พม่า
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ มิ.ย. 01, 2014 3:13 pm
ข้อมูลนี้ได้จากการไปเที่ยว 8 วัน จากการสังเกต สอบถามคนพื้นที่ ซึ่งอาจมีผิดพลาดบ้างนะครับ หวังว่าอาจจะเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆ นักลงทุนบ้างครับ
1. ประเทศอยู่ในช่วงเติบโต และเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เปิดประเทศได้ประมาณ 4 ปี
2. คุยกับ Chief representative SCB ย่างกุ้ง บอกว่า หากกลับไทย 2-3 สัปดาห์ แล้วกลับมาย่างกุ้ง จะเห็นการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาเช่น มีตึกสร้างใหม่ มีป้ายโฆษณาสินค้าใหม่ๆเสมอ
3. ผู้คน นิสัยดี บริการดี ยิ้มแย้ม เมืองท่องเที่ยว คนพูดภาษาอังกฤษได้ดี เด็กประถม สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ดี คนรุ่นใหม่รู้จักทำมาหากิน พูดภาษาอังกฤษเก่ง เช่น taxi มีแจกนามบัตร ไปดักรอลูกค้าหน้าห้าง
4. การอนุมัติพิจารณาโครงการลงทุนต่างๆ จากภาครัฐ ใช้เวลาพิจารณาค่อนข้างนาน อาจจะ 1-2 ปี แต่หากอนุมัติแล้ว โครงการจะเดินหน้าอย่างรวดเร็วมาก
5. กลุ่มคนมีกำลังซื้อสูง มีพอสมควร สังเกตจากรถยนต์จำนวนมากในย่างกุ้ง การจราจรติดขัดมาก บ้านหลังใหญ่มีพอสมควร ในห้างมีคนเดินเยอะ ย่าน China town ในย่างกุ้ง ตลาด มีการค้าขายคึกคัก, กลุ่มคนรวยในพม่าส่วนใหญ่จะเป็นคนจีนและอินเดีย
6. สาธารณูปโภค น้ำประปาใช้ได้ดี, ไฟฟ้ามีดับบ้าง เช่น พุกาม อินเล ในย่างกุ้งเห็นเครื่องปั่นไฟค่อนข้างเยอะ, ถนนสภาพแย่กว่าบ้างเรานิดหน่อย มี 2 เลน, 4 เลน และลูกรัง, รถไฟเชื่อมต่างจังหวัดเท่าที่เห็นเป็น รางเดี่ยว
7. รถยนต์ญี่ปุ่น เช่น โตโยต้า ฮอนด้า นิสสัน ได้รับความนิยม, มอเตอร์ไซด์ในย่างกุ้ง มีน้อย เพราะต้องขออนุญาตจากรัฐ แต่ในต่างจังหวัดมีพอสมควร
8. อาหาร น้ำดื่ม โรงแรม taxi ตั๋วเครื่องบินในประเทศ ราคาพอๆ กับไทย อาจจะแพงกว่านิดหน่อย
9. วัดยังเป็นศูนย์รวมแห่งความศรัทธา วัดเยอะมาก และต้องถอดรองเท้าในบริเวณวัด และห้ามผู้หญิงเข้าด้านในบางพื้นที่ที่กำหนดไว้
10. Chief Representative SCB ในย่างกุ้ง บอกว่า พม่าเป็นเมืองแห่งโอกาส และเติบโตเร็วมากธุรกิจที่ดีช่วงนี้ คือพวกที่อาศัยความชำนาญเฉพาะด้าน เช่น รับเหมาก่อสร้าง สื่อสาร จริงๆ ก็น่าจะเติบโตทุกธุรกิจ แต่ถ้าเน้นพวก nich market น่าจะดีกว่า
11. ตอนกลางของประเทศ เช่น พุกาม มัณฑะเลย์ อากาศร้อน และแห้งแล้งมาก เป็นดินทราย แม่น้ำสาขาย่อยแห้งหมด แต่ก็เป็นพื้นที่เกษตรกรรม ซึ่งค่อนข้างแห้งแล้ง (หากเทียบกับไทย)
