หน้า 1 จากทั้งหมด 1

จัดเก็ภาษีมรดก มีผลกระทบดีหรือไม่ดีกับประเทศไทย และนักลงทุน?

โพสต์แล้ว: เสาร์ ส.ค. 23, 2014 9:54 am
โดย so simple
ตั้งกระทู็ไว้เพื่ออยากฟังความเห็นนักลงทุนในห้องนี้ครับ ทั้งข้อดีและข้อเสีย และผล
กระทบที่จะเกิดขึ้น

กรมสรรพากรชงคสช.อนุมัติจัดเก็บภาษีมรดกจากผู้รับ ในอัตราขั้นต่ำ 5% สูงสุดไม่เกิน 30% ของมูลค่าทรัพย์สิน

โดยทรัพย์สินที่จัดเก็บจะต้องเป็นทรัพย์ที่มีการลงทะเบียนเท่านั้น

นายประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยถึงความคืบหน้าของการพิจารณาร่างภาษีมรดกว่า ขณะนี้ ร่างดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เมื่อพิจารณาแล้วเสร็จ กรมสรรพากรจะได้นำเสนอเข้าสู่การพิจารณาอนุมัติของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)

ก่อนหน้านี้ คสช.ได้อนุมัติหลักการร่างภาษีมรดก และ ให้กรมสรรพากรไปศึกษาในรายละเอียดเพิ่มเติม จากนั้น จึงได้นำเสนอเข้าสู่ชั้นการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา

สำหรับหลักการจัดเก็บภาษีตามร่างภาษีมรดก คือ จะจัดเก็บจากผู้รับ โดยอัตราการจัดเก็บจะอยู่ระหว่าง 5% ของมูลค่าสินทรัพย์ แต่ไม่เกิน 30% ทั้งนี้อัตราภาษีที่ยืดหยุ่นนี้ จะจัดเก็บตามความเหมาะสม โดยคณะกรรมการกฤษฎีกาและคสช.จะเป็นผู้พิจารณา

จัดเก็บเฉพาะทรัพย์สินที่ลงทะเบียน

ส่วนประเภทของสินทรัพย์ที่อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีมรดก เขากล่าวว่า จะเป็นทรัพย์สินที่มีการลงทะเบียนไว้เป็นหลักฐาน เช่น บ้าน ที่ดิน รถยนต์ พันธบัตร และ หุ้น เป็นต้น โดยทรัพย์สินนั้น จะนับทั้งที่อยู่หรือไม่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ส่วนทรัพย์สินที่ไม่มีการขึ้นทะเบียน เช่น พระเครื่อง นาฬิกา ของสะสมต่างๆ หากไม่มีการลงทะเบียนไว้ ในชั้นนี้ ยังไม่มีการจัดเก็บภาษี

เขากล่าวด้วยว่า วัตถุประสงค์ของการจัดเก็บภาษีมรดกนี้ ไม่ได้ต้องการที่จะสร้างรายได้ให้กับรัฐ แต่ต้องการสร้างความเป็นธรรมในระบบ เพราะเมื่อผู้เสียภาษีทั่วไปต้องเสียภาษีจากรายได้จากการทำงาน ขณะที่ ผู้รับมรดกเองได้รับมรดกโดยไม่ต้องทำงาน จึงควรสร้างมาตรฐานที่เป็นธรรมกับผู้เสียภาษีอื่น และถือเป็นการกระจายรายได้ของคนรวยและสร้างความเป็นธรรมแก่สังคม

"เราไม่ได้ตั้งเป้าหมายการจัดเก็บรายได้เลย เพราะเราไม่รู้ว่า จะมีการโอนมรดกกันเมื่อใด ฉะนั้น รายได้ก็จะขึ้นอยู่กับการโอน ถ้ามีการโอนกันมากๆ เราก็จะได้ภาษีมาก เป็นต้น" เขากล่าว

ทุนเคลื่อนย้ายพุ่งไม่กระทบเก็บภาษีมรดก

เขามองว่า แม้สถานการณ์การเคลื่อนย้ายเงินทุนและทรัพย์สินจะเกิดขึ้นระหว่างประเทศกันมากขึ้น แต่เชื่อว่า จะไม่กระทบต่อการจัดเก็บภาษีมรดก เพราะไม่ว่า ผู้ที่ถือครองทรัพย์สินในประเทศใดๆ จะต้องเสียภาษีในประเทศนั้นๆ ส่วนผู้ที่ถือครองสินทรัพย์ประเภท เงินสด หรือ ตราสารหนี้ในต่างประเทศ ท้ายที่สุดแล้ว ก็จะต้องนำเงิน หรือผลกำไรกลับมาในประเทศ

"ไม่ว่าผู้ถือครองทรัพย์สินจะอยู่ประเทศใด เขาก็จะต้องเสียภาษีในประเทศนั้นๆอยู่แล้ว ขณะที่ อัตราภาษีของเราก็อยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่าประเทศอื่นๆ และผมเชื่อว่า ผู้ที่มีทรัพย์ในต่างประเทศ ถึงจุดหนึ่งจะยกให้ลูกหลาน ก็ต้องมีการจัดการ หรือ เคลื่อนย้ายทรัพย์สินกลับมา" เขากล่าว

เผยเสียงค้านเหตุจัดเก็บซ้ำซ้อน

รายงานข่าวจากกรมสรรพากร กล่าวว่า กรมสรรพากรได้ศึกษาเรื่องการจัดเก็บมรดกมานานกว่า 20 ปี แต่ในที่สุดก็ไม่สามารถผลักดันเรื่องดัง กล่าวได้สำเร็จ เพราะมีข้อมูลโต้แย้งและข้อมูลที่สนับสนุนมาหักล้างกันตลอดเวลา ทั้งนี้ ฝ่ายที่สนับสนุนให้มีการจัดเก็บภาษีมรดกระบุว่า บุคคลที่ใช้ทรัพยากรภายในประเทศก็ควรที่จะเสียภาษีให้แก่รัฐบาล มรดกที่ผู้รับได้รับจากผู้ตายก็ควรเสียภาษีให้แก่รัฐบาล

ส่วนฝ่ายที่คัดค้าน การจัดเก็บภาษีมรดกดังกล่าว เป็นการจัดเก็บภาษีที่ซ้ำซ้อน เนื่องจาก มรดกดังกล่าว ได้ผ่านการเสียมาแล้วชั้นหนึ่ง และอีกเหตุผลหนึ่ง ก็คือ การจัดเก็บภาษีมรดก จะลดทอนแรงจูงใจ ให้คนออมเงิน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในอนาคต หากประเทศจำเป็นต้องใช้เงินออมในประเทศ เพื่อการลงทุนพัฒนาประเทศ

นอกจากนี้ การจัดเก็บภาษีมรดกอาจไม่ทำให้รัฐได้รายได้เพิ่มมากขึ้น ก็ได้ เพราะค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดเก็บภาษี อาจพอๆกับรายได้จากภาษีมรดก คือ ต้องการลดความเหลื่อมล้ำของคนในประเทศ ซึ่งคนรวยที่ได้รับประโยชน์จากการพัฒนาประเทศมากกว่าคนจน ควรมีภาระภาษีมากกว่าคนจน เช่น ราคาที่ดินที่ปรับเพิ่มขึ้นจากการพัฒนาสาธารณูปโภคของรัฐ ทำให้คนรวยยิ่งรวยขึ้น

นักวิชาการหนุน-ชี้ไม่กระทบเศรษฐกิจ

นายอมรเทพ จาวะลา หัวหน้าส่วนวิจัยเศรษฐกิจและตลาดการเงิน สำนักวิจัยธนาคารซีไอเอ็มบีไทย เปิดเผยว่า การที่คสช.มีแนวคิดจะจัดเก็บภาษีมรดกนั้นเป็นเรื่องที่เหมาะสม เพราะที่ผ่านมาเราได้ละเลยการปฏิรูปภาษีมานาน ซึ่งการเก็บภาษีมรดก จะมีระดับการจัดเก็บ ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบกับผู้ที่มีรายได้น้อยที่ต้องจ่ายภาษี ให้ไม่ได้รับผลกระทบมากนัก และเก็บภาษีกับผู้ที่มีกำลังในการจับจ่ายแทนจริง

"มองว่าการเก็บภาษีมรดกจะไม่กระทบกับระบบเศรษฐกิจ เพราะเป็นการจัดเก็บกับผู้ที่มีกำลังในการจ่าย ซึ่งเขายังมีอำนาจในการจับจ่ายใช้สอยตามเดิม ไม่ได้เก็บภาษีกับผู้ที่มีรายได้น้อย ซึ่งกลุ่มดังกล่าวอาจมีการลดการจับจ่ายใช้สอยลงหากมีการเก็บภาษีจำนวนมาก"

ทั้งนี้มองว่า คสช.น่าจะใช้โอกาสดังกล่าว ในการปฏิรูปภาษีทั้งระบบ ทั้งฐานการจัดเก็บภาษี รวมถึงภาษีที่ดิน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างรายได้ให้กับภาครัฐบาลมากขึ้น เพื่อจะได้นำเม็ดเงินที่จัดเก็บเข้ามาไปใช้ด้านการลงทุนโครงการโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นประโยชน์ของประเทศ ลดภาระกู้เงินลงไปได้ แต่ทั้งนี้อยากให้คสช.เน้นการขจัดปัญหาคอร์รัปชั่นไปด้วย เพื่อลดการรั่วไหลของงบประมาณที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

