Cap gain tax ถ้าหาก
- Nevercry.boy
- Verified User
- โพสต์: 4641
- ผู้ติดตาม: 0
Cap gain tax ถ้าหาก
โพสต์ที่ 1
ถ้าหากจริง จะดีกับประเทศชาติและตลาดทุนไทยอย่างไร ในระยะยาว
รัฐจะได้ภาษีจากจุดนี้มากขึ้นหรือไม่
ผู้คนจะมาลงทุนใน ตลาดทุนไทยมากขึ้นหรือไม่
หากขาดทุนสามารถขอภาษีคืนได้เช่นเดียวกันใช่หรือไม่
สำหรับวีไอซื้อขายไม่บ่อยแต่ได้กำไรทีนึงก้อนโตจะโดนภาษีเยอะหรือไม่
สถาบันและกองทุนต่างๆ ที่เราถืออยู่จะมีผลให้การออมของคนในชาติในตลาดทุนสูงและมั่นคงขึ้นหรือไม่
รัฐจะได้ภาษีจากจุดนี้มากขึ้นหรือไม่
ผู้คนจะมาลงทุนใน ตลาดทุนไทยมากขึ้นหรือไม่
หากขาดทุนสามารถขอภาษีคืนได้เช่นเดียวกันใช่หรือไม่
สำหรับวีไอซื้อขายไม่บ่อยแต่ได้กำไรทีนึงก้อนโตจะโดนภาษีเยอะหรือไม่
สถาบันและกองทุนต่างๆ ที่เราถืออยู่จะมีผลให้การออมของคนในชาติในตลาดทุนสูงและมั่นคงขึ้นหรือไม่
เด็กผู้ชายไม่ร้องไห้
http://nevercry-boy.blogspot.com/
http://nevercry-boy.blogspot.com/
-
- Verified User
- โพสต์: 1426
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Cap gain tax ถ้าหาก
โพสต์ที่ 2
เรื่องหลายเรื่อง รอไม่ได้ ก็เร่งทำเสียก่อน
เรื่องหลายเรื่อง รอได้ ก็ใส่ไว้ในแผนระยะ 5 ปี 10 ปี 20 ปี หรือ 100 ปี
แค่แยกแยะประเด็นนี้ได้ ประเทศชาติ(รวมประชาชน)ก็ได้ประโยชน์มหาศาลแล้ว
เรื่องหลายเรื่อง รอได้ ก็ใส่ไว้ในแผนระยะ 5 ปี 10 ปี 20 ปี หรือ 100 ปี
แค่แยกแยะประเด็นนี้ได้ ประเทศชาติ(รวมประชาชน)ก็ได้ประโยชน์มหาศาลแล้ว
- ROGER
- Verified User
- โพสต์: 609
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Cap gain tax ถ้าหาก
โพสต์ที่ 3
ถ้าเก็บจริงก็ต้องให้พี่กองเขาทำงานแทนถ้าเขาไม่เก็บกำไรจากการขายเงินในกองทุนรวม หรือไม่ก็ไปลงทุนตลาดเพื่อนบ้านครับที่เขาไม่เก็บ โลกมันเปลี่ยนไปตลอดเวลา www ทำให้โลกมันเปลี่ยนไปไม่หยุดยั้ง ถ้า ผบห บ้านเรายังคิดแบบเดิมๆๆอีก หยุดยั้งอยู่กับความคิดเดิมๆๆ ป่วยการที่จะพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศครับ
คนคิดนี่ จริงๆๆเป็นนักวางแผนภาษี ผู้แนะนำการหลบภาษี ไม่น่ามาตกม้าตายง่ายๆๆเลย
คนคิดนี่ จริงๆๆเป็นนักวางแผนภาษี ผู้แนะนำการหลบภาษี ไม่น่ามาตกม้าตายง่ายๆๆเลย
-
- Verified User
- โพสต์: 2547
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Cap gain tax ถ้าหาก
โพสต์ที่ 4
ผมคิดว่าเงื่อนไขการเก็บ capital gain tax คือ
การคิดภาษีจาก capital gains จะสามารถทำได้เฉพาะในการที่มีการซื้อ-ขาย หรือการแลกเปลี่ยนเกิดขึ้น หากไม่มีการสำแดงมูลค่าผ่านการซื้อขาย อาจไม่สามารถเก็บภาษีได้ แต่ภาระภาษีที่จะเกิดขึ้นถูกผลักออกไปในอนาคตจนกว่าจะมีการแลกเปลี่ยนเกิดขึ้น
ดังนั้นแน่นอนในระยะสั้น จะกระทบกับนักลงทุนระยะสั้นที่มีการเก็งกำไรสูงในแต่ละวัน เพราะยิ่งซื้อขายมากหากมีกำไรก็จะต้องเสียภาษีสูงขึ้น รวมถึงพวก prop trade ที่คอยรักษาสภาพคล่องตลาดจะลำบากขึ้น เพราะต้นทุนที่มากขึ้นจะนำไปสู่ปริมาณการซื้อขายที่ลดลงไปด้วย เพราะผู้เก็งกำไรต้องคำนึงต้นทุนภาษีจ่ายที่มากขึ้น 2 ต่อ จากทั้ง กำไร capital gain tax และ ภาษี vat 7% ของค่าธรรมเนียมการซื้อขาย ตาม volumn ด้วย อาจทำให้ปริมาณการซื้อขายลดลงได้ การเก็บ vat 7% ก็จะลดลงทั้งซื้อและขาย 2 ด้านครับ
นักลงทุนระยะยาวต้นทุนการซื้อและขายสูงขึ้นบ้าง แต่หากถือระยะยาวไม่เปลี่ยนมือ ก็จะไม่ได้รับผลกระทบกับภาระภาษีที่เกิดการซื้อขาย
ปัญหาคือ หากเกิด capital loss เกิดขึ้น โดยเฉพาะการซื้อขายในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ โอกาสที่นักเก็งกำไรจะขาดทุนสูงมากกว่ากำไร ตรงนี้แทนที่จะเก็บภาษีได้เพิ่มขึ้น อาจต้องจ่ายภาษีคืนมากขึ้นก็ได้
การเก็บ capital gain tax ต้องดูเพื่อนบ้านประกอบ เพราะกำลังเปิด aec ทำให้มีช่องทางการลงทุนเปรียบเทียบกับเพื่อนบ้าน หากต้นทุนการซื้อขายเราแพงกว่าเช่นที่สิงคโปร์เข้าใจว่าไม่เก็บภาษีทั้ง capital gain tax และภาษีปันผลจากหุ้น จะเป็นตัวกระตุ้นให้ supply เรา อาจต้องหันไปจดทะเบียนที่เมืองนอกมากขึ้น และ broker ไทยอาจต้องรับลูกค้าเพื่อไปเทรดที่เพื่อนบ้านหรือที่ต่างประเทศอื่นแทนมากขึ้นด้วย
รวมถึงต่างชาติที่ทำให้ volume ปัจจุบันถูกกระตุ้นโดยกลุ่มนี้ ก็อาจหันไปลงทุนประเทศอื่นมากขึ้นด้วย
ดังนั้น สมมุติฐานที่บางครั้งเราคิดจากปัจจุบันว่าน่าจะเก็บได้เพิ่มโดยไม่คำนึงถึงปัจจัยทางเลือกอื่นของผู้ลงทุนที่หันไปตลาดอื่นได้ ทำให้ที่คิดว่าจะเก็บได้เพิ่มอาจไม่เป็นจริงก็ได้ เพราะ fund flow จะหมุนไปที่มีต้นทุนที่ถูกกว่าและมีโอกาสกำไรมากกว่าเพราะเขามีทางเลือกมากกว่า เพราะตลาดประเทศไทยยังเล็กมากเมื่อเทียบกับตลาดที่พัฒนาแล้วครับ
การคิดภาษีจาก capital gains จะสามารถทำได้เฉพาะในการที่มีการซื้อ-ขาย หรือการแลกเปลี่ยนเกิดขึ้น หากไม่มีการสำแดงมูลค่าผ่านการซื้อขาย อาจไม่สามารถเก็บภาษีได้ แต่ภาระภาษีที่จะเกิดขึ้นถูกผลักออกไปในอนาคตจนกว่าจะมีการแลกเปลี่ยนเกิดขึ้น
ดังนั้นแน่นอนในระยะสั้น จะกระทบกับนักลงทุนระยะสั้นที่มีการเก็งกำไรสูงในแต่ละวัน เพราะยิ่งซื้อขายมากหากมีกำไรก็จะต้องเสียภาษีสูงขึ้น รวมถึงพวก prop trade ที่คอยรักษาสภาพคล่องตลาดจะลำบากขึ้น เพราะต้นทุนที่มากขึ้นจะนำไปสู่ปริมาณการซื้อขายที่ลดลงไปด้วย เพราะผู้เก็งกำไรต้องคำนึงต้นทุนภาษีจ่ายที่มากขึ้น 2 ต่อ จากทั้ง กำไร capital gain tax และ ภาษี vat 7% ของค่าธรรมเนียมการซื้อขาย ตาม volumn ด้วย อาจทำให้ปริมาณการซื้อขายลดลงได้ การเก็บ vat 7% ก็จะลดลงทั้งซื้อและขาย 2 ด้านครับ
นักลงทุนระยะยาวต้นทุนการซื้อและขายสูงขึ้นบ้าง แต่หากถือระยะยาวไม่เปลี่ยนมือ ก็จะไม่ได้รับผลกระทบกับภาระภาษีที่เกิดการซื้อขาย
ปัญหาคือ หากเกิด capital loss เกิดขึ้น โดยเฉพาะการซื้อขายในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ โอกาสที่นักเก็งกำไรจะขาดทุนสูงมากกว่ากำไร ตรงนี้แทนที่จะเก็บภาษีได้เพิ่มขึ้น อาจต้องจ่ายภาษีคืนมากขึ้นก็ได้
การเก็บ capital gain tax ต้องดูเพื่อนบ้านประกอบ เพราะกำลังเปิด aec ทำให้มีช่องทางการลงทุนเปรียบเทียบกับเพื่อนบ้าน หากต้นทุนการซื้อขายเราแพงกว่าเช่นที่สิงคโปร์เข้าใจว่าไม่เก็บภาษีทั้ง capital gain tax และภาษีปันผลจากหุ้น จะเป็นตัวกระตุ้นให้ supply เรา อาจต้องหันไปจดทะเบียนที่เมืองนอกมากขึ้น และ broker ไทยอาจต้องรับลูกค้าเพื่อไปเทรดที่เพื่อนบ้านหรือที่ต่างประเทศอื่นแทนมากขึ้นด้วย
รวมถึงต่างชาติที่ทำให้ volume ปัจจุบันถูกกระตุ้นโดยกลุ่มนี้ ก็อาจหันไปลงทุนประเทศอื่นมากขึ้นด้วย
ดังนั้น สมมุติฐานที่บางครั้งเราคิดจากปัจจุบันว่าน่าจะเก็บได้เพิ่มโดยไม่คำนึงถึงปัจจัยทางเลือกอื่นของผู้ลงทุนที่หันไปตลาดอื่นได้ ทำให้ที่คิดว่าจะเก็บได้เพิ่มอาจไม่เป็นจริงก็ได้ เพราะ fund flow จะหมุนไปที่มีต้นทุนที่ถูกกว่าและมีโอกาสกำไรมากกว่าเพราะเขามีทางเลือกมากกว่า เพราะตลาดประเทศไทยยังเล็กมากเมื่อเทียบกับตลาดที่พัฒนาแล้วครับ
Circle of competence
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
-
- Verified User
- โพสต์: 2547
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Cap gain tax ถ้าหาก
โพสต์ที่ 5
ปัจจุบัน market cap บ้านเรายังเล็กมากตามนี้ index บ้านเราก็ยังไม่สามารถทำ new high ที่เคยสูงกว่า 1700 กว่าจุด โดยเพื่อนบ้านหลายแห่ง new high ไปแล้ว ผลจากวิกฤตการณ์น้ำท่วม และการเมือง สิ่งที่ยังดึงดูดให้มีการลงทุนของต่างชาติ ก็คงมีแรงจูงใจจากสภาพคล่องตลาดที่สูงกว่าเพื่อนบ้าน และการเติบโตของกำไรบริษัทจดทะเบียนตามนี้ครับ
http://www.set.or.th/setresearch/files/ ... rative.pdf
http://www.set.or.th/setresearch/files/ ... rative.pdf
Circle of competence
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
- leaderinshadow
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1765
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Cap gain tax ถ้าหาก
โพสต์ที่ 6
การเก็บภาษีทางตรงนั้น มีหลักว่าไม่ควรเก็บซ้อนหลายครั้งในเงินได้ก้อนเดียวกันจริงๆ เพราะมันจะ Disincentive ไม่ให้คนลงทุน หรือทำงานหนัก แต่ภาษีทางอ้อมซำ้ซ้อนไม่เป็นไร เพราะถือว่าเก็บจากการบริโภค อย่างภาษีศุลกากร สรรพสามิต กับ VATก็ซำ้ซ้อนกันได้ เช่น ซื้อรถ กินเหล้า ซื้อVersace ก็ต้องเสียทั้งสองอย่าง
แต่เอาเถอะ ไม่ต้องคำนึงถึงเหตุผลภาษีซ้อน มาดูเหตุผลอื่นอีกสักสองเหตุผล
เหตุผลแรก เป็นเรื่องต้นทุนของการลงทุน ปกติการลงทุนในหุ้นทุนซึ่งมีความเสี่ยงสูงนักลงทุนจะมีเป้าหมายผลตอบแทน(Required Rate ofReturn) สำหรับตลาดไทยจะอยู่ประมาณ 12% ต่อปี ถ้าเรามี CGT 37% ภาษีปันผล10%และภาษีเงินได้นิติบุคคลอีก20% ก็ตือต้องเสีย Tripple Tax จากเงินลงทุนก้อนเดียว
ทีนี้ ถ้านักลงทุนต้องการสุทธิ 12% สมมุติว่าได้ปันผล 3% สุทธิเหลือ 2.7% ดังนั้นต้องได้สุทธิจากcapital gains อีก 9.3% หรือต้องได้ 9.3/.63 เท่ากับ 14.8% ดังนั้นตัวบริษัทต้องทำกำไรก่อนภาษีเท่ากับ (14.8+3)/0.8 เท่ากับ 22.25% ผู้ลงทุนถึงจะได้ผลตอบแทน 12%ตามที่ต้องการ
เมื่อเทียบกับ สิงคโปร์ มาเลเชีย ที่เป็นคู่แข่งทั้งแย่งเงินทุน และขายสินค้า ของเค้าเก็บCorporate Income Tax อย่างเดียว บริษัททำกำไรก่อนภาษีแค่ 15% (12/0.8) นักลงทุนก็ได้ผลตอบแทนสุทธิ 12% เท่าของเราแล้ว ลองคิดดูซิครับ ถ้าลงทุนแข่งกัน ขายสินค้าแข่งกัน เค้าต้องการกำไร 15% เราต้องการ 22.25% ใครจะแข่งชนะ ถ้าคุณเป็นนักลงทุนต่างชาติ คุณจะเลือกลงที่ไหน โดยเฉพาะถ้าเป็น Capital Intensive Investment ซึ่งมักเป็นอุตสาหกรรมที่มี Value Addedสูง เราจะยิ่งเสียเปรียบ เรียกว่าต้นทุนการเงินสูงกว่ามาก
