หน้า 1 จากทั้งหมด 1

แบบสอบถามครับ เกี่ยวกับหนังสือการลงทุน

โพสต์แล้ว: จันทร์ มี.ค. 24, 2014 10:45 pm
โดย phoenix
สมมุตินะครับสมมุติ

ถ้าคุณต้องไปทำงานต่างประเทศ เป็นระยะเวลานานมากกกกกก แล้วคุณก็อาจจะไปเปิดพอร์ตเพื่อการลงทุนที่นั่น

คำถามคือ ถ้าให้คุณนำหนังสือติดตัวไปได้ 5 เล่ม หนังสือเล่มนั้นที่คุณจะนำติดตัวไปด้วยมีอะไรบ้างครับ

ช่วยแชร์หน่อยนะครับ อยากจะรู้ว่าแต่ละท่านมีหนังสือในดวงใจอะไรบ้างครับ

ขอบคุณครับ

Re: แบบสอบถามครับ เกี่ยวกับหนังสือการลงทุน

โพสต์แล้ว: พุธ เม.ย. 02, 2014 10:00 am
โดย kjarrung
Intelligent Investor

Re: แบบสอบถามครับ เกี่ยวกับหนังสือการลงทุน

โพสต์แล้ว: พุธ เม.ย. 02, 2014 12:01 pm
โดย lnw_earn
1.One up on wall street
2.Beating the street
3.The most important thing illuminated
4.The Dhandho investor
5.Financial intelligence

Re: แบบสอบถามครับ เกี่ยวกับหนังสือการลงทุน

โพสต์แล้ว: พุธ เม.ย. 02, 2014 5:52 pm
โดย คืนนี้ดาวสวย
ผมเลือกเล่มที่อ่านทวนบ่อยสุดตั้งแต่เริ่มลงทุนมาตามนี้เลยครับ
1. Beating the street
2. One up on wall street
3. Common stocks and uncommon profits
4. The essays of Warren buffet
5. และสุดท้ายมาม้ามืดครับ เพาะหุ้นเป็นเห็นผลยั่งยืน ของคุณกวี โดยส่วนตัวผมว่า
นี่เป็นหนังสือเกี่ยวกับการลงทุนเล่มภาษาไทยที่ดีมากๆเล่มนึงเลยครับ :wink:

นี่ถึงขนาดก่อนตอบลุกไปดูหนังสือบนชั้นแล้วหยิบมาดูเลยนะครับ เลือกยากเหมือนกันนะครับเนี่ย

Re: แบบสอบถามครับ เกี่ยวกับหนังสือการลงทุน

โพสต์แล้ว: พุธ เม.ย. 02, 2014 6:25 pm
โดย luz666
1. The Intelligent Investor (อ่านไม่จบซะที เลยต้องเอาไปเป็นขวัญกำลังใจ)
2. ก้าวเล็กๆ ในตลาดหุ้น ก้าวที่ยิ่งใหญ่ในชีวิต
3. Dandho Investor
4. One up on Wallstreet
5. The most important thing illuminated

Re: แบบสอบถามครับ เกี่ยวกับหนังสือการลงทุน

โพสต์แล้ว: พุธ เม.ย. 02, 2014 8:44 pm
โดย doikham
Beating the street & The new Buffettology

Re: แบบสอบถามครับ เกี่ยวกับหนังสือการลงทุน

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. เม.ย. 03, 2014 10:41 am
โดย phoenix
The Dhandho investor

เล่มนี้ไม่เคยได้ยินเลยครับ เนื้อหาข้างในเป็นยังไงบ้างครับ พอจะบอกคร่าวๆได้มั้ยครับ

ขอบคุณครับ

Re: แบบสอบถามครับ เกี่ยวกับหนังสือการลงทุน

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. เม.ย. 03, 2014 12:10 pm
โดย luz666
phoenix เขียน:The Dhandho investor

เล่มนี้ไม่เคยได้ยินเลยครับ เนื้อหาข้างในเป็นยังไงบ้างครับ พอจะบอกคร่าวๆได้มั้ยครับ

ขอบคุณครับ
เล่มนี้เน้นหลัก low risk - high return ครับ สอนให้ลงทุนไม่บ่อย แต่ถ้าโอกาสมาก็จัดหนักเลย อาจจะไม่ใช่เรื่องหุ้นเพียวๆ เป็นเรื่อง business model ด้วย ดีมากๆครับ