12. ใน Inle Lake แต่ละบ้านมีใช้ Solar cell ขนาดเล็ก เพื่อใช้ผลิตไฟฟ้า, ตลาดในชนบทยังเป็นศูนย์กลางการค้าขาย คล้ายๆ ตลาดนัด ตลาดสดบ้านเรา, ไม้ฟืนมีขายมาก ใช้ในการหุงต้ม
13. คุยกับคนขับ taxi ในย่างกุ้ง เคยมาทำงานที่ไทย 3 ปี บอกทำงานที่ไทยรายได้ดีกว่า อยากกลับมาทำงานที่ไทยมากกว่า ผู้คนระดับล่างอาจจะมีรายได้ประมาณ 2000-4000 บาท/เดือน ซึ่งค่อนข้างแปลกใจกับราคาสินค้าที่ค่อนข้างแพง แต่คนเหล่านั้นอาจจะทำอาหารเอง หรือใช้จ่ายอย่างประหยัด หรืออาจจะกู้ยืม เพราะอย่างพี่ taxi ก็ยืมเงินเพื่อนมาถอย taxi
สื่อสาร
- เทคโนโลยีสื่อสาร น่าจะเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ประเทศพัฒนาอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเชื่อมต่อโลกภายนอก และทุกคนเข้าถึง ทำให้การเติบโตของประเทศเป็นไปอย่างก้าวกระโดด
- ปัจจุบันรัฐเป็นเจ้าของธุรกิจสื่อสารเพียงรายเดียว ทำให้ sim card แพงมาก ประมาณ 4300 บาท เติมเงิน 150 บาท ใช้ net ได้ประมาณ 2 วัน
- เอกชน 2 ราย จะเปิดให้บริการโครงข่ายมือถือ ได้แก่ ooredoo เปิดในกรกฎาคมให้บริการ 3g 4g และตามด้วย Telenor ให้บริการ 2g 3g ทำให้ค่า sim card ลดลงและราคาขายเหลือประมาณ 40 บาท (จาก 4300 บาท) ซึ่งจะทำให้คนเข้าถึงการสื่อสารเพิ่มขึ้นอย่างมาก
- ปัจจุบัน net ยังช้ามาก บางครั้งใช้ไม่ได้เลย จะเร็วเป็นบางเวลาที่คนใช้น้อย เช่น 00.00-06.00 หรือบางเมือง เช่น มัณฑะเลย์ net จะเร็วกว่าย่างกุ้ง (อาจจะเพราะคนใช้น้อยกว่าเมื่อเทียบกับโครงสร้างพื้นฐาน)
- ร้านขายมือถือเยอะมาก, ขาย sim card มีเยอะมาก หาซื้อได้ทั่วไปตามร้านขายของชำ
- เด็ก 4 ขวบ ลูกพนักงานรีสอร์ท ติดเกมมือถือแล้ว เล่นทั้งวันจนดึก แม่บ่น
- Jmart เห็น 2 สาขา ในย่างกุ้ง
ค้าปลีก
- เป็นรูปแบบร้านขายของชำ โชว์ห่วยดังเดิม รูปแบบร้านค้าแบบคอนวิเนียนสโตร์ยังไม่มี (ถ้ามีคาดว่าจะได้รับความนิยม) Hypermarket จากต่างประเทศยังไม่มี, พวก ห้าง Home Improvement แบบบ้านเรายังไม่มี
- มี Supermarket ตามห้างต่างๆ น่าจะเป็นของทุนท้องถิ่น ขายสินค้าอุปโภค บริโภค ท้องถิ่น และจากไทย
- ห้างสรรพสินค้า ที่ย่างกุ้ง และ มัณฑะเลย์ รูปแบบคล้ายๆ โรบินสันคือขายสินค้าเอง และแบบมาบุญครอง คือให้เช่าพื้นที่กับร้านค้าท้องถิ่น, ห้างเยอะ มีบันไดเลื่อน ลิฟท์ คนเยอะ วัยรุ่นเยอะ ร้านแบรนด์ต่างชาติยังไม่ค่อยมี
สุขภาพ ความงาม แฟชั่น
- มีมหาวิทยาลัยสอนแพทย์ พยาบาล มีโรงพยาบาลรัฐหลายแห่ง
- เศรษฐีพม่า นิยมมารักษาสุขภาพที่ไทย มีจัดทัวร์สุภาพโดยทัวร์ท้องถิ่น
- BGH ที่พม่า มี office 4 สาขาที่ ย่างกุ้ง มัณฑะเลย์ เนบิดอว์ ตองยี จะอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าครบวงจรเป็น package รวมทั้งหมด เช่น วีซ่า ตั๋วเครื่องบิน ที่พัก ค่ารักษา
