หน้า 1 จากทั้งหมด 1

..."คำสาป" ของ "เงินที่ได้มาง่าย"...

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ส.ค. 31, 2014 10:00 pm
โดย mario
พวกเราคงจะเคยอ่านเรื่องราวของคนที่ถูกล็อตตารี่รางวัลที่ 1 แบบไม่ตั้งตัว แล้วต่อมาก็กลับไปหมดตัวในระยะเวลาไม่นาน

ในตลาดหุ้นก็มีเรื่องราวคล้ายๆแบบนั้นเช่นกัน

หลายคนซื้อหุ้นที่มีคนบอกมาโดยไม่ได้พยายามวิเคราะห์เหตุและผลเองเพิ่มเติม การลงทุนครั้งนั้นอาจจะได้กำไรเป็นเงิน โดยง่าย

หลายคนซื้อหุ้นที่มีการเก็งกำไรรุนแรงโดยไม่ได้คำนึงถึงมูลค่า และความเสี่ยง เพียงเพราะหวังว่าจะได้กำไรง่ายและเร็ว โดยลืมไปว่าเมื่อได้มาง่ายและเร็วย่อมติดใจ อยากจะทำซ้ำอีก

สิ่งที่ได้แถมจากการได้กำไรอย่างง่ายๆ และเร็วคือ

"การสูญเสียความคิดที่จะพยายามพัฒนาตนเอง"

เพราะเมื่อคุณใช้ความพยายามเพียงน้อยนิดแล้วได้กำไรในระดับเซียน จึงไม่มีความจำเป็นใดๆที่จะต้องคิดพัฒนาตนเอง

แต่เมื่อ port การลงทุนใหญ่ขึ้นจากกำไรที่ได้มาง่าย หรือนำเงินมาลงทุนเพิ่มขึ้น

ใครจะรับประกันได้ว่า "โชค" จะอยู่ข้างเราไปตลอด???

Re: ..."คำสาป" ของ "เงินที่ได้มาง่าย"...

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ย. 01, 2014 12:56 am
โดย Rakkiat
ขอบคุณครับ :P

Re: ..."คำสาป" ของ "เงินที่ได้มาง่าย"...

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ย. 01, 2014 3:04 am
โดย cobain_vi
เงินที่ได้มาง่ายๆฟังดูเผินๆเหมือนจะดูไม่ดีนะครับ แต่สำหรับผมๆไม่ค่อยให้ความสำคัญเท่าไร เหตุปัจจัยของแต่ละคนไม่เหมือนกันบางคนพยายามนิดๆหน่อยๆเงินทองก็ไหลมาเทมาทำอะไรจังหวะเวลาดูพอดีไปหมด บางคนลำบากแทบตายทั้งๆที่ความรู้ก็มากมายแต่กว่าจะได้เงินแต่ละบาทแต่ละสตางค์เลือดตาแทบกระเด็น ของแบบนี้แล้วแต่บุญวาสนาเคยทำมา บางคนทำบุญมาน้อยอยากได้เงินเยอะก็ต้องเหนื่อยมากพยายามมากกว่าจะได้ บางคนทำบุญมาเยอะไม่ต้องทำอะไรเหนื่อยมากก็รวยเอาๆบางคนดีกว่านั้นอีกคือเกิดมารวยเลย แต่สิ่งเหล่านี้ผมว่าไม่ใช่ประเด็นหลักๆเท่าไร หลักสำคัญที่สุดผมว่าเงินที่ได้มาเหล่านั้นได้มาทางที่บริสุทธิ์หรือปล่าวมากกว่าหรือจะให้พูดตรงๆก็คือเงินที่ได้มาสะอาดหรือปล่าวมากกว่า บางทีได้เงินมาไม่ผิดทางโลกแต่ผิดทางธรรมก็มี ผสมปนเปไปหมด ดูๆไปแม้แต่ในตลาดหุ้นก็คลับคล้ายจะกลายเป็นแหล่งพนันไปหมดแล้วแต่ก็ยังไม่ได้กลายเป็นนักพนันไปเลยเสียทีเดียวยังมีการลงทุนที่พอจะเรียกได้ว่าเป็นสัมมาอาชีวะได้บ้าง
เมื่อตอนที่ได้มีโอกาสไปอยู่วัดแห่งนึงทางภาคอีสานที่ผ่านมาได้มีโอกาสได้ฟังเทศน์หลวงปู่ท่านนึง วันนั้นมีพวกนายอำเภอและหมอมาทำบุญ หลวงปู่ก็เทศน์ทำนองว่า แน่ใจหรือว่าเงินที่เราได้มาที่เอาไว้ใช้จ่ายที่ได้ซื้อของใช้ของกินทุกๆวันนี้นั้นได้มาอย่างสะอาดและบริสุทธิ์? (ท่านคงพูดจี้ใจดำพวกโยมๆ) ฟังดูก็น่าคิดนะว่า แล้วจะหาเงินอย่างไรที่จะเรียกได้ว่าเงินนั้นบริสุทธิ์ บางเรื่องเถียงกันแทบตายเช่น ลงทุนในหุ้นพวกขายเนี้อสัตว์นี่เป็นสัมมาอาชีวะหรือปล่าว บางคนก็บอกว่าเราไม่ได้ไปฆ่าเองคงไม่บาปหรอก
-เรามีแค่หุ้นขายแค่ส่วนต่างราคาไม่บาปหรอกมั้ง ไม่ได้ไปฆ่าเองซะหน่อย
....
-บางคนก็บอกว่าไม่บาปได้ไงถ้าคุณไม่ร่วมหุ้น(ลงทุน)กับเค้าแล้วบริษัทเค้าจะดำเนินงานได้ไง เหมือนเพื่อนจะชวนเปิดร้านฆ่าหมูถ้านายไม่ร่วมด้วยเงินไม่ครบเราเปิดร้านไม่ได้นะ ถ้านายมาร่วมหุ้นกับเราเราก็จะเปิดร้านได้
-เวลาคุณซื้อหุ้นก็เหมือนคุณเป็นเจ้าของคุณก็ต้องมีส่วนรับผิดชอบสิ แหม เวลาบริษัทจ่ายปันผลคุณยังเอาแต่เวลาเค้าฆ่าเป็ดฆ่าไก่หลายๆตัวบาปจะตายนายจะไม่รับได้ไง(รับได้แต่บุญเรอะ เวลาบาปไม่รับ)
-เวลานายซื้อหุ้นนายก็รู้แล้วนี่ว่าบริษัททำธุรกิจอะไร ลงทุนแบบวีไอมันต้องศึกษากิจการมาอย่างดี ช่วงนี้ออเดอร์จากยุโรปเข้าขายกุ้งได้เพิ่มกำไรต้องเพิ่มแน่ๆ เวลาสั่งซื้อขายมันก็ต้องรู้แก่ใจอยู่แล้วนี่ว่าบริษัทนี้ทำอะไร (บางคนเห็นออเดอร์มาเยอะๆดีใจได้ฆ่าไก่ฆ่าหมูฆ่ากุ้งเยอะๆ หุ้นจะได้ขึ้นเยอะๆก็มี)
-บางคนก็เชียร์หุ้นที่ตัวเองถือก็มี ออกข่าวสารพัด หลอกนั่นหลอกนี่ พอคนมาซื้อก็ขายให้ แบบนี้ก็ถือว่าไม่ได้เป็นสัมมาอาชีวะเพราะหลอกเค้า
ไม่รู้อันไหนถูก :?
.....
.....
แต่คำสอนของหลวงพ่อท่านึงที่ผมจำได้ไม่ลืมเลยคือคำสอนที่ว่า
"พวกเราไม่ต้องอายนะที่จน จนรวยไม่สำคัญ ถึงจะจนแต่เราสะอาดไม่ต้องอายฟ้าอายดิน ความจนไม่ใช่สิ่งน่ารังเกียจ ความชั่วต่างหากที่น่ารังเกียจ ได้เงินมาทางที่ผิดไปจี้ไปปล้นเค้าไปทุจริตไปหลอกลวงเค้าได้เงินมาไม่กี่วันก็หมดแล้ว แต่ความชั่วจะติดตัวไปตลอดชีวิตติดตัวข้ามภพข้ามชาติ มองเผินๆนึกว่าดีแต่แท้ที่จริงแล้วเป็นการทำลายตัวเองระยะยาว เกิดมาแล้วสิ่งสำคัญที่สุดคือต้องดี ใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าอยู่กันไม่กี่ปีก็ตายแล้ว "
.....
"จำไว้นะ งานหลักของพวกเราคือการภาวนา งานรองลงมาคืองานที่หาอยู่หากิน โอกาสที่จะได้เจอพระพุทธศาสนานั้นยาก เกิดมาแล้วได้เจอพระพุทธศาสนา อย่าทิ้งโอกาสที่ดีที่ได้มีโอกาสพัฒนาคุณงามความดี พัฒนาจิตวิญญาณนี้ไป "

