“- หุ้น TV Digital สงครามยังไม่จบ อย่าพึ่งนับศพทหาร –“
ปีนี้มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของวงการโทรทัศน์เมืองไทย เนื่องจากการเข้ามาของช่องทีวีดิจิตอล ซึ่งถ้าใครเป็นแฟนๆ โทรทัศน์คงจะชอบใจมาก เนื่องจากมีช่องรายการให้เลือกสรรเยอะขึ้น
ผู้เล่นหน้าใหม่ๆ ที่ประมูลช่องได้ ก็มีมากหน้าหลายตา วันนี้ผมขออนุญาตแลกเปลี่ยนมุมมองความคิดเห็นของแต่ละช่อง ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ขออนุญาตพูดถึงช่องทีวีทั่วไป ที่ไม่ได้เน้นรายการข่าวนะครับ
……..
ถ้าพูดถึงคุณภาพ และ กลยุทธ์ต่างๆ ของแต่ล่ะช่อง ผมมีความเห็นดังนี้ครับ
1) ช่อง 3 หรือ BEC
เป็นผู้นำตลาดอย่างไม่ต้องสงสัย พร้อมกับช่อง 7 มีคลังอาวุธที่หลากหลาย ทั้งผู้ผลิตรายการ, ดาราแม่เหล็ก, ผู้ประกาศข่าว, เสบียงกระสุน และประสบการณ์ทางโทรทัศน์หลายสิบปี
ไม่ต้องสงสัยว่า อีก 5 ปี ก็ยังคงเป็นผู้นำกับช่อง 7 อยู่เช่นเดิม
2) ช่อง Workpoint หรือ Work
มีการเติบโตของความนิยม อย่างรวดเร็วในปีนี้อย่างมาก มีความแข็งแกร่ง จากความคิดริเริ่มและสร้างสรรค์รายการใหม่ๆ มาเสมอๆ นำโดย สอง ป ปลา คือ คุณปัญญา และ คุณประภาส
ปีหน้าน่าจะเติบโตมากกว่านี้ เนื่องจากจะถอดรายการจากฟรีทีวี คือ จากช่อง 5 และ ช่อง 9 มาอยู่ในช่องของตนเอง ทำให้มีผู้ติดตามช่องนี้เพิ่มอย่างไม่ต้องสงสัย
ที่น่าจับตาคือ เมื่อไหร่จะย้าย รายการ ชิงร้อยชิงล้าน จากช่อง 3 มาอยู่ที่ช่องของตนเอง
3) ช่อง 9 หรือ MCOT
เป็นช่องรายการรัฐวิสาหกิจ ผมไม่ทราบจุดเด่นจริงๆ ของช่องนี้
ปีหน้า รายการยอดนิยม จากผู้ผลิตใหญ่ เช่น Workpoint, Grammy, RS จะถอนตัวไปยังช่องของตนเอง ผมไม่แน่ใจว่า จะเหลือ รายการอะไรเด่นๆ อีก
ควรหลีกเลี่ยงอย่างยิ่งครับ ยกเว้นมีสินทรัพย์อะไรเด่นๆ ที่เรายังไม่รู้
4) ช่อง 8 หรือ RS
มีจุดเด่น ที่เป็นช่องที่ฮิตที่สุดจากรายการดาวเทียม แล้วมาลงช่องทีวีดิจิตอล มีคลังสมบัติพอสมควร คือ ดารานักร้อง, เพลงลูกทุ่ง และลูกกรุง
มีช่อง 7 เป็นต้นแบบ เป็นที่นิยมของแม่บ้าน และผู้ที่ชื่นชอบรายการทั่วๆ ไป รวมถึงละครไทยๆ
ผมว่า ช่องนี้ มีกลยุทธ์ที่ชัดเจนที่สุด สำหรับการเติบโตในทีวีดิจิตอล
5) ช่อง MONO หรือ MONO
ฮิตมาก สำหรับแม่บ้าน หรือ หมู่วัยรุ่น เนื่องจาก เอาซีรี่ส์ยอดฮิตจากต่างประเทศมาฉาย