- สังเกตเห็นบริษัททัวร์พม่ามีจัดทัวร์สุขภาพร่วมกับ สมิติเวช
- Trend เกาหลี น่าจะมา เพราะทีวี มีฉายละครเกาหลีตลอด แบรนด์เกาหลีดังๆ มาเปิด shop หมด เช่น Skin food, Etude, Face shop, Nature Republic
- Brand ไทย ที่เห็น เช่น Karmart, Megawecare, วุฒิศักดิ์ นิติพน ซึ่งคาดว่าน่าจะได้รับความนิยม เพราะเห็นลูกค้าอยู่พอสมควร
- วัยรุ่นในเมือง เริ่มไม่ทาแป้งทานาคาแล้ว
- พวกแบรนด์ต่างชาติ เช่น พอนด์ นีเวีย ซันซิล มีขายทั่วไป
- การนุ่งโสร่ง ผ้าซิ่น แบบดังเดิมยังเป็นที่นิยม แต่เริ่มมีพวกวัยรุ่นในเมืองเริ่มใส่กางเกง กระโปรงแล้ว ตามห้างวัยรุ่นแต่งกายคล้ายวัยรุ่นไทย
- เสื้อผ้าไทย เช่น เครือสหพัฒน์ MC AIIZ เข้ามาขายในห้างแล้ว
ร้านอาหาร
- ร้านอาหารสำหรับคนทั่วไปจะเป็นร้านเพิงข้างถนน อาหารท้องถิ่นราคาไม่แพง
- ร้านโดนัทท้องถิ่น ได้รับความนิยม มีแอร์ มีเครื่องดื่ม (นึกถึงไทยช่วงแรกๆ ที่ร้านดังกิ้น มิสเตอร์โดนัทเข้ามาก่อน)
- Chain Restaurant จากต่างประเทศยังมีน้อย ที่เห็นเช่น Lotteria, illy และของไทย คือ Pizza Company, Swensen’s
- Mint นับเป็น Chain Restaurant รายแรกๆ ที่เข้ามาในย่างกุ้ง มีเปิด Swensen’s 2 สาขา, Pizza Company 1 สาขา และกำลังจะเปิดสาขาที่ 2 เดือนกรกฏาคมนี้ พนักงานระดับ management จะถูกส่งมา Train ที่กรุงเทพประมาณเดือนครึ่ง จำนวนพนักงานที่ส่ง Train ประมาณ 4-6 คนต่อสาขา, บริการ delivery กำลังอยู่ในขั้นตอนการขออนญาตขับขี่มอเตอร์ไซด์จากรัฐ, คนแน่นร้านทั้งไอศกรีม พิซซ่า พนักงานบอกว่า ร้านได้รับความนิยม เพราะคนรู้จัก คนที่มาเที่ยวไทยบอกต่อ
- CPF มีรูปแบบ CP food shop, ไก่ย่าง 5 ดาว, CP food station, CP Fresh mart เห็น 6 สาขาในหลายเมือง เช่น ย่างกุ้ง มัณฑะเลย์ พุกาม เฮโฮ ได้รับความนิยม เนื่องจาก เป็น chain อาหารแรกๆ ที่มี และราคาไม่แพง มีขายทั้งแบบสำเร็จรูป ไก่ย่าง ไก่ทอด และไส้กรอกแช่เย็น
ท่องเที่ยว โรงแรม สายการบิน ท่าอากาศยาน
- ธุรกิจท่องเที่ยวในพม่า น่าจะเติบโตได้อีกมาก สถานที่ท่องเที่ยวงดงามและยังคงความบริสุทธิ์ มีอีกหลายเมืองที่ยังไม่ได้โปรโมต
- เด็กๆ ประมาณ 8-14 ปี ที่ขายของตามสถานที่ท่องเที่ยว เช่นพุกาม พูดภาษาอังกฤษเก่ง และขายของเก่งมาก พูดโน้มน้าวเก่ง
- โรงแรมราคาประมาณไทย โรงแรมต่างชาติมีเข้าแล้ว เช่น แชงกรีล่า โนโวเทล, โรงแรมที่เจ้าของเป็นพม่าเยอะมาก บางโรงแรมเป็น chain ท้องถิ่น อาจจะมีโรงแรมในเครือ 5-6 โรงแรม, Guest house ที่พุกาม มีเยอะมาก, มีโอกาสคุยกับเจ้าของร้านอาหารที่พุกาม บอกว่า ทำธุรกิจโรงแรมที่พม่า รายได้ดีมาก