ถ้าต้นทุนการเงินสูง คนก็จะลงแต่พวก Non-Tradables(สินค้าที่ไม่ต้องแข่งในตลาดโลก) เช่น Property Healthcare. Infrastructure Retails เพราะพวกนี้สามารถผลักภาระไปในราคา ให้ผู้บริโภครับไป ส่วนสินค้าส่งออก ก็ต้องไปแข่งพวกที่ใช้ทุนตำ่ เป็น Labor Intensive หรือที่กดราคาวัตถุดิบในปท.ได้ แถมถ้าต้นทุนพวก Non-Tradablesสูง ก็ยิ่งบั่นทอนศักยภาพการแข่งขันไปใหญ่
จะเห็นว่า พอเราอยากให้คนลงทุน เลยต้องมี BOI ให้สิทธิ์ประโยชน์ทางภาษีทุกอย่าง เลยเก็บไม่ได้เลย กับทำให้ระบบบิดเบือนลักลั่นไปหมด (ผมมีความเห็นว่าควรเลิกส่งเสริมการลงทุนโดยให้สิทธิ์ทางภาษีเสียที แต่เปลี่ยนเป็นใช้นโยบายภาษีที่แข่งได้เสียที กับส่งเสริมโดยวิธีอื่น)
เห็นไหมครับ ภาษี ทำให้สภาพการแข่งขันกระทบได้แค่ไหน กับทำให้เกิดการบิดเบือนในระยะยาวได้มากอีก
เหตุผลที่สอง เป็นเรื่องการจัดเก็บCGT ถ้าจะเก็บให้ได้ผล ให้เท่าเทียม เป็นเรื่องยากมาก หรือแทบเป็นไปไม่ได้เลย จะต้องเลิกต้องรื้อ สนธิสัญญาทางภาษีเดิมที่ทำไว้แทบทุกปท. ถ้าไม่งั้นจะจัดเก็บได้เฉพาะกับคนไทยรายย่อยเท่านั้น แล้วก็อาจเกิดผลกระทบอื่นๆตามมาอีกเช่น อาจมีตลาดหุ้นไทยนอกประเทศ หรือเกิด Capital Flight
ขอยกตัวอย่าง ถ้าจัดเก็บCGT โดยทุกอย่างไม่เปลี่ยน ผมก็เปลี่ยนไปลงทุนผ่าน กองทุนรวมต่างประเทศ (การย้ายเงินออกทำได้ง่าย และไม่ผิดกฎด้วย) หรือไปตั้งทรัสตี หรือโฮลดิ้งสัญชาติที่มีอนุสัญญาไม่เก็บภาษีซ้อน แล้วลงทุนเข้ามา หรือไม่ก็พาลเลิกลงทุนในหุ้นไทยเสียเลย (ก็มีหุ้นดีๆอื่นๆให้เลือกทั่วโลกอีกตั้ง กว่า30,000หุ้น ที่ไม่ต้องเสียCGT นี่ครับ)
สรุป ผมยืนยันความเห็นว่า การจะเก็บCGT น่าจะมีผลเสียมากกว่าผลดีมากครับ แถมเห็นว่า น่าจะเลิกเก็บทั้งในตลาด นอกตลาด ทั้งจากนิติบุคคลด้วย จะได้ส่งเสริมให้เกิดการลงทุน และกิจกรรมสำคัญอื่น เช่น M&A , การ Restructure, Venture Capital ซึ่งล้วนมีส่วนสำคัญที่จะช่วยพัฒนาศก.ทั้งสิ้น
Banyong Pongpanich
แต่เอาเถอะ ไม่ต้องคำนึงถึงเหตุผลภาษีซ้อน มาดูเหตุผลอื่นอีกสักสองเหตุผล
เหตุผลแรก เป็นเรื่องต้นทุนของการลงทุน ปกติการลงทุนในหุ้นทุนซึ่งมีความเสี่ยงสูงนักลงทุนจะมีเป้าหมายผลตอบแทน(Required Rate ofReturn) สำหรับตลาดไทยจะอยู่ประมาณ 12% ต่อปี ถ้าเรามี CGT 37% ภาษีปันผล10%และภาษีเงินได้นิติบุคคลอีก20% ก็ตือต้องเสีย Tripple Tax จากเงินลงทุนก้อนเดียว
ทีนี้ ถ้านักลงทุนต้องการสุทธิ 12% สมมุติว่าได้ปันผล 3% สุทธิเหลือ 2.7% ดังนั้นต้องได้สุทธิจากcapital gains อีก 9.3% หรือต้องได้ 9.3/.63 เท่ากับ 14.8% ดังนั้นตัวบริษัทต้องทำกำไรก่อนภาษีเท่ากับ (14.8+3)/0.8 เท่ากับ 22.25% ผู้ลงทุนถึงจะได้ผลตอบแทน 12%ตามที่ต้องการ
เมื่อเทียบกับ สิงคโปร์ มาเลเชีย ที่เป็นคู่แข่งทั้งแย่งเงินทุน และขายสินค้า ของเค้าเก็บCorporate Income Tax อย่างเดียว บริษัททำกำไรก่อนภาษีแค่ 15% (12/0.8) นักลงทุนก็ได้ผลตอบแทนสุทธิ 12% เท่าของเราแล้ว ลองคิดดูซิครับ ถ้าลงทุนแข่งกัน ขายสินค้าแข่งกัน เค้าต้องการกำไร 15% เราต้องการ 22.25% ใครจะแข่งชนะ ถ้าคุณเป็นนักลงทุนต่างชาติ คุณจะเลือกลงที่ไหน โดยเฉพาะถ้าเป็น Capital Intensive Investment ซึ่งมักเป็นอุตสาหกรรมที่มี Value Addedสูง เราจะยิ่งเสียเปรียบ เรียกว่าต้นทุนการเงินสูงกว่ามาก
ถ้าต้นทุนการเงินสูง คนก็จะลงแต่พวก Non-Tradables(สินค้าที่ไม่ต้องแข่งในตลาดโลก) เช่น Property Healthcare. Infrastructure Retails เพราะพวกนี้สามารถผลักภาระไปในราคา ให้ผู้บริโภครับไป ส่วนสินค้าส่งออก ก็ต้องไปแข่งพวกที่ใช้ทุนตำ่ เป็น Labor Intensive หรือที่กดราคาวัตถุดิบในปท.ได้ แถมถ้าต้นทุนพวก Non-Tradablesสูง ก็ยิ่งบั่นทอนศักยภาพการแข่งขันไปใหญ่
จะเห็นว่า พอเราอยากให้คนลงทุน เลยต้องมี BOI ให้สิทธิ์ประโยชน์ทางภาษีทุกอย่าง เลยเก็บไม่ได้เลย กับทำให้ระบบบิดเบือนลักลั่นไปหมด (ผมมีความเห็นว่าควรเลิกส่งเสริมการลงทุนโดยให้สิทธิ์ทางภาษีเสียที แต่เปลี่ยนเป็นใช้นโยบายภาษีที่แข่งได้เสียที กับส่งเสริมโดยวิธีอื่น)
เห็นไหมครับ ภาษี ทำให้สภาพการแข่งขันกระทบได้แค่ไหน กับทำให้เกิดการบิดเบือนในระยะยาวได้มากอีก
เหตุผลที่สอง เป็นเรื่องการจัดเก็บCGT ถ้าจะเก็บให้ได้ผล ให้เท่าเทียม เป็นเรื่องยากมาก หรือแทบเป็นไปไม่ได้เลย จะต้องเลิกต้องรื้อ สนธิสัญญาทางภาษีเดิมที่ทำไว้แทบทุกปท. ถ้าไม่งั้นจะจัดเก็บได้เฉพาะกับคนไทยรายย่อยเท่านั้น แล้วก็อาจเกิดผลกระทบอื่นๆตามมาอีกเช่น อาจมีตลาดหุ้นไทยนอกประเทศ หรือเกิด Capital Flight
ขอยกตัวอย่าง ถ้าจัดเก็บCGT โดยทุกอย่างไม่เปลี่ยน ผมก็เปลี่ยนไปลงทุนผ่าน กองทุนรวมต่างประเทศ (การย้ายเงินออกทำได้ง่าย และไม่ผิดกฎด้วย) หรือไปตั้งทรัสตี หรือโฮลดิ้งสัญชาติที่มีอนุสัญญาไม่เก็บภาษีซ้อน แล้วลงทุนเข้ามา หรือไม่ก็พาลเลิกลงทุนในหุ้นไทยเสียเลย (ก็มีหุ้นดีๆอื่นๆให้เลือกทั่วโลกอีกตั้ง กว่า30,000หุ้น ที่ไม่ต้องเสียCGT นี่ครับ)
สรุป ผมยืนยันความเห็นว่า การจะเก็บCGT น่าจะมีผลเสียมากกว่าผลดีมากครับ แถมเห็นว่า น่าจะเลิกเก็บทั้งในตลาด นอกตลาด ทั้งจากนิติบุคคลด้วย จะได้ส่งเสริมให้เกิดการลงทุน และกิจกรรมสำคัญอื่น เช่น M&A , การ Restructure, Venture Capital ซึ่งล้วนมีส่วนสำคัญที่จะช่วยพัฒนาศก.ทั้งสิ้น
Banyong Pongpanich
-
- Verified User
- โพสต์: 2547
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Cap gain tax ถ้าหาก
โพสต์ที่ 7
ประธานตลาดหลักทรัพย์แถลงข้อมูลเพิ่มในเรื่องนี้ครับ
ตลท.สยบลือเก็บภาษีกำไรหุ้น หวั่นกระทบความเชื่อมั่น ไทยที่1กำกับดูแลบจ.ที่ดี | ไทยโพสต์
"สถิตย์" ปัดข่าวลือ ตลท.จ่อเก็บ capital gain tax ระบุยังไม่เหมาะ เพราะเป็นช่วงสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน ติงยังไม่ควรพูดต่ออายุ LTF และ RMF หรือไม่ สถาบันกรรมการบริษัทไทย เผยผลสำรวจ บจ.ไทยคะแนนมาตรฐานสูงสุด ด้านดัชนีหุ้นกลับมาปิดบวกได้ 11 จุด แต่ต่างชาติขาย 3.8 พันล้านบาท
นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ประธานกรรมการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยถึงกรณีมีกระแสข่าว ตลท.จะเก็บภาษีกำไรจากการซื้อขายหุ้น (capital gain tax) นั้น มองว่าเรื่องดังกล่าวยังไม่เหมาะสมที่จะพิจารณาในขณะนี้ เพราะ ตลท.อยู่ระหว่างสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ลงทุน อีกทั้งผู้ลงทุนกว่า 50% เป็นรายย่อย หากมีการเก็บภาษีจะกระทบต่อคนจำนวนมาก และอาจไม่สอดคล้องกับนโยบายของ ตลท.ที่ส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไปรู้จักการออม หรือนำเงินออมมาลงทุนใน ตลท. รวมถึงส่งเสริมให้คนทั่วไปสามารถลงทุนใน ตลท.ได้
ส่วนกรณีกระแสข่าวกรมสรรพากรจะไม่ต่ออายุสิทธิประโยชน์ทางภาษีของกองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ซึ่งจะหมดอายุในปี 2559 มองว่าไม่ควรมีความคิดที่จะยกเลิก ต่อหรือไม่ต่ออายุในตอนนี้ เพราะยังไม่ใช่เวลาที่เหมาะสม
“แนวคิดการจัดเก็บภาษีกำไรจากการซื้อขายหุ้นอาจเหมาะสมในบางประเทศ ขึ้นอยู่กับสถานภาพของสิ่งแวดล้อมในแต่ละประเทศ ซึ่งไทยมีนักลงทุนรายย่อยจำนวนมาก และ ตลท.ยังอยู่ในระหว่างสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชนทั่วไป พร้อมทั้งต้องสร้างแรงจูงใจให้นักลงทุน ส่วนตัวมองว่าแนวคิดดังกล่าวควรชะลอไว้ก่อน และหากต้องการเก็บรายได้ให้มากขึ้น ควรเจาะช่องโหว่ของผู้มีรายได้สูงให้เต็มที่ก่อน เพราะตลาดทุนตอนนี้เป็นช่วงวางรากฐาน“ นายสถิตย์กล่าว
นายบัณฑิต นิจถาวร กรรมการผู้อำนวยการสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) กล่าวในงานสัมมนานำเสนอผลสำรวจการกำกับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียนไทยตามโครงการ ASEAN CG Scorecard ประจำปี 2556/2557 ว่า บริษัทจดทะเบียน (บจ.) ไทย ยังคงเป็นผู้นำที่ได้คะแนนสูงสุดตามมาตรฐาน ASEAN CG Scorecard โดยมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 75.39 คะแนน รองลงมาคือมาเลเซียและสิงคโปร์ ซึ่งมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 71.69 และ 71.68 ตามลำดับ
ทั้งนี้ จากการจัดอันดับคะแนนของ บจ.ในภูมิภาคอาเซียนที่ทำการสำรวจในโครงการจำนวน 529 บริษัท พบว่ามี บจ.ไทย จำนวน 4 แห่ง ติด 1 ใน 10 และจำนวน 18 แห่ง ติด 1 ใน 50 ซึ่งหมวดที่ บจ.ไทยได้รับคะแนนสูงสุดคือ หมวดสิทธิ์ของผู้ถือหุ้น และการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน ส่วนหมวดการคำนึงถึงบทบาทของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส และหมวดความรับผิดชอบของคณะกรรมการนั้น ได้รับคะแนนเป็นอันดับสามเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ
ด้านหุ้นไทยวันที่ 19 มิ.ย. ปิดที่ 1,461.91 จุด เพิ่มขึ้น 10.55 จุด มูลค่าการซื้อขาย 43,560.19 ล้านบาท นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 3,851.00 ล้านบาท กองทุนซื้อสุทธิ 3,479.86 ล้านบาท บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ขายสุทธิ 258.91 ล้านบาท และรายย่อยซื้อสุทธิ 630.06 ล้านบาท ส่วนมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดอยู่ที่ 13,130,169.46 ล้านบาท.
