หน้า 1 จากทั้งหมด 1

การปรับตัวของหุ้น bank

โพสต์แล้ว: อังคาร มิ.ย. 02, 2015 7:21 pm
โดย Samadha
ช่วงนี้หุ้นกลุ่ม finance ร่วงนำตลาด
ค่า P/E and P/BV หลายธนาคารลงไปถูกมากที่สุดในรอบหลายปี
คิดว่าเป็นเพราะเหตุใดครับ เป็นโอกาสซื้อลงทุนหรือไม่

เท่าที่ผมตามดู สถาบันการเงินในเมืองไทย ก็ยังมีความรอบคอบในการปล่อยสินเชื่อพอสมควร

การตกรอบนี้ถ้าเป็นปัญหาระยะสั้น จากเศรษฐกิจชะลอตัว ก็น่าจะป็นโอกาสซื้อลงทุน

แต่ถ้าเป็นปัญหาขนาดใหญ่ เช่น เกิดหนี้เสียในภาคอสังหาริมทรัพย์ อันนี้ก็น่ากลัว

ท่านทั้งหลายคิดยังไงครับ?

Re: การปรับตัวของหุ้น bank

โพสต์แล้ว: อังคาร มิ.ย. 02, 2015 7:53 pm
โดย yoko
KTBตั้งสำรองเพิ่มแบ็งค์อื่นๆก็อาจจะตามมา ผมรอดูความชัดเจนก่อน

Re: การปรับตัวของหุ้น bank

โพสต์แล้ว: อังคาร มิ.ย. 02, 2015 9:13 pm
โดย prichar s.
พิจารณาในมุมมองทะยอยสะสมเพื่อลงทุนระยะยาวรับเงินปันผล เชื่อว่าอีก 5 ปีนับจากนี้ yield ดีกว่าดอกเบี้ยแบงก์
แต่หากจะซื้อเพื่อวัตถุประสงค์อื่น(เช่นเล่นรอบสั้น ๆ) ต้องใช้เหตุผลอื่นในการพิจารณา

xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx
ถกกันเรื่องราคา มักจบไม่ลง สุดท้ายมักโยนให้ตลาดเฉลย
ถกกันเรื่องพื้นฐาน หลายครั้งก็จบไม่ลง ต้องรอคำตอบจากเวลาและผลประกอบการ
เคยบอกแล้ว หุ้นยิ่งขึ้น กราฟจะบอกให้ซื้อ เป้าขยับขึ้นตลอด
หุ้นยิ่งตก กราฟจะบอกให้ขาย - เด็งขาย - เป้าขยับลงตลอด

Re: การปรับตัวของหุ้น bank

โพสต์แล้ว: พุธ มิ.ย. 03, 2015 7:04 pm
โดย Nevercry.boy
ถ้าจะมองธุรกิจแบงค์ ผมคิดว่ามี 3 ส่วนที่จะต้องมอง

1) รายได้จากดอกเบี้ย ซึ่งต้องดูปัจจัย คือ 1.1) ต้นทุนเงินฝาก 1.2) ต้นทุนดำเนินงาน 1.3) นโยบายในการตั้งสำรอง 1.4) NPL 1.5) coverage ratio แนะนำว่าให้ดู อัตราส่วนพวกนี้เป็นลักษณะต่อปี จะมีความผันผวนน้อยกว่ารายไตรมาสและจะเห็นภาพรวมของการเติบโตชัดกว่า อ้อ อีกเรื่องเกือบลืมไป สินค้าของแบงค์ และฐานรายได้และฐานลูกค้า เช่น bbl เน้นสินเชื่อแบบไหนกลุ่มลูกค้า แบบไหน kbank แบบไหน SCB แบบไหน สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะทำให้แต่ละแบงค์มีความเสี่ยงแตกต่างกันไป

2) รายได้จากไม่ใช่ดอกเบี้ย โดยเฉพาะธุรกรรมต่าง ๆ ส่วนนี้คือการคิดค่าบริการ ไม่แปรผันกับดอกเบี้ยและส่วนต่างซึ่งหลายแบงค์ทำได้ดีทีเดียว