- สายการบิน Air Asia ขาไปย่างกุ้ง ขากลับจากมัณฑะเลย์ คนเต็มลำ (วันธรรมดา low season) แสดงว่าคนเดินทางไปพม่าเยอะมาก, สายการบินในประเทศ เช่น KBZ (เป็นของธนาคาร KBZ ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ใหญ่ที่สุดในพม่า) และ Yatanarpon บริการดีมาก การบินระหว่างเมืองจะบินคล้ายๆ รถเมล์จอดป้าย เช่น จากย่างกุ้ง ไปลงเฮโฮ ต่อไปมัณทะเลย์ จบที่พุกาม, และระหว่างสายการบินในประเทศด้วยกัน มีการประสานงานส่งลูกค้าให้กันเพื่อให้สามารถออกได้และเต็มลำ
- ท่าอากาศยานย่างกุ้ง และมัณฑะเลย์ ค่อนข้างดีเป็นระบบ และขนาดใหญ่, แต่ที่เฮโฮกับพุกาม ค่อนข้างเล็ก และไม่ทันสมัยมากนัก
อสังหาริมทรัพย์
- ในเมือง เช่น ย่างกุ้ง มัณฑะเลย์ เป็นตึกแถวแต่สภาพค่อนข้างเก่า เรือนแถวชั้นเดียว เริ่มมีโครงการขนาดใหญ่ เช่น คอนโด ห้าง มาทดแทน ต่างจังหวัดชานเมือง เป็นบ้านเดี่ยวไม้ เรือนแถวชั้นเดียว กระท่อมไม้ และไม่เห็นหมู่บ้านจัดสรร
- ในย่างกุ้ง มีการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่มากมาย เช่น โรงแรม ห้าง คอนโด
- ที่ดินแพงมาก ได้คุยกับเจ้าของร้านอาหารแห่งหนึ่งในพุกาม ที่ดินประมาณ 20 ตารางวา ติดถนนในพุกาม ราคาประมาณ 9 ล้าน ก่อนเปิดประเทศประมาณ 4 ปี มีพวกเศรษฐี เจ้าของเหมืองแร่ มากว้านซื้อที่ดิน ตอนนั้นยังไม่แพงมาก ปัจจุบันเศรษฐีเหล่านั้นก็เอามาต่อยอดทำที่พัก โรงแรม ช่องว่าง คนรวย คนจนในพม่าค่อนข้างห่างกันมาก, การทำธุรกิจในพุกาม จึงขอเช่าพื้นที่วัดซึ่งถูกกว่ามาก
ธนาคาร ลิสซิ่ง
- ธนาคารในพม่าอาจจะยังมีศักยภาพไม่เพียงพอต่อการเติบโตของประเทศ น่าจะจำเป็นที่จะต้องมี Bank ต่างชาติเข้าไปช่วย (คุยกับ Chief representative SCB)
- ตอนนี้แบงค์ไทย เข้ามาหมดแล้ว SCB BBL KBANK KTB แต่เป็นลักษณะเป็น representative ยังไม่สามารถทำธุรกรรมทางการเงินได้ครบวงจร ต้องประสานกับแบงค์ท้องถิ่นซึ่งมีประมาณ 7-8 แบงค์ , ตอนนี้อยู่ระหว่างรออนุมัติเพื่อทำธุรกรรมครบวงจร คาดว่าจะดำเนินการได้ปลายปีนี้
- ธุรกิจลิสซิ่ง สินเชื่อรายย่อย ไม่เจอ (อาจจะมี แต่ไม่พบ)
ตัวอย่างธุรกิจไทยในพม่า (ที่พบ)
-PTT PTTEP SCB KBANK BGH MINT SCCC CPF MC KAMART JMART MEGA SB furniture แอร์เอเชีย ไทยสไมล์ บางกอกแอร์ TOA โชคดีติ่มซำ นิติพน วุฒิศักดิ์ สมิติเวช เชียงใหม่ราม บานาน่าไอที โอสถสภา
- ธุรกิจไทยมาลงทุนในพม่าค่อนข้างเยอะแล้ว
ตัวอย่างสินค้าไทยในพม่า (ที่พบ)
- มาม่า ไส้กรอกซีพี โออิชิ เถ้าแก่น้อย แลคตาซอย มาลี ทิปโก้ ดัชมิลค์ กระทิงแดง ฉลาม สปอนเซอร์ เอ็ม150 คาราบาวแดง นกแก้ว เสื้อผ้าสหพัฒน์ AIIZ คอนเน่ ปราปีก้า