ตลท.สยบลือเก็บภาษีกำไรหุ้น หวั่นกระทบความเชื่อมั่น ไทยที่1กำกับดูแลบจ.ที่ดี | ไทยโพสต์
"สถิตย์" ปัดข่าวลือ ตลท.จ่อเก็บ capital gain tax ระบุยังไม่เหมาะ เพราะเป็นช่วงสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน ติงยังไม่ควรพูดต่ออายุ LTF และ RMF หรือไม่ สถาบันกรรมการบริษัทไทย เผยผลสำรวจ บจ.ไทยคะแนนมาตรฐานสูงสุด ด้านดัชนีหุ้นกลับมาปิดบวกได้ 11 จุด แต่ต่างชาติขาย 3.8 พันล้านบาท
นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ประธานกรรมการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยถึงกรณีมีกระแสข่าว ตลท.จะเก็บภาษีกำไรจากการซื้อขายหุ้น (capital gain tax) นั้น มองว่าเรื่องดังกล่าวยังไม่เหมาะสมที่จะพิจารณาในขณะนี้ เพราะ ตลท.อยู่ระหว่างสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ลงทุน อีกทั้งผู้ลงทุนกว่า 50% เป็นรายย่อย หากมีการเก็บภาษีจะกระทบต่อคนจำนวนมาก และอาจไม่สอดคล้องกับนโยบายของ ตลท.ที่ส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไปรู้จักการออม หรือนำเงินออมมาลงทุนใน ตลท. รวมถึงส่งเสริมให้คนทั่วไปสามารถลงทุนใน ตลท.ได้
ส่วนกรณีกระแสข่าวกรมสรรพากรจะไม่ต่ออายุสิทธิประโยชน์ทางภาษีของกองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ซึ่งจะหมดอายุในปี 2559 มองว่าไม่ควรมีความคิดที่จะยกเลิก ต่อหรือไม่ต่ออายุในตอนนี้ เพราะยังไม่ใช่เวลาที่เหมาะสม
“แนวคิดการจัดเก็บภาษีกำไรจากการซื้อขายหุ้นอาจเหมาะสมในบางประเทศ ขึ้นอยู่กับสถานภาพของสิ่งแวดล้อมในแต่ละประเทศ ซึ่งไทยมีนักลงทุนรายย่อยจำนวนมาก และ ตลท.ยังอยู่ในระหว่างสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชนทั่วไป พร้อมทั้งต้องสร้างแรงจูงใจให้นักลงทุน ส่วนตัวมองว่าแนวคิดดังกล่าวควรชะลอไว้ก่อน และหากต้องการเก็บรายได้ให้มากขึ้น ควรเจาะช่องโหว่ของผู้มีรายได้สูงให้เต็มที่ก่อน เพราะตลาดทุนตอนนี้เป็นช่วงวางรากฐาน“ นายสถิตย์กล่าว
นายบัณฑิต นิจถาวร กรรมการผู้อำนวยการสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) กล่าวในงานสัมมนานำเสนอผลสำรวจการกำกับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียนไทยตามโครงการ ASEAN CG Scorecard ประจำปี 2556/2557 ว่า บริษัทจดทะเบียน (บจ.) ไทย ยังคงเป็นผู้นำที่ได้คะแนนสูงสุดตามมาตรฐาน ASEAN CG Scorecard โดยมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 75.39 คะแนน รองลงมาคือมาเลเซียและสิงคโปร์ ซึ่งมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 71.69 และ 71.68 ตามลำดับ
ทั้งนี้ จากการจัดอันดับคะแนนของ บจ.ในภูมิภาคอาเซียนที่ทำการสำรวจในโครงการจำนวน 529 บริษัท พบว่ามี บจ.ไทย จำนวน 4 แห่ง ติด 1 ใน 10 และจำนวน 18 แห่ง ติด 1 ใน 50 ซึ่งหมวดที่ บจ.ไทยได้รับคะแนนสูงสุดคือ หมวดสิทธิ์ของผู้ถือหุ้น และการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน ส่วนหมวดการคำนึงถึงบทบาทของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส และหมวดความรับผิดชอบของคณะกรรมการนั้น ได้รับคะแนนเป็นอันดับสามเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ
ด้านหุ้นไทยวันที่ 19 มิ.ย. ปิดที่ 1,461.91 จุด เพิ่มขึ้น 10.55 จุด มูลค่าการซื้อขาย 43,560.19 ล้านบาท นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 3,851.00 ล้านบาท กองทุนซื้อสุทธิ 3,479.86 ล้านบาท บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ขายสุทธิ 258.91 ล้านบาท และรายย่อยซื้อสุทธิ 630.06 ล้านบาท ส่วนมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดอยู่ที่ 13,130,169.46 ล้านบาท.
Circle of competence
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
- neuhiran
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 817
- ผู้ติดตาม: 1
Re: Cap gain tax ถ้าหาก
โพสต์ที่ 8
ความคิดเห็นส่วนตัวของผมนะครับ ผมคิดว่าเรื่องนี้คงยังไม่เกิด
และที่ผมเห็นเรื่องนี้ ซ้ำไปซ้ำมา ก็ตอนที่ตลาดกำลังเป็นขาขึ้น
ช่วงตลาดขาลงผมไม่เคยเห็นใครพูดถึงเรื่องนี้กันเลย....
ผมมองว่าเป็นเรื่องมาเม้าท์กันตอนหุ้นขาขึ้นมากว่านะ........
และที่ผมเห็นเรื่องนี้ ซ้ำไปซ้ำมา ก็ตอนที่ตลาดกำลังเป็นขาขึ้น
ช่วงตลาดขาลงผมไม่เคยเห็นใครพูดถึงเรื่องนี้กันเลย....
ผมมองว่าเป็นเรื่องมาเม้าท์กันตอนหุ้นขาขึ้นมากว่านะ........
-
- Verified User
- โพสต์: 2547
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Cap gain tax ถ้าหาก
โพสต์ที่ 10
ผมมีบทวิจัยโครงสร้างภาษีที่ศึกษาโดย tdri มาshare กัน หน้า 6-10 จะเกี่ยวข้องกับ cgt โดยตรง
http://tdri.or.th/archives/download/rep ... chap_9.pdf
ข้อสรุปเบื้องต้นของ tdri คือ
จากข้อมูล 50 ประเทศที่มีการศึกษาเปรียบเทียบ อาจจะสามารถสรุปได้ว่าประเทศต่างๆ เหล่านี้มีการเก็บ CGT ที่มีการจัดเก็บที่แตกต่างกันอย่างไม่เป็นระบบ รวมทั้งมีิัิอัตราที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตามก็ยังมีลักษณะเด่นที่สามารถจะสรุปได้ว่าประเทศที่มีการพัฒนาตลาดการเงินมาในระดับหนึ่งแล้วจะมีการจัดเก็บ
แต่สำหรับประเทศที่กำลังพัฒนาตลาดเงินและพยายามที่จะให้มีการเปิดเสรีทางการเงิน เช่น ประเทศในแถบเอเซียก็จะมีการยกเว้น CGT เป็นส่วนใหญ่
http://tdri.or.th/archives/download/rep ... chap_9.pdf
ข้อสรุปเบื้องต้นของ tdri คือ
จากข้อมูล 50 ประเทศที่มีการศึกษาเปรียบเทียบ อาจจะสามารถสรุปได้ว่าประเทศต่างๆ เหล่านี้มีการเก็บ CGT ที่มีการจัดเก็บที่แตกต่างกันอย่างไม่เป็นระบบ รวมทั้งมีิัิอัตราที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตามก็ยังมีลักษณะเด่นที่สามารถจะสรุปได้ว่าประเทศที่มีการพัฒนาตลาดการเงินมาในระดับหนึ่งแล้วจะมีการจัดเก็บ
แต่สำหรับประเทศที่กำลังพัฒนาตลาดเงินและพยายามที่จะให้มีการเปิดเสรีทางการเงิน เช่น ประเทศในแถบเอเซียก็จะมีการยกเว้น CGT เป็นส่วนใหญ่
Circle of competence
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 806
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Cap gain tax ถ้าหาก
โพสต์ที่ 11
By K.Banyong Pongpanich
ข้อคัดค้าน...เรื่องการเก็บภาษีกำไรจากตลาดหุ้น. ..... 19 มิย. 2557 Capital Gains Tax Debate.... มีผู้หยิบยกข้อเสนอต่อคสช. ให้ยกเลิกการยกเว้นการเก็บภาษีผลได้จากทุน(Capital Gains Tax)ที่มีมาเกือบสี่สิบปีแล้วเสีย แล้วกลับมาจัดเก็บใหม่โดยเท่าเทียมกัน การยกเว้นภาษีนี้ เป็นไปตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 42(43) ผมเคยเขียนเรื่องนี้ไว้สองตอน เมื่อเดือน ตุลาคม 2556 ขอนำมาโพสต์ใหม่นะครับ ภาษีผลได้จากทุนในตลาดหุ้น Capital Gains Tax.....เขียนเมื่อ 8 ตค. 2556...(ค่อนข้างเป็นวิชาการครับ... ถ้ากลัวเบื่อก็อย่าอ่านนะครับ) เมื่อไม่กี่วันก่อน ได้รับหนังสือ "การสํารวจองค์ความรู้ภาษีผลได้จากทุน ในตลาดหุ้น และข้อเสนอสําหรับประเทศไทย" ที่เขียนโดย ดร.ภาวิน ศิริประภานุกูล แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(ท่านเป็นเพื่อนกับผมด้วย) ซึ่งอยู่ในชุด การสำรวจองค์ความรู้เพื่อการปฏิรูปประเทศไทย จัดทำโดย สำนักงานปฏิรูป สรุป ข้อความในหนังสือได้ว่า การที่เรายกเว้นภาษีผลได้จากทุนในตลาดหุ้น ให้กับบุคคลธรรมดาที่ขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯนั้น (ต่อไปผมจะขอเรียก Capital Gains Tax อย่างย่อๆว่า CGTนะครับ) เป็นการยกเว้นให้กับกลุ่มคนที่รวยที่สุดในประเทศ ทำให้ระบบภาษีไม่ช่วยลดความเหลื่อมลำ้(ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของไทย) คนรายได้สูงกลับได้รับยกเว้นภาษีทางตรง ขัดกับหลักการที่จะใช้ภาษีช่วย Redistribution ลดความเหลื่อมลำ้ ข้อเสนอของการศึกษา เห็นว่าเราควรทบทวนการยกเว้นนี้ แล้วกลับมาเริ่มเก็บภาษีนี้ โดยอาจเริ่มทีละน้อย แล้วค่อยเพิ่มจนเท่ากับอัตราภาษีเงินได้ทั่วไป(อัตราก้าวหน้า) ถ้าใครสนใจรายละเอียดไปอ่านได้ตามที่แนบมานะครับ ในฐานะที่เป็นคนตลาดทุนมา 36 ปีเศษ และได้รับประโยชน์จากการยกเว้นนี้มาตลอด ผมขอวิจารณ์แบบยาวๆหน่อยนะครับ 1. มีข้อโต้แย้งมากมาย ว่า ในทางทฤษฎีแล้ว "ควร" หรือ "ไม่ควร"มีการเก็บ CGT จากหุ้นหรือเปล่า(ไม่เฉพาะในหรือนอกตลาดด้วย) ที่ว่าควรเก็บก็บอกว่า เพราะเป็นรายได้ และส่วนใหญ่ตกเป็นของคนรวยอีกต่างหาก แต่อีกด้านก็โต้แย้งว่า ถ้าเก็บ จะเป็นการเก็บภาษีซ้อน เพราะ กำไรของกิจการโดนภาษีไปแล้ว(Corporate Income Tax) ราคาหุ้นคือ present Value ของเงินปันผล ถ้าเก็บภาษีทั้งจากกำไรบริษัท จากปันผล และCGT เท่ากับว่า เก็บภาษี Tripple สามครั้งจากเงินได้เดียวกัน (ผิดทฤษฎี ที่ไม่ควรแม้แค่ Double Taxation ) การเก็บCGT จึงเป็นการเพิ่ม Cost of Capital ทำให้มีปัญหาในการแข่งขัน เพราะการพัฒนาหมายถึงต้องลงทุน(โดยเฉพาะใน Capital Intensive Investments) ซึ่งข้อโต้แย้งเรื่อง"เก็บภาษีซ้อน"นี้ดูจะสำคัญกว่า เรื่อง Lock-in Effect กับ Capitalization Effect แต่ในหนังสือไม่ได้กล่าวถึงข้อโต้แย้งนี้เลย 2. มีประเทศจำนวนมาก ที่ไม่มีการเก็บ CGT (จากเหตุผลในข้อที่แล้ว) ในกลุ่ม OECD ก็มีถึง 11 จาก 34 ประเทศที่ไม่มีการเก็บ ในประเทศใกล้เคียงที่ต้องแข่งขันแย่งชิงเงินทุนกับไทย เช่น Singapore Malaysia. Hong Kong. S. Korea. India ก็ไม่เก็บCGT และส่วนใหญ่ ไม่เก็บ Dividend Tax ด้วย Philippines ก็เก็บแค่ 6% ถ้าเราเก็บ ก็จะมีปัญหา อย่างน้อยก็การแข่งขันแย่งชิงเงินทุน (เลยต้องให้BOI เป็นการใหญ่ บิดเบือนกันไปทั้งระบบ) ที่น่ากลัวกว่าก็คือ ในที่สุดจะเกิด Capital Flight คือเมื่อตลาดการเงินเชื่อมโยงกันมากๆ คนจะลงทุนในไทยก็จะไปBase ในประเทศที่ไม่เก็บ คนไทยเอง(ที่มีศักยภาพ...