Re: จัดเก็ภาษีมรดก มีผลกระทบดีหรือไม่ดีกับประเทศไทย และนักลง

โพสต์แล้ว: เสาร์ ส.ค. 23, 2014 9:55 am
โดย so simple
ภาษีมรดกใกล้คลอด กรมสรรพากรเตรียมเสนอร่างให้ คสช. อนุมัติ ยังไม่เคาะอัตราภาษี แต่คาดเรียกเก็บตั้งแต่ 10% เฉพาะมรดกเกิน 50 ล้านบาทขึ้นไป เร่งผลักดันใช้ให้ทันปี 2558

สืบเนื่องจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) อนุมัติหลักการ "ร่างพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดกและภาษีการรับให้" และให้กรมสรรพากรไปศึกษาเพิ่มเติมถึงการจัดเก็บภาษีมรดกนั้น

เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2557 นายประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวถึงความคืบหน้าเรื่องนี้ว่า ขณะนี้ร่างกฎหมายภาษีมรดกอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของกฤษฎีกา หากพิจารณาแล้วเสร็จจะนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของ คสช. ต่อไป ซึ่งคาดว่าจะได้ในเร็ว ๆ นี้

สำหรับอัตราการจัดเก็บนั้น อธิบดีกรมสรรพากร ระบุว่า ยังมีข้อถกเถียงกันอยู่ว่าจะจัดเก็บจำนวนเท่าใด โดยมีข้อเสนอให้จัดเก็บจากผู้รับในอัตราระหว่าง 5% ของมูลค่าสินทรัพย์ แต่ไม่เกิน 30% แต่ก็มีข้อเสนอล่าสุดที่อยู่ระหว่างการพิจารณา คือเก็บภาษีจากกองมรดกในอัตราเดียว 10% และให้ยกเว้นภาษีกับผู้ที่มีมรดกไม่ถึง 50 ล้านบาท เพื่อไม่ให้กระทบคนจน ตามที่ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. ย้ำมา

นายประสงค์ ยังกล่าวต่อว่า ประเภทของสินทรัพย์ที่เข้าข่ายต้องเสียมรดก คือ ทรัพย์สินที่ลงทะเบียนไว้เป็นหลักฐาน เช่น บ้าน ที่ดิน รถยนต์ พันธบัตร หุ้น ฯลฯ ส่วนทรัพย์สินที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียน เช่น ของสะสมต่าง ๆ ในชั้นนี้จะยังไม่จัดเก็บภาษี ขณะที่จุดประสงค์ของการจัดเก็บภาษีมรดกนั้น เพื่อต้องการสร้างความเป็นธรรมในระบบ เพราะผู้รับมรดกได้รับมรดกมาโดยไม่ต้องทำงาน แต่ผู้เสียภาษีทั่วไปต้องเสียภาษีจากรายได้จากการทำงาน จึงควรสร้างมาตรฐานที่เป็นธรรมให้กับผู้เสียภาษีรายอื่น

ในส่วนที่ว่าภาษีมรดกจะมีผลบังคับใช้เมื่อใดนั้น อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า คาดว่ากฎหมายจะสามารถบังคับใช้ได้ในช่วงปี 2558 เพราะต้องเร่งดำเนินการก่อนที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จะหมดวาระ เนื่องจากที่ผ่านมามีความพยายามผลักดันกฎหมายฉบับนี้มากว่า 20 ปีแล้ว แต่ไม่เคยสำเร็จสักครั้ง หากไม่เร่งดำเนินการในช่วงรัฐบาล คสช. ก็คงยากที่จะผลักดันในสำเร็จ

ขณะที่เว็บไซต์ประชาชาติธุรกิจ รายงานข้อมูลจากแหล่งข่าวกระทรวงการคลัง ว่า สำหรับอัตราการจัดเก็บภาษีการรับมรดกนั้นขณะนี้ยังไม่ได้ข้อยุติ แต่ผลการศึกษาก่อนหน้านี้คือ

ทรัพย์มรดกสุทธิเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 50 ล้านบาทแรก จัดเก็บภาษีในอัตราร้อยละ 0
ทรัพย์มรดกสุทธิส่วนที่เกิน 50 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 200 ล้านบาท จัดเก็บภาษีในอัตราร้อยละ 10
ทรัพย์มรดกสุทธิส่วนที่เกิน 200 ล้านบาทขึ้นไป จัดเก็บภาษีในอัตราร้อยละ 20

ในส่วนของอัตราภาษีการรับให้ ที่กำหนดไว้เพื่อพิจารณาคือ

ทรัพย์สินสุทธิเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 10 ล้านบาทแรก จัดเก็บภาษีในอัตราร้อยละ 0
ทรัพย์สินสุทธิส่วนที่เกิน 10 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 40 ล้านบาท จัดเก็บภาษีในอัตราร้อยละ 10
ทรัพย์สินสุทธิส่วนที่เกิน 40 ล้านบาทขึ้นไป จัดเก็บภาษีในอัตราร้อยละ 20

Re: จัดเก็ภาษีมรดก มีผลกระทบดีหรือไม่ดีกับประเทศไทย และนักลง

โพสต์แล้ว: เสาร์ ส.ค. 23, 2014 9:57 am
โดย so simple
แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผย"ประชาชาติธุรกิจ" ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้สั่งการให้ศึกษาการจัดเก็บภาษีมรดก ภาษีที่ดิน และรายได้ของรัฐจากสัมปทานต่าง ๆ เพื่อดูแลการจัดเก็บรายได้รัฐให้มีมาตรฐาน และเกิดความเป็นธรรม ในส่วนของภาษีมรดก จะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมสรรพากร สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เป็นต้น ซึ่งได้มีการพิจารณาและเสนอหลักการ "ร่างพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดกและภาษีการรับให้"แล้วเสร็จตั้งแต่เดือน ก.ค.ที่ผ่านมา

ดึงมีชัย-วิษณุกุนซือยกร่าง

ล่าสุด คณะกรรมการกฤษฎีกา คณะพิเศษที่นายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธาน และนายวิษณุ เครืองาม ที่ปรึกษา คสช.ร่วมเป็นกรรมการ อยู่ระหว่างพิจารณาร่างกฎหมายดังกล่าว และเป็นที่น่าสังเกตว่าคณะกรรมการกฤษฎีกา คณะพิเศษชุดนี้ มีประชุมหารือเกี่ยวกับกฎหมายภาษีมรดกและภาษีการรับให้ต่อเนื่องและเร่งด่วน โดยทุกฝ่ายพยายามปิดเงียบ เนื่องจากเป็นประเด็นค่อนข้างอ่อนไหว และอาจมีกระแสต่อต้าน จึงมีแนวโน้มสูงที่กฎหมายฉบับนี้จะถูกผลักดันประกาศบังคับใช้เป็นกฎหมายฉบับแรก ๆ ในยุค คสช.

ทั้งนี้ เดิมมีการยกร่างเป็นประกาศ คสช.เพื่อบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว แต่ทาง คสช.พิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นเรื่องที่มีผลกระทบกับประชาชน จึงเห็นควรให้เสนอเป็นร่าง พ.ร.บ. และให้มีการพิจารณากันในขั้นสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ด้วย

แหล่งข่าวกล่าวว่า ร่างกฎหมายฉบับนี้ได้มีการปรับปรุงจากเดิมที่เคยมีการศึกษากันไว้ โดยเปลี่ยนแนวทางจากเดิมจะเสนอให้เก็บภาษีจาก "กองมรดก" ควบคู่กับภาษี "การให้" แต่ร่างฉบับใหม่จะเสนอให้เก็บภาษีจาก "ผู้รับ" เป็นหลัก โดยเก็บภาษี "การรับมรดก" ที่เป็นการรับทรัพย์สินต่อจากผู้ตายกรณีที่ไม่มีการโอนให้ก่อนตาย และเก็บภาษี "การรับให้" ที่ผู้ตายมีการโอนทรัพย์สินให้ "ผู้รับ" ในช่วง 2 ปีก่อนตาย

มรดกไม่เกิน 50 ล้านยกเว้นภาษี

"การรับมรดกและการรับให้ จะดูทั้งเงินฝากในธนาคาร หลักทรัพย์ และที่ดิน แต่อาจจะมีข้อยกเว้นให้สำหรับการรับทรัพย์สินที่มีมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท"

แหล่งข่าวกล่าวว่า ในส่วนของอัตราภาษีแม้ยังไม่ได้ข้อยุติ แต่ผลการศึกษาก่อนหน้านี้ ทรัพย์มรดกสุทธิเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 50 ล้านบาทแรก กำหนดจัดเก็บภาษีที่ร้อยละ 0 ทรัพย์มรดกสุทธิส่วนที่เกิน50 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 200 ล้านบาท จัดเก็บร้อยละ 10 และทรัพย์มรดกสุทธิตั้งแต่ 200 ล้านบาทขึ้นไป จัดเก็บร้อยละ 20 ขณะที่ภาษีการรับให้ กำหนดอัตราภาษีดังนี้ ทรัพย์สินสุทธิเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 10 ล้านบาทแรก จัดเก็บร้อยละ 0 ทรัพย์สินสุทธิส่วนที่เกิน 10 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 40 ล้านบาท ร้อยละ 10 และตั้งแต่ 40 ล้านบาทขึ้นไป จัดเก็บร้อยละ 20

ทั้งนี้ ในทางวิชาการมองว่า การเก็บภาษีการรับมรดก จะทำให้ประชาชนมีความรู้สึกที่ดีในการจัดเก็บภาษีมากกว่าการเก็บภาษีจากกองมรดก เพราะไม่รู้สึกว่าถูกเรียกเก็บภาษีซ้ำซ้อน เนื่องจากในการรับมรดกจะเสียภาษีก็ต่อเมื่อได้รับมรดกถึงเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนดว่าต้องเสียภาษีเท่านั้น