- สินค้าไทย ได้รับความนิยมและสะดวกต่อการขนส่ง เพราะมีชายแดนติดพม่า สามารถขนส่งมาทางแม่สอด เข้ามาย่างกุ้ง
1. ประเทศอยู่ในช่วงเติบโต และเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เปิดประเทศได้ประมาณ 4 ปี
2. คุยกับ Chief representative SCB ย่างกุ้ง บอกว่า หากกลับไทย 2-3 สัปดาห์ แล้วกลับมาย่างกุ้ง จะเห็นการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาเช่น มีตึกสร้างใหม่ มีป้ายโฆษณาสินค้าใหม่ๆเสมอ
3. ผู้คน นิสัยดี บริการดี ยิ้มแย้ม เมืองท่องเที่ยว คนพูดภาษาอังกฤษได้ดี เด็กประถม สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ดี คนรุ่นใหม่รู้จักทำมาหากิน พูดภาษาอังกฤษเก่ง เช่น taxi มีแจกนามบัตร ไปดักรอลูกค้าหน้าห้าง
4. การอนุมัติพิจารณาโครงการลงทุนต่างๆ จากภาครัฐ ใช้เวลาพิจารณาค่อนข้างนาน อาจจะ 1-2 ปี แต่หากอนุมัติแล้ว โครงการจะเดินหน้าอย่างรวดเร็วมาก
5. กลุ่มคนมีกำลังซื้อสูง มีพอสมควร สังเกตจากรถยนต์จำนวนมากในย่างกุ้ง การจราจรติดขัดมาก บ้านหลังใหญ่มีพอสมควร ในห้างมีคนเดินเยอะ ย่าน China town ในย่างกุ้ง ตลาด มีการค้าขายคึกคัก, กลุ่มคนรวยในพม่าส่วนใหญ่จะเป็นคนจีนและอินเดีย
6. สาธารณูปโภค น้ำประปาใช้ได้ดี, ไฟฟ้ามีดับบ้าง เช่น พุกาม อินเล ในย่างกุ้งเห็นเครื่องปั่นไฟค่อนข้างเยอะ, ถนนสภาพแย่กว่าบ้างเรานิดหน่อย มี 2 เลน, 4 เลน และลูกรัง, รถไฟเชื่อมต่างจังหวัดเท่าที่เห็นเป็น รางเดี่ยว
7. รถยนต์ญี่ปุ่น เช่น โตโยต้า ฮอนด้า นิสสัน ได้รับความนิยม, มอเตอร์ไซด์ในย่างกุ้ง มีน้อย เพราะต้องขออนุญาตจากรัฐ แต่ในต่างจังหวัดมีพอสมควร
8. อาหาร น้ำดื่ม โรงแรม taxi ตั๋วเครื่องบินในประเทศ ราคาพอๆ กับไทย อาจจะแพงกว่านิดหน่อย
9. วัดยังเป็นศูนย์รวมแห่งความศรัทธา วัดเยอะมาก และต้องถอดรองเท้าในบริเวณวัด และห้ามผู้หญิงเข้าด้านในบางพื้นที่ที่กำหนดไว้
10. Chief Representative SCB ในย่างกุ้ง บอกว่า พม่าเป็นเมืองแห่งโอกาส และเติบโตเร็วมากธุรกิจที่ดีช่วงนี้ คือพวกที่อาศัยความชำนาญเฉพาะด้าน เช่น รับเหมาก่อสร้าง สื่อสาร จริงๆ ก็น่าจะเติบโตทุกธุรกิจ แต่ถ้าเน้นพวก nich market น่าจะดีกว่า
11. ตอนกลางของประเทศ เช่น พุกาม มัณฑะเลย์ อากาศร้อน และแห้งแล้งมาก เป็นดินทราย แม่น้ำสาขาย่อยแห้งหมด แต่ก็เป็นพื้นที่เกษตรกรรม ซึ่งค่อนข้างแห้งแล้ง (หากเทียบกับไทย)
12. ใน Inle Lake แต่ละบ้านมีใช้ Solar cell ขนาดเล็ก เพื่อใช้ผลิตไฟฟ้า, ตลาดในชนบทยังเป็นศูนย์กลางการค้าขาย คล้ายๆ ตลาดนัด ตลาดสดบ้านเรา, ไม้ฟืนมีขายมาก ใช้ในการหุงต้ม