เช่นพวกผม) ก็ขนเงินไปลงทุนมาจากนอกประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่ไม่เก็บ และมีสนธิสัญญาทางภาษี(ไม่เก็บซ้อน) เหลือแต่คนชั้นกลาง ที่เก็บหอมรอมริบสร้างเนื้อสร้างตัวอยู่ เท่านั้นที่ต้องโดนเก็บ 3. ประสิทธิภาพการจัดเก็บก็เป็นปัญหา ว่าจะเก็บจากใครเก็บอย่างไรบ้าง เช่น เก็บเฉพาะคนไทยขายในไทย หรือคนไทยขายทั่วโลก หรือทุกคนที่ขายในไทย หรือทุกคนขายหุ้นไทยทั่วโลก ซึ่งทุกเรื่อง มีทางที่จะหลบ จะหนีได้หมด แถมทำให้เกิดความวุ่นวายไปทั่ว เช่น ถ้าเก็บจากทุกคนที่ขายในไทย ก็จะเกิดตลาดหุ้นไทยนอกอาณาเขตประเทศไทย ถ้าเก็บจากคนไทยทุกคน ก็หลบได้โดยการไปตั้งทรัสตี ตั้งโฮลดิ้ง ตปท. หรือใช้พวก Tax Heaven สรุปว่า เศรษฐีหลุดหมด ผลพลอยเสียก็คือ ทำให้Local Capital Flight เกิดง่ายขึ้นในยามวิกฤติ หลักการที่ว่าควรเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้า (Progressive Taxation) ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่แนวคิดของ David Ricardo (1817) เพื่่อช่วยในการ Redistribution นั้น ในระยะหลังถูกวิพากษ์วิจารณ์มากพอควร ทั้งเรื่องการลดแรงจูงใจ และประสิทธิภาพในการจัดเก็บ นักศศ.หลายท่าน สนับสนุนการเก็บภาษีทางอ้อม เช่นจากการบริโภค (VAT) แล้าค่อยนำมากระจาย Redistribute ผ่านการจัดรัฐสวัสดิการให้ผู้ด้อยโอกาส (เช่น ความเห็นของ Sir Arthur Lewis ผู้ได้รับ Nobel ปี 1979) โดยสรุป ผมเห็นด้วยว่า ปัญหา"ความเหลื่อมลำ้"ในประเทศไทย เป็นเรื่องสำคัญยิ่ง และไม่ได้มีการแก้ไขเพียงพอตลอดมา แต่การใช้มาตรการ "CGT" นี้ จะต้องคำนึงถึง ผลกระทบทุกๆด้านที่ผมกล่าวถึง ผมเห็นด้วยกับหลัก "Progressive Taxation" ในทุกกรณีที่จัดเก็บได้ เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่เป็นอยู่ การเก็บภาษีจากทรัพย์สินอสังหาริมทรัพย์(เพราะไม่มีใครยกหนี หรือเอาไปซ่อนที่ไหนได้ แต่ต้องเก็บจากทุกคน ไม่มีการยกเว้น แม้แต่สถาบันพระมหากษัตริย์ และสนง.ทรัพย์สินฯ) ส่วนภาษีที่ถึงจะมีก็จัดเก็บยาก(ซึ่งในที่สุดเก็บได้จากผู้ไม่มีศักยภาพเลี่ยงเท่านั้น)จะต้องระวังให้มาก (เช่น ภาษีมรดก) เพราะแทนที่จะลด กลับจะเป็นการเพิ่มความเหลื่อมลำ้เข้าไปอีก ที่แปลกใจมาก คือ การที่รัฐบาลในช่วงสองปีที่ผ่านมา ท่านกรุณา ลดภาษีเงินได้นิติบุคคล ลงมาจากร้อยละ30 ของกำไร เหลือเพียง 20% ในปัจจุบัน นัยว่า เพื่อให้แข่งกับบางประเทศใน ASEAN ทำให้เราต้องสูญเสียภาษีไปปีละร่วม 200,000ล้านบาท ทั้งๆที่ Corporate Profit เป็นส่วนเดียวที่เติบโตดีที่สุดต่อเนื่องมาสิบห้าปี (เฉลี่ย 20%ต่อปี) และผู้ที่ได้ประโยชน์ เกือบทั้งหมด เป็นคนรวยที่อยู่ใน 1% แรก ที่มีรายได้รวมกว่า 13%ของปท. กับทุนต่างชาติ เรื่องนี้นับได้ว่าเป็นการ Re-redistribution ครั้งยิ่งใหญ่เลยทีเดียว(ถ้าไม่งั้น ลงทุนสองล้านๆใน7ปี กู้แค่ ห้าแสนล้านก็พอ) ผมถือเป็นผลงาน"โบว์ดำ"ที่ไม่รู้ว่าใช้หัวแม่เท้าข้างไหนคิดออกมา (ความจริงผมควรยกย่อง เพราะว่า กิจการที่ผมบริหารอยู่เสียภาษีน้อยลง ปีละร่วมห้าร้อยล้าน และทำให้หุ้นที่ผมลงทุนอยู่เยอะแยะ ราคาขึ้นกว่า 10%) กลับมาเรื่อง Capital Gains Tax อีกที ความจริงผมกลับมีความเห็นตรงข้าม นั่นคือ ควรเลิกจัดเก็บทั้งหมด ทั้งในตลาดหลักทรัพย์ฯ และนอกตลาด ทั้งจากบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล เพราะการที่เรามีความไม่Neutral มี Tax Bias ทำให้เกิดการบิดเบือนในระบบเยอะ ทำให้ไม่มี M&A ที่เป็นประโยชน์มาก ทำให้บริษัทเข้าตลาดทั้งๆที่ไม่คุ้มค่า ทำให้ไม่มี Venture Capital ที่เป็นแหล่งเงินทุนคุณภาพที่สำคัญสำหรับ SMEs การที่มีการยกเว้นเฉพาะในตลาดหุ้นฯ โดยอ้างว่าเพื่อส่งเสริมให้คนเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้น ไม่Make Sense เพราะคนได้ประโยชน์มากสุด ไม่ใช่คนเข้ามาซื้อหุ้น แต่เป็นพวกเจ้าของดั้งเดิม ที่มาขายหุ้นในตลาด เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ ที่ต้องชัดเจนครับ สำหรับผม ถ้าเว้น ขอให้เว้นทั้งหมด ถ้าเก็บก็ควรเก็บทั้งมวล ซึ่งผมคิดว่า ควรเว้นนะครับ ความเห็นผมแย้งกับรายงานของ อาจารย์ ดร.ภาวิน ครับ ลองอ่านเปรียบเทียบดูนะครับ ทุกอย่างมีหลายมุมเสมอ Capital Gains Tax ...อีกที. (16 ตค. 2556) วันก่อนเขียนเรื่อง "ภาษีผลได้จากทุนในตลาดหุ้น" (CGT) ไปเมื่อ 8 ตค. ซึ่งผมมีความเห็นว่า เราไม่ควรเรียกเก็บ แถมเสนอว่า ควรยกเลิกไปหมดทั้งใน และนอกตลาดหลักทรัพย์ ทั้งบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล และยังสะเออะเลยไปถึงว่า ควรพิจารณาเลิกเก็บภาษีจากเงินปันผลด้วยหรือไม่(กลับไปอ่านได้นะครับ) ผมต้องประกาศตัวก่อนว่า ผมประกอบอาชีพในตลาดทุน แถมมีเงินลงทุนในหุ้นอีกมาก เพราะฉะนั้น ข้อเสนอ ข้อโต้แย้งอาจดูเป็นการ Bias เข้าประโยชน์ส่วนตน แต่ขอยืนยันว่า ที่โต้แย้ง เป็นไปโดยบริสุทธิ์ใจ ในฐานะผู้เสียภาษีที่ดีตลอดมา (โดยที่ไม่เคยคิดหรือเรียกร้องเลยว่าผู้เสียภาษีมากควรได้สิทธิ์พิเศษอะไร) แต่ก็ขอให้ผู้อ่านใช้วิจารณญาน ใช้หลัก"กาลามสูตร"พิจารณาให้ดี โดยคำนึงถึงข้อขัดแย้งในผลประโยชน์ของผมดังที่ได้ประกาศDisclaimไว้นะครับ และถ้าไม่ยกเว้นทั้งหมด ผมก็เสนอให้เก็บทั้งหมดเหมือนกัน ทั้งในและนอกตลาดด้วยซำ้ เหตุผลเดิมที่ยกเว้นเพื่อส่งเสริมการลงทุนในตลาดหุ้น น่าจะพ้นยุคไปแล้ว (ก็ส่งเสริมมาตั้ง 38 ปีแล้ว) แถมในอดีตผู้ที่ได้ประโยชน์มาก กลับไม่ใช่เป็นผู้ที่เข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นฯ แต่เป็นเจ้าของเดิมที่เอาหุ้นมาขายในตลาดต่างหาก (จำ 73,000ล้านได้ไหมครับ และก็สารภาพว่าผมเองก็ได้รับยกเว้นเพราะข้อนี้ไปหลายร้อยล้าน) และถ้าจัดเก็บผมก็จะจ่าย ถ้าไม่มีวิธีที่จะเลี่ยง(ไม่ใช่หลบนะครับ)โดยไม่ผิดกฎหมาย (แต่ขอยืนยันว่าน่าจะมีแน่นอน สำหรับคนรวยอย่างผม และก็ขอยืนยันว่าถ้ามีผมก็จะไม่จ่าย...ก็คุณBuffetยังยอมรับว่าเค้าจ่ายภาษีในอัตราตำ่กว่าเลขาเค้าอีก แต่ก็ไม่จ่าย เพราะไม่ต้องจ่าย แต่จะเก็บไว้บริจาค99%) มีผู้แย้งว่า เหตุผลเรื่องเก็บภาษีซ้อนที่ผมยก ไม่น่าจะฟังขึ้นเพราะมีการเก็บภาษีซ้อนตั้งเยอะแยะ เช่น คนที่เสียภาษีเงินได้ ยังต้องเสีย VAT ขอเรียนว่าเท่าที่ผมทราบ (บอกไปแล้วว่าไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญทฤษฎีภาษี) การเก็บภาษีทางตรงนั้น มีหลักว่าไม่ควรเก็บซ้อนหลายครั้งในเงินได้ก้อนเดียวกันจริงๆ เพราะมันจะ Disincentive ไม่ให้คนลงทุน หรือทำงานหนัก แต่ภาษีทางอ้อมซำ้ซ้อนไม่เป็นไร เพราะถือว่าเก็บจากการบริโภค อย่างภาษีศุลกากร สรรพสามิต กับ VATก็ซำ้ซ้อนกันได้ เช่น ซื้อรถ กินเหล้า ซื้อVersace ก็ต้องเสียทั้งสองอย่าง แต่เอาเถอะ ไม่ต้องคำนึงถึงเหตุผลภาษีซ้อน มาดูเหตุผลอื่นอีกสักสองเหตุผล เหตุผลแรก เป็นเรื่องต้นทุนของการลงทุน ปกติการลงทุนในหุ้นทุนซึ่งมีความเสี่ยงสูงนักลงทุนจะมีเป้าหมายผลตอบแทน(Required Rate ofReturn) สำหรับตลาดไทยจะอยู่ประมาณ 12% ต่อปี ถ้าเรามี CGT 37% ภาษีปันผล10%และภาษีเงินได้นิติบุคคลอีก20% ก็ตือต้องเสีย Tripple Tax จากเงินลงทุนก้อนเดียว ทีนี้ ถ้านักลงทุนต้องการสุทธิ 12% สมมุติว่าได้ปันผล 3% สุทธิเหลือ 2.7% ดังนั้นต้องได้สุทธิจากcapital gains อีก 9.3% หรือต้องได้ 9.3/.63 เท่ากับ 14.8% ดังนั้นตัวบริษัทต้องทำกำไรก่อนภาษีเท่ากับ (14.8+3)/0.8 เท่ากับ 22.25% ผู้ลงทุนถึงจะได้ผลตอบแทน 12%ตามที่ต้องการ เมื่อเทียบกับ สิงคโปร์ มาเลเชีย ที่เป็นคู่แข่งทั้งแย่งเงินทุน และขายสินค้า ของเค้าเก็บCorporate Income Tax อย่างเดียว บริษัททำกำไรก่อนภาษีแค่ 15% (12/0.8) นักลงทุนก็ได้ผลตอบแทนสุทธิ 12% เท่าของเราแล้ว ลองคิดดูซิครับ ถ้าลงทุนแข่งกัน ขายสินค้าแข่งกัน เค้าต้องการกำไร 15% เราต้องการ 22.25% ใครจะแข่งชนะ ถ้าคุณเป็นนักลงทุนต่างชาติ คุณจะเลือกลงที่ไหน โดยเฉพาะถ้าเป็น Capital Intensive Investment ซึ่งมักเป็นอุตสาหกรรมที่มี Value Addedสูง เราจะยิ่งเสียเปรียบ เรียกว่าต้นทุนการเงินสูงกว่ามาก ถ้าต้นทุนการเงินสูง คนก็จะลงแต่พวก Non-Tradables(สินค้าที่ไม่ต้องแข่งในตลาดโลก) เช่น Property Healthcare. Infrastructure Retails เพราะพวกนี้สามารถผลักภาระไปในราคา ให้ผู้บริโภครับไป ส่วนสินค้าส่งออก ก็ต้องไปแข่งพวกที่ใช้ทุนตำ่ เป็น Labor Intensive หรือที่กดราคาวัตถุดิบในปท.