หน้า 1 จากทั้งหมด 1

'อยากรวยต้องรอ'สเต็ปเล่นหุ้น 'เปา-ปราการ'

โพสต์แล้ว: จันทร์ มี.ค. 17, 2014 9:14 am
โดย pakapong_u
'อยากรวยต้องรอ'สเต็ปเล่นหุ้น 'เปา-ปราการ'
Source - เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ (Th)

Monday, March 17, 2014 07:19


ชาลินี กุลแพทย์
ทั้งพอร์ตมีหุ้นแค่ 4 ตัว ทุกธุรกิจล้วนแล้วแต่มี "ทีเด็ด" !!! "ปราการ สมใจเพ็ง" ชายวัย 39 เจ้าของพอร์ตหุ้น 8 หลัก แง้มความลับ... จากนีเน้นแสวงหา "หุ้นถูก" ทีทำ "ธุรกิจน่าเบือ" ถ้าเจอพร้อมสอยทังหุ้นไทยและหุ้นอเมริกา
แนะหากการเมืองอึมครึมถึงกลางปี '57 ได้เวลาเลือก "ซือของถูก"
"เปา-ปราการ สมใจเพ็ง" นักลงทุนแนว VI เจ้าของหนังสือเรื่อง Out of My Mind on Investment เขาเริ่มต้นลงทุนในตลาดหุ้น ด้วยทุนเพียง 50,000 บาท ในช่วงที่ยังนั่งทำงานเป็นพนักงานในบริษัท มาลี เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของบริษัท มาลีสามพราน จำกัด (มหาชน) หรือ MALEE
"ชายวัย 39 ปี" ดีกรีปริญญาตรี คณะ บริหารธุรกิจ สาขาการตลาด มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ และปริญญาโท MBA ประเทศสหรัฐอเมริกา นิยมเปลี่ยนงานทุกๆ 2 ปี ตามความเชื่อที่ว่า "เปลี่ยนงานเหมือนการเรียนรู้" เขาหยุดชีวิตมนุษย์เงินเดือนไว้ที่ฝ่ายกลยุทธ์การตลาดในเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ ซีพี หลังนั่งทำงานมา 3 ปี
"เจ้าของพอร์ตหลักสิบล้าน" เริ่มต้นลงทุน ในตลาดหุ้นช่วงปี 2547 ตามคำชักชวนของน้องชาย วัย 36 ปี คนเดียวของเขา แรกเริ่ม "เปา" ลงทุนตามคำแนะนำที่อยู่ในหนังสือ The Intelligent Investor ที่เขียนโดยนักลงทุนชื่อดัง Benjamin Graham ภายในหนังสือจะสอนให้ซื้อหุ้นที่มีมูลค่าหุ้นทางบัญชีต่อหุ้น หรือ Book Value และอัตราส่วนราคาต่อกำไร หรือ ค่า P/E ในอัตราต่ำๆ ที่สำคัญต้องเป็นบริษัทที่มีแบรนด์เป็นที่รู้จักในอันดับต้นๆ ของอุตสาหกรรม
หุ้น ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ หรือ SITHAI จึงกลายเป็นตัวที่เขาเลือกซื้อ ผลปรากฏว่า "ได้กำไรแต่ไม่เปรี้ยงป้างหลายเด้ง" เขาเพียรหากลยุทธ์ที่เหมาะสมกับจริตของตัวเองมานานถึง 3 ปี "วันนี้ผมได้เปลี่ยนกลยุทธ์การลงทุนใหม่แล้ว" "เปา-ปราการ" บอกกับ "กรุงเทพธุรกิจ Biz Week"