Re: ..."คำสาป" ของ "เงินที่ได้มาง่าย"...

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ย. 01, 2014 7:44 am
โดย Nevercry.boy
อ.โคเบนตื่นเช้าจังครับ มาพร้อมกับข้อคิดดีๆ สำหรับ้าวันจันทร์ สาธุครับ

Re: ..."คำสาป" ของ "เงินที่ได้มาง่าย"...

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ย. 01, 2014 7:45 am
โดย Nevercry.boy
Nevercry.boy เขียน:อ.โคเบนตื่นเช้าจังครับ มาพร้อมกับข้อคิดดีๆ สำหรับ้าวันจันทร์ สาธุครับ
พิมพ์ผิด สำหรับเช้าวันจันทร์ :wall:

Re: ..."คำสาป" ของ "เงินที่ได้มาง่าย"...

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ย. 01, 2014 7:47 am
โดย Nevercry.boy
ความคิดในการพัฒนาตนเองต้องมีอยู่เสมอ ขอบคุณคุณมาริโอ้ครับ

Re: ..."คำสาป" ของ "เงินที่ได้มาง่าย"...

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ย. 01, 2014 9:51 am
โดย ลูกหิน
ขอบคุณในมุมมองของทั้งสองท่านนะครับ

Re: ..."คำสาป" ของ "เงินที่ได้มาง่าย"...

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ย. 01, 2014 9:56 am
โดย YouTube
ผมสงสัยว่าเราไม่ลงทุนในหุ้นที่เกี่ยวกับการฆ่าสัตว์
แต่เรากินเนื้อสัตว์ เราจะบาปด้วยไหม
เห็นหลายคนไม่กินเนื้อสัตว์เลย อาจเป็นเพราะเหตุนี้

Re: ..."คำสาป" ของ "เงินที่ได้มาง่าย"...

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ย. 01, 2014 10:53 am
โดย yoko
ต่างคนต่างคิด ไม่ผิดคิดไป
คิดดีทำดี ทำผิดคิดใหม่
ประสบความสำเร็จทุกคน

Re: ..."คำสาป" ของ "เงินที่ได้มาง่าย"...

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ย. 01, 2014 12:46 pm
โดย ปลูกหุ้นกินผล
cobain_vi เขียน: .....
แต่คำสอนของหลวงพ่อท่านึงที่ผมจำได้ไม่ลืมเลยคือคำสอนที่ว่า
"พวกเราไม่ต้องอายนะที่จน จนรวยไม่สำคัญ ถึงจะจนแต่เราสะอาดไม่ต้องอายฟ้าอายดิน ความจนไม่ใช่สิ่งน่ารังเกียจ ความชั่วต่างหากที่น่ารังเกียจ ได้เงินมาทางที่ผิดไปจี้ไปปล้นเค้าไปทุจริตไปหลอกลวงเค้าได้เงินมาไม่กี่วันก็หมดแล้ว แต่ความชั่วจะติดตัวไปตลอดชีวิตติดตัวข้ามภพข้ามชาติ มองเผินๆนึกว่าดีแต่แท้ที่จริงแล้วเป็นการทำลายตัวเองระยะยาว เกิดมาแล้วสิ่งสำคัญที่สุดคือต้องดี ใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าอยู่กันไม่กี่ปีก็ตายแล้ว "
.....
"จำไว้นะ งานหลักของพวกเราคือการภาวนา งานรองลงมาคืองานที่หาอยู่หากิน โอกาสที่จะได้เจอพระพุทธศาสนานั้นยาก เกิดมาแล้วได้เจอพระพุทธศาสนา อย่าทิ้งโอกาสที่ดีที่ได้มีโอกาสพัฒนาคุณงามความดี พัฒนาจิตวิญญาณนี้ไป "
ขอบคุณสำหรับข้อคิดที่ดีๆ ครับ คุณ cobain_vi

Re: ..."คำสาป" ของ "เงินที่ได้มาง่าย"...

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ย. 01, 2014 1:00 pm
โดย Nutth147
YouTube เขียน:ผมสงสัยว่าเราไม่ลงทุนในหุ้นที่เกี่ยวกับการฆ่าสัตว์
แต่เรากินเนื้อสัตว์ เราจะบาปด้วยไหม
เห็นหลายคนไม่กินเนื้อสัตว์เลย อาจเป็นเพราะเหตุนี้
ตรงนี้ผมคิดว่าขึ้นกับเจตตนาครับ
หมายความว่า .... ถ้าทานในระดับรักษาชีวิต ทานแบบพอประมาณนี้น่าจะพอไหวครับ
แต่ถ้าทานด้วยความต้องการ เช่น ต้องเนื้อชนิดนี้ แล้วเกิดการติด เช่นต้องทานเนื้อแบบนี้ทุกเดือน อย่างน้อยเดือนละหน
ผมว่าความติดนั้นแหละ ลากให้เราบาปไปเอง (ไม่ได้ทานก็หงุดหงิด ต้องหาทางเพื่อให้ได้ทาน)

ส่วนคนที่เขาไม่ทาน บางคนก็มีกฏในใจ บางคนก็ถือเป็นการลดที่ตัว เพื่อจะกลับไปลดที่สังคมได้อีกที
แต่พออายุมากขึ้น เนื้อสัตย์ใหญ่ก็จะกลายมาเป็นศตรูสุขภาพไปเองครับ

Re: ..."คำสาป" ของ "เงินที่ได้มาง่าย"...

