การเงินโลกป่วน!เมื่อสหรัฐไล่ล่าภาษี :FATCAมีผลต่อVI อย่างไร?
โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ค. 28, 2014 5:51 pm
(Jul 27) การเงินโลกป่วน!เมื่อสหรัฐไล่ล่าภาษี : ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 2557 ใครที่ต้องการจะฝากเงิน หรือซื้อกองทุนรวม จะเข้าไปใช้บริการสาขาของธนาคารแห่งใดก็ตาม พนักงานธนาคารจะถามคุณคำแรกว่า “เคยมีบัญชีกับธนาคารเราไหมคะ” ถ้าคุณตอบว่ามีพนักงานจะขอบัตรประชาชนคุณเพื่อตรวจ สอบข้อมูลและให้บริการตามที่คุณต้องการ ได้เลย
แต่หากคุณตอบว่าไม่มี คุณจะต้องกรอกแบบฟอร์มเปิดบัญชีใหม่ ที่จะทำให้คุณงง เพราะจะต้องตอบในใบคำขอเปิดบัญชีว่า“คุณเป็นพลเมืองอเมริกันหรือไม่”
แบบฟอร์มดังกล่าวทำให้หลายคนเกิดความสงสัยว่า ทำไมจะต้องให้ข้อมูลนี้ด้วย เพราะการเปิดบัญชีเงินฝากที่ผ่านมาไม่เคยต้องตอบคำถามเหล่านี้ และเราอยู่ในประเทศไทยทำไมจะต้องมาตอบคำถามว่าเป็นพลเมืองอเมริกันหรือไม่ มีกรีนการ์ดหรือไม่ มีถิ่นที่อยู่ในอเมริกาหรือไม่ ตลอดจนมีธุรกรรมการเงินต่างๆ นานา เกี่ยวข้องกับสหรัฐหรือไม่ เป็นต้น
ลูกค้าบางคนไม่พอใจที่จะต้องตอบคำถามเหล่านี้ ก็ปฏิเสธไม่ตอบคำถาม ทางพนักงานธนาคารก็ขอสงวนสิทธิไม่เปิดบัญชีให้ ทำให้เกิดความไม่พอใจในบริการ แต่เมื่อไปที่ธนาคารอื่นก็เจอปัญหาเดียวกัน ทางระบายออกของลูกค้าที่ถูกปฏิเสธการเปิดบัญชีเงินฝาก คือ ตั้งกระทู้ถามทางโซเชียลมีเดีย ก่นด่าธนาคารพาณิชย์ หรือสอบถามผู้รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น
เหตุที่เกิดขึ้นนี้เป็นเรื่องยากที่คนทั่วไปที่ไม่ได้ทำธุรกิจเกี่ยวข้องกับต่างประเทศจะทำความเข้าใจ เพราะเป็นข้อตกลงที่รัฐบาลไทยไปรับที่จะปฏิบัติตามกฎหมายภาษีสรรพากรฉบับใหม่ของสหรัฐ ที่เรียกว่า แฟตก้า (Foreign Account Tax Compliance Act : FATCA) ที่สหรัฐออกมาป้องกันการเลี่ยงการจ่ายภาษีของอเมริกันชนทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลที่มีสถานะเป็นบุคคลอเมริกัน (US Person) เป็นการหลีกเลี่ยงภาษีที่ผ่าน การเปิดบัญชีหรือลงทุนกับสถาบันการเงินนอกประเทศสหรัฐ
คำถามที่ตามมา คือ นี่ไม่ใช่กฎหมายของไทย แล้วทำไมคนไทยต้องทำตาม คำตอบคือ FATCA กำหนดให้สถาบันการเงินและธนาคารพาณิชย์ที่อยู่นอกสหรัฐ ต้องรายงานรายได้และธุรกรรมการเงินของลูกค้าที่มีสัญชาติอเมริกันให้กับกรมสรรพากรสหรัฐ
แถมยังต้องเซ็นยินยอมให้เปิดเผยข้อมูลการเงินต่างๆ ทั้งจำนวนเงินและความเคลื่อนไหวทางบัญชี ข้อมูลส่วนตัว เลขประจำตัวผู้เสียภาษี ฯลฯ ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ของ FATCA รวมทั้งต้องยินยอมหักเงินจากบัญชี ต้องยินยอมให้ยุติความสัมพันธ์ทางการเงินได้โดยฝ่ายเดียว ฯลฯ ทั้งหมดเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีของสหรัฐ
ทั้งนี้ ข้อมูลที่กรอกทั้งหมดจะถูกส่งไปยังกรมสรรพากรสหรัฐ (Internal Revenue Service หรือ IRS) เพื่อประโยชน์ของสหรัฐในการตรวจสอบภาษีของชาวอเมริกันและบริษัทอเมริกันที่มีรายได้จากนอกสหรัฐ ว่าเสียภาษีถูกต้องหรือไม่ หรือจะนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นหรือไม่ก็ไม่อาจรู้ได้
การที่ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินไทยต้องปฏิบัติตาม เพราะเงื่อนไขในกฎหมายนี้ระบุว่า หากประเทศใดไม่ยอมรับกฎหมายนี้ ไม่ปฏิบัติตาม สหรัฐจะหักภาษี ณ ที่จ่ายภาษี 30% จากรายได้ทั้งหมดที่เกิดจากการทำธุรกรรมในสหรัฐ
และยังมีผลไปถึงนักลงทุนไทยที่ลงทุนผ่านบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ที่มีการลงทุนในสหรัฐ ทั้งทางตรงหรือทางอ้อม จะถูกสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการตามกฎหมายนี้หักภาษี ณ ที่จ่าย 30% ด้วย และสุดท้ายสถาบันการเงินไทยอาจถูกปฏิเสธการทำธุรกรรมจากสถาบันการเงินในสหรัฐและประเทศอื่นที่ยอมปฏิบัติตามกฎหมายสหรัฐอีกด้วย ซึ่งจะส่งผลกระทบรุนแรงต่อการค้า การลงทุนระหว่างประเทศ การส่งออก รวมไปถึงผลกระทบต่อความเชื่อมั่นต่อระบบการเงินของประเทศอีกด้วย
โดยหลายประเทศในโลกที่ได้ลงนามใน ข้อตกลงกับสหรัฐเช่นเดียวกับไทย เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย สิงคโปร์ มาเลเซีย
บุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทหารไทย ในฐานะประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า กฎหมายการให้ข้อมูลทางการเงินของผู้ถือสัญชาติอเมริกัน แก่สรรพากรสหรัฐ (FATCA) เป็นสิ่งจำเป็น ที่สถาบันการเงิน ทั้งธนาคาร บริษัทประกัน หรือบริษัทหลักทรัพย์ ต้องปฏิบัติตาม เพื่อ ผลประโยชน์ของคนไทยและผู้ประกอบการไทย เพราะการค้าระหว่างประเทศมีการ ใช้เงินสกุลเหรียญสหรัฐถึง 80% ของการค้าโลก
ดังนั้น หากสถาบันการเงินใดไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย FATCA เมื่อถึงเวลาทำธุรกรรมต่างๆ เช่น การรับ-จ่าย-โอนเงินระหว่างประเทศ กับธนาคารที่เป็นสมาชิก FATCA สถาบันการเงินนั้นก็จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 30% ซึ่งเป็นอัตราค่าใช้จ่ายที่สูงมาก โดยเฉพาะภาคธุรกิจที่ต้องมีภาระต้นทุนเพิ่ม และทำให้ทำธุรกิจไม่ได้ สถาบันการเงินไทยจึงจำเป็นต้องอำนวยความสะดวกในเรื่องนี้ เพื่อไม่ให้กระทบแก่คนไทยที่จำเป็นต้องทำธุรกรรมกับสหรัฐ
อย่างไรก็ดี การขอความร่วมมือจากประชาชนทั่วไปที่จะเปิดบัญชีเงินฝากให้ข้อมูลว่าเป็นคนสัญชาติอเมริกัน หรือมีความสัมพันธ์กับคนสัญชาติอเมริกัน ไม่ใช่การขอเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวหรือข้อมูลทางการเงินของผู้เปิดบัญชีคนไทย จึงยืนยันว่า การกรอกแบบฟอร์มเพิ่มเติมนี้ ไม่ส่งผลกระทบใดๆ กับคนไทย
“ทางสมาคมธนาคารไทยจำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎหมายนี้ แต่ก็เข้าใจด้วยว่า 99% ของผู้เปิดบัญชีเงินฝากเป็นคนไทย จึงพยายามทำแบบฟอร์มขอข้อมูลที่ง่ายที่สุด และให้กระทบกับประชาชนทั่วไปน้อยที่สุด ด้วยการใช้วิธีทำเครื่องหมายถูก ว่าเป็นชาวอเมริกันหรือไม่ หรือเกี่ยวข้องหรือไม่ เท่านั้นเอง”บุญทักษ์ กล่าว
สำหรับความกังวลใจของลูกค้าที่เกรงว่าการลงนามเปิดเผยข้อมูลแล้วจะทำให้ข้อมูลทางการเงินของเรารั่วไหล ทางสหรัฐสามารถเข้ามาดูข้อมูลการเงินของคนไทย ทั้งหมดได้
สมาคมธนาคารไทยยืนยันว่าทำไม่ได้ เพราะธนาคารพาณิชย์ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ธนาคารพาณิชย์ ที่ห้ามเปิดเผยข้อมูลลูกค้า หากทางการสหรัฐสงสัยรายการของลูกค้ารายใด จะต้องส่งรายชื่อมากระทรวงการคลัง เพื่อส่งต่อให้ธนาคารพาณิชย์ส่งข้อมูลให้เพื่อส่งมอบกลับไปยังสหรัฐ ไม่ใช่จะเข้ามาดูข้อมูลการเงินของคนไทยทุกคน
ขณะนี้เว็บไซต์ของสถาบันการเงินจะติดประกาศแจ้งให้ลูกค้าทราบเกี่ยวกับข้อปฏิบัติของ FATCA โดยระบุว่า เนื่องจากธนาคาร มีการทำธุรกรรมกับสถาบันการเงินและธนาคารพาณิชย์ทั่วโลกเป็นจำนวนมาก การให้ความร่วมมือจึงเป็นการป้องกันไม่ให้ถูกดำเนินมาตรการหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือ ถูกปฏิเสธการทำธุรกรรมทางการเงินจากสถาบันการเงินอื่นทั่วโลกที่ให้ความร่วมมือ จะส่งผลกระทบกับการทำธุรกรรมของลูกค้าได้ เพื่อประชาสัมพันธ์อีกทางหนึ่งเพื่ออธิบายว่าทำไมการเปิดบัญชีเงินฝากจึงได้วุ่นวายไม่เหมือนเดิม
โดย...ชีวรัตน์ กิจนภาธรพงษ์, พรสวรรค์ นันทะ
แต่หากคุณตอบว่าไม่มี คุณจะต้องกรอกแบบฟอร์มเปิดบัญชีใหม่ ที่จะทำให้คุณงง เพราะจะต้องตอบในใบคำขอเปิดบัญชีว่า“คุณเป็นพลเมืองอเมริกันหรือไม่”
แบบฟอร์มดังกล่าวทำให้หลายคนเกิดความสงสัยว่า ทำไมจะต้องให้ข้อมูลนี้ด้วย เพราะการเปิดบัญชีเงินฝากที่ผ่านมาไม่เคยต้องตอบคำถามเหล่านี้ และเราอยู่ในประเทศไทยทำไมจะต้องมาตอบคำถามว่าเป็นพลเมืองอเมริกันหรือไม่ มีกรีนการ์ดหรือไม่ มีถิ่นที่อยู่ในอเมริกาหรือไม่ ตลอดจนมีธุรกรรมการเงินต่างๆ นานา เกี่ยวข้องกับสหรัฐหรือไม่ เป็นต้น
ลูกค้าบางคนไม่พอใจที่จะต้องตอบคำถามเหล่านี้ ก็ปฏิเสธไม่ตอบคำถาม ทางพนักงานธนาคารก็ขอสงวนสิทธิไม่เปิดบัญชีให้ ทำให้เกิดความไม่พอใจในบริการ แต่เมื่อไปที่ธนาคารอื่นก็เจอปัญหาเดียวกัน ทางระบายออกของลูกค้าที่ถูกปฏิเสธการเปิดบัญชีเงินฝาก คือ ตั้งกระทู้ถามทางโซเชียลมีเดีย ก่นด่าธนาคารพาณิชย์ หรือสอบถามผู้รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น
