สรุปความรู้งาน วิศวกรลงทุนหุ้นคุณค่า 8 Oct 2015

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
earthcu
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 348
ผู้ติดตาม: 0

สรุปความรู้งาน วิศวกรลงทุนหุ้นคุณค่า 8 Oct 2015

โพสต์ที่ 1

โพสต์

เนื่องด้วยมีโอกาสได้ไปร่วมงาน วิศวกรลงทุนหุ้นคุณค่า ในวันพุธที่ 7 ตุลาคม 2558 ที่ผ่านมา

Intania Leadership Network ครั้งที่ 10/2558 หัวข้อ "วิศวกรลงทุนหุ้นคุณค่า"

วิทยากร
1.)ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร วศ.2515 อดีตผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายบริหารนโยบายและความเสี่ยง ธนาคารนครหลวงไทย
2.)คุณพีรนาถ โชควัฒนา วศ.2523 กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซันคัลเล่อร์ โอ.เอ. จำกัด
3.)คุณณัฐชาต คำศิริตระกูล วศ.2540 กรรมการและเลขาธิการ สมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า (ประเทศไทย)

จึงอยากจะสรุปความรู้ที่ได้จากงานครั้งนี้บางส่วนเผื่อเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนนักลงทุนท่านอื่นๆที่ไม่ได้มาร่วมงานนี้ครับ

1.อย่าไปพยายามสร้างรายจ่ายที่ไม่จำเป็น การที่ไม่ค่อยมีรายจ่ายนั้นสามารถทำให้เรานำเงินเก็บไปลงทุนต่อยอดได้
ยกตัวอย่างของวิธีการที่ประหยัดของเหล่าวิทยากร เช่นหาหอพักใกล้ๆกับบริษัทสามารถเดินไปทำงานได้ทำให้ไม่ต้องซื้อรถ หรือบางคนเลือกไปทำงานต่างจังหวัดที่มีที่พักให้ฟรีและมีอาหารให้ซึ่งแทบจะทำให้แทบไม่มีค่าใช้จ่าย ในบางคนนั้นอาจจะสามารถเก็บเงินได้ถึง 70-80%ของเงินรายได้

2.ช่วงเวลาการลงทุนนั้น จะมีโอกาสที่ในบางครั้งทั้งหุ้นที่ดีและหุ้นที่ไม่ดี ราคาหุ้นตกทั้งหมด ซึ่งนั่นจะเป็นโอกาสที่จะให้เราไปซื้อหุ้นดีๆ เช่นมียอดขายดี กำไรดี ปันผลเยอะเช่นเกือบ 10% บริษัทไม่ค่อยมีหนี้ ซื้อแล้วก็เก็บไว้เรื่อยๆให้เงินลงทุนเราโตไปกับบริษัท

3.การที่จะประสบความสำเร็จอย่างหนึ่งสิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่งนั้นอาจจะอยู่ที่การตั้งเป้าหมาย โดยเราอาจจะตั้งเป้าหมายเรื่องการมีอิสรภาพทางการเงินโดยการตั้งเป้าหมายเกี่ยวกับเงินปันผลของบริษัทที่ลงทุนเพื่อให้ครอบคลุมกับค่าใช้จ่ายรายปี ซึ่งการที่จะไปถึงจุดๆนั้นได้นั้น นักลงทุนที่ประสบความสำเร็จหลายๆท่านอาจจะใช้วิธีการทำตาราง Excel เพื่อProjection ข้อมูลของตัวเองใน 10 ปีข้างหน้า (รายได้จากเงินเดือน,Bonus,รายได้อื่นๆ, ค่าใช้จ่าย ,เงินเก็บออมในแต่ละปี, ผลตอบแทน Return จากการลงทุน, Total asset)

4.ช่วงเวลา 6-7 ปีหลังวิกฤติ Hamburger นั้นถือว่าเป็นยุคทองของ VI ทำให้นักลงทุนหลายท่านสามารถมีอิสรภาพทางการเงิน ซึ่งถ้าเราเพิ่งจะมาลงทุนในช่วงนี้นั้นควรจะระวังการคาดหวังผลการลงทุนที่สูงเหมือนในช่วงก่อน