Re: แบบสอบถามครับ เกี่ยวกับหนังสือการลงทุน

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. เม.ย. 03, 2014 2:10 pm
โดย phoenix
nameisnothing เขียน: เล่มนี้เน้นหลัก low risk - high return ครับ สอนให้ลงทุนไม่บ่อย แต่ถ้าโอกาสมาก็จัดหนักเลย อาจจะไม่ใช่เรื่องหุ้นเพียวๆ เป็นเรื่อง business model ด้วย ดีมากๆครับ
ขอบคุณมากๆครับ เดี๋ยวจะลองหาโหลดมาอ่านดูครับ :mrgreen: :mrgreen:

Re: แบบสอบถามครับ เกี่ยวกับหนังสือการลงทุน

โพสต์แล้ว: ศุกร์ เม.ย. 04, 2014 12:58 am
โดย Ii'8N
phoenix เขียน:
nameisnothing เขียน: เล่มนี้เน้นหลัก low risk - high return ครับ สอนให้ลงทุนไม่บ่อย แต่ถ้าโอกาสมาก็จัดหนักเลย อาจจะไม่ใช่เรื่องหุ้นเพียวๆ เป็นเรื่อง business model ด้วย ดีมากๆครับ
ขอบคุณมากๆครับ เดี๋ยวจะลองหาโหลดมาอ่านดูครับ :mrgreen: :mrgreen:


http://fundmanagertalk.com/equity-talk- ... or-part-1/

InvestmentTalk – นักลงทุนดันโด (The Dhandho Investor) ตอนที่ 1
25 APRIL 2010 2,979 VIEWS 3 COMMENTS
WRITTEN BY: SETHA
รูปภาพ



นักลงทุนดันโด หลายคนคงสงสัยว่าเป็นนักลงทุนประเภทไหน ผมได้มีโอกาสอ่านหนังสือเล่มนี้ซึ่งเขียนโดย Mohnish Pabrai และแปลโดย พรชัย รัตนนนทชัยสุข ซึ่ง Mohnish Pabrai เป็นคนบริหารกองทุน Pabri Funds มีสินทรัพย์ที่บริหาร 300 ล้านดอลลาร์ สมาชิกที่รวมลงทุนมี 400 ครอบครัวทั่วโลก โดยไม่มีสถาบันการเงินเข้ามาเกี่ยวข้อง และเขาเป็นผู้วิเคราะห์หุ้นเพียงคนเดียว ซึ่งหากนับตั้งแต่จุดเริ่มต้นในปี 1999 กองทุน Pabri Funds สร้างผลตอบแทนทบต้นต่อปีได้สูงกว่า 28% โดยที่เขามีต้นแบบในการลงทุนคือ วาร์เรน บัพเฟตต์

นักลงทุนส่วนใหญ่คงจะได้ยินคำว่า High risk-High return หรือ High risk-High expected return นั้นก็คือนักลงทุนจะยอมลงทุนในสิ่งที่มีความเสี่ยงสูงก็ต่อเมื่อได้ผลตอบแทนที่สูงตามไปด้วย แต่นักลงทุนดันโดได้พลิกความเชื่อนี้ โดยมีหลักคิดที่ว่า “การได้ผลตอบแทนที่สูงสุด ในขณะที่มีความเสี่ยงต่ำสุด”

Mohnish Pabrai ได้เริ่มต้นเขียนเกี่ยวกับนักลงทุนดันโดในหนังสือของเขาจากคนกลุ่มเล็กๆ กลุ่มหนึ่งเป็นคนตระกูลพาเทล อพยพมาจากประเทศอินเดียเข้ามาในประเทศสหรัฐฯในช่วงต้นทศวรรษที่ 1970 โดยปราศจากการศึกษาและเงินทุน โดยที่ปัจจุบันนี้ตระกูลพาเทลเป็นเจ้าของกิจการเกินครึ่งของธุรกิจโมเต็ลทั้งหมดในประเทศสหรัฐฯ โดยมีสินทรัพย์มูลค่ารวมมากกว่า 40 พันล้านดอลลาร์ คนกลุ่มนี้มีหลักคิดอย่างไรและสร้างความมั่งคั่งได้อย่างไร และเราสามารถนำหลักคิดเหล่านั้นมาประยุกต์ใช้ในการลงทุนของเราได้อย่างไร?

