ที่เห็นเป็นแบบนี้ CPALL ต่างจาก CPF ตรงที่ เซเว่นส่วนใหญ่เป็นเงินสดจากลูกค้าเอามาหมุนได้ง่ายก่อนเอาไปจ่ายคนขายสินค้าให้ (supplier) ได้ ลูกค้าเป็นหนี้น้อย
ไปดูตัวเลขแปลงลูกหนี้เป็นเงินสด (A/R Turnover) CPALL หมุนได้แบบที่ธุรกิจอื่นต้องอิจฉา ตัวเลข 505 เท่า! ก็เหตุผลธุรกิจค้าปลีก ที่ไม่ค่อยให้มีลูกหนี้...
เพราะลูกหนี้ขายเชื่อเฉลี่ย ที่เป็นตัวหารน้อยนิด เลยทำให้ตัวเลขอัตราการหมุนสูง
ตัวเลข Collection Period 0.7 วัน เพราะได้รับเงินจากฝูงชนคนละเล็กละน้อย เศษสตางค์ก็มี เห็นผลเข้ากระเป๋าทันทีที่ได้ยินเสียง "รับถุงยางเพิ่มมั๊ยคะ" แปลว่าเงินสด collect ละ... แต่เงินที่ว่า ที่ได้รับมาจากชาวบ้าน กว่าจะจ่ายออกไปหา supplier ออกไปเป็นก้อนๆ ก็ปาเข้าไปอีก 2 เดือนโดยเฉลี่ย (ตัวเลข Payment Period 63 วัน)
เป็นเพราะส่วนใหญ่ สินค้า CPALL ไม่ใช่ที่ผลิตเอง แต่รับ "เชื่อ" มาขายไป "สด"
CPALL มีตัวเลขวัดอีกตัว ที่เรียกว่า Same store sales growth โตบนทางช่องทางจำหน่ายเหมือนเดิม ธุรกิจขยายตัว ส่วนหนึ่งด้วยวิธีการแค่ copy ร้านของเก่า เป็นการเพิ่ม distribution channel ที่ผ่านมาก้ไม่ค่อยได้เห็นมีการปิดร้าน มีแต่เปิดร้่านเพิ่มใกล้ๆ เมื่อเห็นยอดร้านเดิมขายดี
เหมือนแย่งลูกค้าจากคนเดิม แต่บริษัทยอดขายเพิ่ม เพราะเพิ่มพื้นที่ขาย เพิ่มจุดในการขาย ลูกค้าเดิมก็สะดวกยิ่งขึ้น เพิ่มลูกค้าใหม่อีก
ส่วนอัตราการ "ขยายกำลัง" ด้าน leverage
วัดอัตรากำไร ROE ของ CPF น่าจะคล้ายที่เห็นได้เหมือนบริษัททั่วไปที่พอใช้ แต่ไม่ได้ยอดเยี่ยมมากนัก เพราะอยู่ราวไม่ถึง 7%
CPALL ROE ที่ตกมาถึงมือผู้ถือหุ้นสูงมากถึง กว่า 40% ที่ในตลาดสูงขนาดนี้หรือกว่านี้มีแค่ราว 20 บริษัท
แต่ CPALL นี่ก็ยังมีด้านมืดอยู่บ้าง... เพราะ ROE แบบนี้ ก็แลกด้วยความเสี่ยง ที่ DE Ratio 9 เท่า (ปีที่แล้ว 10 เท่า) คือว่า... คนถือหุ้นมีเงินทุนรวมอยู่ 3 หมื่นล. แต่บริษัทที่เห็นว่าใหญ่ๆ ใช้เงินของเจ้าหนี้ 2.8-3 แสนล้าน
ดูอีกทีบอกว่าคนดำเนินกิจการ ใช้เงิน equity นิดเดียวเองก็ที่เห็น ถือเป็นการขยายเงินที่ทำให้ได้ ROE สูงๆ ตาม
แต่ดูทีนึง อีกด้านนึง.... ความเสียงสูงเป็นหนี้ชาวบ้านซะเยอะจนน่ากลัว หนี้ยาวเกือบ 2 แสนล.