ที่ดิน-เงินฝาก-หุ้นโดนหมด

สำหรับมรดกและทรัพย์สินที่อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีเป็นทรัพย์สินที่ได้รับโดยทางมรดกหรือการให้โดยเสน่หาได้แก่ ทรัพย์สินประเภทที่ดิน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง เงินฝากพันธบัตร ใบหุ้น หลักทรัพย์อื่น ๆ โดยจะมีการประเมินราคาทุนทรัพย์ หรือใช้ราคาตลาดเฉลี่ยย้อนหลัง เป็นเกณฑ์ในการคำนวณมูลค่าทรัพย์สินเพื่อการจัดเก็บภาษี ยกเว้นทรัพย์สินที่จะกำหนดยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีไว้ในพระราชกฤษฎีกา

ขณะที่ผู้รับมรดกและผู้รับทรัพย์สินที่ไม่ต้องเสียภาษีอาทิสามีหรือภรรยา ส่วนราชการ วัด วัดบาทหลวง มัสยิด องค์การหรือสถานสาธารณกุศล สถานพยาบาลของรัฐสถานศึกษาของรัฐ เป็นต้น

ส่งไม้ต่อให้ สนช.ตัดสินใจ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้นายประสงค์พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากรระบุว่า ภาษีมรดกต้องรอความชัดเจนในขั้นการพิจารณาของ สนช. ซึ่งเป็นเรื่องที่เสนอมาจากแนวคิดจากหลาย ๆ ส่วน รวมทั้งนักวิชาการ โดยบางส่วนมองว่าผู้มีทรัพย์สินจำนวนมากบางราย ไม่เคยต้องเสียภาษีเลยดังนั้นเมื่อมีการให้ลูกหลาน ก็ควรมีภาระภาษีบ้าง หลักการของภาษีมรดกจะมองที่ความเป็นธรรมและการกระจายรายได้เป็นหลัก เพราะในแง่เม็ดเงินภาษีคงเก็บได้ไม่มาก

"จะเก็บอย่างไร ต้องดูที่ สนช.อีกทีว่าจะยึดหลักการตัวไหน โดยทฤษฎี หลายประเทศเก็บจากกองมรดก บางประเทศเก็บจากผู้รับมรดก และหลายประเทศก็เก็บจากผู้ให้ด้วย ซึ่งมีเหตุมีผล มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป ต้องมาชั่งใจว่าอะไรเหมาะกับประเทศไทย"

ส่วนประเด็นข้อกังวลเรื่องการเคลื่อนย้ายทรัพย์สินระหว่างประเทศที่อาจทำให้เก็บภาษีมรดกได้ยากอธิบดีกรมสรรพากรยอมรับว่าทรัพย์สินในโลกปัจจุบันมีการเคลื่อนย้ายมากขึ้นแต่ทุกประเทศก็จะเก็บภาษีลักษณะนี้ ดังนั้นไม่ว่าจะหนีไปไหนก็ต้องเจอ

"ในโลกเรา วิ่งไปที่ไหนก็เจอ หรือพวก Tax Haven เดี๋ยวนี้ก็เริ่มถูกเปิดหมดแล้ว อัตราภาษีของเรา เมื่อเทียบกับในเอเชียเราถูกกว่า สมมติถ้าคุณมีเงินอยู่ก้อนหนึ่ง แต่ไม่เก็บไว้ในประเทศไทยแต่วันหนึ่งคุณอยากนำเงินมาซื้อบ้าน ซื้อรถ คุณจะลำบากไหมในการนำเงินกลับมา คุณจะตอบสังคมอย่างไร หรืออีกอย่าง ไม่มีใครเป็นอมตะ ไม่ตายหรอก ซึ่งถ้าคุณตายแล้ว ลูกคุณจะทำอย่างไร ก็ต้องมีการจัดการ สุดท้ายมันก็ไม่หนีไปไหน ต้องกลับมาอยู่ดี" อธิบดีกรมสรรพากรระบุ

อย่างไรก็ตาม การเก็บภาษีมรดกจะไม่กระทบคนจน ผู้มีรายได้น้อยที่อาจได้รับมรดกเป็นที่ดินไม่กี่ไร่ จะได้รับการยกเว้น โดยกฎหมายจะกำหนดมูลค่าว่าทรัพย์สินเกินเท่าไหร่จึงจะต้องเสียภาษี ซึ่งจะกำหนดให้มีมูลค่าสูงระดับหนึ่ง ยอมรับว่าหากเก็บภาษีจาก "กองมรดก" จะได้เม็ดเงินมากกว่า แต่จะไม่เป็นธรรมกับผู้ได้รับมรดก ขณะที่การเก็บจาก "ผู้รับมรดก" จะเป็นธรรมมากกว่า เพียงแต่ยุ่งยากในการจัดเก็บและได้เงินเข้ารัฐน้อยกว่า

ยุค คมช.ยึดอำนาจก็เคยถูกเสนอ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภาษีมรดกเคยมีการผลักดันมาหลายครั้ง อย่างสมัยที่มีการยึดอำนาจจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ก็มีข้อเรียกร้องจากนักวิชาการเช่นกัน และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ก็เคยศึกษาไว้ แต่สุดท้ายรัฐบาลช่วงนั้นก็ไม่หยิบยกขึ้นมาพิจารณา

การศึกษา สศค.ขณะนั้น พบว่าระบบภาษีมรดกที่สมบูรณ์ต้องมีภาษี 3 ประเภท ได้แก่ ภาษีกองมรดก (Estate Tax) ภาษีการรับมรดก (Inheritance Tax) และภาษีการให้ (Gift Tax) อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาจากประเทศต่าง ๆ ที่มีการจัดเก็บภาษีมรดก พบว่าไม่มีประเทศใดในโลกที่มีการนำภาษีทั้ง 3 ประเภทมาใช้พร้อมกัน อย่างมากจะเก็บควบคู่กัน 2 ประเภท เช่น สหรัฐอเมริกา จัดเก็บภาษีกองมรดกในระดับรัฐบาลกลาง (Federal Government) และภาษีการรับมรดกในระดับมลรัฐ (State Government)

นอกจากนี้ ประสบการณ์ของประเทศที่มีระบบภาษีมรดก ยังพบว่ารัฐบาลไม่สามารถเก็บรายได้จากภาษีนี้ได้มากเพียงพอจนเป็นรายได้หลักที่รัฐบาลจะนำรายได้ไปพัฒนาประเทศได้เนื่องจากปัญหาด้านการบริหารจัดเก็บภาษีและจิตสำนึกของการเสียภาษีของคนรวยที่จะมีวิธีเลี่ยงการเสียภาษีประเภทนี้ได้

Re: จัดเก็ภาษีมรดก มีผลกระทบดีหรือไม่ดีกับประเทศไทย และนักลง

โพสต์แล้ว: เสาร์ ส.ค. 23, 2014 10:12 am
โดย PLUSLOVE
มันเป็นความจริงที่โหดร้ายในสังคมครับ คนที่ลงทุนมีความมั่งคั่งต้องเสียเงินเป็นภาษี ที่พอเสียไปแล้วก้ไม่รู้เอาไปทำไรบ้าง ประเทศเจริญขึ้นมาตรงไหน

ถ้าเสียภาษีมากขึ้นแล้ว โกงกินไม่มี หรือโกงกินน้อยลง ผมเชื่อว่า หลายๆคนก้อยากจะเสียนะครับ เพราะอย่างน้อยประเทศชาติก้พัฒนาขึ้น

Re: จัดเก็ภาษีมรดก มีผลกระทบดีหรือไม่ดีกับประเทศไทย และนักลง

โพสต์แล้ว: เสาร์ ส.ค. 23, 2014 10:17 am
โดย so simple
อีกหนึ่งความเห็นจาก www.thaihomeonline นะครับ แต่ไม่ได้ลงชื่อผู้เขียนบทความเอาไว้
แต่ค่อนข้างเห็นด้วยกับบทความนี้มาก คือถ้าจะจัดเก็บขอให้ไปลงที่การศึกษา น่าจะดีที่สุด
ทุกวันนี้โรงเรียนดีๆ เก็บค่าเรียนแพงมาก บางโรงเรียนเป็นล้านบาทต่อไป โอกาสในการศึกษาเป็นเรื่องของคนมีเงินล้วนๆ เลย


ภาษีมรดกจะลดช่องว่างความมั่งคั่งได้จริงหรือ

ช่วงนี้มีการพูดถึงการจัดเก็บภาษีมรดกกันอย่างกว้างขวาง ความจริงเป็นเรื่องที่มีการดำริกันมานาน ย้อนไปได้หลายสิบปี แต่ไม่มีรัฐบาลไหนกล้านำมาใช้เนื่องจากกลัวเสียคะแนนนิยม

ภาษีมรดกเป็นภาษีทางตรง คือ ผู้เสียภาษีรับภาระเองทั้งหมด ซึ่งต่างกับภาษีทางอ้อม อาทิเช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีนำเข้า หรือภาษีทรัพย์สิน ที่ผู้เสียภาษีอาจผลัดภาระไปให้ผู้ซื้อสินค้าหรือบริการได้

ดิฉันจะไม่ขอวิจารณ์ว่ารัฐควรจะจัดเก็บหรือไม่ เพราะมีผู้ให้ความเห็นไว้มากแล้ว แต่อยากพุ่งความสนใจไปที่วัตถุประสงค์ของการจัดเก็บมากกว่า

วัตถุประสงค์แรกของการจัดเก็บภาษีทุกประเภท ก็คือ เพื่อเป็นรายได้ของรัฐบาล นำมาใช้ในการพัฒนาประเทศ ใช้ในการดูแลเรื่องสาธารณูปโภค สวัสดิการ การดูแลความมั่นคง ความสงบเรียบร้อย การรักษากฎหมาย การให้บริการสาธารณะ ฯลฯ