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ย. 01, 2014 1:11 pm
โดย Nevercry.boy
ลอกมานะครับ ผิดถูก เรียนรู้ ต่อยอดกันเองนะครับ

source: http://www.dhammathai.org/webboard/dbview.php?No=437

..............

1. เนื้อที่ได้ยิน เช่น ได้ยินชาวบ้านเขา สนทนากันว่าจะมีการฆ่า หมูตัวนั้นตัวนี้ เพื่อถวายพระคุณเจ้า เป็นต้น...แบบนี้ห้ามรับประเคน
2. เนื้อที่ได้เห็น เช่น เห็นไก่วิ่งเล่นอยู่ สักครู่เดียวได้ยินเสียงมันร้องด้วยความเจ็บปวด สักครู่กลายเป็นต้มยำไก่ มาถวาย...แบบนี้ก็รู้อยู่แล้วเพราะเมื่อกี๊ก็เห็นมันอยู่ แต่ก็ตายเพื่อมาเป็นอาหารแก่ตนโดยเฉพาะ...ห้ามรับประเคน
3. เนื้อที่ตนรังเกียจ ก็คือ เนื้อที่ตนเองรังเกียจด้วยเหตุแห่ง 2 มูลเหตุ ใน 2 ข้อแรก


การกินเจ (ตั้งใจไม่กินเนื้อสัตว์) จริงๆไม่ได้บุญครับ

อธิบายคือ---เราไม่กินข้าวขาหมู แล้วคิด(จิตนาการ)ว่า หมูจะไม่ถูกฆ่า---
เปรียบได้กับ---เรานั่งอยู่บ้านเฉยๆ แล้วคิด(จิตนาการ)ว่า เราไปช่วยสอนหนังสือคนอนาถา---

บุญที่เราไปสอนหนังสือคนอนาถานั้น ไม่มี ไม่เกิด เพราะเรา นึกๆคิดๆไปเองไม่ได้ทำ ไม่ได้กระทำจริง
กินเจ บุญที่เราช่วยชีวิตสัตว์ (มี2ข้อคือ 1.ช่วยมัน 2.ไม่ทำร้ายมัน) ก็ไม่เกิด เพราะเราไม่ได้ลงมือกระทำจริง เป็นเพียงคิดไปเอง

พระเทวทัตเคย มาเสนอให้ชาวพุทธไม่กินเนื้อสัตว์
พระพุทธเจ้าปฎิเสธ พร้อมให้เหตุผลว่า
1.เนื้อสัตว์ไม่ใช่ของเหม็น อกุศลกรรมต่างหากที่เป็นของเหม็น
2.พระต้อง ควรเป็นผู้เลี้ยงง่าย
3.อนุญาติในการกินเนื้อสัตว์ที่ -ไม่เห็น -ไม่รู้ -ไม่ใช่เนื้อที่ฆ่าโดยเฉพาะให้ตน
4.อาหารเป็นแค่ของเลี้ยงกายไม่ให้ตาย อย่าสนใจมาก

การรับประทานอาหารมังสวิรัติเป็นบุญหรือไม่
การที่จะวินิจฉัยว่าการกระทำอะไร เป็นบุญหรือไม่เป็นบุญนั้น ต้องอาศัยกับหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่ว่าด้วย บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ อย่าง คือ
๑. ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน
๒. สีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล
๓. ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา
๔. อปจายนมัย บุญสำเร็จด้วยประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่
๕. เวยยาวัจจมัย บุญสำเร็จด้วยการช่วยเหลือขวนขวายในกิจการงานต่างๆ
๖. ปัตติทานมัย บุญสำเร็จด้วยการให้ส่วนบุญ
๗. ปัตตานุโมทนามัย บุญสำเร็จด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญ
๘. ธัมมัสสวนมัย บุญสำเร็จด้วยการฟังธรรม
๙. ธัมมเทสนามัย บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม
๑๐.ทิฏฐุชุกัมม์ การทำความคิดเห็นของตนให้ตรง
เมื่อเทียบเคียงกับบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ วิธี แล้ว ไม่พบว่าการรับประทานอาหารมังสวิรัติ คือ รับประทานแต่พืชผักเป็นวิธีทำบุญข้อใดเลย จึงไม่นับว่าเป็นวิธีทำบุญในพระพุทธศาสนา
ลองคิดดูว่าถ้าการกินพืช เช่น ผัก หญ้า ได้บุญ แล้วสัตว์ที่กินพืชเป็นอาหาร เช่น วัว ควาย แพะ แกะ ก็ต้องได้บุญมากกว่ามนุษย์ เพราะสัตว์พวกนี้กินพืชตลอดชีวิตไม่กินเนื้อสัตว์เลย

การกินเนื้อสัตว์ บาป หรือ ไม่ ?
การที่จะวินิจฉัยว่าบาปหรือไม่บาปนั้น ต้องพิจารณาว่า การกินเนื้อสัตว์ที่ตายแล้ว เป็นการผิดศีลข้อปาณาติบาต หรือไม่ ศีลข้อปาณาติบาต คือ งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ นั้นจะผิดศีลก็ต่อเมื่อประกอบด้วย องค์ ๕ คือ
๑. ปาโณ สัตว์มีชีวิต
๒. ปาณสญฺญิตา รู้ว่าสัตว์มีชีวิต
๓. วธกจิตฺตํ จิตคิดจะฆ่า
๔. อุปกฺกโม พยายามที่จะฆ่า
๕. เตน มรณํ สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น
เมื่อครบองค์ประกอบทั้ง ๕ ข้อ จึงถือว่าเป็นการฆ่าสัตว์ ผิดศีลข้อที่ ๑ เป็นบาป แต่ถ้าไม่ได้ลงมือฆ่าเอง และไม่ได้ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ก็ไม่เป็นบาป ตัวอย่าง เราไปจ่ายตลาด ซื้อกุ้งแห้ง ปลาดุกย่าง ปลาทู เนื้อหมู ฯลฯ เราได้มีส่วนร่วมในการฆ่าสัตว์เหล่านั้นหรือไม่ สัตว์เหล่านั้นย่อมตายก่อนที่เราจะไปซื้อมาเป็นอาหาร ถึงเราจะซื้อหรือไม่ซื้อ สัตว์เหล่านั้นก็ตายอยู่แล้ว เราไม่ได้มีส่วนทำให้ตาย

มีพุทธภาษิตบทหนึ่งว่า
“นตฺถิ ปาปํ อกุพฺพโต”
“บาป ไม่มีแก่ผู้ไม่ทำ”

การกินผักก็อาจจะต้องฆ่าสัตว์ทางอ้อมไปด้วยเช่นกัน เพราะต้องไถดิน ใส่ปุ๋ย ใช้ยากำจัดแมลง อาจทำให้แมลงต่างๆ ไส้เดือนตายได้...ถ้าแบบนี้บาปก็คงไม่ต้องทำสัมมาอาชีพกันเลย...

.............................................................................

หลวงปู่แหวนท่านบอกว่า

"ไอ้วัวควายกินหญู้าตั้งนาน ไม่เห็นเป็นพระอรหันต์ซักตัว"

Re: ..."คำสาป" ของ "เงินที่ได้มาง่าย"...

