MoneyTalk@SET25Apr2015หุ้นเด่นต้องจับตา&เศรษฐกิจไทย
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ เม.ย. 26, 2015 2:18 am
Money talk at SET25Apr2015
ช่วงที่ 1 สัมมนา หัวข้อ "หุ้นเด่นต้องจับตา"
1. ดร.ฤทธี กิจพิพิธ กรรมการ SCN
2. คุณ ดวงใจ แก้วบุตตา กรรมการผู้จัดการ SAWAD
3. คุณ ทรงพล ชัญมาตรกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร TVD
4. คุณ อัญรัตน์ พรประกิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน JUBILE
ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา และ นพ. ศุภศักดิ์ หล่อธนวนิช ดำเนินรายการ
Intro
(อ.ไพบูลย์) หุ้นแบบไหนคือเด่นคืออะไร?
(หมอเค) หุ้นเด่น คือหุ้นที่น่าสนใจ มีพัฒนาการน่าจับตา ผลประกอบการน่าจะดีขึ้น
(อ.ไพบูลย์) 4 บริษัทที่มาวันนี้มีอะไรพิเศษร่วมกัน ?
(หมอเค) เป็นบริษัทแห่งนวัตกรรม เดิมประเทศไทยเน้นส่งออก ผลิตขายราคาถูกแข่งกัน พยายาม คิดค้นไอเดียใหม่ๆเข้ามาพัฒนาธุรกิจ ซึ่งผู้บริหารที่มาเสนอเป็นหนุ่มสาวไฟแรง และเอานวัตกรรมใหม่ๆเข้ามาในธุรกิจ ทำให้การเติบโตก็ขึ้นกับศักยภาพผู้บริหารไม่ได้อิงตามเศรษฐกิจเท่านั้น
(อ.ไพบูลย์) คนที่จะทำให้บริษัทพลิกฟื้นได้ต้องเป็นคนรุ่นใหม่ๆ โลกจะพัฒนาได้คนรุ่นใหม่ ต้องเก่งกว่าคนรุ่นเก่า
(หมอเค) แนะนำ 4 บริษัทที่มานำเสนอทำอะไร
• JUBILE จำหน่ายเพชรมีคุณภาพ พยายามสร้างแบรนด์ ขยายสาขา ล่าสุดก็สร้างร้าน flagship ขนาดใหญ่
• SAWAD เป็นนวัตกรรมการเงินสินเชื่อ ที่เอารถหรือสินทรัพย์ไปค้ำประกันได้เงินสดมา
• TVD ผู้บุกเบิกโฮมชอปปิ้งในเมืองไทย แต่ที่ผ่านมาโชคร้ายหน่อย ปีก่อนโดนหลายอย่าง ตอนนี้กำลังเข้าสู่ธุรกิจออนไลน์
• SCN นวัตกรรมวิศวกรรมปรับเปลี่ยนแรงงานแก๊ส CEO บอกธุรกิจนี้เข้าใจง่าย 3 คำ “ท่อล่องหน” เคยรับก่อสร้างสถานีแก๊สแล้วต่อยอดเป็นวิศวกรรมปรับแรงดันแก๊ส
JUBILE
• จำหน่ายเครื่องประดับเพชร ภายใต้แบรนด์ “Jubilee”
• ช่องทางการจัดจำหน่าย เดิมเป็นร้านค้าเดี่ยว ตาม บ้านหม้อ สีลม สะพาน เหล็ก นวัตกรรมของยูบิลลี่สร้าง ช่องทางจัดจำหน่ายขายเพชรผ่านเคาทเตอร์ ปัจจุบันมี 118 สาขา มีทั้งกรุงเทพ 38 สาขา และต่างจังหวัด 80 สาขา
• นำเข้าเพชรจาก Antwerp ประเทศเบลเบี่ยม
• ปี 57 บริษัทได้รับรางวัลจากสถาบัน HRD ที่ให้เกรดคุณภาพเพชร ชื่อว่ารางวัล “ HRD Antwerp Certified Diamond Jeweller” แสดงถึงการได้รับรองจากบริษัทระดับโลก ซึ่งต้องเข้ามาตรวจสอบ ตั้งแต่เพชรที่นำเข้ามา จนถึงช่องทางจัดจำหน่ายที่มอบให้ลูกค้า
• เพชรที่ซื้อจาก ยูบิลลี่ จึงได้รับรอง certificate จากสถาบันและใบการันตีของ jubilee ซึ่งจะใช้รับรองคุณภาพและดูแลบริการหลังการขายตลอดอายุการใช้งาน
• ถ้าซื้อเพชรแล้ว อยากจะเปลี่ยนใหม่สามารถนำใบรับประกันมาเปลี่ยนได้ หักค่าเสื่อมประมาณ 10% ของราคาที่ซื้อ
• ราคาเพชร 2-3 ปีที่ผ่านมา ค่อนข้างแข็งแรง ไม่ได้ขึ้นกับราคาน้ำมัน หุ้นหรือ ทองคำ แต่ขึ้นกับ demand และ supply ทั่วโลก เช่น เอเชีย เศรษฐกิจโต ประเทศจีน ตลาดรับซื้อโต demand เพิ่มขึ้น ก็ทำให้ราคาเพชรสูงขึ้นด้วย Supply ใหญ่ของโลกอยู่ที่เบลเยียม มีการแยกบริษัทค้าเพชร DTC(Diamond Trading Company) ส่วนเพชรต้องขุดจากเหมืองเพชร ซึ่งต้อง infrastructure มูลค่ามหาศาล
• ปี 57 ยอดขายโต 16% จุดแข็งคือเราสร้างสินค้าเอง ทำ consumer insight, market research ทำให้เสนอสินค้าได้ถูกใจ ตรงใจ SSSG โต 10%, เพิ่มสาขา 10 สาขา
• ปี 58 จะมีเปิด flagship store 1500 ตร.ม. มี 4 ชั้น เป็น retail space พบเครื่องประดับเพชรได้ทุก category เช่น ลูกค้ามองหาแหวนหมั้นของแต่งงาน ก็จะมีชั้นที่ทำขึ้นมาเฉพาะ รวมทั้งจะมีเทคโนโลยีใหม่ๆในอุตสาหกรรม
o จะมีความ customize ให้ลูกค้าแต่ละท่านมากขึ้น เช่น คนที่มองหาเพชร 1 กะรัตขึ้นไป เคาทเตอร์จัดเรียงเพชรยาว 8 เมตร สามารถดู stock จาก supplier เบลเยี่ยมมาเรียงให้เลือกสรร เป็นการลงทุนในเทคโนโลยีIT
o Target ทั้งกลุ่มคนไทยและต่างชาติ รองรับกับ AEC และนักท่องเที่ยว ที่จะมากขึ้น