เหตุที่เกิดขึ้นนี้เป็นเรื่องยากที่คนทั่วไปที่ไม่ได้ทำธุรกิจเกี่ยวข้องกับต่างประเทศจะทำความเข้าใจ เพราะเป็นข้อตกลงที่รัฐบาลไทยไปรับที่จะปฏิบัติตามกฎหมายภาษีสรรพากรฉบับใหม่ของสหรัฐ ที่เรียกว่า แฟตก้า (Foreign Account Tax Compliance Act : FATCA) ที่สหรัฐออกมาป้องกันการเลี่ยงการจ่ายภาษีของอเมริกันชนทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลที่มีสถานะเป็นบุคคลอเมริกัน (US Person) เป็นการหลีกเลี่ยงภาษีที่ผ่าน การเปิดบัญชีหรือลงทุนกับสถาบันการเงินนอกประเทศสหรัฐ
คำถามที่ตามมา คือ นี่ไม่ใช่กฎหมายของไทย แล้วทำไมคนไทยต้องทำตาม คำตอบคือ FATCA กำหนดให้สถาบันการเงินและธนาคารพาณิชย์ที่อยู่นอกสหรัฐ ต้องรายงานรายได้และธุรกรรมการเงินของลูกค้าที่มีสัญชาติอเมริกันให้กับกรมสรรพากรสหรัฐ
แถมยังต้องเซ็นยินยอมให้เปิดเผยข้อมูลการเงินต่างๆ ทั้งจำนวนเงินและความเคลื่อนไหวทางบัญชี ข้อมูลส่วนตัว เลขประจำตัวผู้เสียภาษี ฯลฯ ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ของ FATCA รวมทั้งต้องยินยอมหักเงินจากบัญชี ต้องยินยอมให้ยุติความสัมพันธ์ทางการเงินได้โดยฝ่ายเดียว ฯลฯ ทั้งหมดเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีของสหรัฐ
ทั้งนี้ ข้อมูลที่กรอกทั้งหมดจะถูกส่งไปยังกรมสรรพากรสหรัฐ (Internal Revenue Service หรือ IRS) เพื่อประโยชน์ของสหรัฐในการตรวจสอบภาษีของชาวอเมริกันและบริษัทอเมริกันที่มีรายได้จากนอกสหรัฐ ว่าเสียภาษีถูกต้องหรือไม่ หรือจะนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นหรือไม่ก็ไม่อาจรู้ได้
การที่ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินไทยต้องปฏิบัติตาม เพราะเงื่อนไขในกฎหมายนี้ระบุว่า หากประเทศใดไม่ยอมรับกฎหมายนี้ ไม่ปฏิบัติตาม สหรัฐจะหักภาษี ณ ที่จ่ายภาษี 30% จากรายได้ทั้งหมดที่เกิดจากการทำธุรกรรมในสหรัฐ
และยังมีผลไปถึงนักลงทุนไทยที่ลงทุนผ่านบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ที่มีการลงทุนในสหรัฐ ทั้งทางตรงหรือทางอ้อม จะถูกสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการตามกฎหมายนี้หักภาษี ณ ที่จ่าย 30% ด้วย และสุดท้ายสถาบันการเงินไทยอาจถูกปฏิเสธการทำธุรกรรมจากสถาบันการเงินในสหรัฐและประเทศอื่นที่ยอมปฏิบัติตามกฎหมายสหรัฐอีกด้วย ซึ่งจะส่งผลกระทบรุนแรงต่อการค้า การลงทุนระหว่างประเทศ การส่งออก รวมไปถึงผลกระทบต่อความเชื่อมั่นต่อระบบการเงินของประเทศอีกด้วย
โดยหลายประเทศในโลกที่ได้ลงนามใน ข้อตกลงกับสหรัฐเช่นเดียวกับไทย เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย สิงคโปร์ มาเลเซีย
บุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทหารไทย ในฐานะประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า กฎหมายการให้ข้อมูลทางการเงินของผู้ถือสัญชาติอเมริกัน แก่สรรพากรสหรัฐ (FATCA) เป็นสิ่งจำเป็น ที่สถาบันการเงิน ทั้งธนาคาร บริษัทประกัน หรือบริษัทหลักทรัพย์ ต้องปฏิบัติตาม เพื่อ ผลประโยชน์ของคนไทยและผู้ประกอบการไทย เพราะการค้าระหว่างประเทศมีการ ใช้เงินสกุลเหรียญสหรัฐถึง 80% ของการค้าโลก
ดังนั้น หากสถาบันการเงินใดไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย FATCA เมื่อถึงเวลาทำธุรกรรมต่างๆ เช่น การรับ-จ่าย-โอนเงินระหว่างประเทศ กับธนาคารที่เป็นสมาชิก FATCA สถาบันการเงินนั้นก็จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 30% ซึ่งเป็นอัตราค่าใช้จ่ายที่สูงมาก โดยเฉพาะภาคธุรกิจที่ต้องมีภาระต้นทุนเพิ่ม และทำให้ทำธุรกิจไม่ได้ สถาบันการเงินไทยจึงจำเป็นต้องอำนวยความสะดวกในเรื่องนี้ เพื่อไม่ให้กระทบแก่คนไทยที่จำเป็นต้องทำธุรกรรมกับสหรัฐ
อย่างไรก็ดี การขอความร่วมมือจากประชาชนทั่วไปที่จะเปิดบัญชีเงินฝากให้ข้อมูลว่าเป็นคนสัญชาติอเมริกัน หรือมีความสัมพันธ์กับคนสัญชาติอเมริกัน ไม่ใช่การขอเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวหรือข้อมูลทางการเงินของผู้เปิดบัญชีคนไทย จึงยืนยันว่า การกรอกแบบฟอร์มเพิ่มเติมนี้ ไม่ส่งผลกระทบใดๆ กับคนไทย
“ทางสมาคมธนาคารไทยจำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎหมายนี้ แต่ก็เข้าใจด้วยว่า 99% ของผู้เปิดบัญชีเงินฝากเป็นคนไทย จึงพยายามทำแบบฟอร์มขอข้อมูลที่ง่ายที่สุด และให้กระทบกับประชาชนทั่วไปน้อยที่สุด ด้วยการใช้วิธีทำเครื่องหมายถูก ว่าเป็นชาวอเมริกันหรือไม่ หรือเกี่ยวข้องหรือไม่ เท่านั้นเอง”บุญทักษ์ กล่าว
สำหรับความกังวลใจของลูกค้าที่เกรงว่าการลงนามเปิดเผยข้อมูลแล้วจะทำให้ข้อมูลทางการเงินของเรารั่วไหล ทางสหรัฐสามารถเข้ามาดูข้อมูลการเงินของคนไทย ทั้งหมดได้
สมาคมธนาคารไทยยืนยันว่าทำไม่ได้ เพราะธนาคารพาณิชย์ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ธนาคารพาณิชย์ ที่ห้ามเปิดเผยข้อมูลลูกค้า หากทางการสหรัฐสงสัยรายการของลูกค้ารายใด จะต้องส่งรายชื่อมากระทรวงการคลัง เพื่อส่งต่อให้ธนาคารพาณิชย์ส่งข้อมูลให้เพื่อส่งมอบกลับไปยังสหรัฐ ไม่ใช่จะเข้ามาดูข้อมูลการเงินของคนไทยทุกคน
ขณะนี้เว็บไซต์ของสถาบันการเงินจะติดประกาศแจ้งให้ลูกค้าทราบเกี่ยวกับข้อปฏิบัติของ FATCA โดยระบุว่า เนื่องจากธนาคาร มีการทำธุรกรรมกับสถาบันการเงินและธนาคารพาณิชย์ทั่วโลกเป็นจำนวนมาก การให้ความร่วมมือจึงเป็นการป้องกันไม่ให้ถูกดำเนินมาตรการหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือ ถูกปฏิเสธการทำธุรกรรมทางการเงินจากสถาบันการเงินอื่นทั่วโลกที่ให้ความร่วมมือ จะส่งผลกระทบกับการทำธุรกรรมของลูกค้าได้ เพื่อประชาสัมพันธ์อีกทางหนึ่งเพื่ออธิบายว่าทำไมการเปิดบัญชีเงินฝากจึงได้วุ่นวายไม่เหมือนเดิม
โดย...ชีวรัตน์ กิจนภาธรพงษ์, พรสวรรค์ นันทะ