ได้ แถมถ้าต้นทุนพวก Non-Tradablesสูง ก็ยิ่งบั่นทอนศักยภาพการแข่งขันไปใหญ่ จะเห็นว่า พอเราอยากให้คนลงทุน เลยต้องมี BOI ให้สิทธิ์ประโยชน์ทางภาษีทุกอย่าง เลยเก็บไม่ได้เลย กับทำให้ระบบบิดเบือนลักลั่นไปหมด (ผมมีความเห็นว่าควรเลิกส่งเสริมการลงทุนโดยให้สิทธิ์ทางภาษีเสียที แต่เปลี่ยนเป็นใช้นโยบายภาษีที่แข่งได้เสียที กับส่งเสริมโดยวิธีอื่น) เห็นไหมครับ ภาษี ทำให้สภาพการแข่งขันกระทบได้แค่ไหน กับทำให้เกิดการบิดเบือนในระยะยาวได้มากอีก เหตุผลที่สอง เป็นเรื่องการจัดเก็บCGT ถ้าจะเก็บให้ได้ผล ให้เท่าเทียม เป็นเรื่องยากมาก หรือแทบเป็นไปไม่ได้เลย จะต้องเลิกต้องรื้อ สนธิสัญญาทางภาษีเดิมที่ทำไว้แทบทุกปท. ถ้าไม่งั้นจะจัดเก็บได้เฉพาะกับคนไทยรายย่อยเท่านั้น แล้วก็อาจเกิดผลกระทบอื่นๆตามมาอีกเช่น อาจมีตลาดหุ้นไทยนอกประเทศ หรือเกิด Capital Flight ขอยกตัวอย่าง ถ้าจัดเก็บCGT โดยทุกอย่างไม่เปลี่ยน ผมก็เปลี่ยนไปลงทุนผ่าน กองทุนรวมต่างประเทศ (การย้ายเงินออกทำได้ง่าย และไม่ผิดกฎด้วย) หรือไปตั้งทรัสตี หรือโฮลดิ้งสัญชาติที่มีอนุสัญญาไม่เก็บภาษีซ้อน แล้วลงทุนเข้ามา หรือไม่ก็พาลเลิกลงทุนในหุ้นไทยเสียเลย (ก็มีหุ้นดีๆอื่นๆให้เลือกทั่วโลกอีกตั้ง กว่า30,000หุ้น ที่ไม่ต้องเสียCGT นี่ครับ) สรุป ผมยืนยันความเห็นว่า การจะเก็บCGT น่าจะมีผลเสียมากกว่าผลดีมากครับ แถมเห็นว่า น่าจะเลิกเก็บทั้งในตลาด นอกตลาด ทั้งจากนิติบุคคลด้วย จะได้ส่งเสริมให้เกิดการลงทุน และกิจกรรมสำคัญอื่น เช่น M&A , การ Restructure, Venture Capital ซึ่งล้วนมีส่วนสำคัญที่จะช่วยพัฒนาศก.ทั้งสิ้น
ข้อคัดค้าน...เรื่องการเก็บภาษีกำไรจากตลาดหุ้น. ..... 19 มิย. 2557 Capital Gains Tax Debate.... มีผู้หยิบยกข้อเสนอต่อคสช. ให้ยกเลิกการยกเว้นการเก็บภาษีผลได้จากทุน(Capital Gains Tax)ที่มีมาเกือบสี่สิบปีแล้วเสีย แล้วกลับมาจัดเก็บใหม่โดยเท่าเทียมกัน การยกเว้นภาษีนี้ เป็นไปตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 42(43) ผมเคยเขียนเรื่องนี้ไว้สองตอน เมื่อเดือน ตุลาคม 2556 ขอนำมาโพสต์ใหม่นะครับ ภาษีผลได้จากทุนในตลาดหุ้น Capital Gains Tax.....เขียนเมื่อ 8 ตค. 2556...(ค่อนข้างเป็นวิชาการครับ... ถ้ากลัวเบื่อก็อย่าอ่านนะครับ) เมื่อไม่กี่วันก่อน ได้รับหนังสือ "การสํารวจองค์ความรู้ภาษีผลได้จากทุน ในตลาดหุ้น และข้อเสนอสําหรับประเทศไทย" ที่เขียนโดย ดร.ภาวิน ศิริประภานุกูล แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(ท่านเป็นเพื่อนกับผมด้วย) ซึ่งอยู่ในชุด การสำรวจองค์ความรู้เพื่อการปฏิรูปประเทศไทย จัดทำโดย สำนักงานปฏิรูป สรุป ข้อความในหนังสือได้ว่า การที่เรายกเว้นภาษีผลได้จากทุนในตลาดหุ้น ให้กับบุคคลธรรมดาที่ขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯนั้น (ต่อไปผมจะขอเรียก Capital Gains Tax อย่างย่อๆว่า CGTนะครับ) เป็นการยกเว้นให้กับกลุ่มคนที่รวยที่สุดในประเทศ ทำให้ระบบภาษีไม่ช่วยลดความเหลื่อมลำ้(ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของไทย) คนรายได้สูงกลับได้รับยกเว้นภาษีทางตรง ขัดกับหลักการที่จะใช้ภาษีช่วย Redistribution ลดความเหลื่อมลำ้ ข้อเสนอของการศึกษา เห็นว่าเราควรทบทวนการยกเว้นนี้ แล้วกลับมาเริ่มเก็บภาษีนี้ โดยอาจเริ่มทีละน้อย แล้วค่อยเพิ่มจนเท่ากับอัตราภาษีเงินได้ทั่วไป(อัตราก้าวหน้า) ถ้าใครสนใจรายละเอียดไปอ่านได้ตามที่แนบมานะครับ ในฐานะที่เป็นคนตลาดทุนมา 36 ปีเศษ และได้รับประโยชน์จากการยกเว้นนี้มาตลอด ผมขอวิจารณ์แบบยาวๆหน่อยนะครับ 1. มีข้อโต้แย้งมากมาย ว่า ในทางทฤษฎีแล้ว "ควร" หรือ "ไม่ควร"มีการเก็บ CGT จากหุ้นหรือเปล่า(ไม่เฉพาะในหรือนอกตลาดด้วย) ที่ว่าควรเก็บก็บอกว่า เพราะเป็นรายได้ และส่วนใหญ่ตกเป็นของคนรวยอีกต่างหาก แต่อีกด้านก็โต้แย้งว่า ถ้าเก็บ จะเป็นการเก็บภาษีซ้อน เพราะ กำไรของกิจการโดนภาษีไปแล้ว(Corporate Income Tax) ราคาหุ้นคือ present Value ของเงินปันผล ถ้าเก็บภาษีทั้งจากกำไรบริษัท จากปันผล และCGT เท่ากับว่า เก็บภาษี Tripple สามครั้งจากเงินได้เดียวกัน (ผิดทฤษฎี ที่ไม่ควรแม้แค่ Double Taxation ) การเก็บCGT จึงเป็นการเพิ่ม Cost of Capital ทำให้มีปัญหาในการแข่งขัน เพราะการพัฒนาหมายถึงต้องลงทุน(โดยเฉพาะใน Capital Intensive Investments) ซึ่งข้อโต้แย้งเรื่อง"เก็บภาษีซ้อน"นี้ดูจะสำคัญกว่า เรื่อง Lock-in Effect กับ Capitalization Effect แต่ในหนังสือไม่ได้กล่าวถึงข้อโต้แย้งนี้เลย 2. มีประเทศจำนวนมาก ที่ไม่มีการเก็บ CGT (จากเหตุผลในข้อที่แล้ว) ในกลุ่ม OECD ก็มีถึง 11 จาก 34 ประเทศที่ไม่มีการเก็บ ในประเทศใกล้เคียงที่ต้องแข่งขันแย่งชิงเงินทุนกับไทย เช่น Singapore Malaysia. Hong Kong. S. Korea. India ก็ไม่เก็บCGT และส่วนใหญ่ ไม่เก็บ Dividend Tax ด้วย Philippines ก็เก็บแค่ 6% ถ้าเราเก็บ ก็จะมีปัญหา อย่างน้อยก็การแข่งขันแย่งชิงเงินทุน (เลยต้องให้BOI เป็นการใหญ่ บิดเบือนกันไปทั้งระบบ) ที่น่ากลัวกว่าก็คือ ในที่สุดจะเกิด Capital Flight คือเมื่อตลาดการเงินเชื่อมโยงกันมากๆ คนจะลงทุนในไทยก็จะไปBase ในประเทศที่ไม่เก็บ คนไทยเอง(ที่มีศักยภาพ...เช่นพวกผม) ก็ขนเงินไปลงทุนมาจากนอกประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่ไม่เก็บ และมีสนธิสัญญาทางภาษี(ไม่เก็บซ้อน) เหลือแต่คนชั้นกลาง ที่เก็บหอมรอมริบสร้างเนื้อสร้างตัวอยู่ เท่านั้นที่ต้องโดนเก็บ 3. ประสิทธิภาพการจัดเก็บก็เป็นปัญหา ว่าจะเก็บจากใครเก็บอย่างไรบ้าง เช่น เก็บเฉพาะคนไทยขายในไทย หรือคนไทยขายทั่วโลก หรือทุกคนที่ขายในไทย หรือทุกคนขายหุ้นไทยทั่วโลก ซึ่งทุกเรื่อง มีทางที่จะหลบ จะหนีได้หมด แถมทำให้เกิดความวุ่นวายไปทั่ว เช่น ถ้าเก็บจากทุกคนที่ขายในไทย ก็จะเกิดตลาดหุ้นไทยนอกอาณาเขตประเทศไทย ถ้าเก็บจากคนไทยทุกคน ก็หลบได้โดยการไปตั้งทรัสตี ตั้งโฮลดิ้ง ตปท. หรือใช้พวก Tax Heaven สรุปว่า เศรษฐีหลุดหมด ผลพลอยเสียก็คือ ทำให้Local Capital Flight เกิดง่ายขึ้นในยามวิกฤติ หลักการที่ว่าควรเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้า (Progressive Taxation) ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่แนวคิดของ David Ricardo (1817) เพื่่อช่วยในการ Redistribution นั้น ในระยะหลังถูกวิพากษ์วิจารณ์มากพอควร ทั้งเรื่องการลดแรงจูงใจ และประสิทธิภาพในการจัดเก็บ นักศศ.หลายท่าน สนับสนุนการเก็บภาษีทางอ้อม เช่นจากการบริโภค (VAT) แล้าค่อยนำมากระจาย Redistribute ผ่านการจัดรัฐสวัสดิการให้ผู้ด้อยโอกาส (เช่น ความเห็นของ Sir Arthur Lewis ผู้ได้รับ Nobel ปี 1979) โดยสรุป ผมเห็นด้วยว่า ปัญหา"ความเหลื่อมลำ้"ในประเทศไทย เป็นเรื่องสำคัญยิ่ง และไม่ได้มีการแก้ไขเพียงพอตลอดมา แต่การใช้มาตรการ "CGT" นี้ จะต้องคำนึงถึง ผลกระทบทุกๆด้านที่ผมกล่าวถึง ผมเห็นด้วยกับหลัก "Progressive Taxation" ในทุกกรณีที่จัดเก็บได้ เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่เป็นอยู่ การเก็บภาษีจากทรัพย์สินอสังหาริมทรัพย์(เพราะไม่มีใครยกหนี หรือเอาไปซ่อนที่ไหนได้ แต่ต้องเก็บจากทุกคน ไม่มีการยกเว้น แม้แต่สถาบันพระมหากษัตริย์ และสนง.ทรัพย์สินฯ) ส่วนภาษีที่ถึงจะมีก็จัดเก็บยาก(ซึ่งในที่สุดเก็บได้จากผู้ไม่มีศักยภาพเลี่ยงเท่านั้น)จะต้องระวังให้มาก (เช่น ภาษีมรดก) เพราะแทนที่จะลด กลับจะเป็นการเพิ่มความเหลื่อมลำ้เข้าไปอีก ที่แปลกใจมาก คือ การที่รัฐบาลในช่วงสองปีที่ผ่านมา ท่านกรุณา ลดภาษีเงินได้นิติบุคคล ลงมาจากร้อยละ30 ของกำไร เหลือเพียง 20% ในปัจจุบัน นัยว่า เพื่อให้แข่งกับบางประเทศใน ASEAN ทำให้เราต้องสูญเสียภาษีไปปีละร่วม 200,000ล้านบาท ทั้งๆที่ Corporate Profit เป็นส่วนเดียวที่เติบโตดีที่สุดต่อเนื่องมาสิบห้าปี (เฉลี่ย 20%ต่อปี) และผู้ที่ได้ประโยชน์ เกือบทั้งหมด เป็นคนรวยที่อยู่ใน 1% แรก ที่มีรายได้รวมกว่า 13%ของปท. กับทุนต่างชาติ เรื่องนี้นับได้ว่าเป็นการ Re-redistribution ครั้งยิ่งใหญ่เลยทีเดียว(ถ้าไม่งั้น ลงทุนสองล้านๆใน7ปี กู้แค่ ห้าแสนล้านก็พอ) ผมถือเป็นผลงาน"โบว์ดำ"ที่ไม่รู้ว่าใช้หัวแม่เท้าข้างไหนคิดออกมา (ความจริงผมควรยกย่อง เพราะว่า กิจการที่ผมบริหารอยู่เสียภาษีน้อยลง ปีละร่วมห้าร้อยล้าน และทำให้หุ้นที่ผมลงทุนอยู่เยอะแยะ ราคาขึ้นกว่า 10%) กลับมาเรื่อง Capital Gains Tax อีกที ความจริงผมกลับมีความเห็นตรงข้าม นั่นคือ ควรเลิกจัดเก็บทั้งหมด ทั้งในตลาดหลักทรัพย์ฯ และนอกตลาด ทั้งจากบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล เพราะการที่เรามีความไม่Neutral มี Tax Bias ทำให้เกิดการบิดเบือนในระบบเยอะ ทำให้ไม่มี M&A ที่เป็นประโยชน์มาก ทำให้บริษัทเข้าตลาดทั้งๆที่ไม่คุ้มค่า ทำให้ไม่มี Venture Capital ที่เป็นแหล่งเงินทุนคุณภาพที่สำคัญสำหรับ SMEs การที่มีการยกเว้นเฉพาะในตลาดหุ้นฯ โดยอ้างว่าเพื่อส่งเสริมให้คนเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้น ไม่Make Sense เพราะคนได้ประโยชน์มากสุด ไม่ใช่คนเข้ามาซื้อหุ้น แต่เป็นพวกเจ้าของดั้งเดิม ที่มาขายหุ้นในตลาด เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ ที่ต้องชัดเจนครับ สำหรับผม ถ้าเว้น ขอให้เว้นทั้งหมด ถ้าเก็บก็ควรเก็บทั้งมวล ซึ่งผมคิดว่า ควรเว้นนะครับ ความเห็นผมแย้งกับรายงานของ อาจารย์ ดร.