o ทำเลอยู่ที่สีลม เปิด soft launch แล้ว และมี grand opening ในช่วงไตรมาส 2
• ปี 58 ยังมีเปิดสาขาใหม่ และจะมีนวัตกรรมใหม่ๆ อีก เป้าหมายขายโต 15-20% ซึ่งเราก็ตั้งเป้าหมายในระดับนี้มาตลอด
• กองทุน templeton เข้ามาถือหุ้น ก็ทำให้ตลาดทุนในไทยและต่างชาติใหม่ๆเข้ามาสนใจมากขึ้น เราก็จะได้ความรู้ใหม่ๆในสายตลาดทุนด้วย
SAWAD
• สินเชื่อแบบมีหลักประกัน พอร์ตหลักคือรถยนต์ โดยเฉพาะมือสอง ไม่ได้ทำเช่าซื้อรถยนต์มือ 1
• ลูกค้าจะเข้ามาพร้อมทะเบียนรถหรือโฉนด เราจะเน้นลูกค้าในท้องถิ่น ตรวจสอบถ้าเข้าหลักเกณฑ์เราจะโอนเงินให้ได้ใน 30 นาที ถ้าเป็นมอเตอร์ไซค์ ตั้งเป้าหมายที่ 15 นาที แต่รถยนต์อาจจะตรวจสอบนานขึ้นหน่อย ให้เงิน รถยนต์100,000 กว่าบาท มอเตอร์ไซค์ 10,000 กว่าบาท
• ปี 57 มี 1,022 สาขา เปิดสาขาใหม่เกือบทุกวัน สาขาเปิดใหม่ใช้คนน้อย แต่สาขาที่เปิดนานแล้วขึ้นกับจำนวนลูกหนี้คงเหลือ
• พอร์ตมูลค่า 7,500 ล้านบาท จำนวนลูกค้าเกือบ 2 แสนราย
o พอร์ตรถยนต์ 52% บ้านที่ดิน 10% มอเตอร์ไซค์ 10% ที่เหลือพวกรถใหญ่(รถบรรทุก,รถพ่วง,รถสิบล้อ) รถการเกษตร และพอร์ตเล็กไม่ถึง 1% เป็นสินเชื่อไม่มีหลักประกัน
• นาโนไฟแนนซ์
o ได้รับใบอนุญาติปล่อยกู้นาโนไฟแนนซ์แล้ว มีลูกค้าสนใจมากรอกใบสมัครไว้จำนวนหนึ่ง
o เราเป็น 1 ใน 4 บริษัทที่ทางคลังอนุมัติมาก่อน เพราะบริษัทเตรียมตัวและคอยติดตามอย่างใกล้ชิด
o ต้องอาศัยเวลาอนุมัติสินเชื่อประมาณ 1 วัน ต่อไปน่าจะเร็วขึ้น เมื่อก่อนเราเคยทำไม่เกิน 2 ชั่วโมง สามารถปล่อยกู้ 1 รายไม่เกิน 1 แสนบาท
o ตั้งเป้าหมายในปีแรกไว้ 500 ล้านบาท อาจจะเห็นผลจริงๆปีหน้า ในเดือนแรกคิดว่าคงปล่อยได้ไม่ถึง 10 ล้านบาท ต้องเรียนรู้และพัฒนากันไป
o ผลตอบแทนนาโนไฟแนนซ์รวมๆน่าจะใกล้เคียงเดิม ดอกเบี้ยค่าปรับค่าธรรมเนียมค่าติดตามค่าเคาท์เตอร์เซอร์วิส 36% คิดง่ายๆเดือนละ 3% ถ้าเป็นสินเชื่อเอารถไปแลก 1.25% ต่อเดือน
o ให้ปล่อยกู้เพื่อการประกอบอาชีพ คุณสมบัติหลักผู้กู้ ไม่มีรายได้ประจำ ไม่มี slip เงินเดือน ให้คนที่กู้นอกระบบมาอยู่ในระบบ ถ้ากู้นอกระบบจ่ายเงินร้อยละ 1-5 บาท ต่อ วัน (เป็นอัตราดอกเบี้ยที่สูงมาก)
• ปี 57 กำไรสุทธิ 855 ล้าน โตขึ้น 40 กว่า %
• แผนงานปี 58 รายได้ก็จะโตตามพอร์ตลูกหนี้เดิม 12 เดือน(ส่วนใหญ่ปล่อยกู้ให้คืน 12 เดือน)รวมกับที่เพิ่มขึ้นในปี ปกติตั้งเป้าหมายโตไว้ 30% ซึ่งพอร์ตจะโตขึ้นอีกทั้งฐานลูกค้าใหม่ที่จะเข้ามา สาขาใหม่ที่เปิด รวมทั้งนาโนไฟแนนซ์
• การเปิดสาขาใหม่ปกติจะใช้เวลาราว 6 เดือนในการสร้างความรับรู้ชุมชน ปีที่แล้วเปิด 300 กว่าสาขา ปีก่อนก็เปิด 200 กว่าสาขาน่าจะช่วยให้เติบโตได้
• ปัจจัยที่จะทำให้รายจ่ายเพิ่มขึ้นคือ หนี้สูญซึ่งยังอยู่ในระดับปกติ มีลดลงด้วย ปี 56 4.5% ปี 57 4.1% สำหรับปี 58 เพิ่มขึ้นนิดหน่อย
• การติดตามหนี้ลูกค้ามักเป็นการถามไถ่ ติดตาอย่างกระชั้นชิด เอาใจใส่ คอยดูแลว่าลูกค้ายังอยู่ในพื้นที่
• สินทรัพย์ที่มาขอเงินสด เช่น รถยนต์ 2 แสนบาท จะปล่อยกู้ให้ราว 1 แสนบาท ขึ้นกับสภาพรถ พยายามให้ลูกค้าผ่อนจ่ายตามที่ทำได้ หรือบางครั้งก็เป็นบอลลูน ถ้าไม่จำเป็นไม่อยากยึดหลักประกันนจะทำให้ชื่อเสียงไม่ดี
• บริษัทสนใจซื้อพอร์ตบริษัทตามท้องถิ่นซึ่งบางที่ก็เป็นธุรกิจที่ทำมานานมาถึงรุ่นลูกก็ไม่อยากทำต่อ
• เดือน พ.ย. 57 บริษัทจัดตั้งบริษัทลูกเพื่อติดตามหนี้ รับให้กับจ้างธนาคารและธุรกิจเช่าซื้อซึ่งได้ผลดีพอสมควร เพราะเรามีสาขามากเข้าไปสำรวจพื้นที่ได้ และมีการซื้อพอร์ตหนี้เสียมาบริหาร
• ประเทศใน AEC มีการส่งคนไปในหลายๆประเทศ 1-2 คนต่อแห่งเพื่อให้รู้จักกับชุมชนดีก่อน หากมีความชัดเจนในกฏเกณฑ์ก็พร้อมทำการได้
• พรบ.ทวงหนี้น่าจะไม่กระทบกับลูกหนี้เรา เพราะพนักงานก็ถูกต้องตามมาตรฐานอยู่แล้ว แต่ถ้าเจอลูกค้าที่มีปัญหาจริงๆคงต้องฟ้องยึดทรัพย์
SCN
• บริษัทมุ่งเน้นด้านวิศวกรรมเป็นหลัก เดิมเริ่มจากการเป็น subcontractor สร้างโรงกลั่น คลังน้ำมัน ปั๊มน้ำมัน จนเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมาได้เข้ามาในวงการ NGV