Dhandho เป็นคำในภาษากุจาราตี หมายถึง “ความพยายามสร้างความมั่งคั่ง” เป็นแนวทางการทำธุรกิจแบบให้ผลตอบแทนสูง แต่มีความเสี่ยงต่ำ

หลักคิดของนักลงทุนดันโดมีอยู่ 9 ข้อที่สำคัญ ได้แก่:

1. มุ่งเน้นไปที่การซื้อธุรกิจซึ่งดำเนินการอยู่แล้ว

โดยผู้เขียนพยายามเปรียบเทียบให้เห็นข้อดีข้อเสียในการลงทุนในตลาดหุ้นกับการทำธุรกิจด้วยตัวเอง

การทำธุรกิจด้วยตัวเองนั้นต้องลงทุนทั้งด้านการเงินและการบริหารงาน
ถ้าคุณซื้อหุ้น เราจะมีผู้บริหารงานที่มีความรู้ความชำนาญในด้านนั้นๆ และยังเปิดโอกาสให้เราเลือกได้เป็นเจ้าของตามสัดส่วนเงินลงทุนและใช้ต้นทุนที่ต่ำกว่าการเริ่มทำธุรกิจ
การซื้อขายในตลาดหุ้นนั้นคุณมีโอกาสซื้อสินทรัพย์ได้มาในราคาถูกมากๆ และสามารถขายได้ที่ราคาแพงๆ ได้เช่นกัน
การทำธุรกิจคุณต้องใช้จำนวนเงินมาก ถึงแม้ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็กก็ตาม แต่คุณสามารถใช้เงินจำนวนน้อยกว่าในการซื้อหุ้นและสามารถเพิ่มจำนวนไปได้เรื่อยๆ
มีหุ้นที่จดทะเบียนให้คุณซื้อมากมายทั้งในและต่างประเทศ แต่จะมีตัวเลือกน้อยกว่าหากคุณอยากจะซื้อบริษัทซัก 1 บริษัท
2. ซื้อธุรกิจเรียบง่ายในอุตสาหกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก

ต้องลงทุนเฉพาะธุรกิจที่เรียบง่ายไม่ซับซ้อน ซึ่งเป็นบริษัทที่คุณสามารถทำความเข้าใจได้เป็นอย่างดี และต้องมีข้อมูลยาวนานเพียงพอที่จะให้เราวิเคราะห์ ซึ่งคุณต้องสามารถคาดการณ์กระแสเงินสดและกำไรจากการดำเนินงานได้ ซึ่งจะมีผลมากในเรื่องการหามูลค่าหุ้น
3. ซื้อธุรกิจที่มีปัญหาในอุตสาหกรรมซึ่งกำลังอยู่ในภาวะยากลำบาก

มองหาหุ้นที่เจอข่าวร้าย และหุ้นถูกขายออกมาอย่างไร้เหตุผล
ลองมองหาหุ้นที่มี PE,PBV ที่ต่ำมากๆ หรือหุ้นที่ให้ปันผลสูงๆ ลองเข้าไปเจาะลึกรายละเอียดคุณอาจจะเจอของดีราคาถูกก็เป็นได้
ค้นคว้าหาข้อมูลหุ้นตามเว็บไซด์ต่างๆ หรือหนังสือพิมพ์ที่เกี่ยวกับหุ้น คุณอาจจะค้นพบหุ้นที่น่าสนใจ
หากเราพบหุ้นที่มีปัญหาหลายตัว เราควรเลือกหุ้นกลุ่มที่เรามีความเข้าใจเป็นอันดับแรกในการวิเคราะห์