ตอนนี้ได้ผสมผสานการลงทุนระหว่างแนวของ "วอร์เรน บัฟเฟตต์" กับ "ชาร์ลี มังเกอร์" รองประธาน "เบิร์คไชร์ ฮาแธเวย์"ในฐานะคู่หูของ "วอร์เรน บัฟเฟตต์" โดยจะมองหาหุ้นที่มีคุณภาพดี แต่ถูกปล่อยออกมาในราคาที่ถูก เพราะคนมองมันในแง่ไม่ดีทั้งๆที่ พื้นฐานดีมาตลอด เรื่องนี้ถือเป็นอันดับแรกที่จะมองหา หุ้นลักษณะนี้มักมีราคาถูกในภาวะหนึ่ง
ส่วนอัตรามูลค่าหุ้นทางบัญชีต่อหุ้น หรือ Book Value และอัตราส่วนราคาต่อกำไร หรือ ค่า P/E จะใช้เป็นเพียงส่วนประกอบหนึ่งเท่านั้น แต่บางครั้ง 2 วิธีนี้อาจเป็นตัวนำพามาเจอหุ้นตัวเดียวกัน สมัยก่อนการดูมูลค่าหุ้นทางบัญชีต่อหุ้น และอัตราส่วนราคาต่อกำไรเป็นเหมือนตะแกรงร่อน แต่สมัยนี้ไม่ค่อยนิยมดูอัตราเหล่านั้น เท่าไร เพราะอยากดูเรื่องคุณภาพมากกว่า
"การลงทุนแนวใหม่ เน้นลงทุนระยะยาว 3-5 ปีขึ้นไป"
หากหุ้นของเราปรับตัวลดลงต่ำกว่าราคาต้นทุนจะชิงขายก่อนหรือไม่?เขา ตอบว่า ถ้าพื้นฐานของหุ้นตัวนั้นไม่เปลี่ยน ต่อให้หุ้นขึ้นไปสูงๆ หรือลงมาต่ำๆ ผมจะไม่ขาย ตรงข้ามหากมีตังค์จะเก็บเพิ่มด้วยซ้ำ ถามต่อว่า หากหุ้นตัวนั้นลดลงมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ยังจะมีความคิดเช่นเดิมหรือไม่? "เปา" สวนกลับทันที "ไม่ขาย" ไม่มีทาง "ตัดขาดทุน" หรือ Cut loss เด็ดขาด ตราบใดที่พื้นฐานไม่เปลี่ยน เขาย้ำ
"ผมจะมีช่วงราคาที่เหมาะสมของหุ้น ตัวนั้นๆ อยู่ในใจ" เหมือนที่ "ชาร์ลี บังเกอร์" พูดถึง เรื่องระบบนิเวศทางธุรกิจว่า เขามองธุรกิจเป็นระบบนิเวศ และมองว่าจะมีผู้เล่นไหนในระบบนิเวศที่จะคงอยู่ตลอดไป หากหาเจอเราจะมีความมั่นใจสูงมากในการบอกว่า บริษัทนี้มีพื้นฐานดี ต่อให้ราคาตกเราจะอยู่ด้วยความสบายใจ แถมมีเงินจะซื้อเพิ่ม
ช่วงครึ่งปีแรกของปี 2556 ผมได้กำไรจากการลงทุนประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ แต่สุดท้าย ณ สิ้นปี ดัน "ขาดทุน" เพราะตลาดหุ้นไม่ดี ตอนนั้นมีหุ้น 4 ตัว ทุกวันนี้ยังคงนอนอยู่ในพอร์ตเช่นเดิม ขอไม่บอกชื่อหุ้นนะ
"ผมค่อนข้างแอนตี้คนที่ชอบบอกว่า ตัวเองถือหุ้นอะไร" บอกได้เพียงว่า มีกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัย กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ประเภทศูนย์การค้า กลุ่มขนส่ง และกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ถามว่า ทำไมถึงสนใจหุ้นเหล่ากลุ่มนี้ เขาบอกว่า อย่าง "หุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัย" ซื้อมาตั้งแต่เดือนพ.ค. 2553 ช่วงนั้น มีปัญหาเรื่องการเมือง ตอนนั้นทาง ศอฉ.ประกาศ จะอายัดธุรกรรมทางการเงินของบริษัทที่ทางการ สงสัยว่า จะเป็นท่อน้ำเลี้ยงให้กับม็อบในขณะนั้น ซึ่งหุ้นอสังหาริมทรัพย์ตัวนั้นถูกทางการตั้งข้อสงสัย ส่งผลให้ราคาหุ้นปรับตัวนี้ลดลงอย่างหนัก