• ตอนนี้สัดส่วน Taxi ใช้ NGV เป็นหลักแล้ว เพราะ LPG ราคาขึ้นมาใกล้เคียงกับน้ำมัน
• การสร้างปั๊ม NGV แต่เดิมอุปกรณ์ยากมาก ต้องสร้างแรงดันถึง 3000 psi (200 Bar) แต่แรงดันในการขนส่งหรือรถเทลเลอร์ 3600 psi(250 bar) ด้วยความยากทำให้ต้องนำเข้าอุปกรณ์อัดแก๊สจากต่างประเทศ ยี่ห้อ intermex จากนิวซีแลนด์ จน PTT ขยาย NGV อย่างต่อเนื่อง เราสามารถ share ตลาดราว 20-30% ซึ่ง 8 ปีที่แล้ว ตัดสินใจเป็นผู้ผลิต compressor เอง และขยายไปถึงการผลิตอุปกรณ์ทุกชิ้นในการอัดแก๊ส เป็นเจ้าเดียวในไทยและอาเซียนที่ทำได้
• ประเทศจีนก็มีการทำ แต่เราทำในประเทศเราก็ถูกกว่า คู่แข่งจะมีก็เป็นของที่นำเข้าจากเกาหลี แต่เราใช้เทคโนโลยีจากสวีเดน เปรียบเทียบเหมือนกับเราสามารถผลิตรถวอลโว่ได้เองในไทย เทียบกับ รถแดวู ที่นำเข้ามามีราคาแพงกว่าวอลโว่
• ท่อล่องหน
o การสร้างสถานี NGV เราได้ share ตลาดมากกว่า 50% และได้ทำสถานีแม่ เพื่ออัดแก๊สและขนส่งไปสถานีลูก
o ตั้งแต่ตอนที่เอาบริษัทเข้าตลาด ก็มีโครงการ copy วิธีลำเลียงแก๊ส NGV เหมือนรถยนต์ แต่ไปจ่ายให้อุตสาหกรรมที่อยู่นอกแนวท่อ ซึ่งวิธีการคือปรับแรงดันจากสถานีแม่ถ่ายเข้ารถและนำไปส่งที่โรงงาน
o นวัตกรรมเครื่องปรับลดแรงดัน ใช้เวลาพัฒนา 5 ปีได้จดสิทธิบัตรในประเทศไทย มีอายุ 15 ปี
o สถานการณ์ตอนนี้ ราคา NG ถูกกว่า LPG มาก เพราะราคาน้ำมันลงมาก แต่ LPG ขึ้นเล็กน้อย
o ข้อดี NG คือถูกกว่า น้ำมันเตา Boiler เดิมถ้าใช้ LPG ก็เปลี่ยนมาใช้ NG ได้ ไม่ต้องเปลี่ยน boiler ทั้งตัว ทำให้ตัดสินใจง่ายในการลงทุน
o สัญญาขายให้โรงงานมีหลายแบบ ขายอิงราคาน้ำมันเตา หรือ % ที่ต่ำกว่า LPG โรงงานสามารถเลือก option ในการลงทุนได้ บางที่อาจจะคืนทุนตั้งแต่วันแรก เครื่องปรับแรงดัน เราสร้างเองได้จดสิทธิบัตร มีอายุ 15 ปี
o ลูกค้าที่เซ็นสัญญาแล้ว มี สิงห์(4 ล้านBTU/วัน) กับคิมเบอรี่คลาก และมีลูกค้าใหม่มี 5 รายที่ยังไม่ประกาศ
o สถานีแม่ i cng เริ่มเปิดเดือนที่แล้ว ใช้กำลังการผลิต 30% คาดว่าก่อนไตรมาส 3 น่าจะใช้เต็มกำลังการผลิต
o ถ้า 2 สถานีเต็มกำลังการผลิต คาดว่าสร้างรายได้ 2,000 ล้าน ตั้งเป้า gross profit ไว้ 30%
o มีแผนสร้างสถานีแม่อีกแห่งที่สระบุรี ในอนาคตมีแผนทำ i cng ให้ครอบคลุมทั่วประเทศเท่าที่ทำได้ อาจจะได้อีก 3-4 สาขา
o Entry barrier ของบริษัทค่อนข้างสูง นอกจาก PRS(Pressure Reducing System) มีจดสิทธิบัตร และยังมีประสบการณ์ และ cost ในการผลิตอุปกรณ์ที่ต่ำกว่า ถ้าคนอื่นจะเข้ามาแข่งขันก็ได้อยู่แล้ว แต่ต้องผ่านเงื่อนไขให้ได้
o อนาคตคาดว่าจะมีการสรุปเรื่องวิธีการใช้ท่อแก๊สร่วมกัน ในเดือน ส.ค. ให้third party สามารถนำแก๊สเข้ามาส่งผ่านท่อได้ ต่อไปคาดว่าทุกคนจะใช้ร่วมกันได้คล้ายกับ transmission line ของการไฟฟ้า
• รายได้ปี 58 โตกว่าที่คาดไว้เยอะ กำไรสุทธิ 401 ล้านบาท มาจากกำไรพิเศษขายโรงไฟฟ้า Solar 150 ล้านบาท แต่ตัดออกแล้วก็ยังเติบโต 168% เกิดจากการขยายตัว NGV ทั้งการใข้งาน และจากการขยายของ PTT
• ราคา NGV ขึ้นมาจาก 8.5->10.5 -> 13 บาท ซึ่งตาม Roadmap คือไปถึง 16 บาท ซึ่งถ้าปตท.ทำแล้วไม่ขาดทุนคงขยายสาขามากขึ้น
• I cng มี 57 ยังไม่มีรายได้ ปี 58 คงมีรายได้น้อยมาก คิดว่า contract ที่ปทุมธานีและสระบุรีถ้าเต็มกำลังการผลิตจะได้รายได้ 2,000 ล้านบาท ในปี 60 การขยายสสาขาเพิ่มอยู่ระหว่างศึกษา
• การขยายตัวในแนวราบ อาจเป็นการ M&A หรือซื้อหุ้นของสถานี ที่เราน่าจะบริหารได้ดีกว่า เงินสดยังมีเหลือพอ เกณฑ์พิจารณาคือ irr ไม่ต่ำกว่า 12%
• จับมือแพรกซ์แอร์ ซึ่งขายแก๊ส co2 ที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปและอเมริกา เพื่อมาปรับปรุงคุณภาพแก๊ส ซึ่งค่าความร้อนแก๊สในไทยกับพม่าจะไม่ตรงกัน เดิมสถานีรับแก๊สจากพม่าอยู่แล้วต้องมีการปรับปรุงคุณภาพ มีต่อท่อแล้วเหลือรอ ปตท. คาดว่าอย่างช้าเดือน ต.ค.