วัตถุประสงค์ที่สอง ของการเก็บภาษีมรดกที่คนกล่าวขวัญถึง คือ การช่วยลดช่องว่างของความมั่งคั่ง โดยเชื่อว่าเมื่อผู้มีความมั่งคั่งสูงต้องเสียภาษีจากมรดกที่จะสืบทอดให้ทายาท รัฐก็จะสามารถนำส่วนภาษีที่จัดเก็บนั้นมาทำประโยชน์อื่นให้กับส่วนรวมได้ตามที่กล่าวไปแล้ว

แต่การนำเงินไปใช้นั้น ถ้าถูกกระจายไปใช้ในประโยชน์สาธารณะ ก็จะเป็นการนำไปใช้ทั่วไป ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อทุกคน ไม่สามารถทำให้ผู้มีความมั่งคั่งน้อยกว่า มีความมั่งคั่งสูงขึ้นได้ เว้นแต่รัฐจะนำไปจ่ายแจกโดยตรงให้กับผู้มีความมั่งคั่งน้อย ซึ่งไม่มีรัฐไหนทำ นอกจากโรบินฮู้ด เพราะจะจูงใจให้เกิดผู้คนที่ไม่ทำงานหาเลี้ยงชีพ จะรอรับความช่วยเหลือจากรัฐอย่างเดียว ไม่ยอมช่วยตัวเอง

ผลพลอยได้ (พลอยเสีย) การเก็บภาษีมรดกในอัตราที่สูงมาก ก็คือ ทำให้คน "ไม่สะสม" ซึ่งอาจจะตรงกับแนวคิดว่า ตายแล้วก็เอาสมบัติติดตัวไปไม่ได้ แต่นักเศรษฐศาสตร์ก็มองว่า ถ้าเกิดแรงไม่จูงใจแบบนี้ ผู้คนก็อาจจะไม่อยากทำงานเต็มที่ตามศักยภาพของตนเอง ผลผลิตมวลรวมก็อาจจะไม่เติบโตมากนัก การจัดเก็บภาษีเงินได้ในอนาคตก็จะลดลง

การจัดเก็บภาษีมรดกจึงต้องกำหนดอัตราและวิธีการเก็บให้พอดีๆ ดิฉันไปค้นหาดูก็พบว่าประเทศที่จัดเก็บภาษีมรดก ส่วนใหญ่เป็นประเทศพัฒนาแล้วในยุโรป และอเมริกา และมีหลายประเทศยกเลิกการเก็บภาษีมรดกไป เพราะมองว่าได้เก็บภาษีเงินได้ส่วนบุคคลไปแล้ว

ปัจจุบัน ประเทศที่ยังจัดเก็บภาษีมรดกอยู่ มีอัตราการจัดเก็บที่แตกต่างกันไป ส่วนใหญ่เป็นขั้นบันได คือ สหรัฐอเมริกา (18-55%) เบลเยียม (3-30%) สาธารณรัฐเช็ก ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส (5-40%) เยอรมนี (7-30%) อิตาลี เนเธอร์แลนด์ (5-27%) สวิตเซอร์แลนด์ (บางรัฐ) สหราชอาณาจักร สเปน (7.65-34%) ญี่ปุ่น (10-70%) (ในวงเล็บคืออัตราจัดเก็บ---ข้อมูลจากหลายแหล่ง)

ปริมาณที่จัดเก็บได้ถือว่าไม่มากเมื่อเทียบกับภาษีที่รัฐจัดเก็บทั้งหมด แต่ก็ไม่ถึงกับน้อยทีเดียว ดิฉันหาข้อมูลล่าสุดได้มาเพียงปี 1998 คือ 10 ปีที่แล้ว ตามตารางดังนี้

ประเทศ ภาษีมรดกคิดเป็นสัดส่วนของ GDP ปี 1998 /ภาษีมรดกคิดเป็นสัดส่วนของภาษีทั้งหมดที่จัดเก็บ ปี 1998
สหรัฐอเมริกา 0.36% 1.16%
เบลเยียม 0.39% 0.86%
ฝรั่งเศส 0.51% 1.13%
เยอรมนี 0.13% 0.34%
อิตาลี 0.08% 0.17%
เนเธอร์แลนด์ 0.32% 0.78%
สเปน 0.20% 0.57%
สหราชอาณาจักร 0.21% 0.57%

ที่มา : Helmuth Cremer & Pierrre Pestieau, “Wealth Transfer Taxation: A Survey”, The Levy Economics Institute, 2003

ส่วนประเทศที่ยกเลิกการจัดเก็บไป คือ ออสเตรีย (2008) ออสเตรเลีย (1979) ตุรกี อียิปต์ (1996) อิสราเอล (1981) สวีเดน (2005) สิงคโปร์ (2008) และตุรกี วางแผนที่จะยกเลิกในปี 2009 นี้ (ในวงเล็บคือปีที่ยกเลิก-ข้อมูลจาก wikipedia)



บางประเทศแทนที่ภาษีมรดกด้วยการเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มขึ้นเวลาเจ้าของมรดกเสียชีวิต บางประเทศถือว่าได้เก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไปแล้วตอนเขามีเงินได้ครั้งแรก เพราะฉะนั้นเงินได้ที่เขาหามาจากเงินที่เสียภาษีแล้วก็ไม่ต้องนำมาเสียภาษีอีก แต่ใช้วิธีจูงใจให้บริจาคเพื่อโครงการต่างๆ ให้มากขึ้นจะดีกว่า



เขียนมาอย่างนี้ ไม่ใช่ว่าดิฉันไม่เห็นด้วยกับการเก็บภาษีมรดกนะคะ แต่ หากมีการเก็บ ดิฉันอยากให้มีการนำไปใช้ที่จะช่วยลดช่องว่างความมั่งคั่งได้จริงๆ คือ นำไปใช้เพื่อ "การศึกษา"



การศึกษาเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะช่วยยกระดับฐานะของคน และช่วยลดช่องว่างของความมั่งคั่งได้แบบยั่งยืน เพราะเป็นการสอนให้เขารู้จักทำมาหากิน ประกอบอาชีพ เป็นการเปิดโอกาสในการหารายได้ซึ่งจะทำให้เกิดความมั่งคั่งในอนาคต



ถ้าเราใช้เงินที่เก็บได้จากภาษีมรดกไปเพื่อการศึกษาแต่ประการเดียว ดิฉันเชื่อว่าผู้ที่จะถูกเก็บภาษี (ซึ่งโดยความเป็นจริงแล้วไม่ใช่เจ้าของมรดก แต่เป็นผู้รับมรดก) ก็จะรู้สึกว่า เจ้าของหรือผู้ให้มรดก ต้องการแบ่งปันมรดกให้กับคนอื่นๆ ที่ด้อยโอกาสกว่าด้วย เพื่อให้คนเหล่านั้นได้รับการศึกษามากขึ้น เพื่อโอกาสที่ดีในชีวิตในวันข้างหน้า



"โอกาส" เป็นเรื่องที่สำคัญค่ะ คนเราต่อให้เก่งเพียงใด หากไม่ได้รับ



"โอกาส" ให้แสดงฝีมือแล้ว เราจะไม่ทราบเลยว่าเขาเก่ง



โอกาสในการศึกษาที่ดีต้องกระจายไปทั่วประเทศ ต้องประกอบด้วย โรงเรียนที่ดี ได้มาตรฐาน ห้องเรียนคงทนถาวร ป้องกันแดดและฝนได้ ครูอาจารย์มีคุณภาพและมีรายได้และสวัสดิการที่ดี ทำให้มีกำลังใจถ่ายทอดวิชา อาชีพครูและอาจารย์ต้องเป็นอาชีพที่ทำรายได้สูง เพื่อจูงใจและรักษาคนเก่งให้มาเป็นแม่พิมพ์และพ่อพิมพ์ของชาติ



หลักสูตรมีคุณภาพ อุปกรณ์การเรียนการสอนครบครัน เครื่องไม้เครื่องมือทันสมัย มีซอฟต์แวร์ที่จะใช้ครบถ้วน ใช้งานได้ จัดซื้อเมื่อพร้อมและต้องการ ไม่ใช่มีผู้จัดซื้อให้แบบเหมารวมแล้วนำมากองไว้จนหมดอายุ หรือล้าสมัยเป็นกองขยะ



ดิฉันเชื่อว่าทุกวันนี้ผู้มีความมั่งคั่งส่วนหนึ่ง ก็หักรายได้ของตนจ่ายภาษีให้สังคมแบบสมัครใจด้วยการบริจาคเงินเพื่อสาธารณกุศล และเพื่อการศึกษาอยู่แล้ว ซึ่งจะมีข้อดีที่ว่าได้ทยอยช่วยเหลือไปทุกปี ไม่เหมือนภาษีมรดกที่จะต้องรอจัดเก็บเมื่อเจ้าของมรดกเสียชีวิตแล้ว เพราะคนสมัยนี้อายุยืน และรัฐบาลของหลายๆ ประเทศ ต้องการได้เงินภาษีมาใช้จ่ายในช่วงนี้ คิดว่านั่นคือสาเหตุที่หลายประเทศยกเลิกภาษีมรดกไปค่ะ

Re: จัดเก็ภาษีมรดก มีผลกระทบดีหรือไม่ดีกับประเทศไทย และนักลง

โพสต์แล้ว: เสาร์ ส.ค. 23, 2014 3:42 pm
โดย yoko
ภาษีมรดกจัดเก็บเฉพาะส่วนที่เกิน50ส้านบาท
ดีมากเลยครับ ผมก็ยินดีเสียครับ