13. คุยกับคนขับ taxi ในย่างกุ้ง เคยมาทำงานที่ไทย 3 ปี บอกทำงานที่ไทยรายได้ดีกว่า อยากกลับมาทำงานที่ไทยมากกว่า ผู้คนระดับล่างอาจจะมีรายได้ประมาณ 2000-4000 บาท/เดือน ซึ่งค่อนข้างแปลกใจกับราคาสินค้าที่ค่อนข้างแพง แต่คนเหล่านั้นอาจจะทำอาหารเอง หรือใช้จ่ายอย่างประหยัด หรืออาจจะกู้ยืม เพราะอย่างพี่ taxi ก็ยืมเงินเพื่อนมาถอย taxi
สื่อสาร
- เทคโนโลยีสื่อสาร น่าจะเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ประเทศพัฒนาอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเชื่อมต่อโลกภายนอก และทุกคนเข้าถึง ทำให้การเติบโตของประเทศเป็นไปอย่างก้าวกระโดด
- ปัจจุบันรัฐเป็นเจ้าของธุรกิจสื่อสารเพียงรายเดียว ทำให้ sim card แพงมาก ประมาณ 4300 บาท เติมเงิน 150 บาท ใช้ net ได้ประมาณ 2 วัน
- เอกชน 2 ราย จะเปิดให้บริการโครงข่ายมือถือ ได้แก่ ooredoo เปิดในกรกฎาคมให้บริการ 3g 4g และตามด้วย Telenor ให้บริการ 2g 3g ทำให้ค่า sim card ลดลงและราคาขายเหลือประมาณ 40 บาท (จาก 4300 บาท) ซึ่งจะทำให้คนเข้าถึงการสื่อสารเพิ่มขึ้นอย่างมาก
- ปัจจุบัน net ยังช้ามาก บางครั้งใช้ไม่ได้เลย จะเร็วเป็นบางเวลาที่คนใช้น้อย เช่น 00.00-06.00 หรือบางเมือง เช่น มัณฑะเลย์ net จะเร็วกว่าย่างกุ้ง (อาจจะเพราะคนใช้น้อยกว่าเมื่อเทียบกับโครงสร้างพื้นฐาน)
- ร้านขายมือถือเยอะมาก, ขาย sim card มีเยอะมาก หาซื้อได้ทั่วไปตามร้านขายของชำ
- เด็ก 4 ขวบ ลูกพนักงานรีสอร์ท ติดเกมมือถือแล้ว เล่นทั้งวันจนดึก แม่บ่น
- Jmart เห็น 2 สาขา ในย่างกุ้ง
ค้าปลีก
- เป็นรูปแบบร้านขายของชำ โชว์ห่วยดังเดิม รูปแบบร้านค้าแบบคอนวิเนียนสโตร์ยังไม่มี (ถ้ามีคาดว่าจะได้รับความนิยม) Hypermarket จากต่างประเทศยังไม่มี, พวก ห้าง Home Improvement แบบบ้านเรายังไม่มี
- มี Supermarket ตามห้างต่างๆ น่าจะเป็นของทุนท้องถิ่น ขายสินค้าอุปโภค บริโภค ท้องถิ่น และจากไทย
- ห้างสรรพสินค้า ที่ย่างกุ้ง และ มัณฑะเลย์ รูปแบบคล้ายๆ โรบินสันคือขายสินค้าเอง และแบบมาบุญครอง คือให้เช่าพื้นที่กับร้านค้าท้องถิ่น, ห้างเยอะ มีบันไดเลื่อน ลิฟท์ คนเยอะ วัยรุ่นเยอะ ร้านแบรนด์ต่างชาติยังไม่ค่อยมี
สุขภาพ ความงาม แฟชั่น
- มีมหาวิทยาลัยสอนแพทย์ พยาบาล มีโรงพยาบาลรัฐหลายแห่ง
- เศรษฐีพม่า นิยมมารักษาสุขภาพที่ไทย มีจัดทัวร์สุภาพโดยทัวร์ท้องถิ่น
- BGH ที่พม่า มี office 4 สาขาที่ ย่างกุ้ง มัณฑะเลย์ เนบิดอว์ ตองยี จะอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าครบวงจรเป็น package รวมทั้งหมด เช่น วีซ่า ตั๋วเครื่องบิน ที่พัก ค่ารักษา
- สังเกตเห็นบริษัททัวร์พม่ามีจัดทัวร์สุขภาพร่วมกับ สมิติเวช