3) รายได้จากการลงทุน และธุรกิจอื่น เช่นประกันชีวิต หรืออื่น ๆ ที่จะมาจุนเจือและลดความเสี่ยงของความแปรปรวนของดอกเบี้ยลง

โดยส่วนตัว ชอบมองแบงค์ที่มี ต้นทุนเงินทุนต่ำ และมีรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยเขื่อง ๆ พอสมควร เพราะนั่นหมายถึงเป็นคนที่เข้าถึงลูกค้าได้มากกว่าด้วย ยกตัวอย่างตัวผมเองรับเงินเดือนผ่านแบงค์ม่วง แต่ใต้ตึกดันมีแค่ ATM แบงค์เขียว เฮ้ย ไร แว้

จากการวิเคราะห์เบื้องต้น ณ สถานการณ์ปัจจุบัน ผมจึงเห็นว่าเป็นโอกาสดีในการเข้าซื้อมากกว่าขายครับ

ถ้า อ.ไกล่เกลี่ยผ่านมา รบกวนให้ความเห็นเพิ่มเติมด้วยครับ

Re: การปรับตัวของหุ้น bank

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. มิ.ย. 04, 2015 7:02 am
โดย surapol
ภาพรวมของประเทศ น่าจะอ่อนแอลง NPL สำหรับนักลงทุนไทยคำนี้มีความหมายมาก เพราะมันเคย

เกิดขึ้นและส่งผลแรงมาก ไม่แปลกใจเท่าใหร่ กลับยังคิดว่านักลงทุนเดี่ยวนี้เก่งมาก เหมือนไม่ได้เกิด

panic อะไรมากมาย การปรับลง ผมว่ามันสะท้อนความเสี่ยงของธุรกิจของแบงค์ เองที่มีความเปราะบาง

มากขึ้น การเรียกหาส่วนลดของราคาเพิ่มก็สมเหตุสมผลดี แต่จะประเมินว่าเท่าใหร่น่าซื้อคิดว่าความรู้ไม่ถึง

จริงๆ ใน size ธุรกิจขนาดเป็นแสนๆล้าน

Re: การปรับตัวของหุ้น bank

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. มิ.ย. 04, 2015 3:48 pm
โดย Lastpun
เห็นตัวแบงเอง PE ก็จะไม่คอ่ยสูงเหมือนพวกค้าปลีกหรือเติบโตอยู่แล้ว ส่วนมากจะเลาะไปกับการเติบโตของ ศก ภายในประเทศ แต่ถ้าจากสี่ห้าปีที่ผ่านมาก็โตค่อนข้างดีสินเชื่อโตสูงมาก แต่เราก็ไม่รู้ว่าจะโตแบบนี้ได้อีกไหมในอนาคต เพราะถ้ามีหนี้ถึงระดับหนึง จะสร้างหนี้ต่อก็เริ่มเหนือยขึ้นเลือยๆ

Re: การปรับตัวของหุ้น bank

โพสต์แล้ว: ศุกร์ มิ.ย. 05, 2015 8:37 pm
โดย kraikria
ผมเห็นด้วยกับที่ อ.NB เขียนทุกประการครับ

ราคาของหุ้นธนาคารที่ลงมาก็สอดคล้องกับเศรษฐกิจของประเทศที่เติบโตต่ำกว่าปกติเทียบกับที่ผ่านมา การลงทุนต่างๆชะลอตัว ภาครัฐยังผลักดันการลงทุนขนาดใหญ่ให้ออกมาไม่ได้แม้ว่าจะมีแนวโน้มที่จะทำเร็วๆนี้ก็ตาม ส่วนบุคคลทั่วไปก็ไม่มีความสามารถในการก่อหนี้เพิ่ม