:D :D :D :cheers: :cheers: :cheers:

Re: จัดเก็ภาษีมรดก มีผลกระทบดีหรือไม่ดีกับประเทศไทย และนักลง

โพสต์แล้ว: เสาร์ ส.ค. 23, 2014 11:54 pm
โดย TissueThiti
โดยส่วนตัวไม่เห็นด้วยครับ ด้วยหลายๆเหตุผล
หลักๆคือผมอดออมใช้เงินอย่างรู้คุณค่าในวันนี้เพื่อเหลือไว้ให้ลูกหลานมีต้นทุนชีวิตที่ดีขึ้น
แล้วทำไมผมกลับเหมือนทำอะไรผิด ต้องเสียเงินเพิ่ม?
ขณะที่หลายคนที่ใช้เงินไม่คิด ไม่เหลือเก็บ กลับได้รับผลประโยชน์จากเงินที่ผมอดทนมาทั้งชีวิต (แต่ผมไม่ได้หมายความว่าทุกคนที่มีฐานะลำบาก จะเป็นคนที่ใช้เงินโดยไม่คิดแบบที่ผมกล่าวทุกคนนะครับ)
มันจะกลายว่าส่งเสริมให้คนเรา หาแค่พอใช้ คนตั้งใจทำงานหาความก้าวหน้า หรือมีเงินมากเป็นเรื่องผิดต้องโดนเฉือนเนื้อมา

และอีกอย่างหนึ่งผมก็เห็นด้วยกับข้อมูลที่ว่า มันเป็นการเก็บซ้ำซ้อน เพราะทรัพย์สินในวันนี้ที่ผมมี ก็ล้วนผ่านการเสียภาษีมาแล้วทั้งสิ้น

#แต่ผมกลับอยากให้ออกภาษีที่ดินสะมากกว่า โดยเฉพาะที่ดินที่ไม่ก่อประโยชน์

Re: จัดเก็ภาษีมรดก มีผลกระทบดีหรือไม่ดีกับประเทศไทย และนักลง

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ส.ค. 24, 2014 11:39 am
โดย so simple
อยากจะฟังความเห็นเพิ่มขึ้นอีกครับ เพราะนโยบายนี้มีผลกระทบต่อพวกเราแน่
เพราะมันจะมีทั้ง pro และ con. นโยบายของรัฐจะต้องเป็นธรรมและสมดุล
ส่วนที่เป็น con คือ คนรวย หรือเจ้าของบริษัท มีวิธีที่จะหลีกเลี่ยงภาษีได้อยู่แล้ว
ด้วยวิธีการต่างๆ ที่พวกเราเองก็รู้กันอยู่. (คงไม่ขอพูดในที่นี้นะครับ เพราะคนรวย
ก็มีทนาย ที่ปรึกษาทางภาษีที่เก่งกันอยู่แล้ว). และถ้าอัตราภาษีที่มากเกินไปเช่น
ญี่ปุ่น ถึง 50%. จะไม่มีแรงกระตุ้นจูงใจให้เกิดการจ้างงาน สร้างงานโดยเจ้าของกิจการ
ซักเท่าไหร่ เผลอๆ ทำให้ gdp. ไม่เติบโตเอา ภาษีโดยรวมเก็บได้ ไม่คุ้มเสีย

ส่วนที่เป็น pro คือ ถ้าอัตราภาษีเหมาะสม ไม่มากเกินไป (ประมาณ 10% ก็น่าจะพอนะหวังว่า)
และมีวัตถุประสงค์การนำไปใช้ได้ดีจริง โปร่งใสควบคุมได้ โดยเฉพาะนำไปใข้ในการศึกษาและสาธารณสุข ให้ผู้ที่ต้องเสียยอมรับได้ว่าทำให้คุณภาพชีวิตของลูกหลาน หรือคนในประเทศดีขึ้นจริง คนก็คงจะยอมเสียกัน
แต่ถ้านำไปทำโครงการชักเปอร์เซนต์อะไรก็ไม่รู้ต่างๆ ก็คงจะไม่ไหว
อีกประการหนึ่ง มันน่าจะทำให้เรารู้จักวิธีการวางแผนภาษี (tax planning) และชีวิตน่าจะสมดุล
มากขึ้น เพราะจะทำให้ไม่โลภเกินเขตจำกัดเกินไป. ลูกหลานก็จะได้คิดเหมือนกันว่า พ่อแม่
รวยแต่ตัวเองไม่ทำอะไร ซักวันมันก็หมดได้เหมือนกัน

แต่นโยบายนี้มันก็ต้องมีผลกระทบแน่. ก็ต้องช่วยกันออกเสียงส่งสัญญานให้ คสช. และสภาปฎิรูป
รับรู้กันไป. ว่ามันควรจะมีหรือไม่ ถ้ามีแล้วควรจะเป็นยังไง. แต่ถ้ามันออกมาแล้วก็เรียบร้อย
อยู่ในประเทศไทยก็ต้องเสียสละกันไป

Re: จัดเก็ภาษีมรดก มีผลกระทบดีหรือไม่ดีกับประเทศไทย และนักลง

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ส.ค. 24, 2014 10:37 pm
โดย GUI
ต่อไปความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ ต้องกราบขออภัยล่วงหน้า ที่เพ้อเจ้อไป ไม่ได้ตอบคำถามของกระทู้

ถ้าไม่อยากเสียภาษีมรดก เกรงว่ารัฐฯ จะนำเงินมรดกของเราไปถลุง ฯลฯ ก็ไม่ต้องยกมรดกส่วนที่ต้องเสียภาษีแล้วคิดว่าไม่คุ้มให้ลูกๆ ครับ ให้ก่อตั้งมูลนิธิตามที่ท่านต้องการช่วยเหลือสังคมในด้านใด โดยใส่ชื่อลูกหลานให้เป็นประธาน,กรรมการ,เจ้าหน้าที่ โดยมีเงินเดือนเลี้ยงเขาไปตลอดชีพ กุศลผลบุญที่ท่านสร้างไว้ ก็จะส่งผลชื่อเสียงวงศ์ตระกูลขจรไกล ลูกหลานเจริญรุ่งเรืองสืบไป ประเทศชาติพัฒนาก้าวไกล

Re: จัดเก็ภาษีมรดก มีผลกระทบดีหรือไม่ดีกับประเทศไทย และนักลง

โพสต์แล้ว: จันทร์ ส.ค. 25, 2014 8:17 am
โดย kondee
ผมว่า ภาษีมรดกอาจจะยังไม่ใช่คำตอบที่ถูกนัก สิ่งที่ควรจะมีคือภาษีที่ดิน

ภาษีมรดกมันผิดหลักเศรษฐศาสตร์ ตรงที่ incentive ของคนที่มีมาก (คนที่มีเงินมาก) ไม่น่าใช่การไปทำให้น้อยลง (เก็บเงินเขาออกไป) ทำให้ไม่เกิดการจูงใจให้มีมาก ยิ่งในโลกที่มีการเคลื่อนย้ายเงินได้ง่ายอย่างในโลกปัจจุบัน การโอนเงินออกนอกประเทศเพื่อหนีการจ่าย ยิ่งทำง่าย ยิ่งถ้าเกิดการโอนเงินออก ยิ่งทำให้ประเทศยิ่งแย่

ภาษีที่ดิน สำหรับกระตุ้นการใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์ อันนี้น่าจะกระตุ้นให้เกิดการพัฒนามากกว่า

ผมอาจจะผิด แต่ก็เป็นความเห็นส่วนตัวครับ

Re: จัดเก็ภาษีมรดก มีผลกระทบดีหรือไม่ดีกับประเทศไทย และนักลง

โพสต์แล้ว: จันทร์ ส.ค. 25, 2014 10:06 am
โดย Green
สงสัยว่า กิจการที่ไม่ได้อยู่ในตลาดหุ้น นี้เค้าจะคิด ประเมิณมูลค่า อย่างไรครับ

Re: จัดเก็ภาษีมรดก มีผลกระทบดีหรือไม่ดีกับประเทศไทย และนักลง

โพสต์แล้ว: จันทร์ ส.ค. 25, 2014 11:44 am
โดย NEWYORKER
ผมสังเกตุเห็นว่าประเทศที่เก็บภาษีมรดก ส่วนใหญ่เป็นประเทศที่มีหนี้สินเยอะจากการใช้สวัสดิการ และ ช่องว่างระหว่างคนจน คนรวยห่างกันมาก. ซึ่งพอมาฟัง เหตุผลในการทำเช่น ลดความเหลื่อมล้ำคนจนและคนรวย. ผมก็ไม่เห็นว่าภาษีตัวนี้จะช่วยลดซักเท่าไร เช่น ความเหลื่อมล้ำในอเมริกา หรือ ตะวันตก ที่นับวันยิ่งถ่างออกไปเรื่อยๆเพราะ ถ้าช่วยลดจริง ช่องว่างนี่ควรจะแคบลง ไม่ใช่ถ่างขึ้น(ถึงแม้ QE จะมีส่วนก็เถอะ).