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ย. 01, 2014 4:55 pm
โดย b4solid
ที่จริง เราก็ไม่ควรกลัวความรวยนะ การมีเงินเยอะ ทรัพย์สินทรัพย์มากมาย ก็ไม่ใช่ความชั่วร้ายนะครับ
และให้ดี ควรใช้ความรวยให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม คนอื่นๆ จะดีมากๆ ครับ :8)

Re: ..."คำสาป" ของ "เงินที่ได้มาง่าย"...

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ย. 01, 2014 5:01 pm
โดย อินทรีทอง
ขอบคุณ comment ของทุกๆท่านมากๆครับ

Re: ..."คำสาป" ของ "เงินที่ได้มาง่าย"...

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ย. 01, 2014 9:46 pm
โดย mario
เห็นพี่ๆคุยเรื่องธรรมะกันเลยอยากเอาบทความดีๆมาให้ได้อ่านกันครับ :)
ชีวิต งาน และธรรม : อิสรภาพภายในเอกภาพ

โดย พระพรหมคุณาภรณ์( ป.อ.ปยุตฺโต)

เท่าที่ได้กล่าวมาในเรื่อง ชีวิตนี้เพื่องาน และงานนี่เพื่อธรรม ทั้งหมดนี้ก็เป็นนัยหนึ่งของความหมายแต่ถ้าจะวิเคราะห์อีกแบบหนึ่ง ชื่อหัวข้อที่ตั้งไว้ก็ได้แยกชีวิตกับงานออกเป็นสองคำ เมื่อกี้เราได้ดึงเอาชีวิตกับงานมารวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแล้ว แต่ถึงอย่างนั้นในแง่ของความเป็นจริงก็เป็นคำพูดคนละคำ ชีวิตก็เป็นอันหนึ่ง งานก็เป็นอันหนึ่ง เพียงแต่เรามาโยงให้เป็นเอกภาพ

ทีนี้ แง่ที่ชีวิตกับงานเป็นคนละคำ ยังเป็นคนละอย่างและยังมีความหมายที่ต่างกัน ก็คือ งานนั้นมีลักษณะที่จะต้องทำกันเรื่อยไปไม่สิ้นสุด ยังไม่มีความสมบูรณ์เสร็จสิ้นที่แท้จริง เพราะว่างานนั้นสัมพันธ์กับความเปลี่ยนแปลงของกาลเทศะ และของชุมชน สังคมมีความเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เพราะฉะนั้นงานจะไม่มีความสมบูรณ์เสร็จสิ้น ต้องมีการเปลี่ยนแปลงต่อไปตามสภาพแวดล้อมของสังคม แต่ชีวิตของคนมีความจบสิ้นในตัว จะไม่ไปกับงานตลอดไป อันนี้ก็เป็นอีกแง่หนึ่ง

ตามที่พูดไปแล้วแม้ว่าชีวิตกับงานจะเป็นเอกภาพกันได้แล้ว แต่ในแง่หนึ่งก็ยังมีความต่าง อย่างที่ว่า งานสำหรับสังคมนี้คงดำเนินต่อไป แต่ชีวิตของคนมีการจบสิ้นได้ และจะต้องจบสิ้นไป แม้ว่าเราจะไม่สามารถทำให้งานมีความสมบูรณ์เสร็จสิ้น แต่ชีวิตของคนเราแต่ละชีวิตเราควรจะทำให้สมบูรณ์ และชีวิตของเราในโลกนี้เราก็สามารถทำให้สมบูรณ์ได้ด้วย ทำอย่างไรจะให้สมบูรณ์

ในทางพระพุทธศาสนาได้แสดงหลักเกี่ยวกับจุดหมายของชีวิตได้ ๓ ขั้นว่า ชีวิตที่เกิดขึ้นมานั้นแม้ว่ามันจะไม่มีจุดหมายของมันเอง เราก็ควรทำให้มีจุดหมาย เราอาจจะตอบไม่ได้ว่า ชีวิตนี้เกิดมามีจุดหมายหรือไม่ เพราะเมื่อว่าตามหลักธรรมแล้ว ชีวิตนี้เกิดมาพร้อมด้วยอวิชชา ชีวิตไม่ได้บอกเราว่ามันมีจุดหมายอย่างนั้นอย่างนี้ แต่เราก็สามารถตั้งความมุ่งหมายให้แก่มันได้ด้วยการศึกษาและเข้าใจชีวิต ก็มองเห็นว่าชีวิตนี้จะเป็นอยู่ดี จะต้องมีคุณภาพ จะต้องเข้าถึงสิ่งหรือสภาวะที่มีคุณค่าหรือเป็นประโยชน์แก่มันอย่างแท้จริง ด้วยเหตุนี้ ทางพระจึงได้แสดงไว้ว่า เมื่อเกิดมาแล้วชีวิตของเราควรเข้าถึงจุดหมายระดับต่างๆ เพื่อให้เป็นชีวิตที่สมบูรณ์ ซึ่งเป็นเรื่องที่เราจะต้องทำให้แก่ชีวิตของเราเอง ให้มันมีให้มันเป็นได้อย่างนั้น ประโยชน์หรือจุดหมายนี้ ท่านแบ่งเป็น ๓ ขั้น

จุดหมายที่หนึ่ง เรียกว่า จุดหมายที่ตามองเห็น จุดหมายของชีวิตที่ตามองเห็น โดยพื้นฐานที่สุด ถ้าพูดด้วยภาษาของคนปัจจุบัน ก็คือ การมีรายได้ มีทรัพย์สินเงินทอง มีปัจจัย ๔ พอพึ่งตัวเองได้ การเป็นที่ยอมรับ และอยู่ร่วมกับคนอื่นได้ เรื่องผลประโยชน์และความจำเป็นต่างๆ ทางวัตถุและทางสังคมเหล่านี้ ชีวิตของเราจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัย เราปฏิเสธไม่ได้ พูดง่ายๆ ก็คือ การพึ่งตัวเองได้ในทางเศรษฐกิจและสังคม เป็นหน้าที่ของเราที่จะต้องกระทำให้เกิดให้มี ทุกคนควรที่จะต้องพิจารณาตัวเองว่า ในขั้นที่หนึ่ง เกี่ยวกับการมีทรัพย์ที่จะใช้สอย มีปัจจัยที่พออยู่ได้ การสัมพันธ์ในทางที่ดีกับผู้อื่นในสังคม เรื่องของความอยู่ดี พึ่งตนเองได้ในทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งเป็นประโยชน์ที่ตามองเห็นนี้ เราทำได้แค่ไหนบรรลุผลไหม นี่คือขั้นที่หนึ่งที่ท่านให้ใช้เป็นหลักวัด