TVD
• วันนี้มียาอม Golden throat มาแจก มีสมุนไพร 13 ชนิด กินแล้ว จมูกโล่ง ปากหอม คอทองคำ ปอดแข็งแรง เป็นลูกอมดังที่มีชื่อเสียงยาวนานในจีน ปีหนึ่งขายราว 50,000 ตัน
• บริษัทขายสินค้าผ่านสื่อต่างๆ มี key หลัก 3 อย่าง สินค้า ช่องทาง และลูกค้า เราจะเอา 3 อย่างมาคลุกเคล้าให้ตรงกัน
อย่างบาง segment ชอบเดินห้าง หรือเล่นไลน์ มีพฤติกรรมในการบริโภคสื่อไม่เหมือนกัน ต้องจับคู่ให้เหมาะสม
• ฐานข้อมูลลูกค้า 1 คนอาจจะซื้อตั้งแต่อาหารเสริม ซื้อผ้า ชัดชั้นใน ต้องจับคู่ให้เหมาะ
• ขายของผ่าน TV เป็นหลัก ในปีก่อน Joint venture กับ MoMo เป็นเจ้าของ home shopping ใหญ่สุดในไต้หวัน ซึ่งบริษัทนี้เป็นเจ้าของกิจการด้าน telecom และ finance
• ปี 57 มีความสับสนจากการเปลี่ยนผ่านช่องทีวี ในแต่ละกล่องก็มีหลายรุ่นหลายยี่ห้อ แต่ละ firmware ก็ไม่เหมือนกัน ทำให้กระบวนการทำ rating รวมถึงการทำ media เพี้ยนไป
• คู่แข่งจากต่างประเทศเข้ามาแข่งเพิ่มขึ้นบริษัทจึงต้องเตรียมการรับมือ อย่าง Samsung เข้ามาในนาม CJ ทำ JV กับ grammy, CS เข้ามาทำ home shopping, Shop channel จากญี่ปุ่นก็เข้ามาทำ home shopping เน้นขายเพชร, ฮุนไดทำ JV กับ ais, intuch หลายบริษัทที่เข้ามาจดทะเบียน 500 กว่าล้าน หากคนที่เข้ามาตัดราคา ดังนั้นเราจึงต้องเตรียมสินค้าของเราเอง สร้างยอดขายระดับหนึ่ง และสินค้าของ supplier
• ในปี 58 ธุรกิจ online น่าจะ kick off ตั้งใจที่จะให้คนอื่นทำก่อน แล้วเราเตรียมตัวในองค์กรมา 2-3 ปี ซึ่งปีนี้ทุกคนก็เข้ามาออนไลน์ ทั้งเซ็นทรัล เดอะมอลล์ การมีทั้งออนไลน์และออฟไลน์ จะช่วยเสริมกัน ทำให้ต้นทุนถูกกว่า และเสถียรมากกว่า บางบริษัทมีทีวีก็โฆษณาเพื่อให้คนเข้าไปออนไลน์
• ถ้าลองเปิดเข้าไปดู เวบ TV direct .tv จะ fit ทั้งกับ TV, Labtop, PC, smartphone
• มี 2 ประเทศในโลก ที่ใช้ Instagram กับ facebook ขายของ คือไทย และอินโดนีเซีย
• ราคา ของ TV direct เท่ากันทุกช่องทางแต่จะมีของที่ถูกเป็นพิเศษ พวก gadget, เสื้อผ้า, ชุดชั้นใน ซึ่งแต่ละช่องทางคนLabtop กับมือถือซื้อของก็ไม่เหมือนกัน ขายผ่านมือถือมีชื่อสินค้ามีรูปมีราคาคำบรรยาย 3 บรรทัดก็ขายได้แล้ว
o ราคา กับ เวลาตัดสินใจซื้อ ราคา 299 ใช้เวลาไม่ถึง 30 วิ 499 1 นาที 699 ใช้ 4-10 นาที 999 ใช้เวลา 20-40 นาที
o เราก็มีสร้างช่องทางต่างๆ ทั้ง Mobile app, Line เข้าไปโหลดได้
• ของเก่าก็ยังมีอยู่ direct marketing, tv, mail, call center และมีแยก retail ออกมา
• สีก็มีผลกับการตัดสินใจ ขึ้นกับ category เช่น อาหารสีเหลือง, gadget สีน้ำเงิน, สินค้าของผู้หญิง สีฟ้า พาสเทล, ของแพง ใช้สีขาว ของคลาสสิค ใช้สีฉูดฉาดไม่ค่อยได้
• ปีนี้จะเน้น BPO มากขึ้น Business process outsourcing รับงานคนอื่น เช่น ส่งของ เก็บเงิน ระบบ call center ซึ่งโดยรวมจะทำให้ต้นทุนเราลดลง
• ปี 57 โต 15.45% รายได้จาก 2000 ล้านบาทเป็น 2560 ล้านบาท highlight มีแจกหุ้นปันผล 100 กว่าล้านบาท (เงินสด 10 ล้านบาท) , มี write off ธุรกิจในเวียดนาม, มาเลเซีย ขาดทุน 10 ล้านบาท
• ปี 58 คาดโต 15% เป็น 2800 ล้านบาท น่าจะเริ่มเห็นสิ่งที่ลงทุนไป
o BPO มี call center มีบริษัทส่งของเก็บเงินสด
o Offshore trading สินค้า sme ญี่ปุ่นมาขาย จะมี road show 18-19 พ.ค. มี 80-90 บริษัทตอบเข้าร่วม ซึ่งน่าสนใจ สมัยนี้สินค้าญี่ปุ่นถูกลงมาก
ในช่วงที่ 2 ผมติดไม่ได้เข้าฟัง แตะมือ featuring กับคุณ amornkowa ไว้ครับ
ขอบพระคุณอ.ไพบูลย์,พิธีกร,วิทยากร, ทีมงาน money talk และผู้สนับสนุนทุกท่าน
- หมอเคเตรียมศึกษาบริษัทที่มาได้เยี่ยมเหมือนเคยครับ
- น้องเมย์พิธีกรพูดเก่งมากๆ ผมมาถึงงานทีแรกได้ยินเสียงจากนอกห้อง เข้าใจผิดว่างานรอบเช้ายังไม่เลิก ^^"
- ขอบคุณพี่นุชเจ้าแม่Money talk ที่ดูแลงานมาโดยตลอดครับ
Money talk at SET ครั้งต่อไป
เสาร์ 23 พ.ค. เปิดจองเสาร์ 16 พ.ค.
• ช่วงที่ 1 หุ้นเด่นโครงสร้างพื้นฐาน : 4 บริษัท ตลท.เชิญ
• ช่วงที่ 2 กลยุทธ์ลงทุน VI หลากหลายอาชีพ : ดร.นิเวศน์, หมอพงษ์ศักดิ์, คุณทิวา
งานพิเศษวันที่ 9 ส.ค. Money talk เช้า-บ่าย ต่อกัน
• เช้า สัมภาษณ์ ดร.ไพบูลย์,หมอพงษ์ศักดิ์ พิธีกร คุณพรชัย กับคุณวิบูลย์ ให้คนทำประโยชน์กับสังคม ฟรี เลี้ยง แจกหนังสือ เช่น ไปช่วยเด็กกำพร้า, บริจาคเงิน, บริจาคเลือด
• บ่าย จัด Money talk ตามปกติ
ช่วงที่ 1 สัมมนา หัวข้อ "หุ้นเด่นต้องจับตา"
1. ดร.ฤทธี กิจพิพิธ กรรมการ SCN
2. คุณ ดวงใจ แก้วบุตตา กรรมการผู้จัดการ SAWAD
3. คุณ ทรงพล ชัญมาตรกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร TVD
4. คุณ อัญรัตน์ พรประกิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน JUBILE
ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา และ นพ. ศุภศักดิ์ หล่อธนวนิช ดำเนินรายการ
Intro
(อ.ไพบูลย์) หุ้นแบบไหนคือเด่นคืออะไร?