ถ้าดูสถานะของธนาคารของไทย ผมยังคิดว่าแข็งแกร่งอยู่มาก เงินกองทุนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆในขณะที่สินเชื่อไม่ค่อยขยายตัวเท่าไหร่ ส่วนรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยก็ยังเติบโต ที่ผ่านมาธุรกิจธนาคารโตมากๆครับโดยเฉพาะ SCB กับ KBANK ซึ่งแทบจะมองไม่ออกเลยว่าจะหยุดโตเมื่อไหร่ยกเว้นอยากจะเบรคตัวเอง

จุดน่ากลัวของธนาคารมีอย่างเดียวคือหนี้เสีย ซึ่งตอนนี้ทุกธนาคารระมัดระวังการปล่อยหนี้ใหม่มากเพื่อไม่ให้หนี้เสียเพิ่มขึ้น ผมคิดว่าผู้บริหารของธนาคารในปัจจุบันผ่านวิกฤติต้มยำกุ้งกันมาแล้วทั้งนั้น น่าจะค่อนข้างทราบดีว่าควรทำอย่างไร อย่างไรก็ตามเราก็ควรต้องติดตามอย่างใกล้ชิดครับ

เพิ่มเติมอีกนิดนึง ธุรกิจธนาคารในปัจจุบันจริงๆก็ปรับเปลี่ยนไปจากอดีตมากทีเดียว ธนาคารได้ผลักความเสี่ยงเรื่องการแบกรับหนี้เสีย ไปเป็นการให้บริการผ่านการระดมทุนต่างๆเช่น corporate bond แล้วกินค่าธรรมเนียม และไม่ต้องระวังเรื่องหนี้เสีย ส่วนเงินฝากก็ถูกเปลี่ยนเป็นรูปแบบกองทุน ซึ่งไม่ต้องรับประกันเงินฝากหรือส่งเงินให้แบงค์ชาติเรื่องกองทุนประกันเงินฝาก ถึงแม้จะได้ค่าธรรมเนียมพวกนี้น้อยมากถ้าเทียบกับการให้สินเชื่อแต่ก็สามารถนอนหลับได้สบายเพราะไม่มีความเสี่ยงอะไรเลย

Re: การปรับตัวของหุ้น bank

โพสต์แล้ว: ศุกร์ มิ.ย. 05, 2015 8:43 pm
โดย kraikria
ส่วนเรื่องราคาหุ้นก็แล้วแต่พิจารณาเลยครับ เคยมีคนถามผมเรื่อง KBANK ลดดอกเบี้ยเงินกู้ว่าจะกระทบกำไรขนาดไหน ซึ่งผมคำนวณดูแล้วก็กระทบกำไรในระดับน้อยกว่า 8% ใน worstcase ในขณะที่สินเชื่อ KBANK สิ้นเดือนเม.ย ยังโตอยู่เลย

Re: การปรับตัวของหุ้น bank

โพสต์แล้ว: พุธ มิ.ย. 10, 2015 10:15 pm
โดย chaitorn
กลุ่มสถาบันการเงิน

1. การเติบโตของสินเชื่อตามภาวะเศรษฐกิจซึ่งชะลอตัว ทำให้ปล่อยกู้ได้น้อยลง

2. Credit cost ที่มาจากการตั้งสำรอง
ความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ อาจช่วย credit cost เฉพาะรายใหม่ในปีนั้นที่มีสัดส่วนไม่มากเพื่อเทียบกับ port รวม

แต่ credit cost ลูกค้าเดิมซึ่ง port ใหญ่มาก อาจจะได้ผลกระทบอยู่ ทำให้ธนาคารยังไม่ค่อยอยากปรับลดดอกเบี้ยกู้ เพราะจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงของรายได้ลดลงมากกว่าค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นตามไปด้วย

ในไตรมาส ก่อน ๆ เราเริ่มเห็น npl รายย่อยมากขึ้น
ต่อมาเป็น smeมากขึ้น
ในอนาคตต้องจับตาหนี้เสียรายใหญ่โดยเฉพาะพวกกลุ่ม commodity ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกทำให้ราคาผลิตภัณฑ์ปรับลดลงมากจนเกิดภาวะขาดทุน