ต่อไปขั้นที่สอง จุดหมายที่เลยจากตามองเห็น หรือประโยชน์ซึ่งเลยไกลออกไปข้างหน้า เลยจากที่ตามองเห็น ก็คือด้านในหรือด้านจิตใจ หมายถึง การพัฒนาชีวิตจิตใจ รวมทั้งการมีความสุขในการทำงาน การมองเห็นคุณค่าของงานในแง่ความหมายที่แท้จริงว่าเป็นประโยชน์ ต่อเพื่อนมนุษย์หรือเพื่อสันติสุข ความประพฤติสุจริต พร้อมที่จะเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวมได้ต่างๆ สภาพเหล่านี้ซึ่งทำให้เกิดความมั่นใจและเอิบอิ่มภายในจิตใจ เป็นความสุขที่ลึกซึ้ง นี่เป็นสิ่งที่เลยจากตามองเห็น ซึ่งคนหลายคนแม้นจะมีประโยชน์ที่ตามองเห็นพรั่งพร้อมบริบูรณ์ แต่ไม่มีความสุขที่แท้จริงเลย เพราะพ้นจากที่ตามองเห็นไปแล้ว จิตใจไม่พร้อม ไม่ได้พัฒนาเพียงพอ เพราะฉะนั้น ต้องมองว่าในส่วนที่มองไม่เห็น คือ เลยไปกว่านนั้นยังมีอีกส่วนหนึ่ง แล้วส่วนนั้นเราได้แค่ไหนเพียงไร

สุดท้าย จุดหมายที่พ้นเหนือโลก หรือจุดหมายแห่งการเข้าถึงอิสรภาพ เรียกว่า ประโยชน์สูงสุด คือ ประโยชน์ในขั้นที่สองนั้น แม้จะเลยจากที่ตามองเห็นประโยชน์ในขั้นที่สองนั้น แม้จะเลยจากที่ตามองเห็นไปแล้ว ก็ยังเป็นเพียงเรื่องของนามธรรมในระดับของความดีต่างๆ ซึ่งแม้จะสูง แม้จะประเสริฐก็ยังมีความยึดความติดอยู่ในความดีความงามต่างๆ เหล่านั้น และยังอยู่ในข่ายของความทุกข์ ยังไม่พ้นเป็นอิสระแท้จริง ส่วนจุดหมายขั้นสุดท้ายนี้ ก็คือการอยู่เหนือสิ่งเหล่านั้นขึ้นไป คือความเป็นอิสระโดยสมบูรณ์ ซึ่งทางพระพุทธศาสนาถือว่า ความเป็นอิสระโดยสมบูรณ์เป็นจุดหมายที่แท้จริงของชีวิต

ตอนนี้ แม้แต่งานที่ว่าสำคัญ เราก็ต้องอยู่เหนือมันเพราะถึงแม้ว่างานกับชีวิตของเราจะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่ตราบใดที่เรายังมีความติดในงานนั้นอยู่ ยังยึดถือเป็นตัวเรา เป็นของเรา งานแม้จะเป็นสิ่งที่ดีงามมีคุณค่าเป็นประโยชน์ แต่เราก็จะเกิดความทุกข์จากงานนั้นได้ จึงจะต้องมาถึงขั้นสุดท้ายอีกขั้นหนึ่งคือ ความหลุดพ้นเป็นอิสระโดยสมบูรณ์อยู่เหนือสิ่งทั้งปวง แม้แต่สิ่งที่เรียกว่างาน

ในขั้นนี้เราจะทำงานให้ดีที่สุด โดยที่จิตใจไม่ติดค้างกังวลอยู่กับงาน ไม่ว่าในแง่ที่ตัวเราจะได้ผลอะไรจากงานนั้น หรือในแง่ว่างานจะทำให้ตัวเราได้เป็นอย่างนั้นๆ หรือแม้แต่ในแง่ว่างานของเราจะต้องเป็นอย่างนั้นๆ การมองตามเหตุปัจจัยนั้นเป็นตัวต้นทางที่จะทำให้เรามาถึงขั้นนี้ ในเวลาที่ทำงานเราทำด้วยความตั้งใจอย่างดีที่สุด แต่มีท่าทีของจิตใจที่ว่ามองไปตามเหตุปัจจัย ถ้างานนั้นมันเป็นไปตามเหตุปัจจัย มันก็เป็นเรื่องของเหตุปัจจัยที่จะให้เป็นไป ไม่ใช่เรื่องของตัวเราที่จะเข้าไปรับกระทบ เข้าไปอยาก เข้าไปยึด หรือถือค้างไว้ เรามีหน้าที่แต่เพียงทำเหตุปัจจัยให้ดีที่สุดด้วยความรู้ที่ชัดเจนที่สุด มีแต่ตัวรู้ คือ รู้ว่าที่ดีงาม ถูกต้องหรือเหมาะควรเป็นอย่างไร รู้ว่าเหตุปัจจัยที่จะให้เป็นอย่างนั้นคืออะไร แล้วทำตามที่รู้คือ ทำเหตุปัจจัยที่รู้ว่าจะเกิดผลเป็นการดีงามถูกต้องเหมาะหรือควรอย่างนั้น

เมื่อทำเหตุปัจจัยแล้ว มันก็เป็นเรื่องของเหตุปัจจัยนั้นแหละที่จะทำให้เกิดผลขึ้นมา เราหมดหน้าที่แค่นั้นไม่ต้องมายุ่งในนอกเหตุปัจจัย ไม่ต้องไปอยากไปยึด ตอนนี้ใจของเราก็เรียกว่าลอยพ้นออกมาได้ส่วนหนึ่ง เมื่อใดเราเข้าถึงความจริงโดยสมบูรณ์แล้ว จิตใจของเราก็จะเป็นอิสระอย่างแท้จริง ซึ่งทำให้ทำงานนั้นได้ผลสมบูรณ์ โดยพร้อมกันนั้นก็ไม่ทำให้ตัวเราตกไปอยู่ใต้ความกดทับ หรือในการบีบคั้นของตัวงานนั้นด้วย แต่เราก็คงสุขสบายโปร่งใจอยู่ตามปกติของเรา อันนี้เป็นประโยชน์สูงสุดในขั้นสุดท้ายถ้าสามารถทำได้อย่างนี้ ชีวิตก็จะมีความสมบูรณ์ในตัว

ดังได้กล่าวแล้วว่า งานไม่ใช่เป็นตัวเรา และก็ไม่ใช่เป็นของเราจริง แต่งานนั้นเป็นกิจกรรมของชีวิตเป็นกิจกรรมของสังคม เป็นสิ่งที่ชีวิตของเราเข้าไปสัมพันธ์เกี่ยวข้องแล้วก็ต้องผ่านกันไปในที่สุด งานนั้นเราไม่สามารถทำให้สมบูรณ์แท้จริงเพราะมันขึ้นกับผลที่มีต่อสิ่งอื่น ขึ้นกับปัจจัยแวดล้อม กาลเทศะ ความเปลี่ยนแปลงของสังคม คนอื่นจะต้องมารับช่วงทำกันต่อไป แต่ชีวิตของเราแต่ละคนนั้นเป็นสิ่งที่ทำให้สมบูรณ์ได้ และเราสามารถทำให้สมบูรณ์แท้จริงเพราะมันขึ้นกับผลที่มีต่อสิ่งอื่น ขึ้นกับปัจจัยสิ่งแวดล้อม กาลเทศะ ความเปลี่ยนแปลงของสังคม คนอื่นจะต้องมารับช่วงทำกันต่อไป แต่ชีวิตของเราแต่ละคนนั้นเป็นสิ่งที่ทำให้สมบูรณ์ได้ และเราสามารถทำให้สมบูรณ์ได้ แม้แต่ด้วยการปฏิบัติงานนี้แหละอย่างถูกต้อง เมื่อเราปฏิบัติต่องานหรือทำงานอย่างถูกต้องมีท่าทีของจิตใจต่องานถูกต้องแล้ว ชีวิตก็จะเป็นชีวิตที่สมบูรณ์ในตัวในแต่ละขณะนั้นนั่นเอง นี่คือ ประโยชน์ในระดับต่างๆ จนถึงขึ้นสูงสุดที่ทางธรรมสอนไว้