(หมอเค) หุ้นเด่น คือหุ้นที่น่าสนใจ มีพัฒนาการน่าจับตา ผลประกอบการน่าจะดีขึ้น
(อ.ไพบูลย์) 4 บริษัทที่มาวันนี้มีอะไรพิเศษร่วมกัน ?
(หมอเค) เป็นบริษัทแห่งนวัตกรรม เดิมประเทศไทยเน้นส่งออก ผลิตขายราคาถูกแข่งกัน พยายาม คิดค้นไอเดียใหม่ๆเข้ามาพัฒนาธุรกิจ ซึ่งผู้บริหารที่มาเสนอเป็นหนุ่มสาวไฟแรง และเอานวัตกรรมใหม่ๆเข้ามาในธุรกิจ ทำให้การเติบโตก็ขึ้นกับศักยภาพผู้บริหารไม่ได้อิงตามเศรษฐกิจเท่านั้น
(อ.ไพบูลย์) คนที่จะทำให้บริษัทพลิกฟื้นได้ต้องเป็นคนรุ่นใหม่ๆ โลกจะพัฒนาได้คนรุ่นใหม่ ต้องเก่งกว่าคนรุ่นเก่า
(หมอเค) แนะนำ 4 บริษัทที่มานำเสนอทำอะไร
• JUBILE จำหน่ายเพชรมีคุณภาพ พยายามสร้างแบรนด์ ขยายสาขา ล่าสุดก็สร้างร้าน flagship ขนาดใหญ่
• SAWAD เป็นนวัตกรรมการเงินสินเชื่อ ที่เอารถหรือสินทรัพย์ไปค้ำประกันได้เงินสดมา
• TVD ผู้บุกเบิกโฮมชอปปิ้งในเมืองไทย แต่ที่ผ่านมาโชคร้ายหน่อย ปีก่อนโดนหลายอย่าง ตอนนี้กำลังเข้าสู่ธุรกิจออนไลน์
• SCN นวัตกรรมวิศวกรรมปรับเปลี่ยนแรงงานแก๊ส CEO บอกธุรกิจนี้เข้าใจง่าย 3 คำ “ท่อล่องหน” เคยรับก่อสร้างสถานีแก๊สแล้วต่อยอดเป็นวิศวกรรมปรับแรงดันแก๊ส
JUBILE
• จำหน่ายเครื่องประดับเพชร ภายใต้แบรนด์ “Jubilee”
• ช่องทางการจัดจำหน่าย เดิมเป็นร้านค้าเดี่ยว ตาม บ้านหม้อ สีลม สะพาน เหล็ก นวัตกรรมของยูบิลลี่สร้าง ช่องทางจัดจำหน่ายขายเพชรผ่านเคาทเตอร์ ปัจจุบันมี 118 สาขา มีทั้งกรุงเทพ 38 สาขา และต่างจังหวัด 80 สาขา
• นำเข้าเพชรจาก Antwerp ประเทศเบลเบี่ยม
• ปี 57 บริษัทได้รับรางวัลจากสถาบัน HRD ที่ให้เกรดคุณภาพเพชร ชื่อว่ารางวัล “ HRD Antwerp Certified Diamond Jeweller” แสดงถึงการได้รับรองจากบริษัทระดับโลก ซึ่งต้องเข้ามาตรวจสอบ ตั้งแต่เพชรที่นำเข้ามา จนถึงช่องทางจัดจำหน่ายที่มอบให้ลูกค้า
• เพชรที่ซื้อจาก ยูบิลลี่ จึงได้รับรอง certificate จากสถาบันและใบการันตีของ jubilee ซึ่งจะใช้รับรองคุณภาพและดูแลบริการหลังการขายตลอดอายุการใช้งาน
• ถ้าซื้อเพชรแล้ว อยากจะเปลี่ยนใหม่สามารถนำใบรับประกันมาเปลี่ยนได้ หักค่าเสื่อมประมาณ 10% ของราคาที่ซื้อ
• ราคาเพชร 2-3 ปีที่ผ่านมา ค่อนข้างแข็งแรง ไม่ได้ขึ้นกับราคาน้ำมัน หุ้นหรือ ทองคำ แต่ขึ้นกับ demand และ supply ทั่วโลก เช่น เอเชีย เศรษฐกิจโต ประเทศจีน ตลาดรับซื้อโต demand เพิ่มขึ้น ก็ทำให้ราคาเพชรสูงขึ้นด้วย Supply ใหญ่ของโลกอยู่ที่เบลเยียม มีการแยกบริษัทค้าเพชร DTC(Diamond Trading Company) ส่วนเพชรต้องขุดจากเหมืองเพชร ซึ่งต้อง infrastructure มูลค่ามหาศาล
• ปี 57 ยอดขายโต 16% จุดแข็งคือเราสร้างสินค้าเอง ทำ consumer insight, market research ทำให้เสนอสินค้าได้ถูกใจ ตรงใจ SSSG โต 10%, เพิ่มสาขา 10 สาขา
• ปี 58 จะมีเปิด flagship store 1500 ตร.ม. มี 4 ชั้น เป็น retail space พบเครื่องประดับเพชรได้ทุก category เช่น ลูกค้ามองหาแหวนหมั้นของแต่งงาน ก็จะมีชั้นที่ทำขึ้นมาเฉพาะ รวมทั้งจะมีเทคโนโลยีใหม่ๆในอุตสาหกรรม
o จะมีความ customize ให้ลูกค้าแต่ละท่านมากขึ้น เช่น คนที่มองหาเพชร 1 กะรัตขึ้นไป เคาทเตอร์จัดเรียงเพชรยาว 8 เมตร สามารถดู stock จาก supplier เบลเยี่ยมมาเรียงให้เลือกสรร เป็นการลงทุนในเทคโนโลยีIT
o Target ทั้งกลุ่มคนไทยและต่างชาติ รองรับกับ AEC และนักท่องเที่ยว ที่จะมากขึ้น
o ทำเลอยู่ที่สีลม เปิด soft launch แล้ว และมี grand opening ในช่วงไตรมาส 2
• ปี 58 ยังมีเปิดสาขาใหม่ และจะมีนวัตกรรมใหม่ๆ อีก เป้าหมายขายโต 15-20% ซึ่งเราก็ตั้งเป้าหมายในระดับนี้มาตลอด
• กองทุน templeton เข้ามาถือหุ้น ก็ทำให้ตลาดทุนในไทยและต่างชาติใหม่ๆเข้ามาสนใจมากขึ้น เราก็จะได้ความรู้ใหม่ๆในสายตลาดทุนด้วย
SAWAD