4. ซื้อธุรกิจที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันอันยั่งยืน

ธุรกิจที่ทำการวิเคราะห์นั้นไม่ได้หมายความว่าต้องมีอัตราการเติบโตที่สูง แต่ต้องมีความได้เปรียบบริษัทอื่นที่ยั่งยืน อาทิเช่น การมีต้นทุนที่ถูก การมีแบรนด์สินค้าที่แข่งแกร่ง สินค้าและการบริการมีนวัตกรรม ซึ่งบริษัทคู่แข่งเลียนแบบได้ยาก และที่สำคัญต้องพิจารณาดูในงบดุลด้วยว่ามีผลตอบแทนต่อเงินลงทุนได้สูงๆ ด้วยหรือเปล่า
นักวิเคราะห์ดันโดยังไม่จบนะครับ ครั้งหน้าหน้าเรามาต่อกันนะครับว่าอีก 5 ข้อที่เหลือมีอะไรบ้าง รับรองว่ามีความน่าสนใจไม่น้อย และสามารถนำไปประยุกต์กับการลงทุนกับตัวเราได้ โดยเฉพาะการลงทุนในตลาดหุ้น หรือคนที่สนใจทำธุรกิจ น่าจะลองหาหนังสือเล่มนี้มาลองอ่านดูนะครับน่าจะได้หลักคิดในการลงทุน หรือทำธุรกิจไม่มากก็น้อย แล้วพบกันครั้งหน้ากับนักลงทุนดันโดตอนที่ 2 นะครับ

InvestmentTalk – นักลงทุนดันโด (The Dhandho Investor) ตอนที่ 2
24 MAY 2010 1,746 VIEWS 3 COMMENTS
WRITTEN BY: SETHA

ต่อเนื่องจาก “ภาคแรก” เรามาต่อกันกับนักลงทุนดันโด ผมขอสรุปสั้นๆนะครับว่านักลงทุนดันโดคืออะไรสำหรับคนที่ไม่ได้อ่านในครั้งที่ผ่านมา หลักคิดของนักลงทุนดันโดมีหลักการง่ายๆคือ “การได้ผลตอบแทนที่สูงสุด ในขณะที่มีความเสี่ยงต่ำสุด” โดยมีหลักคิดอยู่ 9 ข้อ ครั้งที่ผ่านมาผมได้เขียนไปแล้ว 4 ข้อ ได้แก่ 1. มุ่งเน้นไปที่การซื้อธุรกิจซึ่งดำเนินการอยู่แล้ว 2. ซื้อธุรกิจเรียบง่ายในอุตสาหกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก 3. ซื้อธุรกิจที่มีปัญหาในอุตสาหกรรมซึ่งกำลังอยู่ในภาวะยากลำบาก 4. ซื้อธุรกิจที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันอันยั่งยืน

ครั้งนี้เรามาต่อกับ 5 ข้อที่เหลือเลยนะครับ

5. เดิมพันหนักๆเมื่อคุณมีแต้มต่ออย่างชัดเจน

การลงทุนหนักๆนั้น หากคุณพบราคาของหุ้นนั้นถูกขายอย่างไม่มีเหตุผล แต่คุณต้องมีความเข้าใจในหุ้นตัวนั้นเป็นอย่างดี คุณควรที่จะทุ่มลงทุนกับหุ้นตัวนั้นๆ ซึ่งหากมีความผิดพลาดคุณจะเสียหายเพียงเล็กน้อย
มองหาหุ้นที่มีลักษณะพิเศษ เช่นในตลาดหลักทรัพย์ของไทย ผมว่ามีหุ้นบางตัวที่เข้าข่ายข้อนี้ เช่น มีหุ้นบางตัวมี put option (มีสิทธิ์จะขายที่ราคากำหนดไว้ในอนาคต) และเมื่อถึงเวลาที่ตลาดมีการเทขายออกมาอย่างหนัก ราคาหุ้นตัวนี้ต่ำกว่าราคาใช้สิทธิ์อย่างมาก ซึ่งความเสี่ยงนั้นไม่มีเลยหากคุณซื้อหุ้นตัวนั้นและนำไปขายในอนาคตที่ราคากำหนดไว้
หุ้นบางตัวมีการการันตรีในการจ่ายเงินปันผลขั้นต่ำ มีบางช่วงราคาปรับตัวลงอย่างมาก หากคุณซื้อหุ้นตัวนี้ และหากบริษัทไม่เลิกกิจการก่อน โอกาสที่คุณจะได้รับผลตอบแทนจากเงินปันผลสูงเลยทีเดียว
6. มองหาโอกาสทำอาร์บิทราจ

การทำอาร์บิทราจโดยปกติ
การทำอาร์บิทราจสินค้าโภคภัณฑ์
ในกรณีนี้มีโอกาสน้อยที่จะเกิดขึ้น เช่นคุณซื้อทองที่ร้าน A ราคา 15,000 บาท และมาขายอีกที่ร้าน B ราคา 16,000 บาท ซึ่งคุณจะได้กำไรทันที 1,000 บาท แต่ท้ายที่สุดราคาทั้ง 2 ร้านจะกลับมาเท่ากัน