ดังนั้นภาษีมรดก อาจเป็นแค่ยาดม ให้คนเป็นมะเร็ง มากกว่ายารักษาโรคมะเร็ง ก็ได้เพราะ ทุกคนๆก็ทราบดีว่า ช่องว่างตัวนี้มาจากอะไร? การผูกขาดทางธุรกิจของเอกชนขนาดใหญ่? :?:

ดีไม่ดี พอภาษีตัวนี้ออกมาจริง คนที่จะซวยคือ คนชั้นกลาง,กลางบน และ คนชนชั้นบนธรรมดา ก็เป็นได้ เพราะ คนชนชั้นบนสุดหอคอย ยังไงก็เสียหายน้อยครับ. :twisted:

Re: จัดเก็ภาษีมรดก มีผลกระทบดีหรือไม่ดีกับประเทศไทย และนักลง

โพสต์แล้ว: จันทร์ ส.ค. 25, 2014 12:01 pm
โดย neong
ส่วนตัวผมเห็นด้วยครับ เพราะ เท่าที่อ่านมา ภาษีมรดกจะจัดเก็บเฉพาะส่วนที่เกิน50ส้านบาท
ผมคิดว่าน่าจะเป็นคนไทยส่วนน้อยเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบครับ
และผมคิดว่า ทรัพย์สินห้าสิบล้านบาท น่าจะเพียงพอให้ ผู้รับมรดกใช้จ่ายในชีวิตประจำวันและเป็นทุนในการประกอบอาชีพครับ

"enough money so that they would feel they could do anything, but not so much that they could do nothing.'"
-Warren Buffett

Re: จัดเก็ภาษีมรดก มีผลกระทบดีหรือไม่ดีกับประเทศไทย และนักลง

โพสต์แล้ว: อังคาร ส.ค. 26, 2014 8:34 am
โดย Nevercry.boy
โครงสร้างพื้นฐานทางประชากรของประเทศไทยมันแปลก คือเป็นรูปปิรามิดกลับหัว

ด้านบนสุดคือ คนจน ซึ่งไม่ได้รับผลกระทบส่วนนี้แน่นอนและเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศเสียด้วย

ด้านกลาง คือ คนรวย ซึ่งไม่ได้รับผลกระทบเช่นกัน การโยกย้ายมรดกเป็นเรื่องง่ายมากครับ เช่นใช้นอมินีในการจัดการซื้อขาย หรือถ้ามีสินทรัพย์มากก็จัดอยู่ในรูปนิติบุคคล แล้วใช้การซื้อขายบริษัทแทน การซื้อขายหุ้นบริษัทเอกชนที่เป็น private company นั้น เป็นเรื่องของความพอใจของคนสองคนไม่มี กลต ฯลฯ มากำกับดูแลครับ นี่แค่พื้น ๆ นะครับ

ด้านล่างสุด คือ ชนชั้นกลางครับ พวกนี้ (ผมด้วย) ไม่สามารถหลบหลีกภาษีอะไรได้เลย รับมาเท่าไรจ่ายไปเท่านั้น แต่เป็นคนกลุ่มน้อยของประเทศนี้

พวกผมเป็นฐานล่างที่ทำทุกอย่างถูกต้องและแบกรับคนรวยและคนจนไว้บนบ่า

ถ้าจะให้รับภาษีมรดกอีกก็ดีครับจัดมา

Re: จัดเก็ภาษีมรดก มีผลกระทบดีหรือไม่ดีกับประเทศไทย และนักลง

โพสต์แล้ว: อังคาร ส.ค. 26, 2014 6:00 pm
โดย kraikria
ผมคิดว่าถ้าจะทำให้ดีก็ดีได้ หรือถ้าจะทำให้แย่ก็แย่ได้ ส่วนตัวผมถ้าถูกให้เสียภาษีเพิ่มจากที่เป็นอยู่ไม่ว่าจะภาษีอะไร ผมก็คิดแค่ว่าเรามีหน้าที่เสียภาษีก็ทำไป สิ่งที่น่าสนใจคือการใช้เงินภาษีต่างหาก ถ้ามีการกำหนดเลยว่าภาษีมรดกที่เก็บได้จะถูกนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์จริงๆเช่นการกระจายรายได้ ก็ระบุไปเลยก็ได้ว่าเงินภาษีมรดกที่เก็บได้จะนำไปชดเชยให้ผู้ที่ไม่สามารถสร้างรายได้ได้เองเช่นบุคคลพิการ ผู้สูงอายุ เด็กกำพร้าอายุยังไม่ถึงวัยทำงานที่ไม่มีผู้อุปการะ เป็นต้น และจะดีถ้ากำหนดไปเลยว่าปีไหนเก็บภาษีมรดกได้เท่าไหร่ก็จะใช้เงินเท่านั้นไปชดเชยดังกล่าว ส่วนบุคคลที่เสียภาษีมรดกมากรัฐบาลก็อาจจะประชาสัมพันธ์เป็นเกียรติประวัติ หรือให้สิทธิพิเศษบางอย่างเป็นแรงจูงใจก็ได้

Re: จัดเก็ภาษีมรดก มีผลกระทบดีหรือไม่ดีกับประเทศไทย และนักลง

โพสต์แล้ว: อังคาร ส.ค. 26, 2014 8:02 pm
โดย NEWYORKER
ว่าแต่ มีการจัดอันดับพอร์ต 1000อันดับแรก.
น่าจะมีการจัดอันดับ คนเสียภาษี สูงสุด 1000อันดับแรก เช่นกันนะครับ.

น่าสนุกดีจัง :mrgreen:

Re: จัดเก็ภาษีมรดก มีผลกระทบดีหรือไม่ดีกับประเทศไทย และนักลง

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ส.ค. 28, 2014 6:32 am
โดย anubist
ปํญหาคือจะตีราคาสินทรัพย์อย่างไร
หุ้นในตลาดตอนก่อนวิกฤติมูลค่า100ล. หลังวิกฤติตกเหลือ30ล.
จะเก็บอย่างไร มีการคืนภาษีมั้ยหากเก็บไปแล้วหุ้นตก
หรือโดยเฉพาะหุ้นบ.นอกตลาด
ถ้าบ.ดีๆเอาเข้าตลาดแล้วต้องเสียภาษีมรดกเพิ่มจากเดิม ใครมันจะเอามาIPOอ่ะ
ที่ส่งเสริมให้หุ้นเข้าตลาดแทบตาย สูญเปล่า!!!

เช้าชามเย็นชามไปวันๆ

Re: จัดเก็ภาษีมรดก มีผลกระทบดีหรือไม่ดีกับประเทศไทย และนักลง

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ส.ค. 28, 2014 10:18 am
โดย Pekko
เจอคุณ anubist อีกแล้วครับในกระทู้ทำนองแบบนี้ :P

เคยมีคนตั้งกระทู้แนวนี้ตามนี้ครับ
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=1&t=56772
(แต่มี User บางท่านไปโพสต์นอกประเด็นเกี่ยวกับการคอรัปชั่นของนักการเมือง ซ้ำพออธิบายเรื่องนี้ตรงประเด็นภาษีมรดกไม่ได้ก็ออกไปแขวะแนวอื่น แถมดูถูกดูแคลนถากถางความคิดและวิชาชีพผมอีก)

ขออนุญาตยกซ้ำตรงประเด็นนี้นะครับ
Pekko เขียน:เนื่องด้วยผมทำงานใกล้เคียงกับด้านภาษีนี้ ไปสรรพากรก็หลายครั้ง สำหรับผมไม่เห็นด้วยแน่นอนครับกับการเก็บภาษีมรดกของคนที่ทำมาหากินอย่างสุจริต เพราะหลักภาษีปัจจุบันนี้ ผมคิดว่าไม่เป็นธรรม มีอคติ(ธงในใจ)ต่อผู้เสียภาษีครับ
ksiritha เขียน:ในส่วนของผู้ที่สนับสนุนภาษีมรดกนั้น ก็ได้ให้ความเห็นว่าภาษีมรดกมีข้อดีมากกว่าข้อเสียคือ
(1)ช่วยให้ประชาชนในสังคมมีโอกาสทางเศรษฐกิจเสมอภาคและลดความได้เปรียบทางเศรษฐกิจ
ช่วยตรงไหนครับ มีกลไกอื่นอีกมากที่ไม่ใช่ระบบภาษีแก้ไขได้ เช่น การปฏิรูปการศึกษา สาธารณสุข การสร้างงานสร้างอาชีพตามภูมิภาคต่างๆ

(2)เป็นภาษีทางตรง ผู้เสียภาษีจะผลักภาษีไม่ได้ ทำให้เกิดความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจแก่ประชาชน
แน่นอนครับภาษีทางตรง ของใครของมัน แต่ความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจกับการเสียภาษีทางตรง ทำไมถึงโยงเป็นเรื่องเดียวกันได้ ทำมากเสียภาษีมาก ทำน้อยเสียภาษีน้อย แล้วพวกที่ไม่ทำงานแต่ได้ภาษีคนอื่นไปใช้ฟรีๆล่ะ สำหรับคนที่ทำงานมากเสียภาษีมาก คิดบ้างไหมว่าพวกเขามีความสุขสบายจริง มันก็ต้องแลกเปลี่ยนกัน เช่น เวลา ความเครียด ความเสี่ยงฯลฯ มีระบบภาษีใดช่วยพวกเหลือพวกเขาอย่างเต็มใจได้บ้างครับ

(3)ทำให้เกิดการกระจายความมั่งคั่ง โดยกระจายทรัพย์สินให้แก่ญาติพี่น้องหรือสาธารณะกุศล ซึ่งเป็นการลดช่องว่างระหว่างคนร่ำรวยกับผู้มีรายได้น้อย
ใช้ระบบภาษีมากระจายความมั่งคั่ง ผมยังไม่เห็นว่าประเทศใดจะใช้ระบบภาษีนี้แก้ได้ มีแต่สร้างความเชื่อเท่านั้นว่าจะแก้ไขปัญหากระจายได้ (ดูตัวอย่างประเทศซิมบับเว่เทียบเคียง) ส่วนเรื่องยกให้ใครบริจาคให้ใคร มันเป็นสิทธิ์ส่วนตัวของผู้มอบเพราะเขาลำบากหาทรัพย์สุจริตได้