ภาวิน ครับ ลองอ่านเปรียบเทียบดูนะครับ ทุกอย่างมีหลายมุมเสมอ Capital Gains Tax ...อีกที. (16 ตค. 2556) วันก่อนเขียนเรื่อง "ภาษีผลได้จากทุนในตลาดหุ้น" (CGT) ไปเมื่อ 8 ตค. ซึ่งผมมีความเห็นว่า เราไม่ควรเรียกเก็บ แถมเสนอว่า ควรยกเลิกไปหมดทั้งใน และนอกตลาดหลักทรัพย์ ทั้งบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล และยังสะเออะเลยไปถึงว่า ควรพิจารณาเลิกเก็บภาษีจากเงินปันผลด้วยหรือไม่(กลับไปอ่านได้นะครับ) ผมต้องประกาศตัวก่อนว่า ผมประกอบอาชีพในตลาดทุน แถมมีเงินลงทุนในหุ้นอีกมาก เพราะฉะนั้น ข้อเสนอ ข้อโต้แย้งอาจดูเป็นการ Bias เข้าประโยชน์ส่วนตน แต่ขอยืนยันว่า ที่โต้แย้ง เป็นไปโดยบริสุทธิ์ใจ ในฐานะผู้เสียภาษีที่ดีตลอดมา (โดยที่ไม่เคยคิดหรือเรียกร้องเลยว่าผู้เสียภาษีมากควรได้สิทธิ์พิเศษอะไร) แต่ก็ขอให้ผู้อ่านใช้วิจารณญาน ใช้หลัก"กาลามสูตร"พิจารณาให้ดี โดยคำนึงถึงข้อขัดแย้งในผลประโยชน์ของผมดังที่ได้ประกาศDisclaimไว้นะครับ และถ้าไม่ยกเว้นทั้งหมด ผมก็เสนอให้เก็บทั้งหมดเหมือนกัน ทั้งในและนอกตลาดด้วยซำ้ เหตุผลเดิมที่ยกเว้นเพื่อส่งเสริมการลงทุนในตลาดหุ้น น่าจะพ้นยุคไปแล้ว (ก็ส่งเสริมมาตั้ง 38 ปีแล้ว) แถมในอดีตผู้ที่ได้ประโยชน์มาก กลับไม่ใช่เป็นผู้ที่เข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นฯ แต่เป็นเจ้าของเดิมที่เอาหุ้นมาขายในตลาดต่างหาก (จำ 73,000ล้านได้ไหมครับ และก็สารภาพว่าผมเองก็ได้รับยกเว้นเพราะข้อนี้ไปหลายร้อยล้าน) และถ้าจัดเก็บผมก็จะจ่าย ถ้าไม่มีวิธีที่จะเลี่ยง(ไม่ใช่หลบนะครับ)โดยไม่ผิดกฎหมาย (แต่ขอยืนยันว่าน่าจะมีแน่นอน สำหรับคนรวยอย่างผม และก็ขอยืนยันว่าถ้ามีผมก็จะไม่จ่าย...ก็คุณBuffetยังยอมรับว่าเค้าจ่ายภาษีในอัตราตำ่กว่าเลขาเค้าอีก แต่ก็ไม่จ่าย เพราะไม่ต้องจ่าย แต่จะเก็บไว้บริจาค99%) มีผู้แย้งว่า เหตุผลเรื่องเก็บภาษีซ้อนที่ผมยก ไม่น่าจะฟังขึ้นเพราะมีการเก็บภาษีซ้อนตั้งเยอะแยะ เช่น คนที่เสียภาษีเงินได้ ยังต้องเสีย VAT ขอเรียนว่าเท่าที่ผมทราบ (บอกไปแล้วว่าไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญทฤษฎีภาษี) การเก็บภาษีทางตรงนั้น มีหลักว่าไม่ควรเก็บซ้อนหลายครั้งในเงินได้ก้อนเดียวกันจริงๆ เพราะมันจะ Disincentive ไม่ให้คนลงทุน หรือทำงานหนัก แต่ภาษีทางอ้อมซำ้ซ้อนไม่เป็นไร เพราะถือว่าเก็บจากการบริโภค อย่างภาษีศุลกากร สรรพสามิต กับ VATก็ซำ้ซ้อนกันได้ เช่น ซื้อรถ กินเหล้า ซื้อVersace ก็ต้องเสียทั้งสองอย่าง แต่เอาเถอะ ไม่ต้องคำนึงถึงเหตุผลภาษีซ้อน มาดูเหตุผลอื่นอีกสักสองเหตุผล เหตุผลแรก เป็นเรื่องต้นทุนของการลงทุน ปกติการลงทุนในหุ้นทุนซึ่งมีความเสี่ยงสูงนักลงทุนจะมีเป้าหมายผลตอบแทน(Required Rate ofReturn) สำหรับตลาดไทยจะอยู่ประมาณ 12% ต่อปี ถ้าเรามี CGT 37% ภาษีปันผล10%และภาษีเงินได้นิติบุคคลอีก20% ก็ตือต้องเสีย Tripple Tax จากเงินลงทุนก้อนเดียว ทีนี้ ถ้านักลงทุนต้องการสุทธิ 12% สมมุติว่าได้ปันผล 3% สุทธิเหลือ 2.7% ดังนั้นต้องได้สุทธิจากcapital gains อีก 9.3% หรือต้องได้ 9.3/.63 เท่ากับ 14.8% ดังนั้นตัวบริษัทต้องทำกำไรก่อนภาษีเท่ากับ (14.8+3)/0.8 เท่ากับ 22.25% ผู้ลงทุนถึงจะได้ผลตอบแทน 12%ตามที่ต้องการ เมื่อเทียบกับ สิงคโปร์ มาเลเชีย ที่เป็นคู่แข่งทั้งแย่งเงินทุน และขายสินค้า ของเค้าเก็บCorporate Income Tax อย่างเดียว บริษัททำกำไรก่อนภาษีแค่ 15% (12/0.8) นักลงทุนก็ได้ผลตอบแทนสุทธิ 12% เท่าของเราแล้ว ลองคิดดูซิครับ ถ้าลงทุนแข่งกัน ขายสินค้าแข่งกัน เค้าต้องการกำไร 15% เราต้องการ 22.25% ใครจะแข่งชนะ ถ้าคุณเป็นนักลงทุนต่างชาติ คุณจะเลือกลงที่ไหน โดยเฉพาะถ้าเป็น Capital Intensive Investment ซึ่งมักเป็นอุตสาหกรรมที่มี Value Addedสูง เราจะยิ่งเสียเปรียบ เรียกว่าต้นทุนการเงินสูงกว่ามาก ถ้าต้นทุนการเงินสูง คนก็จะลงแต่พวก Non-Tradables(สินค้าที่ไม่ต้องแข่งในตลาดโลก) เช่น Property Healthcare. Infrastructure Retails เพราะพวกนี้สามารถผลักภาระไปในราคา ให้ผู้บริโภครับไป ส่วนสินค้าส่งออก ก็ต้องไปแข่งพวกที่ใช้ทุนตำ่ เป็น Labor Intensive หรือที่กดราคาวัตถุดิบในปท.ได้ แถมถ้าต้นทุนพวก Non-Tradablesสูง ก็ยิ่งบั่นทอนศักยภาพการแข่งขันไปใหญ่ จะเห็นว่า พอเราอยากให้คนลงทุน เลยต้องมี BOI ให้สิทธิ์ประโยชน์ทางภาษีทุกอย่าง เลยเก็บไม่ได้เลย กับทำให้ระบบบิดเบือนลักลั่นไปหมด (ผมมีความเห็นว่าควรเลิกส่งเสริมการลงทุนโดยให้สิทธิ์ทางภาษีเสียที แต่เปลี่ยนเป็นใช้นโยบายภาษีที่แข่งได้เสียที กับส่งเสริมโดยวิธีอื่น) เห็นไหมครับ ภาษี ทำให้สภาพการแข่งขันกระทบได้แค่ไหน กับทำให้เกิดการบิดเบือนในระยะยาวได้มากอีก เหตุผลที่สอง เป็นเรื่องการจัดเก็บCGT ถ้าจะเก็บให้ได้ผล ให้เท่าเทียม เป็นเรื่องยากมาก หรือแทบเป็นไปไม่ได้เลย จะต้องเลิกต้องรื้อ สนธิสัญญาทางภาษีเดิมที่ทำไว้แทบทุกปท. ถ้าไม่งั้นจะจัดเก็บได้เฉพาะกับคนไทยรายย่อยเท่านั้น แล้วก็อาจเกิดผลกระทบอื่นๆตามมาอีกเช่น อาจมีตลาดหุ้นไทยนอกประเทศ หรือเกิด Capital Flight ขอยกตัวอย่าง ถ้าจัดเก็บCGT โดยทุกอย่างไม่เปลี่ยน ผมก็เปลี่ยนไปลงทุนผ่าน กองทุนรวมต่างประเทศ (การย้ายเงินออกทำได้ง่าย และไม่ผิดกฎด้วย) หรือไปตั้งทรัสตี หรือโฮลดิ้งสัญชาติที่มีอนุสัญญาไม่เก็บภาษีซ้อน แล้วลงทุนเข้ามา หรือไม่ก็พาลเลิกลงทุนในหุ้นไทยเสียเลย (ก็มีหุ้นดีๆอื่นๆให้เลือกทั่วโลกอีกตั้ง กว่า30,000หุ้น ที่ไม่ต้องเสียCGT นี่ครับ) สรุป ผมยืนยันความเห็นว่า การจะเก็บCGT น่าจะมีผลเสียมากกว่าผลดีมากครับ แถมเห็นว่า น่าจะเลิกเก็บทั้งในตลาด นอกตลาด ทั้งจากนิติบุคคลด้วย จะได้ส่งเสริมให้เกิดการลงทุน และกิจกรรมสำคัญอื่น เช่น M&A , การ Restructure, Venture Capital ซึ่งล้วนมีส่วนสำคัญที่จะช่วยพัฒนาศก.ทั้งสิ้น
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3352
- ผู้ติดตาม: 1
Re: Cap gain tax ถ้าหาก
โพสต์ที่ 13
ผมว่าเห็นด้วยกับการเก็บนะครับ
ตามปกติคนเล่นหุ้น 100 คนกำไรกันแค่ 1-2 คน คนที่เก่งจริงๆ ทำกำไรได้จริงๆ เป็นคนที่รวย มีความรู้ มี Connection และมี Endowment ที่ดีอยู่แล้ว การยกเว้นภาษีตรงนี้เป็นการเอื้อคนรวย ทำให้ income distribution ยิ่งแย่ลงๆ การเก็บตรงนี้นอกจากจะเป็นการกระจายรายได้แล้ว ยังเป็นการลดการเก็งกำไร ให้ลงทุนระยะยาวด้วย
ตามปกติเมื่อเก็บภาษี cap gain คนที่มี loss ก็สามารถเอามา Claim ภาษีได้ ซึ่งโดยส่วนใหญ่คนที่ Loss อาจจะมีฐานภาษีที่ต่ำอยู่แล้ว อาจจะ Claim ได้ไม่มากเท่าไหร่ โดยรวมแล้ว รัฐฯ น่าจะมีรายได้เพิ่มขึ้น จะได้เอารายได้ตรงนี้ไปพัฒนาช่วยเหลือคนจนจะดีกว่า
นอกจากภาษี Capital Gain ที่ผมเห็นด้วยที่ให้เก็บ ผมว่าน่าจะผ่านภาษีมรดกออกมาให้สำเร็จด้วย ภาษีทั้ง 2 ตัวนี้เป็นภาษีที่เอื้อประโยชน์ต่อคนรวยมากๆ ถ้าเก็บตรงนี้ได้ จะมีเงินเอาไปพัฒนาชาติได้อีกเยอะเลยครับ
ตามปกติคนเล่นหุ้น 100 คนกำไรกันแค่ 1-2 คน คนที่เก่งจริงๆ ทำกำไรได้จริงๆ เป็นคนที่รวย มีความรู้ มี Connection และมี Endowment ที่ดีอยู่แล้ว การยกเว้นภาษีตรงนี้เป็นการเอื้อคนรวย ทำให้ income distribution ยิ่งแย่ลงๆ การเก็บตรงนี้นอกจากจะเป็นการกระจายรายได้แล้ว ยังเป็นการลดการเก็งกำไร ให้ลงทุนระยะยาวด้วย
ตามปกติเมื่อเก็บภาษี cap gain คนที่มี loss ก็สามารถเอามา Claim ภาษีได้ ซึ่งโดยส่วนใหญ่คนที่ Loss อาจจะมีฐานภาษีที่ต่ำอยู่แล้ว อาจจะ Claim ได้ไม่มากเท่าไหร่ โดยรวมแล้ว รัฐฯ น่าจะมีรายได้เพิ่มขึ้น จะได้เอารายได้ตรงนี้ไปพัฒนาช่วยเหลือคนจนจะดีกว่า
นอกจากภาษี Capital Gain ที่ผมเห็นด้วยที่ให้เก็บ ผมว่าน่าจะผ่านภาษีมรดกออกมาให้สำเร็จด้วย ภาษีทั้ง 2 ตัวนี้เป็นภาษีที่เอื้อประโยชน์ต่อคนรวยมากๆ ถ้าเก็บตรงนี้ได้ จะมีเงินเอาไปพัฒนาชาติได้อีกเยอะเลยครับ
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3352
- ผู้ติดตาม: 1
Re: Cap gain tax ถ้าหาก
โพสต์ที่ 14
อ้อ... ถ้าเกิดผ่านภาษี Cap Gain กับ มรดก ได้สำเร็จ ผมอยากให้ผ่านกฎหมายเรื่องเงินบริจาคเพื่อเอาไปลดภาษีให้ได้มากกว่านี้ด้วย ทุกวันนี้ Cap เอาไว้ที่ 10% เอง การให้ผู้เสียภาษีสามารถ Allocate เงินกลับเข้าสู่สังคมได้ น่าจะสนุก และมีประสิทธิภาพในการใช้เงินได้มากขึ้นกว่าให้เงินทั้งหมดกลับเข้ารัฐฯ
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 90
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Cap gain tax ถ้าหาก
โพสต์ที่ 15
แล้วสมมติถ้ากฏหมายเก็บ capital gain คลอดออกมาปี 2558
นาย ก ซื้อหุ้นเข้า port ปี 2550 port ณ 2550 มูลค่า 1,000,000
นาย ก ขายหุ้น ปี 2558 port ณ 2558 มูลค่า 10,000,000
แปลว่า เราต้องเสียภาษีตรงส่วนต่าง 9,000,000 ใช่ไหมครับ
อย่างนี้ บางคนก็อาจจะขายก่อนกฎหมายบังคับใช้เพื่อ reset ต้นทุนใหม่ให้เป็น 10,000,000 หรือป่าวครับ
นาย ก ซื้อหุ้นเข้า port ปี 2550 port ณ 2550 มูลค่า 1,000,000
นาย ก ขายหุ้น ปี 2558 port ณ 2558 มูลค่า 10,000,000
แปลว่า เราต้องเสียภาษีตรงส่วนต่าง 9,000,000 ใช่ไหมครับ
