องมีความอดทนสูง
- CFA สอนให้วิเคราะห์หลายอย่างไม่ใช่หุ้นอย่างเดียว เช่น หุ้น,เงินสกุลต่างๆ ,ตราสารต่างๆ,อสังหาริมทรัพย์
- ตกใจเมื่อได้ไปติดต่อทำงานที่กัมพูชา ประเทศกัมพูชามีการส่งเสริมให้ทุนในการสอบ CFA และปัจจุบันเวียดนาม คาดว่ามีผู้ที่สอบผ่านเยอะกว่าประเทศไทยแล้ว
ผศ.ดร.ประดิษฐ์ วิธิศุภกร :
- CFA สามารถทำได้หลายอาชีพในเส้นทางการเงินเช่น นักวิเคราะห์หลักทรัพย์,ผู้จัดการกองทุนรวม,บริษัทหลักทรัพย์
- หากเลือกการลงทุนที่ดีนั้น เลือกระหว่าง บ้าน,รถ,หรืออื่น ๆ จะเห็นว่าการศึกษาเป็นการลงทุนคุ้มค่าที่สุด และ ผลตอบแทนดีที่สุด
- หลักสูตร Firm (Financial Investment and Risk Management) ของนิด้าเปิดมาได้ 7 ปี หลักสูตร Firm ได้มีการวางหลักสูตรให้ใกล้เคียงกับ CFA,FRM มากที่สุด ระยะเวลาเรียน 18 เดือน เรียนเสาร์-อาทิตย์ เรียนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด ค่าหน่วยกิต 9,000 บาท/หน่วยกิต รวม 3 แสนกว่าบาท ซึ่งจะมีค่ากิจกรรมอีกประมาณ 1แสนกว่าบาท และมีการบินไปเรียนที่ U.Top 10 อเมริกาด้วย ช่วงที่เรียนทางสถาบันส่งเสริมให้นักศึกษาไปสอบ CFA
- คุณสมบัติผู้สมัคร ป.ตรีสาขาไหนก็ได้ เพราะก่อนเรียนจะมีการปรับพื้นฐาน แต่ต้องการคะแนน GMAT หรือ TOFEL หรือ สอบกับสถาบัน
- เปิดรับปลายเดือน มีนาคม 57 รับไม่เกิน 30 คน ต่อปี
- หลักสูตรของ FIRM นั้นเราตั้งมาตรงกับการสอบ CFA ตั้งแต่แรก ซึ่งสถาบันในเมืองนอกนั้นบางหลักสูตรบางสถาบันไม่ตรงตั้งแต่แรกแต่พยายามมาปรับให้ใกล้เคียงทีหลัง
- คนเก่งที่ไม่มีเงิน NIDA ตั้งทุน 6 ทุนต่อรุ่น ที่ไม่เสียค่าหน่วยกิต
- เรียนนิด้าแล้วจะมีอนาคตที่ดีไหม อะไรที่ทำให้มั่นใจ
1.สถาบัน NIDA เป็นสถาบันที่มีชื่อเสียง MBA ที่แรกของประเทศ
2.CFA เป็นใบการันตีหากสอบได้
3.NIDA เป็นสถาบัน 1 ใน 2 สถาบันของประเทศที่มี AACSB (ซึ่งใช้เวลา 6 ปี)
ดร.สมจินต์ ศรไพศาล :
- CFA สำคัญกับนักลงทุนเพราะนักลงทุนก็ต้องนำข้อมูลเพื่อจะตัดสินใจในการลงทุน
- CFA สำคัญกับกองทุนรวม นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ และบริษัทหลักทรัพย์ ในการบริหารหนี้และการระดมทุน
- ความรู้ทั่วไปของหลักสูตรอื่นๆจะกว้างๆ แต่ CFA เป็นความรู้ที่แคบลงมาแต่เจาะลึกและทันสมัยทั้ง 7 วิชา แบะเนื้อหาสามารถใช้ได้จริงเสมอ
- เวลาบริษัทเลือกคนจะเลือกคนที่เป็น CFA ก่อนเพราะ CFA เป็นใบการันตีว่า คนที่มีนั้นมีความทุ่มเท อดทน มีความมุ่งมั่น และใจรัก
- ในการสอบ CFA จะมีวิชาจรรยาบรรณอยู่ด้วยซึ่งเป็นเรื่องที่ดีเพราะนักการเงินอาชีพที่มีตำแหน่งสูงระดับหนึ่ง จะมีช่องทางที่จะสามารถยักยอกเงินของลูกค้าหรือบริษัทได้ แต่ด้วยจรรยาบรรณเราจะไม่ทำเด็ดขาดและสนับสนุนให้บ้านเมืองเป็นเช่นนี้ด้วยเช่นกัน
ตัวอย่างที่ชัดเจน ตัวอย่างหนึ่ง มีนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ที่จะออกผลวิจัยให้นักลงทุน เมื่อศึกษาแล้วพบว่าบริษัทนั้นควร Sell-Hold แต่บริษัทนั้นมีส่วนได้เสียกับบริษัทที่ตนทำงานอยู่ CFA ก็ต้องกล้าที่จะออกผลวิจัยเช่นนั้น
- CFA สอนให้เราวิเคราะห์ตลาด