(4)เป็นเหตุจูงใจให้เจ้าของมรดกทำงานหรือขยายการลงทุนเพิ่มขึ้น เพื่อเตรียมเงินไว้ให้ทายาทเสียภาษีมรดก
คนที่มีมรดกยกให้ทายาท แสดงว่าส่วนใหญ่รู้จักทำงานขวนขวาย สร้างเนื้อสร้างตัว เก็บเงินเก็บทองถึงเหลือให้ลูกหลาน เพื่อมิให้ลูกหลานลำบากเป็นภาระของสังคมไม่ดีหรือครับ แล้วไม่สงสารคนรุ่นก่อนๆ บ้างหรือครับว่าเหนื่อยยากเพียงใด จะมาสบายตอนแก่ก็ไม่ได้ ต้องทำงานอีก สำหรับตระกูลใดที่รวยอยู่แล้วก็เป็นเรื่องของเขาที่จะรักษาทรัพย์สมบัติ เพราะเราเองก็เห็นตัวอย่างหลายตระกูลรุ่นลูกรุ่นหลานแทบสิ้นเนื้อประดาตัวหลายตระกูลเช่นกัน

(5)เป็นเหตุจูงใจให้ผู้รับมรดกมีความรู้สึกว่าต้องพึ่งตนเองในการทำงานหรือลงทุนเพิ่มขึ้นโดยไม่มุ่งมรดกอย่างเดียว เนื่องจากต้องเสียภาษีมรดก
ข้อนี้ไม่มีความเห็นครับ เพราะขึ้นอยู่กับการอบรมของแต่ละครอบครัวครับ
ทุกวันนี้ก็เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทางตรงมากอยู่แล้ว(รายได้จัดเก็บอัตราก้าวหน้า ค่าใช้จ่ายให้สิทธิ์หักในอัตราถดถอย) ปีนึงก็แสนกว่าบาท ไม่เคยคิดแม้แต่เลี่ยงภาษี มีเงินออมฝากประจำก็เก็บภาษีดอกเบี้ย มีหุ้นก็เก็บภาษีเงินปันผล ตายไปยังจะตามมาเก็บภาษีมรดก แถมยังมีแนวความคิดแปลกๆ ที่จะเก็บภาษีคนโสดอีก (ดีนะเนี่ยที่เพิ่งแต่งงานเลยรอดตัวไป) สิทธิ์เสรีภาพของพลเมืองก็ไม่ได้ต่างกับคนอื่น (ทุกวันนี้นั่งรถเมล์ นั่งเรือไปทำงานทุกวัน ส่วนรถก็จอดทิ้งไว้ที่บ้านตั้งแต่ได้มา 3 ปีกว่าแล้ว) แต่เวลาจ่ายภาษีกลับเป็นอีกเรื่อง ผมคิดว่าหากประเทศใดก็ตามเน้นเรื่องการเก็บภาษี หรือชูเรื่องนี้เป็นเรื่องหลัก ประเทศนั้นเตรียมแย่ได้เลยครับ

ผมคิดว่าคนส่วนใหญ่ มีความคิดในแง่ลบกับคนร่ำรวย(อิจฉา) เขาจะรวยจะจน จะเสียภาษีมาก จะเสียภาษีน้อย(ไม่นับรวมพวกเลี่ยงภาษี) มันก็เป็นเรื่องของเขา สนใจเรื่องของเราดีกว่าว่าจะพาครอบครัวฝ่าวิกฤติต่างๆ ไปได้อย่างไร หันมาพัฒนาตัวเองให้ร่ำรวยจากทรัพย์สินสุจริตของเราแล้วมาเสียภาษีอย่างสุจริตดีที่สุดครับ
และ
Pekko เขียน: ผมขอแบ่งประเภทผู้รับมรดกเอง ออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ ดังนี้ครับ
1 ผู้รับฯ ทำมาหาเลี้ยงชีพเองได้
2 ผู้รับฯ ทำมาหาเลี้ยงชีพเองไม่ได้ หรือยังไม่ได้ เช่น
2.1 บุตรหลานที่อยู่ในวัยศึกษาเล่าเรียน
2.2 บุพพาการีวัยเกษียณ อายุมาก ทำงานหนักๆ ไม่ได้แล้ว
2.3 ผู้พิการทุพพลภาพ หรือเจ็บไข้ได้ป่วยเป็นประจำ
สำหรับผู้รับมรดกของผม คือ แม่ที่อายุเกือบ 70 ครับ ผมต้องการเก็บทรัพย์สมบัติที่หาได้จากน้ำพักน้ำแรงมาเลี้ยงบุพพาการียามผมไม่มีชีวิตอยู่ ไม่ต้องการให้แม่เป็นภาระสังคม ไม่พึ่งพาเบี้ยผู้สูงอายุ มันเป็นเรื่องผิด เห็นแก่ตัวมากงั้นหรือ


ส่วนวิธีเลี่ยง ผมคิดออก 3 วิธีครับ
1 แปลงทรัพย์สินที่ระบุชื่อ เป็นทรัพย์สินที่ไม่ระบุชื่อ เช่น ทอง เพชร อัญมณี พระเครื่อง งานศิลปะ จัดเก็บให้ดี (อย่าใส่ตุ่มฝังดินที่บ้าน หรืตูเซฟที่คอนโดนะครับ เดี๊ยวต้องหาเงินจ่ายค่าภาษีบ้านคอนโดอีก)
2 ใช้วิธีของคุณ draco ครับ สร้างนอมินีจดทะเบียนแถวเกาะเคย์แมน หรือบริติช เวอร์จิน ไอแลนด์
3 ถือสองสัญชาติ หรือแปลงสัญชาติไปยังประเทศที่ยังไม่มีการจัดเก็บ

ผมคิดว่าข้อ 2 และ 3 ถือเป็นความเสียหายใหญ่หลวงทางเศรษฐกิจของประเทศครับ เสมือนเงินไหลออก ขณะที่ประเทศเราควรพึ่งพาเงินลงทุนจากคนสัญชาติไทยโดยตรงมากกว่า ลดการพึ่งพาเงินลงทุนข้ามชาติ(เอ เป็นวิธีที่ทำให้เงินบาทอ่อนค่าล่ะเนี่ย 555 )
ดังนั้นต้องเข้าใจทั้งภาพใหญ่ภาพย่อยเสียก่อน ถึงจะชั่งใจได้ว่าจะเก็บภาษีมรดกส่วนนี้หรือไม่ อย่างไรครับ
และ
Pekko เขียน: ต้องกลับมาดูปัญหาข้างบนแล้วว่า เกิดจากสาเหตุใด เช่น จนโอกาสเข้าไม่ถึงทรัพยากร อย่างนี้ต้องเข้าไปช่วยเหลือเร่งด่วน แต่ถ้าจนความคิด เช่น ขี้เกียจ อิจฉาริษยา ชอบเบียดเบียน อยากได้ของคนอื่นฟรีๆ หรือข้องเกี่ยวกับอบายมุข ยาเสพติด ถ้าเป็นประเภทนี้คงต้องวางอุเบกขาเพียงอย่างเดียว

การแก้ไขปัญหาด้วยระบบภาษีต่างๆ ทุกประเภทเป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ คือ อ้างความไม่เท่าเทียมกันในสังคม อ้างความเหลื่อมล้ำ ดึงทุกคนให้อยู่ในระดับเดียวกันมากที่สุด แต่เนื้อแท้แล้วต้องดูว่าคนที่เสียภาษีเยอะๆ นั้นว่าทำอะไร ถ้าหากคอรัปชั่นก็ให้แจ้งปปง.ครับ มิใช่ทำตัวเป็นศาลเตี้ยชี้ถูกผิดเอง แต่ถ้าทำมาหากินสุจริตต้องเข้าไปพิจารณาดูว่า คนเหล่านั้นสร้างมูลค่าเพิ่มให้ตัวเองอย่างไร เป็นเรื่องน่าศึกษา มิใช่แค่สนใจว่าปีนี้คนนั้นคนโน้นเสียภาษีเท่าไร ต้องมากกว่าเดิมนะ หรือทำไมเสียน้อยกว่าปีกลาย หมกเม็ด ซ่อนอะไรหรือเปล่า และหากทุกคนให้มาเท่าเทียมกัน แล้วเก็บภาษีได้น้อยลง ส่วนที่ขาดหายไปจะกล้าเก็บพวกที่ได้รับยกเว้นหรือไม่เคยจ่ายไหม จะได้เท่าเทียมกันทั้งสังคม (ตัวอย่างเห็นได้ชัด คือ การเพิ่มอัตรา VAT ครับ)

ผมกังวลเองว่า คนที่โดนภาษีมรดกจะเป็นชนชั้นกลาง และชนชั้นแรงงานตามหัวเมืองใหญ่ๆ มากกว่า เพราะคนที่มั่งมีจริงๆ คงมีวิธีเลี่ยงได้ บุคคลธรรมดาทั่วประเทศต้องจ่ายทั้งหมด แค่คิดเรื่องรถยนต์ รถรับจ้าง มอเตอร์ไซค์ ปศุสัตว์ สังหาริมทรัพย์พิเศษ และอสังหาริมทรัพย์ เป็นฐานภาษีที่ใหญ่และเม็ดเงินเป็นจำนวนมาก พร้อมกับความโกลาหลในสังคมหากมีการประกาศใช้

อย่าลืมความเป็นนิติรัฐ หลัก 6 ประการนะครับ ภาษีมรดกมิใช่ภาษีรายได้ คนในสังคมไม่ว่าจะจนจะรวยทุกคนย่อมมีทรัพย์สินมรดก ซึ่งต้องเสียเหมือนกันหมด จะยกเหตุเสน่หา ความจนมาอ้างนั้นเพื่อไม่เสียนั้นคงไม่ได้ ทุกคนต้องเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุขครับตามหลักภราดรภาพครับ ถึงผมไม่เห็นด้วย แต่ก็ยอมรับครับ
เมื่อคุณกล้าจะเก็บ แล้วคุณกล้าที่จะมีอะไรจะคืนเป็นสวัสดิการที่ดีขึ้นต่อผู้เสียภาษีซ้ำซ้อนบ้างไหมครับ?