รวมความว่า ภาระที่ชีวิต งาน และธรรม ประสานกลมกลืนเข้าด้วยกันเป็นหนึ่งเดียว หรือเอกภาพที่กล่าวมานั้น เมื่อวิเคราะห์ลงไปแล้ว ยังแยกได้เป็น ๒ ระดับ

ในระดับหนึ่ง แม้ว่าในเวลาทำงาน ชีวิตจะเต็มอิ่มสมบูรณ์ในแต่ละขณะนั้นๆ ทุกขณะ เพราะชีวิตจิตใจกลมกลืนเข้าไปในงานเป็นอันเดียวกัน พร้อมทั้งมีความสุขพร้อมอยู่ด้วยในตัว แต่ลึกลงไปในจิตใจก็ยังมีความยึดติดถือมั่นอยู่ว่างานของเราๆ พร้อมด้วยความอยาก ความหวังความหมายมั่น และหวาดหวั่นว่า ขอให้เป็นอย่างนั้นเถิด มันจะเป็นอย่างนั้นหรือไม่หนอ เป็นต้น จึงยังแฝงเอาเชื้อแห่งความทุกข์ซ่อนไว้ลึกซึ้งภายใน เป็นเอกภาพที่มีความแยกต่างหาก ซึ่งสิ่งที่ต่างหากกันเข้ามารวมกัน มีตัวตนที่ไปรวมเข้ากับสิ่งอื่น หรือฝังกลืนเข้าไปในสิ่งนั้นในงานนั้น ซึ่งเมื่อมีการรวมเข้าก็อาจมีการแยกออกได้อีก

ส่วนในอีกระดับหนึ่ง ความประสานกลมกลืนของชีวิตจิตใจกับงานที่ทำ เป็นไปพร้อมด้วยความรู้เท่านตามความเป็นจริงในธรรมชาติของชีวิตและการงาน เป็นต้น ที่เป็นไปตามเหตุปัจจัย โดยไม่ต้องอยากยึดมั่นถือสำคัญมั่นหมายให้นอกเหนือ หรือเกิดออกไปจากการกระทำตามเหตุผลด้วยความตั้งใจ และเพียรพยายามอย่างจริงจัง เป็นภาวะอิสรภาพซึ่งเอกภาพเป็นเพียงสำนวนพูด เพราะแท้จริงแล้วไม่มีอะไรแยกต่างหากที่จะต้องมารวมเข้าด้วยกันเนื่องจากไม่มีตัวตน ที่จะเข้าไปรวมหรือแยกออกมาเป็นเพียงความเป็นไป หรือดำเนินไปอย่างประสานกลมกลืนในความสัมพันธ์ของสิ่งทั้งหลาย ที่แท้ก็คือความโปร่งโล่ง เป็นอิสระ เรียกว่าภาวะปลอดทุกข์ไร้ปัญหา เพราะไม่มีช่องให้ความคับข้องติดขัดบีบคั้นเกิดขึ้นเลย

ฉะนั้น พึงเข้าใจว่า ภาวะที่ชีวิต งาน และธรรม ประสานกลมกลืนเข้าเป็นหนึ่งเดียว ดังได้กล่าวมา ก่อนหน้านี้ซึ่งผู้ทำงานมีชีวิตเต็มสมบูรณ์เสร็จสิ้นไปในแต่ละขณะ ที่เป็นปัจจุบันนั้น ว่าที่จริงแล้วเมื่อถึงขั้นสุดท้ายก็ตรงกันกับภาวะของการมีชีวิตที่เป็นอิสระอยู่พ้นเหนืองาน ที่กล่าวถึงในที่นี้นั่นเอง เพราะความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันนั้น หมายถึง ความสัมพันธ์ที่กลมกลืนเสร็จสิ้นผ่านไปในแต่ละขณะไม่ใช่เป็นการเข้าไปยึดติดผูกพันอยู่ด้วยกัน ซึ่งแม้จะอยู่ในขณะเดียวกันก็กลายเป็นแยกต่างหาก จึงมารวมหรือยึดติดกัน

แต่ในภาวะที่เป็นเอกภาพอย่างสมบูรณ์แท้จริงผู้ที่ทำงาน มีชีวิตเป็นงาน และมีงานเป็นชีวิตในขณะนั้นๆ เสร็จสิ้นไปโดยไม่มีตัวตนที่จะแยกออกมายึดติดในขณะนั้น และไม่มีอะไรค้างใจเลยไปจากปัจจุบัน จึงเป็นอิสรภาพในท่ามกลางแห่งภาวะที่เรียกว่าเป็นเอกภาพนั้นทีเดียว เป็นอันว่าชีวิตเพื่องาน งานนี้เพื่อธรรม และลึกลงไปอีก ชีวิตนี้ก็เป็นงานและงานนี้ก็เป็นธรรม และชีวิตก็เป็นธรรมเองด้วย จนกระทั่งในที่สุดชีวิตนี้ก็มาถึงขั้นสุดท้าย คือ เป็นชีวิตที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับงาน แต่ก็เป็นอิสระอยู่พ้นเหนือแม้แต่งาน ก็เป็นอันว่าถึงความจบสิ้นสมบูรณ์ ถ้าถึงขั้นนี้ก็เรียกว่าเป็นประโยชน์สูงสุดในประโยชน์สามขั้นที่เราจะต้องทำให้ได้

พระพุทธศาสนาบอกไว้ว่า คนเราเกิดมาควรเข้าถึงประโยชน์ให้ครบสามขั้น และประโยชน์ทั้งสามขั้นนี้แหละคือเครื่องมือ หรือเกณฑ์มาตรฐานที่ใช้วัดผลของตนเองในการดำเนินชีวิต ถ้าเราดำเนินชีวิตของเราไปแล้ว คอยเอาหลักประโยชน์ หรือจุดหมายสามขั้นนี้มาวัดตัวเองอยู่เสมอ เราก็จะเห็นการพัฒนาตนเอง หรือเป็นการสร้างสมความดีก็ตาม หลักประโยชน์สามขั้นนี้ สามารถนำมาใช้ได้เสมอไป ใช้ได้จนถึงขั้นสมบูรณ์เป็นอิสระ จบการพัฒนาอยู่พ้นเหนือการที่จะเป็นทุกข์ แม้แต่เพราะความดี

วันนี้ อาตมาภาพได้มาพูดในโอกาสอันเป็นสิริมงคล ก็ต้องการให้เกิดสิ่งที่เรียกว่าเป็นประโยชน์ ประโยชน์ก็คือจุดหมายดังที่กล่าวมานี้ ซึ่งมีถึง ๓ ขั้น ก็ขอให้เราทั้งหลายมาช่วยกันทำให้เกิดประโยชน์ทั้งสามขั้นนี้ ทั้งแก่ชีวิตของตนเอง ทั้งแก่ชีวิตของคนอื่น และแก่สังคมส่วนรวม แล้วอันนี้แหละจะเป็นเครื่องแสดงถึงการที่ธรรมได้เกิดขึ้น และงอกงามสมบูรณ์ในโลก
cr :http://www.dhammajak.net/book/dhamma2/page14.php

Re: ..."คำสาป" ของ "เงินที่ได้มาง่าย"...