แน่นอนว่า ไม่ยั่งยืน เนื่องจาก ถ้าสัญญาจากเจ้าของซีรี่ส์หมด ก็จะถูกช่องทีวีดิจิตอลเจ้าอื่นๆ แย่งกันซื้อ ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น
จะอยู่รอดได้ คือ เมื่อช่องเป็นที่นิยมจากซีรี่ส์ต่างประเทศ ต้องหารายการของตนเองมาลง เพื่อให้ผู้บริโภครับชม และติดตามไปในที่สุด
อย่าพึ่งจมูกคนอื่นหายใจครับ
6) ช่อง ONE หรือ Grammy
มีความนิยมต่ำสุดในขณะนี้ สำหรับช่องทีวีน้องใหม่ ไม่น่าเชื่อเพราะ ว่า จริงๆ แล้ว Grammy มีสมบัติเก่าและปัจจุบันเยอะมาก สาเหตุ หลักๆ อาจจะไม่เน้นชัดเจนสำหรับกลยุทธ์ของบริษัทว่าจะไปทางไหน เช่นเอาดีทางทีวีดิจิตอลหรือ จะสู้ทางกล่องทีวี
ปีหน้าน่าจะดีกว่า นี้ เมื่อย้ายรายการของ Exact ทั้งหมดมายังช่องของตนเอง รวมทั้งรายการ The Star
ข้อเสียคือ Grammy ถือหุ้นช่อง ONE แค่ครึ่งเดียว และสละสิทธิเพิ่มทุนในรอบล่าสุด น่าเสียดายสำหรับผู้ถือหุ้น Grammy ครับ
……..
ถ้าพูดถึงราคาหุ้น ผมขออนุญาตแนบตารางเปรียบเทียบความนิยม (Rating) จากบริษัท AC Nielsen เมื่อเดือนพฤศจิกายน กับ มูลค่าบริษัทเทียบกับราคาหุ้น (Market Cap) เมื่อวันที่ 27ธันวาคมที่ผ่านมาดังนี้ครับ (ดูในรูปประกอบโพสต์)
1) มูลค่าบริษัทยกเว้น BEC จะอยู่ที่ประมาณ หนึ่งหมื่นกว่าล้าบาท โดย RS อยู่ที่ 16,860 ล้านบาท ส่วน Workpoint, MCOT, Mono อยู่ที่ประมาณ 11,000 ล้านบาท และ Grammy ประมาณ 10,000 ล้านบาท ใครจะไปเชื่อว่า ยักษ์ใหญ่ Grammy จะมีมูลค่าน้อยกว่า บริษัทอย่าง RS, Workpoint หรือ Mono ที่เป็นน้องใหม่
2) ถ้าวัดตามมูลค่าบริษัทตามความนิยม (Market Cap per Rating): RS, Mono และ Grammy แพงกว่า ค่าเฉลี่ยของตลาดและ BEC ซึ่งเป็นผู้นำตลาด
3) ระวังเรื่องมูลค่า ของ Grammy และ Workpoint เพราะว่า ปีนี้มีเรื่องเพิ่มทุนมาเกี่ยวข้อง
……..
บทสรุป
ผมคิดว่า ยังเร็วไป ว่าใครจะเป็นผู้ชนะในสงครามครั้งนี้ ดังที่โบราณว่าไว้ สงครามยังไม่จบ อย่าพึ่งนับศพทหาร
ที่แน่นอนคือ ผมคงหลีกเลี่ยง MCOT (ไม่มีจุดเด่น), Mono (ไม่มีรายการของตนเอง) และ Grammy (ไม่มีกลยุทธ์ที่ชัดเจน เกี่ยวกับทีวีดิจิตอล)
ผมคงเฝ้าจับตา BEC, Workpoint และ RS ถ้าราคามีการเคลื่อนไหวที่รุนแรง และมีโอกาสในการเก็บของในราคาที่สมเหตุสมผล
- ขอให้โชคดีครับ -
Credit:
http://www.facebook.com/SustainW