การทำอาร์บิทราจหุ้นที่มีความเกี่ยวข้องกัน
หุ้นที่มีการซื้อขายอยู่ใน 2 ประเทศ ซึ่งหุ้นทั้ง 2 ตัวนี้ควรมีทิศทางราคาไปด้วยกัน แต่เราจะมีข้อจำกัดในการซื้อหุ้นต่างประเทศ
วอร์แรนท์ ที่ใกล้ครบกำหนด และมีสถานะ in the money คือ ราคาวอร์แรนท์รวมกับราคา exercise (ราคาใช้สิทธิ) มีราคาต่ำกว่าราคาตลาดมากๆ ซึ่งโอกาสที่คุณซื้อและได้กำไรจะมีค่อนข้างสูง
การทำอาร์บิทราจการควบรวมกิจการ
สมมุติว่ามีธนาคาร A ประกาศควบรวมกับธนาคาร B ในราคา 32.5 บาท แต่ราคาตลาดของธนาคาร B ก่อนการควบรวมอยู่ที่ 30 บาท ซึ่งจะมีส่วนต่าง 2.5 บาทหรือ 8.3% คุณจะได้กำไรภายในไม่กี่เดือน หากนักลงทุนพิจารณาแล้วว่าโอกาสที่ธนาคาร B จะไม่ถูกขายนั้นมีน้อยมาก โอกาสขาดทุนของคุณก็จะมีน้อยมากเช่นกัน

การทำอาร์บิทราจแบบดันโด
การทำอาร์บิทราจแบบดันโดคือบริษัทต้องมีข้อได้เปรียบบริษัทอื่น เช่น การมีต้นทุนที่ถูก นวตกรรมของสินค้า หรือบริษัทที่คิดสินค้าที่ยังมีช่องว่างในตลาด เป็นต้น ซึ่งการทำอาร์บิทราจแบบดันโดนั้นจะเหมือนหลักการของวาเรนต์ บัฟเฟตต์ คือบริษัทต้องมีคูเมืองกว้างใหญ่ และมีช่องว่างในการทำอาร์บิทราจให้ยาวนานที่สุด ซึ่งจะเป็นข้อได้เปรียบและสามารถป้องกันคู่แข่งรายใหม่ๆได้ แต่ในท้ายที่สุดแล้วช่องว่างต่างๆ ก็จะหายไป แต่เราต้องวิเคราะห์ว่าช่องว่างเหล่านั้นจะมีระยะเวลายาวนานแค่ไหน การทำอาร์บิจทราจแบบดันโดนั้นจะหาช่องว่างที่ยาวนานหลายปี ซึ่งจะทำให้ได้ผลตอบแทนอย่างมหาศาล

หัวใจของการทำอาร์บิทราจของนักลงทุนดันโดคือ ออกหัวได้เงิน ถ้าออกก้อย เสียเงินนิดหน่อย หรือยังได้กำไรนิดหน่อย หรือไม่เสียอะไรเลย

7. ซื้อธุรกิจในราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงอย่างมาก

หากเราซื้อหุ้น ราคาหุ้นตัวนั้นควรมีราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงมากๆ (Margin of safety) โดยใช้หลักการของเบนจามิน เกรแฮม หากมีเหตุการณ์เลวร้ายกับหุ้นตัวนั้นๆโอกาสขาดทุนอย่างหนักจะมีน้อย
“หลักๆ แล้ว หน้าที่ของส่วนเผื่อความปลอดภัย (Margin of safety) ก็คือ การทำให้การคาดการณ์อนาคตอย่างแม่นยำเป็นเรื่องไม่จำเป็น” เบนจามิน เกรแฮม
8. มองหาธุรกิจที่มีความเสี่ยงต่ำแต่มีความไม่แน่นอนสูง

การลงทุนในหุ้นที่มีความเสี่ยงต่ำๆนั้น ส่วนมากราคาหุ้นจะไม่แพงมากนัก ( PE หรือ PBV มักจะมีค่าต่ำ) แต่บริษัทนั้นต้องมีโอกาสทำกำไรได้อย่างมากในอนาคต เช่น หากนักลงทุนเข้าใจวงจรของหุ้นวัฏจักรเป็นอย่างดี การลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้ก็สามารถให้ผลตอบแทนได้อย่างสูง
บริษัทที่ผ่านสถานการณ์ภาวะยากลำบากและกำลังพลิกฟื้นผลประกอบการจากขาดทุนกลับมามีกำไร และมีการเติบโตต่อเนื่องในอนาคต
9. การเลียนแบบดีกว่าการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ

บริษัทที่ประสบความสำเร็จนั้นไม่จำเป็นต้องคิดหรือสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ มาเป็นคนแรกเสมอไป ซึ่งโอกาสผิดพลาดนั้นย่อมเกิดขึ้นได้ แต่ควรลงทุนในบริษัทที่รู้จักเลียนแบบสินค้าหรือลักษณะการทำธุรกิจของบริษัทอื่นแต่ต้องเป็นการเลียนแบบแบบต่อยอดไปอีกขั้น ซึ่งจะทำให้ลดขั้นตอนความยุ่งยาก ซึ่งสามารถช่วยลดความเสี่ยงลงได้
จากหลักการของนักลงทุนดันโด ผมหวังว่าจะมีประโยชน์กับนักลงทุนนะครับ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในหุ้นหรือการทำธุรกิจก็ตาม แต่นักลงทุนต้องใช้ความพยายามและอดทนในการค้นหาบริษัท เพราะการลงทุนแบบดันโดนั้นบางครั้งอาจต้องใช้ระยะเวลาในการรอคอย ซึ่งหากสิ่งที่เราคิดนั้นถูกต้องจะทำให้เราได้รับผลตอบแทนที่ดีเยี่ยมอย่างมาก ในทางตรงกันข้ามหากเราคิดผิดจะเกิดความเสียหายกับน้อยมาก

สุดท้ายขอให้กำลังใจกับคนที่ได้รับผลกระทบกับเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองทุกคน อย่าเพิ่งหมดกำลังใจ ท้อได้แต่อย่าถอย ฟ้าหลังฝนสดใสเสมอครับ

อ้างอิง จากหนังสือ นักลงทุนดันโด (The Dhandho investor) แปลและเรียบเรียงโดย พรชัย รัตนนนทชัยสุข

บทความนี้อาจมีการอ้างถึงหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งไม่ใช่คำแนะนำในการซื้อเพียงแค่เป็นการยกตัวอย่างหุ้นเพียงเท่านั้น
รูปภาพคุณ เศรษฐา ปวีณอภิชาต จบการศึกษาปริญญาตรีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาโทรคมนาคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มีประสบการณ์การทำงานด้านวิศวกรติดตั้งระบบสื่อสาร ในตำแหน่งวิศวรกร กับบริษัท เพาเวอร์ไลน์ เอ็นจิเนียริ่ง และบริษัทเนทแอนคอนเทนด์ (ไทยแลนด์) รวมระยะเวลาการทำงาน 3 ปี จากนั้นคุณ เศรษฐาได้ทำกาศึกษาต่อในระดับปริญญาโทคณะบริหารธุรกิจสาขาด้านการเงิน ที่สถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) และเริ่มทำงานกับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2550 ในตำแหน่งนักวิเคราะห์การลงทุน ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้จัดการกองทุน ตราสารทุนภายในประเทศ Read more from this author

Re: แบบสอบถามครับ เกี่ยวกับหนังสือการลงทุน

โพสต์แล้ว: เสาร์ เม.ย. 05, 2014 9:40 pm
โดย Lastpun
1 common stock
2 intelligent investor
3 random walk wallstreet
4 one up wall street
5 ตีแตก อิอิ :mrgreen:

Re: แบบสอบถามครับ เกี่ยวกับหนังสือการลงทุน

โพสต์แล้ว: จันทร์ มิ.ย. 02, 2014 8:48 pm
โดย WorriedInvestor
"แก่นการลงทุน แบบเน้นคุณค่า" โฮเวิร์ด มาร์ค แปลโดย พี่เวบ ครับ อ่านแล้วโดนๆๆ คร้าบผม

Re: แบบสอบถามครับ เกี่ยวกับหนังสือการลงทุน

โพสต์แล้ว: อังคาร มิ.ย. 03, 2014 5:22 am
โดย Internship
1. The Most important Thing illuminated
2. One up on wall street
3. Investing Against The Tide
4. The Essays of Warren buffet
5. The Intelligent Investor