"แต่เมื่อผมเข้าไปดูข้อมูลพบว่า บริษัทยังคงมีโมเดลธุรกิจที่ดี มีผลกำไรดี บริษัทมีธรรมาภิบาล และธุรกิจไม่ใช่ธุรกิจสัมปทาน ฉะนั้นความเสี่ยงลักษณะนี้จะเป็นเพียงระยะสั้นเท่านั้น ผมจึงตัดสินใจซื้อ จากวันนั้นถึงวันนี้ ยังไม่ได้ขายเลย ต้นทุนเฉลี่ยประมาณ 0.50 บาท (พาร์ 1 บาท) วันนี้ราคาหุ้นขึ้นมาหลายเท่าตัวแล้ว"
ตอนนั้นราคาหุ้นตัวนี้อยู่ระดับ 10 บาท (พาร์ 10 บาท) ครั้งหนึ่งเคยมองว่า ราคาไม่ควรต่ำกว่า 30 บาท (พาร์ 10 บาท) แต่ ณ วันนี้ ราคาเหมาะสม ควรอยู่ที่ระดับ 12 บาท (พาร์ 1 บาท) หากนำราคา หุ้นปัจจุบัน (พาร์ 1 บาท) มาเทียบราคาหุ้นเมื่อครั้ง ยังพาร์ 10 บาท ราคาเหมาะสมคือ 120 บาท เมื่อก่อนยอดขาย 8,000 ล้านบาท ในปี 2557 มองกันเป็น 15,000 ล้านบาท โอกาสขึ้นไป 20,000 ล้านบาท ภายใน 3 ปีข้างหน้าน่าจะเป็นไปได้ หากการเมืองจบ
"ถ้าพื้นฐานหุ้นตัวนี้ยังคงดีเช่นเดิม ผมจะ ไม่ยอมขาย ตราบใดที่ราคายังไปไม่ถึง 12 บาท"
หากลงทุนผิดพลาด ราคาหุ้นไม่ขึ้นไปตามคิด แต่หุ้นตัวนั้นยังคงให้เงินปันผลประมาณ 6 เปอร์เซ็นต์ ผมยังคงอยู่กับหุ้นตัวนั้นต่อไป เพียงแต่เราต้องหมั่นประเมินมูลค่าเหมาะสมของบริษัทเสมอ หากต่ำกว่าราคาตลาด เราต้องขายไปหาตัวอื่นดีกว่า
"เปา" เล่าต่อ หุ้นตัวต่อไป คือ กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ประเภทศูนย์การค้า ซื้อมาในช่วงปี 2553 หลังเห็นเขากำลังจะเปิดโครงการ ย่านบางนา ซึ่งจะทำให้พื้นที่เช่าของบริษัทเพิ่มขึ้น
อีกเท่าตัว แต่ช่วงแรกของการเปิดโครงการอาจมีเรื่องค่าใช้จ่ายค่อนข้างเยอะทำให้กำไรดูไม่ดี ตอนนั้นยอมรับเรื่องนี้ได้ เพราะเราเชื่อว่าเมื่อเปิดบริการไปแล้ว 3 ปี พื้นที่เช่าคงเพิ่มขึ้นอีก 50 เปอร์เซ็นต์ ฉะนั้นเป็นไปได้ที่มูลค่าเหมาะสมของหุ้นตัวนั้นจะเพิ่มขึ้นอีก 50 เปอร์เซ็นต์
ต้นทุนหุ้นตัวนี้เท่าไรจำไม่ได้จริงๆ เพราะซื้อหลายรอบ ทุกวันนี้ยังคงถือลงทุนเหมือนเดิม ตอนนี้ราคาหุ้นเฉลี่ย 6 บาทแล้ว ล่าสุดบริษัทออกมาให้ข่าวว่า มีแผนจะสร้างโครงการแห่งใหม่ ย่านรังสิต และบางใหญ่ ฉะนั้นคงถือต่อไปเรื่อยๆ หากเขายังยืนยันจะสร้าง 2 โครงการใหม่ "ราคาไม่ขึ้นไปถึง 30 บาท ผมไม่ขาย"เขายืนยัน