อย่างนี้ บางคนก็อาจจะขายก่อนกฎหมายบังคับใช้เพื่อ reset ต้นทุนใหม่ให้เป็น 10,000,000 หรือป่าวครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 2236
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Cap gain tax ถ้าหาก
โพสต์ที่ 16
ใจเย็นๆนะครับ มันยังไม่เกิดเลยและไม่รู้จะได้เกิดขึ้นมั้ยWHYDOWEFALL เขียน:แล้วสมมติถ้ากฏหมายเก็บ capital gain คลอดออกมาปี 2558
นาย ก ซื้อหุ้นเข้า port ปี 2550 port ณ 2550 มูลค่า 1,000,000
นาย ก ขายหุ้น ปี 2558 port ณ 2558 มูลค่า 10,000,000
แปลว่า เราต้องเสียภาษีตรงส่วนต่าง 9,000,000 ใช่ไหมครับ
อย่างนี้ บางคนก็อาจจะขายก่อนกฎหมายบังคับใช้เพื่อ reset ต้นทุนใหม่ให้เป็น 10,000,000 หรือป่าวครับ
นักเลงคีย์บอร์ด4.0
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1317
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Cap gain tax ถ้าหาก
โพสต์ที่ 17
ไม่อยากให้คนเก็งกำไรอยากให้มีแต่คนลงทุนระยะยาว แล้วกลไกตลาดไม่เสียสมดุลเหรอครับ มีนักเก็งกำไรเลยทำให้ Mr. Market ทำงานได้ มีอารมณ์ขึ้นลง คนลงทุนระยะยาวก็อาศัยจุดนี้ในการซื้อหุ้นไม่ใช่เหรอครับ งงครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 972
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Cap gain tax ถ้าหาก
โพสต์ที่ 18
เมื่อกี้ผมไปเปิดกระทู้ใหม่ ลืมไปว่ามีคุยกันเรื่องนี้ในห้องนี้แล้ว ขอโพสต์ใหม่อีกทีนะครับ
กิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์ โจทย์ใหญ่...ปฏิรูปภาษีตลาดทุน
สัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นไทยเกิดประเด็นร้อนจากที่มีการหยิบยกเรื่องข้อเสนอการจัดเก็บภาษี กำไรจากการขายหุ้น (Capital Gain Tax) ขึ้นมาเขย่าตลาดหุ้น พร้อมเอ่ยอ้างถึงข้อเสนอ แผนการปฏิรูปกฎหมายและภาษีแบบเร่งด่วน (Fast Track) ที่ได้นำเสนอต่อ 7 องค์กรเอกชน ของ "กิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์" ประธานกรรมการ บริษัท เบเคอร์ แอนด์ แม็คเค็นซี่ จำกัด ซึ่งล่าสุดได้นั่งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)
ทุก ครั้งที่มีการพูดถึงการเก็บภาษีกำไรจากการขายหุ้นก็เป็นประเด็นร้อนทุกครั้ง และแน่นอนว่าจะมีเสียงคัดค้านจากคนในแวดวงตลาดทุนว่าประเทศไทยยังไม่พร้อม และจะส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทยทันที "ประชาชาติธุรกิจ" ได้สัมภาษณ์พิเศษ "กิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์" ถึงแนวคิดและที่มาที่ไปที่แท้จริงของข้อเสนอการปฏิรูปดังกล่าว
ทำไมเสนอแผนปฏิรูปกฎหมายและภาษีแบบเร่งด่วน
ช่วง เวลานี้ประเทศไทยต้องพลิกวิกฤตเป็นโอกาส เพราะอดีตที่ผ่านมาประเทศไทยติดกับดักในเทคนิคทางกฎหมายมากมาย ต้องบอกว่านับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2481 ประเทศไทยไม่เคยมีการปฏิรูปภาษีใหม่เลย โดย เฉพาะในช่วงประชาธิปไตยเต็มใบ ด้วยเหตุผลที่ไม่มีรัฐบาลไหนกล้าทำ โดยเฉพาะกฎหมายที่จะกระทบฐานเสียง และอาจกระทบต่อผลประโยชน์ของบรรดานักการเมือง ทำให้ส่วนใหญ่ก็เป็นการแก้ไข
ตามนโยบาย ของรัฐบาลในแต่ละยุคเรียกว่าที่ผ่านมา เราเพียงแต่ซ่อมแซมปะผุบ้าน ทั้งที่บ้านของเราควรต้องรื้อแล้วสร้างใหม่ เช่น การปฏิรูปภาษีนั่นเอง แม้แต่การนำภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้เมื่อปี พ.ศ. 2535 ซึ่งอาจถือว่าเป็นการปฏิรูปภาษีครั้งใหญ่ครั้งหนึ่งของประเทศ ก็เป็นช่วงรัฐบาล นายกฯอานันท์ ปันยารชุน จากคณะ รสช.
กรณีข้อเสนอเก็บ Capital Gain Tax เป็นประเด็นขึ้นมา
ข้อ เท็จจริงคือได้ปรึกษากับ ท่านประธานกรรมการ ตลท. (ดร.สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์) ว่า ในการประชุมบอร์ด ตลท.เดือนหน้า จะเสนอตั้งคณะทำงานศึกษาระบบภาษีและกฎหมายตลาดทุนทั้งหมด เพื่อให้การจัดเก็บภาษีมีคุณภาพมากขึ้น โดยมองว่าจะช่วยสร้างความแข็งแรงให้กับตลาดทุนไทยได้ ซึ่งยังไม่ได้ลงรายละเอียดพูดถึงเรื่อง Capital Gain Tax กับท่านประธาน
แต่ส่วนตัวก็มีการเตรียมข้อเสนอเรื่องนี้ไว้
ส่วน ตัวมีแนวคิดให้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดเก็บภาษีใหม่ให้สอดคล้องกับต่าง ประเทศมากขึ้น โดยเสนอให้ยกเว้นการจัดเก็บภาษีเงินปันผลบุคคลธรรมดา ที่ปัจจุบันจัดเก็บอยู่ 10% ซึ่งในหลายประเทศไม่มีการจัดเก็บ พร้อมเสนอให้จัดเก็บภาษีกำไรจากการขายหุ้น กับผู้ที่ถือหุ้นน้อยกว่า 6-10 เดือน ในอัตรา 5-10% ซึ่งการจัดเก็บดังกล่าวจะช่วยสร้างนักลงทุนระยะยาวให้มีมากขึ้น และลดการเก็งกำไรลง แต่จะยกเว้นให้กับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนให้ยังคงซื้อขายหุ้นได้โดย ไม่เสียภาษีไม่อยากให้ตื่นตระหนก เพราะเป็นเพียงการเสนอให้ตั้งคณะทำงานเพื่อมาศึกษาข้อมูลเท่านั้นว่าสมควรจะ นำเรื่องใดมาปฏิบัติบ้าง ดังนั้นจึงต้องให้ฝ่ายต่าง ๆ ในตลาดทุนได้มีบทบาทในการเสนอความเห็น เอาข้อมูลมาพิจารณา ไม่ใช่พูดกันลอย ๆ ว่าประเทศไทยไม่พร้อม เพราะเรื่องนี้พูดกันมาเป็นสิบปีแล้ว และข้อเสนอก็เป็นการจัดเก็บภาษีที่ต่ำ ไม่ได้สูงเหมือนต่างประเทศที่เก็บแบบ 20-30%
นอกจากนี้ ตนยังมีข้อเสนอเรื่องการส่งเสริมให้ภาคธุรกิจเอสเอ็มอีสามารถเข้ามาใช้ ประโยชน์จากตลาดทุนได้มากขึ้น เพื่อสร้างความสามารถการแข่งขันกับเอสเอ็มอีไทย และการยกเว้นจัดเก็บภาษีเวนเจอร์แคปปิตอล รวมถึงการผ่อนเกณฑ์ต่าง ๆ เพื่อเกื้อหนุนในการช่วยเหลือแหล่งทุนกับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมากขึ้น รวมทั้งการปฏิรูปภาษี การควบรวมกิจการ (M&A) ให้มีความคล่องตัวมากขึ้น
อย่าง ไรก็ตาม หากข้อเสนอนี้ได้รับการเห็นชอบจากคณะกรรมการ ตลท. และจัดตั้งคณะทำงาน คาดว่าจะใช้เวลาในการศึกษา 3-6 เดือน เสนอให้กับรัฐบาลชุดใหม่ได้ทันภายใน 1 ปี
เรื่อง M&A ต้องมีการปรับแก้ประเด็นอะไร
เนื่องจากปัจจุบันกฎหมายและภาษีของการควบรวมกิจการยังมีข้อจำกัดเงื่อนไขยุ่งยาก โดยเฉพาะการควบรวมกิจการของบริษัทในเครือเดียวกัน เพื่อปรับโครงสร้างธุรกิจให้ความแข็งแกร่ง ปัจจุบันยังมีต้นทุนภาษีที่ซับซ้อน ไม่ว่าจะเป็นบริษัทในตลาดหรือนอกตลาด ทำให้ต้องมีความยุ่งยากในการดำเนินการ
หากมีการศึกษาปรับแก้ เงื่อนไขก็จะส่งเสริมให้มีการทำ M&A ได้คล่องตัวมากขึ้น ทั้งนี้เพราะ M&A ถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจ และจะมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะปัจจุบันการเติบโตโดยธรรมชาติ (Organic Growth) ของธุรกิจจะช้าลง หลายธุรกิจจึงเลือกจะทำ M&A เพราะต้องการเติบโตแบบก้าวกระโดด โดยเฉพาะเมื่อจะเปิดเสรีประชาคมอาเซียน การทำ M&A เป็นเรื่องสำคัญมาก เช่นกรณีธนาคารแห่งโตเกียว-มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ (BTMU) มาซื้อธนาคารกรุงศรีฯ เพราะมองเห็นโอกาสจากฐานลูกค้าของกรุงศรีฯที่สามารถต่อยอดธุรกิจได้เร็วกว่า การเริ่มต้นใหม่
ฉะนั้นในแง่ของนักลงทุน หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนต้องมีความเข้าใจเรื่องเอ็มแอนด์เออย่างดี เพราะนับวันจะยิ่งมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งในมุมของนักลงทุนและผู้ถือหุ้น
กิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์ โจทย์ใหญ่...ปฏิรูปภาษีตลาดทุน
สัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นไทยเกิดประเด็นร้อนจากที่มีการหยิบยกเรื่องข้อเสนอการจัดเก็บภาษี กำไรจากการขายหุ้น (Capital Gain Tax) ขึ้นมาเขย่าตลาดหุ้น พร้อมเอ่ยอ้างถึงข้อเสนอ แผนการปฏิรูปกฎหมายและภาษีแบบเร่งด่วน (Fast Track) ที่ได้นำเสนอต่อ 7 องค์กรเอกชน ของ "กิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์" ประธานกรรมการ บริษัท เบเคอร์ แอนด์ แม็คเค็นซี่ จำกัด ซึ่งล่าสุดได้นั่งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)
ทุก ครั้งที่มีการพูดถึงการเก็บภาษีกำไรจากการขายหุ้นก็เป็นประเด็นร้อนทุกครั้ง และแน่นอนว่าจะมีเสียงคัดค้านจากคนในแวดวงตลาดทุนว่าประเทศไทยยังไม่พร้อม และจะส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทยทันที "ประชาชาติธุรกิจ" ได้สัมภาษณ์พิเศษ "กิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์" ถึงแนวคิดและที่มาที่ไปที่แท้จริงของข้อเสนอการปฏิรูปดังกล่าว
ทำไมเสนอแผนปฏิรูปกฎหมายและภาษีแบบเร่งด่วน
ช่วง เวลานี้ประเทศไทยต้องพลิกวิกฤตเป็นโอกาส เพราะอดีตที่ผ่านมาประเทศไทยติดกับดักในเทคนิคทางกฎหมายมากมาย ต้องบอกว่านับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2481 ประเทศไทยไม่เคยมีการปฏิรูปภาษีใหม่เลย โดย เฉพาะในช่วงประชาธิปไตยเต็มใบ ด้วยเหตุผลที่ไม่มีรัฐบาลไหนกล้าทำ โดยเฉพาะกฎหมายที่จะกระทบฐานเสียง และอาจกระทบต่อผลประโยชน์ของบรรดานักการเมือง ทำให้ส่วนใหญ่ก็เป็นการแก้ไข
ตามนโยบาย ของรัฐบาลในแต่ละยุคเรียกว่าที่ผ่านมา เราเพียงแต่ซ่อมแซมปะผุบ้าน ทั้งที่บ้านของเราควรต้องรื้อแล้วสร้างใหม่ เช่น การปฏิรูปภาษีนั่นเอง แม้แต่การนำภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้เมื่อปี พ.ศ. 2535 ซึ่งอาจถือว่าเป็นการปฏิรูปภาษีครั้งใหญ่ครั้งหนึ่งของประเทศ ก็เป็นช่วงรัฐบาล นายกฯอานันท์ ปันยารชุน จากคณะ รสช.