ดังนั้น การที่ธนาคารเร่งการตั้งสำรองในอัตราที่สูงมากขึ้นเป็นเรื่องที่ดีในระยะยาวแม้จะกระทบผลงานระยะสั้นก็ตาม

3. Cost of fund ซึ่งน่าจะเป็นผลดีในขณะนี้ที่ต้นทุนเงินฝากค่อนข้างต่ำ

การปรับตัวของธนาคารจึงเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจในช่วงนี้ครับ

Re: การปรับตัวของหุ้น bank

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. มิ.ย. 11, 2015 11:16 pm
โดย miracle
การปรับตัวของ BANK นั้น
ในอดีต BANK ทำมาหารับประทานจากส่วนต่างของดอกเบี้ยเงินฝากกับดอกเบี้ยเงินกู้ (ธนาคาเป็นสถาบันสื่อกลางระหว่างผู้ที่มีเงินเหลือ สามารถเอาเงินไปลงทุนได้แต่ หาสิ่งที่ลงทุนไม่ได้ กับอีกด้านหนึ่งคือ ผู้ที่ต้องการลงทุนแต่ขาดแคลนเงินทุน ธนาคารจริงเข้ามาจัดการในเรื่องนี้) ธนาคารเลยเป็นเสือนอนกินไป
จนกระทั่ง เมื่อเกิดหนี้เน่าจากการปล่อยกู้ แถมต้องจัดชัั้นลูกหนี้ตามกฏระเบียบต่างประเทศ พวก BASEL 1,2,3.... (คงจะมีต่อไปอีกหลายเลข) ธนาคารเลยต้องปรับตัว มองดูว่าตัวเองหารับประทานจากค่าธรรมเนี่ยม ด้วย เพราะ หากินจากส่วนต่างของดอกเบี้ยอย่างเดียวมิได้แล้ว
ค่าธรรมเนี่ยมนี้ไล่ตั้งแต่
1. สารพัดบัตรเลย บัตรเอทีเอ็ม บัตรเดบิต บัตรเครดิต บัตรสินเชื่อส่วนบุคคล ....
2. ค่าธรรมการขาย เช่น ประกันชีวิต ,ประกันวินาศภัย ,กองทุนรวม ....
3. ค่าธรรมเนี่ยมอื่นๆ เช่น ต่ออายุทะเบียนรถยนต์ ก็ให้บริการ,หาผู้ประเมินราคาสินทรัพย์ให้ ,ค่าธรรมการใช้วงเงิน เป็นต้น
จนธนาคารแห่งประเทศไทยต้องออกกฏระเบียบให้แจ้งสารพัดค่าธรรมเนี่ยม และ ให้สาขาของธนาคารจัดสัดส่วนในการขายสินค้าทางการเงินต่างๆเป็นบริเวณๆ ไปเลยทีเดียว

ต่อมาธนาคารก็เริ่มพัฒนาไปสู่ e-money แล้ว
สังเกตไหม ถ้าหากไปจ่ายค่ามือถือก็ดี หรือค่าบริการบัตรเครดิตของธนาคาต่างชาติ เมื่อจ่ายไปแล้ว
บิลปรากฏว่า โอนไปยังบริษัทแห่งหนึ่ง ซึ่งเมื่อหาดูใน ธปท พบว่าประกอบกรรม E-money แทน
หรือ โฆษณาบัตร ของธนาคารแห่งหนึ่ง อันนั้นก็ใช่เป็น E-money กับ บัตรเดบิตเป็นใบเดียวกัน

สังเกตต่อไป ว่าเมื่อมีโครงการขนาดใหญ่ในประเทศไทย
ธนาคารจำเป็นต้องระดมเงินฝาก เพื่อต้องการปล่อยกู้โครงการเหล่านั้น
แต่ตอนนี้ธนาคารไม่ระดมเงินฝากด้วย แสดงว่า ไม่มีโครงการขนาดใหญ่ตอนนี้หรือเปล่า
หรือว่า ธนาคารมีเงินฝากเพียงพอต่อการปล่อยกู้แล้วหรือเปล่า
แต่เมื่อไปมอง ธปท ทำไม ออกธนบัตรใหม่ๆเป็นชุดในปีนี้ น่าแปลกไหมละ ภาพมันขัดแย้งกัน