Re: จัดเก็ภาษีมรดก มีผลกระทบดีหรือไม่ดีกับประเทศไทย และนักลง

โพสต์แล้ว: เสาร์ ส.ค. 30, 2014 8:27 pm
โดย kraikria
ถ้ามีโจทย์ว่าต้องทำภาษีมรดก แล้วเราเป็นผู้มีอำนาจที่จะทำ เราจะทำอย่างไรให้เป็นธรรมดีครับ?

Re: จัดเก็ภาษีมรดก มีผลกระทบดีหรือไม่ดีกับประเทศไทย และนักลง

โพสต์แล้ว: พุธ ก.ย. 03, 2014 11:41 am
โดย trainn
ไม่เห็นด้วยครับ

เนื่องจาก

1.เงินหรือทรัพย์สินที่เป็นมรดกนั้น ย่อมผ่านการจัดเก็บภาษีมาแล้ว ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ถ้ารัฐมีการจัดเก็บภาษีมรดกอีก
ถือเป็นการจัดเก็บซ้ำซ้อน และ เป็นการส่งสัญญาณให้ประชาชนในประเทศว่า ถ้าไม่รีบใช้เงิน เดี๋ยวรัฐบาลจะมาขอช่วยใช้
ซึ่งจะเป็นการทำลายนิสัยการออมผู้คน (คนที่ออมเงินได้จริงๆ ในปัจจุบันก็เป็นส่วนน้อยอยู่แล้ว)

2.ความมั่งคั่ง จะถูกโยกย้ายไปหาสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกว่า ... ถ้าไทยจัดเก็บ แต่ประเทศรอบข้างเราไม่เก็บ อย่างนั้น
คนที่มีทุน มีเงินออมส่วนเหลือก็จะมีแรงจูงใจโยกเงินไปออม ไปลงทุนในต่างประเทศมากกว่า เช่น ฝากเงินที่สิงค์โปร์ดีกว่าฝากเมืองไทย
แล้ว ระบบธนาคารสิงคโปร์ก็จะยิ่งเข้มแข็ง ในขณะที่เศรษฐกิจของไทยจะยิ่งอ่อนแอ

ความคิดส่วนตัว ผมมองว่า ประเทศไหนออกนโยบายจิ้งหรีดเป็นใหญ่ แล้วมากดขี่ข่มแหงมดงาน ... ประเทศนั้น มักไปไม่รอดครับ

Re: จัดเก็ภาษีมรดก มีผลกระทบดีหรือไม่ดีกับประเทศไทย และนักลง

โพสต์แล้ว: พุธ ก.ย. 03, 2014 12:37 pm
โดย syj
เห็นด้วยกับคุณ trainn อย่างยิ่งครับ

ภาษีที่ควรเก็บคือ ภาษี Capital Gain Tax (สงสัยแถวนี้คงไม่มีใครเห็นด้วย)
และภาษีที่ดินที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์. หรือใช้ประโยชน์แบบซ่อนเร้น (ปลูกต้นไม้
เพื่อบอกว่าทำเกษตร. แต่ที่จรืงอยู่ในมือนายทุน ซื้อเพื่อเก็งกำไร)

Re: จัดเก็ภาษีมรดก มีผลกระทบดีหรือไม่ดีกับประเทศไทย และนักลง

โพสต์แล้ว: พุธ ก.ย. 03, 2014 12:38 pm
โดย cobain_vi
ก่อนจะมีกฏหมายเก็บภาษีมรดก ขอให้มีกฏหมาย
-โกงไม่มีอายุความทั้งผู้ให้และผู้รับ
-นักการเมืองและข้าราชการ ต้องแสดงที่มาของทรัพย์สิน แสดงไม่ได้ยึดเงินเข้าหลวงและจำคุกตลอดชีวิต(ประหารชีวิต)
-ประชาชนทุกคนต้องสมารถแสดงที่มาของทรัพย์สิน ถ้าแสดงไม่ได้ ยึดเข้าหลวง
-สามารถบังคับใช้กฏหมายอย่างเคร่งครัด
มีมีกฏหมายเหล่านี้เมื่อไร ผมยินดีให้จัดเก็บภาษีมรดกครับ เพราะถ้าไม่มีกฏหมายรองรับ ผมกลัวว่าจัดเก็บกันไปแล้วจะไปเข้ากระเป๋านักการเมืองหมด
จะเก็บเท่าไรก็ได้(เก็บ90%หรือ100% ก็ได้) ผมยินดีครับ :B
....
....
แต่ถ้ายังไม่มีกฏหมายที่ว่ามา ผมไม่เห็นด้วยนะครับ ผมเอาไปบริจาคเองดีกว่า(ไม่ไว้ใจนักการเมืองครับ) :roll:

Re: จัดเก็ภาษีมรดก มีผลกระทบดีหรือไม่ดีกับประเทศไทย และนักลง

โพสต์แล้ว: เสาร์ ก.ย. 06, 2014 1:34 pm
โดย ohm150
ถ้าคิดแบบเปิดใจกว้าง ไม่หวงทรัพย์สิน
ผมมองว่าเป็นการ ลด dead asset ในระบบครับ

ทรัพย์สินหลักๆ ของคนเรา
บ้าน เงินฝาก หุ้น จะมีการหมุนเวียนไปใช้ประโยชน์มากขึ้นในภาพรวม
ราคาที่ดินอาจจะตกในระยะสั้น (แย่งกันขาย) แต่ในระยะยาวการหมุนเวียนที่มากขึ้นจะดันราคากลับขึ้นไปที่เดิม หรือมากกว่าเดิมครับ Return อาจจะกลับมาในรูปกำไรของผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง

ผู้ที่ได้รับผลดี คือผู้ที่ปรับตัว

สุดท้ายแล้วรัฐบาลควรเอาภาษีที่ได้ ไปแก้ปัญหาการศึกษา คอรัปชั่นและความเหลื่อมล้ำครับ

Re: จัดเก็ภาษีมรดก มีผลกระทบดีหรือไม่ดีกับประเทศไทย และนักลง

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 07, 2014 9:07 am
โดย istyle
kraikria เขียน:ถ้ามีโจทย์ว่าต้องทำภาษีมรดก แล้วเราเป็นผู้มีอำนาจที่จะทำ เราจะทำอย่างไรให้เป็นธรรมดีครับ?
ไปแก้ไขเรื่องอื่นๆที่ยังมีความอยุติธรรม ความไม่เสมอภาคก่อนดีกว่าครับ

เช่น เรื่องคอร์รัปชั่นในภาครัฐ การกระจายความเจริญต่างๆ

ถ้าลดรายจ่ายแล้ว เงินไม่พอ ค่อยคิดมาหารายได้นะครับ

Re: จัดเก็ภาษีมรดก มีผลกระทบดีหรือไม่ดีกับประเทศไทย และนักลง

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 07, 2014 10:17 am
โดย skyearth
micky1115 เขียน:มันเป็นความจริงที่โหดร้ายในสังคมครับ คนที่ลงทุนมีความมั่งคั่งต้องเสียเงินเป็นภาษี ที่พอเสียไปแล้วก้ไม่รู้เอาไปทำไรบ้าง ประเทศเจริญขึ้นมาตรงไหน

ถ้าเสียภาษีมากขึ้นแล้ว โกงกินไม่มี หรือโกงกินน้อยลง ผมเชื่อว่า หลายๆคนก้อยากจะเสียนะครับ เพราะอย่างน้อยประเทศชาติก้พัฒนาขึ้น
เห็นด้วยอย่างยิ่งคับ

Re: จัดเก็ภาษีมรดก มีผลกระทบดีหรือไม่ดีกับประเทศไทย และนักลง

โพสต์แล้ว: พุธ ส.ค. 05, 2015 11:26 pm
โดย TissueThiti
เหมือนกฎหมายจะออกแล้วนะครับ
http://www.bangkokbiznews.com/mobile/view/news/659711

Re: จัดเก็ภาษีมรดก มีผลกระทบดีหรือไม่ดีกับประเทศไทย และนักลง

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ส.ค. 06, 2015 1:11 am
โดย leaderinshadow
เท่าที่ไปฟังนักวางแผนภาษีมา

ค่อนข้างมั่นใจได้เลยว่า ในความเป็นจริง คงแทบจะเป็นเก็บไม่ได้เลย ยกเว้นกลุ่มที่ไม่ได้วางแผนภาษีไว้ ซึ่งคงน้อยมาก
ในขณะที่รัฐอาจจะมีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้มากขึ้น ก็คงอาจจะเหมือนๆกับในหลายๆประเทศ ที่ในสุดต้องยกเลิก เพราะเก็บภาษีแทบไม่ได้เลย ในขณะที่ค่าใช้จ่ายในการติดตามภาษีพวกนี้สูงกว่ารายได้จากภาษีที่จัดเก็บได้

Re: จัดเก็ภาษีมรดก มีผลกระทบดีหรือไม่ดีกับประเทศไทย และนักลง

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ส.ค. 06, 2015 9:04 pm
โดย miracle
ทำอะไรไม่ต้องมี Record ,จัดหาไว้ รูปภาพ ,พระเครื่อง อะไรก็ได้ที่ไม่สามารถ Mark to market หรือ ใช้ผู้เชียวชาญตีมูลค่า
แค่นั้นแหล่คือทางรอด
:)