กรณีข้อเสนอเก็บ Capital Gain Tax เป็นประเด็นขึ้นมา
ข้อ เท็จจริงคือได้ปรึกษากับ ท่านประธานกรรมการ ตลท. (ดร.สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์) ว่า ในการประชุมบอร์ด ตลท.เดือนหน้า จะเสนอตั้งคณะทำงานศึกษาระบบภาษีและกฎหมายตลาดทุนทั้งหมด เพื่อให้การจัดเก็บภาษีมีคุณภาพมากขึ้น โดยมองว่าจะช่วยสร้างความแข็งแรงให้กับตลาดทุนไทยได้ ซึ่งยังไม่ได้ลงรายละเอียดพูดถึงเรื่อง Capital Gain Tax กับท่านประธาน
แต่ส่วนตัวก็มีการเตรียมข้อเสนอเรื่องนี้ไว้
ส่วน ตัวมีแนวคิดให้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดเก็บภาษีใหม่ให้สอดคล้องกับต่าง ประเทศมากขึ้น โดยเสนอให้ยกเว้นการจัดเก็บภาษีเงินปันผลบุคคลธรรมดา ที่ปัจจุบันจัดเก็บอยู่ 10% ซึ่งในหลายประเทศไม่มีการจัดเก็บ พร้อมเสนอให้จัดเก็บภาษีกำไรจากการขายหุ้น กับผู้ที่ถือหุ้นน้อยกว่า 6-10 เดือน ในอัตรา 5-10% ซึ่งการจัดเก็บดังกล่าวจะช่วยสร้างนักลงทุนระยะยาวให้มีมากขึ้น และลดการเก็งกำไรลง แต่จะยกเว้นให้กับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนให้ยังคงซื้อขายหุ้นได้โดย ไม่เสียภาษีไม่อยากให้ตื่นตระหนก เพราะเป็นเพียงการเสนอให้ตั้งคณะทำงานเพื่อมาศึกษาข้อมูลเท่านั้นว่าสมควรจะ นำเรื่องใดมาปฏิบัติบ้าง ดังนั้นจึงต้องให้ฝ่ายต่าง ๆ ในตลาดทุนได้มีบทบาทในการเสนอความเห็น เอาข้อมูลมาพิจารณา ไม่ใช่พูดกันลอย ๆ ว่าประเทศไทยไม่พร้อม เพราะเรื่องนี้พูดกันมาเป็นสิบปีแล้ว และข้อเสนอก็เป็นการจัดเก็บภาษีที่ต่ำ ไม่ได้สูงเหมือนต่างประเทศที่เก็บแบบ 20-30%
นอกจากนี้ ตนยังมีข้อเสนอเรื่องการส่งเสริมให้ภาคธุรกิจเอสเอ็มอีสามารถเข้ามาใช้ ประโยชน์จากตลาดทุนได้มากขึ้น เพื่อสร้างความสามารถการแข่งขันกับเอสเอ็มอีไทย และการยกเว้นจัดเก็บภาษีเวนเจอร์แคปปิตอล รวมถึงการผ่อนเกณฑ์ต่าง ๆ เพื่อเกื้อหนุนในการช่วยเหลือแหล่งทุนกับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมากขึ้น รวมทั้งการปฏิรูปภาษี การควบรวมกิจการ (M&A) ให้มีความคล่องตัวมากขึ้น
อย่าง ไรก็ตาม หากข้อเสนอนี้ได้รับการเห็นชอบจากคณะกรรมการ ตลท. และจัดตั้งคณะทำงาน คาดว่าจะใช้เวลาในการศึกษา 3-6 เดือน เสนอให้กับรัฐบาลชุดใหม่ได้ทันภายใน 1 ปี
เรื่อง M&A ต้องมีการปรับแก้ประเด็นอะไร
เนื่องจากปัจจุบันกฎหมายและภาษีของการควบรวมกิจการยังมีข้อจำกัดเงื่อนไขยุ่งยาก โดยเฉพาะการควบรวมกิจการของบริษัทในเครือเดียวกัน เพื่อปรับโครงสร้างธุรกิจให้ความแข็งแกร่ง ปัจจุบันยังมีต้นทุนภาษีที่ซับซ้อน ไม่ว่าจะเป็นบริษัทในตลาดหรือนอกตลาด ทำให้ต้องมีความยุ่งยากในการดำเนินการ
หากมีการศึกษาปรับแก้ เงื่อนไขก็จะส่งเสริมให้มีการทำ M&A ได้คล่องตัวมากขึ้น ทั้งนี้เพราะ M&A ถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจ และจะมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะปัจจุบันการเติบโตโดยธรรมชาติ (Organic Growth) ของธุรกิจจะช้าลง หลายธุรกิจจึงเลือกจะทำ M&A เพราะต้องการเติบโตแบบก้าวกระโดด โดยเฉพาะเมื่อจะเปิดเสรีประชาคมอาเซียน การทำ M&A เป็นเรื่องสำคัญมาก เช่นกรณีธนาคารแห่งโตเกียว-มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ (BTMU) มาซื้อธนาคารกรุงศรีฯ เพราะมองเห็นโอกาสจากฐานลูกค้าของกรุงศรีฯที่สามารถต่อยอดธุรกิจได้เร็วกว่า การเริ่มต้นใหม่
ฉะนั้นในแง่ของนักลงทุน หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนต้องมีความเข้าใจเรื่องเอ็มแอนด์เออย่างดี เพราะนับวันจะยิ่งมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งในมุมของนักลงทุนและผู้ถือหุ้น
- vim
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2770
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Cap gain tax ถ้าหาก
โพสต์ที่ 19
แค่บังคับให้ใช้ Cash Balance Account ซื้อขาย
หรือปรับวงเงินประกันขั้นต่ำของ Cash Account
หรือปรับดอกเบี้ย Credit Balance Account ขึ้น
ก็น่าจะลดการเก็งกำไรได้เยอะแล้วนะครับ ไม่น่าจะต้องเล่นท่ายากให้เสี่ยงเลย
หรือปรับวงเงินประกันขั้นต่ำของ Cash Account
หรือปรับดอกเบี้ย Credit Balance Account ขึ้น
ก็น่าจะลดการเก็งกำไรได้เยอะแล้วนะครับ ไม่น่าจะต้องเล่นท่ายากให้เสี่ยงเลย
Vi IMrovised
-
- Verified User
- โพสต์: 73
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Cap gain tax ถ้าหาก
โพสต์ที่ 20
ส่วนตัวคิดว่าถ้าจะเก็บ CG tax จิง ก็ควรเก็บอัตราก้าวหน้า คือ กำไรสุทธิ (net ขาดทุนแล้ว) ในปีภาษีที่ผ่านมาทั้งหมด (นับเฉพาะ realize ไปแล้ว) ถ้าเยอะก็เก็บอัตราสูง ถ้าน้อยก็เก็บอัตราต่ำ คล้ายๆ ภาษีบุคคล ก็จะแฟร์กว่าเก็บเรทเดียว
มากไปกว่านั้น ถ้าจะเก็บ CG tax เพราะมองว่าคนเล่นหุ้นเป็นคนรวย ก็ต้องแฟร์ๆ เก็บ tax ให้มากขึ้นกับคนรวยกลุ่มอื่นๆ เหมือนๆ กัน
1. เก็บภาษีที่ดิน สำหรับที่ดินที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์เพื่อการอยู่อาศัย อุตสาหกรรม เกษตรกรรม (ที่ดินเปล่าๆ ที่คนรวยชอบถือไว้)
2. เก็บภาษีจากอาคารห้างสรรพสินค้า และร้านสะดวกซื้อในอัตราสูงเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นภาระทางอ้อมกับค่าใช้จ่ายด้านพลังงานของประเทศ แถมห้างบางห้างยังทำให้รถติดอีก (ซึ่งทำให้ค่าครองชีพโดยรวยของประชาชนสูงขึ้น) หลายคนไม่รู้ว่า ห้างสรรพสินค้าบางห้าง แค่ 1 สาขาใช้ไฟฟ้ามากกว่าทั้งจังหวัดบางจังหวัดเสียอีก ร้านสะดวกซื้อถ้ามองทุกสาขารวมกัน (เอาเฉพาะร้านที่ไม่ใช่แฟรนไชส์ เพราะนับเป็นรายย่อย) ก็ใช้ไฟมหาศาล จริงอยู่ ต้องเสียอัตราค่าไฟสูงกว่าปกติ แต่จริงๆ แล้วไม่มากเลย ตัวเองได้กำไรมหาศาลแต่ภาระเป็นของคนทั้งประเทศ ต้องเก็บภาษีพิเศษๆ คืนมาให้ส่วนรวม
3. ภาษีมรดก ชาวโ่ลกเขาเก็บไปถึงไหนแล้ว เรายังไม่เก็บ คนรับมรดกเขารวยกว่า มนุษย์เงินเดือนที่เจียดเงินนิดๆ หน่อยๆมาลงทุนอย่างเราๆ ซะอีก
4. แล้วก็เลิกหลอกตัวเองเสียที บริษัทห้างร้านเล็กๆ เสียภาษีกันซะที่ไหน สมัยผมทำงานแบ็งค์ เคยเห็นบริษัทยอดขาย 2000 ล้าน เสียภาษีไม่กี่แสนบาท โชว์กำไร 1 ล้านบาท .... ถามจิงถ้าต้องเสี่ยงทำธุรกิจขนาด 2000 ล้านเพื่อให้ได้กำไรแค่ปีละล้าน ลิงที่ไหนจะทำ
5. สถานประกอบการพวก ผับ บาร์ ร้านเหล้า คาราโอเกะ อาบน้ำ ต้องเก็บให้หนักเป็นพิเศษ
6. สินค้าฟุ่มเฟือยหรือเป็นอันตราย เช่น ของแบรนด์เนม รถยนต์หรู เก็บมันสัก 1000% ไปเลย หรือกาแฟบางยี่ห้อ รถชาติก็งั้นๆ แต่แพงเว่อๆ นับเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย เก็บให้หนัก
7. Prop fund / Reit ยกเว้น tax เอาจิงๆ ผู้ได้ประโยชน์ คือคนขายของเข้ากองทุนตอนแรก ผู้ลงทุนไม่ได้รับประโยชน์หรอก (คิดให้ดีๆ แล้วจะเข้าใจ) แถมจะบอกให้อีกว่า เคยมี (หรือยังมี) Prop fund ประเภทที่ไม่ได้ขาย Public แต่ได้รับยกเว้นภาษีตั้งแต่สมัยต้มยำกุ้งโน่น ตึกดังๆ ในกรุงเทพทั้งนั้นที่อยู่ในกองฯ แต่ไม่ต้องเสียภาษี มีเป็นสิบๆ ตึก
อื่นๆ มีอีกมาก ยังนึกไม่ออก ใครนึกออกช่วยเพิ่มเติมด้วยครัช
ถ้าทำ 1-7 แล้วยังเก็บภาษีได้ไม่พอ ค่อยมาเก็บ CG ละกันนะ ถ้าไม่ทำแต่มาเก็บ CG กับนักลงทุน ถือว่าเลือกปฏิบัติ ไม่มีธรรมาภิบาล
มากไปกว่านั้น ถ้าจะเก็บ CG tax เพราะมองว่าคนเล่นหุ้นเป็นคนรวย ก็ต้องแฟร์ๆ เก็บ tax ให้มากขึ้นกับคนรวยกลุ่มอื่นๆ เหมือนๆ กัน
1. เก็บภาษีที่ดิน สำหรับที่ดินที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์เพื่อการอยู่อาศัย อุตสาหกรรม เกษตรกรรม (ที่ดินเปล่าๆ ที่คนรวยชอบถือไว้)
2. เก็บภาษีจากอาคารห้างสรรพสินค้า และร้านสะดวกซื้อในอัตราสูงเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นภาระทางอ้อมกับค่าใช้จ่ายด้านพลังงานของประเทศ แถมห้างบางห้างยังทำให้รถติดอีก (ซึ่งทำให้ค่าครองชีพโดยรวยของประชาชนสูงขึ้น) หลายคนไม่รู้ว่า ห้างสรรพสินค้าบางห้าง แค่ 1 สาขาใช้ไฟฟ้ามากกว่าทั้งจังหวัดบางจังหวัดเสียอีก ร้านสะดวกซื้อถ้ามองทุกสาขารวมกัน (เอาเฉพาะร้านที่ไม่ใช่แฟรนไชส์ เพราะนับเป็นรายย่อย) ก็ใช้ไฟมหาศาล จริงอยู่ ต้องเสียอัตราค่าไฟสูงกว่าปกติ แต่จริงๆ แล้วไม่มากเลย ตัวเองได้กำไรมหาศาลแต่ภาระเป็นของคนทั้งประเทศ ต้องเก็บภาษีพิเศษๆ คืนมาให้ส่วนรวม
3. ภาษีมรดก ชาวโ่ลกเขาเก็บไปถึงไหนแล้ว เรายังไม่เก็บ คนรับมรดกเขารวยกว่า มนุษย์เงินเดือนที่เจียดเงินนิดๆ หน่อยๆมาลงทุนอย่างเราๆ ซะอีก
4. แล้วก็เลิกหลอกตัวเองเสียที บริษัทห้างร้านเล็กๆ เสียภาษีกันซะที่ไหน สมัยผมทำงานแบ็งค์ เคยเห็นบริษัทยอดขาย 2000 ล้าน เสียภาษีไม่กี่แสนบาท โชว์กำไร 1 ล้านบาท .... ถามจิงถ้าต้องเสี่ยงทำธุรกิจขนาด 2000 ล้านเพื่อให้ได้กำไรแค่ปีละล้าน ลิงที่ไหนจะทำ
5. สถานประกอบการพวก ผับ บาร์ ร้านเหล้า คาราโอเกะ อาบน้ำ ต้องเก็บให้หนักเป็นพิเศษ
6. สินค้าฟุ่มเฟือยหรือเป็นอันตราย เช่น ของแบรนด์เนม รถยนต์หรู เก็บมันสัก 1000% ไปเลย หรือกาแฟบางยี่ห้อ รถชาติก็งั้นๆ แต่แพงเว่อๆ นับเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย เก็บให้หนัก
7. Prop fund / Reit ยกเว้น tax เอาจิงๆ ผู้ได้ประโยชน์ คือคนขายของเข้ากองทุนตอนแรก ผู้ลงทุนไม่ได้รับประโยชน์หรอก (คิดให้ดีๆ แล้วจะเข้าใจ) แถมจะบอกให้อีกว่า เคยมี (หรือยังมี) Prop fund ประเภทที่ไม่ได้ขาย Public แต่ได้รับยกเว้นภาษีตั้งแต่สมัยต้มยำกุ้งโน่น ตึกดังๆ ในกรุงเทพทั้งนั้นที่อยู่ในกองฯ แต่ไม่ต้องเสียภาษี มีเป็นสิบๆ ตึก
อื่นๆ มีอีกมาก ยังนึกไม่ออก ใครนึกออกช่วยเพิ่มเติมด้วยครัช
ถ้าทำ 1-7 แล้วยังเก็บภาษีได้ไม่พอ ค่อยมาเก็บ CG ละกันนะ ถ้าไม่ทำแต่มาเก็บ CG กับนักลงทุน ถือว่าเลือกปฏิบัติ ไม่มีธรรมาภิบาล
- leaderinshadow
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1765
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Cap gain tax ถ้าหาก
โพสต์ที่ 21
กับพวกที่อยู่ underground หรือพวกที่ทำธุรกิจด้วยเงินสด ไม่เอาบิล พวกนี้เก็บภาษียากครับ หาหลักฐานยากด้วย
ดีไม่ดีเส้นใหญ่อีก สรรพากรไม่กล้าแตะเลย
เลยต้องมารีดไถ่เอาจากพวกอยู่ที่ในระบบ พวกสุจริตชนทั้งหลาย พวกนี้รีดภาษีได้ง่ายกว่าเยอะ
ดีไม่ดีเส้นใหญ่อีก สรรพากรไม่กล้าแตะเลย
เลยต้องมารีดไถ่เอาจากพวกอยู่ที่ในระบบ พวกสุจริตชนทั้งหลาย พวกนี้รีดภาษีได้ง่ายกว่าเยอะ