• สินเชื่อแบบมีหลักประกัน พอร์ตหลักคือรถยนต์ โดยเฉพาะมือสอง ไม่ได้ทำเช่าซื้อรถยนต์มือ 1
• ลูกค้าจะเข้ามาพร้อมทะเบียนรถหรือโฉนด เราจะเน้นลูกค้าในท้องถิ่น ตรวจสอบถ้าเข้าหลักเกณฑ์เราจะโอนเงินให้ได้ใน 30 นาที ถ้าเป็นมอเตอร์ไซค์ ตั้งเป้าหมายที่ 15 นาที แต่รถยนต์อาจจะตรวจสอบนานขึ้นหน่อย ให้เงิน รถยนต์100,000 กว่าบาท มอเตอร์ไซค์ 10,000 กว่าบาท
• ปี 57 มี 1,022 สาขา เปิดสาขาใหม่เกือบทุกวัน สาขาเปิดใหม่ใช้คนน้อย แต่สาขาที่เปิดนานแล้วขึ้นกับจำนวนลูกหนี้คงเหลือ
• พอร์ตมูลค่า 7,500 ล้านบาท จำนวนลูกค้าเกือบ 2 แสนราย
o พอร์ตรถยนต์ 52% บ้านที่ดิน 10% มอเตอร์ไซค์ 10% ที่เหลือพวกรถใหญ่(รถบรรทุก,รถพ่วง,รถสิบล้อ) รถการเกษตร และพอร์ตเล็กไม่ถึง 1% เป็นสินเชื่อไม่มีหลักประกัน
• นาโนไฟแนนซ์
o ได้รับใบอนุญาติปล่อยกู้นาโนไฟแนนซ์แล้ว มีลูกค้าสนใจมากรอกใบสมัครไว้จำนวนหนึ่ง
o เราเป็น 1 ใน 4 บริษัทที่ทางคลังอนุมัติมาก่อน เพราะบริษัทเตรียมตัวและคอยติดตามอย่างใกล้ชิด
o ต้องอาศัยเวลาอนุมัติสินเชื่อประมาณ 1 วัน ต่อไปน่าจะเร็วขึ้น เมื่อก่อนเราเคยทำไม่เกิน 2 ชั่วโมง สามารถปล่อยกู้ 1 รายไม่เกิน 1 แสนบาท
o ตั้งเป้าหมายในปีแรกไว้ 500 ล้านบาท อาจจะเห็นผลจริงๆปีหน้า ในเดือนแรกคิดว่าคงปล่อยได้ไม่ถึง 10 ล้านบาท ต้องเรียนรู้และพัฒนากันไป
o ผลตอบแทนนาโนไฟแนนซ์รวมๆน่าจะใกล้เคียงเดิม ดอกเบี้ยค่าปรับค่าธรรมเนียมค่าติดตามค่าเคาท์เตอร์เซอร์วิส 36% คิดง่ายๆเดือนละ 3% ถ้าเป็นสินเชื่อเอารถไปแลก 1.25% ต่อเดือน
o ให้ปล่อยกู้เพื่อการประกอบอาชีพ คุณสมบัติหลักผู้กู้ ไม่มีรายได้ประจำ ไม่มี slip เงินเดือน ให้คนที่กู้นอกระบบมาอยู่ในระบบ ถ้ากู้นอกระบบจ่ายเงินร้อยละ 1-5 บาท ต่อ วัน (เป็นอัตราดอกเบี้ยที่สูงมาก)
• ปี 57 กำไรสุทธิ 855 ล้าน โตขึ้น 40 กว่า %
• แผนงานปี 58 รายได้ก็จะโตตามพอร์ตลูกหนี้เดิม 12 เดือน(ส่วนใหญ่ปล่อยกู้ให้คืน 12 เดือน)รวมกับที่เพิ่มขึ้นในปี ปกติตั้งเป้าหมายโตไว้ 30% ซึ่งพอร์ตจะโตขึ้นอีกทั้งฐานลูกค้าใหม่ที่จะเข้ามา สาขาใหม่ที่เปิด รวมทั้งนาโนไฟแนนซ์
• การเปิดสาขาใหม่ปกติจะใช้เวลาราว 6 เดือนในการสร้างความรับรู้ชุมชน ปีที่แล้วเปิด 300 กว่าสาขา ปีก่อนก็เปิด 200 กว่าสาขาน่าจะช่วยให้เติบโตได้
• ปัจจัยที่จะทำให้รายจ่ายเพิ่มขึ้นคือ หนี้สูญซึ่งยังอยู่ในระดับปกติ มีลดลงด้วย ปี 56 4.5% ปี 57 4.1% สำหรับปี 58 เพิ่มขึ้นนิดหน่อย
• การติดตามหนี้ลูกค้ามักเป็นการถามไถ่ ติดตาอย่างกระชั้นชิด เอาใจใส่ คอยดูแลว่าลูกค้ายังอยู่ในพื้นที่
• สินทรัพย์ที่มาขอเงินสด เช่น รถยนต์ 2 แสนบาท จะปล่อยกู้ให้ราว 1 แสนบาท ขึ้นกับสภาพรถ พยายามให้ลูกค้าผ่อนจ่ายตามที่ทำได้ หรือบางครั้งก็เป็นบอลลูน ถ้าไม่จำเป็นไม่อยากยึดหลักประกันนจะทำให้ชื่อเสียงไม่ดี
• บริษัทสนใจซื้อพอร์ตบริษัทตามท้องถิ่นซึ่งบางที่ก็เป็นธุรกิจที่ทำมานานมาถึงรุ่นลูกก็ไม่อยากทำต่อ
• เดือน พ.ย. 57 บริษัทจัดตั้งบริษัทลูกเพื่อติดตามหนี้ รับให้กับจ้างธนาคารและธุรกิจเช่าซื้อซึ่งได้ผลดีพอสมควร เพราะเรามีสาขามากเข้าไปสำรวจพื้นที่ได้ และมีการซื้อพอร์ตหนี้เสียมาบริหาร
• ประเทศใน AEC มีการส่งคนไปในหลายๆประเทศ 1-2 คนต่อแห่งเพื่อให้รู้จักกับชุมชนดีก่อน หากมีความชัดเจนในกฏเกณฑ์ก็พร้อมทำการได้
• พรบ.ทวงหนี้น่าจะไม่กระทบกับลูกหนี้เรา เพราะพนักงานก็ถูกต้องตามมาตรฐานอยู่แล้ว แต่ถ้าเจอลูกค้าที่มีปัญหาจริงๆคงต้องฟ้องยึดทรัพย์
SCN
• บริษัทมุ่งเน้นด้านวิศวกรรมเป็นหลัก เดิมเริ่มจากการเป็น subcontractor สร้างโรงกลั่น คลังน้ำมัน ปั๊มน้ำมัน จนเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมาได้เข้ามาในวงการ NGV
• ตอนนี้สัดส่วน Taxi ใช้ NGV เป็นหลักแล้ว เพราะ LPG ราคาขึ้นมาใกล้เคียงกับน้ำมัน