- Trend เกาหลี น่าจะมา เพราะทีวี มีฉายละครเกาหลีตลอด แบรนด์เกาหลีดังๆ มาเปิด shop หมด เช่น Skin food, Etude, Face shop, Nature Republic
- Brand ไทย ที่เห็น เช่น Karmart, Megawecare, วุฒิศักดิ์ นิติพน ซึ่งคาดว่าน่าจะได้รับความนิยม เพราะเห็นลูกค้าอยู่พอสมควร
- วัยรุ่นในเมือง เริ่มไม่ทาแป้งทานาคาแล้ว
- พวกแบรนด์ต่างชาติ เช่น พอนด์ นีเวีย ซันซิล มีขายทั่วไป
- การนุ่งโสร่ง ผ้าซิ่น แบบดังเดิมยังเป็นที่นิยม แต่เริ่มมีพวกวัยรุ่นในเมืองเริ่มใส่กางเกง กระโปรงแล้ว ตามห้างวัยรุ่นแต่งกายคล้ายวัยรุ่นไทย
- เสื้อผ้าไทย เช่น เครือสหพัฒน์ MC AIIZ เข้ามาขายในห้างแล้ว
ร้านอาหาร
- ร้านอาหารสำหรับคนทั่วไปจะเป็นร้านเพิงข้างถนน อาหารท้องถิ่นราคาไม่แพง
- ร้านโดนัทท้องถิ่น ได้รับความนิยม มีแอร์ มีเครื่องดื่ม (นึกถึงไทยช่วงแรกๆ ที่ร้านดังกิ้น มิสเตอร์โดนัทเข้ามาก่อน)
- Chain Restaurant จากต่างประเทศยังมีน้อย ที่เห็นเช่น Lotteria, illy และของไทย คือ Pizza Company, Swensen’s
- Mint นับเป็น Chain Restaurant รายแรกๆ ที่เข้ามาในย่างกุ้ง มีเปิด Swensen’s 2 สาขา, Pizza Company 1 สาขา และกำลังจะเปิดสาขาที่ 2 เดือนกรกฏาคมนี้ พนักงานระดับ management จะถูกส่งมา Train ที่กรุงเทพประมาณเดือนครึ่ง จำนวนพนักงานที่ส่ง Train ประมาณ 4-6 คนต่อสาขา, บริการ delivery กำลังอยู่ในขั้นตอนการขออนญาตขับขี่มอเตอร์ไซด์จากรัฐ, คนแน่นร้านทั้งไอศกรีม พิซซ่า พนักงานบอกว่า ร้านได้รับความนิยม เพราะคนรู้จัก คนที่มาเที่ยวไทยบอกต่อ
- CPF มีรูปแบบ CP food shop, ไก่ย่าง 5 ดาว, CP food station, CP Fresh mart เห็น 6 สาขาในหลายเมือง เช่น ย่างกุ้ง มัณฑะเลย์ พุกาม เฮโฮ ได้รับความนิยม เนื่องจาก เป็น chain อาหารแรกๆ ที่มี และราคาไม่แพง มีขายทั้งแบบสำเร็จรูป ไก่ย่าง ไก่ทอด และไส้กรอกแช่เย็น
ท่องเที่ยว โรงแรม สายการบิน ท่าอากาศยาน
- ธุรกิจท่องเที่ยวในพม่า น่าจะเติบโตได้อีกมาก สถานที่ท่องเที่ยวงดงามและยังคงความบริสุทธิ์ มีอีกหลายเมืองที่ยังไม่ได้โปรโมต
- เด็กๆ ประมาณ 8-14 ปี ที่ขายของตามสถานที่ท่องเที่ยว เช่นพุกาม พูดภาษาอังกฤษเก่ง และขายของเก่งมาก พูดโน้มน้าวเก่ง
- โรงแรมราคาประมาณไทย โรงแรมต่างชาติมีเข้าแล้ว เช่น แชงกรีล่า โนโวเทล, โรงแรมที่เจ้าของเป็นพม่าเยอะมาก บางโรงแรมเป็น chain ท้องถิ่น อาจจะมีโรงแรมในเครือ 5-6 โรงแรม, Guest house ที่พุกาม มีเยอะมาก, มีโอกาสคุยกับเจ้าของร้านอาหารที่พุกาม บอกว่า ทำธุรกิจโรงแรมที่พม่า รายได้ดีมาก