ส่วนทำไมหนี้สินครัวเรือนไม่ลดลง
ธนาคารเห็นว่า ลูกหนี้ผ่อนไปได้ระยะหนึ่งแล้ว ราคาของสินทรัพย์ที่เราผ่อนนั้นสูงกว่าจำนวนมูลหนี้ที่เหลือ
ก็จัดเอาส่วนต่างดังกล่าว เปิดกู้เป็นสินเชื่อที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน จนเต็มมูลค่าของสินทรัพย์นั้นๆ โดยดอกเบี้ยเท่ากับ ดอกเบี้ยเงินกู้ส่วนบุคคล 24% ต่อปี เลย เนี่ยคือ ทำไมยอดหนี้สินครัวเรือนไม่ลดลง ก็เล่นแบบนี้
(เมื่อเวลาผ่านไป ราคาที่ดินเพิ่มขึ้น ผู้กู้สามารถเอาที่ดินไปประเมินใหม่ หรือเอาราคาประเมินเดิมไปยื่นของกู้เพิ่มได้จากธนาคาร ,หรือกรณีของรถยนต์ ก็ใช่ แต่รถยนต์ต้องตีมูลค่าตามราคาตลาดก่อน เพื่อให้ลูกหนี้สามารถเอาไปกู้เงินเพิ่มเติมได้) นี้คือการกู้ที่ประชาชนทำกัน
:)

Re: การปรับตัวของหุ้น bank

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. มิ.ย. 11, 2015 11:19 pm
โดย miracle
มีข้อคิดของดอกเบี้ยในมุมอีกด้านหนึ่ง
ดอกเบี้ย 10% แสดงว่า ปล่อยกู้ไป 10 ราย (รายละเท่าๆกัน)
10 รายนั้น สามารถผ่อนจนจบ 9 รายอีก 1 รายเป็นหนี้เน่า แบบไม่ได้เลย
ธนาคารก็ยังอยู่ได้
ดอกเบี้ย 50% แสดงว่า ปล่อยกู้ 2 ราย เท่ากันๆ
1 รายผ่อนจนจบ อีก 1 รายเน่าเละเทะ ไม่ได้กลับคืนมาเลย
ธนาคารก็ยังคงเดินได้
(คิดคร่าวๆ ไม่รวมการบริการจัดการเข้าไป)
:)

Re: การปรับตัวของหุ้น bank

โพสต์แล้ว: ศุกร์ มิ.ย. 12, 2015 12:01 pm
โดย chaitorn
miracle เขียน:มีข้อคิดของดอกเบี้ยในมุมอีกด้านหนึ่ง
ดอกเบี้ย 10% แสดงว่า ปล่อยกู้ไป 10 ราย (รายละเท่าๆกัน)
10 รายนั้น สามารถผ่อนจนจบ 9 รายอีก 1 รายเป็นหนี้เน่า แบบไม่ได้เลย
ธนาคารก็ยังอยู่ได้
ดอกเบี้ย 50% แสดงว่า ปล่อยกู้ 2 ราย เท่ากันๆ
1 รายผ่อนจนจบ อีก 1 รายเน่าเละเทะ ไม่ได้กลับคืนมาเลย
ธนาคารก็ยังคงเดินได้
(คิดคร่าวๆ ไม่รวมการบริการจัดการเข้าไป)
:)
คงคิดแบบนี้ไม่ได้ทีเดียวนะครับ
หนี้ NPL จะกระทบ 2 ส่วนหลัก ๆ คือ
1. รายได้ดอกเบี้ยที่ควรจะได้รับ ซึ่งหากเป็นหนี้ NPL จะรับรู้ดอกเบี้ยไม่ได้
2. แต่ส่วนที่เป็นปัญหาหนักอกคือ หนี้เงินต้นที่ค้างชำระที่ต้องเรียกคืนด้วย