• การสร้างปั๊ม NGV แต่เดิมอุปกรณ์ยากมาก ต้องสร้างแรงดันถึง 3000 psi (200 Bar) แต่แรงดันในการขนส่งหรือรถเทลเลอร์ 3600 psi(250 bar) ด้วยความยากทำให้ต้องนำเข้าอุปกรณ์อัดแก๊สจากต่างประเทศ ยี่ห้อ intermex จากนิวซีแลนด์ จน PTT ขยาย NGV อย่างต่อเนื่อง เราสามารถ share ตลาดราว 20-30% ซึ่ง 8 ปีที่แล้ว ตัดสินใจเป็นผู้ผลิต compressor เอง และขยายไปถึงการผลิตอุปกรณ์ทุกชิ้นในการอัดแก๊ส เป็นเจ้าเดียวในไทยและอาเซียนที่ทำได้
• ประเทศจีนก็มีการทำ แต่เราทำในประเทศเราก็ถูกกว่า คู่แข่งจะมีก็เป็นของที่นำเข้าจากเกาหลี แต่เราใช้เทคโนโลยีจากสวีเดน เปรียบเทียบเหมือนกับเราสามารถผลิตรถวอลโว่ได้เองในไทย เทียบกับ รถแดวู ที่นำเข้ามามีราคาแพงกว่าวอลโว่
• ท่อล่องหน
o การสร้างสถานี NGV เราได้ share ตลาดมากกว่า 50% และได้ทำสถานีแม่ เพื่ออัดแก๊สและขนส่งไปสถานีลูก
o ตั้งแต่ตอนที่เอาบริษัทเข้าตลาด ก็มีโครงการ copy วิธีลำเลียงแก๊ส NGV เหมือนรถยนต์ แต่ไปจ่ายให้อุตสาหกรรมที่อยู่นอกแนวท่อ ซึ่งวิธีการคือปรับแรงดันจากสถานีแม่ถ่ายเข้ารถและนำไปส่งที่โรงงาน
o นวัตกรรมเครื่องปรับลดแรงดัน ใช้เวลาพัฒนา 5 ปีได้จดสิทธิบัตรในประเทศไทย มีอายุ 15 ปี
o สถานการณ์ตอนนี้ ราคา NG ถูกกว่า LPG มาก เพราะราคาน้ำมันลงมาก แต่ LPG ขึ้นเล็กน้อย
o ข้อดี NG คือถูกกว่า น้ำมันเตา Boiler เดิมถ้าใช้ LPG ก็เปลี่ยนมาใช้ NG ได้ ไม่ต้องเปลี่ยน boiler ทั้งตัว ทำให้ตัดสินใจง่ายในการลงทุน
o สัญญาขายให้โรงงานมีหลายแบบ ขายอิงราคาน้ำมันเตา หรือ % ที่ต่ำกว่า LPG โรงงานสามารถเลือก option ในการลงทุนได้ บางที่อาจจะคืนทุนตั้งแต่วันแรก เครื่องปรับแรงดัน เราสร้างเองได้จดสิทธิบัตร มีอายุ 15 ปี
o ลูกค้าที่เซ็นสัญญาแล้ว มี สิงห์(4 ล้านBTU/วัน) กับคิมเบอรี่คลาก และมีลูกค้าใหม่มี 5 รายที่ยังไม่ประกาศ
o สถานีแม่ i cng เริ่มเปิดเดือนที่แล้ว ใช้กำลังการผลิต 30% คาดว่าก่อนไตรมาส 3 น่าจะใช้เต็มกำลังการผลิต
o ถ้า 2 สถานีเต็มกำลังการผลิต คาดว่าสร้างรายได้ 2,000 ล้าน ตั้งเป้า gross profit ไว้ 30%
o มีแผนสร้างสถานีแม่อีกแห่งที่สระบุรี ในอนาคตมีแผนทำ i cng ให้ครอบคลุมทั่วประเทศเท่าที่ทำได้ อาจจะได้อีก 3-4 สาขา
o Entry barrier ของบริษัทค่อนข้างสูง นอกจาก PRS(Pressure Reducing System) มีจดสิทธิบัตร และยังมีประสบการณ์ และ cost ในการผลิตอุปกรณ์ที่ต่ำกว่า ถ้าคนอื่นจะเข้ามาแข่งขันก็ได้อยู่แล้ว แต่ต้องผ่านเงื่อนไขให้ได้
o อนาคตคาดว่าจะมีการสรุปเรื่องวิธีการใช้ท่อแก๊สร่วมกัน ในเดือน ส.ค. ให้third party สามารถนำแก๊สเข้ามาส่งผ่านท่อได้ ต่อไปคาดว่าทุกคนจะใช้ร่วมกันได้คล้ายกับ transmission line ของการไฟฟ้า
• รายได้ปี 58 โตกว่าที่คาดไว้เยอะ กำไรสุทธิ 401 ล้านบาท มาจากกำไรพิเศษขายโรงไฟฟ้า Solar 150 ล้านบาท แต่ตัดออกแล้วก็ยังเติบโต 168% เกิดจากการขยายตัว NGV ทั้งการใข้งาน และจากการขยายของ PTT
• ราคา NGV ขึ้นมาจาก 8.5->10.5 -> 13 บาท ซึ่งตาม Roadmap คือไปถึง 16 บาท ซึ่งถ้าปตท.ทำแล้วไม่ขาดทุนคงขยายสาขามากขึ้น
• I cng มี 57 ยังไม่มีรายได้ ปี 58 คงมีรายได้น้อยมาก คิดว่า contract ที่ปทุมธานีและสระบุรีถ้าเต็มกำลังการผลิตจะได้รายได้ 2,000 ล้านบาท ในปี 60 การขยายสสาขาเพิ่มอยู่ระหว่างศึกษา
• การขยายตัวในแนวราบ อาจเป็นการ M&A หรือซื้อหุ้นของสถานี ที่เราน่าจะบริหารได้ดีกว่า เงินสดยังมีเหลือพอ เกณฑ์พิจารณาคือ irr ไม่ต่ำกว่า 12%
• จับมือแพรกซ์แอร์ ซึ่งขายแก๊ส co2 ที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปและอเมริกา เพื่อมาปรับปรุงคุณภาพแก๊ส ซึ่งค่าความร้อนแก๊สในไทยกับพม่าจะไม่ตรงกัน เดิมสถานีรับแก๊สจากพม่าอยู่แล้วต้องมีการปรับปรุงคุณภาพ มีต่อท่อแล้วเหลือรอ ปตท. คาดว่าอย่างช้าเดือน ต.ค.