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 02, 2014 12:34 am
โดย Plant
ผมขอเสนอแนวคิดของผมเกี่ยวกับธรรมมะสักเล็กน้อยนะครับ
(สงสัยวันนี้วันพระ เลยอยากโพส อิอิ...^^)

ผมมีความเชื่อของผมว่าสิ่งที่เราทำแล้วไม่เบียดเบียนคนอื่น และตนเอง
นั่นก็ถือว่าเป็นการทำในสิ่งที่ไม่บาปแล้วครับ

ถ้าพูดถึงเรื่องหุ้นถ้าเราซื้อหุ้นแล้วเรารู้สึกในใจว่ามันเหมือนเป็นการส่งเสริมให้บริษัท
ไปฆ่าสัตว์ นั่นก็คือเราคิดว่ามันเบียดเบียนคนอื่น(คือฆ่าสัตว์)และมันก็เบียดเบียนตัวเราเองด้วย
เพราะทำให้เราไม่สบายใจ แบบนี้ผมว่าก็ไม่ควรซื้อหุ้นนั้น

แต่ถ้าเราคิดว่าเราร่วมลงทุนในหุ้น สิ่งที่เขาทำคือธุรกิจ ซึ่งมันเป็นสิ่งที่เป็นปกติของธุรกิจไม่ฆ่าสัตว์
ก็ทำธุรกิจไม่ได้ แต่ตัวผู้บริหารเป็นคนดี ซื่อสัตย์ ไม่ทุจริต และเป็นผู้บริหารที่ดีต่อลูกน้อง แบบนี้
ถือแล้วรู้สึกสบายใจว่าธุรกิจต้องไปได้ดีในอนาคต แบบนี้ผมว่าก็สมควรซื้อหุ้นครับ

ขอยกตัวอย่างตัวเองให้เห็นภาพชัดๆครับ
ปกติผมจะไปบริจาคเลือดทุกๆ 3 เดือนเป็นประจำ ซึ่งเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาเป็นวันครบกำหนด
ผมก็ไปบริจาคเลือดตามปกติ ซึ่งในตอนเย็นผมมีนัดไปกินข้าวกับเพื่อน พอเพื่อนเห็นแขนผมแปะ
ปาสเตอร์ยา ก็ถามว่าไปทำอะไรมา ผมก็บอกว่าไปบริจาคเลือดมาเมื่อเช้า เพื่อนผมก็ถามว่าแล้วเจ็บปะ
ผมก็บอกไปว่า เจ็บสิ!!ใครบ้างโดนเข็มแทงไม่เจ็บ(จริงๆสำเนียงเป็นการคุยกับเพื่อน แต่มันจะดูไม่ดี
จึงขอปรับให้เหมาะสมนะครับ...^^) เพื่อนผมก็เลยถามว่า เจ็บแล้วไปบริจาคทำไม
ผมก็นิ่ง...คิดอยู่แปปนึงแล้วก็ตอบไปว่า ได้บุญมั้ง 555+ แล้วเราก็กินข้าวและนั่งคุยเรื่องอื่นกันต่อ

จากเรื่องนี้ผมตอบเพื่อนไปแบบนั้นเพราะไม่ได้คิดจริงจังอะไรกับคำถามคำตอบ แต่ถ้าให้ผมตอบแบบ
จริงๆจังๆแล้วก็คือ ผมไม่ได้คิดว่าผมไปทำบุญ!!! ผมเพียงแต่คิดว่าถ้าโรงพยาบาลมีเลือดกรุ๊ปผมไม่พอ
ก็จะได้มีของผมไว้ใช้ได้ หรือเกิดผมได้รับอุบัติเหตุ เลือดตกยางออก ผมก็ยังมีเลือดที่ผมบริจาคเก็บไว้
ใช้ได้ บางคนอาจมองว่านั่นแหละคือการทำบุญ สิ่งที่ผมทำคือความดี ผมนี่เป็นคนดีจัง
แต่ผมมองว่าไม่ใช่ ผมทำเพราะผมอยากทำ และสิ่งที่ทำก็ไม่ได้เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ถ้าเพื่อนผม
อยากไปบริจาคบ้างเพื่อให้ได้บุญ แต่กลัวเจ็บ ผมก็จะห้ามเพื่อนว่าอย่าไปบริจาคเลยเพราะมันเบียดเบียน
ตัวเองเพราะกลัวเจ็บจะไปบริจาคเลือดทำไม จากได้บุญจะกลายเป็นบาปซะมากกว่า

นี่คือสิ่งที่ผมคิด ผมมองว่าเรื่องบุญ เรื่องบาป ขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละคนครับ
เพราะไม่มีใครพิสูจน์ได้ว่าสิ่งที่ทำแบบไหนได้บุญ แบบไหนไม่ได้บุญ แบบไหนได้บุญครบ แบบไหนได้ไม่ครบ
เราใช้ยึดตามหลักคำสอนที่เขียนไว้แล้วนำมาตีความกันเอง ซึ่งผิดหรือถูกก็ไม่มีใครมาชี้ชัดได้
ดังนั้น ผมจึงเชื่อว่าถ้าสิ่งที่เราทำแล้วมันไม่เบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น
ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ เราก็ทำไปเถอะครับ มันจะถูกจะผิดหลักอะไรของใครก็ช่างมันเถอะ...^^)

ปล. ยาวไปไหมนี่ หุหุหุ...^^)

Re: ..."คำสาป" ของ "เงินที่ได้มาง่าย"...

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 02, 2014 7:19 am
โดย cobain_vi
Nevercry.boy เขียน:ลอกมานะครับ ผิดถูก เรียนรู้ ต่อยอดกันเองนะครับ

source: http://www.dhammathai.org/webboard/dbview.php?No=437

..............