5.การมี Margin of Safety ในการลงทุนนั้น ถ้ามองในมุมของวิศวกรรมนั้นก็เปรียบเสมือนการที่เรามี Safety Factor ในการ design ออกแบบโครงสร้าง โดยเราคงไม่อาจเลือกเหล็กที่รับแรงได้พอดีกับที่ต้องการในการก่อสร้างแต่จำเป็นที่ต้องเลือกเหล็กที่แข็งแรงกว่าใน % ระดับหนึ่ง เพื่อให้โครงสร้างตึกสามารถทนทานต่อสภาวการณ์ต่างๆได้ ซึ่งเปรียบกับโลกแห่งการลงทุนนั้น ในความเป็นจริงเราเองมีโอกาสที่จะวิเคราะห์ผิดพลาด ซึ่งการมี Margin of Safety จะช่วยป้องกันความเสี่ยงได้ในระดับหนึ่ง

6.ตัวอย่างหนังสือแนว Value Investment เช่นหนังสือของ Peter Lynch และที่เกี่ยวข้องกับ Warren Buffet ที่ช่วยทำให้เข้าใจการลงทุนแนว Value Investment ได้ดียิ่งขึ้น
(Ex. เหนือกว่าวอลสตรีท (One Up On Wallstreet), ลงทุนอย่าง...ปีเตอร์ ลินช์ : Beating the Street, ลงทุนอย่าง วอร์เรน บัฟเฟตต์ The New Buffettology)

7.พยายามเรียนรู้วิธีคิดจากคนที่เก่งกว่า, มีประสบการณ์มากกว่า เพื่อเอามาปรับปรุงให้เข้ากับแนวทางของเรา

8.ช่วงแรกๆของการลงทุนนั้นหลายๆท่านอาจจะไม่ค่อยประสบความสำเร็จ (ได้กำไร) จากการลงทุน แต่สิ่งที่เราควรจะทำอย่างต่อเนื่องคือ พยายามสะสมความรู้, ประสบการณ์จากการลงทุน รวมถึงสะสมเงินทุนจากการทำงาน เพื่อให้เมื่อมีโอกาสทองของชีวิตมาถึงเราจะได้พร้อมทั้งความรู้และเงินทุน ซึ่งจะได้ทำให้เราไม่พลาดโอกาสนี้ไป
(โอกาสไม่ได้มาบ่อยๆ แต่ต้องเตรียมพร้อมเพื่อจะได้มองเห็นโอกาส)

9.การที่เราลงทุนแล้วผิดพลาดนั้นบางทีก็เป็นโอกาสอันดีที่จะทำให้เราเรียนรู้ ซึ่งเราเองควรจะวิเคราะห์หาสาเหตุให้เจอว่าผิดพลาดเนื่องจากอะไร จะได้ป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์นั้นขึ้นอีก

10.ไม่มีใครหรอกที่จะประสบความสำเร็จโดยไม่ได้มีความพยายาม เบื้องหลังความสำเร็จของนักลงทุนหลายๆท่านนั้นใช้ความพยายามอย่างมากกว่าจะมาถึงจุดนี้

11.ลงทุนในกิจการที่เข้าใจ อะไรไม่รู้ก็ไม่ควรลงทุน
การที่เราทำงานอยู่ในอุตสาหกรรมไหน อาจจะเป็นแต้มต่อทำให้เราเข้าใจในอุตสาหกรรมนั้นได้ดีกว่า
พึงระวังบริษัทที่มี factor เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานเยอะๆ
พยายามอย่าเชื่ออะไรง่ายๆจะเชื่ออะไรก็ควรหาข้อมูลแล้ววิเคราะห์ด้วยตัวเองอย่างดีแล้ว