TVD
• วันนี้มียาอม Golden throat มาแจก มีสมุนไพร 13 ชนิด กินแล้ว จมูกโล่ง ปากหอม คอทองคำ ปอดแข็งแรง เป็นลูกอมดังที่มีชื่อเสียงยาวนานในจีน ปีหนึ่งขายราว 50,000 ตัน
• บริษัทขายสินค้าผ่านสื่อต่างๆ มี key หลัก 3 อย่าง สินค้า ช่องทาง และลูกค้า เราจะเอา 3 อย่างมาคลุกเคล้าให้ตรงกัน
อย่างบาง segment ชอบเดินห้าง หรือเล่นไลน์ มีพฤติกรรมในการบริโภคสื่อไม่เหมือนกัน ต้องจับคู่ให้เหมาะสม
• ฐานข้อมูลลูกค้า 1 คนอาจจะซื้อตั้งแต่อาหารเสริม ซื้อผ้า ชัดชั้นใน ต้องจับคู่ให้เหมาะ
• ขายของผ่าน TV เป็นหลัก ในปีก่อน Joint venture กับ MoMo เป็นเจ้าของ home shopping ใหญ่สุดในไต้หวัน ซึ่งบริษัทนี้เป็นเจ้าของกิจการด้าน telecom และ finance
• ปี 57 มีความสับสนจากการเปลี่ยนผ่านช่องทีวี ในแต่ละกล่องก็มีหลายรุ่นหลายยี่ห้อ แต่ละ firmware ก็ไม่เหมือนกัน ทำให้กระบวนการทำ rating รวมถึงการทำ media เพี้ยนไป
• คู่แข่งจากต่างประเทศเข้ามาแข่งเพิ่มขึ้นบริษัทจึงต้องเตรียมการรับมือ อย่าง Samsung เข้ามาในนาม CJ ทำ JV กับ grammy, CS เข้ามาทำ home shopping, Shop channel จากญี่ปุ่นก็เข้ามาทำ home shopping เน้นขายเพชร, ฮุนไดทำ JV กับ ais, intuch หลายบริษัทที่เข้ามาจดทะเบียน 500 กว่าล้าน หากคนที่เข้ามาตัดราคา ดังนั้นเราจึงต้องเตรียมสินค้าของเราเอง สร้างยอดขายระดับหนึ่ง และสินค้าของ supplier
• ในปี 58 ธุรกิจ online น่าจะ kick off ตั้งใจที่จะให้คนอื่นทำก่อน แล้วเราเตรียมตัวในองค์กรมา 2-3 ปี ซึ่งปีนี้ทุกคนก็เข้ามาออนไลน์ ทั้งเซ็นทรัล เดอะมอลล์ การมีทั้งออนไลน์และออฟไลน์ จะช่วยเสริมกัน ทำให้ต้นทุนถูกกว่า และเสถียรมากกว่า บางบริษัทมีทีวีก็โฆษณาเพื่อให้คนเข้าไปออนไลน์
• ถ้าลองเปิดเข้าไปดู เวบ TV direct .tv จะ fit ทั้งกับ TV, Labtop, PC, smartphone
• มี 2 ประเทศในโลก ที่ใช้ Instagram กับ facebook ขายของ คือไทย และอินโดนีเซีย
• ราคา ของ TV direct เท่ากันทุกช่องทางแต่จะมีของที่ถูกเป็นพิเศษ พวก gadget, เสื้อผ้า, ชุดชั้นใน ซึ่งแต่ละช่องทางคนLabtop กับมือถือซื้อของก็ไม่เหมือนกัน ขายผ่านมือถือมีชื่อสินค้ามีรูปมีราคาคำบรรยาย 3 บรรทัดก็ขายได้แล้ว
o ราคา กับ เวลาตัดสินใจซื้อ ราคา 299 ใช้เวลาไม่ถึง 30 วิ 499 1 นาที 699 ใช้ 4-10 นาที 999 ใช้เวลา 20-40 นาที
o เราก็มีสร้างช่องทางต่างๆ ทั้ง Mobile app, Line เข้าไปโหลดได้
• ของเก่าก็ยังมีอยู่ direct marketing, tv, mail, call center และมีแยก retail ออกมา
• สีก็มีผลกับการตัดสินใจ ขึ้นกับ category เช่น อาหารสีเหลือง, gadget สีน้ำเงิน, สินค้าของผู้หญิง สีฟ้า พาสเทล, ของแพง ใช้สีขาว ของคลาสสิค ใช้สีฉูดฉาดไม่ค่อยได้
• ปีนี้จะเน้น BPO มากขึ้น Business process outsourcing รับงานคนอื่น เช่น ส่งของ เก็บเงิน ระบบ call center ซึ่งโดยรวมจะทำให้ต้นทุนเราลดลง
• ปี 57 โต 15.45% รายได้จาก 2000 ล้านบาทเป็น 2560 ล้านบาท highlight มีแจกหุ้นปันผล 100 กว่าล้านบาท (เงินสด 10 ล้านบาท) , มี write off ธุรกิจในเวียดนาม, มาเลเซีย ขาดทุน 10 ล้านบาท
• ปี 58 คาดโต 15% เป็น 2800 ล้านบาท น่าจะเริ่มเห็นสิ่งที่ลงทุนไป
o BPO มี call center มีบริษัทส่งของเก็บเงินสด
o Offshore trading สินค้า sme ญี่ปุ่นมาขาย จะมี road show 18-19 พ.ค. มี 80-90 บริษัทตอบเข้าร่วม ซึ่งน่าสนใจ สมัยนี้สินค้าญี่ปุ่นถูกลงมาก
ในช่วงที่ 2 ผมติดไม่ได้เข้าฟัง แตะมือ featuring กับคุณ amornkowa ไว้ครับ
ขอบพระคุณอ.ไพบูลย์,พิธีกร,วิทยากร, ทีมงาน money talk และผู้สนับสนุนทุกท่าน
- หมอเคเตรียมศึกษาบริษัทที่มาได้เยี่ยมเหมือนเคยครับ
- น้องเมย์พิธีกรพูดเก่งมากๆ ผมมาถึงงานทีแรกได้ยินเสียงจากนอกห้อง เข้าใจผิดว่างานรอบเช้ายังไม่เลิก ^^"
- ขอบคุณพี่นุชเจ้าแม่Money talk ที่ดูแลงานมาโดยตลอดครับ
Money talk at SET ครั้งต่อไป
เสาร์ 23 พ.ค. เปิดจองเสาร์ 16 พ.ค.
• ช่วงที่ 1 หุ้นเด่นโครงสร้างพื้นฐาน : 4 บริษัท ตลท.เชิญ
• ช่วงที่ 2 กลยุทธ์ลงทุน VI หลากหลายอาชีพ : ดร.นิเวศน์, หมอพงษ์ศักดิ์, คุณทิวา
งานพิเศษวันที่ 9 ส.ค. Money talk เช้า-บ่าย ต่อกัน
• เช้า สัมภาษณ์ ดร.ไพบูลย์,หมอพงษ์ศักดิ์ พิธีกร คุณพรชัย กับคุณวิบูลย์ ให้คนทำประโยชน์กับสังคม ฟรี เลี้ยง แจกหนังสือ เช่น ไปช่วยเด็กกำพร้า, บริจาคเงิน, บริจาคเลือด
• บ่าย จัด Money talk ตามปกติ