Re: แบบสอบถามครับ เกี่ยวกับหนังสือการลงทุน

โพสต์แล้ว: อังคาร มิ.ย. 03, 2014 5:31 pm
โดย Carpediem
มีฉบับแปลไทยของThe most important thing illuminated หรือเปล่าค่ะ

Re: แบบสอบถามครับ เกี่ยวกับหนังสือการลงทุน

โพสต์แล้ว: อังคาร มิ.ย. 03, 2014 5:38 pm
โดย Ii'8N
Carpediem เขียน:มีฉบับแปลไทยของThe most important thing illuminated หรือเปล่าค่ะ
https://www.se-ed.com/product/%E0%B9%81 ... 6169098447

Re: แบบสอบถามครับ เกี่ยวกับหนังสือการลงทุน

โพสต์แล้ว: อังคาร มิ.ย. 03, 2014 5:40 pm
โดย Ii'8N

Re: แบบสอบถามครับ เกี่ยวกับหนังสือการลงทุน

โพสต์แล้ว: อังคาร มิ.ย. 03, 2014 6:04 pm
โดย cosmo
ขอแจมด้วยคับ

1. beating the street
2. intelligent invester
3. one up on wallstreet

Re: แบบสอบถามครับ เกี่ยวกับหนังสือการลงทุน

โพสต์แล้ว: อังคาร มิ.ย. 03, 2014 6:19 pm
โดย Plant
เล่มที่ผมชอบก็ซ้ำๆกับคนอื่นๆนะครับ ผมขอเพิ่มอีก 2 เล่มละกันครับ...^^)
1) THE GREAT INVESTORS (สุดยอดนักลงทุน)
2) Warren Buffett & George Soros (บัฟเฟตต์-โซรอส ลงทุนถูกนิสัย ยังไงก็ชนะ)

Re: แบบสอบถามครับ เกี่ยวกับหนังสือการลงทุน

โพสต์แล้ว: พุธ มิ.ย. 04, 2014 9:00 pm
โดย Plant
เพิ่มเติมอีก 1 เล่มครับเพิ่งนึกขึ้นได้...^^)
3) Value Investing Made Easy (กลยุทธ์การลงทุนแบบเน้นคุณค่า)

Re: แบบสอบถามครับ เกี่ยวกับหนังสือการลงทุน

โพสต์แล้ว: จันทร์ มิ.ย. 16, 2014 2:09 am
โดย dr1
ขอมาแกว่งปากหาเท้านิสนึง
จริงๆแล้วผมควรจะตอบว่า
เอาของอาจารย์คนละเล่ม
1. อ.เกรแฮม the intelligent investor
2. อ.บัฟเฟต์ เดาว่า the essays of warren buffett(ยังอ่านไม่จบ ไม่รุสู้เล่มอื่นได้มั้ย)
3. อ.ฟิชเชอร์ common stock with uncommon profit (ไม่รุชื่อถูกป่าว ว่าจะกลับไปอ่านอีกที)
4. อ.ลินช์ one up (กำลังอ่านอีกครั้ง ฮามาก)หรือ อ.เนฟ ก็ได้ รายละเอียดเยอะดีทั้งคู่
5. อ.นิเวศน์ ก้าวเล็กๆที่ยิ่งใหญ่ รวมฮิต

แต่ว่าสมัยนี้เมืองนอกเค้ามีอีบุค กะหนังสือบนเวปที่อ่านผ่านแทปเลทได้แล้ว
ผมเลยขอเลือกหนังสือที่ไม่มีอีบุค และเป็นเล่มที่แม่ม(แม่ของผม)ซื้อให้
1.โอวาทสี่ท่านเหลี่ยวฝ่าน
2.คนฉลาดแสร้งโง่ รวมเล่มสามเล่ม
3. แม่เล่าให้ฟัง
อีกสองเล่มจะไปค้นดูก่อน รู้สึกว่าเป็นของอ.วศิน หรือ อ.ระพี ถ้าไม่เจอก็กะว่า
4.พุทธธรรม(มีอีบุค) แต่ อ่านจากกระดาษเล่มใหญ่น่าจะได้ฟีลกว่า
5.อิทัปปัจจยตา ของอ.พุทธทาส หรือไม่ก็ลูกอีสาน ของคำพูน บุญทวี(กะว่าไว้เป็นกำลังใจ และอาจได้แรงบันดาลใจขึ้นมั่ง)