12.หุ้น IPO ในหลายๆตัวก็เข้ามาในตลาดหลักทรัพย์ในราคาที่สูงเกินไป (P/E สูงมากเมื่อเทียบกับบริษัทอื่นในอุตสาหกรรมเดียวกันและไม่ได้เป็นบริษัทที่มีความแตกต่าง) เราควรจะลองคิดวิเคราะห์ให้ดีก่อนที่จะซื้อ

13.การหาบริษัทที่จะมาลงทุนนั้น บางครั้งก็อยู่ในชีวิตประจำวันเราเช่นไปเดินห้างสรรพสินค้าแล้วเดินเจอร้านค้าแห่งหนึ่งในตลาดหลักทรัพย์แล้วพบว่ามีลูกค้าอยู่เยอะ ลองใช้สินค้าของบริษัทนี้ด้วยตัวเองแล้วพบว่าเป็นที่น่าพอใจ ราคาสินค้านั้นเทียบกับคุณภาพของสินค้าราคาไม่แพงจนเกินไป เมื่อไปย้อนดูข้อมูลของบริษัทแล้วพบว่า Market Cap ไม่สูงมาก และข้อมูลทางการเงินอย่างอื่นก็ดี ก็อาจจะเป็นโอกาสให้เราเลือกซื้อหุ้นเพื่อการลงทุนได้

14.คนจะประสบความสำเร็จนั้นขึ้นกับไม่กี่เรื่อง อย่างเรื่องการเลือกหุ้นที่จะลงทุนนั้นถ้าเราเลือกหุ้นที่จะลงทุนไม่เกิน 20 ตัวโอกาสจะประสบความสำเร็จก็จะสูง ซึ่งถ้าเลือกหุ้นที่จะลงทุนมากเกินไปโอกาสที่จะไม่ประสบความสำเร็จก็จะยิ่งสูงขึ้น

15.เวลาที่เรามองบริษัทนั้น บางทีให้เรามองเหมือนกับมนุษย์ที่ชีวิตคือการต่อสู้,การแข่งขัน พยายามคิดวิเคราะห์ว่าใครจะเป็นผู้ชนะในการแข่งขัน และต้องเข้าใจ factor ในการแข่งขัน ซึ่ง key factor ในการแข่งขันอย่างหนึ่งนั้นคือสถานที่ ยกตัวอย่างเช่นกิจการที่เหมาะกับคนที่มีฐานะสูงนั้น สถานที่ตั้งก็ควรจะอยู่ใจกลางเมือง แต่ถ้าบริษัทเลือกที่จะไปตั้งสถานที่อยู่แถวรอบนอกของเมือง นั้นก็มีโอกาสสูงที่จะไม่ประสบความสำเร็จ

สำหรับวิธีการวิเคราะห์นั้นเราอาจจะไปลองกิน,ลองใช้บริการของบริษัทดู แล้วทำการ evaluate ดูราคา, ดู Market cap ของบริษัท
ซึ่งหลังจากที่เราวิเคราะห์กิจการเสร็จเราควรจะเปรียบเทียบกิจการนี้กับบริษัทอื่นดูเพื่อทำการ Ranking เช่นเบอร์ 1 ในตลาดคือใคร เบอร์ 2 , เบอร์ 3 ในตลาดนี้คือใคร แล้วความแตกต่างระหว่างเบอร์ 1 กับเบอร์ 2 และความแตกต่างระหว่างเบอร์ 2 กับเบอร์ 3 แตกต่างกันขนาดไหน
ซึ่งหลักๆเราอาจเลือกลงทุนในบริษัทอันดับ 1, 2 ของอุตสาหกรรม โดยรอซื้อหุ้นของบริษัทเมื่อราคาสมเหตุสมผล

16.การดู Market cap ของบริษัทนั้นเพื่อจะดูศักยภาพของบริษัทซึ่งเป็นอะไรที่สำคัญ
สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ใน บทความศักดิ์ศรีของหุ้น/ ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ที่มา http://203.150.20.122/~thaivi/board/vie ... 460854071c