ทุกครั้งที่ลงทุน มักมองเรื่อง "Margin of Safety" หรือ ส่วนเผื่อเพื่อความปลอดภัย มากถึง "ร้อยเปอร์เซ็นต์" นั่นเป็นเพราะเราอยากได้กำไร 3-5 เท่า ซึ่งจริงๆจะได้หรือเปล่าไม่รู้ ฉะนั้นเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่ว่า "อาจ คิดผิด" จึงต้องตั้ง Margin of Safety สูงๆ เมื่อพลาดอย่างน้อยจะได้ไม่ขาดทุน
"อาวุธประจำกายของผม" คือ "เวลา" ผมรอได้เต็มที 3 ปี แถมยังทำใจไว้พร้อมแล้วว่า ระหว่างทางอาจมีทั้งเรื่องดีและไม่ดีเกิดขึ้น หากเรื่องดีๆ มาเร็วกว่ากำหนดถือว่า "โชคดี" ผมไม่เคยมองหุ้นหนึ่งตัวในช่วงสั้นๆ และไม่เคย มองยาวกว่านี้
เขา เล่าถึงหุ้นต่อไป ข้อดีของ "กลุ่มขนส่ง" คือ บริษัทแห่งนี้นอกจากจะไม่มีปัญหาเรื่องลูกค้า เพราะมีผู้ถือหุ้น ใหญ่เป็นโรงงานขนาดใหญ่ๆ แล้ว เรายังชอบที่ เขาเป็น "ธุรกิจวอลุ่ม" หมายความว่า สินค้าตลาดโลก จะขึ้นลงไม่เกี่ยวกับบริษัท แต่จะเกี่ยวว่า สินค้ามีการผลิตเยอะหรือไม่ ที่ผ่านมากำลังผลิตสินค้าดังกล่าวเพิ่มขึ้นตลอดจาก 90 ตัน เป็น 100 ตัน
นอกจากนั้นธุรกิจของหุ้นตัวนี้ ไม่ต้องใช้เงินลงทุนเยอะแยะ ทำให้เขามีเงินเหลือ ที่ผ่านมา เขานำเงินไปลงทุนในบริษัทย่อย เพื่อทำสินค้าชนิดอื่นๆ พร้อมผลักดันเข้าตลาดหลักทรัพย์ ผมติดตามหุ้นตัวนี้มาตลอด เขาเติบโตมาเรื่อยๆ จริงๆ ธุรกิจของเขาค่อนข้างน่าเบื่อมาก วอลุ่มซื้อขายน้อยสุดๆนักลงทุนไม่ค่อยเหลียวแล แต่ผมชอบ เขาสถบ ซื้อหุ้นตัวนี้มาตั้งแต่ปี 2552 ต้นทุนจำไม่ได้ เพราะเข้าออกหลายรอบ ตั้งใจจะถือไปยาวๆ ราคาเหมาะสมหุ้นตัวนี้ไม่มี ขอแค่ ผลประกอบการโตทุกปีพอใจแล้ว
หลังเขานำบริษัทลูกเข้าตลาดหุ้น ผมมีโอกาสซื้อลงทุนหุ้นบริษัทลูกนิดหน่อย แต่ตอนนี้อยู่ในจังหวะที่มีปัญหาชั่วคราว เพราะบริษัทลูกมีแผนจะขยายกำลังการผลิตอีก 2 เท่า ฉะนั้นกำไรในปี 2556 อาจยังไม่ดี หลังต้องนำเงินไปลงทุนเครื่องจักร แต่ถ้าติดตั้งเสร็จในสิ้นปี 2556 จะเห็นกำลังผลิตเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว
"ทุกวันนี้จะยังวนเวียนอยู่ในหุ้น 4 ตัว หากหุ้นตัวไหนให้ "Margin of Safety" เยอะกว่าจะย้ายไปอยู่ตรงนั้น" "หุ้นตัวสุดท้าย" คือ กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร บริษัทแห่งนี้ทำทั้งธุรกิจอินเทอร์เน็ต และธุรกิจการให้บริการเสริมผ่านโทรศัพท์มือถือ ซื้อหุ้นตัวนี้มา 4-5 ปีแล้ว เข้าออกหลายรอบแล้ว ข้อดีของเขา คือ มีรายได้ที่แน่นอน และธุรกิจยังมีช่องว่างการเติบโต อีกมาก แถมไม่ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก ฉะนั้นอนาคตเขาอาจมีการเติบโตของกำไร มากขึ้นและอาจจ่ายเงินปันผลได้มากถึง 70-80 เปอร์เซ็นต์
อุตสาหกรรมที่น่าสนใจสำหรับ "เปา" คือ "อุตสาหกรรมน่าเบื่อ" ที่ไม่มีใครสนใจ แต่เป็นธุรกิจที่ต้องอยู่คู่กับชีวิตเราตลอดไป แถมยังเติบโตทุกปี เพียงแต่ต้องแลกมาด้วยความอดทน และความอึด เราต้องทนอยู่กับหุ้นที่ไม่มีสภาพคล่องให้ได้ ตอนนี้ยังไม่เล็งซื้อหุ้นตัวไหนเพิ่มเติม เพราะราคาแพงเกินไป ที่สำคัญความขยันของเราลดลง รอให้ราคาต่ำกว่านี้ก่อนค่อยว่ากัน
เมื่อก่อนเคยส่องราคาหุ้นตัวดังๆ เช่น กลุ่มค้าปลีก กลุ่มพลังงาน และกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ แต่ด้วยความที่เป็นหุ้นชื่อดังและมีความมั่นคงสูง ทำให้ไม่ค่อยเข้าไปศึกษาอะไรมากมาย เพราะจะรอให้ราคาต่ำกว่าพื้นฐานคงยากมาก ฉะนั้นการหันไปหา "หุ้นน่าเบื่อแต่ดี"น่าจะโอเคกว่า หุ้นประเภทนี้มักมาเมื่อ เกิดวิกฤติต่างๆ
"ผมไม่ได้หาหุ้นทุกวัน แต่มักใช้เวลาศึกษาทำความรู้จักไปพรางๆก่อน เมื่อมีปัจจัยอะไรบางอย่างดึงราคาหุ้นลงมา เราค่อยลงไปเข้มข้น กับมัน ผมไม่ค่อยรู้จักหุ้นตัวอื่นนอกจากหุ้นของตัวเอง"
ก่อนจะซื้อหุ้นสักตัวมักใช้เวลาศึกษานานเป็นปี ผมเป็นคนที่มีความอดทนสูงมาก นั่นคือ เหตุผลที่ทำให้พอร์ตไม่เคยขาดทุน การขาดทุนของเราหมายความว่า ราคาหุ้นออกมาไม่ตรงกับราคาประเมิน ปกติมักประเมินราคาใหม่ ทุกไตรมาส เพราะติดตามข่าวทุกวัน เวลาส่วนใหญ่หมดไปกับการหาข้อมูลอื่นๆ เช่น ดูภาพรวมธุรกิจ และหาแนวคิดใหม่ๆ เป็นต้น
"นิยามให้ตัวเองเป็น "นักลงทุนหา ของถูก" โดยหุ้นตัวนั้นต้องมีการเติบโตของกำไรต่อเนื่อง ไม่เน้นซื้อหุ้นขนาดใหญ่"
เขา บอกว่า อยากเห็นพอร์ตขยายตัวไม่ต่ำกว่าปีละ 15 เปอร์เซ็นต์ ตั้งการเติบโตแบบนี้ หลังดูจากสถิติตลาดหุ้นในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา พบว่า ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยปีละ 10 เปอร์เซ็นต์ ฉะนั้นเราควรตั้งเป้าหมายของเราให้ท้าทายกว่าค่าเฉลี่ย