1. เนื้อที่ได้ยิน เช่น ได้ยินชาวบ้านเขา สนทนากันว่าจะมีการฆ่า หมูตัวนั้นตัวนี้ เพื่อถวายพระคุณเจ้า เป็นต้น...แบบนี้ห้ามรับประเคน
2. เนื้อที่ได้เห็น เช่น เห็นไก่วิ่งเล่นอยู่ สักครู่เดียวได้ยินเสียงมันร้องด้วยความเจ็บปวด สักครู่กลายเป็นต้มยำไก่ มาถวาย...แบบนี้ก็รู้อยู่แล้วเพราะเมื่อกี๊ก็เห็นมันอยู่ แต่ก็ตายเพื่อมาเป็นอาหารแก่ตนโดยเฉพาะ...ห้ามรับประเคน
3. เนื้อที่ตนรังเกียจ ก็คือ เนื้อที่ตนเองรังเกียจด้วยเหตุแห่ง 2 มูลเหตุ ใน 2 ข้อแรก


การกินเจ (ตั้งใจไม่กินเนื้อสัตว์) จริงๆไม่ได้บุญครับ

อธิบายคือ---เราไม่กินข้าวขาหมู แล้วคิด(จิตนาการ)ว่า หมูจะไม่ถูกฆ่า---
เปรียบได้กับ---เรานั่งอยู่บ้านเฉยๆ แล้วคิด(จิตนาการ)ว่า เราไปช่วยสอนหนังสือคนอนาถา---

บุญที่เราไปสอนหนังสือคนอนาถานั้น ไม่มี ไม่เกิด เพราะเรา นึกๆคิดๆไปเองไม่ได้ทำ ไม่ได้กระทำจริง
กินเจ บุญที่เราช่วยชีวิตสัตว์ (มี2ข้อคือ 1.ช่วยมัน 2.ไม่ทำร้ายมัน) ก็ไม่เกิด เพราะเราไม่ได้ลงมือกระทำจริง เป็นเพียงคิดไปเอง

พระเทวทัตเคย มาเสนอให้ชาวพุทธไม่กินเนื้อสัตว์
พระพุทธเจ้าปฎิเสธ พร้อมให้เหตุผลว่า
1.เนื้อสัตว์ไม่ใช่ของเหม็น อกุศลกรรมต่างหากที่เป็นของเหม็น
2.พระต้อง ควรเป็นผู้เลี้ยงง่าย
3.อนุญาติในการกินเนื้อสัตว์ที่ -ไม่เห็น -ไม่รู้ -ไม่ใช่เนื้อที่ฆ่าโดยเฉพาะให้ตน
4.อาหารเป็นแค่ของเลี้ยงกายไม่ให้ตาย อย่าสนใจมาก

การรับประทานอาหารมังสวิรัติเป็นบุญหรือไม่
การที่จะวินิจฉัยว่าการกระทำอะไร เป็นบุญหรือไม่เป็นบุญนั้น ต้องอาศัยกับหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่ว่าด้วย บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ อย่าง คือ
๑. ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน
๒. สีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล
๓. ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา
๔. อปจายนมัย บุญสำเร็จด้วยประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่
๕. เวยยาวัจจมัย บุญสำเร็จด้วยการช่วยเหลือขวนขวายในกิจการงานต่างๆ
๖. ปัตติทานมัย บุญสำเร็จด้วยการให้ส่วนบุญ
๗. ปัตตานุโมทนามัย บุญสำเร็จด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญ
๘. ธัมมัสสวนมัย บุญสำเร็จด้วยการฟังธรรม
๙. ธัมมเทสนามัย บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม
๑๐.ทิฏฐุชุกัมม์ การทำความคิดเห็นของตนให้ตรง
เมื่อเทียบเคียงกับบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ วิธี แล้ว ไม่พบว่าการรับประทานอาหารมังสวิรัติ คือ รับประทานแต่พืชผักเป็นวิธีทำบุญข้อใดเลย จึงไม่นับว่าเป็นวิธีทำบุญในพระพุทธศาสนา
ลองคิดดูว่าถ้าการกินพืช เช่น ผัก หญ้า ได้บุญ แล้วสัตว์ที่กินพืชเป็นอาหาร เช่น วัว ควาย แพะ แกะ ก็ต้องได้บุญมากกว่ามนุษย์ เพราะสัตว์พวกนี้กินพืชตลอดชีวิตไม่กินเนื้อสัตว์เลย

การกินเนื้อสัตว์ บาป หรือ ไม่ ?
การที่จะวินิจฉัยว่าบาปหรือไม่บาปนั้น ต้องพิจารณาว่า การกินเนื้อสัตว์ที่ตายแล้ว เป็นการผิดศีลข้อปาณาติบาต หรือไม่ ศีลข้อปาณาติบาต คือ งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ นั้นจะผิดศีลก็ต่อเมื่อประกอบด้วย องค์ ๕ คือ
๑. ปาโณ สัตว์มีชีวิต
๒. ปาณสญฺญิตา รู้ว่าสัตว์มีชีวิต
๓. วธกจิตฺตํ จิตคิดจะฆ่า
๔. อุปกฺกโม พยายามที่จะฆ่า
๕. เตน มรณํ สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น
เมื่อครบองค์ประกอบทั้ง ๕ ข้อ จึงถือว่าเป็นการฆ่าสัตว์ ผิดศีลข้อที่ ๑ เป็นบาป แต่ถ้าไม่ได้ลงมือฆ่าเอง และไม่ได้ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ก็ไม่เป็นบาป ตัวอย่าง เราไปจ่ายตลาด ซื้อกุ้งแห้ง ปลาดุกย่าง ปลาทู เนื้อหมู ฯลฯ เราได้มีส่วนร่วมในการฆ่าสัตว์เหล่านั้นหรือไม่ สัตว์เหล่านั้นย่อมตายก่อนที่เราจะไปซื้อมาเป็นอาหาร ถึงเราจะซื้อหรือไม่ซื้อ สัตว์เหล่านั้นก็ตายอยู่แล้ว เราไม่ได้มีส่วนทำให้ตาย

มีพุทธภาษิตบทหนึ่งว่า
“นตฺถิ ปาปํ อกุพฺพโต”
“บาป ไม่มีแก่ผู้ไม่ทำ”

การกินผักก็อาจจะต้องฆ่าสัตว์ทางอ้อมไปด้วยเช่นกัน เพราะต้องไถดิน ใส่ปุ๋ย ใช้ยากำจัดแมลง อาจทำให้แมลงต่างๆ ไส้เดือนตายได้...ถ้าแบบนี้บาปก็คงไม่ต้องทำสัมมาอาชีพกันเลย...

.............................................................................

หลวงปู่แหวนท่านบอกว่า

"ไอ้วัวควายกินหญู้าตั้งนาน ไม่เห็นเป็นพระอรหันต์ซักตัว"
ปกติเวลาที่ผมจะกินเนื้อสัตว์ก็จะใช้วิธีแบบพระครับ(แบบที่พี่ nb โพสมา)คือ 1.ไม่ได้เห็น 2 ไม่ได้ยิน 3ไม่ได้สั่งให้ทำ
4.เค้าฆ่าเพื่อให้เรากิน (เช่น เค้าบอกเราว่าไก่ทอดจานนี้ ฆ่าไก่มาให้เราโดยเฉพาะ)แบบนี้ก็จะไม่กิน
ใช้วิธีนี้ก็สบายใจแหละพอจะหลีกเลี่ยงการเบียดเบียนสัตว์ได้บ้าง
เวลาได้คุยกับครูบาอาจารย์ท่านมักจะบอกว่า เราไม่ได้ฉันไก่ ฉันกุ้ง ฉันหมู ฯลฯ แต่เราฉันอาหารต่างหากล่ะ! (เป็นอุบายการวางใจได้อย่างชาญฉลาด)

องค์ประกอบของการฆ่าสัตว์
1 รู้ว่าเป็นสัตว์
2 รู้ว่ายังมีชีวิตอยู่
3 อยากให้มันตาย
4 ลงมือฆ่า
5 สัตว์นั้นได้ตายลง
(ข้อ1-3 เป็นเหตุการณ์ก่อนทำ 4-5 เป็นเหตุการณ์หลังจากที่เราทำแล้ว)