17.มี EQ ที่ดีสำคัญมากกว่า IQ นักลงทุนบางคนไม่ประสบความสำเร็จเพราะควบคุมความโลภไม่ได้
บางครั้งเราอาจะขายหุ้นเพราะลืมเหตุผลที่เรามาลงทุนตอนแรกแล้ว
บางคนอาจจะไปซื้อหุ้นปั่นเพราะซื้อตามเพื่อนเป็นต้น

18.ความคาดหวังในการลงทุนควรจะขึ้นกับความพยายาม (Effort) ในตัวเรา
ถ้าเป็นคนทั่วไปที่ไม่ค่อยมีเวลาสนใจติดตาม การลงทุนก็น่าจะเหมาะกับ LTF,RMF (ได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีด้วย) ,กองทุนดัชนีที่อาจจะสามารถคาดหวังผลตอบแทน (5% การเติบโตของมูลค่าหน่วย+3% ปันผลของบริษัท) โดยอาจจะลงทุนแบบ Dollar Cost Average
ถ้าเป็นนักลงทุนที่มุ่งมั่น มองหาผู้ชนะ, Innovation ,อ่านข่าวสาร,ทำ research หาข้อมูลเพื่อพิสูจน์สมมติฐาน,วิเคราะห์ปัจจัยในการแข่งขัน, อ่านงบการเงินกิจการ, ประชุมผู้ถือหุ้น ก็สามารถที่จะคาดหวังการลงทุนที่สูงกว่าคนทั่วไปได้

19.ตัวอย่างวิธีการลงทุน
19.1 มองหาโอกาสจากการที่ตลาดมองข้าม เช่นบริษัทที่ IPO เข้าไปแล้วราคาหุ้นตกมากๆ (หุ้นที่มีคนไม่ชอบเยอะๆ) เราก็อาจจะไปลองดูวิเคราะห์กิจการให้ดีว่าบริษัทนั้นแย่ชั่วคราวหรือเปล่า ซึ่งถ้าเป็นลักษณะนั้นก็เป็นโอกาสให้เราลงทุนได้
19.2 ลงทุนในธุรกิจที่ดีเยี่ยม โดยปกติธุรกิจที่ดีเยี่ยมมักจะมีราคาที่สูง แต่เราอาจจะเลือกลงทุนในช่วงที่ภาวะตลาดไม่ดีเช่น ตลาดเกิด Panic ขึ้น

20.การวิเคราะห์ประเทศ
พยายามฝึกมองแต่ละประเทศไปยังอนาคต เช่นคิดว่าในอนาคตประเทศไทยจะโตต่อไปเรื่อยๆจนเป็นเหมือนอเมริกาไหม หรือจะเป็นแบบ Argentina, Chile?
ซึ่งประเทศไทยก็เริ่มมีสัญญาณที่ไม่ดีในบางอย่างเช่น ประชากรเริ่มมีอายุมาก, มีลูกน้อยลง ซึ่งการที่จะทำให้ประเทศดีขึ้นหรือโตขึ้นนั้นต้องมีการปรับปรุงในส่วน Productivity Improvement
สิ่งที่เป็นปัจจัยเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ประเทศที่สำคัญคือ 1.ประเทศนั้นมี IQ สูง? 2.ระบบของประเทศดีไหม? 3.อายุหรือกำลังคน (Ex.ประเทศญี่ปุ่น มีประชากรผู้สูงอายุเยอะ และมีคนเกิดใหม่น้อย แม้ว่าประชากรจะมี IQ ดีและมีระบบที่ดี แต่ก็จะทำให้การขยายตัวเป็นไปได้ค่อนข้างช้า)
โดยประเทศที่ต่อไปน่าจับตามองก็คือ เวียดนาม โดยที่ IQ ของประชากรดี, ระบบดีขึ้นเรื่อยๆ คนแข็งแรงและยังอยู่ในวัยหนุ่มสาว รวมไปถึงประเทศพม่าก็น่าจับตามองเช่นกัน