- CFP เน้นวิเคราะห์ลูกค้า แนะนำการลงทุนให้ลูกค้าเพื่อความเหมาะสม
- FRM การวัดความเสี่ยง การประเมินความเสี่ยง และผลกระทบต่าง ๆ
- สาเหตุที่เปลี่ยนอาชีพมาสู่เส้นทางการเงิน เพราะช่วงปี 1988 อาชีพการเงินบูมมาก และมีสิทธิ์เลือกไปฝึกงานระหว่าง การเงินและเทคโนโลยี ซึ่งก็เลือกการเงินเพราะเห็นโอกาสมากกว่า
- 3 ช สำหรับความสำเร็จของอาชีพในเส้นทางการเงิน
1.ชื่นชม ชอบจริงๆ เช่น ติดตามตลาดหุ้นบ่อย ชอบอ่านหนังสือเกี่ยวกับการเงิน ชอบอ่านข่าวเกี่ยวกับการเงิน
2.เชี่ยวชาญ มีการสอบ CFA หรือมีการไปเรียนเพิ่มเติมเช่นหลักสูตร FIRM
3.ชอบธรรมมะ เป็นคนที่มีความมั่นคงในจิตใจ ชอบความถูกต้อง รับผิดชอบต่อวิชาชีพ เพราะธุรกิจทางการเงินเป็นธุรกิจของความเชื่อมั่น
คุณเกียรติศักด์ สิริรัตนกิจ :
- เคยเป็นวิศวะเครื่องกลออกแบบมาก่อน เริ่มจากลงทุนในตลาดหุ้น
- ช่วงที่สอบ CFA ต้องทุ่มเทมาก หนังสือหนาหลายเล่ม และถ้าศึกษาต้องใช้เวลาในการอ่านหนังสือทั้งหมด 250 ชม. แต่ถ้าเรียนหลักสูตรของ NIDA อาจจะใช้เวลาในการอ่านน้อยกว่าเพราะการเรียนของ MBA NIDA เนื้อหาของ MBA ควบคุม CFA ทั้ง 3 Lv.
- อาชีพที่บังคับว่าต้องมี CFA
ผู้จัดการกองทุน CFA LV.3
นักวิเคราะห์ตราสารอนุพันธ์ CFA LV.2
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ LV.1
- ค่าสอบต่อ CFA ต่อ 1 Lv. = 30,000 บาท
- CFA และ FRM เป็นทักษะที่สนับสนุนช่วยซึ่งกันและกัน เพราะ CFA จะเป็นความรู้ของการเงินภาพรวมและ FRM จะเป็นการวิเคราะห์การมองความเสี่ยง
- FRM จะสามารถมองความเสี่ยงได้ทั้งของลูกค้าที่เราบริหารหรือของตัวบริษัทที่เราทำงานอยู่ได้ดียิ่งขึ้น
- เมย์แบงก์ กิมเอ็ง ช่วงแรก มี CFA น้อยมากปัจจุบันมีอยู่ 8 คน และ FRM มีแค่ 2 คน
ดร.ไพบูลย์ :
เมื่อก่อนมี Ph.D ห้อยท้ายชื่อ เท่ห์มากปัจจุบัน CFA,CPA,FRM,CFP เท่ห์กว่า
การสอบ CFA แพงแต่ก็มีทุนต่าง ๆในการสอบมากมายเช่น
1.บริษัทหลักทรัพย์มีทุนให้ไปสอบ
2.พนักงานในตลาดหลักทรัพย์มีทุนในการสอบ
3.MBA NIDA ถ้าสอบผ่านสามารถมาเบิกค่าใช้จ่ายได้
- (บ่องตง) ความรู้ของ MBA NIDA ตรงกับเนื้อหาของ CFA ทั้ง 3 Lv.
- หลักสูตร FIRM เป็นหลักสูตรที่มีสถิติที่สูงที่สุดในโลกในการสอบ CFAเพราะมีโอกาสการสอบสูงสุดอยู่ 100 % (เนื่องจากรุ่นนั้นมีคนไปสอบคนเดียวและสอบติด 55+)
- เสาร์ 29 มีนาคม 2557 มี Oper house เปิดบ้าน NIDA ให้ดูว่าหลักสูตรแต่ละหลักสูตรดีอย่างไร
อ.เสน่ห์ :
- มืออาชีพ คือ ทำจริงจังทำเป็นอาชีพ และมีหลักการชัดเจน
- สอบถาม คุณเกียรติศักด์ เนื่องจากเป็น FRM สอบถามว่า อนุพันธ์ กับ อนุภรรยาอันไหนเสี่ยงกว่ากัน 555+)
- 7 อาชีพที่ AEC ยอมรับ 1.หมอ 2. พยาบาล 3. ทันตแพทย์ 4. วิศวะ
5. บัญชี 6 นักสำรวจ 7.มัคคุเทศ แต่ไม่มีนักการเงินเป็นปัญหาหรือไม่?
- มีผู้ทำสำรวจ 60 ประเทศที่ไม่ได้มีภาษาอังกฤษเป็น ภาษาแม่ ประเทศไทยอยู่ลำดับที่ 55
คุณชนิตร ชาณชัยณรงค์ : นักการเงินทำงานข้ามประเทศมานานแล้ว CFA เป็นเสมือนพาสปอนของอาชีพการเงิน และต้องมี ภาษาอังกฤษ และ ความรู้ทางการเงินที่ดี
-3 ช สำหรับ แมงเม่า
1.ชอกซ้ำ
2.ชินชา
3.ชิว ๆ