หนี้ 1 รายหากเงินต้นหายไปหมด หากธนาคารมีกำไรจากหนี้ปกติ สมมุติว่า ์Net สุดท้ายคือ 2% ต่อปี (ต้องนำดอกเบี้ยรับ หัก ต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายที่เป็นต้นทุน และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานทั้งหมดด้วย) หนี้เสียเงินต้นทั้งหมด 1 ราย จะต้องหาหนี้ดีมาชดใช้เงินต้นทั้งหมด 100/2% หรือเท่ากับ 50 รายครับ แต่ถ้าเรียกหลักประกันได้บ้าง จำนวนรายก็ลดลงตามลำดับ

Re: การปรับตัวของหุ้น bank

โพสต์แล้ว: ศุกร์ มิ.ย. 12, 2015 7:37 pm
โดย miracle
chaitorn เขียน:
miracle เขียน:มีข้อคิดของดอกเบี้ยในมุมอีกด้านหนึ่ง
ดอกเบี้ย 10% แสดงว่า ปล่อยกู้ไป 10 ราย (รายละเท่าๆกัน)
10 รายนั้น สามารถผ่อนจนจบ 9 รายอีก 1 รายเป็นหนี้เน่า แบบไม่ได้เลย
ธนาคารก็ยังอยู่ได้
ดอกเบี้ย 50% แสดงว่า ปล่อยกู้ 2 ราย เท่ากันๆ
1 รายผ่อนจนจบ อีก 1 รายเน่าเละเทะ ไม่ได้กลับคืนมาเลย
ธนาคารก็ยังคงเดินได้
(คิดคร่าวๆ ไม่รวมการบริการจัดการเข้าไป)
:)
คงคิดแบบนี้ไม่ได้ทีเดียวนะครับ
หนี้ NPL จะกระทบ 2 ส่วนหลัก ๆ คือ
1. รายได้ดอกเบี้ยที่ควรจะได้รับ ซึ่งหากเป็นหนี้ NPL จะรับรู้ดอกเบี้ยไม่ได้
2. แต่ส่วนที่เป็นปัญหาหนักอกคือ หนี้เงินต้นที่ค้างชำระที่ต้องเรียกคืนด้วย

หนี้ 1 รายหากเงินต้นหายไปหมด หากธนาคารมีกำไรจากหนี้ปกติ สมมุติว่า ์Net สุดท้ายคือ 2% ต่อปี (ต้องนำดอกเบี้ยรับ หัก ต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายที่เป็นต้นทุน และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานทั้งหมดด้วย) หนี้เสียเงินต้นทั้งหมด 1 ราย จะต้องหาหนี้ดีมาชดใช้เงินต้นทั้งหมด 100/2% หรือเท่ากับ 50 รายครับ แต่ถ้าเรียกหลักประกันได้บ้าง จำนวนรายก็ลดลงตามลำดับ
คิดแบบคร่าวๆ ไงล่ะท่าน
ดอกเบี้ย 2% ต่อปี นั้นคือ 100 คน หนีหนี้ 2 คน
ดังนั้น อีก 98 คนจ่ายอยู่ ดังนั้น 1 ต่อ 49 คน คือ หนี้เสียต่อหนี้ดี
นั้นคือ 1 ใน 50 คนของทั้งหมดหรือเปล่า

Re: การปรับตัวของหุ้น bank

โพสต์แล้ว: เสาร์ มิ.ย. 13, 2015 12:48 pm
โดย ทศพร29
วิกฤติซ่อนหนี้

Re: การปรับตัวของหุ้น bank

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ มิ.ย. 14, 2015 12:55 am
โดย miracle
สมการทางเศรษฐศาสตร์อันหนึ่งที่น่าสนใจ
คือ การลงทุน = การออมเงิน
ลองไปหาอ่านดูว่า เมื่อ ไม่สมดุลกันแล้ว มันจะเกิดอะไรขึ้น
:)