21.หาหุ้นที่ชนะ ราคาที่เหมาะสม ถือไว้สัก 5-6 ตัว เป็นหุ้นที่ไม่ล้าสมัย monitor ทุก 3-6 เดือน ถ้าทำอย่างนี้ได้หลายสิบปี มีโอกาสเป็นเศรษฐีได้ทุกคน ยกตัวอย่างเช่นบทความแอนน์ ไซเบอร์-ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ที่มา http://topicstock.pantip.com/sinthorn/t ... 12576.html

ผมขออนุญาตเรียบเรียงเนื้อหาใหม่ตามที่ผมเข้าใจครับ รวมไปถึงอาจจะอธิบายเพิ่มเติมในบางจุดเพื่อให้เพื่อนๆท่านอื่นๆเข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้นครับ ซึ่งลำดับของเนื้อหาอาจจะไม่ตรงกับที่ทางวิทยากรทั้ง 3 ท่านได้พูด ในกรณีที่อาจจะไม่ตรงกับเนื้อหาที่วิทยากรต้องการสื่อสาร ผมขอความกรุณาเพื่อนๆท่านอื่นที่ไปฟังในวันดังกล่าวหรือท่านวิทยากรช่วยแนะนำเพิ่มเติมหรือแก้ไขให้ด้วยครับ

สุดท้ายนี้ผมขอขอบคุณสมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ได้จัดงานดังกล่าวขึ้น
ขอขอบคุณวิทยากรทั้ง 3 ท่าน(ท่านอาจารย์นิเวศน์, พี่พีรนาถ, พี่ณัฐชาต) ที่กรุณาให้ความรู้คำแนะนำในด้านการลงทุนแก่ผมและนักลงทุนท่านอื่นๆมาโดยตลอด
ขอขอบคุณกัลยาณมิตรทุกท่านที่ช่วยแนะนำความรู้ให้ผมในด้านการลงทุนมาโดยตลอด
และสุดท้ายขอขอบคุณ web Thaivi ที่เป็นคลังแห่งความรู้ในด้านการลงทุนให้ผมและเพื่อนๆนักลงทุนท่านอื่นๆ
:bow:

ขอบคุณครับ
earthcu /10 Oct 15
Life is beautiful + Financial freedom within 2015 by investment stock & real estate
ลูกหิน
Verified User
โพสต์: 1217
ผู้ติดตาม: 0

Re: สรุปความรู้งาน วิศวกรลงทุนหุ้นคุณค่า 8 Oct 2015

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ขอบคุณมากๆนะครับ
mom made
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 23
ผู้ติดตาม: 0

Re: สรุปความรู้งาน วิศวกรลงทุนหุ้นคุณค่า 8 Oct 2015

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ขอบคุณค่ะ
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2576
ผู้ติดตาม: 1

Re: สรุปความรู้งาน วิศวกรลงทุนหุ้นคุณค่า 8 Oct 2015

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ขอบคุณครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
TANASATE
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 85
ผู้ติดตาม: 0

Re: สรุปความรู้งาน วิศวกรลงทุนหุ้นคุณค่า 8 Oct 2015

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ขอบคุณมากมากครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
ไพลิน
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 955
ผู้ติดตาม: 1

Re: สรุปความรู้งาน วิศวกรลงทุนหุ้นคุณค่า 8 Oct 2015

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ขอบคุณครับ
teevalue
Verified User
โพสต์: 366
ผู้ติดตาม: 0

Re: สรุปความรู้งาน วิศวกรลงทุนหุ้นคุณค่า 8 Oct 2015

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ขอบคุณมากครับ
monsoon
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 583
ผู้ติดตาม: 1

Re: สรุปความรู้งาน วิศวกรลงทุนหุ้นคุณค่า 8 Oct 2015

โพสต์ที่ 8

โพสต์

สุดยอดเหมือนเดิม ขอบคุณมากคับ :mrgreen:
เรียนรู้และเข้าใจ คุณค่าที่แท้จริงของสรรพสิ่ง...
โพสต์โพสต์