คิดง่ายๆ หากพอร์ตเติบโตแบบนี้ทุกปี เมื่อผมอายุ 70 ปี มูลค่าการลงทุนคงขึ้นไปแตะระดับ "หมื่นล้านบาท" แต่เงินไม่ใช่เป้าหมายหลัก ธงผืนใหญ่ คือ การใช้ชีวิตอย่างมีความสุข วันนี้รวยหุ้นแต่ไม่ได้มีเงินใช้มากมาย เรายังคงอยู่อย่างประหยัด เพราะเงินส่วนใหญ่อยู่ในพอร์ต ผมจะพยายามคุมเงินปันผลให้อยู่ในระดับ 6 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ตทุกปี สุดท้ายอาจได้มากกว่าหรือน้อยกว่าแล้วแต่สถานการณ์ ส่วนใหญ่มักนำเงินปันผลมาใช้ในชีวิตประจำวัน หากเหลือจะนำไปลงทุนต่อ
เขา เล่าถึงสเต็ปต่อไปของการลงทุนว่า อยากลงทุนตลาดหุ้นต่างประเทศ โดยเฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกา แต่คงอีกสักพัก ตอนนี้เริ่มนำงบการเงินของบริษัทต่างๆ มา อ่านเล่นๆ ค่อนข้างยากพอควร ถามว่าหุ้น กลุ่มไหนน่าสนใจ บอกตรงๆ ยังไม่รู้เลย แต่ยังคงรูปแบบเดิม คือ "บริษัทน่าเบื่อ" เน้นจำพวกธุรกิจบริการ เป็นต้น หากจะลงทุน
จริงๆ คงต้องย้ายไปอยู่ที่โน้น (ยิ้ม)
"จากนี้จะขออยู่กับหุ้น เพื่อมีเวลาไปทำอย่างอื่น"
เรียกว่า ทำตามคนเก่งก็ว่าได้ ดูอย่าง "วอร์เรน" เขามักอยู่ห่างให้ไกลจากวอลล์สตรีท ขณะที่นักลงทุนบางคนที่ลงทุนในสหรัฐอเมริกายังหนีไปอยู่สวิสเซอร์แลนด์ ฉะนั้นหนังสือของคนไทยจะพยายามไม่อ่าน ไม่ใช่เขาไม่เก่ง เขาเก่ง แต่ผมไม่อยากได้รับอิทธิพลและวิธีคิดจากเขา เราต้องอยู่ให้ห่างจากความรู้สึกของคนอื่น อย่างสมัยนี้นักลงทุนไทยแห่ไปลงทุน ค้าปลีกกันหมด นั่นเป็นเพราะได้รับอิทธิพลนั่นเอง
เขา ปิดท้ายบทสนทนา ด้วยการวิเคราะห์ตลาดหุ้นในปี 2557 ว่า น่าจะไปได้ดี ถ้า แก้วิกฤติการเมืองได้ภายใน 6 เดือนแรก ของปี 2557 หากโครงการพื้นฐาน 2 ล้านล้าน ไม่เกิด แต่การเมืองจบ ควรดูหุ้นที่ทำธุรกิจอยู่ในกรุงเทพฯ
หากการเมืองอึมครึมไปจนถึงกลางปี 2557 ถือเป็นโอกาสในการเลือก "ซื้อของถูก" ฉะนั้นถ้าราคาลงต่ำกว่านี้ ผมอาจขอโบรกเกอร์เปิดบัญชีมาร์จิ้น เพื่อเก็บหุ้นปลายปี 2557 แต่คงต้องรอดูผลประกอบการในช่วงครึ่งปีแรกก่อน เพราะการลงทุนควรเน้นเรื่องความปลอดภัยก่อนกำไร "อาจารย์นิเวศน์" ยังเคยใช้บัญชีมาร์จิ้นในช่วงวิกฤติแฮมเบอร์ ตอนนั้น ผมไม่ใช้บัญชีมาร์จิ้น แต่ไปยืมเงินคนอื่นแทน ใครมีรับหมด ตอนคืนแถมให้อีก 10 เปอร์เซ็นต์ สุดท้ายเราโกยกำไรจากตลาดหุ้นได้เงินมาเกือบล้าน...
'อาวุธประจำกายของผม คือ เวลา ผมรอได้เต็มที่ 3 ปี แถมยังทำใจไว้แล้วว่า ระหว่างทางอาจมีทั้งเรื่องดีและไม่ดีเกิดขึ้น'--จบ--

ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ

Re: 'อยากรวยต้องรอ'สเต็ปเล่นหุ้น 'เปา-ปราการ'

โพสต์แล้ว: จันทร์ มี.ค. 17, 2014 3:22 pm
โดย kraikria
ขอบคุณครับ

Re: 'อยากรวยต้องรอ'สเต็ปเล่นหุ้น 'เปา-ปราการ'

โพสต์แล้ว: จันทร์ มี.ค. 17, 2014 5:57 pm
โดย OutOfMyMind
ผมอ่านที่ลงในกรุงเทพธุรกิจแล้วตกใจเหมือนกัน เขียนออกมาเหมือนผมเทพมาก เข้าใจว่ามันต้องตื่นเต้นจึงน่าอ่าน ต้องขอบคุณผู้เขียนที่ช่วยเชียรและส่งเสริม อย่างไรก็ตามตัวจริงผมไม่ได้เก่งอะไรเลยครับ แค่ทำตามที่อาจารย์แต่ละท่านสอนมา เท่านั้นเองครับ

Re: 'อยากรวยต้องรอ'สเต็ปเล่นหุ้น 'เปา-ปราการ'

โพสต์แล้ว: จันทร์ มี.ค. 17, 2014 6:16 pm
โดย ลูกหิน
ขอบคุณครับ

Re: 'อยากรวยต้องรอ'สเต็ปเล่นหุ้น 'เปา-ปราการ'

โพสต์แล้ว: อังคาร มี.ค. 18, 2014 1:39 am
โดย chewyVI
ขอบคุณมากครับ พี่เปาจริงใจมากครับ นับถือมากๆ

Re: 'อยากรวยต้องรอ'สเต็ปเล่นหุ้น 'เปา-ปราการ'

โพสต์แล้ว: อังคาร มี.ค. 18, 2014 9:59 am
โดย theenuch
ขอบคุณค่ะ...ชื่นชมมากๆ :wink:

Re: 'อยากรวยต้องรอ'สเต็ปเล่นหุ้น 'เปา-ปราการ'

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ มี.ค. 23, 2014 6:57 pm
โดย monsoon
ขอบคุณมากๆคับคุณเปา :mrgreen:

Re: 'อยากรวยต้องรอ'สเต็ปเล่นหุ้น 'เปา-ปราการ'

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ มี.ค. 23, 2014 8:13 pm
โดย amornkowa
ขอบคุณครับ