- สายการบิน Air Asia ขาไปย่างกุ้ง ขากลับจากมัณฑะเลย์ คนเต็มลำ (วันธรรมดา low season) แสดงว่าคนเดินทางไปพม่าเยอะมาก, สายการบินในประเทศ เช่น KBZ (เป็นของธนาคาร KBZ ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ใหญ่ที่สุดในพม่า) และ Yatanarpon บริการดีมาก การบินระหว่างเมืองจะบินคล้ายๆ รถเมล์จอดป้าย เช่น จากย่างกุ้ง ไปลงเฮโฮ ต่อไปมัณทะเลย์ จบที่พุกาม, และระหว่างสายการบินในประเทศด้วยกัน มีการประสานงานส่งลูกค้าให้กันเพื่อให้สามารถออกได้และเต็มลำ
- ท่าอากาศยานย่างกุ้ง และมัณฑะเลย์ ค่อนข้างดีเป็นระบบ และขนาดใหญ่, แต่ที่เฮโฮกับพุกาม ค่อนข้างเล็ก และไม่ทันสมัยมากนัก
อสังหาริมทรัพย์
- ในเมือง เช่น ย่างกุ้ง มัณฑะเลย์ เป็นตึกแถวแต่สภาพค่อนข้างเก่า เรือนแถวชั้นเดียว เริ่มมีโครงการขนาดใหญ่ เช่น คอนโด ห้าง มาทดแทน ต่างจังหวัดชานเมือง เป็นบ้านเดี่ยวไม้ เรือนแถวชั้นเดียว กระท่อมไม้ และไม่เห็นหมู่บ้านจัดสรร
- ในย่างกุ้ง มีการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่มากมาย เช่น โรงแรม ห้าง คอนโด
- ที่ดินแพงมาก ได้คุยกับเจ้าของร้านอาหารแห่งหนึ่งในพุกาม ที่ดินประมาณ 20 ตารางวา ติดถนนในพุกาม ราคาประมาณ 9 ล้าน ก่อนเปิดประเทศประมาณ 4 ปี มีพวกเศรษฐี เจ้าของเหมืองแร่ มากว้านซื้อที่ดิน ตอนนั้นยังไม่แพงมาก ปัจจุบันเศรษฐีเหล่านั้นก็เอามาต่อยอดทำที่พัก โรงแรม ช่องว่าง คนรวย คนจนในพม่าค่อนข้างห่างกันมาก, การทำธุรกิจในพุกาม จึงขอเช่าพื้นที่วัดซึ่งถูกกว่ามาก
ธนาคาร ลิสซิ่ง
- ธนาคารในพม่าอาจจะยังมีศักยภาพไม่เพียงพอต่อการเติบโตของประเทศ น่าจะจำเป็นที่จะต้องมี Bank ต่างชาติเข้าไปช่วย (คุยกับ Chief representative SCB)
- ตอนนี้แบงค์ไทย เข้ามาหมดแล้ว SCB BBL KBANK KTB แต่เป็นลักษณะเป็น representative ยังไม่สามารถทำธุรกรรมทางการเงินได้ครบวงจร ต้องประสานกับแบงค์ท้องถิ่นซึ่งมีประมาณ 7-8 แบงค์ , ตอนนี้อยู่ระหว่างรออนุมัติเพื่อทำธุรกรรมครบวงจร คาดว่าจะดำเนินการได้ปลายปีนี้
- ธุรกิจลิสซิ่ง สินเชื่อรายย่อย ไม่เจอ (อาจจะมี แต่ไม่พบ)
ตัวอย่างธุรกิจไทยในพม่า (ที่พบ)
-PTT PTTEP SCB KBANK BGH MINT SCCC CPF MC KAMART JMART MEGA SB furniture แอร์เอเชีย ไทยสไมล์ บางกอกแอร์ TOA โชคดีติ่มซำ นิติพน วุฒิศักดิ์ สมิติเวช เชียงใหม่ราม บานาน่าไอที โอสถสภา
- ธุรกิจไทยมาลงทุนในพม่าค่อนข้างเยอะแล้ว
ตัวอย่างสินค้าไทยในพม่า (ที่พบ)
- มาม่า ไส้กรอกซีพี โออิชิ เถ้าแก่น้อย แลคตาซอย มาลี ทิปโก้ ดัชมิลค์ กระทิงแดง ฉลาม สปอนเซอร์ เอ็ม150 คาราบาวแดง นกแก้ว เสื้อผ้าสหพัฒน์ AIIZ คอนเน่ ปราปีก้า
- สินค้าไทย ได้รับความนิยมและสะดวกต่อการขนส่ง เพราะมีชายแดนติดพม่า สามารถขนส่งมาทางแม่สอด เข้ามาย่างกุ้ง